บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2556

เปิดข้อมูลแผนที่เขมรผิดพลาดทางภูมิประเทศ

ทนายสาวของฝ่ายไทยชี้แผนที่ 1 ต่อ 200,000ของกัมพูชาไม่มีความแม่นยำ-ผิดพลาดทางภูมิประเทศ ไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้ทางสากล

น.ส.อลินา มิรอง ทนายความฝ่ายไทย ขึ้นให้การต่อศาลโลก ว่า โดยได้ชี้ให้เห็นถึงความบกพร่องของแผนที่อัตราส่วน 1:200,000 หรือ แผนที่ภาคผนวกที่ 1 ที่กัมพูชาได้นำเสนอต่อคณะผู้พิพากษาฯ รวมถึงคำร้องของกัมพูชาได้ใช้แผนที่มาอ้างอิงหลายฉบับ สังเกตได้จากคำว่า “maps” ที่เป็นพหูพจน์ ดังนั้น ขอให้คณะผู้พิพากษาฯได้พิจารณาให้รอบคอบ 

ทั้งนี้ แผนที่ของกัมพูชาได้นำมาแสดงนั้น เป็นการเลือกใช้แผนที่ซึ่งเป็นประโยชน์กับตัวเอง โดยนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านแผนที่ ได้ให้ความเห็นไว้ว่าแผนที่ที่กัมพูชานำมาอ้างนั้น ในทางสากลไม่สามารถนำมาปฏิบัติใช้ได้จริงเพราะมีความผิดพลาดทางภูมิประเทศ แม้ว่ากัมพูชาระบุหลายครั้งว่าศาลโลกฯ ได้รับรองแผนที่ตามภาคผนวกที่ 1 ตามคำพิพากษา เมื่อปี 2505 แต่เมื่อทีมต่อสู้คดีของไทยไปค้นดูคำพิพากษาความยาว 1,500 หน้า ไม่ปรากฎการบันทึกใดที่เป็นการรับรองแผนที่ฉบับดังกล่าว รวมถึงคำพิพากษาในปี 2505 ศาลโลกใช้แผนที่ฉบับใดมาเป็นหลักในการพิจารณา

“ถ้านำแผนที่เก่าของกัมพูชามาวางไว้บนแผนที่ปัจจุบัน จะพบว่าไม่มีความแม่นยำ แต่ไม่ทราบว่ามีการนำแผนที่มาสับเปลี่ยนกันหรือไม่ และต้องขอชื่มชมกัมพูชา หากเราจะตัดสินจากความละอายของกัมพูชาที่ไม่มีการโต้แย้งในเรื่องนี้ สิ่งที่ทนายฝ่ายกัมพูชา ให้ถ้อยแถลงต่อคณะผู้พิพากษา เมื่อวันที่ 15 เม.ย. ระบุว่าแผนที่ที่ได้นำเสนอนั้นเป็นการขีดเส้นตัดกันระหว่างแผนที่ในภาคผนวก 1 และแนวเส้นสันปันน้ำ ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อถือ เนื่องจากการถ่ายทอดแผนที่ในอดีตมายังแผนที่ปัจจุบันมีความยาก เพราะต้องใช้วิธีทางคณิตศาสตร์ และหากนำแผนที่ตามถ้อยแถลงของทนายฝ่ายกัมพูชามาอ้างอิงจะพบว่าส่วนที่ตัดกันนั้นอยู่ห่างจากตัวปราสาท มากถึง 6.8กม.” น.ส.อลินนากล่าว

นอกจากนี้ ที่สำคัญผู้เชี่ยวชาญหน่วยวิจัยเขตแดนระหว่างประเทศ ระบุว่าวิธีการของกัมพูชาจะทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนของแผนที่ มากถึง 500 เมตรในทางตอนเหนือของปราสาทพระวิหาร ดังนั้น เห็นชัดว่ากัมพูชาไม่สนใจในความถูกต้องของภูมิประเทศรอบปราสาท รวมถึงภูมะเขือ และเทือกเขาพนมดงรัก ทั้งที่เป็นพื้นที่ที่สำคัญ และไม่สามารถพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือได้ภายในเวลา 50 ปี

สำหรับพื้นที่ 4.6 ตร.กม. กัมพูชาไม่มีแผนที่ที่สามารถพิสูจน์พื้นที่ได้แน่นอน แม้จะอ้างว่าปราสาทพระวิหารนั้นจะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรกดกโลกแล้ว เพราะตามแผนที่ศาลโลกใช้ประกอบการตัดสินคดีเมื่อปี 2505 แต่ข้อเท็จจริงยูเนสโก ได้ใช้แผนที่ของปี 2011 ส่วนหลักฐานเกี่ยวกับพื้นที่ 4.6 ตร.กม. เป็นสิ่งที่น่าประหลาดว่ากัมพูชาได้ยื่นเพิ่มเติมหลังจากจบการนำเสนอ

อย่างไรก็ดี กัมพูชาได้อ้างอิงสนธิสัญญา ปี 1904 ว่าได้ให้อำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหาร เป็นของกัมพูชา แต่สนธิสัญญาดังกล่าวไม่ได้พูดถึงตัวปราสาทพระวิหาร ระบุเพียงแค่เขตแดน และในแผนที่ฉบับอื่นๆ เช่น แผนที่ในปี 1937 ที่แสดงให้เห็นว่าตัวปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตของกัมพูชา แต่ไม่สามารถใช้กำหนดเขตแดนได้ เพราะไม่ชัดเจนในแง่ภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ, แผนที่ปี 1947 ที่ประเทศไทย ได้เสนอต่อคณะกรรมการระหว่างสยาม – ฝรั่งเศส มีลักษณะคล้ายกับแผนที่ภาคผนวก 1 คือ แสดงให้เห็นว่าปราสาทพระวิหารอยู่ทางตอนใต้ของเส้นเขตแดน แต่ส่วนอื่นๆ ไม่สามารถพิสูจน์ได้ ดังนั้น ทำให้คณะพิพากษา ปี 2505 ไม่ได้ให้คุณค่าที่จะใช้พิสูจน์เขตอธิปไตย 

“เส้นในแผนที่ที่กัมพูชานำเสนอนั้น มีความแตกต่างเฉพาะเขตที่เป็นพื้นที่ปราสาท ประเด็นที่กัมพูชาขอให้ศาลวินิจฉัยว่าแผนที่ภาคผนวก 1 เป็นเส้นเขตแดนหรือไม่ ทั้งที่ไม่มีความชัดเจน แสดงให้เห็นว่าฝ่ายกัมพูชาต้องการให้ศาล เห็นชอบให้ใช้เส้นตามแผนที่ภาคผนวก 1 เป็นเส้นเขตแดน และหากพิจารณาตามแผนที่ 85 D เท่ากับกัมพูชามีความต้องการขยายอาณาเขตเดิมมาในพื้นที่ 4.6 ตร.กม. ด้วย”น.ส.อลินา กล่าว

ทั้งนี้ น.ส.อลินา มิรอง ทนายความชาวโรมาเนียของฝ่ายไทย เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องแผนที่ และเป็นผู้ช่วยของ ศ.อแลง แปลเล่ต์ 

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง