บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ดูชัดๆ ไทย ยก ดินแดนให้เขมร








































แผนที่ A มาตราส่วน 1:10,000 เป็นแผนที่ที่เป็นทางการของไทย แสดงแนวเส้นเขตแดนฝรั่งเศส-สยามปี 1907 (Line 1) ซึ่งไทยได้โต้แย้งต่อศาลโลกมาตั้งแต่ปี 2505 กับแนวเส้นเขตแดน (Line 2) ที่ไทยใช้หลักสากลยึดถือแนวสันปันน้ำเป็นหลักในการแบ่งเส้นเขตแดนและได้อ้างสิทธิอันชอบธรรมเหนืออาณาบริเวณพื้นที่สีเขียว การยกผืนดินที่ตั้งปราสาทพระวิหารให้แก่กัมพูชากำลังจะสร้างความยุ่งยากให้แก่การกล่าวอ้างอธิปไตยของไทย
 

สำหรับชาวไทยที่ได้ยินได้ฟังเกี่ยวกับความขัดแย้งกรณีไทย-กัมพูชา กรณีเขาวิหาร หรือ กระทั่งได้ไปเที่ยวชมปราสาทบนยอดผาแห่งนี้มาแล้วก็อาจจะมองไม่เห็นภาพว่าตรงไหนเป็นของไทย และตรงไหนตกเป็นของกัมพูชาโดยคำตัดสินของศาลระหว่างประเทศกรุงเฮก       แผนที่ที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่บนเว็บไซต์แห่งหนึ่งของกัมพูชาอาจจะช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น
     
       แม้ว่าไทยจะยอมรับคำตัดสินของศาลโลกว่า “ปราสาทเขาพระวิหาร” ตกเป็นของกัมพูชาตั้งแต่วันที่ 15 มิ.ย.2505 เป็นต้นมาแต่จนกระทั่งถึงวันนี้รวมเวลา ประเทศไทยไม่เคยยอมรับแม้สักวันเดียวว่าผืนแผ่นดินบริเวณ “เขาพระวิหาร” รวมทั้งที่ตั้งของ “ปราสาทเขาพระวิหาร” เป็นของประเทศเพื่อนบ้านแห่งนี้
     
       ประเทศไทยได้ยึดถือเอาแนว “สันปันน้ำ” อันเป็นหลักสากที่    ใช้ในการปักปันเขตแดน เป็นหลักในการโต้แย้ง
อาจจะมีผู้คนจำนวนมากยังไม่เคยได้ทราบจุดยืนของไทยในเรื่องนี้ ทั้งๆ ที่ผู้แทนของไทยได้แจ้งเรื่องนี้ต่อศาลโลกอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร และมีเอกสารหลักฐานปรากฏอยู่จำนวนมากในทุกวันนี้
     
       แนวสันปันน้ำ หมายถึง แนวที่ลากเชื่อมโยงจุดสูงของภูเขาให้เป็นแนวแบ่งพรมแดน เส้นเขตแดนจึงออกมาตรงบ้าง คดเคี้ยวบ้างหรือกระทั่งบางประเทศออกมาเป็นรอยหยักเลยก็มี
     
       สภาพภูมิศาสตร์แนวชายแดนเขต “เขาพระวิหาร” นั้นเข้าข้างไทย เนื่องจาก “ประสาทเขาพระวิหาร” ตั้งอยู่บนหน้าผาสูงซึ่งเป็นจุด “สันปันน้ำ” เป็นจุดสูงยอดหนึ่งของแนวเขาพนมดงรัก โดยมีดินแดนกัมพูชาอยู่เบื้องล่าง
     
       เมื่อปี 2505 ศาลโลกได้ตัดสินให้ “เฉพาะปราสาทเขาพระวิหาร” เท่านั้นตกเป็นของกัมพูชา มิใช่ผืนดิน หรือ “เขาวิหาร” ทั้งอาณาบริเวณ
     
       นั่นก็คือ “ปราสาทเขาพระวิหาร” ของกัมพูชาตั้งอยู่บนผืนแผ่นดินในเขตสันปันน้ำของไทย (ดูแผนที่ A และ B)
     
       ตีความคำพิพากษาของศาลโลกแบบคำต่อคำก็คือ ปราสาทเขาพระวิหารนั้นเป็นเสมือนศาลพระภูมิของเพื่อนบ้าน ที่ตั้งอยู่ในบนที่ดินของบ้านอีกหลังหนึ่งซึ่งเจ้าของบ้านมีสิทธิที่จะขออำนาจศาลสั่งให้รื้อถอนออกไป แต่ประเทศไทยก็มิได้ใช้ท่าที่เช่นนั้น เพราะมีอารยะมากกว่านั้น
     
       ด้วยข้อเท็จจริงดังกล่าว ไทยจึงสมควรมีสิทธิที่จะเรียกร้องขอใช้ประโยชน์ “ศาลพระภูมิ” ร่วมกันได้ บนพื้นฐานที่เท่าเทียมกันอย่างสมน้ำสมเนื้อ ไม่กระเทือนถึงอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของกันและกันในส่วนนั้น แต่ก็ไม่ได้ทำและรัฐบาลนี้ก็เลือกที่จะไม่ทำ
     
       การเซ็นความตกลงยอมรับในเอกสาร แผนที่ และเปิดทางให้กัมพูชานำปราสาทเขาพระวิหารเข้าจดทะเบียนเป็นมรดกโลก จึงเท่ากับเป็นการรับรองว่า เจ้าของศาลพระภูมินั้นมีสิทธิเหนือที่ดินผืนน้อยในบ้านของตัวเอง และให้สามารถนำไปจดจำนองทำประโยชน์แต่ฝ่ายเดียวได้
     
       ไม่มีใครทราบว่า รัฐมนตรีต่างประเทศของไทย ซึ่งคอยแก้ต่างให้กับรัฐบาลกัมพูชามาตลอด มีความปรารถนาอะไรอยู่ลึกๆ ในใจ แต่ทางการกัมพูชาซึ่งโดยปรกติจะเอะอะโวยวาย ในทุกกรณีเกี่ยวกับเขาพระวิหาร กำลังนิ่งเงียบอย่างผิดสังเกต




แผนที่ B มาตราส่วน 1:200,000 แสดงภาพรวมที่ตั้งปราสาทพระวิหารและแนวเส้นเขตแดนตามแผนที่ของฝรั่งเศสเมื่อ 100 ปีก่อน (Line 1) กับเส้นเขตแดนที่ไทยกล่าวอ้าง (Line 2) โดยยึดสันปันน้ำตามหลักสากล ไทยยืนยันการกล่าวอ้างในเรื่องนี้


ในกัมพูชาทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายสนับสนุนรัฐบาลยังคงฉับไวอยู่เช่นเดิม เว็บไซต์ต่างๆ จะนำข่าวคราวความเคลื่อนไหวในประเทศไทยขึ้นนำเสนอต่อผู้อ่านอย่างฉับพลันแบบเรียลไทม์ ทันทีที่พวกเขาสืบค้นเจอบนเวิลด์ไวด์เว็บ
     
       แต่สิ่งที่เปลี่ยนไปก็คือ ผู้อ่านพลันเงียบเสียงลงอย่างผิดสังเกต เสียงวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลแทบจะไม่ปรากฏอีก ซึ่งสมเด็จฯ ฮุนเซน กับคณะต้องขอบคุณนายนพดล ปัทมะกับรัฐบาลไทยภายใต้การนำของนายสมัคร สุนทรเวช
     
       แน่นอนรัฐบาลกัมพูชาพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ของนายนพดล เพราะว่าแต่นี้เป็นต้นไปแผนการจดทะเบียนปราสาทเขาวิหารไม่มีอุปสรรคขัดขวางอีกแล้ว เมื่อประเทศไทยที่เป็นคู่กรณีไม่มีข้อโต้แย้ง พวกเขายังสามารถใช้อ้างอิงได้อีกในอนาคต หากมีการนำข้อพิพาทพรมแดนกับไทยไปขึ้นศาลโลกอีกครั้ง
     
       เมื่อเดือนก่อนสื่อในกัมพูชาตีพิมพ์ข่าวกับรูปภาพอย่างใหญ่โต เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ยกทีมไปตีกอล์ฟกับนายกรัฐมนตรีกัมพูชาและผู้นำทางการเมืองกับธุรกิจอีกหลายคน ทีมของ พ.ต.ท.ทักษิณ มีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ จอมโปรเจกต์ CTX ที่อื้อฉาวรวมอยู่ด้วย
     
       สื่อในกัมพูชากล่าวว่า การไปครั้งนั้นมิใช่การไปเล่นกอล์ฟเพื่อความสนุกสนาน เพื่อเปลี่ยนบรรยากาศ หรือ ด้วยความคิดถึงกันระหว่างเพื่อนเก่าเท่านั้น หากแต่อดีตนายกรัฐมนตรีผู้อื้อฉาวของไทยมีแผนการ “ล่าทรัพยากร” ทั้งการเช่าที่ดิน 99 ปีกับการสูบน้ำมันในน่านน้ำอ่าวไทยอีกด้วย
     
       เป็นที่ทราบกันดีว่า สายสัมพันธ์ทางธุรกิจอันแน่นแฟ้นระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ กับกลุ่มธุรกิจในจีน เป็นกลไกอันสำคัญในการประสานผลประโยชน์กับกลุ่มของสมเด็จฯ ฮุนเซน ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีกัมพูชามาตั้งแต่ปี 2528 ทั้งฝ่ายจีนและฝ่ายไทยต่างก็มีคอนเนกชันที่ดีกับคณะผู้นำในกัมพูชา
     
       เพราะฉะนั้นก็จึงเป็นเหตุอันสมควร ที่นายนพดลจะต้องทำทุกสิ่งทุกอย่างให้เป็นที่พอใจของทางการกรุงพนมเปญ และจะต้องทำทุกวิถีทางเพื่อมิให้ความสัมพันธ์อันดีของสองฝ่ายถูกกระทบกระเทือน แม้กระทั่งจะต้องแลกด้วยอะไรบางอย่าง
     
       นายนพดลให้สัมภาษณ์รายการทางคลื่นวิทยุเอฟเอ็ม 97 เมกะเฮิรตซ์ ในวันจันทร์ที่ผ่านมาว่า “เวลาเป็นของกัมพูชามิใช่ของไทย” เนื่องจากฝ่ายนั้นได้ยื่นขอจดทะเบียนต่อองค์การยูเนสโกไปแล้ว ขอจึงต้องเร่งทำงานอย่างรีบด่วน




หลังจากศาลโลกได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชาในเดือน มิ.ย.2505 ในเดือนถัดมาไทยก็ได้ยื่นบันทึกต่อศาลโลกพร้อมแผนที่ฉบับนี้แสดงที่ตั้งของปราสาทพระวิหารกับบริเวณโดยรอบและเส้นเขตแดนตามแนวสันปันน้ำที่ไทยสงวนที่จะกล่าวอ้าง ภาพล่างซ้ายแสดงให้เห็นว่าไทยยอมรับให้พื้นที่แก่ปราสาทที่กว้างที่สุดเพียง 100 เมตรเท่านั้น อาณาบริเวณข้างนอกเส้นปรุเป็นพื้นที่เขตสันปันน้ำ
รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยคงจะลืมไปว่า รัฐบาลไทยซึ่งเป็นคู่กรณีมีสิทธิที่จะโต้แย้งได้ทุกเมื่อ แม้กระทั่งหลังจากคณะกรรมการมรดกโลกพิจารณาเสร็จสิ้น คู่กรณีก็ยังสามารถยกขึ้นมาโต้แย้งได้เช่นเดียวกัน
     
       และปราสาทเขาพระวิหารมิใช่ศาลพระภูมิ ผืนดินที่ตั้งอยู่กับอาณาบริเวณโดยรอบก็มิใช่ที่ดินผืนเล็กมุมรั้วบ้าน
     
       ทั้งหมดเป็นผืนดินมีพื้นที่รวมกันหลายตารางกิโลเมตร และ แผ่นดิน “เขมรต่ำ” หรือดินแดนกัมพูชาตามหลักสากลนั้น ก็จะต้องอยู่ใต้ลงไปราว 500 เมตร ไม่ควรจะอยู่บนยอดผา
     
       ที่ตั้งของปราสาทพระวิหารทั้งอาณาบริเวณนั้นกินแนวยาวตั้งแต่หน้าผาชัน เป็นทางเดินลาดต่ำลึกเข้าไปในดินแดน “ในเขตสันปันน้ำ” ของไทยเป็นระยะทางกว่า 600 เมตร ขณะที่ประเทศไทยได้ขีดเส้นดินแดนโดยรอบปราสาทตั้งแต่บริเวณหน้าผาทั้งสองด้านให้เป็นดินแดนพิพาท (ดูแผนที่ A และ B) โดยยึดหลักสันปันน้ำ
     
       ไทยทำสิ่งนี้โดยโต้แย้งกับแนวเขตแดนที่พวกฝรั่งเศสขีดเอาไว้ให้สยามต้องยอมรับอย่างจำยอมเมื่อปี 2450 (1907)
     
       ถึงแม้ว่าศาลโลกในกรุงเฮกจะใช้แผนที่ฝรั่งเศส-สยามฉบับดังกล่าวอ้างอิงในการยกเขตปราสาทพระวิหารให้แก่กัมพูชา แต่ไทยก็ได้โต้แย้งเรื่องเส้นเขตแดนมาตั้งแต่ครั้งนั้น เรื่องนี้มีหลักฐานเป็นบันทึกอย่างชัดเจน
     
       กรณีปราสาทเขาวิหารและดินแดนโดยรอบจึงเป็นกรณีพิพาทที่มิอาจแยกจากกันได้ และยังเป็นกรณีพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชามาตลอด ประเทศไทยยังคงยืนยันกรานในจุดยืนนี้มาตลอด และได้แสดงเจตนาที่พร้อมจะหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาพิจารณาเมื่อไรก็ได้
     
       น่าเสียดายอย่างยิ่งก็คือ ที่ผ่านมาไทยยังไม่เคยมีโอกาสได้กระทำเช่นนั้น ด้วยสถานการณ์ที่ไม่อำนวย ทั้งภายในและภายนอก




แผนที่ฝรั่งเศสที่ศาลโลกกรุงเฮกใช้อ้างอิงในการตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา แต่เป็นแผนที่ที่กำหนดเส้นพรมแดนโดยไม่ได้ยึดแนวสันปันน้ำ อันขัดต่อหลักสากลและไทยได้โต้แย้งเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2505 ประเทศไทยได้ยอมรับว่า "ปราสาทพระวิหาร" เป็นของกัมพูชา แต่ไม่เคยยอมรับอาณาบริเวณบนยอดผาและรอบๆ ว่าเป็นของประเทศนั้น ไทยได้ทำบันทึกยื่นต่อศาลระหว่างเทศยืนยันที่จะยึดแนวส้นเขตแดนตามหลักสากลโดยใช้สันปันน้ำเป็นเส้นแบ่ง
 
ช่วงปี 2508 จนถึงปี 2523 ภายในต้องเชิญกับการก่อการร้ายของฝ่ายคอมมิวนิสต์ และสิ่งที่แทรกซ้อนขึ้นมาในระหว่างนั้นก็คือสงครามในกัมพูชาที่มีทหารเวียดนามนับแสนอยู่ในประเทศนั้น
     
       บนเขาวิหารในช่วงปีนั้นเป็นที่ตั้งของกองกำลังเขมรแดงที่เป็นมิตรกับประเทศไทยทั้งทางยุทธศาสตร์และยุทธวิธี
     
       จากนั้นสถานการณ์ทางการเมืองในกัมพูชาก็เข้าสู่ความยุ่งยากมาตลอด ดังจะเห็นได้จากที่สองประเทศเพิ่งจะเริ่มเจรจาเกี่ยวกับการปักปันเขตแดนระหว่างกันเมื่อไม่กี่ปีมานี้เอง
     
       แต่ทั้งหมดก็ไม่สามารถลบล้างจุดยืนของไทย ที่ยังคงสงวนสิทธิ์ที่จะอ้างอธิปไตยเหนือดินแดนและโดยรอบเขาวิหาร
     
       การยอมรับเอาแผนที่ที่ฝ่ายกัมพูชาร่างขึ้นมาเสนอ จึงไม่ต่างกับการยกผืนดินที่ตั้งของปราสาทให้แก่ประเทศกัมพูชาไปโดยปริยาย และกำลังจะสร้างปัญหาให้แก่การกล่าวอ้างอธิปไตยเหนือดินแดนโดยรอบตามแนวสันปันน้ำ ซึ่งเป็นสิทธิอันชอบธรรมของไทย

นักการเมืองไทย มันบ้าหรือเปล่า? โดย ไพศาล พืชมงคล

นายไพศาล พืชมงคล อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้เขียนเฟซบุ๊คชุดคำถาม “นักการเมืองไทยมันบ้าหรือเปล่า” โดยตั้งประเด็นเป็นหลายกรณีคือ 1. นักการเมืองไทยมันบ้าหรือเปล่า เขมรใช้กำลังทหารรุกรานไทย ฆ่าทหารไทย ทำร้ายทหารไทย ยิงถล่มบ้านเรือนประชาชนไทย จนต้องอพยพหลายหมื่นคน มันกลับบอกว่าประเทศไทยไม่ได้รุกรานเขมร

2.  นักการเมืองไทยมันบ้าหรือเปล่า เขมรใช้กำลังทหารรุกราน ปลุกระดมคนเขมรทั้งประเทศเข้าสู่สงคราม และเตรียมทำสงครามขนาดใหญ่กับประเทศไทย แต่นักการเมืองไทยมันบอกว่าเราต้องการการเจรจา

3. นักการเมืองไทยมันบ้าหรือเปล่า เขมรใช้ปืนใหญ่ ใช้เครื่องยิงระเบิดและยิงจรวดถล่มฐานทหารไทย ถล่มบ้านเรือนราษฎรไทย แต่มันกลับให้เครื่องบินบินโชว์และไม่ให้ใช้อาวุธหนักตอบโต้ ปากพูดว่ายิงมาก็ยิงไป แต่ที่เป็นจริงคือเขมรรุกมา คนไทยก็อพยพออกไป

4. นักการเมืองไทยมันบ้าหรือเปล่า เขมรเปิดสงครามรุกรานขยายแนวรบตั้งแต่จังหวัดศรีสะเกษมาถึงจังหวัดสุรินทร์ และเพิ่มกำลังรบตลอดจนอาวุธยุทโธปกรณ์มากมาย แต่มันกลับสั่งทหารไม่ให้เพิ่มกำลังรบ ไม่ให้เพิ่มพื้นที่สู้รบและไม่ให้ใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ตามอำนาจหน้าที่

5. นักการเมืองไทยมันบ้าหรือเปล่า เขมรเข้ามาตั้งฐานทัพในดินแดนไทยหลายจุด และคนไทยต้องอพยพออกจากดินแดนไทยหลายหมื่นคน แต่มันกลับบอกว่าไม่เสียดินแดน

6. นักการเมืองไทยมันบ้าหรือเปล่า หลอกคนไทยว่าจะปกป้องแผ่นดินไม่ให้เสียแม้แต่ตารางนิ้วเดียว เขมรยิงมาก็ยิงไป เขมรแรงมาก็โต้ไป แต่สื่อเขมรได้แฉโพยให้อับอายขายหน้าไปทั่วโลกว่านักการเมืองไทยแอบไปเจรจา ยอมแพ้ แต่เขมรมันไม่เชื่อลิ้นนักการเมืองไทย

นายไพศาล ได้เรียกร้องให้กองทัพปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ โดยใช้แสนยานุภาพและกฎอัยการศึกเป็นเครื่องมือในการทำหน้าที่ โดยไม่ต้องฟังรัฐบาล ซึ่งขณะนี้ก็มีความชัดเจนแล้วว่านักการเมืองอ่อนแอ ขี้ขลาด ตาขาว ยอมให้เขมรยึดดินแดนไทย และทำให้ประชาชนไทยต้องอพยพหลายหมื่นคนแล้ว ถ้าหากนักการเมืองขัดขวาง กองทัพควรใช้กฎอัยการศึกเข้าจัดการตามกฎหมาย

และขอเรียกร้องให้ประชาชนไทยทุกภาคส่วนละวางความขัดแย้งส่วนตัว สามัคคีกันเป็นพลังอำนาจแห่งชาติหนุนช่วยกองทัพไทยในการรักษาเอกราชอธิปไตย ของประเทศให้สำเร็จ

30/04/54 18.40น. ช่วงที่20 เสวนาโดย สุวัตร อภัยภักดิ์ รวมพลังปกป้องแผ่นดิน ณ สะพานมัฆวานรังสรรค์

โต้กระทรวงต่างประเทศ

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง