บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

"กษิต" โยนรบ.ใหม่ ถอนตัวมรดกโลก อาจต้องเข้าสภาฯตาม ม.190

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 1 กรกฎาคม 2554 00:01 น.

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
กษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ

"กษิต" ย้ำชัด ไทยแค่ "วอล์คเอาท์" จากที่ประชุม และแสดง "เจตนารมย์" ถอนตัวจากภาคีมรดกโลก แต่ "การดำเนินการ" ถอนตัว ต้องให้รัฐบาลใหม่พิจารณา ก.ต่างประเทศ และก.ทรัพยากรฯ จะทำเพียง "บันทึกมอบงาน" ให้รัฐมนตรีคนใหม่ต่อไป ถ้าเกี่ยวข้องกับอธิปไตย ต้องใช้ม.190 เสนอให้รัฐสภาพิจารณาต่อไป
      
       กระทรวงการต่างประเทศเปิดเผยผ่านเว็ปไซต์ ระบุว่าเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2554 นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวที่ท่าอากาศยาน สุวรรณภูมิ กรณีที่ไทยแสดงเจตนารมย์ถอนตัวออกจากภาคีอนุสัญญามรดกโลกระหว่างการประชุม คณะกรรมการมรดกโลก (WHC) ครั้งที่ 35 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
      
       1. คณะผู้แทนไทยที่เข้าร่วมการประชุม WHC ดำเนินการตามแนวนโยบายและท่าทีที่ได้มีการหารือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยว ข้องมาโดยตลอด โดยได้มีการหารือกันในกรอบของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้ม ครองมรดกโลก ซึ่งมีนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นรองประธาน อีกทั้งมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญด้านโบราณคดีเข้าร่วมในคณะ กรรมการฯ ด้วย โดยได้มีการพิจารณาทางเลือกต่าง ๆ และทางเลือกหนึ่งก็คือการถอนตัวออกจากภาคีอนุสัญญามรดกโลก หากการประชุมไม่ดำเนินไปตามจุดประสงค์และอาจกระทบต่ออำนาจอธิปไตยและบูรณภาพ เหนือดินแดนของไทย โดยได้เสนอทางเลือกท่าทีเหล่านี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ ซึ่งเป็นท่าทีที่ต่อเนื่องจากการประชุม WHC เมื่อปี 2553 ที่ประเทศบราซิล ทั้งนี้ เป็นเรื่องธรรมดาในสังคมประชาธิปไตยที่ในการปรึกษาหารือกันระหว่างฝ่ายต่างๆ จะมีความคิดเห็นหลากหลาย แต่เมื่อได้เป็นข้อสรุปร่วมกันและเสนอให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติแล้ว ก็ถือเป็นท่าทีของประเทศไทย จึงขอเรียนยืนยันว่า รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่เคยดำเนินการใด ๆ โดยไม่มีการปรึกษาหารือกัน และรับฟังความคิดเห็นของข้าราชการประจำที่จะให้ข้อคิดเห็น แนวทาง และข้อเท็จจริง ทั้งด้านกฎหมาย กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของสหประชาชาติ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม (ยูเนสโก) รวมทั้ง WHC
      
       2. ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรฯ ได้มีการประสานงานและพบปะหารือกับทางยูเนสโกโดยตลอด โดยล่าสุด นายโคอิชิโร มัตสึอุระ ผู้แทนพิเศษของยูเนสโกได้เดินทางมาเยือนไทยและกัมพูชาเพื่อหาทางออกให้กับ ท่าทีที่ยังขัดแย้งกันอยู่ระหว่างไทยกับกัมพูชา นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรฯ ยังได้พูดคุยกับผู้แทนของประเทศต่าง ๆ ทุกครั้งที่เดินทางเข้าร่วมการประชุมในกรอบของ WHC ขณะที่รัฐมนตรีว่าการฯ ก็ได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก WHC เพื่อชี้แจงท่าทีของไทยในเรื่องนี้ รวมทั้งได้ใช้โอกาสต่าง ๆ ทั้งการประชุมในกรอบของอาเซียนและสหประชาชาติในการชี้แจงแก่นานาประเทศว่า การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารโดยกัมพูชาฝ่ายเดียวและการเสนอแผนบริหารจัดการ พื้นที่ปราสาทพระวิหารของกัมพูชาได้นำไปสู่ประเด็นความตึงเครียดและการปะทะ กันบริเวณชายแดน ทั้ง ๆ ที่การดำเนินการด้านเขตแดนมีกลไกที่ทำหน้าที่อยู่แล้ว ทั้งในกรอบของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) คณะกรรมการชายแดนทั่วไป (GBC) คณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (RBC) และบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ปี 2543 (MOU ปี 2543) ซึ่งท่าทีของไทยในเรื่องนี้มีความสม่ำเสมอมาโดยตลอดที่ต้องการแก้ไขปัญหา อย่างสันติวิธีผ่านกลไกการเจรจาทวิภาคีที่มีอยู่
      
       3. เมื่อวันที่ 25-27 พฤษภาคม 2554 ในการหารือนอกรอบระหว่างไทย กัมพูชา และยูเนสโก ผู้อำนวยการใหญ่ของยูเนสโกได้เสนอร่างข้อตัดสินใจซึ่งมีประเด็นหลัก 3 ประการ ได้แก่ (1) ให้เลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหาร ซึ่งสอดคล้องกับท่าทีของไทย (2) เน้นย้ำว่ายูเนสโกและ WHC มีหน้าที่ในการปกป้องรักษาและทำนุบำรุงโบราณสถาน และ (3) ในอนาคต อยากให้มีการขึ้นทะเบียนในลักษณะ transboundary nomination เพราะเห็นว่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ซึ่งเกี่ยวกับเรื่องนี้คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ได้ปรึกษาหารือกันและมีมติให้กระทรวงการต่างประเทศทำการศึกษาเกี่ยวกับ เรื่องนี้ อย่างไรก็ดี โดยที่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ในขณะนั้น จึงต้องนำมาพิจารณาต่อระหว่างการประชุม WHC ครั้งที่ 35 ที่ผ่านมา
      
       4. เป็นที่เข้าใจร่วมกันมาโดยตลอดว่าจะต้องมีการตกลงกันในเรื่องร่างข้อตัดสิน ใจเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารระหว่างไทยกับกัมพูชานอกห้องประชุมโดยมียูเนสโก เป็นตัวกลางก่อนที่จะนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุม อย่างไรก็ดี ในระหว่างที่ทั้งสองฝ่ายยังไม่สามารถตกลงกันได้และกำลังเจรจากันอยู่ ได้มีการนำเสนอร่างข้อตัดสินใจที่ไทยและกัมพูชายังไม่ได้ตกลงกันเข้าสู่การ พิจารณาของที่ประชุม โดยมีทั้งร่างข้อเสนอของทั้งฝ่ายกัมพูชาและฝ่ายไทยคู่กัน และผู้แทนของบาร์เบโดส ทำหน้าที่ประธานที่ประชุม WHC แทน ได้ขอให้ที่ประชุมพิจารณาทีละย่อหน้า แทนที่จะรอให้มีร่างข้อตัดสินใจที่ทั้งสองฝ่ายสามารถประนีประนอมกันได้แล้ว ก่อน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวขัดกับความเข้าใจที่ได้หารือกันมาและขัดกับเจตนา รมย์ที่ได้ตกลงร่วมกันไว้ อีกทั้งยังเป็นการขัดเจตนารมณ์ของไทยที่ต้องการจะหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าใน ที่ประชุม นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีก็มีกำหนดการที่จะโทรศัพท์หารือกับผู้อำนวยการใหญ่ของยูเนสโก ซึ่งไม่ได้อยู่ในที่ประชุมอยู่แล้วในขณะนั้น และผู้แทนของไทยได้ขอให้ที่ประชุมเลื่อนการพิจารณาวาระดังกล่าวออกไปก่อน แต่ที่ประชุมกลับเดินหน้าพิจารณาต่อไป ผู้แทนฝ่ายไทยจึงจำเป็นต้องเดินออกจากที่ประชุมและแสดงเจตนารมย์ที่จะถอนตัว ออกจากภาคีอนุสัญญามรดกโลก เนื่องจากหากมีการพิจารณาร่างข้อมติดังกล่าวและสุดท้ายแล้วมีความเกี่ยวโยง กับแผนบริหารจัดการพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารของกัมพูชา อาจจะกระทบต่ออธิปไตยของไทยและการเจรจาด้านเขตแดนในกรอบของ JBC
      
       5. ต่อมา เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2554 ผู้อำนวยการใหญ่ของยูเนสโกได้มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นว่ายังมีช่องทางที่จะพูดจากันอยู่ และฝ่ายไทยก็ไม่ได้ปฏิเสธที่จะร่วมมือกับยูเนสโกต่อไป สำหรับการดำเนินการเพื่อถอนตัวออกจากภาคีอนุสัญญามรดกโลกนั้นให้เป็นเรื่อง ที่รัฐบาลใหม่จะพิจารณา ซึ่งรัฐมนตรีว่าการฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรฯ จะได้ทำบันทึกมอบงานให้กับรัฐมนตรีที่จะเข้ามารับตำแหน่งต่อไป และแม้ว่าฝ่ายบริหารจะสามารถตัดสินใจในเชิงนโยบายได้ แต่หากการดำเนินการในเรื่องนี้มีความเกี่ยวข้องกับอธิปไตยเหนือดินแดน การตัดสินใจสุดท้ายก็ต้องเป็นไปตามมาตรา 190 และต้องเสนอให้ให้รัฐสภาพิจารณาต่อไป
      
       6. รัฐมนตรีว่าการฯ ตอบคำถามผู้สื่อข่าวด้วยว่า การดำเนินการของผู้แทนไทยไม่ได้เป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ แต่เป็นไปตามแนวทางที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแล้ว ส่วนการแสดงเจตนารมย์ว่าจะถอนตัวออกจากภาคีอนุสัญญามรดกโลกจะกระทบต่อการตี ความคดีปราสาทพระวิหารและการออกมาตรการชั่วคราวของศาลโลกหรือไม่นั้น รัฐมนตรีว่าการฯ กล่าวว่า ไทยได้ให้ข้อมูลแก่ศาลโลกหมดแล้วเมื่อวันที่ 30-31 พฤษภาคม 2554 และเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2554 ก็ได้ส่งเอกสารตอบคำถามเพิ่มเติมของผู้พิพากษาศาลโลกคนหนึ่งเกี่ยวกับผล กระทบต่อประชาชนกรณีเหตุการณ์ปะทะบริเวณปราสาทตาเมือนและตาควาย รวมทั้งได้ให้ข้อคิดเห็นต่อข้อมูลของฝ่ายกัมพูชาแล้วเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2554 ทั้งนี้ ศาลโลกจะพิจารณาโดยอาศัยข้อมูลดังกล่าว ซึ่งเป็นการดำเนินการในกรอบของศาลโลกที่แยกออกจากกรอบการประชุม WHC และยูเนสโก
      
       7. สำหรับผลกระทบต่อสถานการณ์บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา รัฐมนตรีว่าการฯ ยืนยันว่า รัฐบาลไทยไม่เคยมีความประสงค์ที่จะมีประเด็นปัญหากับกัมพูชาและไม่เคยคิดที่ จะรุกรานประเทศเพื่อนบ้าน รัฐบาลไทยมีแต่ความปรารถนาดีและความจริงใจที่จะมีความสัมพันธ์ที่ดีกับ กัมพูชา และมีความพร้อมเสมอที่จะเจรจาแก้ไขปัญหากันโดยอาศัยกลไกทวิภาคีที่มีอยู่ ทั้งหมด อาทิ กลไก JBC ซึ่งสามารถเดินหน้าได้ ในขณะเดียวกัน รัฐบาลไทยก็มีหน้าที่ในการดูแลความปลอดภัยของประชาชนไทยในบริเวณชายแดน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง