ภาพบรรยากาศขณะศาลอ่านคำสั่ง เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2554 (ภาพจากศาลโลก)
1. ศาลโลกทำอะไรเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม?
ตอบ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ ศาลโลก มี “
คำสั่งมาตรการชั่วคราว” เท่านั้น และไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น (อ่านคำสั่งฉบับเต็มได้ที่ http://www3.icj-cij.org/docket/files/151/16564.pdf)
ข้อสังเกต ศาลโลกไม่ได้มี “
คำพิพากษา” และศาลโลกยังไม่ได้
“พิพากษา” หรือ “วินิจฉัย” คดีหรือข้อพิพาทระหว่างไทยและกัมพูชาแต่อย่างใด
ทั้งนี้ “คำสั่งมาตรการชั่วคราว” (provisional measures order)
เป็นเรื่องความจำเป็นเร่งด่วนเฉพาะหน้าและมีผลในเวลาจำกัด
ศาลมีอำนาจยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งได้ตลอดเวลา ต่างกับ “คำพิพากษา”
(judgment) ซึ่งมีผลผูกพันและสิ้นสุดในการวินิจฉัยข้อกฎหมาย (adjudge)
ซึ่งศาลไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ยกเว้นภายใต้เงื่อนไขที่จำกัดเท่านั้น
2. ศาลโลกจะมีคำพิพากษาหรือไม่ และเรื่องอะไร?
ตอบ คำสั่งวันที่ 18 กรกฎาคมนี้เป็นเพียงกระบวนพิจารณาส่วนหนึ่ง (incidental proceedings)
ของ
คดีหลักซึ่งกัมพูชาขอให้ศาลตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505
ซึ่งยังต้องรอศาลพิจารณาต่อไปและอาจใช้เวลาถึงปีหน้า ทั้งนี้
คำขอตีความของกัมพูชามีนัยทางเขตแดน เช่น
ประเด็นบริเวณปราสาทพระวิหารที่เป็นของกัมพูชากว้างขวางเพียงใด เป็นต้น
ข้อสังเกต การที่ศาลมีคำสั่งชั่วคราวเมื่อวันที่ 18
กรกฎาคมที่ผ่านมา ไม่ได้หมายความว่าปีหน้าศาลจะต้องรับตีความคำพิพากษา
กล่าวคือ ศาลยังคงมีอำนาจปฏิเสธคำขอของกัมพูชาในคดีหลัก (
คือไม่รับตี
ความคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505)
นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างคดีศาลโลกในอดีตที่แม้ในตอนแรกศาลมีคำสั่งมาตรการ
ชั่วคราว แต่ในท้ายที่สุดศาลก็ปฏิเสธไม่รับตีความในคดีหลัก
ดังนั้น ศาลโลกจะรับตีความคำพิพากษาหรือไม่ และจะกระทบเขตแดนอย่างไร ต้องรอดูไปถึงช่วงปีหน้า
3. ศาลโลกมีคำสั่งเรื่องใดบ้าง?
ตอบ ศาลระบุคำสั่งในบทปฏิบัติการมีทั้งสิ้น 7 ข้อ โดยเป็นคำสั่งมาตรการชั่วคราว 4 ข้อ และคำสั่งทั่วไป 3 ข้อ
ข้อสังเกต สื่อมวลชนไทยหลายแขนงรายงานว่าศาลมีคำสั่งมาตรการชั่วคราว 3 หรือ 4 ข้อ ซึ่งเป็นรายงานที่ไม่ครบถ้วน
4. คำสั่งมาตรการชั่วคราว 4 ข้อ มีอะไรบ้าง?
คำสั่งมาตรการชั่วคราวข้อ (1) สั่งให้ไทยและกัมพูชา ถอนกำลังทหารออกจาก “เขตปลอดทหารชั่วคราว”
ทันที ตามขอบเขตของพื้นที่ที่ศาลโลกได้กำหนด รวมทั้งห้ามวางกำลังทหารในเขตหรือดำเนินกิจกรรมทางอาวุธใดๆที่มุ่งไปยังเขตดังกล่าว
ข้อสังเกต
- ศาลได้ระบุพิกัดเส้นรุ้งเส้นแวงเพื่อให้ “เขตปลอดทหารชั่วคราว” มีขอบเขตชัดเจน และศาลได้วาด “
ร่างแผนที่” (sketch-map) ดังนี้
รูปเปรียบเทียบจากกรุงเทพธุรกิจ:
*** ขอย้ำว่าศาลวาด “ร่างแผนที่” (sketch-map)
ดังกล่าวเพื่อให้ไทยและกัมพูชาพอเห็นเป็นตัวอย่างเท่านั้น
(ดังที่ศาลระบุไว้ชัดเจนในคำสั่งหน้า 17 ว่า “this sketch map has been
prepared for illustrative purposes only”)
ดังนั้นไทยและกัมพูชาจึงมีหน้าที่ต้องนำพิกัดเส้นรุ้งเส้นแวง
ซึ่งศาลระบุไว้ในคำสั่งไปร่วมหารือเพื่อทำแผนที่หรือเส้นปฏิบัติการตามคำ
สั่งของศาลต่อไป ศาลมิได้สั่งให้นำ “ร่างแผนที่”
ของศาลไปใช้เสมือนแผนที่สำเร็จรูปแต่อย่างใด และดังนั้น
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ไทยและกัมพูชายังไม่อาจถอนกำลังทหารได้ทันที
แต่ต้องหารือกันก่อนว่าจะนำพิกัดที่ศาลกำหนดไปปฏิบัติอย่างไร ***
- “เขตปลอดทหารชั่วคราว” (provisional demilitarized zone)
ย่อม
ไม่ได้ห้ามประชาชนหรือเจ้าหน้าที่ทั่วไปจากเขต
ทั้งนี้ศาลอธิบายในคำสั่งย่อหน้าที่ 61
ว่าเขตดังกล่าวย่อมไม่กระทบต่อการดำเนินการทางปกครองตามปกติ เช่น
การส่งเจ้าหน้าที่ที่มิใช่ทหารเข้าไปประจำในพื้นที่เพื่อรักษาความสงบเรียบ
ร้อยของประชาชนและทรัพย์สิน ย่อมทำได้
- อย่างไรก็ดี มองได้ว่าศาลใช้อำนาจกำหนด “เขตปลอดทหารชั่วคราว”
ในลักษณะค่อนข้างกว้าง และมีผู้พิพากษาเสียงข้างน้อยในศาลไม่เห็นด้วยถึง 5
ท่าน
ซึ่งผู้พิพากษาเสียงข้างน้อยเหล่านี้แสดงความกังวลว่าศาลได้ก้าวล่วงเข้าไป
กำหนดคำสั่งที่ครอบคลุมเขตที่มิได้เป็นพื้นที่พิพาท
จึงเป็นการใช้อำนาจศาลที่เกินความจำเป็น
คำสั่งมาตรการชั่วคราวข้อ (2) สั่งให้ไทยไม่ขัดขวางกัมพูชาในการเข้าถึงปราสาทพระวิหารอย่างอิสระ (free access)
รวมทั้งการส่ง “เสบียง” (fresh supplies)
ให้แก่เจ้าหน้าที่ที่ไม่ใช่ทหารของฝ่ายกัมพูชาในปราสาทพระวิหาร
ข้อสังเกต
- ศาลใช้คำว่า fresh supplies (
ต้องแปลตามคำฝรั่งเศสที่ศาลใช้ว่า ravitailler) ซึ่งกินความถึงเสบียง
ทั่วไปที่ต้องเปลี่ยนเป็นระยะ เช่น อาหาร เชื้อเพลิง
หรือวัสดุสิ้นเปลืองในการก่อสร้างหรือซ่อมแซมปราสาท
และไม่ได้จำกัดแต่เพียงอาหารดังที่สื่อมวลชนหรือหน่วยงานได้รายงานไปเท่า
นั้น แต่ทั้งนี้ย่อมต้องตีความไปตามคำสั่งเรื่อง “เขตปลอดทหารชั่วคราว”
หมายความว่า
หากกัมพูชานำเสบียงดังกล่าวเข้าไปในบริเวณเพื่อดำเนินกิจกรรมทางทหาร
ไทยย่อมขัดขวางได้
- ที่ศาลสั่งว่าไทยต้อง
“ไม่ขัดขวางกัมพูชาในการเข้าถึงปราสาทพระวิหารอย่างอิสระ” (free access)
มิได้หมายความว่า
กัมพูชาสามารถล่วงเข้ามาใช้ดินแดนของไทยโดยอิสระเพื่อผ่านเข้าไปยังปราสาท
แต่หมายความว่า
หากกัมพูชามีความจำเป็นต้องขอผ่านดินแดนของไทยเพื่อเข้าไปยังปราสาทตามความ
มุ่งหมายของคำสั่งศาล ไทยย่อมไม่สามารถปฏิเสธหรือขัดขวางอย่างไร้เหตุผล
แต่ไทยย่อมมีดุลพินิจที่จะสอบถามหรือตรวจสอบให้ชัดก่อนการอนุญาต (
เช่น
เป็นไปตามพื้นฐานของความจำเป็นเร่งด่วนในการรักษาสิทธิของกัมพูชาตามคำสั่ง
ศาล อาทิ การซ่อมแซมรักษาตัวปราสาท มิใช่เข้าไปเพื่อการทหาร)
ส่วนที่ว่าอย่างอิสระ (free access)
หมายความเพียงว่าไทยไม่สามารถตั้งเงื่อนไขการเดินทางเข้าไปที่ตัวปราสาท
เช่น จะบังคับให้ต้องมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยตามเข้าไปที่ปราสาทด้วยไม่ได้
คำสั่งมาตรการชั่วคราวข้อ (3)
สั่งให้ไทยและกัมพูชาร่วมมือกันตามกรอบของอาเซียน
และต้องอนุญาตให้คณะผู้สังเกตการณ์จากอาเซียนสามารถเข้าไปยังเขตปลอดทหาร
ชั่วคราวดังกล่าวได้
ข้อสังเกต ศาลไม่ได้สั่งว่าคณะผู้สังเกตการณ์จากอาเซียนต้องเข้า
ไปได้อย่างอิสระ (free access)
ดังนั้นไทยและกัมพูชาย่อมสามารถประกบติดตามหรือดูแลการดำเนินการโดยคณะผู้
สังเกตการณ์จากอาเซียนได้
คำสั่งมาตรการชั่วคราวข้อ (4)
สั่งให้ไทยและกัมพูชาละเว้นจากกิจกรรมใด ๆ
ที่จะทำให้สถานการณ์ข้อพิพาทเลวร้ายหรือรุนแรงมากขึ้น
หรือทำให้ปัญหาข้อพิพาทมีความยากลำบากยิ่งขึ้นที่จะแก้ไข
ข้อสังเกต ศาลไม่ได้ระบุไว้ชัดเจนว่ากิจกรรมต้องห้ามดังกล่าว
ได้แก่สิ่งใด ซึ่งหากไทยและกัมพูชามีปัญหาในประเด็นดังกล่าว
ศาลย่อมมีคำสั่งเพิ่มเติมได้
5. นอกจากคำสั่งมาตรการชั่วคราว4 ข้อข้างต้นแล้ว คำสั่งทั่วไปอีก 3 ข้อมีอะไรบ้าง?
คำสั่งทั่วไป ข้อ (1) สั่งไม่จำหน่ายคดี คือ ไม่ถอนคดีออกจากศาล
ข้อสังเกต ศาลหมายความว่า
คดีหลักซึ่งกัมพูชาขอให้ศาลตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505
ยังต้องรอศาลพิจารณาต่อไปถึงปีหน้า ซึ่งสุดท้ายศาลอาจไม่รับตีความก็เป็นได้
คำสั่งทั่วไป ข้อ (2) สั่งให้ไทยและกัมพูชาต้องรายงานให้ศาลทราบถึงการปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวที่ศาลสั่งทั้ง 4 ข้อ
ข้อสังเกต ในทางปฏิบัติ
ผู้ที่จะมีบทบาทสำคัญในการให้ข้อมูลต่อศาลก็คือคณะผู้สังเกตการณ์จากอาเซียน
แม้ผู้ที่มีหน้าที่รายงานคือไทยและกัมพูชา
แต่ข้อมูลที่หน้าเชื่อถือย่อมต้องอาศัยข้อมูลจากคณะผู้สังเกตการณ์จากอา
เซียนประกอบด้วย
คำสั่งทั่วไป ข้อ (3) สั่งว่าศาลยังคงสามารถพิจารณาประเด็นใดๆที่มีสาระเกี่ยวข้องกับมาตรการชั่วคราวต่อไปได้ (remain seised of the matters)
จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษากรณีที่กัมพูชาขอให้ศาลตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505
ข้อสังเกต หลังศาลมีคำสั่งวันที่ 18 กรกฎาคม
หากมีเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงใหม่ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นมาตรการชั่วคราว
ที่ศาลสั่งไว้
ไทยหรือกัมพูชาย่อมสามารถนำเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงใหม่เหล่านั้นมาขอให้
ศาลพิจารณา และศาลย่อมอาจเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขคำสั่งได้ (Rules of Court
Article
76) เช่น หากไทยเห็นว่ามีความจำเป็นต้องขัดขวางกัมพูชาในการเข้าถึงปราสาทพระวิหารอย่างอิสระ ไทยย่อมสามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาเปลี่ยนแปลงคำสั่งเรื่องดังกล่าวได้
6. ศาลมีคำสั่งเกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้าง เช่น วัด ตลาด หรือชุมชน ที่ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่พิพาท (ที่มีผู้เรียกว่า 4.6 ตารางกิโลมตร) หรือไม่?
ตอบ ศาลมิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับสิ่งปลูกสร้าง เช่น วัด ตลาด
หรือชุมชน โดยเจาะจง อีกทั้ง “เขตปลอดทหารชั่วคราว”
นั้นศาลก็อธิบายว่าสามารถมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองที่ไม่ใช่ทหาร
รวมถึงผู้คนหรือทรัพย์สินอยู่ในบริเวณดังกล่าวได้ (
คำสั่งย่อหน้าที่ 61)
ข้อสังเกต อย่างไรก็ดี
ต้องไม่ลืมว่าคำสั่งอีกข้อหนึ่งที่ศาลสั่งก็คือ
สั่งให้ไทยและกัมพูชาร่วมมือกันตามกรอบของอาเซียน
ไทยจึงย่อมสามารถเรียกร้องว่ากัมพูชาไม่ควรดื้อดึงเดินหน้าดำเนินกิจกรรมที่
สร้างปัญหาต่อกระบวนการเจรจาดังกล่าว ยิ่งไปกว่านั้น
ศาลสั่งว่าศาลยังคงสามารถพิจารณาประเด็นใดๆที่มีสาระเกี่ยวข้องกับมาตรการ
ชั่วคราวต่อไปได้ (remain seised of the matters)
ดังนั้นหากไทยเห็นว่ามีเหตุสมควรให้ศาลสั่งให้กัมพูชาหยุดการก่อสร้างชุมชน
หรือสิ่งปลูกสร้าง
ไทยย่อมสามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาเปลี่ยนแปลงคำสั่งเรื่องดังกล่าวได้
เช่นกัน (Rules of Court Article
76)
7. ศาลโลกนำอำนาจมาจากไหนและไทยต้องปฏิบัติตามคำสั่งหรือไม่?
ตอบ ทุกประเทศในโลกนี้อยู่ร่วมกันภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศไทย
จึงย่อมมีทั้งสิทธิและหน้าที่ตามสนธิสัญญาที่ไทยเคยตกลงผูกพันไว้
ซึ่งกรณีนี้ได้แก่สนธิสัญญาที่เรียกว่า “
กฎบัตรสหประชาชาติ” และ
“ธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ” ซึ่งกำหนดให้ไทยมีสิทธิต่างๆ เช่น
สิทธิที่จะเรียกร้องให้ประเทศอื่นเคารพอธิปไตยและไม่แทรกแซงกิจการภายในของ
ไทย
แต่ในขณะเดียวกันสนธิสัญญาก็กำหนดให้ไทยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาล
โลกเช่นกัน นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของไทย
ก็ได้กำหนดเจตจำนงให้ไทยต้องปฏิบัติตามพันธกรณีที่ได้ทำไว้กับนานาประเทศและ
องค์การระหว่างประเทศ (รัฐธรรมนูญ มาตรา 82
ประกอบกับจารีตประเพณีการปกครองที่ไทยปฏิบัติมายาวนาน) ดังนั้น
ไทยจึงย่อมมีหน้าที่ตามกฎหมายต้องปฏิบัติตามคำสั่งศาลโลก
ข้อสังเกต
หากผู้ใดยังคิดว่าไทยไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎบัตรสหประชาชาติ
ไม่ต้องฟังคำสั่งศาลโลก ขอให้ลองถามตัวเองว่า
หากวันหนึ่งประเทศอื่นใดละเมิดกฎบัตรสหประชาชาติและละเมิดสิทธิหรือรุกราน
ไทย
และศาลโลกสั่งมาตรการชั่วคราวให้ประเทศที่กระทำต่อไทยต้องหยุดการกระทำดัง
กล่าว (
แม้ประเทศนั้นจะยืนยันความบริสุทธิของตนก็ตาม)
เราจะบอกว่าประเทศที่กระทำต่อไทยนั้นไม่ต้องทำตามกฎบัตรสหประชาชาติ
ไม่ต้องฟังคำสั่งศาลกระนั้นหรือ?
8. ศาลขีดเส้นล้ำเข้าในดินแดนไทยหรือไม่ และศาลพูดถึงเรื่อง “เขตแดน” ที่แฝงมาในคำขอของกัมพูชาอย่างไร?
ตอบ หากพิจารณา “
ร่างแผนที่”
เขตปลอดทหารชั่วคราวที่ศาลสั่งด้วยสายตา
มองได้ว่าเขตดังกล่าวครอบคลุมบริเวณดินแดนของไทยและกัมพูชามากยิ่งไปกว่า
บริเวณพื้นที่พิพาท (ที่มีผู้เรียกว่า 4.6 ตารางกิโลมตร)
ดังตัวอย่างที่เทียบเคียงอย่างไม่เป็นทางการดังนี้
ภาพจาก facebook ของ Noppanan Arunvongse Na Ayudhaya
ข้อสังเกต อย่างไรก็ดี เขตปลอดทหารชั่วคราวดังกล่าว
เป็นเพียงเรื่องมาตรการชั่วคราวที่มุ่งป้องกันการปะทะกันด้วยอาวุธ
แต่ไทยและกัมพูชามีสิทธิขอให้ศาลแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้หากมีเหตุผลจำเป็น
ที่สำคัญ พิกัดและ “
ร่างแผนที่”
มิได้มีผลทางกฎหมายต่อเขตแดนแต่อย่างใด
ดังที่ศาลได้ย้ำอย่างชัดเจนในคำสั่งหลายครั้ง (เช่น ย่อหน้าที่ 21, 38 และ
61) ว่าการพิจารณาออกคำสั่งครั้งนี้
ศาลย่อมไม่ก้าวเข้าไปวินิจฉัยประเด็นที่กัมพูชาอ้างว่าดินแดนส่วนใดเป็นของ
ใครหรือเขตแดนจะต้องเป็นไปตามเส้นหรือแผนที่ใด
(ซึ่งอาจต้องรอการพิจารณาของศาลในปีหน้า)
ดังนั้น คำสั่งของศาลโลกเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2554 จึงมิได้เปลี่ยนแปลงเขตแดนไทย-กัมพูชาแต่อย่างใด
9. กัมพูชาถอนฟ้องได้หรือไม่?
ตอบ กฎหมายเปิดช่องให้ไทยและกัมพูชาสามารถตกลงถอนคดีออกจากศาลได้ (Rules of Court Article
88)
ข้อสังเกต
ที่ผ่านมาก็มีหลายคดีที่รัฐคู่พิพาทได้ดำเนินการเจรจาระหว่างคดีกำลังอยู่ใน
ระหว่างการพิจารณา และเมื่อแต่ละฝ่ายถอยไปคนละก้าวจนการเจรจามีความคืบหน้า
ก็ถอนคดีออกจากศาล
และเป็นโอกาสอันดีให้ผู้นำทั้งสองประเทศได้แถลงข่าวเพื่อประกาศชัยชนะร่วม
กัน
---
บทวิเคราะห์เพิ่มเติมเกี่ยวกับความคืบหน้าคดีปราสาทพระวิหาร ติดตามได้ที่
http://www.facebook.com/verapat.pariyawong