บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

พบแผนที่ตำรวจน้ำเกาะกงลากเส้นจากหลักเขต 73 ทับพื้นที่ อ.เกาะกูดไป 1 ใน 3




ตราด - พบแผนที่ตำรวจน้ำเกาะกงลากเส้นจากหลักเขต 73 ทับพื้นที่ อ.เกาะกูดไป 1 ใน 3 ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศระบุ เกาะกูดเป็นของไทยตามสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส ปี 2449 อดีตกำนันหาดเล็กแจงเขมรทำแผนที่โดยขีดขึ้นเองแต่ฝ่ายเดียว
      
       จากปัญหาความสับสนว่า อ.เกาะกูด จ.ตราด เป็นของประเทศใดนั้น “ผู้สื่อข่าว” ได้พบแผนที่ของสำนักงานตำรวจน้ำเกาะกง จ.เกาะกง ประเทศกัมพูชา ระบุว่าเกาะกูดเป็นของประเทศกัมพูชา ประมาณ 1 ใน 3 ของ อ.เกาะกง กล่าวคือ แผนที่ที่ติดไว้บริเวณห้องรับแขกที่เขียนเป็นแผนที่ประเทศกัมพูชา และแผนที่ จ.เกาะกง พบว่า มีการขีดเส้นอาณาเขตทางบก และทางทะเล โดยยึดหลักเขตที่ 73 บ้านหาดเล็ก ต.หาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด
      
       ทั้งนี้ ได้ลากเส้นไปยังละติจุด 101 ลิปดา 20 ลิปดา เหนือ ลองติจูด 11 ลิปดา 32 ลิปดา ตะวันออก และลาก ยาวผ่านไปยังภูเขาที่สูงที่สุดของ อ.เกาะกูด และยังลากไปยังเส้นลองจิจูด 101 ลิปดา 13 ลิปดาเหนือ และละติจูด 10 ลิปดา 59 ลิปดาตะวันออก และลากไปชนกับเส้นเขตเศรษฐกิจพิเศษ 120 ไมล์ทะเล ที่มากกว่า 150,000 ตารางกิโลเมตร โดยกัมพูชระบุว่าเส้นนี้เป็นที่ยึดตามข้อตกลงในปี 1972 หรือ 2515 ทั้งนี้ แผนที่ดังกล่าวเป็นแผนที่ที่กัมพูชาใช้เป็นพื้นที่อาณาเขตมาตลอดระยะเวลา 30 ปี
      
       นายประเสริฐ ศิริ อดีตกำนัน ต.หาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จ.ตราด กล่าวว่า การขีดเส้นแดนของกัมพูชาที่ปรากฏในแผนที่ของส่วนราชการกัมพูชา หรือใน จ.เกาะกง เป็นการขีดขึ้นเองแต่ฝ่ายเดียว เพราะหลักเขตที่ 73 ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่บ้านหาดเล็ก เป็นจุดเล็งของพื้นที่อาณาเขตของ 2 ประเทศ แต่การเล็งจะต้องมีหลักเขตที่ 72 เป็นหลักอ้างอิงด้วย แต่ปัจจุบันยังไม่รู้ว่าหลักเขตที่ 72 อยู่บริเวณไหน ตนเองยืนยันว่าเกาะกูดเป็นของไทย 100% ทุกวันนี้ อ.เกาะกูดมีชาวตราดอาศัยอยู่ ทำประโยชน์ในที่ดินอยู่มานาน และไม่เคยมีใครเห็นหลักเขตที่ 74 ในเกาะกูดด้วย
      
       ก่อนหน้านี้ กระทรวงการต่างประเทศนำโดยรองปลัดกระทรวงต่างประเทศ และรองอธิบดีกรมสารสนเทศได้เดินทางเข้ามาพบกับสื่อมวลชนท้องถิ่นของ จ.ตราด และได้ตอบคำถามถึงเรื่องเขตแดนของกัมพูชาใน อ.เกาะกูด ว่าเป็นของประเทศใด ซึ่งรองปลัดกระทรวงต่างประเทศ ได้ให้เจ้าหน้าที่กองเขตแดนกรรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงต่างประเทศได้ส่งเอกสารให้กับ ผู้สื่อข่าวท้องถิ่น
      
       ในเอกสารระบุว่า “เกาะกูด และทรัพยากรในอ่าวไทย คือสมบัติของชาติไทยที่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนใน ข้อ 2 ของสนธิสัญญา ระหว่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามกับเปรสิเดนต์แห่งริปับลิกฝรั่งเสศ 23 มีนาคม ร.ศ. 125 พ.ศ. 2449/50 (ค.ศ.1907) กล่าวคือ
      
       รัฐบาลฝรั่งเสศยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้ายแลเมืองตราษกับทั้งเกาะทั้ง หลาย ซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงลงไปจนถึงเกาะกูดนั้นให้แก่กรุงสยาม ตามกำหนดเขตร์แดนดังว่าไว้ในข้อ 2 ของสัญญาว่าด้วยปักปันเขตรแดนดังกล่าวมาแล้ว”
      
       กัมพูชาจึงไม่มีสิทธิในพื้นที่เกาะกูด นอกจากนี้เมื่อฝรั่งเศสได้ทำสัญญาระบุว่า ดินแดนดังกล่าวเป็นของประเทศไทยแล้ว ข้อมูลดังกล่าวก็ได้ถูกนำมาประกาศในราชกิจจานุเบกษาของไทย เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ร.ศ. 125 (ค.ศ. 1907) โดยระบุข้อความว่า “รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้ายและเมืองตราดกับทั้งเกาะทั้งหลาย ซึ่งอยู่ภายใต้แหลมสิงลงไปจนถึงเกาะกูดนั้นให้แก่กรุงสยาม” เช่นเดียวกับในสนธิสัญญาฯ ดังนั้น จึงมีหลักฐานปรากฏชัดเจนว่า "เกาะกูด" เป็นสมบัติของไทยอย่างแน่นอน
      
       นอกจากนี้ กรมอุทกศาสตร์ได้สร้างกระโจมไฟบนเกาะกูด เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการเดินเรือทางทะเลของคนไทย และกระโจมไฟดังกล่าวก็อยู่ในเขตพื้นที่ที่ทหารเรือไทยดูแล จึงเป็นสิ่งที่แสดงได้อย่างชัดเจนว่า ไทยได้ถือครองกรรมสิทธิ์ในแผ่นดินเกาะกูดตลอดมา และกัมพูชาก็ไม่เคยอ้างสิทธิใดๆ

บทสรุปพลังงานอ่าวไทย-กัมพูชาของใคร???

โดย ดร.รักไทย บูรพ์ภาค


       ดร.รักไทย บูรพ์ภาค : ที่ ปรึกษาประจำสำนักงานใหญ่ธนาคารโลกด้านนโยบายพลังงาน/สิ่งแวดล้อม และรองผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลด้านพลังงานมหาวิทยาลัย MIT สหรัฐอเมริกา
     
       วัสดี อีกครั้งทุกๆ ท่าน อาทิตย์นี้ผมอยู่เมืองวอชิงตัน ดี.ซี. มีเหตุการณ์ภัยธรรมชาติมากมาย ไหนจะแผ่นดินไหว ไหนจะพายุเฮอริเคนเข้า ก็ต้องเตรียมพร้อมอยู่เสมอ ทุกๆ ท่านก็ต้องรักษาตัวด้วยเพราะตอนนี้ที่เมืองไทยก็เหมือนว่าจะเข้าช่วงฤดูฝน แล้ว รักษาตัวด้วยนะครับทุกท่าน
     
       กลับมาเรื่องที่ผมสัญญาว่าจะนำเสนอข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับเรื่อง แหล่งพลังงานพื้นที่ทับซ้อนนี้ ก่อนอื่นบอกก่อนว่าทุกท่านต้องทำใจเป็นกลางแล้วมองตามภาพข้างล่าง สองภาพนี้
       มองกันตามข้อมูลนี้ ผมได้มาจากกระทรวงพลังงานภายในของสหรัฐอเมริกา (U.S. Department of the Interior ซึ่งดูแลด้านนี้) ข้อมูลอันนี้ตีพิมพ์เมื่อปีที่แล้วเกี่ยวกับแหล่งพลังงานในภูมิภาคของเราตาม รูปเลย ถ้ามองคร่าวๆ ตามตะเข็บชายแดนบริเวณไทย-กัมพูชาจะเห็นว่ามันอยู่ในแหล่งพลังงานใต้พิภพที่ เรียกว่า (Thai Cenozoic Basins)??? หมายความว่ายังไง หมายความว่าแหล่งพลังงานบนพื้นที่ทับซ้อนถ้าดูจากข้อมูลทางธรณีวิทยาที่เห็น ก็ต้องบอกว่าเป็นแหล่งพลังงานของไทย ท่านผู้อ่านพอจะเห็นภาพหรือยังว่าคราวนี้ถ้าเรามองย้อนกลับแล้วจะเกี่ยวอะไร กับเหตุการณ์พื้นที่ทับซ้อนในช่วง 2-3 ปีนี้ หรือไม่ขอตั้งข้อสังเกตว่า
     
       1. ถ้าการที่จะมีข้อมูลของสหรัฐอเมริกามาตีพิมพ์เรื่องนี้เมื่อปีที่แล้วเป็นไป ได้ หรือไม่ว่าข้อมูลดิบน่าจะมีก่อนหน้านี้ถึง 3-4 ปีแล้ว
     
       2. เป็นอีกหนึ่งเหตุผลหรือเปล่าที่ทางกัมพูชาพยายามทำให้พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรกลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนแล้วทางเขาจะได้ผลประโยชน์ด้วยซึ่งทาง ฝั่งเขาไม่น่าจะมีสิทธิแต่แรก
     
       คราวนี้เพื่อความชัดเจน ผมเขียนจดหมายไปถึงผู้ที่จัดทำข้อมูลชุดนี้ที่ทำงานอยู่ที่กระทรวงพลังงาน ภายในของสหรัฐอเมริกา ผลปรากฏว่าทางเขาไม่ตอบอะไรเลย (ปกติติดต่ออะไรเขาตอบเสมอ) อาจจะเป็นเพราะว่าทางอเมริกาไม่อยากยุ่งหรือว่ามีบริษัทน้ำมันสัญชาติ อเมริกาเข้าไปเอี่ยวกับทางฝั่งกัมพูชารึป่าวอันนี้ผมไม่ทราบ... แล้วจากข้อมูลที่ได้ประเด็นข้อตกลงเรื่องนี้ควรจะเป็นอย่างไรซึ่งก่อนหน้า นี้มีผู้ใหญ่ประจำกระทรวงบอกว่า “แบ่งพลังงานอ่าวไทยเขมรวิน-วิน 50:50 ตรงพื้นที่ทับซ้อนใกล้ฝั่งใครเอาไป 80:20” วิน-วินจริงรึครับ??
     
       ถ้าจากข้อมูลชุดนี้ ท่าทางว่าฝั่งกัมพูชาเขาจะวินอย่างเดียวละครับเนี่ย เพราะทางเขาไม่มีสิทธิ์ตั้งแต่แรกแล้วมันควรจะเป็นอย่างไรละ ถ้าถามผมโดยยึดผลประโยชน์ของชาติไทบเป็นหลักและอิงตามสากลควรจะเป็นอย่างนี้
     
       1. แหล่งน้ำมันฝั่งใครของประเทศนั้น เราก็คงไม่อยากไปเอาของเขาอยู่แล้ว
     
       2. บนพื้นที่ทับซ้อนไทยต้องไม่ต่ำกว่า 80% เพราะเป็นแอ่งพลังงานของเราแต่แรก แต่เข้าใจว่ากลายเป็นพื้นที่ทับซ้อนเราอาจจะต้องให้เขาบ้างเพื่อจะได้มีการ นำพลังงานมาใช้ทั้งสองฝ่าย โดยต้องเปิดเผยข้อมูลการขุดเจาะทั้งสองฝ่าย (ในกรณีที่เรามีข้อมูลทุกอย่างพร้อม และตัดสินใจจะนำพลังงานมาใช้)
     
       3. แหล่งน้ำมันบริเวณฝั่งกัมพูชาเนื่องจากว่าอยู่ในแอ่งเดียวกับเรา (Thai Cenozoic Basins) เขาต้องรายงานข้อมูลการขุดเจาะรวมถึงวันที่จะเจาะในรัศมี 4-5 กิโลเมตรนับจากเขตแดนทางกัมพูชาไปในประเทศกัมพูชา และจะต้องได้รับความเห็นชอบจากเราในกรณีที่หลุมเจาะใกล้เขตแดนระหว่างประเทศ ในระยะ 4-5 กิโลเมตรทำไมต้องเป็นแบบนี้??? เพราะป้องกันทางฝั่งกัมพูชาใช้เทคโนโลยีในการเจาะมาลักลอบเอาน้ำมันของเรา เพราะปัจจุบันมีเทคโนโลยีการเจาะแบบแนวนอน (Horizontal Drilling) ซึ่งแต่ก่อนมีแบบแนวตั้งแบบเดียว (Vertical Drilling) และช่วงท่อแนวนอนนี้สามารถยึดไปได้ประมาณ 3-4 กิโลเมตร ซึ่งเทคโนโลยีนี้มีบางประเทศนำไปใช้ในการลักลอบน้ำมันใต้ดิน (บางแหล่งชั้นน้ำมัน Connect กันหมด) และรัฐบาลเรารวมไปถึงคนไทยเราต้องรู้ทันด้วย ตามรูปประกอบจาก Internet ข้างล่าง
       ซึ่งข้อตกลงนี้ก็ต้องให้นักกฎหมายและนักธรณีวิทยามาดูด้วย เพราะผมพูดในเชิงนโยบายและประสบการณ์ของผมด้านพลังงานและขุดเจาะน้ำมัน สุดท้ายนี้ผมเชื่อว่าถ้าคนไทยเราสามัคคีกันผลประโยชน์ต้องตกเป็นของคนไทยแน่ นอน ดูอย่างทีมวอลเลย์บอลหญิงของเราสิเป็นตัวบอกได้ดีเลยครับ ผมขอฝากข้อมูลหรือบทความนี้ไปถึงคนไทยทุกคนและรัฐบาลใหม่ด้วย ขอขอบคุณครับ

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง