บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

บ้านฮุนเซน

สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน
อยู่ในตำแหน่งนายกฯรวม32ปี
  มาดูบ้านของท่านผู้นี้กันหน่อย
 
คฤหาสน์หลังงาม4ชั้น ด้านขวานั่นแหละบ้านฮุนเซ็น
 
 มองด้านข้างก็อลังการ
มองด้านหน้าก็มหึมา 
จะมองมุมไหนๆก็ใหญ่โตจริงๆ
นี่ก็บ้านพักตากอากาศของฮุนเซน
บ้านพักตากอากาศด้านหน้า

มาดูบ้านชาวกัมพูชาส่วนใหญ่กัน
 

...บ้าน ??

นี่คือสภาพความเป็นจริงของชาวกัมพูชาส่วนใหญ่
ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ของ
สมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน
นายกรัฐมนตรีถาวรตลอดกาลของประเทศกัมพูชา 

ย้อนดู ข้อมูลของ ป้า เสลา ที่ติดตามกรณี ไทย-กัมพูชา เรื่องเขาพระวิหารมาตลอด 6



ร่วมรับรู้กับปราสาทพระวิหารมาตั้งแต่ร่วมบริจาคคนละ 1 บาท เพื่อต่อสู้คดี
ในสมัยที่ยังเป็นเด็กนักเรียน


จนกระทั่งมาถึงบัดนี้ เครียดและมึนตึ้บกับเรื่องราวปัญหาที่ถูกผูกโยงเป็นเงื่อนปม
รอการแก้ แต่ก็ไม่มีการแก้




สรุปว่าปัญหามาจากยูเนสโกเป็นส่วนใหญ่
ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเลขานุการของที่ประชุมมรดกโลก มาดามฟรังซัวส์ทำให้เกิดข้อได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างกัมพูชากับไทย ดังนี้


1. บิดเบือนมติการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 31 ที่ประเทศนิวซีแลนด์ระหว่างวันที่ 23-30 มิถุนายน 2550 Decision: 31 COM 8B.24 


ข้อ เท็จจริงที่ 1  ฝ่ายไทยใช้สิทธิ์ตามกฎของยูเนสโกไม่ให้การสนับสนุนข้อเสนอขอขึ้นทะเบียน แหล่งโบราณคดีประสาทพระวิหาร (“The Sacred Site of the Temple of Preah Vihear” ลงวันที่ 30 มกราคม 2549)  ของกัมพูชาแต่ฝ่ายเดียว แต่กลับรายงานความจริงครึ่งเดียวว่าไทยให้การสนับสนุน (“active support”)  กัมพูชาให้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกได้ ส่วนอีกครึ่งหนึ่งตัดออก (ดูข้อเท็จจริงที่ 2)


ข้อ เท็จจริงที่ 2 ฝ่ายไทยประนีประนอมขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกพร้อมกันตามข้อเสนอเดิมของกัมพูชา ซึ่งหากฝ่ายกัมพูชายินยอม  คณะกรรมการมรดกโลกสามารถตัดสินในการประชุมครั้งที่ 31 ให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกได้ทันที (ทุกฝ่ายอยู่พร้อมหน้า เอกสาร  ICOMOS รับรองมาตรฐานความเป็นมรดกโลกพร้อม  เพียงกัมพูชาเอ่ยว่าคำยินดี) แต่สาระสำคัญที่ไทยเสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลกพร้อมกันกลับปกปิด ไม่มีบันทึกในรายงานประชุม 


ข้อ เท็จจริงที่ 3 เมื่อกัมพูชาไม่อาจขึ้นทะเบียนมรดกโลกได้ เพราะฝ่ายไทยที่ไม่สนับสนุน แต่กลับใช้ช่องที่ฝ่ายไทยยินยอมขึ้นทะเบียนร่วม ไปอ้างในรายงานการประชุมว่าเป็น “จะมีการปรับปรุงข้อเสนอเดิม”  (”in-progress”) ซึ่งเป็นการอำพรางในฐานะที่ดู เหมือนมิใช่สาระสำคัญ แทนที่จะระบุให้ชัดว่า ข้อเสนอเดิมตกไป แต่สามารถเสนอขอขึ้นทะเบียนใหม่ได้ หากกัมพูชามีแหล่งโบราณคดีอื่น


ใน กรณีที่เป็นการขอขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท (The Temple of Preah Vihear) ก็อาจทำได้ตามสิทธิ์ และขั้นตอนปกติที่ต้องมีการประเมินคุณค่าทางศิลปะ (หรือไม่ก็ยินยอมให้มีการขึ้นทะเบียนมรดกโลกร่วมกัน ตามนัยยะข้อเท็จจริงที่ 2) แต่หากทำเช่นนั้น ก็ต้องดูความเป็นไปได้ตามหลักการ เหตุผลและข้อเท็จจริง เกิดเป็นประเด็นว่า เฉพาะตัวปราสาทไม่สามารถเป็นมรดกโลกอยู่แล้วตามรายงานของ ICOMOS การฝืนเสนอขึ้นทะเบียนให้สำเร็จย่อมมีความเป็นไปได้สูงที่จะต้องมีมีวาระซ่อนเร้นและไม่โปร่งใส












-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------


2. การแทรกแซงการตัดสินจากพฤติการณ์ “สองมาตรฐาน"


2.1   ระหว่าง เดือนกันยายน 2550 - มกราคม 2551 นายซกอาน รองนายกฯกัมพูชาว่าจ้างบริษัทรับเหมาเอกชนในยุโรปแห่งหนึ่งชื่อ ANPV [Autorite Nationale pour la Protection et le Developpement du site culturel et naturel de Preah Vihear ประกอบด้วย เบลเยียม สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส อินเดีย  + (3) จีน ญี่ปุ่น และที่น่าแปลกคือมีไทยด้วย รวม 7 ชาติ] มาทำการสำรวจและประเมินแหล่งโบราณคดีปราสาทพระวิหารซ้ำ โดยการแนะนำและร่วมรับรู้ของมาดามฟรังซัวส์ ริเวียเร่ว่า  เฉพาะตัวปราสาทพระวิหาร”(ไม่ต้องควบรวมสิ่งปรักพังอื่นในบริเวณใกล้ตัว ปราสาท)  ก็มีคุณค่าทางศิลปะตามเกณฑ์ (Criterion) I เป็นมรดกโลกได้  อ้างว่าไทยและกัมพูชาเห็นชอบร่วมกัน หักล้างมาตรฐานเชิงศิลปะและจิตวิญญาณ ในความพยายามตัดสินคุณค่ามรดกโลกโดยอาศัยเหตุผลทางการเมืองที่ไม่เคยปรากฏมา ก่อน


2.2    วันที่ 22 พฤษภาคม 2551 ที่สำนักงานมรดกโลก กรุงปารีส มาดามฟรังซัวส์จัดทำบันทึกช่วยจำ ระบุว่าฝ่ายไทย นายนพดล ปัทมะ  รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศขณะนั้นยินยอมให้กัมพูชาฝ่ายเดียวจัดทำ “แผนที่ใหม่” แนบท้ายแถลงการณ์ร่วมที่ระบุว่าเป็นการขึ้นทะเบียนที่เปลี่ยนมาเป็นเฉพาะตัว ปราสาทพระวิหาร (The Temple of Preah Vihear) กำหนดแผนและขั้นตอนในการจัดสรรพื้นที่อนุรักษ์และบริหารจัดการมรดกโลกทางทิศ ตะวันตกและทิศเหนือของตัวปราสาท


2.3   จากนั้นมาดามฟรังซัวส์ ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเลขานุการที่ประชุมมรดกโลกนำแถลงการณ์ “ปิดปาก” เข้าสู่วาระการประชุมของคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 32 วันที่ 2 กรกฎาคม 2551 คณะกรรมการมรดกโลกจำนนต่อแถลงการณ์ร่วมจำยอมให้กัมพูชาได้ขึ้นทะเบียนมรดก โลกเมื่อวันที่ 7 กรกฏาคม 2551


2.3.1   นายนพดล ปัทมะ ให้สัมภาษณ์สื่อไทยทันทีที่กลับมาถึงกรุงเทพฯปลายเดือนพฤษภาคมนั้นว่า กัมพูชา “ยอม” ขึ้นทะเบียนมรดกโลกเฉพาะตัวปราสาท ไม่แตะต้อง “พื้นที่ทับซ้อน" และไทยจะไม่เสียดินแดนแม้แต่ตารางนิ้วเดียว ซึ่งไม่เป็นความจริง’


2.3.2   เมื่อตัวแถลงการณ์ร่วมฉบับที่ใช้ลงนาม มาถึงกรุงเทพฯพร้อม “แผนที่ใหม่” (วันที่ 8 มิถุนายน 2551) ที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตประเทศ ระบุว่าไม่ต้องผ่านข้อตกลงร่วมกันของคณะกรรมาธิการร่วมปักปันเขตแดน “เจบีซี” (JBC: Joint Boundary Commission) ไทย-กัมพูชา   นายนภดลไม่นำพาที่จะขอคำปรึกษาจากรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 กลาย เป็นว่าฝ่ายไทยได้สนับสนุนกัมพูชาให้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกฝ่ายเดียวเมื่อ ครม.รับทราบ (17 มิถุนายน 2551) ส่งผลให้ไทยเสียพื้นที่  27.972 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 17,000 ไร่)  เป็น "เขตกันชน" 2,642.5 เฮกตาร์  “เขตอนุรักษ์”  154.7 เฮกดาร์ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 และที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 33 ที่สเปน (22-30 มิถุนายน 2552) รับรองรายงานตามแผนอนุรักษ์และบริหารจัดการมรดกโลกของ "ไอซีซี” ICC=International Coordinating Committee) ไปแล้ว




พื้นที่เหล่านี้คงไม่มีใครปฏิเสธว่ามิได้อยู่ในดินแดนไทย แต่มีคำถามที่ยูเนสโกต้องตอบ คือ


1.   ยูเนสโก และกัมพูชารับรองเอกชน ANPV (non-accredited institution) ให้มีสถานะเป็น “Public Institution”  (ICC) ได้อย่างไร?

2.   แถลงการณ์ ร่วม (Joint Communique) 2551 มีสถานะเป็นข้อเสนอ (Nomination File) ใหม่ที่ขอขึ้นทะเบียน  The Temple of Preah Vihear  แทนข้อเสนอเดิม  The Sacred Site of the Temple of Preah Vihear  ปี 2549 ได้หรือ?

3.   มาตรฐาน เดิมที่ ICOMOS ระบุไว้ ในข้อเสนอเดิม ย่อมไม่อาจทำให้ The Temple of Preah Vihear เป็นมรดกโลก ใช่หรือไม่ ?  และที่สำคัญ...

4.    “เหตุผลทางการเมือง” (“political decision”) ที่มาดามฟรังซัวส์โยนให้คณะกรรมการมรดกโลก และ 2 ประเทศคู่กรณี (ไทย-กัมพูชา) รับผิดชอบ ทั้งๆที่ตนเองอยู่เบื้องหลังนั้น ยูเนสโกเองยอมรับหรือไม่ว่า นี่คือมรดกโลกที่ทำลายมาตรฐานของยูเนสโกเอง?














หลังจากคุณปองพล อดิเรกสาร ลาออกจากประธานคณะกรรมการมรดกโลกแห่งชาติไทยแบบไม่ร่ำลากัน (แต่งตั้ง 24 มิถุนายน 2551 เดินทางไปประชุมมรดกโลกวันที่  2 กรกฏาคม 2551 ได้พูดตามที่เจ้าหน้าที่ กต. เตรียมให้ นาทีสุดท้ายของการประชุมเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 หลังจากคณะกรรมการลงมติให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนมรดกโลกเรียบร้อยแล้ว)  คณะกรรมการมรดกโลกแห่งชาติก็เหมือนจะแพแตก
งงๆว่าย้ายสังกัดจากกระทรวงศึกษามาอยู่กระทรวงวัฒนธรรม หรืออาจกำลังหาห้องทำงานอยู่ ผมไม่แน่ใจครับ ตกข่าวไปเลย
ท่านใดทราบโปรดแจ้งร่วมด้วยช่วยกันด่วน ยังไงๆ "ยูเนสโก" ถ้าไม่อยู่กับกระทรวงศึกษาก็น่าจะเป็นกระทรวงวิทยาศาตร์
หรือพอมีเรื่องปราสาทมืด เอ๊ย พระวิหาร เลยวิ่งไปกระทรวงวัฒนธรรม ยังไงก็แล้วแต่ครับ ใครเป็นเจ้าภาพเรื่องมรดกโลกวันนี้???
ถ้า หลักลอย จะหลงทางไปที่ "จีบีซี" ลูกเดียวจะเสียท่า แล้วยิ่ง กต. กำลังเร่งจัดทำสนธิสัญญาไทย-กัมพูชาเพื่อรับรองผลการปักปัน จะไปกันใหญ่
คือ มั่วอ่ะ! อย่าลืมว่าเราเป๋มาตั้งแต่การประชุมครั้งที่ 31 กลางปี 2550 ที่มาดามแกหลับตาบรรเลงว่าไทยสนับสนุนกัมพูชาขึ้นทะเบียนมรดกโลกฝ่ายเดียว!!

ผม คิดว่าเรายังไม่ถึงกับเจอทางตัน วันสุดท้ายของที่ประชุมมรดกโลกที่สเปน 30 มิถุนายน 2552 ยูเนสโกได้ประธานคณะกรรมการมรดกโลกคนใหม่เพื่อทำหน้าที่ในการประชุมครั้งที่ 34 กลางปี 2553 เป็นชาวบราซิล ส่วนรองประธานอีกสามคนมาจากออสเตรเลีย อียิปต์และสวีเดน ก่อนจะมีการประชุมมรดกโลกที่บราซิลกลางปีหน้า และก่อนถึงงวดสุดท้ายที่ไทยต้องปันดินแดนให้เขมร 1 กุมภาพันธ์ 2553 รัฐบาลไทยต้องเร่งหาทางออกให้พ้นจากมนต์ดำเขมร ก่อนจะกู่ไม่กลับ



ผม แอบไปอ่านประวัติของท่านประธานมรดกโลกคนใหม่ จบด้านสังคมวิทยาจากซอบอน ไม่ใช่นักเรียนทุนจาก ริโอเดอจาเนโร ครับ ที่ไปเรียนถึงฝรั่งเศสเพราะช่วงวัยรุ่นจนหนุ่มใหญ่เป็นนักกิจกรรมการเมือง ตัวยงจนชาติต้องการ (หมายจับ) ต้องลี้ภัยไปหลายประเทศ
ไม่งั้นคงต้องอยู่ โรงเรียนกินนอนบ้านเมตตากรุณาประมาณนั้น ท่านเป็นประธานนักเรียนทั่วประเทศตั้งแต่อยู่ไฺฮสคูลที่บราซิล เป็นวัยรุ่นแซมบ้าน่ารักคนหนึ่งวันวาน และวันนี้เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลบราซิลปัจจุบันครับ

 :




ผมอยากให้รัฐบาลไทยส่งเจ้าภาพมรดกโลกจากไทย (ถ้ามี) ไปคุยนอกรอบกับประธานมรดกโลกคนใหม่ด่วนที่สุด


ผมขอเสนอเป้าหมายข้อเดียว หากรัฐบาลคิดจะแก้ปัญหานี้ให้เป็นเรื่องเป็นราว

H. E. Juca Ferreira



ทบทวนข้อเสนอขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก (WHC Nomination File January 30, 2006 http://www.nationmultimedia.com/pdf/Pre ... nglish.pdf) เพื่อพิจารณายกเลิก พร้อมแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาวันที่ 18 มิถุนายน 2551(http://www.nationmultimedia.com/pdf/jointcommunique.pdf) ผ่านการเจรจา 3 ฝ่าย ไทย กัมพูชา และยูเนสโก สถานที่อาจเป็น ศูนย์มรดกโลกที่เกิดเหตุ ณ กรุงปารีส ก่อนวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553


เหตุผล จุดยืนของไทย และปัญหาที่สมควรเรียนให้ท่านประธานคณะกรรมการมรดกโลกรับทราบ 2 ข้อ:

1. รัฐบาลไทยถือเป็น “วาระแห่งชาติ” ที่ไม่สนับสนุนความพยายามของกัมพูชามาตั้งแต่ปี 2534 ที่กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนแหล่งโบราณคดีปราสาทพระวิหาร   หากยังติดใจปัญหาเรื่องพรมแดนธรรมชาติ (demarcation) ที่ยากจะกำหนดเพราะบริเวณนั้นไม่มีแม่น้ำ คลอง ลำธารเป็นที่หมาย ให้ใช้เกณฑ์สันปันน้ำตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศสปี ค.ศ. 1904 เนื่องจากกฎหมายระหว่างประเทศรับรองให้ใช้เป็นเกณฑ์เส้นแบ่งเขตแดน (delimitation) ได้ แต่ทั้งหลายทั้งปวง ก่อนจะปักปันเขตแดนกันในจุดใดที่ยังเหลืออยู่ ต้องยุติเรื่องขึ้นทะเบียนมรดกโลกไว้ก่อน เพราะพูดตอนนี้ไม่รู้เรื่อง มันมั่วมาตั้งแต่...

2. ศูนย์มรดกโลก (Unesco's World Heritage Centre: WHC) บรรจุข้อเสนอขอขึ้นทะเบียนฯ (Nomination File) ลงวันที่ 30 มกราคม 2549 ของกัมพูชาเข้าสู่ในวาระพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 31 ระหว่างวันที่ 23 มิถุนายน – 2 กรกฎาคม 2550 ที่เมืองไครซ์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ (http://whc.unesco.org/archive/2007/whc07-31com-24e.pdf คำแปล: http://whc.unesco.org/archive/2007/whc07-31com-24e.pdf) โดยปราศจากหลักฐานที่แสดงว่าไทยในฐานะ "รัฐคู่กรณีพิพาท" ให้การสนับสนุน ("ลักไก่")
ยัง ไม่ต้องพูดว่า หลังจากนั้น ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการมรดกโลกที่ปารีสยังเพิ่มปัญหาให้ความสัมพันธ์ ประเทศทั้งสองทวีความตึงเครียดเป็นลำดับ เหมือนไม่ตระหนักในปรัชญาของยูเนสโกที่ต้องการสันติภาพในมนุษยชาติผ่านการมี มรดกโลกร่วมกัน







เรื่องราวของปราสาทพระวิหาร
ยังคาดเดาทางออกของประเทศไม่ได้เลย...


แม้จะเต็มไปด้วยข้อมูล รายละเอียดที่เป็นเหตุผลและหลักฐาน


ข้อมูลที่ได้ติดตามรวบรวมมาไว้ที่ตรงนี้ ...
หวังอย่างยิ่งว่า...จะเป็นประโยชน์ให้ประชาชนชาวไทยได้เข้าใจ
ในความเป็นมา ที่ต่อเนื่อง






กระทรวงการต่างประเทศ  จะสามารถกระตุ้นเตือนรัฐบาล (นายกฯ)
มากน้อย อย่างไรบ้าง...นะคุณอารยา


ทุกวันนี้ บทบาทการเคลื่อนไหวเพื่อหาทางแก้เงื่อนปม
ดูจะหนักไปทางกลุ่มนักวิชาการและประชาชน เสียมากกว่า




ดร. สมปอง ท่านว่าฝรั่งเศสวาดแผนที่ โดยลำพังเสร็จ 11 ระวางเมื่อปี 1908 ไม่ได้ใช้หลักสันปันน้ำตามที่ตกลงในอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส 1904  (เมื่อกัมพูชาแนบระวางที่ใช้มาตราส่วน 1:200,000 ที่เรียกว่า “Annex one” ไปพร้อมกับคำฟ้องไทยกรณี “เขาพระวิหาร” ต่อศาลโลกปี 2505 ทางไทยถือว่าเป็นหลักฐานประกอบคำฟ้องปกติ ไม่จำเป็นต้องไปแย้งให้เป็นประเด็นอะไร  ) การที่แพ้คดีครั้งนั้น ศาลโลกมีคำวินิจฉัย 37 หน้า มิได้ให้ความสำคัญความขัดแย้งระหว่างอนุสัญญา 1904 กับแผนที่ 1908 ดูเผินๆก็เสมือนศาลโลกไม่มห้ความสำคัญกับแผนที่ แต่ดูลึกอีกนิดก็แปลว่าศาลไม่ให้ความสำคัญหับอนุสัญญา 1904 ด้วย และนั่นทำให้ไทยแพ้คดีผ่านการใช้ “หลักกฎหมายปิดปาก” โดยนำเอาประเด็นต่างๆทางประวัติศาสตร์ที่ไทยนิ่งเฉยมาอ้างพาดพิงกับจุด 2 มิลลิเมตรที่ปรากฏอยู่ในแผนที่ฝรั่งเศสว่า จุดนั้นคือตำแหน่งที่ตั้งของตัวปราสาทพระวิหารที่อยู่ในเขตของกัมพูชา เป็นคำตัดสินที่เลือกประเด็นและหลักฐานที่ให้ประโยชน์แก่โจทก์อย่างจงใจของ ผู้พิพากษา 6 คน อีก 3 คนที่ไม่เห็นด้วยถือว่าเป็นคำตัดสินที่ผิดปกติที่สุดในประวัติศาสตร์การ ตัดสินความของศาลโลก เพราะเป็นการยกอธิปไตยของประเทศหนึ่งให้กับอีกประเทศหนึ่งโดยขาดหลักฐานสนับ สนุนที่ฟังได้ โดยเฉพาะกรณีนี้เห็นชัดว่าทีแรกก็เลือกหลักกฎหมายละติน (มาปิดปากไทย) แล้วทำเป็นมองข้ามแผนที่ฝรั่งเศส แต่พอหมดมุกก็กลับไปเปิดแผนที่เส็งเคร็งนั้นมาเอาเรื่องจนได้ ท่าน ดร. สมปองท่านตั้งข้อสังเกตว่านอกจากเป็นแผนที่เขียนโดยขาดหลักสากล ไม่เป็นไปตามที่ตกลงแล้ว ตรงจุด 2 มิลลิเมตรนั้นมีรอยพับที่เลือนรางจนแทบมองไม่เห็นด้วยซ้ำ
 1ใน 3 ของผู้พิพากษาเสียงข้างน้อยเขียนคำแย้งข้อวินิจฉัยของศาลโลก  40 หน้า ซึ่งวันนี้อารยาคิดว่ากระทรวงการต่างประเทศต้องเอามาทบทวนเพื่อตั้งสติกัน ใหม่ จำเลยวันนี้มิใช่แค่ยูเนสโกที่ตัดสินเอนเอียงเรื่องมรดกโลก (ที่เอาแน่ยังไม่ได้เลยว่า ตกลงยก The Sacred Site of the Temple of Preah Vihear หรือ The Temple  of Preah Vihear ให้กัมพูชากันแน่) แต่ต้องสาวไปถึงศาลโลกด้วยว่า ประการแรกมาตรวัดฐานความผิดของไทยที่ใช้หลักกฎหมายปิดปากนั้น ฟังได้หรือไม่ อีกประการคือ เหตุไรจึงขาดความคงเส้นคงวาในการใช้แผนที่ประกอบการวินิจฉัย เพราะทีแรกไม่ให้ความสำคัญกับปผนที่ฝรั่งเศส แต่พอจะยกอธิปไตยให้กัมพูชาก็กลับมาใช้

กลับมาดูทางไทยในห้วง 10 ปีที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศไทยเห็นความกะล่อนของทั้งกัมพูชาและพฤติกรรมที่ไม่เป็น ธรรมของศาลโลกมาเกือบ 40 ปี ก็เลยสับสนไปกับหลากหลายมาตรฐาน พลอยเบลอถึงกับเขียนใน MOU 2543 ว่าไทยร่วมจัดทำด้วยกับฝรั่งเศส นั่นเป็นจุดอ่อนที่กัมพูชาเองยังประหลาดใจว่าเจ้าหน้าที่และ/หรือรัฐมนตรี ไทยอ่อนซ้อมถึงกับถอดใจกับคำขู่ว่าถ้าไม่อ้างแผนที่ฝรั่งเศสจะไปฟ้องศาลโลก และนั่นคือที่มาของบันทึกช่วยจำ 2543 ดังกล่าว และต่อมาใน TOR 2546 ตกลงทั้งรัฐบาล ปชป.และ  ทรท. โดนเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศให้คำปรึกษาไร้สติ จนวันนี้กลายเป็นถือทิฐิจนทางพนมเปญคงนั่งหัวเราะท้องขัดท้องแข็งแล้วเป็น แน่

วันนี้ กต. ก็ยังยืนยันความเข้าใจผิดของตนตลอด 10 ปีที่เกิดจากไปงัดเอาแผนที่ฝรั่งเศสมาอ้างจนฮุนเซนได้ใจสุดๆ ถึงกับปลายเดือนที่แล้วลั่นว่ายังไงๆต้องถือแผนที่ฝรั่งเศส แต่ก่อน 40 กว่าปีกล้าพูดไหมครับ วลีอย่างนี้ เพราะจะถูกสวนกลับว่างี่เง่า แต่เมื่อเรางี่เง่าเสียเอง มันก็กล้าสิ เพราะมีแต่จะได้การสนับสนุนจากไทยว่า เออ พูดถูกว่ะ หารู้ไม่ว่า นี่คือการเดินหลงทางไปสู่การเสียดินแดนซ้ำซาก



เรื่อง กัมพูชาจะฟ้องศาลโลกอีกรอบนั้น ถ้าไทยจะไม่รับหมายศาลโลก ก็ทำได้ กระทรวงต่างประเทศน่าจะเข้าใจ เพื่อจะได้ไม่ต้องตกใจมากมาย หลังจากเต้นตามเกมเขมรมากว่า 40 ปี ดร. สมปองท่านบอกแล้วว่า การจะนำปัญหาในกรอบทวิภาคี (ไทย-กัมพูชาล้วนๆกรณีมรดกโลก) ไปทำเป็นปัญหาพหุภาคี (ขึ้นศาล) มันทำไม่ได้ง่ายๆ ซึ่งเป็นหลักง่ายๆ เขมรมันชอบขู่ เดี๋ยวจะเอาเข้าอาเซียน หรือคณะมนตรีความมั่นคง ยูเอ็น เอาเข้าจริงๆก็แหย เออ ถ้ามีสงครามรบพุ่งกันก่อนสิไม่ว่า ขี้คร้านกองกำลังสหประชาชาติจะแส่เข้ามาแทรกไม่เกินสองอาทิตย์ ลองดูก็ได้ เอาไหม
ประเด็นคือไปกลัวคำขู่กัมพูชาทำไม พูดหยาบๆ ไปคิดเหมือนคนที่เคยเป็นขี้ข้าเขามาก่อนทำไม
 รัฐ มนตรีกษิตอย่าอ้างว่าอ่านเอกสารหมดแล้ว บางครั้งการกลับมาทบทวนอีกครั้งในขณะสวมบทบาทต่างจากก่อนเกษียณราชการ ความคิดความอ่านมีโอกาสเห็นต่างไปจากเดิม อาจได้มิติใหม่ทางปัญญา  และพบประเด็นที่ไม่เคยพบมาก่อนได้ เช่น อาจต้องถามตัวเองว่าคิดดีแล้วหรือที่จะหาเรื่องเอาข้อตกลงชั่วคราวก่อนทำ “สนธิสัญญาไทย-กัมพูชา” ไปให้สภาพิจารณา(ตามมาตรา 190 ใน รธน.) ????
ดร. สมปอง ท่านกล่าวไว้เมื่อสามวันก่อน อารยาฟังชัดหูว่า สภาต้องไม่ผ่าน มิฉะนั้น ผามออีแดง ศรีสะเกษ จะถูกเขมรกินเรียบ และอยากให้ กต. ฟังเสียงของประชาชนและนักวิชาการ แทนที่จะคิดแบบข้าราชการ และเตือนทุกฝ่ายให้ความสำคัญกับอธิปไตยของชาติ ไทยเป็นชาติรักสงบ "ต้องการสันติภาพ แต่เตรียมทำสงครามด้วย" 
วันนี้ประชาชนโชคดีที่มี รธน. มาตรา 190 ที่ทำให้เรารู้ว่า รัฐบาลกำลังจะทำอะไรผิดซ้ำซาก แต่ที่ทำให้ประชาชนรู้สึกไม่สบายใจคงเป็นทัศนคติเดิมๆของรัฐบาลที่ไม่เปลี้ย น ยังคงมองว่าไม่มีใครรู้ดีเท่าตน โดยเฉพาะที่เห็นค่อนข้างชัดในพฤติกรรมของกระทรวงการต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นในระดับรัฐมนตรีหรืออธิบดีบางคน









มาตรา 190 ในรัฐธรรมนูญ 2550



   พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจในการทำหนังสือสัญญาสันติภาพ สัญญาสงบศึก
และสัญญาอื่นกับนานาประเทศหรือกับองค์การระหว่างประเทศ

   หนังสือ สัญญาใดมีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทย หรือเขตพื้นที่นอกอาณาเขต
ซึ่งประเทศไทยมีสิทธิอธิปไตยหรือมีเขตอำนาจตามหนังสือสัญญาหรือตามกฎหมาย ระหว่างประเทศ
หรือจะต้องออกพระราชบัญญัติเพื่อให้การเป็นไปตามหนังสือสัญญา
หรือมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง
หรือมีผลผูกพันด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศอย่างมีนัยสำคัญ
ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา
ในการนี้ รัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องดัง กล่าว


   ก่อน การดำเนินการเพื่อทำหนังสือสัญญากับนานาประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศตามวรรคสอง
คณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
และต้องชี้แจงต่อรัฐสภาเกี่ยวกับหนังสือสัญญานั้น
ในการนี้ ให้คณะรัฐมนตรีเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบด้วย

   เมื่อ ลงนามในหนังสือสัญญาตามวรรคสองแล้ว ก่อนจะแสดงเจตนาให้มีผลผูกพัน
คณะรัฐมนตรีต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญานั้น
และในการที่การปฏิบัติตามหนังสือสัญญาดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน
หรือ ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม
คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบนั้นอย่างรวดเร็ว เหมาะสม และเป็นธรรม

   ให้ มีกฎหมายว่าด้วยการกำหนดขั้นตอนและวิธีการจัดทำหนังสือสัญญา
ที่มีผลกระทบต่อ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง
หรือมีผลผูกพันด้านการค้า หรือการลงทุน อย่างมีนัยสำคัญ
รวมทั้งการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามหนังสือสัญญา ดังกล่าว
โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมระหว่างผู้ที่ได้ประโยชน์กับผู้ที่ได้รับผล กระทบ
จากการปฏิวัติตามหนังสือสัญญานั้นและประชาชนทั่วไป

   ในกรณีที่มีปัญหาตาม วรรคสอง ให้เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัยชี้ขาด
โดยให้นำบทบัญญัติตามมาตรา 154(1) มาใช้บังคับกับการเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยอนุโลม





มติคณะกรรมการมรดกโลก  เลื่อนพิจารณาแผนพัฒนาพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารไปปีหน้า




คณะกรรมการมรดกโลก มีมติให้เลื่อนพิจารณาแผนบริหารจัดการพื้นที่รอบๆปราสาทพระวิหารไปปีหน้า
เนื่องจากกัมพูชาเสนอแผนพัฒนาพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ในระยะเวลากระชั้นชิดเกินไป
และมีรายละเอียดที่ต้องไปถกเถียงกันอีก
จึงให้เลื่อนวาระนี้ไปไม่พิจารณาในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งนี้ที่ประเทศบาห์เรน


ทำให้มีช่วงเวลาที่ไทยและกัมพูชา จะเจรจากันเรื่องปักปันเขตแดน เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น
และทำให้ความตึงเครียดบริเวณแนวชายแดน โดยเฉพาะเขาพระวิหารคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น


รายละเอียดจากในที่ประชุม หลังมีการแจกเอกสารให้กับผู้เข้าร่วมประชุม และกำลังจะเริ่มมีการหารือกันขึ้น
ทางคณะผู้แทนกัมพูชา ได้ขอเลื่อนวาระการประชุมออกไปอีก
เพื่อเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของมติบางอย่าง พร้อมมีการใช้เทคนิคในการยืนขอแก้ไขถอยความรับรองที่ประชุมจากเดิม
ที่มีการระบุว่า "รับทราบการส่งเอกสาร" (Take Note of Submittion of Document)
ไปเป็น "รับทราบเอกสาร" (Take Note of document)
ซึ่งหมายถึง รับทราบรายละเอียดเอกสารทั้งหมด

จนทำให้ไทย ต้องยื่นค้านไม่รับรอง และระบุว่า ยังไม่รับทราบเอกสารดังกล่าว
ซึ่งถึงวินาทีสุดท้าย ก็ยังไม่เห็นแผนการของกัมพูชาแต่อย่างใด



ทั้งนี้ การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกเพื่อพิจารณาแผนบริหารจัดการพื้นที่ปราสาทพระวิหาร
ตามกำหนดเดิมจะมีขึ้นในวันที่ 28 ก.ค.ตามเวลาท้องถิ่นซึ่งตรงกับเช้ามืดวันที่ 29 ก.ค.ตามเวลาในไทย
 แต่ประธานคณะกรรมการมรดกโลกซึ่งเป็นชาวบราซิลเห็นว่าไทยมีท่าทีคัดค้านแผนดังกล่าว
จึงให้ไทยและกัมพูชาหารือกันก่อน ซึ่งไม่สามารถตกลงกันได้ จึงมีการเลื่อนวาระมาเป็นช่วงเช้าของวันที่ 29 ก.ค
.ซึ่งตรงกับเวลาประมาณ 20.00 น.ตามเวลาในไทย
แต่ทั้งสองฝ่ายก็ยังไม่สามารถตกลงกันได้ โดยฝ่ายไทยมีท่าทีที่แข็งกร้่าวมากขึ้น
ด้วยการประกาศจะเดินออกจากที่ประชุมหากมีการพิจารณาแผนดังกล่าว
รวมทั้งจะลาออกจากการเป็นกรรมการมรดกโลก
ที่ประุชุมจึงต้องเลื่อนการพิจารณามาเป็นช่วงบ่ายของวันที่ 29
ซึ่งตรงกับเวลาประมาณ 03.00 น.ของวันที่ 30 ก.ค.ตามเวลาในไทย
แต่ก็ยังไม่สามารถตกลงกันได้อีก จึงต้องเลื่อนการพิจารณาออกไปเป็นปีหน้าในที่สุด





การชุมนุมเคลื่อนไหวของประชาชน เพื่อยืนหนังสือคัดค้านการขึ้นทะเบียนปราทพระวิหารต่อยูเนสโก
ส่งผลทีสำคัญยิ่งอีกเรื่องหนึ่งคือ ทำให้ผู้อำนวยการยูเนสโก ที่สำนักงานใหญ่ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
ต้องออกมาให้สัมภาษณ์ ที่มีนัยเป็นการกระตุกให้ คณะกรรมการมรดกโลก
 ต้องตรึกตรองให้หนักว่า เจตนารมณ์ของ การเป็นมรดกโลกคืออะไร



(ภาพจาก AP)


ไม่ถึง 24 ชั่วโมง หลังการชุมนุมของกลุ่มภาคีเครือข่ายผู้ติดตามปัญหา ปราสาทเขาพระวิหาร
กลุ่มสันติอโศก และพันธมิตรภาคใต้ 16 จังหวัด ที่นำโดยพลตรี จำลอง ศรีเมือง
และการพบกับตัวแทนพันธมิตรที่บ้านพิษณุโลก  ในบ่ายวันเดียวกัน (27 กค.)
ท่าทีของนายอภิสิทธิ์ ก็เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง แข็งกร้าวขึ้นมาอย่างกะทันหัน
ยืนยันอย่างหนักแน่นว่า ประเทศไทยจะคัดค้าน แผนการบริหารจัดการพื้นที่ 4.6ตารางกิโลเมตร ของกัมพูชา
ที่สอดไส้เอาแผนที่ที่รุกล้ำดินแดนของไทยเข้ามาด้วย
       ถึงกับ ออกเป็นมติ ครม. ให้นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแสดล้อม
วอลก์เอาท์ ออกจากที่ประชุม หากยูเนสโกยืนยันจะพิจารณาเรื่องนี้ต่อไป
และให้ประกาศถอนตัวจากภาคีสมาชิกมรดกโลก เพื่อประท้วงคณะกรรมการมรดกโลก


นอกจากชาวไทยทั่วประเทศที่จะยินดีแล้ว...กลุ่มคนไทยรักแผ่นดิน นำโดยนายชัยวัฒน์ สินสุวงศ์
ได้ชุมนุมกันหน้าสำนักงานยูเนสโก เอกมัย
ตั้งแต่ช่วงเย็นเมื่อวานที่ผ่านมา  (29 กค.) เมื่อได้รับทราบข่าวว่าคณะกรรมการมรดกโลก
ได้เลื่อนพิจารณาวาระดังกล่าวออกไป ก็ได้โห่ร้อง แสดงความดีใจ
 และทางกลุ่มคนไทยรักแผ่นดิน ที่ชุมนุมกันต่อเนื่องถึงวันนี้
 เตรียมเคลื่อนขบวนไปยื่นหนังสือคัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารที่ทำเนียบรัฐบาลต่อไป




ข้อมูลจากโพสต์ทูเดย์และแมเนเจอร์ออนไลน์ 30 กรกฎาคม 2553




เหตุการณ์ระว่าง เขมร กับไทย ยืดเยื้อ มาเนินนาน
ถึงตอนนี้ยังถือว่าสถานการณ์ความตึงเครียดบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ยังร้อนระอุและวางใจไม่ได้ดีนัก
หลังเกิดเหตุปะทะกันของทหารไทยกับทหารกัมพูชา 2 ครั้ง
เมื่อช่วงสายวันศุกร์ที่ 4 ก.พ. และช่วงเช้าวันเสาร์ที่ 5 ก.พ.ที่ผ่านมา


 
                                                            ตอนที่ 5
                                             
                                                          -----------

ย้อนดู ข้อมูลของ ป้า เสลา ที่ติดตามกรณี ไทย-กัมพูชา เรื่องเขาพระวิหารมาตลอด 5





คำปราศรัยของ ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์


ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวคำปราศรัยทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
เกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหารเมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ตามข้อความดังนี้
พี่น้องร่วมชาติ และมิตรร่วมชีวิตของข้าพเจ้าทั้งหลาย


ตามที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “ศาลโลก”
ได้วินิจฉัยชี้ขาดเมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕ ให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา
และทางรัฐบาลได้ออกแถลงการณ์ให้พี่น้องทั้งหลายได้ทราบมาตามลำดับแล้วนั้น
โดยที่รัฐบาลของพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและโดยเฉพาะตัวข้าพเจ้า
ถือว่าเรื่องนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะเกี่ยวกับผลได้ผลเสียอย่างสำคัญของชาติ
เป็นเรื่องของแผ่นดินไทยซึ่งเป็นมรดกที่บรรพบุรุษของเราสู้อุตส่าห์ฝ่าคมอาวุธรักษาไว้
และตกทอดมาถึงคนรุ่นเรา จึงสมควรที่เราทุกคนจะได้เอาใจใส่
และสนใจร่วมรู้ร่วมเห็นก่อนที่จะมีการดำเนินการใดๆ ลงไปเกี่ยวกับผืนแผ่นดินนี้


ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงถือว่าเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลและของตัวข้าพเจ้าเอง
ที่ต้องชี้แจงให้พี่น้องร่วมชาติทั้งหลายได้ทราบถึงการที่รัฐบาลนี้ต้องตัดสินใจในกรณีปราสาทพระวิหารต่อไป


แต่เนื่องในการกล่าวคำปราศรับนี้เป็นเรื่องที่สะเทือนใจพี่น้องทั้งหลายอยู่มาก
ข้าพเจ้าจึงจำต้องขออภัยไว้ล่วงหน้า


ข้าพเจ้าทราบดีว่า ในส่วนลึกที่สุดของหัวใจแล้ว คนไทยผู้รักชาติทุกคน
มีความเศร้าสลดและขมขื่นใจเพียงใด  การแสดงออกของประชาชน
ในการเดินขบวนทั่วประเทศเพื่อคัดค้านคำพิพากษาของศาลโลกในสัปดาห์ที่แล้วมา
เป็นสิ่งที่เห็นกันอย่างแน่ชัดอยู่แล้ว


แต่ก็จะทำอย่างไรได้  เราต้องถือเป็นคราวเคราะห์ร้ายของเราที่ต้องมาประสบกับชตากรรมเช่นนี้
เราจะไม่โทษใครเป็นอันขาด เพราะการที่ไปโทษคนที่พ้นหน้าที่ไปนั้นย่อมเป็นการไม่สมควร
แต่ทั้งนี้ก็มิใช่เราจะพากันนิ่งเฉยท้อแท้ใจ
ชาติไทยจะยอมท้อแท้ทอดอาลัยไม่ได้
เราเคยสูญเสียดินแดนแก่ประเทศมหาอำนาจที่ล่าอาณานิคมมาแล้วหลายครั้ง
ถ้าบรรพบุรุษของเราของเรายอมท้อแท้  เราจะเอาแผ่นดินที่ไหนมาอยู่กันจนถึงทุกวันนี้


เราจะต้องหาวิธีต่อสู้ต่อไป
ส่วนเราจะต่อสู้อย่างไรนั้น นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
เพราะในการต่อสู้กรณีเช่นนี้ เราอาจทำได้หลายวิธี
และแต่ละวิธีก็มีผลดีผลเสียแตกต่างกัน

เราจะต้องได้พิจารณาให้สุขุมรอบคอบ
ต้องใช้เหตุผลเหนืออารมณ์ และด้วยสายตามองการณ์ไกล
แล้วเลือกใช้วิธีที่ดีที่สุด  ละเมียดละไมและให้คุณประโยชน์มากที่สุด
ทั้งในเวลานี้และในอนาคต
ชาติเราจึงจะสามารถธำรงเอกราชและอธิปไตยอยู่ได้
และอยู่ในฐานะที่กล่าวได้ว่า “เต็มไปด้วยศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิ”

ขอให้พี่น้องผู้รักชาติทั้งหลายโปรดอย่าได้ใช้อารมณ์หุนหันพลันแล่น
หรือคิดมุทลุจะหักหาญด้วยกำลังแต่เพียงอย่างเดียว



สำหรับตัวข้าพเจ้าเอง ในฐานะที่มีชีวิตเป็นทหารมาแต่เล็กแต่น้อย
และได้เคยผ่านสงครามทำการสู้รบมาแล้วหลายครั้ง
ข้าพเจ้าจึงมิได้มีความเกรงกลัวการสู้รบแต่ประการใด
แต่ตามพันธกรณีที่มีอยู่ตามกฎบัตรสหประชาชาติ  ยังไม่เป็นเรื่องที่ควรรบกัน



สำหรับกรณีปราสาทพระวิหารซึ่งศาลโลกได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้วนั้น
ข้าพเจ้าขอทบทวนความเข้าใจกับเพื่อนร่วมชาติทั้งหลายว่า
รัฐบาลและประชาชนชาวไทยไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลโลกทั้งในข้อเท็จ จริง
ในทางกฎหมายระหว่างประเทศและในหลักความยุติธรรม ตามเหตุผลที่รัฐบาลได้แถลงไปแล้ว


แต่เราก็ตระหนักดีว่าคำพิพากษาของศาลเป็นอันเสร็จเด็ดขาด ไม่มีทางจะอุทธรณ์ได้
ยิ่งกว่านั้น มาตรา ๔๔ บ่งไว้ว่า


“ข้อ ๑ สมาชิกแต่ละประเทศของสหประชาชาติรับที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัย
ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีใดๆ ที่ตนตกเป็นผู้แพ้


ข้อ ๒ ถ้าผู้แพ้ในคดีใดไม่ปฏิบัติ ข้อผูกพันซึ่งตกอยู่แก่ตนตามคำวินิจฉัยของศาล
อีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องเรียนไปยังคณะมนตรีความมั่นคง
ซึ่งถ้าเป็นเป็นความจำเป็น ก็อาจทำตามคำแนะนำหรือวินิจฉัยมาตรการ
ที่จะดำเนินเพื่อยังผลให้เกิดแก่คำพิพากษานั้นได้”


เมื่อเป็นดังนี้ แม้ว่ารัฐบาลและประชาชนชาวไทยจะได้มีความรู้สึกสลดใจและขมขื่นเพียงใด  
ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็จะต้องปฏิบัติตามพันธกรณีในกฏบัตรสหประชาชาติ
กล่าวคือ จำต้องยอมให้กัมพูชามีอำนาจอธิปไตยเหนือพระวิหารนั้นตามพันธกรณีแห่งสหประชาชาติ
แต่รัฐบาลขอตั้งข้อประท้วงและขอสงวนสิทธิ์อันชอบธรรมของประเทศไทยในเรื่องนี้ไว้
เพื่อสงวนสิทธิ์ที่จะดำเนิน การทางกฎหมายที่จำเป็นซึ่งอาจมีขึ้นในภายหน้าให้ได้สิทธิ์นี้กลับคืนมาในโอกาสอันควร


พี่น้องชาวไทยที่รัก ข้าพเจ้าก็เป็นคนไทยคนหนึ่งที่มีความรู้สึกนึกคิดเช่นเดียว กับพี่น้องทั้งหลาย
และถ้าพูดถึงความรักชาติบ้านเมือง ข้าพเจ้าก็เชื่อเหลือเกินว่าข้าพเจ้ามีความรักชาติ
ไม่น้อยกว่าพี่น้องคนไทยทั้งหลาย


แต่ที่รัฐบาลจำต้องโอนอ่อนปฏิบัติตามพันธกรณีในกฏบัตรสหประชาชาติ
ก็โดยคำนึงถึงเกียรติภูมิของประเทศไทยที่เราสร้างสมไว้เป็นเวลานับเป็นร้อยๆ ปี
ยิ่งกว่าปราสาทพระวิหาร


ทั้งนี้ มิใช่เกิดเพราะความกลัวหรือความขี้ขลาดแต่ประการใดเลย
แต่พี่น้องชาวไทยทั้งหลายต้องมองการณ์ไกล เวลานี้เราอยู่ในสังคมของโลก
สมัยนี้ไม่มีชาติใดที่จะอยู่โดยโดดเดี่ยวได้
ประเทศไทยของเราได้รับความนิยมนับถือจากสังคมนานาชาติเพียงใด
พี่น้องทั้งหลายคงจะทราบดีอยู่แล้ว ถ้าชาติของเราต้องเสียศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิไป
เนื่องจากปราสาทพระวิหารคราวนี้แล้ว


อีกกี่สิบกี่ร้อยปีเราจึงจะสามารถสร้างเกียรติภูมิที่สูญเสียไปคราวนี้กลับคืนมาได้
ข้าพเจ้าทราบดีว่าการสูญเสียปราสาทพระวิหารคราวนี้เป็นการสูญเสียที่สะเทือนใจคนไทยทั้งชาติ
ฉะนั้น แม้ว่ากัมพูชาจะได้ปราสาทพระวิหารนี้ไป ก็คงได้แต่ซากสลักหักพัง
และแผ่นดินที่รองรับพระวิหารนี้เท่านั้น
แต่วิญญาณของปราสาทพระวิหารยังอยู่กับไทยตลอดไป


ประชาชนชาวไทยจะรำลึกอยู่เสมอว่า ปราสาทพระวิหารของไทยถูกปล้นเอาไป
ด้วยอุปเท่ห์เล่ห์กลของคนที่ไม่รักเกียรติและไม่รักความชอบธรรม
เมื่อประเทศไทยประพฤติปฏิบัติตนดีในสังคมโลก เป็นประเทศที่มีศีลมีสัตย์
ในวันหนึ่งข้างหน้าไม่ช้าก็เร็ว ปราสาทพระวิหารจะต้องกลับคืนมาอยู่ในดินแดนไทยอีกครั้งหนึ่ง
ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่าการปฏิบัติของประเทศไทยตามพันธกรณีในกฏบัตรสหประชาชาติครั้งนี้
คงจะทำให้ประเทศต่างๆทั่วโลกเห็นอกเห็นใจเรายิ่งขึ้น


เหตุการณ์เกี่ยวกับปราสาทพระวิหารครั้งนี้จะสลักแน่นอยู่ในความทรงจำของคนไทยสืบไปชั่วลูกชั่วหลาน
และจะเป็นรอยจารึกอยู่ในประว้ติศาสตร์ของชาติไทยตลอดไปเสมือนหนึ่งเป็นแผลในหัวใจของคนไทยทั้งชาติ
แต่ข้าพเจ้าก็ยังหวังอยู่เสมอว่า ในที่สุดธรรมะย่อมชนะอธรรม การหัวเราะทีหลังย่อมหัวเราะดังและนานกว่า


อนึ่ง ในเรื่องนี้รัฐบาลรู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระประมุขที่เคารพยิ่งของปวงชนชาวไทยที่ได้พระราชทานคติและพระบรมราโชวาท
แก่รัฐบาลด้วยความที่ทรงห่วงใยในสวัสดิภาพของชาติบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง


ขอให้พี่น้องร่วมชาติจงได้วางใจเถิดว่า รัฐบาลที่ข้าพเจ้าเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่นี้
จะสามารถนำชาติและพี่น้องชาวไทยที่รักก้าวไปสู่อนาคตอันสุกใสได้
ในที่สุด ข้าพเจ้าขอรับรองต่อท่านทั้งหลายว่า เมื่อคราวที่ชาติเข้าที่คับขันแล้ว
ข้าพเจ้าจะกอดคอร่วมเป็นร่วมตายกับพี่น้องชาวไทย
เอาเลือดทาแผ่นดินโดยไม่เสียดายชีวิตเลยแม้แต่นิดเดียว  แต่ราจะทำอย่างไรได้
ข้าพเจ้าเองก็มีความเจ็บช้ำน้ำใจมิได้น้อยกว่าเพื่อร่วมชาติทั้งหลาย  


การที่ข้าพเจ้าต้องมากล่าวถึงเรื่องนี้ในวันนี้ ข้าพเจ้าอยากจะกล่าวว่า
ข้าพเจ้ามาพูดกับท่านด้วยน้ำตา แต่น้ำตาของข้าพเจ้าเป็นน้ำตาของลูกผู้ชาย
ของเลือด ของความคั่งแค้นและการผูกใจเจ็บไปชั่วชีวิตทั้งชาตินี้และชาติหน้า
ต่อดวงวิญญาณของบรรพบุรุษผู้กล้าหาญของชาวไทย
ข้าพเจ้าขอกล่าวคำปฏิญานด้วยสัจวาจานี้ไว้  พี่น้องที่รัก
น้ำตามิได้ช่วยให้คนฉลาดขึ้นและได้อะไรคืนมา
นอกจากความพยายาม ความสามัคคี ความสุขุมรอบคอบ
ความอดกลั้นที่จะกล้าเผชิญกับความสูญเสีย
พร้อมทั้งรวมกำลังกาย กำลังใจ กำลังความคิด
เพื่อให้ชาติที่รักของเราแข็งแกร่งมั่นคงถาวรยิ่งขึ้น
ในขั้นสุดท้ายชาติไทยต้องประสบกับชัยชนะเสมอ


เราต้องกล้าสู้  ต้องยิ้มรับต่อภัยที่มาถึงตัวเรา ชาติไทยเป็นชาติที่เชื่อมั่นในบวรพุทธศาสนา
ตั้งตนอยู่ในความเป็นธรรมเสมอมา  ข้าพเจ้าเชื่อมั่นเสมอว่าชาติเราจะไม่อับจนเป็นอันขาด
เรื่องนี้เป็นแต่เพียงเรื่องหนึ่งในเรื่องใหญ่ทั้งหลายซึ่งมีความสำคัญกว่านี้มากนัก
ชาติที่รักของเรากำลังพัฒนาตามวิถีทางที่ดีอยู่แล้วทุกทาง
เหตุนี้มิใช่เหตุแห่งความอับจน


เราจงระวังและทำในเรื่องของชาติที่สำคัญกว่านี้
ข้าพเจ้ามั่นใจเหลือเกินว่าชาติไทยของเราจะมีอนาคตอันแจ่มใส
และรุ่งโรจน์ประเทศหนึ่งอย่างแม่นมั่นในอนาคตอันใกล้นี้ เราจงมาช่วยกันสร้างชาติที่รักยิ่งของเรา


พี่น้องชาวไทยที่รัก ในวันหนึ่งข้างหน้าเราจะต้องเอาปราสาทพระวิหาร
กลับคืนมาเป็นของชาติไทยให้จงได้...    สวัสดี...




การแถลงจุดยืนของไทย


ฯพณฯ ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ได้มีหนังสือลงวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ถึง ฯพณฯ อู ถั่น
รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ค อ้างถึงคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
ประกาศจุดยืนและท่าทีของไทยว่าไม่เห็นด้วยและขอคัดค้านคำพิพากษาซึ่งขัดต่อสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส
ค.ศ. ๑๙๐๔ และ ๑๙๐๗


นอกจากนั้นยังขัดต่อหลักความยุติธรรมและหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
แต่จะปฏิบัติตามพันธกรณีในฐานะที่ไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ
นอกจากนั้น ไทยยังได้ตั้งข้อสงวนเกี่ยวกับสิทธิที่มีอยู่
และจะพึงมีในการครอบครองปราสาทพระวิหารในอนาคตตามกระบวนการที่ชอบด้วยกฎหมาย
อนึ่ง ข้อสงวนดังกล่าวมีผลตลอดไปโดยไม่จำกัดเวลา


ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญที่ ๑๗ พ.ศ. ๒๕๐๕
ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยยังได้มอบหมายให้
นายสมปอง สุจริตกุล ผู้แทนไทยในคณะกรรมการที่ ๖ (กฎหมาย)

เป็นผู้แถลงย้ำให้ผู้แทนประเทศสมาชิกสหประชาชาติในคณะกรรมการกฎหมาย
ได้ทราบถึงจุดยืนของประเทศไทยตลอดจนเหตุผลทางกฎหมายในการคัดค้านคำพิพากษาโดยละเอียด
ทั้งนี้ ไม่ปรากฏว่าผู้แทนประเทศอื่นรวมทั้งกัมพูชาได้แสดงความคิดเห็นหรือโต้แย้งแต่ประการใด


คำแปลหนังสือจาก ฯพณฯ ถนัด คอมันตร์ ถึงเลขาธิการสหประชาชาติ*
(*แปลโดย ศ. ดร.สมปอง สุจริตกุล)



เลขที่ (๐๖๐๑) ๒๒๒๓๙/๒๕๐๕
กระทรวงการต่างประเทศ
กรุงเทพฯ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ (ค.ศ.๑๙๖๒)


เรียน ฯพณฯ อู ถั่น
รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติ
นิวยอร์ค


ข้าพเจ้าขออ้างถึงคดีปราสาทพระวิหารซึ่งกัมพูชาแต่ฝ่ายเดียว
ได้ยื่นฟ้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๕๙  [พ.ศ. ๒๕๐๒]
และศาลฯ ได้พิพากษาเมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๖๒  [พ.ศ. ๒๕๐๕]
ยอมรับอำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเหนือปราสาทพระวิหาร


ในคำแถลงเป็นทางการเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม  ค.ศ. ๑๙๖๒  [พ.ศ. ๒๕๐๕]
รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่าไทย
ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลฯ โดยให้เหตุผลว่า
รัฐบาลไทยพิจารณาแล้วเห็นว่าคำพิพากษาดังกล่าวขัดอย่างชัดแจ้ง
ต่อบทบัญญัติแห่งสนธิสัญญา ค.ศ. ๑๙๐๔ และ ค.ศ. ๑๙๐๗
ในข้อที่เกี่ยวข้องโดยตรง ตลอดจนขัดต่อหลักกฏหมายและหลักความยุติธรรม  
ถึงกระนั้นก็ตาม  ในฐานะที่ไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ
รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะปฏิบัติตามพันธกรณีแห่งคำพิพากษา
ตามที่ได้ให้คำมั่นไว้ภายใต้ข้อ ๙๔ ของกฏบัตรสหประชาชาติ


ข้าพเจ้าขอแจ้งให้ท่านทราบด้วยว่าการตัดสินใจปฏิบัติตามคำพิพากษา
ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีปราสาทพระวิหารนั้น
รัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรารถนาจะตั้งข้อสงวนอย่างชัดเจน
เพื่อสงวนไว้ซึ่งสิทธิที่ประเทศไทยมีหรือพึงมีในอนาคตในการเรียกคืนปราสาทพระวิหาร
โดยใช้วิถีทางที่ชอบด้วยกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันหรือในอนาคต
และขอยืนยันการคัดค้านคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
ซึ่งวินิจฉัยให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา


ข้าพเจ้าจึงขอเรียนมาเพื่อทราบพร้อมทั้งขอให้ท่านส่งเวียนหนังสือฉบับนี้
ไปยังประเทศที่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติทุกประเทศ


ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
(ลงนาม) ถนัด คอมันตร์
(ถนัด คอมันตร์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งประเทศไทย




ปฏิบัติการของไทย


แม้ศาลยุติธรมระหว่างประเทศจะไม่มีอำนาจบังคับคดี
แต่เพื่อแสดงความเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การสหประชาชาติ
ไทยได้ดำเนินการถอนบุคลากรจากปราสาทพระวิหาร
และได้ล้อมรั้วรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารอบตัวปราสาทตามคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย  
และได้ย้ายเสาธงไทยออกจากบริเวณปราสาทโดยไม่มีการลดธง
ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้กัมพูชาส่งบุคลากรเข้าไปในบริเวณปราสาท
โดยไทยมิได้สละอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ซึ่งปราสาทพระวิหารตั้งอยู่
หรือยอมรับนับถืออธิปไตยของกัมพูชาแต่อย่างใด


บริเวณที่ตั้งของตัวปราสาทจึงเป็นพื้นที่เดียวซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น “พื้นที่ทับซ้อน”


ปฏิกิริยาของกัมพูชา


หลังจากไทยได้ถอนบุคลากรจากประสาทพระวิหารตามคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
กัมพูชาก็ยอมรับสภาพโดยดี และมิได้โต้แย้งในการที่ไทยได้แสดงความไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษา
และตั้งข้อสงวนไว้อย่างชัดเจน กัมพูชานิ่งเฉยตลอดระยะเวลา ๕ ทศวรรษโดยมิได้เรียกร้องอะไรอื่นอีก


กัมพูชาเริ่มมีปฏิกิริยาเมื่อประมาณ ๕-๖ ปีมานี้
โดยแสดงเจตน์จำนงที่จะขยายอาณาเขตรุกล้ำเข้ามาในพระราชอาณาเขตของประเทศไทย
เริ่มจากรื้อรั้วที่ไทยสร้างไว้รอบปราสาท
นอกจากนั้น คนชาติกัมพูชายังลอบเข้ามาตั้งถิ่นฐานในวนอุทยานเขาพระวิหาร
ในเขตแดนไทยรวมทั้งตั้งร้านค้าและแผงลอยซึ่งเพิ่มมากขึ้นตามลำดับเพื่อขายสินค้าให้นักทัศนาจร




พื้นที่ทับซ้อน


การกล่าวถึง “พื้นที่ทับซ้อน” ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนนั้น
กัมพูชาได้พยายามขยายขอบเขตคำพิพากษาของศาลฯ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕
โดยแอบอ้างว่าศาลให้ความเห็นชอบแผนที่ผนวก ๑
ซึ่งปราศจากมูลความจริง ทั้งนี้ เนื่องจากในคำพิพากษานั้นเอง


ศาลฯ ได้พิจารณาและวินิจฉัยว่าแผนที่ผนวก ๑
ท้ายคำฟ้องของกัมพูชามีข้อผิดพลาดตามที่ปรากฏในรายงานคณะผู้เชี่ยวชาญฝ่ายไทย
ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายกัมพูชาไม่อาจหักล้างข้อเท็จจริงที่ว่า
“เส้นสันปันน้ำ” บนขอบหน้าผาคือเส้นเขตแดนที่แท้จริงระหว่างไทยกับกัมพูชา
เส้นเขตแดนดังกล่าวแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตแดนไทย





อายุความฟ้องร้อง


ปัญหาเรื่องอายุความฟ้องร้องไม่เป็นประเด็นในกฏหมายระหว่างประเทศ
นอกจากในกรณีที่เกี่ยวกับการฟ้องร้องคดีต่อศาลหนึ่งศาลใด
ที่มีอำนาจพิจารณาข้อขัดแย้งระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
หากจะกล่าวถึงศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในปัจจุบัน อายุความ ๑๐ ปีมีอยู่กรณีเดียว
กล่าวคือการร้องขอให้ทบทวนคำพิพากษาตามข้อ ๖๑ วรรค ๕ แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรม


ในกรณีปราสาทพระวิหาร การกล่าวถึงอายุความ ๑๐ ปีนั้น
ใช้เฉพาะสิทธิของคู่คดีซึ่งได้แก่ไทยหรือกัมพูชา
ที่จะร้องเรียนให้ศาลทบทวนคำพิพากษาเดิมเท่านั้น


ฉะนั้น หากไทยหรือกัมพูชาดำริให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
ทบทวนคำพิพากษาปีพ.ศ. ๒๕๐๕ ก็จะเป็นการสายเกินไป
ถึงอย่างไรก็ตาม ไม่ปรากฏว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดดำริที่จะกระทำเช่นนั้น


ส่วนกรณีอื่นๆ เช่นการเพิกถอนหรือตีความคำพิพากษา
การฟ้องร้องเป็นคดีใหม่ หรือระงับกรณีพิพาทโดยอาศัยกลไกอื่น
อาทิ ศาลอนุญาโตตุลาการ ฯลฯ ซึ่งไทยหรือกัมพูชามิได้กระทำการแต่อย่างไร
ปัญหาเรื่องอายุความจึงยังไม่เป็นประเด็น


อายุความข้อสงวน


ข้อสงวนของรัฐบาลไทยต่อคำพิพากษาของศาลในคดีปราสาทพระวิหาร
ซึ่งไทยได้แจ้งไปยังเลขาธิการสหประชาชาติในหนังสือลงวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕
พร้อมทั้งส่งเวียนให้ประเทศสมาชิกสหประชาชาติรับทราบทั่วกัน
โดยไม่ปรากฏว่ามีประเทศหนึ่งประเทศใดโต้แย้ง ทักท้วง
หรือค้ดค้านแต่ประการใดนั้น  เป็นข้อสงวนที่ปลอดอายุความ
มีผลตลอดกาลตราบใดที่ยังอยู่ใต้บังคับของกฏหมายระหว่างประเทศ

การที่ข้อสงวนดังกล่าวมิใช่เป็นการทบทวนคดีเก่า
ซึ่งต้องกระทำภายในกำหนดเวลาที่จำกัดไว้ จึงยังมีผลบังคับจนทุกวันนี้
ยกเว้นจะถูกเพิกถอนหรือยกเลิกอย่างเป็นทางการโดยรัฐบาลไทย



ศาสตราจารย์ ดร. สมปองสุจริตกุล*
๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๒

............................

* B.A., B.C.L., M.A., D.Phil., and D.C.L. (Oxon)
  Dipl?m? d’Etudes Sup?rieures de Droit International Public, Docteur en Droit (Paris)
  LL.M. (Harvard)
  of the Middle Temple, Barrister-at-law (United Kingdom)
  Dipl?m? de l’Acad?mie de Droit International de La Haye (Nederland)

- คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
- ศาสตราจารย์กิตติคุณกฏหมายระหว่างประเทศและกฏหมายเปรียบเทียบ
  มหาวิทยาลัยกฎหมายโกลเดนเกท  ซานฟรานซิสโก  สหรัฐอเมริกา
- สมาชิกสถาบันอนุญาโตตุลาการแห่งประเทศไทย
- สมาชิกสถาบันอนุญาโตตุลาการองค์การกฏหมายเอเซีย-แอฟริกา ณ กรุงไคโร และกัวลาลัมเปอร์
- อนุญาโตตุลาการอิสระ
- อดีตเลขาธิการอาเซียน (ประเทศไทย)
- อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำเนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม ลักเซมเบอร์ก ญี่ปุ่น
  ฝรั่งเศส โปรตุเกส อิตาลี กรีก อิสราเอล และองค์การตลาดร่วมยุโรป
- อดีตหัวหน้าคณะผู้แทนไทยประจำ UNESCO และ FAO
- อดีตสมาชิกศูนย์ระงับข้อพิพาทการลงทุนศาลอนุญาโตตุลาการธนาคารโลก  ICSID World Bank
- อดีตกรรมาธิการสหประชาชาติเพื่อพิจารณาค่าชดเชยความเสียหายในประเทศคูเวต (UNCC)
- และทนายผู้ประสานงานคณะทนายฝ่ายไทยในคดีปราสาทพระวิหาร
  ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๐๒-๒๕๐๕








ปัญหาความขัดแย้งเรื่องเขาพระวิหาร (ยุคใหม่)
ได้ก่อให้เกิดความสับสนในสังคมมาตั้งแต่ปี 2551
อันเนื่องมาจากชุดความคิดและหลักฐานข้อมูลที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง
ระหว่างผู้ใช้อำนาจรัฐกับผู้ใช้สิทธิในการตรวจสอบเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐ

ถึงวันนี้ความขัดแย้งดังกล่าวได้พัฒนาจนใกล้สุกงอม
ขณะที่ฝ่ายหนึ่งยืนกรานว่าไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
แต่อีกฝ่ายเตือนว่าเรื่องนี้มีอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติเป็นเดิมพัน

ติดตามอ่านเพิ่มเติมจากกระทู้
บทความเรื่อง "ปราสาทพระวิหาร" ของ ศาสตราจารย์ ดร.สมปองสุจริตกุล 






วันนี้(29 ก.ย.) นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการและโฆษก
คณะกรรมการปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. แถลงว่า

... ที่ ประชุม ป.ป.ช. มีมติ 6 ต่อ 3
ชี้มูลความผิดกรณีเขาพระวิหาร
ต่อนายสมัคร สุนทรเวช และนายนพดล ปัทมะ
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
และให้ถอดถอนจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญ
เนื่องจากจงใจก่อให้เกิดความเสียหาย
ต่ออาณาเขต
และความมั่นคงต่อประเทศ

ต่อการออกแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย - กัมพูชา
ให้ขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก




ส่วนรัฐมนตรีที่เหลือ รวมทั้งข้าราชการอีก 6 คน ที่ถูกกล่าวหาด้วย
ที่ประชุมเห็นว่าไม่มีความผิด เนื่องจากไม่รู้เห็นและมีเจตนาตามคนทั้งสอง.





บทบาทของยูเนสโกที่อยู่เบื้องหลังการขึ้น ทะเบียนมรดกโลกของกัมพูชามีการพูดถึงน้อยมาก เมื่อจะพูดถึงก็คงหลีกเลี่ยงไม่เอ่ยถึงมาดามฟรังซัวส์ ริเวียเร่ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์มรดกโลก (UN’s World Heritage Centre—Paris) ไม่ได้

ในรายงานการประชุมมรดกโลกครั้งที่ 31 (นิวซีแลนด์ 22-30 มิถุนายน 2550)
Decision: 31 COM 8B.24
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=39429  มาดามฟรังซัวส์ต้องรับผิดชอบที่ระบุว่าผู้แทนไทยในรัฐบาลสุรยุทธ์ให้การสนับ สนุนกัมพูชาขึ้นทะเบียนมรดกโลก เนื่องจากข้อเท็จจริงมีว่า คณะกรรมการมรดกโลกไม่อาจตัดสินกรณีของกัมพูชาขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก เพราะฝ่ายไทยใช้สิทธิ์ตามกฎของยูเนสโกไม่ให้การสนับสนุนกัมพูชา ฝ่ายไทยยังเห็นด้วยตามรายงานของ ICOMOS ที่ระบุว่า The Sacred Site of the Temple of Preah Vihear ตามข้อเสนอขึ้นทะเบียนของกัมพูชานั้น เป็นมรดกโลกได้ แต่นั่นหมายถึงต้องควบรวมสิ่งปรักหักพังที่อยู่ในฝั่งไทย ซึ่งคณะกรรมการมรดกโลกก็เห็นด้วย ดังนั้น หากไทยสนับสนุนกัมพูชา ก็เท่ากับว่ายอมให้กัมพูชาเฉือนดินแดนไทยไปโดยปริยาย ถ้าจะสนับสนุนก็ต้องขึ้นทะเบียนมรดกโลกด้วยกัน หรือไม่ก็ต้องเลิกรากันไปเหมือนทุกรัฐบาลไทยก่อนหน้านั้นที่ไม่เอาด้วย แต่กัมพูชาก็ไม่ยอม ยังขอเป็นเจ้าของมรดกโลกตามลำพัง จึงต้องเลื่อนไปพิจารณาในปีถัดไป

ในระหว่างที่รอการพิจารณา มาดามฟรังซัวส์แนะนำให้นายซกอาน มีการจ้างบริษัทรับเหมาซ่อมโบราณสถานในยุโรปชื่อ ANPV (ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป) มาประเมินซ้ำ ICOMOS  เพื่อหวังอำพรางรัฐบาลไทย (ไม่ว่าจะเป็นอำนาจเก่าหรือใหม่) ว่าไทยจะไม่เสียดินแดนแม้แต่ตารางนิ้วเดียว เพราะกัมพูชาจะขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท และตัวปราสาทเท่านั้นก็เป็นมรดกโลกได้ และเมื่อแผนนี้ทำให้ฝ่ายไทยสนับสนุนโดยมีการทำแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา(วัน ที่ 18 มิถุนายน 2551) แล้ว คณะกรรมการมรดกโลกก็ย่อมต้องยอมให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนมรดกโลก
ซึ่งถ้า เป็นไปอย่างโปร่งใส มรดกโลกแห่งนี้จะมีพื้นที่เฉพาะเพียงตัวปราสาทพระวิหาร (The Temple of Preah Vihear) แต่ในแถลงการณ์ร่วมได้หมกเม็ด และปิดปากไทยไม่ให้แก้ไขตั้งแต่มีบันทึกช่วยจำวันที่ 22 พฤษภาคม 2551 แล้ว

ANPV เข้ามาในเดือนกันยายน 2550 ก่อนจะแผลงมาเป็น “ไอซีซี” (ICC: International Coordinating Committee) ที่มีบทบาทสูงมากตามที่ระบุให้อำนาจหน้าที่ไว้ในแถลงการณ์ร่วม เพราะสามารถจัดสรรพื้นที่อนุรักษ์ พื้นที่กันชนได้โดยไม่ต้องรอข้อตกลงปักปันเขตแดนที่ปกติมีคณะกรรมาธิการร่วม ไทยกัมพูชา หรือ “จีบีซี” (Joint Boundary Commission) เห็นชอบ

นาย นภดลมารับบทเชื่อมอำนาจเก่าของไทยเข้ากับข้อเสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลกของ รัฐบาลกัมพูชาอย่างแนบเนียน เมื่อฝ่ายไทยในเดือนมกราคม 2551 มีรัฐบาล “นอมินี”
 กัมพูชามั่นใจมากถึงกับลงนามในสัญญาวันที่ 15 มกราคม 2551 ให้กับบริษัทเซี่ยงไฮ้กรุ๊ปรับเหมาสร้างถนนจากจังหวัดพระวิหารในกัมพูชามา ถึงวัดแก้วฯที่บริเวณพื้นที่ทับซ้อน (บัดนี้กลายเป็นถนนยุทธศาสตร์ลำเลียงอาวุธมาตรึงกำลังถึงชายขอบหน้าผามออี แดง)

บันทึกช่วยจำวันที่ 22 พฤษภาคม 2551 ระบุให้นายนภดลยอมมอบภารกิจการร่างแถลงการณ์ร่วมและวาด “แผนที่ใหม่” ให้กับกัมพูชาไปบรรเลงโดยเอกเทศที่พนมเปญ ก่อนส่งแถลงการณ์ร่วมมาให้ลงนามดังกล่าว

คณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 32 ที่คานาดา (2-7 กรกฎาคม 2551) ไม่มีทางเลือกเมื่อกัมพูชาแสดงหลักฐานการสนับสนุนจากไทยตามแถลงการณ์ร่วมที่ ลงนาม 2 สัปดาห์ก่อนวันเปิดประชุม แต่ที่ผิดปกติมากที่สุดคือการยอมรับเกณฑ์ (Criteria) ความเป็นมรดกโลกที่ลดมาตรฐานจาก 3 เป็น 1 ทั้งๆที่ข้อเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกของกัมพูชาลงวันที่ 30 มกราคม 2549 ไม่ได้เปลี่ยนแปลงจากการขึ้นทะเบียน “The Sacred Site of the Temple of Preah Vihear” มาเป็น ”The Temple of Preah Vihear” แต่ประการใด ผิดระเบียบ กฎ และขั้นตอนของยูเนสโกเอง

หลังจากคณะกรรมการมรดกโลกให้กัมพูชา เป็นเจ้าของมรดกโลกเมื่อวันที่ 7 กรกฎคม 2551 มาดามตอบว่า “เป็นการตัดสินใจทางการเมืองระหว่างไทยกับกัมพูชาเอง”

ในแถลงการณ์ ร่วม เอ่ยถึงบทบาท “กรรมการ 7 ชาติ” (หรือ "ไอซีซี” ICC=International Coordinating Committee)  ในฐานะองค์กรสาธารณะที่กำกับแผนอนุรักษ์และบริหารจัดการมรดกโลก แต่ที่แท้ก็คือเอกชน ANPV ที่รับจ้างกัมพูชาสำรวจปราสาทพระวิหารอย่างมีวาระซ่อนเร้นนั่นเอง

มา ถึงการประชุมครั้งที่ 33 ที่สเปน (22-30 มิถุนายน 2552)  ผลการบังคับใช้ (de facto)  ของ แถลงการณ์ร่วมอัปยศผ่าน  “ไอซีซี” นำไปสู่การรับรองแผนอนุรักษ์มรดกโลกที่ผนวกดินแดนของไทยเข้าไว้จากที่ประชุม ครั้งนั้น ดังนี้
Temple of Preah Vihear
Description Maps
Documents Threats Assistance 
Cambodia 

Date of Inscription: 2008 
Criteria: (i) 
Property : 154.7000 ha 
Buffer zone: 2642.5000 ha 
N14 23 18 E104 41 2 
Ref: 1224rev
(ดู http://whc.unesco.org/en/list/1224


ไทย เสียพื้นที่ไปแล้ว  27.972 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 17,000 ไร่)  เป็น "เขตกันชน" 2,642.5 เฮกตาร์  “เขตอนุรักษ์”  154.7 เฮกดาร์ ตามรายงานของ “ไอซีซี” ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552

ยังจะต้องมี “พื้นที่บริหารจัดการ” อีกนับล้านไร่ที่ต้องดำเนินการตามแถลงการณ์ร่วมในขั้นตอนสุดท้ายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553  ก่อนที่ประชุมมรดกโลกจะรับรองในกลางปี 2553
พื้นที่เหล่านี้คงไม่มีใครปฏิเสธว่ามิได้อยู่ในดินแดนไทย?









--------

ย้อนดู ข้อมูลของ ป้า เสลา ที่ติดตามกรณี ไทย-กัมพูชา เรื่องเขาพระวิหารมาตลอด 4



กระทรวงต่างประเทศ แจ้ง “เขมร”
ยกเลิกแถลงการณ์ร่วมปราสาทพระวิหารแล้ว!!!!!!!!!



... กรมสารนิเทศ ก.ต่างประเทศ เผยแพร่ข่าว
ระบุ เตช บุนนาค มีหนังสือถึง ฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรี
และ รมว.ต่างประเทศกัมพูชา
ยกเลิกแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา สิ้นผลตั้งแต่ 25 ส.ค.
     
       วันนี้ (19 ก.ย.) เว็บไซต์ของกระทรวงต่างประเทศ
ได้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาของแถลงการณ์ร่วม ไทย-กัมพูชา
เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร และพื้นที่โดยรอบให้มรดกโลก
ที่เมื่อวันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม 2551




ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำพิพากษาด้วยมติ 9:0
ว่าแถลงการณ์ร่วมระหว่าง ไทย-กัมพูชา นั้น เป็นหนังสือสนธิสัญญา
และมีมติ 8:1 ว่าแถลงการณ์ดังกล่าวที่ไม่ผ่านความเห็นชอบต่อรัฐสภานั้น
ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 190

     
      กระทรวงต่างประเทศ ระบุว่า เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2551
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือถึงรองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา (นายฮอร์ นัมฮง)
อ้างอิงถึงการสนทนาเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2551
ในโอกาสการพบปะหารือระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย และ กัมพูชา
เพื่อแก้ไขปัญหาความตึงเครียดเกี่ยวกับพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารครั้งที่ 1
ที่เมืองเสียมราฐ
ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กัมพูชา
ได้กล่าวแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายเตช บุนนาค)
และคณะผู้แทนไทย ว่า
คำแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ฉบับลงวันที่ 18 มิถุนายน 2551
ไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ

     
       ซึ่งในหนังสือฉบับวันที่ 25 สิงหาคม 2551 ดังกล่าว
ฝ่ายไทยได้ขอบคุณที่กัมพูชาเข้าใจว่าไม่มีความจำเป็น
ที่จะต้องปฏิบัติตามความในคำแถลงการณ์ร่วมดังกล่าว
และแสดงความเห็นที่ตรงกันว่า
สภาวการณ์ภายหลังการลงนาม
และข้อจำกัดที่เป็นผลตามมา
ทำให้คำแถลงการณ์ร่วมเองนั้นเป็นเอกสารที่สิ้นผลแล้ว

โดยรายละเอียดของหนังสือดังกล่าวมีดังนี้
     
     
(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)

     
       ที่ 0803/636
     
กระทรวงการต่างประเทศ
        ถนนศรีอยุธยา
        กรุงเทพฯ 10400

        25 สิงหาคม 2551
     
       ฯพณฯ,
     
        ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติที่จะอ้างถึงคำกล่าวของท่าน
ระหว่างการประชุมระหว่างมื้ออาหารเที่ยงของเรา
ในการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย-กัมพูชา ครั้งแรก
ที่เมืองเสียมราฐ ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2551 ว่า
ราชอาณาจักรกัมพูชาไม่ถือว่าคำแถลงการณ์ร่วมระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา
ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2551 เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ
     
        ข้าพเจ้าขอถือโอกาสนี้แสดงความขอบคุณสำหรับความเข้าใจของท่าน ว่า
ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามความในคำแถลงการณ์ร่วมดังกล่าว
ข้าพเจ้ามีความเห็นเช่นเดียวกันว่า สภาวการณ์หลังการลงนาม
และข้อจำกัดที่เป็นผลตามมา ทำให้คำแถลงการณ์ร่วมเองนั้นเป็นเอกสารที่สิ้นผลแล้ว
     
        ข้าพเจ้าขอย้ำความยึดมั่นของประเทศไทย
ที่จะทำงานร่วมกับราชอาณาจักรกัมพูชาอย่างใกล้ชิด
เพื่อเพิ่มพูนความสัมพันธ์ฉันมิตรที่มีอยู่ระหว่างประเทศของเราทั้งสอง
        ขอแสดงความนับถือ
     
       ลงนาม
        (นายเตช บุนนาค)
        รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทย
     
       ฯพณฯ
       นายฮอร์ นัมฮง
       รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
       และความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา
        กรุงพนมเปญ

       





สำหรับเอกสาร แถลงการณ์ร่วม (Joint Communique)
ที่นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ลงนามกับ นายซก อัน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา
โดยมีเจ้าหน้าที่ระดับสูงของยูเนสโกลงนามเป็นพยาน
เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2551 (ค.ศ.2008)
อันเป็นผลมาจากการประชุมหารือเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2551
ดังนี้












ฮุนเซ็น ยื่นคำขาด....
ไทยต้องถอนทหารออกจากพื้นที่รอบเขาพระวิหาร ในเที่ยงวันนี้



ผู้สื่อข่าวรายงานถึง สถานการณ์แนวชายแดน โดยรอบเขาพระวิหาร
ภายหลังจากที่ นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
เดินทางไปเยือนกัมพูชาเมื่อวานนี้ว่า
กัมพูชา ได้ขอให้ไทยถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร

แต่ก็ยังไม่มีคำสั่งใด ๆ จากทางการไทยในเรื่องการถอนทหาร
เนื่องจาก พื้นที่ดังกล่าวถือเป็นพื้นที่ ที่ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิ์

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ นายสมพงษ์ เดินทางกลับประเทศไทย
สมเด็จ ฮุน เซน นายกฯกัมพูชา ก็ได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างประเทศว่า
ได้เรียกร้องให้ไทยถอนทหารออกจากพื้นที่โดยรอบเขาพระวิหาร
ภายในเที่ยงวันนี้

ล่าสุด มีรายงานว่า พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก
ได้เรียกประชุมด่วนฝ่ายเสนาธิการ
ที่กองบัญชาการทหารบกแล้ว ในช่วงเช้าวันนี้

ขณะนี้ บรรยากาศที่บริเวณอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ค่อนข้างตึงเครียด
เนื่องจาก ได้มีกำลังทหารกัมพูชาจำนวนหนึ่ง พร้อมด้วยอาวุธปืนครบมือ
เข้ามาตรึงกำลังที่บริเวณปราสาทกัมพูชา บริเวณทางขึ้นปราสาทพระวิหาร
ซึ่งทหารเหล่านี้ส่วนมากแล้ว เป็นอดีตทหารเขมรแดง
ที่เคยประจำการอยู่ที่บริเวณเขาพระวิหารมานานแล้ว
และมีความเคยชินกับสภาพพื้นที่บริเวณแห่งนี้เป็นอย่างมาก
ทำให้ ทหารไทย ต้องจัดกำลังทหาร เข้าไปตรึงกำลังบริเวณประตูเหล็ก
ใกล้กับตลาดกัมพูชาเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม

ขณะเดียวกัน ฝ่ายกำลังทหารของไทย ก็ได้มีการตรึงกำลังเข้ม รอบเขาพระวิหาร
โดยแต่ละจุดห่างกันประมาณ 30 เมตรเท่านั้น
แต่ว่า ทหารไทย ยังไม่ได้มีการเสริมกำลังเพิ่มเติมแต่อย่างใด 





เรื่องปราสาทพระวิหาร เป็นกรณีที่เห็นชัดเจนมาก

จริงอยู่ แม้เมื่อ 46 ปีที่ผ่านมา 
"ศาลโลกตัดสินให้ตัวปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา"
แต่คนไทยก็ยังมีสิทธิ์ที่จะเดินขึ้น-ลง ปราสาทพระวิหาร

ตามคำพิพากษาของศาลโลก
เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505
ไทยต้องเสียปราสาทเขาพระวิหารไปเป็นของประเทศกัมพูชา
แต่ไม่ได้หมายความว่าเสียเขาพระวิหารทั้งลูก
เนื่องจากบันไดหินทางขึ้นเขาพระวิหารขั้นที่ 162 ลงมา
เป็นดินแดนของประเทศไทย


และปราสาทอื่นๆ ในพื้นที่ประเทศไทย
เราก็ดูแล ทำนุบำรุง ด้วยความมั่นใจในความเป็นเจ้าของ


แต่หลังจากที่ อดีตรมต.ต่างประเทศ นพดล  ปัทมะ
ภายใต้ความเห็นชอบของคณะรัฐบาล รีบรุกรี้รุกลน
ไปเซ็นรับรองให้กับเขมร เพื่อให้เขมรยื่นขอให้ปราสาทพระวิหาร
เป็นมรดกโลก ฝ่ายเดียว
โดยในการเซ็นรับรอง มีแผนที่ที่ฝ่ายเขมรทำขึ้นมา ให้รับรองด้วย

แผนที่ดังกล่าว นายนพดล  ปัทมะ ไม่ยอมเปิดเผยก่อนเซ็น

"ที่ประชุมได้อภิปรายอย่างกว้างขวางแต่ก็เห็นชอบ
ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศจะนำเข้าสู่การพิจารณา
ของ ครม. ในวันที่ 17 มิถุนายน
หาก ครม.เห็นชอบก็จะได้รับมอบอำนาจให้ไปลงนามในแถลงการณ์ร่วม
จากนั้นจะมีการแจ้งให้ทางกัมพูชาได้รับทราบ
เพื่อให้กัมพูชาส่งแผนที่ดังกล่าวไปให้คณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศ
เพื่อพิจารณาในการประชุมครั้งที่ 32 เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา"
นายนพดลกล่าว "


"เมื่อถามว่า ก่อนหน้านี้ทั้งนักวิชาการและฝ่ายความมั่นคง
ขอให้เปิดเผยแผนที่ ทำไมไม่เปิดเผย

นายนพดลกล่าวว่า คนที่รู้เรื่องแผนที่ดีที่สุดในประเทศไทย
คือ กรมแผนที่ทหาร
กระทรวงการต่างประเทศไม่เชี่ยวชาญ
และจะสามารถเปิดได้เมื่อถึงเวลาอันสมควร
แต่ตอนนี้ยังเป็นความลับทางราชการอยู่ "



"ทางกระทรวงการต่างประเทศ โดย นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการฯ
ยืนยันที่จะเปิดเผยแผนที่-แถลงการณ์ร่วม หลังขึ้นทะเบียนมรดกโลกแล้ว

โดยอ้างเหตุผลที่ยังไม่ยอมเปิดเผยในตอนนี้ว่า เป็นเรื่องละเอียดอ่อน
เกรงกระทบความมั่นคงภายในของกัมพูชา "


หลังจากการเขมรประสบความสำเร็จในการขอยื่น
ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกแล้ว

ก็จะเห็นได้ว่าเขมรซึ่งนำโดยนายกฮุนเซ็น
ก็เริ่มรุกล้ำ อ้างสิทธิ์ในเขตแดนบริเวณรอบๆปราสาทพระวิหารด้วย
ดังที่ได้เห็นข่าวทุกวันนี้

ทางด้านรัฐบาล แม้นายนพดล ปัทมะ ซึ่งเคยยืนยันก่อนหน้านี้ว่า
"ทุกอย่างทำอย่างถูกต้อง ไม่ทำให้ไทยเสียดินแดน"
ก็ได้ลาออกไปแล้ว

รับบาลก็ไม่ได้กระตือรือล้นที่จะแก้ไขอะไร
แม้จะมีคำสั่งศาลปกครองสั่งคุ้มครองชั่วคราวพระวิหาร

ซึ่งคำสั่งระบุห้ามผู้ถูกฟ้องทั้งสองนำมติ ครม. เมื่อวันที่ 17 มิ.ย.51
ที่เห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา
ซึ่ง ครม.เห็นชอบให้นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ
ไปลงนามในวันที่ 18 มิ.ย.51 นั้น
ไปใช้ในแถลงการณ์ร่วม
และห้ามดำเนินการตามแถลงการณ์ร่วม ฯ
จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น


คณะรัฐบาลก็ไม่ได้กระตือรือล้นที่จะปฏิบัติตาม
เพื่อหาช่องทางแก้ไขให้กับประเทศชาติ

ท่านที่สนใจโปรดย้อนอ่านข้อมูลซึ่งรายละเอียดมากมาย
ตั้งแต่เริ่มต้นกระทู้นี้

เหล่านี้ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ประชาชนชาวไทยที่รักชาติ
รู้สึกไม่ไว้วางใจคณะรัฐบาลที่นำโดยอดีตนายฯ สมัคร
และต่อเนื่องมาถึงนายกฯคนปัจจุบัน





ปราสาทพระวิหาร
ก่อน นพดลลงนามแถลงการณ์ร่วม






รายงานสถานการณ์ความไม่สงบชายแดนไทย-กัมพูชา
 
เกาะติดสถานการณ์ความไม่สงบ บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา
กับ สำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น


07.47 น. ชาวเขมร ยังข้ามชายแดนไทย - กัมพูชา ช่วง จ.สระแก้ว
              เข้ามาค้าขายตามปกติ แม้สองฝ่ายยกทหารประจัญหน้า
              จากความตึงเครียด กรณีพื้นที่พิพาท

07.54 น. ทหารไทย เสริมกำลังทหารและปืนใหญ่
              ประชิดพื้นที่พิพาทปราสาทพระวิหาร ตลอดคืนที่ผ่านมา
              ขณะที่ชาวศรีสะเกษ หวาดภัยสงคราม
              ไม่กล้าออกทำบุญช่วงวันออกพรรษา

08.45 น. ทหารไทย เสริมกำลังทหารและปืนใหญ่
              ประชิดพื้นที่พิพาทปราสาทพระวิหาร ตลอดคืนที่ผ่านมา

... ภาพถ่ายวันที่ 15 ต.ค.2551
ทหารไทยที่ฝ่ายกัมพูชา
อ้างว่าได้ยอมจำนน
กำลังนั่งในบริเวณวัดสิขาคีรีสวรักษ์
บนทางขึ้นปราสาทพระวิหาร
แม่ทัพภาค 2 ของไทย
ได้ออกปฏิเสธเรื่องนี้ทันควัน
ทหารไทยเหล่านี้เป็นหนึ่งในไม่กี่สิบคน
ที่ยังคงประจำอยู่ในบริเวณวัดแห่งนั้น
มาตั้งแต่เดือน ส.ค.ตามข้อตกลง
ของทั้งสองฝ่าย (ภาพ: Reuters)




09.57 น. กองกำลังทางทหารทั้ง 2 ประเทศ ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา
              ใน จ.จันทบุรี ไม่มีความเคลื่อนไหว
              ขณะที่ ปชช.ยังเดินทางเข้าออกตามปกติ

12.06 น. ผบ.กกล.สุรนารี รับ เลื่อนการประชุมกับกัมพูชา กรณีข้อพิพาทพระวิหาร

12.51 น. เหตุพิพาท ไทย - กัมพูชา ทำให้การค้าขายชายแดน ช่วง จ.จันทบุรี
              กระทบการส่งออก หลังเกิดกระแสข่าวลือว่าจะมีการปิดด่าน



ภาพทหารเขมรแดงใกล้บริเวณปราสาทพระวิหาร
เมื่อ 15 ตค.2008 (ภาพจาก Reurers)


15.01 น. แม่ทัพภาค 2 ยัน เหตุปะทะแค่ ทหารกัมพูชา ยิงปืน ค.
              ตกใกล้ที่ตั้งทหารไทย ในพื้นที่ทับซ้อน


ทหารเขมรแดงใกล้บริเวณปราสาทพระวิหารเมื่อ 14 ตค.2008
(ภาพจาก Reurers)

15.07 น. ทหารไทย ยิงปะทะเดือดทหารกัมพูชา ที่ บริเวณภูมะเขือ
              ห่างเขาพระวิหารไปทางทิศตะวันตกประมาณ 3 กิโลเมตร
              เบื้องต้น ยังไม่มีรายงานคนเจ็บ ล่าสุด ทหารไทย ยกพลไปจุดเกิดเหตุแล้ว

15.45 น. นักพนันชาวไทยนับพัน ตื่นข่าวทหารไทย - เขมร เปิดศึกยิงปะทะ
              วิ่งหนีขึ้นรถกลับประเทศกันอย่างตื่นตระหนก

15.50 น. ชาวกัมพูชา ในตลาดโรงเกลือพร้อมใจปิดร้าน กลับประเทศ แล้ว
              หลังเกิดเหตุยิงปะทะระหว่างทหารไทยและเขมร
              ขณะที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย ตรึงกำลังเข้มแนวชายแดน

15.53 น. หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แนะ ใช้วิธีเจรจาทวิภาคี
              แก้ปัญหาชายแดนไทย-เขมร พร้อมเตือนรัฐบาล
              ดูแลความสงบ กรณี นปช. จัดงานความจริงวันนี้

15.58 น. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ พร้อมลาออก
              หากพิสูจน์ได้ว่า เหตุปะทะ ชายแดนไทย-กัมพูชา
              เป็นการสร้างสถานการณ์ เพื่อกลบข่าวภายในประเทศ


16.07 น. กรมทหารราบที่ 6 ค่ายสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี
              ยังสแตนบายในที่ตั้ง พร้อมสนุบสนุน กำลังพลหากปานปลาย

16.11 น. ความคืบหน้า ทหารไทยยิงปะทะทหารกัมพูชา
              ขณะตรึงกำลังบริเวณเขาพระวิหาร ศรีสะเกษ
              ล่าสุด เจ้าหน้าที่ผู้บาดเจ็บ ถูกนำส่งโรงพยาบาลและพ้นขีดอันตรายแล้ว

16.21 น. สื่อนอกประโคมข่าวไทยปะทะเขมรกรณีเขาพระวิหาร

16.30 น. รักษาการนายอำเภอกันทรลักษ์ ยืนยัน ชาวบ้านยังคงดำรงชีวิตปกติ
              เพราะเกิน 50% เป็นญาติพี่น้องกันระหว่างไทย-กัมพูชา

16.34 น. เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงพนมเปญ เผย
              ประสานนักท่องเที่ยวไทยให้เดินทางกลับประเทศแล้ว
              ขณะที่คาดว่าการปะทะอาจไม่ยืดเยื้อเร่งประสานกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา

16.53 น. โฆษก ทบ.ยันกัมพูชาเป็นฝ่ายเริ่มยิงก่อน เชื่อเป็นการเตือน
              พร้อมเตรียมเชิญผู้ช่วยทูตทหารรับทราบคำประท้วง

16.54 น. ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 4 สั่งรักษาความปลอดภัย
              สถานทูตกัมพูชา ประจำประเทศไทยเข้ม
              หวั่นมือดีป่วนสร้างสถานการณ์
              หลังมีการปะทะกันบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา จ.ศรีสะเกษ

17.11 น. กองทัพอากาศเตรียมพร้อมรับคนไทยในเขมรกลับทันที
              หากมีคำสั่งจากหน่วยเหนือ และเตรียมประสานสายการบินพาณิชย์
              หากกัมพูชาไม่อนุญาตให้เครื่องบินทหารเข้าน่านฟ้า

17.24 น. นายกรัฐมนตรีเตรียมเชิญทูตกัมพูชารับทราบคำประท้วง หลังเกิดเหตุปะทะ
              ทั้งที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งสองฝ่ายโทรศัพท์เจรจากันแล้ว

17.31 น. อาการบาดเจ็บเจ้าหน้าที่ทหารที่ปะทะทหารกัมพูชา สาหัส 1 นาย
              เจ้าหน้าที่นำส่งโรงพยาบาลใน จ.อุบลราชธานี

17.46 น. แม่ทัพภาค 2 ลั่น เตรียมกำลัง-อาวุธ พร้อมรักษาแผ่นดินตลอด 24 ชั่วโมง
              ยัน ทหารเขมร ยิงซัดฝ่ายไทยก่อน เชื่อหากไม่เจรจากันสองฝ่าย ปัญหาไม่จบ

17.59 น. ความคืบหน้า ทหารไทยยิงปะทะกับทหารกัมพูชา บริเวณภูมะเขือ จ.ศรีสะเกษ
              ล่าสุดเจ้าหน้าที่บาดเจ็บ รวมเป็น 4 รายถูกนำส่งโรงพยาบาลแล้ว
              ขณะที่ ผู้บัญชาการกองกำลังสุรนารี สั่งตรึงกำลังเจ้าหน้าที่อีก

18.20 น. โฆษก ทบ.เผย ผบ.ทบ. กำชับทหารไทยควบคุมการปะทะให้อยู่ในวงจำกัด
              ยันไม่แจงประชาคมโลก
              หลังกัมพูชาอ้างไทยเปิดฉากยิงก่อน ชี้อนุมานได้ใครเริ่มก่อนกันแน่

18.22 น. สาธารณสุข สั่งเตรียมพร้อมทีมแพทย์ฉุกเฉิน รถพยาบาล
              เวชภัณฑ์ คลังเลือด เตียง ห้องผ่าตัด
              ใน 7 จังหวัดชายแดนไทย-กัมพูชา หลังทหารสองฝ่ายปะทะกัน

19.34 น. จ.บุรีรัมย์ หวั่นเหตุทหารปะทะกันบานปลาย สั่งปิดจุดผ่อนปรนช่องสายตะกู ชั่วคราว

19.47 น. ประธานสภาหอการค้า ปราจีนบุรี เผย
               นักพนันไทยยังข้ามฝั่งเล่นพนันตามปกติ เชื่อ เหตุทหารยิงปะทะ จ.ศรีสะเกษ
               ไม่ส่งผลกระทบการค้าชายแดนด้วย


20.02 น. แม่ทัพภาค 1 สั่งเจ้าหน้าที่เตรียมกำลังคุมเข้มแนวชายแดน
              และพร้อมสนับสนุน กองทัพภาค 2 ตลอดเวลา
              หลังทหารไทยยิงปะทะกับกัมพูชาจนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต

20.27 น. กระทรวงต่างประเทศ ยื่นบันทึกช่วยจำประท้วงแก่อุปทูตกัมพูชาแล้ว
              พร้อมเตรียมแจงประชาคมโลก
              หลังกัมพูชากล่าวหาไทยเป็นฝ่ายเปิดฉากยิงก่อน

20.45 น. ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ แฉ ฮุนเซน เคย ขู่ฟ้อง UN และศาลโลก
              หากไทยไม่ถอนทหารและยอมรับแผนที่ของฝรั่งเศส

21.02 น. แม่ทัพภาค 2 ยืนยัน ทางการพม่าไม่ได้มีการจับกุมทหารไทยตามกระแสข่าว
              โดยทหาร 10 นาย เป็นชุดประสานงานที่ตั้งขึ้นระหว่างสองฝ่าย

... ทหารกัมพูชาที่เสียชีวิต
จากการปะทะกับทหารไทย
เป็นเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง
ตอนบ่ายวันพุธ (15 ต.ค.) ที่ผ่านมา
ที่ชายแดนภูมะเขือ (Phnpm Troap)
ด้าน จ.พระวิหาร กับ จ.ศรีสะเกษ
ของไทย
(ภาพ: AFP)




21.48 น. ความคืบหน้า ทหารไทยยิงปะทะทหาร ที่ภูมะเขือ
              เชิงปราสาทพระวิหาร ศรีสะเกษ ล่าสุด
              พบ ทหารบาดเจ็บเพิ่มอีก 2 ราย รวมเป็น 6 ราย
              ขณะนี้ถูกนำส่ง รพ. อุบลราชธานีแล้วโดยเฮลิค็อปเตอร์ 
 

(ข้อมูลจาก www.innnews.co.th 15 ตค.2008)






ในกรณีที่มีข้อสงสัยว่า
"เหตุปะทะ ชายแดนไทย-กัมพูชา
เป็นการสร้างสถานการณ์ เพื่อกลบข่าวภายในประเทศ " หรือไม่

หรือจะเป็นด้วยเหตุผลอื่น...
เนื่องจาก กำลังทหารและอาวุธของกัมพูชา
ด้อยกว่าไทยมาก
แต่ทำไมจึงเหิมเกริม ขนาดประกาศขู่..ยื่นคำขาดกับประเทศไทย

ลองพิจารณา..
ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาไม่นาน
ไทยกับกัมพูชามีความสัมพันธ์ที่สนิทแนบแน่นมาก
และกัมพูชาอยู่ในฐานะที่รับความช่วยเหลือจากไทย
มีหลักฐานด้วยภาพถ่ายประกอบที่ทำให้เห็นว่า

ผู้นำของกัมพูชามีความสนิทสนมกับผู้นำไทย
ตั้งแต่ คนก่อนมาจนถึงปัจจุบัน






ภาพจาก http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/641/7641/



นายสมัคร  สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีไทย
ไปเยือนกัมพูชาเมื่อ 3 มีนาคม 2008






นายนพดล ปัทมะ รมต.กระทรวงต่างประเทศจับมือกับนาย Sok An
รมต.กัมพูชาที่ สำนักงานใหญ่ UNESCO ที่ ปารีส เมื่อ 22 พค.2008




นายสมชาย  วงศ์สวัสดิ์ กับ ฮุนเซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา
เมื่อ 14 พค.2008 ในโอกาสที่ไปร่วมพิธี ตัดริบบิ้น
เปิด National Highway - ถนนสาย 48
(Koh Kong-Sre Ambel) ที่เกาะกง
ซึ่งไทยให้เงินสร้างส่วนหนึ่ง
และอีกส่วนหนึ่งให้กู้โดยเสียดอกเบี้ยต่ำ


จากข้อมูลข่าว http://news.mcot.net/politic/inside.php?value=bmlkPTIyNjg4Jm50eXBlPXRleHQ=

“สมบัติ ตรงกมลธรรม” ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทย
ซึ่งติดตามทำข่าวนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เยือนราชอาณาจักรกัมพูชาอย่างเป็นทางการ
ระหว่างวันที่ 3-4 มีนาคม 2551 รายงานว่า
เวลา 18.15 น. วันนี้ (3 มี.ค.)
นายสมัครแถลงผลการหารือทวิภาคีกับสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา
เกี่ยวกับการช่วยเหลือของไทยให้กับกัมพูชา
ในการการลงทุนก่อสร้างถนนสาย 68 วงเงิน 1,400 ล้านบาท
จากช่องจอม จ.สุรินทร์ ไปยัง จ.เสียมเรียบ ของกัมพูชา
และถนนสาย 48 เกาะกง-สะแรอัมเปิล และไทยยังพร้อมเพิ่มวงเงินกู้ให้
โดยอ้างว่าไทยจะมีประโยชน์ต่อการท่องเที่ยว





ย้อนข้อพิพาทไทย-กัมพูชา จาก"สมัคร"ถึง"สมชาย"

      


8 กรกฎาคม 2551 ยูเนสโกประกาศรับรอง
การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชา เป็นมรดกโลก
ในสมัย นายนพดล ปัทมะ เป็น รมว.การต่างประเทศ

15 กรกฎาคม 2551 กัมพูชาจับตัว 3 คนไทย ซึ่งเป็นเครือข่ายธรรมยาตรา
ที่ปีนเข้าไปนั่งสมาธิในพื้นที่ทับซ้อน 4.6 กิโลเมตร ใกล้ปราสาทพระวิหาร
หลังฝ่ายทหารเข้าเจรจา สุดท้ายมีการปล่อยตัว ภายใต้ภาวะตึงเครียดที่เริ่มปะทุ

21 กรกฎาคม 2551 ไทยและกัมพูชาประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม
ไทย-กัมพูชา (เจบีซี) เพื่อเปิดการเจรจารอบแรก ที่โรงแรมอินโดจีน จังหวัดสระแก้ว
โดยมี รมว.การต่างประเทศและผู้นำทางการทหารทั้งสองฝ่ายร่วมเจรจา
ผลไม่คืบหน้ามากนัก

30 กรกฎาคม 2551 กระทรวงการต่างประเทศไทย
ทำหนังสือชี้แจงสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ถึงกรณีพิพาทที่เกิดขึ้น

9 สิงหาคม 2551 ทหารกัมพูชา พระ และชาวบ้านกัมพูชา
บุกรุกเข้าพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม จังหวัดสุรินทร์

19 สิงหาคม 2551 ไทยและกัมพูชาเจรจารอบที่ 2
ที่โรงแรมดุสิตธานี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ยังไม่มีความชัดเจน
เรื่องการปักปันเขตแดน นอกจากท่าทีที่ตรงกัน
เรื่องการเน้นการเจรจาภายใต้กรอบทวิภาคี

21 สิงหาคม 2551 ไทยและกัมพูชาตกลงร่วมกัน
ในการปรับลดกำลัง ด้วยการถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่พิพาททั้งสองฝ่าย
โดยเฉพาะในส่วนของพื้นที่ทับซ้อน

13 กันยายน 2551 ทหารกัมพูชาบุกรุกปราสาทตาควาย จังหวัดสุรินทร์ อีกครั้ง
โดยฝ่ายกัมพูชาอ้างกรรมสิทธิ์เหนือพื้นที่

3 ตุลาคม 2551 ทหารกัมพูชารุกล้ำอธิปไตย และปะทะกับทหารไทย
บริเวณภูมะเขือ จังหวัดศรีสะเกษ

6 ตุลาคม 2551 ทหารพรานไทย เหยียบกับระเบิดขาขาด 2 นาย
บริเวณภูมะเขือ จังหวัดศรีสะเกษ ในภารกิจเก็บกู้กับระเบิด
เพื่อสันติภาพตามอนุสัญญาออโตวา โดยยูเอ็น
ที่มีการห้ามวางกับดักระเบิดในเส้นทางที่มีการลาดตระเวน
ซึ่งทั้งไทยและกัมพูชาเป็นประเทศภาคีในอนุสัญญาดังกล่าว

13 ตุลาคม 2551 ไทยและกัมพูชาเปิดการเจรจา
ที่กรุงพนมเปญ ของกัมพูชา โดยนายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รองนายกฯ
และ รมว.การต่างประเทศของไทย เป็นตัวแทน แต่ล้มเหลว
เพราะสมเด็จฯฮุน เซน นายกฯกัมพูชา ประกาศให้ไทยถอนทหาร 80 นาย
ซึ่งเข้าปฏิบัติภารกิจเก็บกู้กับระเบิดตามอนุสัญญาออโตวา
ออกจากพื้นที่ทับซ้อนซึ่งมีข้อพิพาท ก่อนเวลา 12.00 น.
ของวันที่ 14 ตุลาคม 2551

14 ตุลาคม 2551 ฝ่ายไทย โดย รมว.การต่างประเทศ
รวมถึงกองทัพไทย ยืนยันพื้นที่ทับซ้อนเป็นเขตอธิปไตยของไทย
และไม่ยอมถอนกำลังทหารออกตามคำขาดของ สมเด็จฯฮุน เซน
และมีการเพิ่มกำลังจาก 3 เหล่าทัพ เตรียมความพร้อม
รักษาอธิปไตยไทย ตามแนวชายแดน

15 ตุลาคม 2551 เกิดการยิงปะทะกันระหว่างทหารกัมพูชา
กับทหารไทย ส่งผลให้ทหารกัมพูชาเสียชีวิต 1 นาย
บาดเจ็บ 3 นาย ส่วนฝ่ายไทยบาดเจ็บ 5 นาย...







ทหารมาปักป้ายเป้นพื้นที่อันตรายในป่าเฉลิมพระเกียรติ 


แฉ! ชายแดนฝั่งอรัญฯของไทยโดนเขมรรุกล้ำทำกินกว่า 17 ตร.กม.-ชาวบ้านชี้ทหารรู้เห็นและมีผลประโยชน์จนเสียอธิปไตย





บ้านตวลปราสาท ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่ของไทย แต่ชาวเขมร ได้เข้ามายึดพื้นที่ไปแล้ว





ทหารมาปักป้ายว่าเป็นพื้นที่อันตราย




ศูนย์ ข่าวศรีราชา - ชาวบ้านอรัญประเทศแฉชายแดนริมกัมพูชา กว่า 17 ตร.กม.กินพื้นที่รวมกว่า 10,000 ไร่ ถูกชาวกัมพูชารุกล้ำยาวนานร่วม 30 ปี ทำชาวบ้านกว่า 3,700 รายต้องอพยพออกจากพื้นที่ ทั้งที่เป็นแผ่นดินไทย ชี้ทหารกองกำลังบูรพาและทหารพรานจัดฉากพื้นที่เป็นแนวเขตแดนอันตรายและ พื้นที่มีวัตถุ ระเบิด แต่ยังมีกิจกรรมปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติในหลวงหน้าตาเฉย พร้อมชี้แจงกับชาวบ้านว่าอยู่ในขั้นตอนปักปันเขตแดน แต่มีการแอบปิดเส้นทางเพื่อขนส่งและลักลอบนำเข้าของหนีภาษี ชาวบ้านเชื่อเป็นพื้นที่นำเข้ายาเสพติดรายใหญ่สุดของประเทศวอนรัฐบาลใหม่ แก้ไขปัญหาดังกล่าวเพื่ออธิปไตยของไทย ด้านเครือข่าย พธม.สระแก้วชี้เป็นงานที่ต้องสานต่อเพื่อคนไทยทั้งชาติ
     
       นายชัยชนะ หมายงาน ชาวบ้าน ต.ป่าไร่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ให้ข้อมูลกับ "ASTV- ผู้จัดการออนไลน์" ว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ.2520 ที่มีเกิดเหตุโศกนาฏกรรมสงครามเขมรแดงจนคนไทยต้องสังเวยชีวิตไป 30 กว่าศพ ทำให้ชาวบ้านในขณะนั้นต้องถอยร่นออกมาจากพื้นที่เพื่อให้ภาครัฐเข้าไปจัดการ ซึ่งสมัยนั้นนายสมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้เข้าไปกำกับดูแล แต่ทว่าปัจจุบันชาวบ้านกว่า 3,700 รายยังไม่มีที่ทำกิน แม้กระทั่งในขณะนี้
     
       อย่างไรก็ตามตนในฐานะเจ้าของที่ดินคนหนึ่งได้มีการยื่นหนังสือร้องขอความ เป็นธรรมและต่อสู้เรื่องดังกล่าวเรื่อยมา แต่ยังไม่พบว่าภาครัฐจะดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมแต่อย่างไร และในขณะนี้พบว่าพื้นที่บริเวณ ต.ป่าไร่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว หลัก กม.ที่ 1-6 รวม 17 ตร.กม.หรือประมาณ 10,000 กว่าไร่ ดูเหมือนว่าจะสูญเสียให้ชาวกัมพูชาไปแล้ว เพราะตอนนี้มีการรุกล้ำเข้ามาทำกินกันอย่างหน้าตาเฉย ประกอบกับมีการรุกล้ำจนมีการดำเนินการก่อสร้างต่างๆ ขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรมแล้วเช่นกัน
     
       นายชัยชนะ ระบุด้วยว่า พื้นที่ 3 แห่งประกอบด้วยบ้านหนองดอ บ้านกกค้อ และบ้านน้อยป่าไร่ ปัจจุบันมีชาวกัมพูชาเข้าไปยึดเป็นที่ทำกินอย่างชัดเจนจนโดยมีการก่อสร้าง บ้าน โรงเรียนและวัดมีการตั้งชื่อใหม่ว่าบ้านตวลปราสาท โดยยึดว่า ตั้งอยู่ ต.ปอยเปต อ.โอโจรว จ.บันเตียเมียนเจย เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ทางทหารทั้งในส่วนของทหารพรานและกองกำลังบูรพายังได้ออกมาชี้แจง กับประชาชนว่าบริเวณดังกล่าวยังอยู่ในช่วงของการปักปันดินแดน และมีการก่อสร้างป่าเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งชาวบ้านเชื่อเหลือเกินว่าการไม่ออกมาดำเนินการเช่นนี้เพราะมีการรู้เห็น และมีความเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ผิดกฎหมายอย่างแน่นอน
     
       นอกจากนี้ทางทหารได้ออกมากล่าวอ้างในเรื่องของความมั่นคง รวมถึงเป็นพื้นที่มีอันตรายและมีวัตถุระเบิด โดยห้ามประชาชนเข้าไปทำกิน แต่เป็นที่ทราบกันดีของชาวบ้านละแวกใกล้เคียงว่ามีการลักลอบขนถ่ายสินค้าหนี ภาษี และเชื่อว่าเป็นพื้นที่สำคัญที่ยาเสพติดทะลักเข้ามามากที่สุดในประเทศ ซึ่งทหารได้มีการกั้นลวดหนาวไว้ไม่ให้คนไทยเข้าไปแต่พบว่ามีชาวกันพูชา เข้า-ออกกันอย่างง่ายดาย จึงอยากเรียกร้องให้ชาวบ้านที่เคยอาศัยอยู่บริเวณนั้นออกมาต่อสู้เพื่อ อธิปไตยของชาติ และอยากเรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามากำกับดูแลและช่วยเหลือเรื่องดังกล่าวอย่าง ชัดเจนด้วยเพราะชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก
     
       ด้านนายอัมรินทร์ ยี่เฮง เลขาธิการองค์กรประชาธิปไตยภาคประชาชนเมืองสระแก้ว ในฐานะหนึ่งในเครือข่ายกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เผยว่า ได้รับทราบข้อมูลดังกล่าวจากการร่วมชุมนุมกับพันธมิตรฯที่สะพานมัฆวาน รังสรรค์ และได้มีการศึกษาพร้อมกับลงพื้นที่พบปะชาวบ้านพบว่าเรื่องดังกล่าวเป็น เรื่องจริงที่สังคมไม่รับรู้ จนขณะนี้กัมพูชาได้เข้ามารุกล้ำอย่างน่าหวั่นเกรง
     
       ทั้งนี้จะได้ทำหน้าที่ยามเฝ้าแผ่นดินและดำเนินการเรื่องดังกล่าวเพื่อช่วย เหลือชาวบ้านซึ่งเป็นคนไทยตามจุดยืนของกลุ่มพันธมิตรฯ โดยได้มีการรวบรวมข้อมูลพร้อมกับถ่ายภาพบันทึกประจำวัน รวมถึงประสานงานกับผู้สื่อข่าวที่พึ่งพาได้และเป็นทีวีของประชาชนอย่างแท้ จริงอย่าง ASTV ลงพื้นที่จริงแล้ว และอยากฝากไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหลายให้ออกมาตอบคำถามกับประชาชนอย่าง ตรงไปตรงมา อย่างโดยกลองให้กันโดยไม่แสดงคามรับผิดชอบ เพราะปัจจุบันชาวบ้านและประชาชนมีความคิดความอ่านมากกว่าเก่าแล้ว
      


ติดตามเรื่องราว ที่เกี่ยวกับปราสาทพระวิหารมาโดยตลอด
เมื่อวานนี้ก็เฝ้าดูข่าวพี่น้องคนไทยจากทั่วประเทศ
รวมกำลังกันไปยังพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหาร เพื่อเรียกร้องกดดันรัฐบาล
ให้เร่งแก้ไขปัญหา

และเกิดการกระทบกระทั่ง กับกลุ่มที่อ้างว่าเป็นชาวบ้านในพื้นที่
หน้า“บ้านภูมิซรอล” จนบาดเจ็บระนาว ต้องเข้า รพ.5 ราย
รถยนต์เสียหายหลายคัน


******************





จากบทความในบล็อก ของ คณะทำงานสื่อสารสาธารณะ ป.ป.ช.ภาคประชาชน
วันที่ 02/09/2552
พูดถึงเรื่องปราสาทพระวิหารไว้ดังนี้


ปัญหาความขัดแย้งเรื่องเขาพระวิหาร (ยุคใหม่)
ได้ก่อให้เกิดความสับสนในสังคมมาตั้งแต่ปี 2551
อันเนื่องมาจากชุดความคิดและหลักฐานข้อมูลที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง
ระหว่างผู้ใช้อำนาจรัฐกับผู้ใช้สิทธิในการตรวจสอบเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐ

ถึงวันนี้ความขัดแย้งดังกล่าวได้พัฒนาจนใกล้สุกงอม
ขณะที่ฝ่ายหนึ่งยืนกรานว่าไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
แต่อีกฝ่ายเตือนว่าเรื่องนี้มีอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติเป็นเดิมพัน

เช่นนี้แล้วจึงจำเป็นต้องยุติความขัดแย้งดังกล่าว
ด้วยการทำความจริงให้ปรากฏในหลายๆ ประเด็นที่เป็นข้อถกเถียงสาธารณะ อาทิ 

- เขาพระวิหารไม่มีพื้นที่ทับซ้อนจริงหรือ?
- เราเสียอธิปไตยเหนือดินแดนเขาพระวิหารเกือบ 3,000 ไร่ (4.6 ตร.กม.) โดยพฤตินัยแล้วจริงหรือ?
- รัฐบาลปัจจุบันยังคงสืบทอดนโยบายขายชาติจริงหรือ?


ที่เราต้องการคำตอบก็คือ

 “ทำไมเราต้องคัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา”

หรือว่าเป็นเพียงแต่

“กลุ่มคนคลั่งชาติร่วมกับสื่อบางสำนักพยายามสร้างกระแสเรื่องการเสียดินแดน”!?



ในกระทู้นี้ ได้พยายามรวบรวมข่าว และบทความที่เป็นข้อมูล
เกี่ยวกับกรณีพิพาทของปราสาทพระวิหารมามากพอสมควรและคณะทำงานสื่อสารสาธารณะ ป.ป.ช.ภาคประชาชน
ได้แนะนำ บทความเรื่อง
"ปราสาทพระวิหาร" ของ ศาสตราจารย์ ดร.สมปองสุจริตกุล
ไว้ว่า ...บทความชิ้นนี้น่าจะตอบคำถามต่างๆ ดังกล่าวได้อย่างกระจ่างชัด
ในฐานะผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงในคดีปราสาทพระวิหาร
 





เงื่อนปมคดีปราสาทพระวิหาร: บทความล่าสุดจาก ศ.ดร.สมปอง
(คนไทยควรอ่านหลายๆ รอบเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องชัดเจน)








ปราสาทพระวิหาร


ข้อขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชากรณีปราสาทพระวิหารเป็นปัญหาเก่าแก่ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อกว่ากึ่งศตวรรษ
บัดนี้ได้มีการหยิบยกปัญหาดังกล่าวมาถกเถียงกันอีกและมีการเขียนบทความต่างๆ มากมาย
รวมทั้งข้อเขียนของข้าพเจ้าเรื่องคำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก)
ซึ่งตัดสินให้ปราสาทพระวิหารอยู่ใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา
รวมทั้งคำคัดค้านของไทยและข้อสงวนซึ่งไทยตั้งไว้ 


ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงข้อเท็จจริงและหลักกฎหมายระหว่างประเทศ 
แต่กระนั้น ข้อเขียนของข้าพเจ้ายังถูกตีความคลาดเคลื่อนเนื่องจากผู้อ่านมิได้อ่านอย่างละเอียด
ละเลย หรือหลงลืมบางข้อที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด ข้าพเจ้าจึงขอสรุปอีกครั้งเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องดังนี้






คดีปราสาทพระวิหาร


ไทย – กัมพูชา  พ.ศ. ๒๕๐๒-๒๕๐๕
วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๒  กัมพูชาเป็นโจทก์ยื่นคำร้องฝ่ายเดียวเพื่อฟ้องไทยเป็นจำเลย 
ขอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า พื้นที่ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่นั้นอยู่ในอำนาจอธิปไตยของกัมพูชา


คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
วันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕  ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้พิจารณาพิพากษาดังนี้


(๑) ด้วยคะแนนเสียง ๙ ต่อ ๓  ศาลฯ วินิจฉัยว่า ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนดินแดนภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา


(๒) สืบเนื่องมาจาก (๑) วินิจฉัยด้วยคะแนนเสียง ๙ ต่อ ๓ ว่าไทยมีพันธกรณีจะต้องถอนทหารและตำรวจ
     หรือยามผู้รักษาการณ์ออกจากปราสาทพระวิหารหรือบริเวณใกล้เคียงที่อยู่บนดินแดนกัมพูชา


(๓) ด้วยคะแนนเสียง ๗ ต่อ ๕  วินิจฉัยว่าไทยมีพันธะจะต้องคืนให้กัมพูชาบรรดาวัตถุที่กัมพูชาอ้างถึง
     ในคำแถลงสรุปข้อ ๕ ซึ่งอันตรธานไปจากปราสาทหลังจากวันที่ไทยเข้าครอบครองเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๗




ปัญหาเรื่องเขตแดน


ในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชาในคดีปราสาทพระวิหารเมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๕ 
แม้เสียงข้างมากจะตัดสินให้ปราสาทพระวิหารอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา 
แต่ยังมีผู้พิพากษาอีกหลายท่านที่เขียนคำพิพากษาแย้งไว้ว่าประสาทพระวิหารยังคงอยู่
ในเขตอำนาจอธิปไตยของไทยตามหลักสันปันน้ำที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญา ค.ศ. ๑๙๐๔


พื้นที่ทับซ้อนในปัจจุบันของไทยกับกัมพูชานั้นได้แก่ตัวปราสาทพระวิหารเท่านั้น 
แม้ในแผนที่อีกหลายฉบับลากเส้นเขตแดนไทยไม่ตรงกัน
กัมพูชาถือว่าอยู่ในเขตของกัมพูชาโดยอ้างคำพิากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
ไทยก็ถือว่าปราสาทพระวิหารเป็นเขตในอำนาจอธิปไตยของไทยโดยยึดสันปันน้ำ
เป็นเส้นแบ่งเขตตามสนธิสัญญาทวิภาคีกับฝรั่งเศสลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๒  มีใจความดังต่อไปนี้


ข้อ ๑  กำหนดเขตแดนบริเวณที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ให้เป็นไปตามยอดภูเขาปันน้ำระหว่างดินแดนน้ำตกน้ำแสน
แลดินแดนน้ำตกแม่โขงฝ่ายหนึ่ง กับดินแดนน้ำตกน้ำมูลอีกฝ่ายหนึ่งจนบรรจบถึงภูเขาผาด่าง
แล้วต่อเนื่องไปข้างทิศตะวันออกตามแนวยอดภูเขานี้จนบรรจบถึงแม่โขง ตั้งแต่ที่บรรจบนี้ขึ้นไป
แม่โขงเป็นเขตแดนของกรุงสยาม ตามความข้อ ๑ ในหนังสือสัญญาใหญ่ ณ วันที่ ๓ ตุลาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๒


จึงสรุปได้ว่า ในบริเวณเขาพระวิหารซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเขาบันทัดหรือเขาดงรัก เส้นเขตแดนไทย-กัมพูชา
อยู่ที่สันปันน้ำซึ่งเป็นพรมแดนธรรมขาติตามหลักกฏหมายระหว่างประเทศ 
และสนธิสัญญาข้างต้นโดยกัมพูชาเป็นผู้สืบสิทธิ์จากฝรั่งเศส




การปักปันเขตแดน


การปักปันดินแดนระหว่างสองประเทศแบ่งออกเป็น ๓ ขั้นตอน 
ขั้นแรกได้แก่บทนิยาม (definition)
ขั้นที่สองคือการลากเส้นบนแผนที่ตามบทนิยาม (delimitation)
และขั้นสุดท้าย (demarcation) ในกรณีที่เป็นเขตแดนตามธรรมชาติ
อาทิ แม่น้ำ ให้ถือร่องน้ำลึกหรือฝั่งแม่น้ำเป็นเส้นแบ่งเขต 
หากเป็นภูเขาก็ต้องเป็นไปตามยอดเขาหรือเส้นสันปันน้ำ ในกรณีที่ไม่มีพรมแดนทางธรรมชาติ 
คณะกรรมการผสมของทั้งสองประเทศจะเป็นผู้ปักหลักเขตแดนร่วมกันด้วยความเห็นชอบของทั้งสองฝ่าย




แผนที่


เป็นที่น่าสังเกตุว่าปัจจุบันมีการอ้างถึงแผนที่มากมายหลายฉบับในวาระต่างๆ 
ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่าแผนที่ฉบับเดียวที่อยู่ในประเด็นปัญหาได้แก่แผนที่ผนวก ๑ ต่อท้ายคำฟ้องกัมพูชา 
แผนที่ดังกล่าวคือแผนที่ที่ทำขึ้นโดยคณะกรรมการปักปันเขตแดนฝรั่งเศสฝ่ายเดียวเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๐๗
โดยไทยไม่มีโอกาสทดสอบความถูกต้องเนื่องจากไทยยังไม่ได้ก่อตั้งกรมแผนที่ทหารบก
ไทยค้นพบภายหลังว่าแผนที่ดังกล่าวผิดพลาด
เพราะการลากเส้นเขตแดนมิได้เป็นไปตามสันปันน้ำแต่คลาดเคลื่อนไปหลายกิโลเมตร 
ทำให้ปราสาทพระวิหารซึ่งอยู่ในเขตไทยไปปรากฏในเขตแดนฝรั่งเศส



ฉะนั้น การที่ผู้หนึ่งผู้ใดอ้างว่าแผนที่ผนวกคำฟ้องของกัมพูชาเป็นแผนที่แสดงเขตแดนจึงผิดพลาดจากความเป็นจริง 


สถานภาพของแผนที่ผนวก ๑ ต่อท้ายคำฟ้องของกัมพูชา


ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจะวินิจฉัยเฉพาะประเด็นคำฟ้องแรกเท่านั้น
จึงไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องวินิจฉัยคำขอเพิ่มเติมของกัมพูชาในเรื่อง


(๑) สถานภาพของแผนที่ผนวก ๑ ต่อท้ายคำฟ้องของกัมพูชา หรือ


(๒) เส้นเขตแดนในบริเวณที่พิพาท


ดังนั้น ศาลฯ จึงงดเว้นการวินิจฉัยความถูกต้องของเส้นเขตแดนตามที่ปรากฏในแผนที่ผนวก ๑
ต่อท้ายคำฟ้องของกัมพูชารวมทั้งสถานภาพของแผนที่ผนวก ๑ ทั้งฉบับ 
หรืออีกนัยหนึ่ง ศาลฯ ไม่ทำหน้าที่กรรมการปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา




อำนาจของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ


โดยที่คำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไม่มีมาตรการบังคับคดี 
จึงสุดแต่ความสมัครใจของคู่คดีที่จะพิจารณาดำเนินการ
หากคู่กรณีไม่เห็นด้วยและไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา  ศาลฯ ก็ไม่มีอำนาจดำเนินการบังคับคดีแต่ประการใด


ฉะนั้น ถึงแม้คำพิพากษาของศาลฯจะถึงที่สุด แต่ก็มิได้หมายความว่าจะมีผลในการระงับกรณีพิพาท 
หากคู่กรณีโต้แย้ง คัดค้านและไม่ยอมรับคำพิพากษาเพราะเห็นว่าไม่เป็นธรรม 
กรณีพิพาทนั้นๆก็ยังคงมีอยู่ต่อไปจนกว่าจะได้รับการพิจารณาใหม่หรือจนกว่าจะระงับไปโดยสันติวิธีอื่นๆ
อาทิ โดยการเจรจา การประชุมปรึกษาหารือ หรือตั้งคณะกรรมการสอบสวน  ไกล่เกลี่ย
กรรมการประนอม หรืออนุญาโตตุลาการ ฯลฯ ตามข้อ ๓๓ แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ



คำพิพากษาของศาลฯ และทางปฏิบัติของรัฐคู่กรณี
ผลผูกพันของคำพิพากษา ข้อ ๕๙ ของธรรมนูญศาลฯ กำหนดว่า


“คำพิพากษาของศาลฯไม่มีผลผูกพันผู้ใดนอกจากคู่กรณีและในส่วนที่เกี่ยวข้องกับคดีนั้น”
ฉะนั้น คำพิพากษาของศาลฯ จึงผูกพันเฉพาะไทยและกัมพูชา ใช้อ้างยันกับผู้อื่นมิได้
และไม่ผูกพันประเทศที่ ๓ หรือองค์การระหว่างประเทศ อาทิ ยูเนสโกหรือคณะกรรมการมรดกโลก
และไม่มีผลเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่อย่างใด
เนื่องจากการขึ้นทะเบียนมิใช่ข้อพิพาทในคดีที่ศาลฯ ตัดสิน


อนึ่ง ข้อ ๖๐ ของธรรมนูญศาลฯ กำหนดว่า


“คำพิพากษาของศาลนั้นถึงที่สุดและไม่มีการอุทธรณ์
ในกรณีที่มีการโต้แย้งเกี่ยวกับความหมายหรือขอบเขตของคำพิพากษา
ศาลฯจะเป็นผู้ตีความเมื่อคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ”
จุดยืนและท่าทีของประเทศไทย


ประเทศไทยพิจารณาเห็นว่า ศาลฯ มิได้วินิจฉัยคดีปราสาทพระวิหารตามกระบวนการที่ชอบ
และได้ตัดสินคดีโดยขัดต่อหลักความยุติธรรมและหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
ด้วยเหตุนี้คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕
ให้ประกาศจุดยืนของประเทศไทยให้ทราบทั่วกันว่าไทยไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลฯ 
แต่ในฐานะที่ไทยเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ 
จึงได้ปฏิบัติตามพันธะข้อ ๙๔ แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ 
ทั้งนี้โดยยื่นคำประท้วงคัดค้านไปยังสหประชาชาติและตั้งข้อสงวนอย่างชัดเจนว่า
ไทยสงวนสิทธิที่มีอยู่หรือพึงมีในอนาคตที่จะดำเนินการเรียกคืนซึ่งการครอบครองปราสาทพระวิหารโดยสันติวิธี


ดังนั้น รัฐบาลไทยได้ออกแถลงการณ์ยืนยันจุดยืนดังกล่าวเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ และในวันรุ่งขึ้น
จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวปราศรัยทางวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์แจ้งให้ประชาชนทราบทั่วกัน



                                                            ตอนที่ 1 


----------

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง