บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554

รัฐธรรมนูญ มาตรา๖๙ โดย อาจารย์ไก่ Tanond

รัฐธรรมนูญ มาตรา๖๙

บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งกระทำการใดๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้

อ.บุญช่วย -ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง
ผู้ทราบการกระทำดังกล่าว ย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว
แต่ทั้งนี้ ไม่กระทบกระเทือนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำการดังกล่าว

ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการ ให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการตามวรรคสอง ศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้
ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองตามวรรคสาม
ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมือง และกรรมการบริหารของพรรคการเมือง ที่ถูกยุบในขณะที่กระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งดังกล่าว

มาตรา ๖๙ บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใด ๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มา
ซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้

บัดนี้ ปรากฏชัดแล้วว่า นักการเมืองสมัยประชุมนี้รวมหัวกันคิดร้ายต่อบ้านเมือง
ก่อให้เกิดการผูกขาดอำนาจรัฐและการใช้อำนาจอย่างไม่เป็นธรรม

การดำเนินการทางการเมืองที่ขาดความโปร่งใส ไม่มีคุณธรรมและจริยธรรม ระบบการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐที่ล้มเหลว และการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชน ยังไม่ได้รับการคุ้มครองและส่งเสริมอย่างเต็มท และเหตุการณ์เผาบ้านเผาเมืองกำลังย้อนมาอีกครั้งหนึ่ง องค์กรตามรัฐธรรมนูญ
องค์กรตามรัฐธรรมนูญที่ตั้งขึ้น ประชาชนหวังว่าจะช่วยกันจรรโลงรัฐธรรมนูญให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์
ไม่ดำเนินการตามมาตรา ๓ วรรคสอง เพื่อให้เป็นไปตามหลักนิติธรรมแต่อย่างใด

การทำงานที่ผ่านมาเป็นไปแบบ
“ ชงเองกินเอง”
เครื่องมือสร้างระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ คือ พ.ร.บ.สหกรณ์ พ.ศ. ๒๕๔๒
ปรากฎว่า ครม. ไม่รู้จักใช้เป็นเวลา ๑๐ กว่าปี
จึงเป็นต้นเหตุให้ประเทศชาติเสียหาย ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงและสิ้นหวังนักการเมืองที่ผ่านมา ต่างให้ฉายาว่า สภากะหรี่– สภาโกหก – สภาจกเปรต – สภาสัตว์นรก – สภาควายห้าร้อย
สภาโจรห้าร้อยปล้นบ้านปล้นเมือง และบอกว่ามากกว่านี้เกินคำบรรยาย
จึงมีความจำเป็นต้องรวมกลุ่มกันก่อตั้ง “ ชมรมคนกวาดบ้าน “
สนับสนุนกิจกรรมทางเมืองเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และพิทักษ์รัฐธรรมนูญต่อไป

ข้อคิด ปัญหาชายแดนไทย - กัมพูชา โดย พล.อ.อ.อรุณ พร้อมเทพ

เท่าที่ได้ติดตามข่าวจากสื่อมวลชนเกี่ยวกับเรื่องนี้มาโดยตลอด เกิดมีคำถามขึ้นมากมายซึ่งล้วนเป็นจุดอ่อนของเรา
      
       1. เรื่องสำคัญยิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันสองวันข้างหน้านี้ คือ การประชุมรัฐสภาเพื่อรับรองบันทึกประชุม JBC 3 ฉบับด้วยกัน ถ้าสมาชิกรัฐสภาลงมติรับรองไป ผลที่จะตามมาคือการสุ่มเสี่ยงอย่างยิ่งที่ไทยเราจะสูญเสียอธิปไตยเหนือดินแดน 4.6 ตร.กม.ของอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ประเทศไทยเราจะถูกลดทอนอำนาจอธิปไตยที่เราเคยมีสมบูรณ์ ลงมาเหลือเพียงเป็น 1 ใน 7 ของคณะกรรมการนานาชาติที่กัมพูชาเป็นผู้เลือกมา ถ้ามีข้อขัดแย้งใดๆ เกิดขึ้น ไทยเราก็จะแพ้ทุกทีไป
      
       2. ในการประชุม JBC ครั้งหนึ่ง นายวาร์คิมฮง ประธานคณะกรรมการฝ่ายกัมพูชา ได้กล่าวหาไทยเราอย่างร้ายแรงว่า ไทยส่งทหารรุกรานเข้าไปเขตแดนกัมพูชา แต่ทั้งประธานและคณะกรรมการฝ่ายไทยนิ่งเฉย ไม่ตอบโต้หรือชี้แจงแต่ประการใด ไม่ทราบว่าท่านเหล่านี้โดน “นะจังงัง มนต์ดำเขมร” หรืออย่างไร??? สมาชิกรัฐสภาไทยควรจะรับรองให้ความเห็นชอบหรือ???
      
       3. ตั้งแต่มี MOU 2543 เป็นต้นมา กัมพูชาได้ล่วงละเมิดรุกล้ำดินแดนไทยมาโดยต่อเนื่อง ไทยเราก็เอาแต่ “ประท้วง ประท้วงมาแล้วร้อยกว่าครั้ง ทั้งระดับรัฐบาล และระดับท้องถิ่น (กองทัพภาค 2)” จนบัดนี้จะยังคงประท้วงต่อไปอีกกี่ร้อยครั้ง ยังไม่คิดหามาตรการอื่นที่จะหยุดยั้งการรุกคืบของกัมพูชาบ้างหรือ???
      
       4. “อธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดน” เป็นผลประโยชน์แห่งชาติอันสูงสุด ที่ทุกชาติทุกภาษาในโลกนี้ เขาก็ยึดถือกันเช่นนี้ ของเราก็มีกำหนดในรัฐธรรมนูญและกฎหมายอาญาวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) ได้พร่ำสอนอบรมนักศึกษาทุกคนให้รู้จักผลประโยชน์แห่งชาติ และให้สามารถกำหนดยุทธศาสตร์ชาติในการปกป้องรักษา และพัฒนาผลประโยช์แห่งชาติ ด้วยการใช้กำลังอำนาจแห่งชาติทุกด้าน (การเมือง เศรษฐกิจ สังคมจิตวิทยา การทหาร วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี) อย่างบูรณาการ ผสมกลมกลืนอย่างเหมาะสมกับสภาวะแวดล้อม ซึ่งเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ของบุคคลชั้นนำของประเทศ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ทั้งพลเรือน ตำรวจ และทหารเกือบทุกคน ก็ได้เรียนจบจาก วปอ. ท่านทั้งหลายที่ทำหน้าที่บริหารประเทศ ฝ่ายข้าราชการประจำขณะนี้ ถูกมนต์ดำเขมรจนลืมเลือนไปหมดแล้วหรือว่า ผลประโยชน์แห่งชาติของเราคืออะไร??? จึงมิได้ทำการชี้แจง เสนอแนะต่อรัฐบาลและรัฐสภาให้เข้าใจ และช่วยกันรักษาผลประโยชน์แห่งชาติเอาไว้ให้ลูกหลานในอนาคต
      
       5. ผมมีข้อสงสัยว่า “ในอดีตเมื่อร้อยกว่าปีมานี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 พระองค์ท่านทรงต้องตัดสินพระทัย ยอมเสียสละอวัยวะ เพื่อรักษาชีวิต เพราะเราไม่มีแสนยานุภาพที่จะต่อสู้กับฝรั่งเศสได้ ต้องยอมเสียดินแดนไปหลายครั้ง เป็นพื้นที่มหาศาล” บัดนี้เวลาล่วงเลยมาแล้วร้อยกว่าปีนี้ ประเทศไทยได้พัฒนามาจนมีศักยภาพในกำลังอำนาจแห่งชาติทุกด้าน เหนือกว่ากัมพูชาอย่างเปรียบเทียบกันไม่ได้
      
       แต่ทำไม??? “เราจึงกลายมาเป็นลูกไล่ของกัมพูชาในทุกเวที ทั้งการเมืองระหว่างประเทศที่ UN ที่คณะกรรมการมรดกโลกของ UNESCO และที่ ASEAN แม้กระทั่งด้านการทหาร เราก็ยอมถอนทหารออกจากดินแดนของเราเอง” ใครรู้บ้าง ช่วยตอบผมที


ลิงค์ไปยังแหล่งที่มาข้อความ
นายกแจง JBC











    

กดที่นี่        กดที่นี่ เพื่อดูวิดีโอ  อาจารย์เทพมนตรี

กดที่นี่         กดที่นี่ เพื่อดูวิดีโอ อาจารย์ปานเทพ

นช.แม้วส่งสัญญาณปลุกแดงลุกฮือ ขู่จุดไฟเผาเมืองรอบใหม่หลังเลือกตั้ง

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554

ปชป.แจง MOU 43 ผ่านเฟซบุ๊ก “นายกฯ” ยึดกรอบคิดเดิมที่อ้างมาตลอด

พรรคประชาธิปัตย์ชี้แจง 8 ประเด็น ใน MOU 2543 ผ่านเฟซบุ๊ก Abhisit Vejjajiva ระบุ MOU ใช้หลักเจรจาไม่สามารถบังคับใครได้ แม้เขมรไม่รักษาสัญญาแต่การรบก็ไม่ได้ช่วยอะไร สุดท้ายต้องจบที่โต๊ะเจรจาอยู่ดี ส่วนการยกเลิก MOU จะทำให้ยังขัดแย้งเรื่องเขตแดนกันต่อไป ถ้าจะทำ MOU ใหม่ก็ต้องอ้างอิงเอกสารชุดเดิม เพราะเป็นหลักสากลเรื่องการปักปันเขตแดน       
       เมื่อวันที่ 14 ก.พ.54 เวลา 15.21 น. พรรคประชาธิปัตย์ ได้เผยแพร่ผ่านเฟซบุ๊ก Abhisit Vejjajiva ในหัวข้อ “ทำความเข้าใจประเด็นสำคัญ MOU 43” สามารถอ่านเอกสารได้ที่ http://www.democrat.or.th/upload/downloads/documents/MOU43-explanation.pdf
       พรรคประชาธิปัตย์ได้ชี้แจงหลายประเด็นในเอกสารบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย กับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ที่จัดทำขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2543 หรือเรียกย่อๆว่า เอ็มโอยู 2543 โดยพรรคประชาธิปัตย์ได้ชี้แจงประเด็นต่างๆ ดังนี้...
      
       mou - ข้อ 1. จะร่วมกันดำเนินการสำรวจ และจัดทำหลักเขตแดนทางบก ระหว่างราชอาณาจักรไทย กับราชอาณาจักรกัมพูชาให้เป็นไปตามเอกสารต่อไปนี้
      
       ชี้แจงว่า - ข้อ 1 (ก) (ข) (ค) ได้ถูกใช้เป็นกรอบเจรจา ด้านการสำรวจ และจัดทำหลักเขตแดนทางบกไทย-กัมพูชา ตลอดแนว และได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ในครั้งนั้น รัฐสภาได้เห็นชอบด้วยคะแนน 406 ต่อ 8
      
       mou - (ค) แผนที่ที่จัดทำขึ้นตามผลงานการปักปันเขตแดน ของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยาม กับอินโดจีน ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาฉบับปี ค.ศ. 1904 และ สนธิสัญญาฉบับปี ค.ศ. 1907 ระหว่างสยาม กับฝรั่งเศส
      
       ชี้แจงว่า - ข้อ (ค) นี้ MoU 2543 ฉบับภาษาอังกฤษเขียนว่า (c) Maps which are the results of demarcration works of the Commissions of Delimitation of the Boundary between Indo-China and Siam set up under the Convention of 1904 and the Treaty of 1907 between Siam and France, and other documents relating to the application of the Convention of 1904 and the Treaty of 1907
      
       ข้อสังเกต “แผนที่” ใช้คำว่า “Maps” แสดงว่า มีแผนที่มากกว่าหนึ่งฉบับ ความเป็นจริง คือ ไทยและฝรั่งเสส ดดย คณะกรรมการปักปันผสมสยาม-ฝรั่งเศส ได้จัดทำแผนที่ 11 ฉบับ หรือ 11 ระวาง ในมาตราส่วน 1 : 200,000 และในระวางที่ 11 ซึ่งเป็นบริเวณดงรัก เป็นแผนที่ที่ฝ่ายไทยไม่ยอมรับ และศาลโลกได้วินิจฉัย ในคำพิพากษาปราสาทพระ วิหาร เฉพาะระวางดงรักว่า ไม่เป็นผลงานของคณะกรรมการปักปันผสมสยาม-ฝรั่งเศส
      
       “Commissions” คำนี้แสดงให้เห็นว่า มีคณะกรรมการปักปันผสมสยาม-ฝรั่งเศส มากกว่าหนึ่งชุด และความจริงคือ มีคณะกรรมการปักปันผสมสยาม-ฝรั่งเศส สองชุดด้วยกัน โดยชุดที่หนึ่งตั้งขึ้นตามอนุสัญญาฯ 1904 และชุดที่สองตามสนธิสัญญาฯ 1907 แผนที่ระวางดงรักเป็นการจัดทำโดยเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส โดยที่คณะกรรมการปักปันฝ่ายไทยใน ชุดที่หนึ่งไม่ได้ให้การยอมรับ และไม่ได้มีการประชุมเพื่อให้ฝ่ายไทยได้ปรับปรุงแก้ไข ทั้งที่ได้กำหนดไว้ให้มีขึ้นก่อนวันที่ 15 มีนาคม 1907 อีกทั้งได้ยุติบทบาทโดยสิ้นเชิงในราวเดือนกุมภาพันธ์
      
       ในวันที่ 23 มีนาคม 1907 รัฐบาลสยาม และฝรั่งเศส ได้ลงนามในสนธิสัญญากำหนดเขตแดนใหม่ที่มิได้มีการตกลงมาก่อนในอนุสัญญาฉบับ 1904 จึงได้เกิดมีคณะกรรมการฯ ชุดที่สองขึ้น งานของคณะกรรมการชุดนี้ คือ ปักปันเขตแดนในอาณาบริเวณเขาดงรัก ซึ่งชุดแรกไม่ได้ปักปันไว้คือ จากช่องแกนไปทางด้านตะวันตก จึงไม่รวมพระ วิหารซึ่งอยู่ด้านตะวันออก
      
       mou - 3. ให้คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมมีอำนาจหน้าที่ต่อไปนี้
      
       ชี้แจงว่า - 3. การกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเขตแดนร่วมนี้ แสดงให้เห็นว่าทั้งสองประเทศจะต้องทำงานร่วมกันในลักษณะ เจรจาเพื่อหาข้อยุติ หากไม่สามารถหา ข้อยุติในเรื่องใดได้ เช่น ในเรื่องแผนที่ หรือหลักเขตที่เคยปักไว้ในอดีต ก็สามารถชะลอการทำงานไปก่อนได้ เพราะไม่มีอำนาจใด สามารถบังคับให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องยอมรับ ในสิ่งที่ตนไม่ต้องการยอมรับ
      
       mou - (ฉ) ผลิตแผนที่แสดงเส้นเขตแดนทางบก ที่ได้สำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกแล้ว
      
       ชี้แจงว่า - (ฉ) หมายความว่า หากดำเนินการตาม MoU 2543 นี้ จนแล้วเสร็จ ทั้งสองประเทศจะร่วมกันผลิตแผนที่ ที่แสดงเส้นเขตแดนทางบก เป็นแผนที่ฉบับใหม่ ที่ทั้งสอง ประเทศให้การยอมรับโดยต้องเป็นไปตามอนุสัญญาฯ 1904 และสนธิสัญญาฯ 1907
      
       mou - ข้อ 3 (ข) จัดทำแผนแม่บท และข้อกำหนดอำนาจหน้าที่ในการสำรวจ และจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วม
      
       ชี้แจงว่า - ข้อ 3 (ข) แผนแม่บทนี้ ได้รับการรับรองจากที่ประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2546 (เป็นช่วงเวลาที่ประชาธิปัตย์ เป็นฝ่ายค้าน)
       แผนแม่บทนี้ เป็นการกำหนดขั้นตอนต่างๆสำหรับการสำรวจ และจัดทำหลักเขตแดนร่วมกัน มีชื่อเรียกง่ายๆว่า TOR46 ซึ่งย่อมาจาก Terms of Reference and Master Plan for the JointSurvey and Demarcation of Land Boundary) ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนดังนี้
      
       1. การค้นหาที่ตั้ง และสภาพของหลักเขตเดิมที่ได้เคยจัดทำแล้ว 73 หลัก รวมถึงการซ่อมแซมหลักเขตเดิม
      
       เมื่อกลางปี 2549 ไทยและกัมพูชาได้ร่วมกันสำรวจหลักเขตแดนเดิม ปัจจุบันค้นพบ 48 หลัก เห็นพ้องกัน 33 หลัก และเห็นต่างกัน 15 หลัก
      
       2. การจัดทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ (Orthophoto Maps) มาตราส่วน 1 : 25,000 ตลอดแนวเขตแดน
      
       คณะกรรมการเขตแดนร่วมรอการอนุมัติจากรัฐสภา ให้ดำเนินการจัดทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ หากได้ดำเนินการในข้อนี้ ทั้งสองประเทศจะได้เห็นเส้นสันปันน้ำที่แท้จริง กัมพูชาจะมากำหนดเส้นสันปันน้ำตามใจชอบไม่ได้
      
       3. การลากแนวที่จะเดินสำรวจบนแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ
       4.การตรวจสอบภูมิประเทศจริง
       5.การปักหลักเขตแดน
      
       ในข้อ 3, 4 และ 5 จะเป็นการลงพื้นที่จริง แนวเขตแดนที่จะกำหนดขึ้นนี้ ต้องเป็นที่ยอมรับของทั้งสองประเทศ และต้องเป็นไปตามอนุสัญญาฯ 1904 และสนธิสัญญาฯ 1907 หากมีส่วนใดที่ไม่สามารถตกลงกันได้ ก็สามารถชะลอไปก่อนได้
      
       ในทางเทคนิคของการสำรวจพื้นที่จริงนี้ แผนที่ 1 : 200,000 จะไม่สามารถใช้เป็นเอกสารอ้างอิงได้เพราะเป็นแผนที่ที่มีความหยาบ คือ 1 มิลลิเมตร เท่ากับ 200 เมตร
      
       mou - ข้อ 4 2.เมื่อดำเนินการสำรวจ และจัดทำหลักเขตแดนแล้วเสร็จแต่ละตอน ให้ประธานกรรมาธิการเขตแดนร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ และแผนที่ที่จะแนบบันทึก ความเข้าใจดังกล่าว ซึ่งแสดงตอนที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จไว้
      
       ชี้แจงว่า - ข้อ 4 2.ในข้อนี้หมายความว่า เมื่อดำเนินการสำรวจ และจัดทำหลักเขตแดนแล้วเสร็จในแต่ละตอน (แบ่งเป็น 6 ตอน) ก่อนประธานกรรมาธิการเขตแดนร่วมฝ่าย ไทยจะลงนามบันทึกความเข้าใจ รัฐบาลต้องนำเสนอเอกสารดังกล่าวต่อรัฐสภาเพื่อขอการอนุมัติเสียก่อน เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 190 เพราะเป็นหนังสือสัญญาเกี่ยวข้องกับอาณาเขตและสิทธิอธิปไตยของประเทศ
      
       mou - ข้อ 5. เพื่ออำนวยความสะดวกให้การสำรวจตลอดแนวเขตแดนทางบกร่วมกันเป็นไปอย่างประสิทธิผล หน่วยงานของรัฐบาลกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานเหล่านั้นจะงด เว้นการดำเนินการใดๆ ที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของพื้นที่ชายแดน เว้นแต่จะเป็นการดำเนินการของคณะอนุกรรมาธิการเทคนิคร่วมเพื่อผลประโยชน์ในการ สำรวจและจัดทำหลักเขตแดน
      
       ชี้แจงว่า - ข้อ 5. ข้อนี้กำหนดไว้เพื่อไม่ให้ฝ่ายกัมพูชารุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ไทยมากไปกว่าเดิม และเมื่อการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนแล้วเสร็จ ผู้ที่ล้ำเขตแดนต้องถอยกลับ ไปอยู่ในพื้นที่ตนเอง
      
       mou - ข้อ 8 ให้ระงับข้อพิพาทใดๆ ที่เกิดจากการตีความ หรือการบังคับใช้บันทึกความเข้าใจฉบับนี้โดยสันติวิธีด้วยการปรึกษาหารือและการเจรจา
       ชี้แจงว่า - ข้อ 8 หมายความว่า เมื่อใดที่ตกลงกันไม่ได้ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่าจะแก้ปัญหาด้วยการปรึกษาหรือการเจรจา ไม่ใช่การบังคับให้ใครต้องยอมใคร
      
       และได้สรุปว่า
       1. MoU 2543 เป็นเพียงข้อตกลงว่าจะมาหาวิธีสำรวจ และจัดทำหลักเขตแดนร่วมกัน
       2. ในการดำเนินการ MoU 2543 ใช้หลักการเจรจาไม่มีใครสามารถบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมรับในสิ่งที่ตนไม่ต้องการได้ ทุกๆขั้นตอนคือการหาข้อยุติร่วมกัน
       3. ก่อนที่จะลงนามยอมรับในแผนที่ที่ได้จัดทำร่วมกัน รัฐบาลต้องเสนอขอความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 หากรัฐสภาไม่เห็นชอบ แผนที่นั้นก็จะไม่มีผลทางกฎหมายแต่ประการใด
       4. ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างไทยกับกัมพูชา เป็นเพราะกัมพูชาไม่ได้รักษาสัญญาตามที่ตกลงกันไว้ แต่การรบกันก็คงไม่ทำให้กัมพูชารักษาสัญญา และผู้เดือดร้อนคือพี่น้อง ประชาชนโดยเฉพาะบริเวณชายแดน
       5. หากมีการสู้รบหรือการตอบโต้ในทางใดทางหนึ่ง สุดท้ายก็ต้องจบลงที่การเจรจา แต่ความสูญเสียได้เกิดขึ้นแล้ว
       6. หากยกเลิก MoU 2543 ก็จะไม่สามารถสร้างความชัดเจนในเรื่องเขตแดนระหว่างประเทศได้ มีผลทำให้ประเด็นเขตแดนเป็นเงื่อนไขความขัดแย้งต่อไป
       7. หากมีการยกร่าง MoU กันใหม่ อย่างไรเสียก็ต้องอ้างถึงเอกสารชุดเดียวกันที่ใช้กับ MoU 2543 เพราะเป็นหลักปฏิบัติสากลในเรื่องการปักปันเขตแดน
       8. เพิ่มเติมเกี่ยวกับ MoU 2543 โปรดอ่านเอกสาร “MoU 2543 ทำให้ประเทศไทยเสียดินแดนจริงหรือ” www.democrat.or.th
      
       9. อ้างอิง
       -บันทึกลงนามความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ลงนาม ณ วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2543
       -แถลงการณ์เรื่อง บันทึกความเข้าใจไทย - กัมพูชา ฉบับวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2543 โดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร
       -หนังสือ “คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ คดีปราสาทพระวิหาร” โดยทำเนียบนายกรัฐมนตรี 2505
       -เอกสาร “ข้อมูลที่ประชาชนไทยควรทราบเกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหาร และการเจรจาเขตแดน ไทย-กัมพูชา” โดยกระทรวงการต่างประเทศ
       -เอกสารชี้แจงต่อกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาบันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (JBC) ไทย-กัมพูชา โดยกระทรวงการต่างประเทศ
       -www.icj-cij.org


http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000020653

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554

แนวคิดข้อเสนอ ในการทำข้อตกลงเขตแดนกับ ลาว และกัมพูชา กรณียกเลิก แผนที่ 1:200,000 โดยยึดหลักนิติรัฐ

โดย Rattawoot Pratoomraj เมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2011 เวลา 16:21 น.


แนวคิดข้อเสนอ ในการทำข้อตกลงเขตแดนกับ ลาว และกัมพูชา กรณียกเลิก แผนที่ 1:200,000 โดยยึดหลักนิติรัฐ

๑ กต.ต้องยอมรับว่าแผนที่นี้เป็นหลักฐานเท็จ เพราะไม่ใช่ผลงานคณะกรรมการปักปันผสมสยาม-ฝรั่งเศสตามสนธิสัญญา ๑๙๐๔ และ ๑๙๐๗
< http://www.facebook.com/note.php?note_id=169169269791090>

๒ ยกเลิกทุกข้อตกลง ที่ใช้แผนที่นี้เป็นพื้นฐานทางกฏหมาย เช่น ข้อตกลงไทย-ลาว (ปี ๒๕๔๗) ไทย-กัมพูชา (MOU2543/MOU2544/TOR2546/บันทึก JBC)

๓ คืนสิทธิที่ไม่ชอบธรรมกับคู่ภาคีตามข้อตกลงต่างๆ และทวงสิทธิจากคู่ภาคีเช่นกัน ปฏิบัติเท่าเทียมทั้งลาว และกัมพูชา เพื่อแสดงออกถึงการยึดหลักนิติรัฐของไทยอย่างเคร่งครัด ในเวทีนานาชาติ

๔ ดำเนินการทางการทูต เจรจาทำข้อตกลงใหม่ ที่เป็นธรรมและไทยไม่เสียเปรียบ
< ตัวอย่างไทย-กัมพูชา http://www.facebook.com/note.php?note_id=181105825264101>







วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2554

สถาบันกษัตริย์ไม่เคยกดขี่คนไทย

สถาบันกษัตริย์ไม่เคยกดขี่คนไทย 

ปัญญาชนและวิญญูชนคงไม่ปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงว่า ระดับการพัฒนาของสังคมไทยยังไม่เทียบเท่าหรือเท่าเทียมกับการพัฒนาของสังคมยุโรปตะวันตกและสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะในประเด็นวัตถุและเทคโนโลยี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นมิได้หมายความว่าในการพัฒนาเชิงจิตใจและจิตวิญญาณของสังคมไทยจะด้อยไปกว่าสังคมตะวันตก


แต่ช่างเป็นเรื่องน่าพิสดารที่คนไทยบางกลุ่ม โดยเฉพาะพวกที่ชอบยกหางตัวเองว่าเป็นพวกเสรีนิยมสุดโต่งจนกลายเป็นพวกเสรีนิยมเพ้อฝัน คนพรรค์นี้มักชอบสร้างกระแส ก่อกวนสังคมให้เกิดความรู้สึกไม่ดีและมีอาการสับสนตลอดเวลา โดยการกล่าวอ้างแบบเกินเลยว่า สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการกดขี่ แล้วก็มักจะชอบประณามสถาบันพระมหากษัตริย์ว่าเป็นต้นแบบของการกดขี่

ถามจริง ๆ เถอะ คุณพวกเสรีนิยมเพ้อฝันแน่ใจร้อยเปอร์เซ็นต์หรือว่าสถาบันพระมหากษัตริย์กดขี่คนไทย แต่ถ้าหากเป็นจริงดังคำกล่าวร้ายของคุณแล้ว ช่วยตอบให้กระจ่างได้ไหมว่า เหตุใดคนไทยส่วนใหญ่จึงยอมรับตรง ๆ ว่าสังคมไทยคงไม่สามารถดำรงอยู่ได้หากปราศจากสถาบันสำคัญนี้ หรือคุณเห็นว่าคนไทยส่วนใหญ่เป็นพวกแมสโซคิสม์ (Masochism) จึงชอบความเจ็บปวดที่เกิดจากการถูกกดขี่ห่มเหง หากจะว่ากันตามความจริงแล้ว สังคมไทยมีการกดขี่กันเป็นชั้น ๆ ตลอดเวลา แต่เป็นเรื่องประหลาดที่คนส่วนหนึ่งดันสมยอมให้เกิดการกดขี่ และก็พิสดารตรงที่ผู้ถูกกดขี่กลับไม่ค่อยกล้าลุกขึ้นต่อสู้กับผู้กดขี่ตนเองโดยตรง แต่ชอบตีโพยตีพาย ตีวัวกระทบคราดไปยังสถาบันพระมหากษัตริย์ แล้วเหมารวมว่าสถาบันฯคือตัวการ ทั้ง ๆ ที่สถาบันฯมิได้มีส่วนรู้เห็นแม้แต่น้อย ตัวอย่างเช่น เมื่อชาวบ้านเกิดความไม่พอใจโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล ก็มักจะกล่าวจนเกินเลยไปว่าสถาบันฯเป็นผู้สั่งการ หรือแม้กระทั่งเกิดการรัฐประหารเนื่องจากนักการเมืองสามานย์โกงบ้านกินเมืองจนประชาชนทนไม่ได้ ก็มีการกล่าวร้ายอีกว่าสถาบันฯเป็นผู้สั่งให้ทำรัฐประหาร





การกล่าวโทษเช่นนี้เป็นเรื่องง่ายและเป็นเรื่องที่ทำให้ผู้พูดไม่ต้องรับผิดชอบอะไร เนื่องจากคนพรรค์นี้รู้ดีว่า ไม่มีวันที่ฟ้าจะลงมาต่อปากต่อคำด้วย เพราะฉะนั้นคนพรรค์นี้จึงได้ใจและว่าร้ายฟ้าไปเรื่อย ๆ เหตุผลอีกประการหนึ่งก็คือ คนพวกนี้รู้ดีว่าฟ้าไม่มีวันลงโทษตนเอง ซึ่งต่างไปจากการว่าร้ายพวกมาเฟียและนายทุนการเมือง เพราะการว่าร้ายคนจำพวกหลังนั้น อาจทำให้ผู้พูดต้องประสบความเดือดร้อนสาหัสและอาจสูญหายไปจากโลกใบนี้ได้โดยง่าย

เมื่อทราบเช่นนี้แล้ว ก็หวังว่าพวกเสรีนิยมสุดโต่งคงจะได้สติกลับคืนมาบ้าง แล้วน่าจะทบทวนพฤติกรรมของตนด้วยว่า ตนมีส่วนกดขี่สังคมบ้างหรือเปล่า ผู้เขียนเคยเห็นพวกที่ชอบยกห่างว่าตนเป็นผู้บูชาความเท่าเทียม ความเสมอภาค แต่ครั้นเมื่อเวลาได้รับเชิญไปพูดเพ้อเจ้อให้คนที่คิดไม่ทันฟัง ก็ปรากฏว่ายังมีคนคลานเข่าเอาน้ำและอาหารไปเสริฟถึงโต๊ะในห้องรับรอง แบบนี้มันแสดงถึงความเท่าเทียมกระนั้นหรือ
เราคนไทยยังรู้สึกภาคภูมิใจว่า สังคมของเรามีความอบอุ่นและมีความน่ารักมากกว่าสังคมตะวันตกหลายร้อยเท่า เรายังคงภาคภูมิใจกับยิ้มสยาม ภาคภูมิใจกับความเอื้ออารีย์ที่แต่ละคนมีให้กันและกัน และเราก็ยังมีความสุขใจเมื่อได้สัมผัสบรรยากาศฉันท์พี่ฉันท์น้อง ถึงแม้ข้อเท็จจริงจะปรากฏว่า สังคมของเรามีการแบ่งชนชั้นก็ตาม แต่ทว่าการแบ่งชนชั้นของเราก็ยังไม่เคยทำให้คนไทยลุกขึ้นมาเข่นฆ่ากันเองเหมือนที่เกิดในบางประเทศ

วันเสาร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2554

“ยุบสภาไม่มีเลือกตั้ง” ลม เปลี่ยนทิศ”

คอลัมนิสต์ไทยรัฐ “ลม เปลี่ยนทิศ” เอือมระอาสภาไทย คะแนนไว้วางใจนายกฯ “อภิสิทธิ์” กลับแพ้ “พรทิวา-ปู่จิ้น” ทั้งที่มีเรื่องฉาวโฉ่มากที่สุด ถือตบหน้าคนไทยทั้งประเทศ ชี้ใครๆ ก็รู้ว่าฝีมือของใคร โชว์เพาเวอร์ว่าใครคุมรัฐบาลตัวจริง ผิดหวังอภิสิทธิ์ปกป้องรัฐมนตรีฉาว อยากท้าสาบานวัดพระแก้วว่าไม่มีทุจริตจริงๆ ก่อนจะเห็นด้วยกับทางออกต้อง “รีบิวด์” ประชาธิปไตย ไม่ใช่ปฏิวัติโดยทหาร แต่ใช้กลไกการเมืองเปลี่ยนผ่าน หวังให้การเมืองกลับมามีคุณธรรม จริยธรรมอีกครั้ง      
       คอลัมน์ “หมายเหตุประเทศไทย” โดยนามแฝง ลม เปลี่ยนทิศ ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับประจำวันที่ 21 มีนาคม 2554 ได้เขียนบทความในหัวข้อ “ยุบสภาไม่มีเลือกตั้ง” ซึ่งกล่าวถึงการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยเฉพาะการลงมติไม่ไว้วางใจเป็นรายบุคคล ที่เสร็จสิ้นไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
      
       ในบทความดังกล่าวระบุว่า ตนเชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่คิดว่า “สภา...แบบนี้ อย่ามีเสียเลยดีกว่า” ซึ่งสภาแบบนี้จะนำประเทศไทยไปสู่ความหายนะในอนาคตแน่นอน เพราะเป็นได้อย่างไรรัฐมนตรีที่ถูกกล่าวหาทุจริตคอร์รัปชันมากที่สุด กลับได้คะแนนไว้วางใจสูงสุดจาก ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล สูงกว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เสียอีก ถือเป็นการตบหน้าคนไทยทั้งประเทศ และตบหน้าระบอบประชาธิปไตยไทย เพื่อบอกให้คนไทยทั้งประเทศรู้ว่า ระบอบประชาธิปไตยเมืองไทยอยู่ในอุ้งมือใคร และเห็นว่า ถ้าประชาธิปไตยของคนไทยทุกคนจะต้องไปอยู่ในอุ้งมือของใครสักคน ไปอยู่ใน “อุ้งมือทหาร” ของทหารที่หวังดีต่อชาติ บ้านเมือง ให้รู้แล้วรู้รอด ยังดีกว่าไปอยู่ในอุ้งมือของนักการเมืองที่ไม่หวังดีต่อบ้านเมือง
      
       “ผมไม่รู้ว่า นายกฯ อภิสิทธิ์ ซึ่งได้รับการศึกษาชั้นสูง สาขาวิชาปรัชญาเศรษฐกิจการเมืองจาก “ออกซฟอร์ด” มหาวิทยาลัยชั้นนำ เมืองผู้ดีอังกฤษ ประเทศแม่แบบประชาธิปไตย ที่ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต คุณธรรม จริยธรรม กลับยอมรับประชาธิปไตยแบบนี้ได้อย่างไร ไม่รู้สึกตะขิดตะขวงใจ บ้างเลยหรือ หรือเพราะอยากเป็น “นายกรัฐมนตรี” อย่างที่คนเขาพูดกัน จึงทำให้ยอมทิ้ง “อุดมการณ์ประชาธิปไตยเมืองผู้ดี” ที่ร่ำเรียนมา” ลม เปลี่ยนทิศ กล่าว
      
       นอกจากนี้ คะแนนมติไว้วางใจ ที่พบว่า นายอภิสิทธิ์ ได้คะแนนไว้วางใจ 249 เสียง ไม่ไว้วางใจ 184 เสียง แพ้ นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ พรรคภูมิใจไทย ซึ่งมีเรื่องการประมูลที่ไม่โปร่งใสมากมาย ทั้งการประมูลข้าว ประมูลมัน ล่าสุด เรื่องน้ำมันปาล์ม กลับได้คะแนนไว้วางใจสูงสุดถึง 251 เสียง ไม่ไว้วางใจ 186 เสียง และยังแพ้ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ซึ่งได้คะแนนไว้วางใจ 250 เสียง ไม่ไว้วางใจ 188 เสียง ซึ่งเห็นว่า ปรากฏการณ์คะแนนเสียงที่เกิดขึ้นนี้ คนที่สนใจการเมืองก็รู้ได้ว่าเป็นฝีมือของใคร เพื่อแสดงอำนาจให้นายอภิสิทธิ์รู้ว่าใครอุ้มใคร และใครคือผู้มีอำนาจตัวจริงในรัฐบาล
      
       “แต่ที่น่าผิดหวังอย่างยิ่ง ก็คือ เสียงตอบของนายกฯ อภิสิทธิ์ กับนักข่าวหลังการลงคะแนนว่า คะแนนที่ต่างกันเป็นเรื่องปกติ และยังยืนยันว่า การชี้แจงของรัฐมนตรีทุกคนสามารถแก้ข้อกล่าวหาของฝ่ายค้านได้ ฟังแล้วผมชักอยากสวมวิญญาณนักการเมืองในสภา ที่ คุณชัย ราชวัตร เขียนในการ์ตูนเมื่อวาน มีสุนัขวิ่งออกจากปากได้ อยากให้นายกฯ อภิสิทธิ์ ไปสาบานที่วัดพระแก้ว ว่า ท่านเชื่อจริงๆ หรือว่าไม่มีการทุจริตในรัฐมนตรีที่ถูกอภิปราย” ลม เปลี่ยนทิศกล่าว
      
       ในตอนท้ายของคอลัมน์ ลม เปลี่ยนทิศ เห็นว่า เมื่อบ้านเมืองเป็นอย่างนี้ นักการเมืองทุกคนเป็นอย่างนี้ เลือกตั้งไปกี่ครั้งก็เป็นอย่างนี้ ทำให้คนไทยไม่มีทางเลือก เพราะไม่สามารถเลือกคนที่ดี และระบอบประชาธิปไตยที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์ได้ ทำให้ตนเริ่มจะเห็นด้วยกับข้อเสนอทางหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาอนาคตที่ไร้อนาคตของประเทศไทย ไม่ให้จมอยู่กับ “ประชาธิปไตยน้ำเน่า” ที่ไร้อนาคตแบบนี้ จะต้องร่วมมือกัน “รีบิวด์” สร้างประชาธิปไตยขึ้นมาใหม่ ซึ่งไม่ใช่ “การปฏิวัติ” โดยทหาร แต่ใช้กลไกการเมืองที่มีอยู่ เพื่อ “เปลี่ยนผ่าน” ไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่มีคุณธรรม จริยธรรมอีกครั้ง
      
       “หลังจากนายกฯ อภิสิทธิ์ ประกาศยุบสภาเรียบร้อยแล้ว ก็ทำให้กลไกการเลือกตั้งไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และรัฐบาลเฉพาะกิจขึ้นมา “ปฏิรูป” และ “เปลี่ยนผ่าน” ไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่มีคุณธรรม จริยธรรม กระบวนการนี้อาจต้องใช้เวลาบ้าง แต่นี่คือฝันอันบรรเจิดของผู้คนที่ผิดหวังกับการเมืองในยุค อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี” ลม เปลี่ยนทิศ กล่าวถึงข้อเสนอดังกล่าว

วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554

J░B░C░ ....นำไปสู่การเสียพื้นที่ 4.6 ตร.กม. (REF.5)

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2554

คลิปเสวานาราชอาณาจักรไทยกำลังจะเสียดินแดน

วิธีดู กดเข้าไปแล้วรอโฆษณาจบครับ


http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000011554

26/01/54 .
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000012119
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000012120
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000012128
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000012129


27/01/54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000012718
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000012719


28/01/54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000013250
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000013260


29/01/54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000013540
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000013541
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000013542


01/02/54

http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000014919
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000014958
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000014963
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000014964

02/02/54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000015512
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000015513
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000015514
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000015523

3/2/54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000016109
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000016110
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000016111


4/2/54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000016651
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000016653
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000016654

5/2/54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000016937
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000016938
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000016940
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000016943


6/2/54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000017207
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000017208
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000017209

7/2/54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000017799
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000017800

8/2/54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000018377
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000018379
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000018380

9/2/54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000018926
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000018938
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000018945

10/2/54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000019581
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000019582
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000019583


11/2/54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000020084
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000020085
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000020086

12/2/54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000020368
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000020372
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000020373

13/2/54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000020717
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000020718
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000020719
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000020720

14/2/54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000021222
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000021223
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000021224

15/2/54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000021905
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000021906
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000021907

16/2/54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000022464
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000022465
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000022467

17/2/54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000023111
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000023112
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000023113

18/2/54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000023466
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000023467


19/2/54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000023750
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000023751
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000023752
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000023755
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000023758

21/2/54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000024654
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000024659
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000024660

22/2/54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000025213
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000025232
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000025233

23/2/54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000025785
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000025788
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000025789

24/2/54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000026420
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000026421
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000026423


25/2/54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000026961
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000026962
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000026963

26/2/54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000027258
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000027259
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000027260

27/2/54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000027558
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000027559
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000027560


28/2/54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000028084
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000028085


1 3 54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000028748
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000028749
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000028750


2 3 54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000029330
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000029331
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000029332


3 3 54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000029915
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000029916



4 3 54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000030505
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000030506
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000030515


5 3 54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000030793
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000030794


6 3 54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000031088
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000031089
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000031091


7 3 54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000031652
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000031653
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000031654


8 3 54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000032258
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000032259
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000032260


9 3 54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000032860
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000032861
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000032870


10 3 54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000033493
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000033494
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000033495

11 3 54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000034056
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000034057
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000034058
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000034059

12 3 54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000034346
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000034347
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000034348


13 3 54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000034678
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000034679
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000034680
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000034681

14 3 54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000035287
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000035288
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000035289
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000035290

15 3 54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000035797
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000035798

16 3 54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000036331
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000036332

17 3 54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000036922
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000036931

18 3 54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000037464
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000037465
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000037466
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000037472

19 3 54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000037761
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000037762
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000037763

20 3 54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000038008
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000038009
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000038011
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000038012


21 3 54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000038556
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000038557
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000038559
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000038560


22 3 54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000039206
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000039207
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000039208


23 3 54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000039748
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000039749
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000039750


24 3 54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000040339
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000040340
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000040341


25 3 54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000040887
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000040889
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000040890
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000040897

26 3 54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000041194
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000041195
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000041196

27 3 54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000041490
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000041492
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000041503

28 3 54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000041991
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000041992
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000041993
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000041994
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000042024
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000042060
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000042061
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000042062

29 3 54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000042615
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000042620

30 3 54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000043180
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000043181

31 3 54
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000043749
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000043756
http://www.manager.co.th/vdo/defaultrun.aspx?NewsID=5540000043759

เสี่ยถูกหลอก (เลียบวิภาวดี)

สรุปความอัปยศ 6 ประการของ บันทึกผลการประชุม JBC (สั้นที่สุด)

สรุปความอัปยศ 6 ประการของ บันทึกผลการประชุม JBC (สั้นที่สุด)

โดยปานเทพ พัวพงษ์พันธ์เมื่อ 24 มีนาคม 2011 เวลา 0:20 น.




หากที่ประชุมรัฐสภาผ่านความเห็นชอบในบันทึกผลการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชาในวันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554 จะเกิดผลเสียหาย 6 ประการดังต่อไปนี้
1. จะเป็นการให้สมาชิกรัฐสภาไทยยอมสละละทิ้งผลงานการสำรวจและปักปันกันไปแล้วระหว่างสยาม-ฝรั่งเศสเมื่อ 103 ปีเสร็จสิ้นไปแล้วว่าบริเวณช่องสะงำ จ.ศรีสะเกษ ไปทางทิศตะวันออกถึง ช่องบก จ.อุบลราชาธานีความยาว 195 กิโลเมตร (รวมเขาพระวิหาร) ให้ใช้ขอบหน้าผาเป็นสันปันน้ำและเป็นเส้นเขตแดนตามธรรมชาติ สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าโดยไม่เคยและไม่ต้องทำหลักเขตแดน ให้กลายมาเป็นต้องตกลงกันใหม่ ให้มาจัดทำหลักเขตแดนกันใหม่ระหว่างไทย-กัมพูชา ทำให้ไทยต้องเสียเปรียบเพราะจะทำให้นานาชาติเข้าใจผิด ดังที่กัมพูชาพยายามอธิบายมาโดยตลอดว่าไทยกับกัมพูชากำลังทำหลักเขตแดนตามแผนที่มาตราส่วน 1: 200,000 ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียวและเป็นแผนที่ซึ่งทำผิดกินรุกเข้ามาในดินแดนไทย ตามข้อความที่่ปรากฏใน บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก พ.ศ. 2543 หรือ MOU 2543 ซึ่งแผนที่มาตรส่วน  1: 200,000 จะทำให้ไทยต้องสูญเสียอธิปไตยเหนือดินแดนตลอดชายแดนไทย-กัมพูชาประมาณ 1.8 ล้านไร่
2. จะเป็นการให้รัฐสภาไทยให้ความเห็นชอบ คำปราศรัยอยู่ในบันทึกผลการประชุมของนาย วาร์ คิม ฮง ประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) ฝ่ายกัมพูชากล่าวร้ายด้วยข้อความอันเป็นเท็จว่า ไทยเป็นฝ่ายรุกรานกัมพูชาตามแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 บริเวณปราสาทพระวิหาร ปราสาทตาเมือนธม และปราสาทตาควาย

3. จะเป็นการให้รัฐสภาไทยรับรองผลการประชุมที่มีการแนบนำร่างข้อตกลงชั่วคราวไทย-กัมพูชา ว่าจะให้มีการจัดทำหลักเขตแดนทางบกในบริเวณเขาพระวิหาร โดยมีการระบุอยู่ในร่างข้อตกลงชั่วคราวว่า ให้ยืนยันการใช้ MOU 2543 และ TOR 2546 ทั้งๆที่ MOU 2543 นั้นมีปัญหาที่ไทยเสียเปรียบบหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการยอมรับแผนที่มาตราส่วน 1: 200,000 ที่รุกล้ำอธิปไตยไทยให้มาอยู่บนโต๊ะเจรจามีสภาพบังคับให้พิจารณาเป็นครั้งแรกให้ไทยต้องเสียเปรียบ  มีข้อกำหนดที่เป็นผลทำให้เป็นการมัดแสนยานุภาพทางการทหารของไทยและใช้การเจรจาด้วยสันติวิธีอย่างเดียวหากมีการพิพาทกัน  ทำให้ทหารกัมพูชาที่ยึดครองดินแดนไทยอยู่สามารถยึดครองต่อไปได้อย่างไม่มีกำหนดระยะเวลาจนกว่าผลการเจรจาจะเป็นที่พอใจต่อฝ่ายกัมพูชาแต่เพียงฝ่ายเดียว ซ้ำร้ายยังทำให้กัมพูชารุกรานแผ่นดินไทยเพิ่มเติมมาจนถึงทุกวันนี้  ยิ่งไปกว่านั้น MOU 2543 ได้จัดทำขึ้นโดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาทั้งๆที่มีบทและความสุ่มเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงอาณาเขต จึงขัอต่อบทบัญญัติมาตรา 244 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ดังนั้น MOU 2543 เป็นโมฆะมาตั้งแต่ตอนต้น

4. จะเป็นการให้รัฐสภาไทยรับรองผลการประชุมที่มีการแนบร่างข้อตกลงชั่วคราวไทย-กัมพูชา ระบุว่าให้ทหารไทยและทหารกัมพูชาถอนออกจากวัดแก้วสิขะคีรีสะวาราทั้งๆที่บริเวณดังกล่าวเป็นแผ่นดินไทยที่กัมพูชาเพิ่งมาสร้างวัดในปี พ.ศ. 2546 การถอนกำลังทหารไทยในแผ่นดินไทย จะเป็นผลทำให้เขตปลอดทหารทำให้กลายเป็นพื้นที่สันติภาพเข้าเงื่อนไขที่กัมพูชาเตรียมนำพื้นที่บริเวณดังกล่าวที่เป็นแผ่นดินไทยนำไปเสนอเป็นส่วนหนึ่งแผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหารให้เป็นของกัมพูชาแต่เพียงฝ่ายเดียว ในเวทีมรดกโลกในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554

5. จะเป็นการให้รัฐสภาไทยรับรองบันทึกผลการประชุมที่ผิดขั้นตอน เช่น การยังไม่ได้ผ่านการลงนามโดยพนักงานสำรวจฝ่ายไทย และหลักเขตที่ 23  ถึง 51 ก็ยังไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากเจ้ากรมแผนที่ทหาร จึงถือว่าเป็นการลักไก่เสนอให้กัมพูชาและลักไก่ขอความเห็นชอบจากรัฐสภาไทยอย่างไม่ถูกต้องตามขั้นตอน

6. จะเป็นการให้รัฐสภารับรองขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 190  เพราะจากรายงานของคณะทำงานที่ศึกษาเรื่องเขาพระวิหารของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ระบุอย่างชัดเจนว่าเป็นการับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างไม่ถูกต้อง เช่น ไม่บอกประชาชนให้รับทราบว่าเป็นการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190, ให้ข้อมูลด้านเดียวตามที่กระทรวงการต่างประเทศต้องการโดยไม่ให้ข้อมูลด้านลบ, ในบางเวทีเมื่อมีการคัดค้านก็ใช้วิธีการปิดประชุมและไม่รายงานการคัดค้านของนักวิชาการและประชาชน, มีการจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้อง เช่น เชียงใหม่, สุราษฎร์ธานี ฯลฯ
การที่นายกรับมนตรีอ้างว่าจะกรรมาธิการที่พิจารณาผลการศึกษานี้จะมีการตั้งข้อสังเกตก็ดี และสมาชิกรัฐสภาจะตั้งข้อสังเกตก็ดี หรือนายกรัฐมนตรีจะรับปากว่าจะแก้ไขข้อบกพร่องหรือทำตามข้อสังเกตในการประชุม"ในอนาคต"ก็ดี  ก็ไม่เกี่ยวข้องกับบันทึกผลการประชุมที่เกิดขึ้นไปแล้ว เพราะวาระการประชุมในวันที่ 25 มีนาคม 2554 นั้นคือเพื่อ "รับรอง" หรือ  "ไม่รับรอง" ในสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว ซึ่งกัมพูชาจะสามารถนำไปอ้างในสิ่งที่ไทยเสียเปรียบในเวทีนานาชาติโดยทันที

การที่นายกรัฐมนตรีอ้างว่าการขอความเห็นชอบจากรัฐสภานั้น เพื่อให้การเจรจาทวิภาคีระหว่างไทย-กัมพูชาเดินหน้าต่อไปได้นั้น อันที่จริงแล้วกระบวนการตามรัฐธรรมนูญของไทยเมื่อมาขอความเห็นชอบกจากรัฐสภา ย่อมแปลว่ารัฐสภามีสิทธิ์เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ  ดังนั้นรัฐสภาไทยจึงมีสิทธิ์ไม่เห็นชอบในบันทึกผลการประชุมที่เสียเปรียบต่อประเทศชาติ และให้กลไกทวิภาคีของคณะกรรมาธิาการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) กลับไปเจรจาแก้ไขกันใหม่ในคราวต่อไปจนกว่ารัฐสภาไทยจะเห็นความเห็นชอบ
ขอวิงวอนจากท่านสมาชิกรัฐสภาทุกท่านได้โปรดแก้ไขวิกฤติการณ์ครั้งนี้ โดยการลงมติไม่รับรอบบันทึกผลการประชุม JBC ทั้ง 3 ฉบับ  หากท่านสมาชิกรัฐสภาให้ความเห็นชอบในบันทึกผลการประชุมนอกจากจะต้องถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ชั่วลูกชั่วหลานว่าท่านได้ให้ความเห็นชอบในบันทึกผลการประชุมที่อัปยศและสร้างความเสียหายต่อประเทศชาติแล้ว  ท่านก็อาจจะต้องถูกดำเนินคดีอาญาที่ทำให้ดินแดนไทยส่วนใดส่วนหนึ่งตกอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐกัมพูชาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 119,120,157 ซึ่งมีโทษสูงสุดคือจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต



วิเคราะห์ 'JBC 3 ฉบับ': ไทยมัดตัวเอง เสี่ยง ! เสียดินแดน

วิเคราะห์ 'JBC 3 ฉบับ': ไทยมัดตัวเอง เสี่ยง ! เสียดินแดน
บทวิเคราะห์ ชี้กฎหมายไทย 3 ฉบับ กรณีปราสาทพระวิหารและดินแดน บังคับห้ามแต่คนไทย ไม่เคยใช้กับคนเขมรที่รุกล้ำ
วิเคราะห์ บันทึกการประชุมเจบีซี เทพมนตรี ลิมปพยอม และคณะ ซึ่งเป็นเอกสารแนบท้ายหนังสือยื่น นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2553 เรื่องผลการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ที่จะนำเข้าสู่การประชุมของรัฐสภา เพื่อให้ที่ประชุมมีมติเห็นชอบบันทึกการประชุม ๓ ฉบับ ดังนี้

๑.บันทึกการประชุมJBC สมัยวิสามัญที่เมืองเสียมราษฎ์ วันที่ ๑๐-๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
๒.บันทึกการประชุม JBC ครั้งที่ ๔ ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๓-๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
๓.บันทึกการประชุม JBC สมัยวิสามัญที่กรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ ๖-๗ เมษายน ๒๕๕๒

๑. บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-กัมพูชา สมัยวิสามัญ ณ เมืองเสียมราษฎร์ วันที่ ๑๐-๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ บันทึกการประชุมฉบับนี้มีข้อน่าสังเกตว่า การดำเนินการของ JBC พยายามจะไปรองรับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารให้เป็นมรดกโลก ซึ่งภายหลังจากการขึ้นทะเบียนมรดกโลก ๒ สัปดาห์ และการประชุมอีกครั้งในวันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๑ โดยมีคำสั่งให้ชุดสำรวจร่วม JST ระงับภารกิจประจำทันทีแล้วย้ายไปยังพื้นที่ตอนที่ ๖ ซึ่งอยู่อาณาบริเวณปราสาทพระวิหารและเป็นพื้นที่เป้าหมายของกัมพูชาในการที่นำไปจะผนวกเพื่อให้การขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทมีความสมบูรณ์สอดรับกับมติคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ ๓๑ และต่อมาครั้งที่ ๓๒ และ ๓๓ รวมทั้งยังได้พิจารณาร่างข้อตกลงชั่วคราวฯฉบับแรก (หน้าที่ ๒๑) ที่ต่อมามีพัฒนาการมาอีก ๒ ครั้งตามบันทึกการประชุม นอกจากนี้ ยังมี คำปราศรัย (หน้า ๒๕) โดย ฯพณฯนายวศิน ธีรเวชญาณ ซึ่งมีข้อน่าสังเกตดังนี้ การปราศรัยของนายวศินได้ทำการเสนอแผนการทำงานของ JBC ในสองประเด็นประเด็นแรก ได้ทำการเร่งรัดประเด็นทางกฎหมายเกี่ยวกับพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร ประเด็นที่สอง นายวศิน พยายามพูดถึงข้อตกลงชั่วคราว ซึ่งจะทำให้ JBC มีอำนาจในการตัดสินใจเรื่องการเตรียมพื้นที่รอบปราสาทให้อยู่ในสภาพพร้อมสำหรับการสำรวจร่วม ในตอนท้ายของคำปราศรัย มีถ้อยคำที่สุ่มเสี่ยงต่อความเข้าใจในเรื่องการปักปันเขตแดนที่ปักปันเสร็จสิ้นไปแล้ว ซึ่งทำให้มองเห็นว่าการปราศรัยใหม่อีกครั้งหนึ่งในนามประธาน JBC โดยมีความหมายและสอดรับกับคำกล่าวที่ว่าถ้าร่างข้อตกลงนี้แล้วเสร็จ เขาจะมีอำนาจตัดสินใจในการเตรียมพื้นที่

อนึ่ง บริเวณปราสาทพระวิหารมีหน่วยงานที่รับผิดชอบ ๓ หน่วยงาน คือ ๑.กองทัพภาคที่ ๒ ซึ่งตอนนี้ประกาศกฎอัยการศึก ๒.กรมศิลปากร มี พ.ร.บ.โบราณสถานโบราณวัตถุฯ เพราะขึ้นทะเบียนโบราณสถานไว้แล้ว ยังไม่มีการถอนทะเบียน ๓. อุทยานแห่งชาติ ที่ถือ พ.ร.บ.อุทยานฯ และประกาศเขตอุทยานแห่งชาติปราสาทพระวิหารไปแล้ว แต่ ๓ หน่วยงานดังกล่าวไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้ โดยเฉพาะไม่เคยนำไปใช้กับชาวกัมพูชา แต่ใช้กับประชาชนคนไทยได้ เพราะมี JBC อยู่ตาม TOR๔๖ และตาม MOU43

๒. บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-กัมพูชา ครั้งที่ ๔ ณ กรุงเทพมหานคร วันที่ ๓-๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒ ๑.ให้ชุดสำรวจร่วมที่มีอยู่ปฏิบัติงานจากหลักเขตแดนที่ ๑ ไปทางทิศตะวันออกถึงเขาสัตตะโสม/พนมเสทิสม หรือบริเวณปราสาทพระวิหารและให้จัดตั้งชุดสำรวจอีกชุดหนึ่งเพื่อปฏิบัติงานในพื้นที่ตอนที่ ๕ จากหลักเขตที่ ๑ ไปทางทิศตะวันตกถึงหลักเขตแดนที่ ๒๓ (หน้า๕๔) ข้อสังเกต พยายามเร่งรัดดำเนินการจนเป็นที่ผิดสังเกต การประชุม ๒ ครั้งเน้นไปที่พื้นที่ปราสาทพระวิหารซึ่งเป็นความต้องการของฝ่ายกัมพูชามากกว่าฝ่ายไทย นอกจากนี้ยังมีการหารือเรื่องร่างข้อตกลงชั่วคราวกันต่อ ๒.คำปราศรัยของ ฯพณฯวศิน ธีรเวชญาณในครั้งนี้ย้ำเรื่องที่ต้องการเร่งงานเดิมที่ค้างอยู่ให้มีความก้าวหน้ามากขึ้น แต่สำหรับคำปราศรัยของวาร์ คิม ฮง มีถ้อยคำที่ไม่ควรยอมรับให้มีการบันทึก ความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไทย-กัมพูชา (MOU) พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยทหารไทยในพื้นที่ดงรัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณปราสาทพระวิหาร ปราสาทตาเมือน ปราสาทตากราเบ็ย ฯลฯ ได้ก่อให้เกิดสถานการณ์ใหม่ที่ประเด็นยังคงค้างอยู่ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลกัมพูชายังยึดมั่นที่จะอดกลั้นที่สุดเพื่อให้มีการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี(หน้า๖๕) จากข้อความข้างต้นแสดงให้เห็นวาร์ คิม ฮง ต้องการบันทึกถ้อยคำของฝ่ายกัมพูชาเอาไว้เป็นหลักฐานโดยการกล่าวหาว่าไทยรุกล้ำดินแดน ที่น่าสังเกตคือ ฯพณฯวศิน กลับนิ่งเฉยเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ในท้ายคำปราศรัยของวาร์คิม ฮง ยังเน้นให้เคารพบันทึกความเข้าใจฯ MOU๔๓ซึ่งต่อมาภายหลังฝ่ายกัมพูชาเข้ามารุกล้ำดินแดนไทยและละเมิดข้อตกลง มาตรา ๕ นอกจากนี้ยังเริ่มที่จะเน้น TOR ๔๖

๓. บันทึกการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมไทย-กัมพูชา สมัยวิสามัญ ณ กรุงพนมเปญ วันที่ ๖-๗ เมษายน ๒๕๕๒ ในหน้า ๘๓-๘๕ เป็นคำกล่าวปราศรัยของฯพณฯวาร์ คิม ฮง ซึ่งเป็นภาษาเขมร บันทึกการประชุมฉบับนี้ถือว่าเป็นบันทึกการประชุมที่สำคัญที่สุด อาจถือได้ว่าเป็นบทสรุปของการประชุมที่แล้วมา ๒ ครั้งก็เป็นได้ วาระการประชุมคราวนี้มีเรื่องที่จะต้องพิจารณา นั่นก็คือ หารือเรื่องร่างข้อตกลงชั่วคราว มีข้อน่าสังเกตที่ควรจดจำไว้ดังนี้ ในข้อที่ ๗ (หน้า๙๒) มีถ้อยคำในบันทึกการประชุมครั้งนี้ว่า ทั้งสองฝ่ายได้ยุติในข้อบทของบันทึกการประชุม และได้รับการลงนามแล้ว โดยต้องได้รับการยืนยันผ่านทางช่องทางการทูตว่าได้ดำเนินการตามกระบวนการกฎหมายภายในของแต่ละฝ่ายที่กำหนดไว้สำหรับการมีผลบังคับใช้บันทึกการประชุมเสร็จสิ้นแล้ว จะเห็นได้ว่าJBC ทั้งสองประเทศพยายามรวบรัด ในการที่จะต้องพิจารณาเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะฝ่ายไทยที่จะต้องตระหนักถึงปัญหาการยอมรับว่าทหารไทยได้รุกล้ำอธิปไตยกัมพูชา ซึ่งจะส่งผลไม่แต่จะทำให้บันทึกรายงานการประชุมเป็นคุณเฉพาะกัมพูชาเท่านั้น หากแต่สิ่งที่กัมพูชากล่าวหาฝ่ายไทยก็เป็นจริงตามนั้นด้วยโดยที่ไทยมิได้ปฏิเสธ หรือมติคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ ๓๓ ซึ่งกล่าวถึงการที่มีการปะทะกันระหว่างทหารไทย-กัมพูชา จนในที่สุดคณะกรรมการมรดกโลกโดยการแทรกแซงของฝรั่งเศสได้สนับสนุนงบประมาณซ้อมแซมสถานที่ที่ถูกทหารไทยยิงถล่มไป เช่นตลาด และบ้านเรือนทหารซึ่งแท้ที่จริงแล้วเหตุการณ์เกิดขึ้นในดินแดนประเทศไทยข้อที่ ๑๕ (หน้า๙๓) ว่าด้วยเรื่องการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนในพื้นที่ตอนที่ ๕และ๖ มีการเร่งรัดให้ดำเนินการในพื้นที่ปราสาทพระวิหาร ภายหลัง ฝ่ายไทยเห็นชอบที่กัมพูชาจะเร่งรัดในการดำเนินงานและกำหนดว่าจะต้องแล้วเสร็จก่อนเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๒ ตรงจุดนี้ก็เพื่อจะได้ทันต่อการนำเสนอเข้าที่ประชุมกรรมการมรดกโลกสำหรับเรื่องการกล่าวคำปราศรัยของ ฯพณฯวศิน ธีรเวชญาณ มีถ้อยคำที่มีข้อน่าสังเกตอย่างมาก ความว่า การจัดการประชุมในวันนี้มีขึ้นหลังจากการประชุมครั้งก่อนพียง ๒ เดือน แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะร่วมกันแก้ปัญหาเรื่องเขตแดนในพื้นที่ประชิดปราสาทพระวิหาร และเราจะได้สรุปร่างข้อตกลงชั่วคราวในพื้นที่ประชิดปราสาทพระวิหาร เมื่อสำเร็จแล้วจะได้มีการลงนามบันทึกการประชุมทั้งสองครั้งที่ผ่านมาที่จัดขึ้นที่เมืองเสียมราฐและกรุงเทพฯซึ่งจำให้เราดำเนินการตามสิ่งต่างๆที่เราได้เห็นชอบร่วมกัน

แต่ทั้งนี้ ประธาน JBC ไม่พูดถึงเรื่องการรุกล้ำของทหารไทยที่ถูกฝ่ายกัมพูชากล่าวหา และรวมไปถึงพื้นที่โดยรอบของเรา และการผลักดันเขมรออกจากพื้นที่ประชิดปราสาทพระวิหาร ในการปราศรัยตอนท้ายๆของการประชุม (หน้า๑๐๐)ฯพณฯวศิน ยังแสดงทีท่าว่าการดำรงไว้ซึ่ง สันติระหว่างประเทศและเพื่อที่จะให้การปักปันเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชาได้สำเร็จลุล่วงโดยเร็ว

ซึ่งท่าทีเช่นนี้มีความหมายว่า ฝ่ายไทยจะไม่ใช้กำลังกับฝ่ายกัมพูชา(หน้า ๑๐๐)ปัญหาที่ตามมาคือ ถ้าร่างข้อตกลงฉบับนี้กับบันทึกการประชุมผ่านรัฐสภาเราจะสูญเสียอำนาจทางการปกครองอธิปไตย และไม่สามารถเรียกร้องสิทธิ์ใด ๆ ได้เลย

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554

จะเลือกตั้งกันใหม่? ย้อนหลังดูอดีตบ้างเป็นไร! โดยดร.ไก่ Tanond

จะเลือกตั้งกันใหม่? ย้อนหลังดูอดีตบ้างเป็นไร! โดยดร.ไก่ Tanond

โดยคนไทยกู้แผ่นดินเมื่อ 23 มีนาคม 2011 เวลา 1:38 น.
จะเลือกตั้งกันใหม่? ย้อนหลังดูอดีตบ้างเป็นไร!

หากเราได้ย้อนกลับไปเกือบ80ปี ที่คนไทยและประเทศไทยเราได้เริ่มใช้คำว่า "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" หรือ Constitutional Monarchyนั้น พวกเราได้เข้าสู่กระบวนการเลือกตั้ง โดยมีการจัดตั้งรัฐบาลมาแล้วเกือบ 60 คณะ มีนายกรัฐมนตรีมาแล้ว 27 คน โดยที่ประชาชนทั้งปวง มิเคยได้รับมอบอำนาจขององค์รัชกาลที่7 ที่ได้ทรงสละราชบัลลังก์เพื่อการนี้

กอปรกับการเลือกตั้งตลอดเกือบ 80 ปีที่ผ่านมา รุปแบบการปกครองชาติบ้านเมือง ก็หาได้เป็นไปตามระบอบประชาธิปไตยนี้ไม่ เพระาเมื่อครั้งที่เริ่มต้น คณะราษฎร์ผู้ทำการเปลี่ยนแปลง ก็ได้เปิดศึกแย่งชิงอำนาจกันเองภายใน ด้วยการกวาดต้อนข้าราชการ และพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นตามมา เข้ามาเป็นพวกพ้องของตน จนทำให้แปรเปลี่ยนระบอบประชาธิปไตยนี้ ไปเป็นระบอบอำมาตยา คณาธิปไตย เป็นใหญ่กันครองเมือง จวบจนเข้าสู่ยุคหลังการปฏิวัติโดยประชาชน 2516 และเหตุความรุนแรงทางการเมือง 2519 กลุ่มทุนได้รุกเข้ามาสนับสนุนกลุ่มอำมาตยา คณาธิปไตย เพื่อเข้าสู่อำนาจทางการเมืองในทางอ้อม เริ่มต้นการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ระบอบธนาธิปไตย

เริ่มต้นปี2544 คนไทยเราได้ร่วมใจกันเข้าคูหาเลือกตั้ง เลือกพรรคไทยรักไทยเข้ามา นับจากวันนั้นผ่านเลยมาถึงวันนี้ ระบอบธนาธิปไตยได้ก้าวไกล ผ่านเลยจากการมีกลุ่มทุนสนับสนุน มาเป็นการมีกลุ่มทุนเข้าร่วมทางการเมืองในทางตรง เพื่อเข้าสู่อำนาจทางการเมืองได้โดยตรง จนระบบการเมืองทั้งระบบในตกเข้าสู่วงจรของทุนสามานย์ กลายเป็นธุรกิจการเมืองอย่างเต็มตัว พรรคการเมืองขั้วสำคัญๆได้ผันระบบการเมือง ได้แปลงวัฒนธรรมทางการเมือง ให้เป็นไปในรูปแบบของธุรกิจ ที่อิงกำไร อิงผลประโยชน์เป็นตัวตั้ง มองข้ามมองผ่านหลักการสำคัญของความเป็นตัวแทนพี่น้องประชาชน ก้าวข้ามการกินดีอยู่ดีของประชาชน มาเป็นความร่ำรวยของตนเองและพวกพ้อง

เช่นนี้แล้วเมื่อมาถึงวันนี้ เมื่อกลไกหลักในทางการเมืองได้ปักหลักอยู่กับการลงทุน การหาทุนคืนบวกก้อนกำไร การเมืองข้างหน้าจึงหนีไม่พ้น จะมีลักษณะของโจรครองเมือง หรือ โจราธิปไตย Kleptocracy ที่ไม่มีชาติบ้านเมืองใดเขาต้อนรับ ทว่ามักถูกบีบบังคับ กดดันให้ยอมรับจากผู้ปกครองประเทศตนที่เป็นเผด็จการอย่างรุนแรง ที่ทว่าในวันนี้ก็ได้เริ่มมีการแปลกแยก ขัดขืนต่อสู้จากประชาชนการในกลุ่มประเทศอัฟริกาเหนือ และตะวันออกกลาง จนถึงวันนี้มีจำนวนมากมายเป็นสิบๆประเทศไล่เรียงกันไป

ในวันนี้ จึงเป็นโอกาสที่เราจำต้องตัดสินใจปฏิเสธมิให้วงจรอุบาทว์ ทางการเมืองนี้ให้ดำรงอยู่อีกต่อไป โดยควรพร้อมใจกัน มองไปที่เหตุและผลของความเสื่อมสลายทางการเมือง ความชั่วร้ายต่างๆนาๆที่ได้ถูกเปิดโปง โดยภาคประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง ความเลวร้าย ชั่วร้ายที่นับวันจะยิ่งรุนแรงใหญ่โตเหล่านี้ กำลังเป็นที่รับรู้กันดีโดยประชาชนผู้ตื่นรู้ทางการเมือง แล้วพี่น้องร่วมชาติท่านอื่นๆจะไม่ลองเปิดใจ ให้ความสำคัญกับความต้องการเปลี่ยนผ่านในครั้งนี้บ้างเชียวหรือ? เปิดใจรับฟังเพื่อให้ได้ยินกันบ้าง ว่าที่ท่านเห็นว่าดีกับที่ภาคประชาชนเห็นว่าเลว มันเป็นเช่นไร? จะไม่เห็นพ้องต้องกันแต่ก็ขออย่าได้ขัด เพราะคุณประโยชน์ที่จะได้รับจากการเปลี่ยนแปลง จะเป็นที่ประจักษ์แก่ตัวท่านและประชาชนโดยรวม โดยมีประเทศชาติเป็นที่ตั้งและประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดิน

ไฟกำลังไหม้ประเทศ (ตาโป๋เป่าปี่)

ไฟกำลังไหม้ประเทศ (ตาโป๋เป่าปี่)

โดยคนไทยกู้แผ่นดินเมื่อ 22 มีนาคม 2011 เวลา 22:17 น.
 ถ้าประเทศไทยเปรียบเหมือนบ้าน ก็ต้องกล่าวได้ว่าบ้านหลังนี้กำลังถูกไฟไหม้ ถ้าไม่ช่วยกันรีบดับก็คงจะวอดลงทั้งหลังในไม่ช้านี้

ปล่อยปละละเลยไม่ใส่ใจเท่าที่ควรกับการเล่นไม้ขีดไฟของเด็กในบ้าน นึกว่าเด็กคนนี้ท่าทางเรียบร้อยหน้าตาหล่อเหลา คงไม่เป็นพิษเป็นภัยอะไร อยากทำอะไรก็ไม่ว่ากล่าวห้ามปรามจนเด็กเคยตัวจุดไม้ขีดไฟเล่นกับเพื่อนๆซึ่งเป็นเด็กด้วยกันในบ้านด้วยความสนุกสนาน บ้านหลังนี้ก็คงต้องวอดลงทั้งหลัง ถ้าดับกันไม่ทัน

ประเทศไทยกำลังตกอยู่ในสภาพนี้

ตลอดเวลากว่าสองปีที่ประเทศไทยมีเด็กเข้ามาเป็นผู้บริหารประเทศ ได้พิสูจน์ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า "กฎเด็ก" ที่วางไว้แต่ละข้อล้วนแล้วแต่เป็นกฎของการโฆษณาชวนเชื่อ ไม่ปรากฏการกระทำอะไรให้เป็นชิ้นเป็นอันอะไรกับบ้านเมืองวันๆ เอาแต่พูด และเมื่อพูดแล้วก็จำไม่ได้เสียว่าเคยพูดไว้อย่างไรบ้าง

ไม่มีความกล้าหาญในการต่อสู้กับปัญหาที่เข้ามาเผชิญหน้า นอกจากหลบเลี่ยงไปทางโน้นทีทางนี้ที แม้กระทั่งปัญหาของแผ่นดินที่สืบเนื่องมาจากการสูญเสียครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง ในการยินยอมให้เขมรขยายเขตดินแดนอย่างไม่ถูกต้องชอบธรรม อย่างที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ด้านเขาพระวิหาร เด็กคนนี้ก็ทำได้แค่แบ๊ะๆ สนุกอยู่กับถุงยางอนามัยที่นำมาครอบหัวเท่านั้น

บ้านเมืองขณะนี้มีความวิกฤติหนักที่สุด

สาหัสรุนแรงยิ่งกว่ายุคใดที่ผ่านมา

ตั้งแต่ระดับสูงสุดลงถึงระดับรากหญ้า ซึ่งจำแนกให้เห็นได้ดังต่อไปนี้

1. การบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์

ภายใต้ความไม่ใส่ใจในการทำหน้าที่ของกลไกรัฐบางส่วน นักการเมืองจำนวนหนึ่ง นักวิชาการจำนวนหนึ่ง สื่อมวลชนจำนวนหนึ่ง ร่วมกันขับเคลื่อนปลุกระดมให้เกลียดชังสถาบันพระมหากษัตริย์ ถึงขั้นอาฆาตมาดร้ายหวังโค่นล้มสถาบันพระมหากษัตริย์ พฤติกรรมดังกล่าวขยายตัวมากขึ้นทุกวันถึงขั้นยุยงชาวบ้านหลายแห่งที่อยู่ห่างไกลเมืองหลวงไม่ให้ติดรูปไว้ในบ้าน

มีการใช้สื่อ โดยเฉพาะเว็บไซต์ ใช้แผ่นซีดีเอกสารและแผ่นปลิว รวมทั้งการพ่นสีตามกำแพงหรือที่สาธารณะ ใช้วิทยุชุมชนอย่างแยบยลเพื่อบ่อนทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยฝ่ายเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบละเลยหรือจัดการแบบเสียไม่ได้

2. ปัญหาความแตกแยกของคนในชาติ

ยุคนี้ พ.ศ.นี้เป็นยุคที่ผู้คนในชาติบ้านเมืองเกิดความแตกแยก แบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันมากที่สุด โดยเฉพาะผู้คนในขบวนการหนึ่งต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็น "รัฐไทยใหม่" ซึ่งมีความหมายที่แอบแฝงไว้อย่างมีนัยที่สำคัญในรูปแบบที่ไม่ใช่การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

กับผู้คนอีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องการเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองให้ดีขึ้น ปราศจากนักการเมืองทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติที่ประพฤติปฏิบัติตน ปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ตน ไม่ใช่ประโยชน์ของส่วนรวมในประเทศชาติ ขบวนการของคนกลุ่มนี้มีความต้องการอย่างแรงกล้าในการพิทักษ์ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งกำลังถูกบ่อนทำลายอย่างหนักในขณะนี้

ทั้งสองกลุ่มเดินไปด้วยกันไม่ได้

ถ้าพวกหนึ่งถือความสามัคคีในการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ และอีกพวกหนึ่งถือความสามัคคีเพื่อพิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งสองพวกดังกล่าวไม่มีหนทางจะสามัคคีกันได้ แม้จะมีนักการเมืองในรัฐบาลชุดนี้จะพยายามเรื่องปรองดอง

วาทกรรมปรองดองได้ยินบ่อยขึ้น

เป็นวาทกรรมในลักษณะให้ยอมๆกันบ้าง ให้อภัยซึ่งกันและกัน แม้กระทั่งการยกโทษให้ นิรโทษให้ก็มี

ความปรองดองเป็นสิ่งที่ดี แต่จะปรองดองในเรื่องอะไร ปรองดองกับใคร เป็นสิ่งที่ต้องแยกแยะ เพราะความถูกกับความผิดนั้นจะปรองดองกันไม่ได้ ถ้าความผิดกับความถูกปรองดองกันได้แล้ว ต่อไปนี้ก็ไม่จำเป็นต้องมีคุกตะรางไว้ขังคนทำผิดให้หลาบจำ และตราบใดที่ยังไม่มีการลงโทษและสำนึกผิด ตราบนั้นกฎหมายก็จะไม่เป็นกฎหมายอีกต่อไป ต้องเลิกพูดกันว่าจะทำให้เป็นนิติรัฐ

การแก้ไขปัญหาความแตกแยกของคนในชาติแบบนี้ ไม่ใช่เป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์โดยรวมของบ้านเมืองแต่อย่างใด

นักการเมืองบ้านเรายุคนี้เป็นนักการเมืองที่มีความต้องการพ้นผิดจากสิ่งที่เคยถูกต้องห้าม ถ้าต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญก็คิดอ่านกันแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้สิ่งต้องห้ามนั้นหมดไป แม้กระทั่งการแก้ไขอุปสรรคและปัญหาที่นักการเมืองประสบในการทำงานหรือการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นต่อไป ก็สามัคคีปรองดองกันแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ให้เป็นไปในทิศทางที่ตนต้องการ อย่างที่เห็นกันอยู่ในขณะนี้

ปัญหาความแตกแยกของคนในชาติที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้ ผู้ถือธรรมนำหน้าเท่านั้นจะเป็นฝ่ายชนะจากการต่อสู้ และจะเป็นการชนะที่ถาวรไม่ใช่ชนะเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเหมือนพวกอธรรม

3. ปัญหาระหว่างไทยกับเขมร

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศไทยกับประเทศเขมรขณะนี้ สืบเนื่องมาจากการนำปราสาทพระวิหารไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ซึ่งฝ่ายไทยสมับรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช โดยนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศขณะนั้น ไปออกคำแถลงการณ์ร่วมกันกับเขมร ยินยอมให้เขมรเป็นผู้ขอจดทะเบียนได้ฝ่ายเดียว และกำลังจะมีการจัดให้มีการบริหารพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ซึ่งมีเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า 2,800 ไร่ หรือ 4.6 ตารางกิโลเมตร และเป็นพื้นที่ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าของ

พื้นที่ดังกล่าวนี่ปรากฎว่าได้มีกำลังทหารเขมร และประชาชนชาวเขมรเข้ามาตั้งค่าย ตั้งชุมชน สร้างวัด ตัดถนนรุกล้ำเข้ามาในเขตไทยเป็นระยะเวลานานมาแล้วหลายปี จากผลที่สืบเนื่องมาจากการไปทำบันทึกข้อตลลงร่วมกับเขมร ที่เรียกว่า เอ็มโอยู 2543 ซึ่งรัฐบาลไทยโดยพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำใขณะนั้นเป็นผู้ทำขึ้นกับเขมร

ข้อตกลงดังกล่าวระบุให้ใช้แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ซึ่งฝรั่งเศสเป็นผู้จัดทำขึ้นเพียงฝ่ายเดียวโดยฝ่ายไทยไม่ยอมรับมาก่อน จากแผนที่ดังกล่าวนี้แหละที่จะทำให้ประเทศไทยต้องเสียดินแดนให้เขมรตามแนวชายแดนโดยตลอด เป็นเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า 1.8 ล้านไร่ รวมเนื้อที่รอบปราสาทพระวิหาร 4.6 ตารางกิโลเมตร

ความขัดแย้งระหว่างไทยกับเขมรปะทุขึ้นอย่างรุนแรงในปลายปี 2553 ที่คนไทย 7 คนถูกทหารเขมรจับกุมระหว่างเดินทางไปดูพื้นที่ที่บริเวณบ้านหนองจาน ตำบลโนหมากมุ่น อำเภอโคกสูง จังหวัดสระแก้ว ซึ่งชาวบ้านผู้มีเอกสารสิทธิ์ที่ถูกต้องจากทางราชการไทย ได้ร้องเรียนว่ามีพวกเขมรเข้ามายึดครองอยู่

รัฐบาลไทยนอกจากไม่ดำเนินการในสิ่งที่ควรจะทำ เพื่อช่วยเหลือคนไทยที่ถูกจับในเขตไทยแล้ว ยังมีรัฐมนตรีหลายคนในคณะรัฐบาลออกมาให้สัมภาษณ์ว่าคนไทยทั้ง 7 ถูกจับในเขตเขมร จนทำให้เขมรนำตัวไปขึ้นศาลเขมรพิพากษาและยังติดคุกอยู่ในเขมรขณะนี้สองคน

ความไม่พอใจของประชาชนคนไทยที่มีต่อเขมรและต่อรัฐบาลไทย ได้ปะทุขึ้นอย่างรุนแรง รวมตัวชุมนุมด่าว่าทั้งรัฐบาลไทยและรัฐบาลเขมร ติดต่อกันมาเป็นแรมเดือนในขณะนี้ เรียกร้องให้รัฐบาลไทยยกเลิกข้อตกลง เอ็มโอยู 2543 ถอนตัวจากภาคีมรดกโลก และให้ผลักดันทหารเขมรและคนเขมรออกไปจากชายแดน

ในขณะที่รัฐบาลไทยดูจะเก้ๆกังๆในการปกป้องคนไทยที่ถูกจับกุม ซึ่งเท่ากับยิมยอมให้ศาลเขมรมีอำนาจเหนือดินแดนไทย ไม่แยแสกับหลักฐานที่นำมาแสดงสิทธิ์ในพื้นที่ทำกินของตน ไม่ใส่ใจกับการที่มีทหารเขมรและคนเขมรบุกรุกเข้ามาอยู่ในเขตไทย ปล่อยให้เขมรไปฟ้องคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

ทั้งการทูตและการกระทำเป็นรองเขมรมาโดยตลอดตั้งแต่เกิดเรื่อง มาจนกระทั่งขณะนี้ เป็นเรื่องใหญ่ที่จะขยายตัวไปสู่ความรุนแรงได้ทุกเมื่อ

4. ปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ปัญหาความไม่สงบที่กำลังเกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ขณะนี้ โดยเฉพาะในจังหวะยะลา ปัตตานี และนราธิวาส นั้น นับวันจะเป็นปัญหาที่คุกคามความมั่นคงปลอดภัยของประเทศชาติและประชาชนที่อาศัยอยู่ที่นั่นมากขึ้น และไม่มีท่าทีว่าจะสงบลงได้ ภายใต้การทำงานของรัฐบาลที่ยังยุ่งอยู่กับปัญหาความอยู่รอดของตน

แม้จะมีการนำ พรบ.ว่าด้วยการบริหารในภาวะฉุกเฉิกมาบังคับใช้ เพื่อเป็นเครื่องมือของเจ้าหน้าที่ก็ตาม สถานการณ์รุนแรงก็มิได้ลดน้อยลง ซ้ำกลับทวีรูปแบบแห่งการต่อสู้ และการคุกคามต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่นั่นมากขึ้น

ผู้ก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้พัฒนารูปแบบในการต่อสู้ให้สูงขึ้นเรื่อยๆ คล้ายคลึงกับการก่อการร้ายที่มีอยู่ในประเทศต่างๆหลายแห่ง ซึ่งมีความเป็นไปได้อย่างสูงในเรื่องการได้รับความช่วยเหลือจากขบวนการก่อการร้ายบางขบวนการ ซึ่งปฎิบัติการอยู่ในประเทศบางประเทศขณะนี้

มูลเหตุสำคัญอันเป็นแรงจูงใจให้เกิดความไม่สงบ หรือการก่อการร้าย จนสามารถทำให้มีผู้มาเข้าร่วมขบวนการด้วยความสมัครใจ สามารถอุทิศชีวิตของตนเพื่อผลสำเร็จตามอุดมคติ หรือเป้าหมายนั้น มีที่มาจากหลายสาเหตุ อันเป็นแรงจูงใจให้มีความกล้าหาญพอที่จะจับอาวุธขึ้นต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งปกติแล้วมีกำลังเหนือกว่า

อาจมีที่มาจากพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ของชนชาติที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรมประเพณีและความเชื่อถือ หรือมีที่มาจากการกดขี่ข่มเหงจากฝ่ายอำนาจรัฐอย่างไม่เป็นธรรม เป็นต้น สิ่งต่างๆเหล่านี้จะเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ก่อให้เกิดความไม่พอใจ โกรธแค้น เกลียดชัง จนต้องออกมาต่อสู้กับเจ้าหน้าที่

รัฐบาลชุดนี้ค่อนข้างขาดความเอาใจใส่และจริงจังในการแก้ไขปัญหา ขาดการดูแลอย่างใกล้ชิดและตลอดเวลาจากระดับสูง ขาดการประเมินสถานการณ์ตามระยะเวลา ยังคงปล่อยให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่แก้ไขกันเอง

เป็นกองไฟกองใหญ่ที่สุมไหม้อย่างต่อเนื่อง จนยากที่จะดับได้ง่ายๆจากการบริหารจัดการของรัฐบาลชุดนี้
  5. ปัญหานักการเมืองไร้คุณภาพ

การเมืองจะดีหรือไม่ดีนั้น ขึ้นอยู่กับนักการเมืองเป็นสำคัญ ไม่ว่านักการเมืองนั้นจะอยู่ในฝ่ายบริหารหรือฝ่ายนิติบัญญัติ เพราะนักการเมืองดังกล่าวมีหน้าที่สำคัญในการบริหารจัดการประโยชน์สาธารณะ ซึ่งมีผลโดยตรงกับประชาชน

บ้านเมืองขณะนี้มีปัญหาร้ายแรงเกิดขึ้นจากการทำหน้าที่ที่ไร้ประสิทธิภาพของนักการเมืองส่วนใหญ่ ความสงบสุขโดยรวมก็ดี ความมั่นคงปลอดภัยของชาติบ้านเมืองมีปัญหาทุกด้าน ทั้งจากภายนอกและภายใน สืบเนื่องมาจากการทำงานของนักการเมืองที่ไม่เข้าใจปัญหา และยุ่งอยู่กับเรื่องของตัวเองมากกว่าเรื่องของส่วนรวม

ความทุจริตคดโกงที่เกิดจากการกระทำของนักการเมืองส่วนใหญ่ในยุคนี้ เป็นไปอย่างกว้างขวาง ผู้นำทางการเมืองหลายพรรคเป็นบุคคลที่สังคมขาดความเชื่อถือในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต

กรอบกติกาทางการเมืองที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำคัญในการปฏิรูปการเมืองให้ดีขึ้นไม่บรรลุผลตามต้องการ แม้จะได้มีการวางกฎเกณฑ์ต่างๆไว้อย่างดีก็ตาม แต่นักการเมืองจำนวนไม่น้อยก็แหกกฎด้วยกลวิธีต่างๆ เพื่อเข้ามาเป็นนักการเมืองทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง

นักการเมืองที่ไม่มีคุณธรรม จริยธรรม ไม่มีหิริโอตตัปปะ แม้เจ้าหน้าที่ของรัฐในกระทรวงทบวงกรมต่างๆ จะมีความซื่อตรงในการทำงาน และประชาชนที่มีสิทธิในการลงคะแนนเสียง ต่างก็ต้องตกเป็นเหยื่อของนักการเมืองเหล่านี้

สำหรับประชาชนนั้นจะเป็นฝ่ายที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะต้องตกเป็นเหยื่อของนักการเมืองพวกนี้ โดยเฉพาะประชาชนที่ห่างไกลข้อมูลข่าวสาร หรือยังยากจนมีความเดือดร้อนในการครองชีพ คนเหล่านี้จะเป็นสะพานให้นักการเมืองไม่ดีเหล่านั้นเดินข้ามเข้าสู่อำนาจได้ง่ายๆ อย่างที่เห็นกันอยู่ในขณะนี้จากนักการเมืองประเภทนี้ที่มีชื่อเรียกกันในความหมายว่า บุญทุ่ม บุญเลี้ยง บุญเยี่ยม และ บุญถม เป็นต้น

บุญทุ่ม คือคนทุ่มไม่อั้นในการหาเสียง

บุญเลี้ยง คือคนชอบจัดเลี้ยงหาคะแนน

บุญเยี่ยม คือคนที่ขยันผิดปกติไปพบปะ

บุญถม คือคนที่โถมทุกอย่างเพื่อคะแนน

เทศกาลเลือกตั้งแต่ละครั้งจะพบนักการเมืองในตระกูล "บุญ" มากหน้าหลายตาในชุมชนหรือหมู่บ้านต่างๆ แม้ในชนบทห่างไกลทุรกันดารก็ต้องดั้นด้นออกไปประกาศบุญ

การซื้อเสียงในยุคนี้จึงเป็นไปอย่างกว้างขวาง และรุนแรงยิ่งกว่ายุคที่ผ่านมา ซื้อทั้งตัวผู้จะลงรับการเลือกตั้งและผู้มีคะแนนเสียง เพื่อให้พรรคการเมืองของตนชนะการเลือกตั้ง มีโอกาสจัดตั้งรัฐบาล แล้วก็สุมหัวกันหาประโยชน์ตน

ปัญหานักการเมืองไร้คุณภาพ จึงเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศชาติบ้านเมืองขณะนี้เป็นอย่างมาก ถ้าไม่สามารถยับยั้งนักการเมืองอย่างนี้เพื่อมิให้ได้เข้ามามีอำนาจรัฐ ก็เป็นอันหวังได้ว่าประเทศชาติบ้านเมืองของเราย่อมถึงกาลวินาศและโอกาสสิ้นชาติในที่สุดก็ย่อมเป็นไปได้เช่นเดียวกันอย่างที่เกิดขึ้นแล้วในหลายประเทศ

การเลือกตั้งจึงไม่ใช่คำตอบ

แม้จะได้มีการพูดกันว่าในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยนั้นจะต้องมีการเลือกตั้งก็ตาม เพราะตราบใดที่การเลือกตั้งยังเต็มไปด้วยการซื้อเสียงอย่างเช่นในขณะนี้ ตราบนั้นความไม่บริสุทธิ์ยุติธรรมในการเลือกตั้งย่อมเกิดขึ้น ความเป็นประชาธิปไตยแท้จริงจึงไม่ใช่ประชาธิปไตยอย่างที่นักเลือกตั้งทั้งหลายชอบกล่าวอ้างแต่อย่างใด แต่จะเป็นประชาธิปไตยจอมปลอมที่ไม่เป็นประโยชน์อะไรกับบ้านเมือง

รัฐบาลชุดนี้เป็นรัฐบาลที่ประกอบไปด้วยนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง แต่ก็เป็นการเลือกตั้งที่พูดกันทั้งบ้านทั้งเมืองว่าได้มีการใช้เงินใช้ทองกันมากมาย เพราะฉะนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจอะไรที่การบริหารบ้านเมืองของนักการเมืองพวกนี้จะเต็มไปด้วยเรื่องอื้อฉาวของความทุจริตคดโกง

เป็นความทุจริตคดโกงที่มากกว่ายุคก่อนๆ

ที่สำคัญก็คือ แกนนำบางคนในพรรคหลักของรัฐบาล มีอดีตความเป็นมาที่สังคมไม่ได้ให้ความเชื่อถือในด้านความสัตย์ซื่อ การบริหารงานไม่เป็นไปในแบบนิติรัฐ ความสกปรกเลอะเทอะทั้งหลายถูกซุกไว้ใต้พรม

นักการเมืองในฝ่ายนิติบัญญัติก็เช่นเดียวกัน ไม่ทำหน้าที่ให้ถูกต้องเหมาะสมกับหน้าที่ ประพฤติปฏิบัติตนไปในทางเสื่อมเสียทั้งการพูดและการกระทำ ดังจะเห็นได้บ่อยๆ ในการใช้กิริยาวาจาด่าทอกันด้วยคำหยาบคาย เตะถีบชกต่อยกันให้เห็นในสภาบ่อยครั้ง แม้กระทั่งการโกหกมดเท็จกลางสภา

นี่คือสภาพความวิกฤติทางการเมือง ที่เกิดจากนักการเมืองที่ไร้คุณภาพ สร้างความล้มเหลวให้เกิดขึ้นกับบ้านเมืองทุกด้าน ไม่ผิดอะไรกับไฟที่กำลังลุกไหม้ประเทศของเราอยู่ในขณะนี้ ถ้าดับไม่ทันหรือไม่รีบดับ ไม่ว่าใครก็อยู่ไม่ได้

 6. ปัญหาความล้มเหลวของราชการ

ตลอดเวลาสิบปีที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน ปัญหาการทำงานตามหน้าที่ของข้าราชการแทบทุกฝ่าย ได้ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในด้านต่างๆ เกี่ยวกับการบริหารที่ไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งสืบเนื่องมาจากข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ที่ไร้คุณธรรม จริยธรรมนำมาซึ่งความไม่ถูกต้องชอบธรรม สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนทั่วหน้า

บ้านเมืองปัจจุบันต้องเป็นอย่างนี้มาร่วมสิบปี ก็เพราะคนถืออำนาจรัฐในขณะนั้น ซึ่งได้แก่ ทักษิณ ชินวัตร ได้ใช้อำนาจหน้าที่ไปในทิศทางที่ตนจะได้ประโยชน์ทุกอย่างๆ ตามที่ตนต้องการ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจสังคม ด้านการเมือง ด้วยการเข้าไปครอบงำ บงการทุกอย่างให้เป็นไปตามความต้องการ ระบบราชการถูกแทรกแซงด้วยการแต่งตั้งโยกย้าย สับเปลี่ยนตัวบุคคลในแต่ละหน่วยงาน ไม่ว่าพลเรือน ตำรวจ หรือทหาร เพื่อให้บุคคลเหล่านั้นทำงานในอำนาจหน้าที่เป็นไปตามที่ ทักษิณ ชินวัตร กำหนดไว้

เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความเละเทะในระบบราชการ ไม่เอื้อประโยชน์แก่ส่วนรวมมาตั้งแต่บัดนั้นจนถึงขณะนี้

ข้าราชการทุกฝ่ายถูกใช้เป็นเครื่องมือให้กับนักการเมือง ทำงานให้นักการเมืองตามที่นักการเมืองต้องการ แม้จะไม่ถูกต้องกับอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ก็ตาม เพื่อประโยชน์ที่จะได้รับจากนักการเมืองเหล่านั้น

เป็นเกราะกำบังให้นักการเมืองอีกด้วย ถ้านักการเมืองเหล่านั้น ตกอยู่ในภาวะอันตราย เดือดร้อน โดยเฉพาะข้าราชการฝ่ายปกครอง ฝ่ายตำรวจ และฝ่ายทหาร ที่ได้ดิบได้ดีในตำแหน่งหน้าที่การงานจากนักการเมือง

บ้านเมืองทุกวันนี้จึงเดือดร้อนไปทั่ว

โดยเฉพาะตำรวจ และทหารได้ตกเป็นเป้าของการโจมตีอย่างหนักจากสังคมขณะนี้ เพราะตำรวจหรือทหารบางคนไม่ทำหน้าที่ของตนอย่างตรงไปตรงมาตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย นอกจากคอยช่วยเหลือหรือเป็นเกราะกำบังให้

ชื่อเสียงโดยรวมของตำรวจและทหารจึงได้รับผลกระทบอย่างหนัก ทั้งๆ ที่ตำรวจและทหารส่วนใหญ่ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วย ไม่เป็นผลดีต่อความสมัครสมานสามัคคีในการรักษาความสงบเรียบร้อย และการปกป้องความมั่นคงแห่งชาติ

ความพยายามของนักการเมืองบางคน บางฝ่ายบางพวก ที่ดึงเอาตำรวจหรือทหารเข้าไปเป็นฐานอำนาจทางการเมืองของตน จึงเท่ากับการเข้าไปแบ่งกลุ่ม แยกพวก ในหมู่ตำรวจและทหาร ไม่ว่าความพยายามที่ว่านี้จะกระทำด้วยรูปแบบใด เช่น การสนับสนุนหรือแอบสนับสนุนอย่างลับๆ แก่ตำรวจหรือทหารบางคนบางกลุ่มบางพวก แบ่งปันผลประโยชน์ทั้งทางด้านตำแหน่งหน้าที่และการเงินการทอง การกระทำของนักการเมืองดังกล่าวจึงเป็นการทำลายตำรวจและทหารทั้งทางตรงและทางอ้อม นำมาซึ่งความเสียหายใหญ่หลวงต่อระบบราชการ ซึ่งกำลังเป็นอยู่ในขณะนี้

เพราะนำไปสู่การเผชิญหน้ากันได้ง่าย

อำนาจเพียงตัวเดียวที่ระบายจิตใจของคนบางคน ไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองหรือทหาร ให้ดำมืดลงเรื่อยๆ เกิดความทะยานอย่างไร้ขอบเขตอย่างที่กำลังเห็นอยู่ในขณะนี้

โดยเฉพาะทหารในกองทัพ ซึ่งมีบทบาทหน้าที่การงานในความรับผิดชอบสูงในบ้านเมือง ถ้าทหารในกองทัพ โดยเฉพาะผู้บังคับบัญชาระดับสูงยอมตนรับใช้นักการเมืองเลวๆ เห็นแก่ประโยชน์ตนมากกว่าประโยชน์ของประเทศชาติ ไม่ทำหน้าที่ของตนที่กำหนดไว้ในกฎหมายแล้ว ก็เท่ากับร่วมมือกันเผาบ้านเผาเมืองอย่างน่าละอายที่สุด

อย่างที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้

ละเลยไม่ใส่ใจในการทำหน้าที่ของตนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ อันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ซึ่งมีด้วยกัน 4 ประการ ตามมาตรา 77 สรุปได้คือ

1. ปกป้องพิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์

2. ปกป้องคุ้มครองความปลอดภัยให้ประชาชน

3. รักษาเอกราชอธิปไตยและผลประโยชน์ชาติ

4. ช่วยพัฒนาประเทศ

กองทัพมีหน้าที่หลัก 4 ประการ ดังกล่าวนี้ ซึ่งต้องปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจกองทัพในการทำงานอย่างชัดเจน กองทัพจึงต้องปฏิบัติหน้าที่ที่มีอยู่ โดยไม่ต้องมีใครร้องขอ หรือสั่งการ

การไม่ปฏิบัติหน้าที่ที่มีอยู่ จะจงใจหรือไม่ใส่ใจก็ตาม ความผิดย่อมเกิดขึ้นตามมาเช่นเดียวกันตามประมวลกฎหมายอาญาที่กำหนดไว้แล้ว

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง