บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เขมรเอาตามอ๊อดเตรียมส่งจม.เชิญประชุมGBC-บอกไทยก่อสงครามนองเลือด


ยุทธศักดิ์ ศศิประภา เมื่อครั้งพบกับ เตีย บัญ เมื่อ ๒๓ กันยายน ๒๕๕๔ ที่กรุงพนมเปญ 

ฟิฟทีนมูฟ — โฆษกกลาโหมเขมรตอบรับคำอ๊อด เผย เตรียมส่งหนังสือเชิญประชุม GBC ที่จะจัดขึ้นในเดือนธันวาคม ที่กรุงพนมเปญ ถึง รมว.กลาโหมไทย ระบุประเด็นหลักอาจมีการคุยเรื่องถอนทหาร และความมั่นคงตามแนวชายแดนที่เคยตึงเครียด ไทยส่งทหารเข้ารุกรานดินแดนเขมรจนเกิดสงครามนองเลือด
วิทยุฝรั่งเศสสากลภาคภาษาเขมร (๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔) อ้างถึงการเปิดเผยของ พล.ท.ชุม โซะเจียต เลขาธิการและโฆษกกระทรวงกลาโหมกัมพูชา ที่ระบุว่า กระทรวงกลาโหมกัมพูชาเตรียมส่งหนังสืออย่างเป็นทางการถึงกระทรวงกลาโหมไทย เพื่อให้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย-กัมพูชา (GBC) ในเดือนธันวาคม ที่จะถึง กัมพูชาจะเป็นเจ้าภาพในการประชุม GBC ครั้งที่ ๘ กำหนดจัดขึ้นในกรุงพนมเปญ โดยได้เตรียมความพร้อมไว้เรียบร้อยแล้ว

โฆษกกระทรวงกลาโหมกัมพูชา กล่าวว่า หนังสือถึงรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมไทยเพื่อให้เข้าร่วมการประชุม GBC นี้ เป็นครั้งที่ ๓ แล้ว ที่กัมพูชาได้ส่งไปถึงฝ่ายไทย หลังจากที่การประชุมได้ถูกเลื่อน ซึ่งสาเหตุมาจากฝ่ายไทยเปลี่ยนองค์ประกอบโครงสร้างของคณะกรรมการฯ และเนื่องจากไทยประสบปัญหาน้ำท่วม
พล.ท.ชุม โซะเจียต กล่าวถึงประเด็นหลักในการหารือว่า จะมีการหยิบยกประเด็นปัญหาความมั่นคงตามแนวชายแดนและการพัฒนาต่าง ๆ ความมั่นคงตามแนวชายแดนกัมพูชา-ไทย ที่ตึงเครียดถึงขั้นมีสงครามนองเลือด นับแต่ที่ไทยได้ยกทัพเข้ารุกรานดินแดนกัมพูชาที่ปราสาทพระวิหาร เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑ พร้อมกล่าวต่อว่า การประชุมที่นำโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของกัมพูชาและไทย อาจมีการพูดคุยเกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรการของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ที่ออกเมื่อ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ในเรื่องการถอนทหารออกจากพื้นที่ชายแดน บริเวณปราสาทพระวิหาร
ตามรายงานของไอเอ็นเอ็น เมื่อช่วงสาย พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึง การประชุมคณะกรรมการเขตแดนร่วม (JBC) (ฟิฟทีนมูฟ-เข้าใจว่าหมายถึงคณะกรรมการชายแดนทั่วไป หรือ GBC) ไทย-กัมพูชา ว่า การประชุมเจบีซีซึ่งจะมีขึ้นภายในเดือนหน้า ต้องรอให้ประเทศกัมพูชาเป็นผู้กำหนดวัน เวลา และสถานที่ เนื่องจากในการประชุมครั้งนี้ประเทศกัมพูชาถือว่าเป็นเจ้าภาพ และในที่ประชุมจะมีการพูดคุยกันถึงคำสั่งชั่วคราวของศาลยุติธรรมระหว่าง ประเทศ ที่ให้ทั้งสองประเทศถอนกำลังออกจากพื้นที่ด้วย ซึ่งคาดว่าในที่ประชุมจะพูดคุยกันได้ด้วยดี

วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

จับตางานเลี้ยงใหญ่บนเขาพระวิหาร หากเงื่อนไขไม่ลงตัว


ทหารไทยบนพื้นที่เขาพระวิหารเมื่อ ก.ค. ๒๕๕๑
ฟิฟทีนมูฟ — แหล่งข่าวเผยมีความเคลื่อนไหวทางทหารสองฝ่ายไม่ปกติบนพื้นที่เขาพระวิหาร ฝ่ายไทยส่งราชินีสนามรบเข้าพื้นที่ พร้อมเครื่องจักรกลตั้งบังเกอร์ และเสริมกำลัง ขณะรัฐบาลมุ่งหน้าถอนทหารลูกเดียวเพื่อกินน้ำมัน ผบ.สส. ออกส่งสัญญาณ หากเงื่อนไขทหาร-รัฐบาลไม่ลงตัว ผสมปัจจัยอื่น อาจมีงานเลี้ยงใหญ่บนเขาพระวิหาร
วานนี้ เป็นครั้งแรกที่ผู้นำสูงสุดของฝ่ายทหาร พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ออกมาพูดอย่างชัดเจนว่า และส่งนัยยะถึง “เงื่อนไข” บางประการที่ทหารต้อง “รับได้” พร้อมเปิดประเด็นว่า การเจรจาเรื่องการถอนทหารอยู่นอกกรอบของคณะกรรมการชายแดนทั่วไป หรือ GBC ซึ่งหากรัฐบาลจะมอบหมาย เรื่องต้องไปผ่านสภา และให้แนวทางมา จึงเป็นเหตุผลที่รัฐบาลต้องรี่นำเอาเรื่องการถอนทหารเข้าผ่านความเห็นชอบของ รัฐสภาโดยประชุมปกปิด

หากสำรวจสถานการณ์ในพื้นที่เขาพระวิหาร แหล่งข่าวในพื้นที่และสายความมั่นคงหลายแหล่ง รายงานตั้งแต่เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนว่า มีความเคลื่อนไหวและกิจกรรมทางทหารที่ไม่ปกติของทั้งสองฝ่าย โดยฝ่ายกัมพูชามีการเสริมกำลังทหารไม่ทราบจำนวนเข้าพื้นที่ ข่าวในทางเปิดพบว่ามีการ โดยจัดกำลังมาจากตำรวจในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียงจังหวัดพระวิหาร ขณะที่แหล่งข่าวระบุว่า ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นทหารและครอบครัวทหารในพื้นที่เขาพระวิหารที่ไปเป็น ตำรวจ นอกจากนี้ ผู้บัญชาการระดับสูงในภูมิภาคทหารของกัมพูชา มีการตรวจเยี่ยมหน่วยทหารและกองกำลังตำรวจป้องกันพรมแดน หรือ ตชด. ค่อนข้างถี่ รวมถึงการตรวจเยี่ยมการฝึกซ้อมของกองรถถังที่จังหวัดกำปงสปือ
ฝ่ายไทย มีรายงานว่า หลังมีการถอนทหารออกไปจำนวนมากก่อนวิกฤตน้ำท่วม เมื่อต้นเดือนมีการปรับกำลังนำหน่วยที่ได้ชื่อว่า “ราชินีแห่งสนามรบ” กลับขึ้นมาจากภาคใต้ เข้าประจำในพื้นที่ เป็นหน่วยที่ช่ำชองภูมิประเทศ มีความรู้ภาษาเขมรเป็นอย่างดี เป็นหน่วยที่ทหารเขมรเกรงกลัวเป็นที่สุด ตลอดช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการส่งทหารและเครื่องจักรกลเข้าพื้นที่เพื่อทำแนวบังเกอร์ใหม่นอกเขตปลอด ทหาร และเพื่อกิจกรรมบางอย่าง และล่าสุดตลอดวันของวานนี้และวันนี้ มีการส่งทหารพร้อมยุทโธปกรณ์เข้าพื้นที่อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ เมื่อ ๑๘ พฤศจิกายน อ.กันทรลักษ์ ได้มีหนังสือสั่งการชะลอการปฏิบัติตามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์สั่งการ ชายแดน ผามออีแดง อุทยานแห่งชาติพระวิหาร ที่ออกมาตั้งแต่เมื่อ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔
แม้ว่า ปัจจุบัน ความสัมพันธ์ในระดับพื้นที่ของทั้งสองฝ่าย ตั้งแต่ช่องซำแตไปจนถึงเขต จ.สุรินทร์ ค่อนข้างดี มีการติดต่ออย่างใกล้ชิดและแจ้งข่าวการลาดตระเวนต่อกันต่อเนื่อง ไม่มีการยั่วยุ โอภาปราศรัยกันค่อนข้างดี แต่ทว่าเป็นแต่เพียงสถานการณ์เหนือผิวน้ำเท่านั้น
ขณะที่ ฝ่ายนโยบาย รัฐบาลของผู้หลบหนีโทษจำคุก มีท่าที่ที่ชัดเจนว่าต้องการมุ่งหน้าสู่การถอนทหารและปฏิบัติตามมาตรการชั่ว คราวของศาลโลก “ไอ้ปึ้ง” สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ยืนยันอย่างชัดเจนหลายครั้งและล่าสุดที่รัฐสภาในการพิจารณาเรื่องการถอนทหาร
การประชุมที่ยูเนสโก กรุงปารีส ครั้งล่าสุด มีประเด็นให้ตั้งข้อสังเกต คือ รัฐบาลได้ให้นายพิทยา พุกกะมาน ที่มีตำแหน่งทางการเมืองเพียงแค่ “ผู้ช่วย” ของรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทย นายพิทยา เป็นอดีตทูตและที่ปรึกษารัฐมนตรีต่างประเทศ สมัยนายนพดล ปัทมะ ปัจจุบันเป็นหัวหน้าฝ่ายต่างประเทศของพรรคเพื่อไทย  แหล่งข่าวจากการประชุมที่ยูเนสโกให้ข้อมูลว่า ในการพบหารือระหว่างหัวหน้าคณะฝ่ายไทยกับ นายซก อาน หัวหน้าคณะฝ่ายกัมพูชา ที่ทำเนียบทูตกัมพูชา มีการหยิบยกเรื่องการแบ่งปันผลประโยชน์ “น้ำมัน” ขึ้นเป็นหัวข้อสนทนา เป็นที่ทราบว่า นายซก อาน นอกจากรับผิดชอบเรื่องมรดกโลกในฐานะประธานคณะกรรมการมรดกโลกของกัมพูชาแล้ว ยังเป็นประธานองค์การปิโตรเลียมแห่งชาติกัมพูชา ที่นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ดูแลการเจรจาการแบ่งปันผลประโยชน์น้ำมันในอ่าวไทย
เมื่อไม่นานมานี้ เคิร์ท แคมป์เบลล์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย ได้เข้าพบ ยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย นายพิทยา พุกกะมาน ก็อยู่ร่วมด้วย นอกจากนี้ การที่ นางฮิลลารี คลินตัน เดินทางเยือนไทยก็เป็นเรื่องควรให้ตั้งข้อสังเกต แม้หน้าฉากจะพูดถึงความสัมพันธ์และความช่วยเหลือน้ำท่วม แต่ย่อมเป็นที่ทราบกันดีว่า ลมหายใจเข้าออกของสหรัฐอเมริกาคืออะไร ทั้งนี้ จะสังเกตเห็นได้ว่าหลายเดือนที่ผ่านมีโฆษณาของบริษัทน้ำมันของสหรัฐในจอ โทรทัศน์ของไทยต่อเนื่อง และเป็นครั้งแรก
เป็นที่ทราบอย่างชัดเจนว่า กัมพูชาต้องการทั้งปราสาทพระวิหาร เขตแดนและน้ำมัน ขณะที่ปัจจุบันของอดีตไทยรักไทย “หัวใจคือน้ำมัน” ดังนั้น ทิศทางจึงพุ่งเป้าเอาใจกัมพูชาเพื่อพากันออกทะเล เป็นเรื่องชวนจับตาว่ารัฐบาลเพื่อไทยจะใช้เงื่อนไขใดต่อรองให้ทหาร “รับได้” แม้อาจมองได้ว่าการขยับของทหารระดับสูงเป็นไปเพื่อต้องการเกราะคุ้มกันตนเอง แต่แหล่งข่าวหลายสายของฟิฟทีนมูฟมองตรงกันว่า เงื่อนไขของฝ่ายทหารตั้งอยู่บนประโยชน์ของชาติ พร้อมแนะให้จับตาสภาพอากาศ ที่ร่อง “ความกดอากาศสูง” กำลังปกคลุมพื้นที่เขาพระวิหาร พร้อมสังเกตความเคลื่อนไหวของทหารอย่างใกล้ชิด หากเงื่อนไขไม่ลงตัว หรือมีปัจจัยบางอย่าง เป็นไปได้ว่าจะมี “งานเลี้ยงใหญ่” บนพื้นที่เขาพระวิหารอีกรอบ ที่คราวนี้ฝ่ายทหารไทยจะไม่ให้เขมรกินเปล่าอย่างคราวเดือนกุมภาพันธ์!


 ฟิฟทีนมูฟ — สื่อเขมรอ้างเจ้าหน้าที่องค์การพระวิหาร ระบุเขมรเสริมทหารเข้าประชิดชายแดนด้านปราสาทพระวิหาร ขณะไทยปรับเพิ่มกำลังเข้าประจำช่องตาเฒ่า จักจะแรง และตาเส็ม  ระบุสั่งเจ้าหน้าที่เตรียมพร้อมตลอดเวลา
หนังสือพิมพ์พนมเปญโพสต์ของกัมพูชา วันนี้ (๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๔) รายงานอ้าง นายจัน ชอน เจ้าหน้าที่ฝ่ายข่าวสารขององค์การพระวิหารแห่งชาติกัมพูชา ที่ระบุว่า กัมพูชาได้เสริมกำลังทหารตามแนวชายแดนในพื้นที่เขาพระวิหาร เช่นเดียวกับที่ฝ่ายไทยได้เสริมกำลังในพื้นที่ช่องตาเฒ่า จักจะแรง และตาเส็ม

นายจัน ชอน กล่าวว่า เราต้องเตรียมพร้อม และเจ้าหน้าที่องค์การพระวิหารแห่งชาติอยู่ในภาวะเฝ้าระวังตลอดเวลา หลังจากที่ฝ่ายไทยยืนยันว่าจะไม่มีการถอนทหารออกจากพื้นที่ซึ่งเกิดกรณี พิพาท ใกล้กับปราสาทพระวิหาร
รายงานข่าวดังกล่าว สอดคล้องกับแหล่งข่าวในพื้นที่ใกล้ปราสาทพระวิหารของฟิฟทีนมูฟ ที่เปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า พร้อมให้จับตา หากการต่อรองประเด็นการถอนทหารระหว่างรัฐบาลพรรคเพื่อไทยและผู้นำฝ่ายทหาร ไม่ลงตัว อาจมีการปะทะรอบใหม่ในพื้นที่ ตั้งแต่ต้นเดือน ทหารไทยได้ปรับกำลังนำหน่วยรบที่ช่ำชองภูมิประเทศกลับขึ้นมาจากภาคใต้ เข้าประจำพื้นที่ พร้อมขนเครื่องจักรกลเข้าปฏิบัติงาน และตลอดช่วงสองวันที่ผ่าน มีการลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์พร้อมกำลังทหารเข้าพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

"ทหารของจอมทัพไทยยังไม่ได้ทำหน้าที่ของตัวเองในการรักษาอธิปไตยของชาติ”


โดย Annie Handicraft เมื่อ 22 พฤศจิกายน 2011 เวลา 19:14 น.
แถลงการณ์พันธมิตรฯ 4/2553  “ทหารของจอมทัพไทยยังไม่ได้ทำหน้าที่ของตัวเองในการรักษาอธิปไตยของชาติ” 20 กรกฎาคม 2011 

ตาม ที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ได้มีมติเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ให้ออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ในการพิจารณาคดี ตีความหมายคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ พ.ศ. 2505  โดยมีการกำหนดเขตปลอดทหาร ห้ามไทยและกัมพูชาทำกิจกรรมทางทหารในพื้นที่ที่กำหนด  และห้ามไทยขัดขวางการเข้าไปยังปราสาทพระวิหารการของกัมพูชา ตลอดจนห้ามไทยขัดขวางการส่งกำลังบำรุงให้แก่บุคคลการที่ไม่ใช่ทหาร นั้น พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยขอชี้แจงจุดยืนต่อทหารดังต่อไปนี้

1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 77 บัญญัติเอาไว้ว่า “รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ และต้องจัดให้มีกำลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย จำเป็น และเพียงพอ เพื่อพิทักษ์เอกราช อธิปไตย ความมั่นคงของรัฐสถาบันพระมหากษัตริย์ ผลประโยชน์แห่งชาติ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและเพื่อการพัฒนาประเทศ”

2. ปัจจุบันกองทัพไทยได้ถูกจัดอันดับในด้านแสนยานุภาพจากลำดับที่ 28 ของโลกในปีที่แล้ว มาอยู่ในลำดับที่ 19 ของโลกในปีนี้ เป็น ลำดับที่ 6 ของทวีปเอเชีย และเป็นลำดับที่ 2 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการใช้งบประมาณจำนวนมากในการพัฒนากองทัพในรอบหลายปีที่ผ่านมา ประเทศไทยจึงมีศักยภาพทางทหารสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างไม่สามารถจะ เปรียบเทียบได้ 

3. เมื่อทหารมีหน้าที่ในการปกป้องแผ่นดินและอธิปไตยของชาติตามรัฐธรรมนูญ ใน ขณะที่ศักยภาพของกองทัพมีความแข็งแกร่งด้วยงบประมาณมหาศาล แต่กลับเป็นยุคที่ประเทศไทยกลับอ่อนแอถูกรุกรานและยึดครองแผ่นดินไทยโดยต่าง ชาติมากที่สุดอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

ทั้งนี้การที่ทหาร ได้อ้างนโยบายของรัฐบาล แล้วปล่อยให้ชุมชนและทหารกัมพูชามารุกรานยึดครองแผ่นดินไทยทั้งบริเวณ วัดแก้วสิขะคีรีสะวารา, ภูมะเขือ, พื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร, บ้านหนองจาน ปราสาทตาควาย ฯลฯ นั้น ทำให้กัมพูชาสามารถเข้ายึดจุดสูงข่มทางทหารซึ่งเป็นยุทธศาสตร์สำคัญได้ สำเร็จ จึงเป็นแรงจูงใจสำคัญดำเนินการสร้างสถานการณ์ยิงอาวุธสงครามทำร้ายราษฎรไทย เพื่อทำให้ปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชาถูกหยิบยกมาเป็นเรื่องการเมืองระหว่าง ประเทศ  โดยหวังที่จะให้มีชาติที่สามหรือองค์กรระหว่างประเทศเข้ามาขัดขวางไม่ให้ ประเทศไทยผลักดันชุมชนกัมพูชาให้ออกจากแผ่นดินไทย  ไม่ว่าจะเป็นมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก หรือ การเตรียมส่งผู้สังเกตการณ์ในการเข้ามาในดินแดนไทยในการเป็นสักขีพยานในการ ห้ามยิงปะทะกัน

การที่ฝ่ายทหารอ้างว่าไม่สามารถผลักดัน กัมพูชาโดยอ้างว่าต้องรอนโยบายและคำสั่งรัฐบาลนั้นจึงเป็นสิ่งที่ฟังไม่ขึ้น เพราะหากไม่มีการปล่อยปละละเลยให้ชุมชนและทหารกัมพูชาเข้ามารุกรานและยึด ครองแผ่นดินไทย จะไม่เกิดแรงจูงใจในการที่กัมพูชาจะสร้างสถานการณ์เพื่อให้นานาชาติออก มาตรการให้ทหารไทยต้องออกจากพื้นที่บริเวณดังกล่าว  จึงถือเป็นความบกพร่องโดยตรงของกองทัพในการที่ปล่อยให้มีการรุกรานแผ่นดิน ไทย และปล่อยให้มีการละเมิด MOU 2543 ในทางปฏิบัติทั้งๆที่กระทรวงการต่างประเทศได้ประท้วงกัมพูชามานับร้อยกว่า ครั้งแล้วก็ตาม

การปล่อยปละละเลยให้กัมพูชาขนชุมชนเข้ามา รุกรานยึดครองแผ่นดินไทย สร้างถนน สร้างวัด ปักธงชาติกัมพูชาในแผ่นดินไทย ทั้งๆที่เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ และเป็น “เขตประกาศกฎอัยการศึก” จึงย่อมถือเป็นอำนาจเต็มของกองทัพโดยตรงในการตัดสินใจในการักษาอธิปไตยของ ชาติ โดยที่ไม่สามารถจะกล่าวอ้างนโยบายของรัฐบาลได้

ทั้ง นี้ภายใต้พื้นที่ประกาศกฎอัยการศึกอันถือเป็นอำนาจเต็มของกองทัพที่จะผลัก ดันกัมพูชาออกจากแผ่นดินไทยแล้ว ยังปรากฏมีคำสั่งกระทรวงกลาโหม เลขที่ ก.ห.(เฉพาะ)ที่ 112/28  ลงวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 เรื่องแนวทางการใช้อาวุธตามแนวชายแดน ข้อ 4.1 กองทัพบก กำหนด ข้อ 4.1.1 ว่า
“เมื่อ ปรากฏแน่ชัดว่ากำลังทหารหรืออาวุธยุทโธปกรณ์ของฝ่ายตรงกันข้ามล่วงล้ำเขตแดน ไทยและการล่วงล้ำนั้น จะก่อให้เกิดความเสียหายและเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ หรือหน่วยทหารของฝ่ายเรา หรือเมื่อมีการปะทะเกิดขึ้นแล้ว ให้เราใช้อาวุธเพื่อขัดขวางและสกัดกั้นการล่วงล้ำเข้ามาของฝ่ายตรงข้ามได้ ทันที”

การที่ทหารซึ่งมีหน้าที่ตามรัฐ ธรรมนูญ และมีศักยภาพสูงในระดับโลก แต่กลับไม่ทำหน้าที่ของตัวเองจึงย่อมถือเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่และ ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และถือเป็นการกระทำที่ทำให้ราชอาณาจักรหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรตก อยู่ใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐต่างประเทศ ทำให้เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไป อันถือเป็นการกระทำต่อกฎหมายบ้านเมืองอย่างชัดเจน

นอกจากนี้ กองทัพกลับปล่อยให้ประชาชนต้องออกมาชุมนุมเรียกร้องให้ทหารทำหน้าที่ ทั้งๆที่ประชาชนที่ออกมาชุมนุมส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและผู้สูงวัยเสริมด้วยนาย ทหารนอกราชการ แต่กองทัพและทหารประจำการก็ยังเพิกเฉยและไม่ทำหน้าที่ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน จึงเป็นเรื่องที่น่าอับอายและเสียศักดิ์ศรีของกองทัพเป็นที่สุดเท่าที่เคยมี มาในประวัติศาสตร์ของกองทัพไทย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทัพใช้งบประมาณจากภาษีของประชาชนเป็นจำนวนมากแต่กลับ ไม่สามารถทำอะไรได้กับการถูกรุกรานและยึดครองแผ่นดินไทยโดยชาติอื่น  ประเทศไทยจึงมีสภาพเหมือนไม่รู้ว่าจะมีกองทัพเอาไว้เพื่อเหตุผลใด  

ปี นี้เป็นปีมหามงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่จะทรงมีพระชนมายุครบ 84 พรรษา  ทรงเป็นจอมทัพไทยและทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดิน แล้วทหารซึ่งอยู่ภายใต้จอมทัพไทยและปฏิญาณตนต่อหน้าธงชัยเฉลิมพล จะเทิดพระเกียรติโดยยอมให้ประเทศไทยถูกรุกรานยึดครองแผ่นดินไทยได้อย่างไร

เรา จึงขอเรียกร้องให้ทหารให้ทำหน้าที่ของตัวเอง โดยการไม่ถอนทหารออกจากแผ่นดินไทยตามมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก และทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และทำตามคำถวายสัตย์ปฏิญาณตน ในการทวงคืนแผ่นดินไทยที่ถูกต่างชาติรุกรานให้กลับคืนมา

ด้วยจิตคารวะ
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554



นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก ยื่น written observation หรือ โครงร่างข้อสังเกตให้กับศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก

15thmove
Sermsuk Kasitipradit
นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก ยื่น written observation หรือ โครงร่างข้อสังเกตให้กับศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก เมื่อช่วงห้าโมงเย็นวันนี้ตามเวลาในไทย (11.00 น.เวลาที่เนเธอร์แลนด์) ชี้แจงข้อเท็จจริงต่อคำร้องของกัมพูชาที่ยื่นศาลเมื่อ28 เมษายน ขอให้ศาลตีความคำพิพากษาศาลเมื่อปี2505 โดยทางกพช.เสนอให้ศาลวินิจฉัยถือตามเส้นเขตแดนที่กำหนดไว้ในแผนที่ของฝรั่งเศสอัตราส่วน1/200000 หากศาลชี้ตามที่กพช.เสนอจะทำให้พื้นที่4.6 ตารางกิโลเมตรของไทยอยู่ในเขตอธิปไตยของกัมพูชา

ในโครงร่างข้อสังเกตมีทั้งหมด300 หน้า พร้อมเอกสารประกอบกว่า700 หน้า เป็นคำชี้แจงอย่างละเอียดต่อองค์คณะผู้พิพากษา ทำความเข้าใจต่อคำร้องกัมพูชา

เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงคนหนึ่งระบุว่าในโครงร่างข้อสังเกต ได้กล่าวถึงข้อขัดแย้งบนเขาพระวิหาร ก่อนที่กัมพูชาจะนำเรื่องขึ้นศาลโลก/ ความหมายและขอบเขตของคำพิพากษาปี 2505 ที่ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องเส้นเขตแดน / การปฏิบัติตามคำพิพากษาของฝ่ายไทยปรับกำลังออกจาพท.รอบตัวปราสาท / ไม่มีข้อขัดแย้งกับกัมพูชาในการปฏิบัติตามคำตัดสินของฝ่ายไทย / และเห็นว่าสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนหน้านี้เป็นการสร้างสถานการณ์ของฝ่ายกพช. เพื่อสร้างเงื่อนไขให้ศาลโลกรับตีความคำพิพากษา ตามคำร้องของกพช.

ในโครงร่างได้ย้ำจุดยืนของฝ่ายไทยที่เห็นว่าศาลไม่มีอำนาจวินิจฉัยคำร้องของกพช. นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงบันทึกความเข้าใจไทยกัมพูชาปี 2543 หรือ MOU 2543 เพื่อให้ศาลเห็นถึงปัญหาในเรื่องเขตแดนระหว่างกัมพูชาและไทยตลอดช่วงที่ผ่านมา โดยทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในบันทึกที่จะแก้ปัญหาขัดแย้งเรื่องเขตแดนด้วยการเจรจาแก้ปัญหาร่วมกัน ซึ่งขัดแย้งกับคำร้องของกัมพูชาที่ระบุว่าแนวเขตแดนบนเขาพระวิหารได้กำหนดไว้เรียบร้อยแล้วตามแผนที่อัตราส่วน1/200,000 ของฝรั่งเศส

มีรายงานยืนยันว่าในโครงร่างได้แนบเอกสารสำคัญของหน่วยงานด้านชายแดนระหว่างประเทศ เพื่อให้ศาลพิจารณาถึงความน่าเชื่อถือของแผนที่ของฝรั่งเศส ระวางดงรัก

เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ คาดว่าหลังการยื่นโครงร่างข้อสังเกต ศาลโลกอาจให้ทางกัมพูชายื่นเอกสารเพื่อชี้แจงโครงร่างข้อสังเกตของฝ่ายไทย เรียกว่า written explanation ก่อนให้ฝ่ายไทยชี้แจงสรุปอีกรอบ จากนั้นจึงนัดทั้งสองฝ่ายมาชี้แจงในศาลก่อนมีคำพิพากษาซึ่งคาดว่าจะมีขึ้นช่วงปลายปีหน้า....

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ผู้ทรงเกียรติโชว์กึ๋น ส่งคนไทยอยู่วัดแก้วฯเท่าเขมร หากเชิญลงไม่ได้

รมว.กลาโหม ส่งสัญญาณไทยพร้อมถก"จีบีซี"หาข้อยุติปมขัดแย้งไทย-เขมร เผยพร้อมถอนทหารส่งตชด.400 คนไปอยู่แทน ตั้งเงื่อนไข 3 ชาติร่วมสังเกตการณ์ต้องเป็นพลเรือน เสนอตรวจ 3 จุด “ประตูเหล็ก-วัดแก้ว-บันไดหัก” เตรียมส่งคนไทยเข้าวัดแก้วฯ เท่าเขมร หากเชิญพ้นวัดแก้วฯไม่ได้
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รมว.กลาโหม ได้กล่าวถึงการส่งเอกสารข้อสังเกต กรณีความขัดแย้งชายแดนไทยกัมพูชาให้ศาลโลก ในวันที่ 21 พ.ย.นี้ว่า กระทรวงการต่างประเทศได้ทำเอกสารเรียบร้อยแล้ว ตนได้เรียน รมว.ต่างประเทศ ขอให้นำรายงานการประชุมคณะกรรมการชายแดนระดับภูมิภาคไทย-กัมพูชา (อาร์บีซี)ไป ขณะนี้กระทรวงการต่างประเทศ ได้กรอบในการเจรจา จีบีซี แล้ว และตนให้ทางสำนักงานนโยบายและแผนกระทรวงกลาโหม ประสานกับ พล.อ.เตีย บัน รมว.กลาโหมกัมพูชา ว่า ไทยพร้อมพูดคุยและเจรจา โดยเราจะนำกรอบการเจรจาที่เราได้จากการประชุมเมื่อวานนี้ไปประชุมหารือกับ ทางกัมพูชา เพื่อให้ได้ข้อยุติในแต่ละข้อ ตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศทั้ง 5 ข้อ
       
       “การปรับกำลัง การปฏิบัติต่อผู้สังเกตการณ์ การจัดจุดตรวจ การดำเนินการต่อเจ้าหน้าที่ยูเนสโก้ และการดำเนินการกับประชาชนในวัดแก้วศิขาคีรีสวาระ เมื่อได้ข้อยุติออกมา จะเสนอรัฐสภาอีกครั้ง เราได้มีการพูดคุยถึงการปรับกำลังทหารในเขตปลอดทหาร 17.3 ตารางกิโลเมตรว่าจะให้เหลือเท่าไหร่ เพียงแต่ยังไม่ได้ตกลงกันเพราะในขณะนี้ทหารไทยที่อยู่ในพื้นที่ 700 กว่าคน ทางกัมพูชาพันกว่าคน ซึ่งกัมพูชาต้องถอนออกพันกว่าคน ทางไทยต้องปรับออก700 คน และต้องจัดกำลังตำรวจตระเวนชายแดน(ตชด.)และตำรวจภูธรเข้าไปฝั่งละ 400 กว่าคน เข้าไปดูแลพื้นที่ปลอดทหารตรงนั้น” รมว.กลาโหม กล่าว
       
       พล.อ.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า ส่วนผู้สังเกตการณ์เราคุยกันว่า ต้องมี 3 ประเทศ คือไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย ชาติละ 9 คน โดยเขาจะต้องเป็นพลเรือน แต่งเครื่องแบบทหารไม่ได้ เพื่อแสดงอธิปไตยของชาติ ซึ่งจะไม่ได้ดูเรื่องถอนทหารเท่านั้น แต่ต้องดูว่า จุดตรวจทำอย่างไรบ้าง ซึ่งเราเสนอจุดตรวจไป 3 จุด ที่ประตูเหล็ก ทางขึ้นวัดแก้วฯ เขาช่องบันไดหัก และจะจัดการอย่างไรกับประชาชนที่อาศัยอยู่ในวัดแก้วฯ ให้ออกไป ถ้าไม่ออก ก็จะไม่ให้เข้าไปอยู่เพิ่ม และเราจะให้คนไทยเข้าไปอยู่เท่าๆ กับกัมพูชา ซึ่งทางกัมพูชายอมให้คนไทยเข้าไปอยู่ได้ ส่วนการสร้างถนนเพิ่มเติมนั้นเป็นการสร้างในพื้นที่เขาไม่ได้สร้างในพื้นที่พิพาท โดยทั้ง 5 ข้อ นี้เราคุยส่วนตัวว่า จะผ่าน เหลือแต่เพียงรายละเอียดที่เราจะคุยเพิ่มเติม โดยการประชุมจีบีซี คงจะจัดให้เร็วที่สุด หากกัมพูชาแจ้งความพร้อมมา ถ้าไม่ทันเดือนนี้ก็เป็นเดือนหน้า แต่จะพยายามภายในเดือนนี้ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่ารัฐบาลยังยึดกรอบของ เอ็มโอยู 43 อยู่



เฮ้อ! ใช้หัวอะไรคิด ท่านๆทั้งหลาย เฮ้ย! นี่เรื่องประเทศนะเว้ย ไม่ใช่เด็กอนุบาลแย่งขนม ทำไมทีเรื่องอื่นๆคิดกันได้จัง (ไร ) ทำไม ไม่รักประเทศกันเลยเหรอครับ ไม่ภูมิใจว่าเราเป็นคนไทยเหรอ? พวกท่านไม่สงสารคนในประเทศ พี่น้องร่วมชาติกันบ้างเลยเหรอ?

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การดำเนินการเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลกในคดีปราสาทพระวิหาร





1. คำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก  
 
ตาม ที่กัมพูชาได้ยื่นขอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ซึ่งต่อไปเรียกว่า “ศาลโลก”)  ตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารที่ศาลโลกได้ตัดสินเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2505  และพร้อมกันนี้กัมพูชาได้ยื่นคำร้องเร่งด่วนขอให้ศาลโลกกำหนดมาตรการคุ้ม ครองชั่วคราว เมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2554  ต่อมาในวันที่ 18 ก.ค. 2554  ศาลโลกได้มีคำสั่งต่อคำร้องขอของกัมพูชาให้กำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวดัง นี้ 

(A) โดยเอกฉันท์  ยกคำขอของประเทศไทยที่ให้จำหน่ายคดีที่กัมพูชายื่นให้พิจารณาเมื่อวันที่ 28 เม.ย. 2554  ออกจากสารบบความของศาล
(B) กำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวดังนี้
 
(1) โดยคะแนนเสียง 11 ต่อ 5  ทั้งสองฝ่ายต้องถอนกำลังทหารซึ่งปัจจุบันอยู่ในเขตปลอดทหารชั่วคราว (Provisional Demilitarized Zone: PDZ) ตามที่กำหนดในย่อหน้าที่ 62 ของคำสั่งนี้ในทันที  และงดเว้นจากการวางกำลังทหารภายในเขตนั้น  และจากกิจกรรมทางอาวุธใดๆ ที่มุ่งหมายไปที่เขตนั้น
 (2) โดยคะแนนเสียง 15 ต่อ 1  ประเทศไทยจะต้องไม่ขัดขวางการเข้าถึงอย่างอิสระ (free access) ของกัมพูชาไปยังปราสาทพระวิหาร  หรือการจัดส่งเสบียงของกัมพูชาให้เจ้าหน้าที่ที่ไม่ใช่ทหารของตนในปราสาทพระ วิหาร  
 (3) โดยคะแนนเสียง 15 ต่อ 1  ทั้งสองฝ่ายต้องดำเนินความร่วมมือกันต่อไปตามที่ทั้งสองฝ่ายได้เข้าร่วมใน กรอบอาเซียน  และโดยเฉพาะต้องอนุญาตให้คณะผู้สังเกตการณ์ที่แต่งตั้งโดยอาเซียนเข้าไปยัง เขตปลอดทหารชั่วคราวดังกล่าวได้  
 (4) โดยคะแนนเสียง 15 ต่อ 1  ทั้งสองฝ่ายต้องงดเว้นจากการกระทำใดๆ ที่อาจทำให้ข้อพิพาทที่ปรากฏต่อศาลเลวร้ายลงหรือเกิดมากขึ้น  หรือทำให้มันยากยิ่งขึ้นที่จะแก้ไข 
 (C) โดยคะแนนเสียง 15 ต่อ 1  ตัดสินว่าแต่ละฝ่ายต้องแจ้งต่อศาลถึงการปฏิบัติตามมาตรการคุ้มครองชั่วคราวข้างต้น  
 (D) โดย คะแนนเสียง 15 ต่อ 1  ตัดสินว่าจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาต่อคำร้องขอสำหรับการตีความ  ศาลยังคงอำนาจต่อไปในการพิจารณาเรื่องราวสาระที่ก่อให้เกิดคำสั่งครั้งนี้

2. ท่าทีและการดำเนินการของรัฐบาลไทยต่อคำสั่งศาลโลก  

ในวันที่ 18 ก.ค. 2554    ภายหลังศาลโลกได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าว  นายกษิต  ภิรมย์ รมต.กระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้น  ได้แถลงต่อผู้สื่อข่าวว่า  ฝ่ายไทยเคารพคำสั่งของศาลและจะปฏิบัติตาม  ทั้งนี้  ไทยมีความพอใจต่อคำสั่งดังกล่าวเพราะมีผลให้ทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติตาม  ไม่ใช่เฉพาะฝ่ายไทยฝ่ายเดียว  และไทยกับกัมพูชาคงต้องมีการหารือกันภายในกรอบของคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย-กัมพูชา (GBC)

ต่อมาในวันที่ 25 ก.ค. 2554  ได้มีการประชุมหารือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน เรื่องการดำเนินการของไทยกรณีศาลโลกออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราว นายกษิต  ภิรมย์  ได้แถลงต่อผู้สื่อข่าวว่า  ข้อสรุปจากที่ประชุมจะได้นำเรียนต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาส่งมอบให้ รัฐบาลชุดใหม่ต่อไป  โดยแนวทางการปรับกำลังทหารนั้น  ทั้งสองฝ่ายต่างมีกำลังในเขตปลอดทหารชั่วคราว (PDZ)  ที่ศาลโลกได้กำหนด  จึงจำเป็นต้องหารือกันว่าจะดำเนินการในเรื่องนี้อย่างไร  รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการเข้าไปใน PDZ ของพลเรือนและเจ้าหน้าที่ตำรวจ  อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องที่รัฐบาลใหม่ต้องพิจารณาต่อไป  

รัฐบาลชุดใหม่ที่มี น.ส. ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี  ได้เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2554  และคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเมื่อวันที่  16 ส.ค. 2554  ให้กระทรวงการต่างประเทศไปพิจารณารายละเอียดร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สำหรับกรณีการที่กัมพูชาขอให้ตีความคำพิพากษาของศาลโลกในคดีปราสาทพระวิหาร และคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าว  ให้รอบคอบและรอบด้านก่อนนำเสนอ ครม.ต่อไป


ต่อมากระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ประชุมหารือใน เรื่องดังกล่าวและได้เสนอให้สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) พิจารณาโดยได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่  12 ต.ค. 2554  จากนั้นในวันที่  18 ต.ค. 2554  ครม. ได้มีมติให้ความเห็นชอบตามที่ สมช. เสนอ  ให้มีการปฏิบัติตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก  พร้อมทั้งแนวทางในการดำเนินการเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว  รวมทั้งให้ความเห็นชอบท่าทีของไทยในการประสานกับกัมพูชาเกี่ยวกับการปฏิบัติ ตามคำสั่งของศาลโลกต่อไป  

ในวันเดียวกันนั้น  นายสุรพงษ์  โตวิจักษณ์ชัยกุล  รมต. กระทรวงการต่างประเทศ  ได้เสนอวาระจรเพื่อขอให้ครม. ให้ความเห็นกรณีผู้บังคับบัญชาการทหารสูงสุดและปลัดกระทรวงการต่างประเทศจะ เดินทางไปหารือกับทางการกัมพูชาเพื่อหารือถึงกรอบการเจรจา GBC ในการดำเนินการตามคำสั่งศาลโลก ผู้สื่อข่าวได้รายงานว่า  ครม. ได้มีความเห็นแบ่งออกเป็น 3 ฝ่ายในเรื่องนี้


ฝ่ายแรกเป็นส่วนของนายสุรพงษ์  โตวิจักษณ์ชัยกุล  โดยมีความเห็นว่า ครม. ควรมีมติที่ชัดเจนในท่าทีที่มีต่อกรอบการเจรจา  หรือดำเนินการนำเข้าสู่การพิจารณาให้ความเห็นชอบของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ  มาตรา 190  ฝ่ายที่สองเป็นส่วนของนายวรวัจน์  เอื้ออภิญญกุล  รมต. กระทรวงศึกษาธิการ  นายปลอดประสพ  สุรัสวดี  รมต. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  และนายต่อพงษ์  ไชยสาส์น  รมช. กระทรวงสาธารณสุข  โดยไม่เห็นด้วยกับการให้ ครม. มีมติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ  แต่สนับสนุนให้นำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา   และฝ่ายที่สามเป็นส่วนของ น.ส. ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  และนายเฉลิม  อยู่บำรุง  รองนายกรัฐมนตรี  โดยมีความเห็นว่า ครม. ไม่ควรมีมติในเรื่องนี้  และไม่จำเป็นต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ  มาตรา 190  เนื่องจากเป็นเพียงการไปหารือเพื่อวางกรอบเจรจาเท่านั้น  ไม่ได้เป็นการทำสนธิสัญญา


ผู้สื่อข่าวได้รายงานอีกว่า  ระหว่างที่ ครม. ทั้ง 3 ฝ่ายกำลังถกเถียงกันในเรื่องดังกล่าว  พล.อ.ยุทธศักดิ์  ศศิประภา  รมต. กระทรวงกลาโหม  ได้กล่าวว่า  เกี่ยวกับเรื่องนี้  ผู้บัญชาการทหารสูงสุดได้ให้ความเห็นว่า  หากไม่มีมติ ครม.  ไม่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา  ก็จะไม่เดินทางเดินทางเจรจากับกัมพูชา 

จากนั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร  จึงได้สอบถามความเห็นของเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา  ซึ่งได้รับคำตอบว่า  นายกรัฐมนตรีมีสิทธินำเรื่องเข้าหารือกับรัฐสภาเพื่อรับฟังความคิดเห็นโดย ไม่มีการลงมติตามรัฐธรรมนูญ  มาตรา 179  แต่กรณีการหารือกรอบเจรจา GBC นั้นไม่เข้าข่ายที่จะต้องนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา  ในที่สุด  น.ส.ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร  จึงได้ตัดสินใจว่า  เรื่องนี้ไม่ต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา  และไม่จำเป็นต้องมีมติ ครม. เพื่อแสดงท่าทีและวางกรอบในการไปเจรจาครั้งนี้  และขอให้ผู้ที่จะไปเจรจาเดินทางไปเจรจาอย่างสบายใจ  หากใครไม่ยอมไปเจรจาก็ให้ รมต. กระทรวงต้นสังกัดมาหารืออีกครั้งหนึ่ง


ในวันที่ 21 ต.ค. 2554  นายธานี  ทองภักดี  ในฐานะโฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงต่อผู้สื่อข่าวว่า  โดยที่การปฏิบัติตามคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลกเป็นเรื่องการ ใช้อำนาจบริหารของรัฐบาลในการประสานกับฝ่ายกัมพูชาเพื่อปฏิบัติตามคำสั่งศาล โลก  มิใช่เป็นเรื่องการจัดทำหนังสือสัญญาตามรัฐธรรมนูญ  มาตรา 190  จึงไม่ต้องเสนอให้รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบ  อย่างไรก็ดีการปฏิบัติตามคำสั่งศาลโลกเป็นเรื่องสำคัญซึ่งรัฐบาลจะต้อง พิจารณาดำเนินการอย่างรอบคอบ  และรัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติควรได้รับทราบและให้ความเห็นเกี่ยวกับการ ตัดสินใจในการดำเนินการของรัฐบาล  ดังนั้นส่วนราชการต่างๆ  รวมถึงกระทรวงการต่างประเทศจึงเสนอให้รัฐบาลเสนอเรื่องเข้าสู่รัฐสภาเพื่อ เปิดโอกาสให้รัฐสภารับทราบและแสดงความคิดเห็นโดยไม่มีการลงมติตามรัฐ ธรรมนูญ  มาตรา 179


ในวันที่ 3 พ.ย. 2554  นายสุรพงษ์  โตวิจักษณ์ชัยกุล  รมต. กระทรวงการต่างประเทศ  ได้เปิดเผยต่อสื่อมวลชนว่า  น.ส.ยิ่งลักษณ์  ชินวัตร  นายกรัฐมนตรี  ได้ลงนามในหนังสือส่งให้ประธานรัฐสภาเพื่อขอให้เปิดการประชุมร่วมกันของ รัฐสภาตามที่ ครม. ได้ให้เปิดการอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติตามรัฐธรรมนูญ  มาตรา 179  ต่อกรณีการปฏิบัติตามคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก  ซึ่งศาลโลกได้กำหนดให้ไทยและกัมพูชาส่งรายงานการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว ภายในวันที่ 21 พ.ย. 2554  โดยที่ทางทหารในฐานะผู้ปฏิบัติมีความกังวลว่า  การถอนทหารออกจากพื้นที่พิพาทอาจทำให้มีการกล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุให้ประเทศ เสียอธิปไตย  และนำไปสู่การยื่นฟ้องดำเนินคดีการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามกฎหมายอาญา มาตรา 157 ได้  ที่ประชุม สมช. จึงมีความเห็นมายังรัฐบาลขอให้เปิดการประชุมร่วมกันของรัฐสภาดังกล่าวเพื่อ ป้องกันการฟ้องร้องที่จะมีขึ้นได้ในอนาคต  โดยประธานรัฐสภาได้กำหนดให้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาสำหรับเรื่องดัง กล่าวในวันที่ 15 พ.ย. 2554

 3. ผลกระทบที่สำคัญจากการปฏิบัติตามคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก
 ผลกระทบที่สำคัญจากการปฏิบัติตามคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก  สรุปได้ดังนี้
 3.1 ในการปฏิบัติตามคำสั่งศาลข้อ (1)  ไทยต้องถอนกำลังทหารทั้งหมดออกจากพื้นที่ที่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของไทย ซึ่งไม่ได้เป็นพื้นที่พิพาทแต่อย่างใด  คำสั่งศาลดังกล่าวเป็นการล่วงล้ำอำนาจอธิปไตยของไทย 

เขตปลอดทหารชั่วคราว (PDZ)  ที่ศาลกำหนดมีพื้นที่ประมาณ 17.8 ตร.กม.  แต่พื้นที่พิพาทที่ทั้งสองฝ่ายอ้างสิทธิทับซ้อนกันมีพื้นที่เพียงประมาณ 4.6 ตร.กม.  และพื้นที่ที่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของไทยซึ่งไม่ได้เป็นพื้นที่พิพาทแต่ อย่างใดภายใน PDZ มีพื้นที่ประมาณ 20% ของพื้นที่ PDZ ทั้งหมด  หรือประมาณ 3.5 ตร.กม. 

สำหรับคำสั่งศาลในข้อนี้   มีผู้พิพากษาถึง 5 คนซึ่งมีประธานศาลโลกรวมอยู่ด้วยที่มีความเห็นแย้ง  โดยเหตุผลหลักที่ผู้พิพากษาทั้งห้าไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลในข้อนี้พอสรุป ได้ดังนี้  ประการที่หนึ่ง  ศาลไม่มีอำนาจไปกำหนดเขตปลอดทหารดังกล่าวให้ล้ำเข้าไปในพื้นที่ที่อยู่ภาย ใต้อำนาจอธิปไตยของแต่ละรัฐซึ่งไม่ได้เป็นพื้นที่พิพาทแต่อย่างใด  อันเป็นการล่วงล้ำอำนาจอธิปไตยของรัฐนั้นๆ โดยปราศจากความยินยอมของรัฐดังกล่าว  หากจะมีการกำหนดเขตปลอดทหารก็ควรจำกัดอยู่เฉพาะพื้นที่ที่มีข้อพิพาทกันเท่า นั้น 

ประการที่สอง  ศาลกำหนดเขตปลอดทหารดังกล่าวเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่ตำแหน่งของมุมทั้งสี่มีการ กำหนดพิกัดที่แน่นอน  โดยปราศจากการอธิบายให้เหตุผลว่าทำไมจึงต้องเป็นพิกัดดังกล่าว  อีกทั้งยังเป็นการกำหนดในลักษณะที่ประดิษฐ์ขึ้น (artificial manner)  โดยไม่ได้คำนึงถึงภูมิประเทศจริง รวมถึงความเป็นไปได้และความยากลำบากในการดำเนินการหรือการบังคับให้เป็นไป ตามมาตรการดังกล่าวของแต่ละฝ่าย


สำหรับการถอนกำลังทหารของไทยออกจาก PDZ นั้น  รัฐบาลทั้งชุดปัจจุบันและชุดที่แล้วได้อ้างว่าไม่ได้ทำให้ประเทศไทยสูญเสีย อธิปไตยหรือเปลี่ยนแปลงอาณาเขตแต่อย่างใดเนื่องจากเป็นเพียงมาตรการคุ้มครอง ชั่วคราว  แต่เป็นที่ชัดเจนว่าคำสั่งศาลดังกล่าวเป็นการล่วงล้ำอำนาจอธิปไตยของไทย  และมีประชาชนจำนวนมากรวมทั้งกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไม่เห็น ด้วยกับการถอนกำลังทหารดังกล่าว 

ดังนั้นหากมีการดำเนินการถอนทหารดังกล่าวคงจะมีประชาชนจำนวนมากในหลาย จังหวัดออกมาประท้วงในเรื่องนี้  ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางสังคมอย่างกว้างขวาง  อีกทั้งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ไทยจะต้องทำข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรกับ กัมพูชาว่าการถอนกำลังทหารของทั้งสองฝ่ายออกจาก PDZ มีขั้นตอนและรายละเอียดการถอนกำลังทหารรวมทั้งการตรวจสอบระหว่างกันอย่างไร เพื่อให้เกิดความชัดเจนและรอบคอบ 


 นอกจากนี้สำหรับ PDZ ที่ศาลกำหนดนั้น  ศาลระบุอย่างชัดเจนในย่อหน้าที่ 61 ของคำสั่งศาลว่า ย่อมไม่กระทบต่อการดำเนินการทางปกครองตามปกติ  ซึ่งรวมถึงการให้เจ้าหน้าที่ที่มิใช่ทหารเข้าไปประจำการในส่วนที่จำเป็นต่อ การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและทรัพย์สิน  ดังนั้นฝ่ายไทยควรต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่เข้าไปประจำการในเขตดังกล่าวเพื่อ ดำเนินการต่างๆ ทางปกครอง  และคอยสอดส่องดูความเคลื่อนไหวของฝ่ายกัมพูชาด้วย  ทั้งนี้มีความจำเป็นที่จะต้องจัดทำข้อตกลงที่เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้ เกิดความชัดเจนและยืนยันตรวจสอบกันได้ในประเด็นนี้ด้วยว่า  เจ้าหน้าที่ที่มิใช่ทหารนั้นหมายรวมถึงเจ้าหน้าที่ในลักษณะใดบ้าง  มีพื้นที่ประจำการที่ใดได้  และอนุญาตให้มีอาวุธแบบใดได้บ้างในการใช้เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในเขต ดังกล่าว 


 3.2 ในการปฏิบัติตามคำสั่งศาลข้อ (1)  ไทยต้องยอมให้ตลาด วัด และชุมชนของกัมพูชาที่อยู่ในพื้นที่พิพาทบริเวณเขาพระวิหารอยู่ต่อไป 

 เนื่องจากคำสั่งศาลดังกล่าวไม่ได้ให้ชุมชนที่อาศัยอยู่ใน PDZ  ต้องออกไปด้วย  ซึ่งบริเวณดังกล่าวมีเฉพาะชุมชนกัมพูชาเพียงฝ่ายเดียว  ยิ่งไปกว่านั้นเกือบทั้งหมดเป็นครอบครัวของทหารกัมพูชา  อีกทั้งเป็นการยากที่จะแยกแยะว่าบุคคลใดเป็นทหารหรือไม่หากอยู่ในชุด พลเรือน  และยากที่ไทยจะป้องกันไม่ให้มีชาวกัมพูชาเข้ามาอาศัยเพิ่มขึ้นอีก  หรือมีการก่อสร้างอะไรเพิ่มเติม  อันเป็นการรุกล้ำอธิปไตยของไทยในพื้นที่พิพาทดังกล่าว  เพื่อให้มีหลักประกันที่จะป้องกันปัญหาดังกล่าว  จึงมีความจำเป็นที่จะต้องจัดทำข้อตกลงที่เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้เกิด ความชัดเจนและยืนยันตรวจสอบกันได้ในเรื่องดังกล่าวด้วย

 นอกจากนี้การที่ต้องยอมให้ตลาด วัด และชุมชนของกัมพูชาที่อยู่ในพื้นที่พิพาทบริเวณเขาพระวิหารอยู่ต่อไป  รวมทั้งการให้เจ้าหน้าที่ของกัมพูชาที่มิใช่ทหารเข้าไปประจำการในส่วนที่จำ เป็นต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและทรัพย์สินของกัมพูชาในพื้นที่ พิพาทดังกล่าวนั้น  เป็นการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ  พ.ศ. 2504  ที่มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาตามมาในปี พ.ศ. 2541 กำหนดให้ป่าเขาพระวิหารเป็นอุทยานแห่งชาติ  ซึ่งพื้นที่  PDZ  อยู่ภายในบริเวณอุทยานแห่งชาติดังกล่าว 


ทั้งนี้ตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว  ห้ามมิให้ผู้ใดยึดถือหรือครอบครองที่ดิน ก่นสร้าง แผ้วถาง หรือเผาป่า  เก็บหา  นำออกไป  ทำด้วยประการใดๆ ให้เป็นอันตรายหรือทำให้เสื่อมสภาพซึ่งไม้  แร่หรือทรัพยากรธรรมชาติอื่น  ปิดหรือทำให้กีดขวางแก่ทางน้ำหรือทางบก  เป็นต้น  ดังนั้นการปล่อยให้ชุมชนและเจ้าหน้าที่กัมพูชากระทำการดังกล่าวในพื้นที่ อุทยานแห่งชาติ  จึงเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย  รัฐบาลจึงต้องพิจารณาดำเนินการแก้ไขประเด็นข้อกฎหมายในเรื่องนี้ดังกล่าวนี้ ด้วย 

3.3 ในการปฏิบัติตามคำสั่งศาลข้อ (2)  ไทยต้องยอมไม่ขัดขวางการเข้าถึงอย่างอิสระของกัมพูชาไปยังปราสาทพระวิหาร  หรือการจัดส่งเสบียงของกัมพูชาให้เจ้าหน้าที่ที่ไม่ใช่ทหารของตนในปราสาทพระ วิหาร ซึ่งกัมพูชาอาจใช้เส้นทางเข้าถึงไปยังปราสาทพระวิหารที่เป็นการรุกล้ำ อธิปไตยของไทยในพื้นที่พิพาทได้ 


เนื่องจากปัจจุบันมีทางเข้าถึงปราสาทพระวิหารได้ถึง 3 ทาง คือ ทางบันไดทางขึ้นใหญ่ทางทิศเหนือ  ทางบันไดทางขึ้นทางทิศตะวันออกตรงช่องบันไดหัก  และทางถนนทางทิศตะวันตกจากบ้านโกมุยในฝั่งกัมพูชาที่กัมพูชาได้สร้างรุกล้ำ ผ่านพื้นที่พิพาท 4.6 กม. ขึ้นไปยังปราสาทพระวิหาร
 

สำหรับบันไดทางขึ้นทางทิศตะวันออกซึ่งมีความสูงชันมากนั้น  เดิมเป็นบันไดหินขนาดเล็กและมีหลายส่วนที่ชำรุดเสียหาย  แต่ปัจจุบันกัมพูชาได้สร้างบันไดไม้คร่อมบนบันไดหินดังกล่าว  เพื่อให้นักท่องเที่ยวใช้เป็นเส้นทางเดินขึ้นไปเยี่ยมชมปราสาทพระวิหาร  สำหรับบันไดทางขึ้นใหญ่ทางทิศเหนือและถนนทางทิศตะวันตกจากบ้านโกมุย  หากกัมพูชาจะใช้ผ่านขึ้นไปยังปราสาทพระวิหารจะต้องผ่านพื้นที่พิพาท 4.6 กม.  ดังนั้นไทยจึงไม่ควรให้กัมพูชาผ่านไปยังปราสาทพระวิหารโดยใช้สองเส้นทางนี้ 
 

ไทยควรต้องเจรจาตกลงกับกัมพูชาให้กัมพูชาใช้เฉพาะบันไดทางขึ้นทางทิศ ตะวันออกดังกล่าวเพื่อขึ้นไปถึงยังปราสาทพระวิหารเท่านั้น  ส่วนทางขึ้นอื่นควรใช้ได้เฉพาะเมื่อมีเหตุผลจำเป็นอันไม่สามารถหลีกเลี่ยง ได้ทั้งนี้ตามเงื่อนไขที่ทั้งไทยและกัมพูชาจะได้ตกลงกัน  แต่ทางที่ดีที่สุดควรให้กัมพูชาใช้ทางขึ้นเฉพาะทางบันไดทางทิศตะวันออกดัง กล่าวเท่านั้น  ทั้งนี้ข้อสรุปจากการเจรจาดังกล่าวจำเป็นต้องทำเป็นข้อตกลงที่เป็นลายลักษณ์ อักษรเพื่อให้เกิดความชัดเจนและยืนยันตรวจสอบกันได้   
             
 3.4 ใน การปฏิบัติตามคำสั่งศาลข้อ (3)  ไทยต้องอนุญาตให้คณะผู้สังเกตการณ์ที่แต่งตั้งโดยอาเซียนเข้าไปยังเขตปลอด ทหารชั่วคราวดังกล่าวได้


ทั้งนี้คำสั่งนี้ศาลไม่ได้กำหนดว่า  คณะผู้สังเกตการณ์จะต้องเข้าไปในเขตปลอดทหารชั่วคราวในทันทีหรือก่อนที่จะมี การถอนกำลังทหารออกจาก PDZ   แต่ปรากฏว่า นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา กลับออกมาแถลงยืนยันว่า ทหารกัมพูชาจะถอนออกจากเขตดังกล่าวก็ต่อเมื่อคณะผู้สังเกตการณ์ได้เข้าไปใน เขตดังกล่าวก่อน  การกระทำดังกล่าวของนายฮุน เซน จึงเป็นการไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องกับคำสั่งศาล  เพราะศาลสั่งตามข้อ (1) ให้ถอนกำลังทหารทั้งสองฝ่ายออกจากเขตปลอดทหารชั่วคราวในทันที  แต่ไม่ได้สั่งตามข้อ (3) ว่าคณะผู้สังเกตการณ์ต้องเข้าไปยังเขตดังกล่าวในทันทีหรือก่อนที่จะมีการถอน กำลังทหารของทั้งสองฝ่าย


อย่างไรก็ตามก่อนที่ศาลโลกจะมีคำสั่งดังกล่าว  ในการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนที่ประเทศ อินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2554  ไทยและกัมพูชาได้ให้คำมั่นต่อกันและต่ออาเซียนที่จะไม่ให้เกิดการปะทะกัน อีก  และเพื่อให้ความมั่นใจต่อกัน ต่ออาเซียน และต่อประชาคมโลก  ทั้งสองประเทศได้เชิญรัฐบาลอินโดนีเซียให้ส่งคณะผู้สังเกตการณ์ไปในพื้นที่ บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา  ฝั่งละ 15 คน  โดยอินโดนีเซียจะได้มีหนังสือถึงไทยและกัมพูชาเกี่ยวกับขอบเขตอำนาจหน้าที่ ของคณะผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย (TOR) 


แต่หลังจากนั้นไทยและกัมพูชาก็ยังไม่สามารถตกลงเงื่อนไขการส่งคณะผู้ สังเกตการณ์อินโดนีเซียไปในพื้นที่ดังกล่าวได้  เนื่องจากไทยยืนยันว่าคณะผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียจะเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ ได้ก็ต่อเมื่อกองกำลังกัมพูชาต้องถอนออกจากปราสาทพระวิหาร วัดแก้วสิกขาคีรีสะวารา  ชุมชน และตลาดก่อน  ทั้งนี้หากคณะผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียเข้าไปโดยที่ยังมีกองกำลังกัมพูชา อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวเท่ากับเป็นการยอมรับการกระทำดังกล่าวของกัมพูชา  อีกทั้งยังเป็นการยอมรับการสูญเสียอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนไทย  แต่กัมพูชาปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามที่ไทยยืนยัน  ดังนั้นคณะผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียจึงยังไม่สามารถเขาปฏิบัติหน้าที่ได้ 


แต่เมื่อศาลโลกมีคำสั่งตามข้อ (1) ให้ทั้งสองฝ่ายถอนฝ่ายถอนกำลังทหารออกจาก PDZ  การส่งคณะผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียเข้าไปปฏิบัติหน้าที่จึงไม่น่าจะมีปัญหา อีกต่อไป  ยกเว้นในกรณีที่นายฮุน เซน ยังคงยืนยันว่า ทหารกัมพูชาจะถอนออกจากเขตดังกล่าวก็ต่อเมื่อคณะผู้สังเกตการณ์ได้เข้าไปใน เขตดังกล่าวก่อน    อย่างไรก็ตามคงต้องรอให้มีการตกลงในรายละเอียดและการลงนามรับรอง TOR ดังกล่าวเสร็จสิ้นสมบูรณ์ก่อน    


3.5 ในการปฏิบัติตามคำสั่งศาลข้อ (4)  กัมพูชาอาจอ้างว่าการคัดค้านแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารที่กัมพูชาเสนอ ต่อคณะกรรมการมรดกโลกโดยฝ่ายไทยนั้น  เป็นการกระทำให้ข้อพิพาทเลวร้ายลงหรือเกิดมากขึ้น 


เนื่องจากคำสั่งศาลข้อนี้ให้ไทยต้องงดเว้นจากการกระทำใดๆ ที่อาจทำให้ข้อพิพาทที่ปรากฏต่อศาลเลวร้ายลงหรือเกิดมากขึ้น  หรือทำให้มันยากยิ่งขึ้นที่จะแก้ไข  ดังนั้นหากไทยยังคงดำเนินการคัดค้านแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารของ กัมพูชาต่อไป  ไทยจำเป็นต้องทำความเข้าใจกับประเทศต่างๆ ว่า  การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปด้วยเจตนาอันบริสุทธิ์ที่จะปกป้องอธิปไตยของไทย เนื่องจากแผนบริหารจัดการดังกล่าวกัมพูชามีการกำหนดเขตกันชน (Buffer zone) ที่ไม่ชัดเจนซึ่งอาจรุกล้ำเข้ามาในเขตไทย  รวมทั้งต้องเรียกร้องอย่างเป็นทางการให้คณะกรรมการมรดกโลกชะลอการพิจารณา อนุมัติแผนบริหารจัดการดังกล่าวไว้ก่อนจนกว่าศาลโลกจะมีคำตัดสินเกี่ยวกับ การตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารที่ศาลโลกได้ตัดสินเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2505 ตามที่กัมพูชาร้องขอ
 

4. การดำเนินการเพื่อให้การปฏิบัติตามคำสั่งของศาลโลกของรัฐบาลเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ

ตามที่กล่าวมาแล้วในข้อ 2  รัฐบาลได้ดำเนินการให้ประธานรัฐสภาเปิดการประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อให้มี การอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติตามรัฐธรรมนูญ  มาตรา 179  ต่อกรณีการปฏิบัติตามคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก  แต่การดำเนินการดังกล่าวเป็นเพียงการเปิดโอกาสให้รัฐสภาได้รับทราบและแสดง ความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าวโดยไม่มีการลงมติใดๆ  ทั้งนี้รัฐบาลได้อ้างว่ามิใช่เป็นเรื่องการจัดทำหนังสือสัญญาตามรัฐธรรมนูญ  มาตรา 190  จึงไม่ต้องเสนอให้รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบ


 แต่หากพิจารณาให้รอบคอบและถี่ถ้วนแล้ว  จะเห็นว่าในการปฏิบัติตามคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลกนั้น  มีความจำเป็นอย่างยิ่งและหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องทำข้อตกลงเป็นลายลักษณ์ อักษรกับกัมพูชาในหลายเรื่องตามที่ได้กล่าวมาแล้วในข้อ 3 เพื่อให้เกิดความชัดเจนและยืนยันตรวจสอบกันได้  อันจะเป็นการป้องกันปัญหาความขัดแย้งที่อาจมีขึ้น 



ยิ่งไปกว่านั้นคำสั่งศาลข้อ (1) ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในข้อ 3.1 เป็นคำสั่งที่ล่วงล้ำอำนาจอธิปไตยของไทย เนื่องจากมีการกำหนด PDZ ให้รวมถึงพื้นที่ที่อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของไทยซึ่งไม่ได้เป็นพื้นที่ พิพาทแต่อย่างใด  อีกทั้งมีประชาชนจำนวนมากรวมทั้งกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไม่ เห็นด้วยกับการถอนกำลังทหารดังกล่าว  ดังนั้นหากมีการดำเนินการถอนทหารดังกล่าวคงจะมีประชาชนจำนวนมากในหลาย จังหวัดออกมาประท้วงในเรื่องนี้  ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางสังคมอย่างกว้างขวาง



ดังนั้นการปฏิบัติตามคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก  จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งและหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่รัฐบาลจะต้องจัดทำหนังสือ สัญญาเพื่อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรกับกัมพูชา  ซึ่งหนังสือสัญญาดังกล่าวมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางสังคมอย่างกว้างขวาง  จึงเข้าองค์ประกอบของหนังสือสัญญาตามรัฐธรรมนูญ  มาตรา 190 วรรคสอง   ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา


นอกจากนั้น  ก่อนดำเนินการเพื่อจัดทำหนังสือสัญญาดังกล่าว  ครม. ต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน  รวมทั้งต้องชี้แจงและเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบด้วย  ตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ  มาตรา 190 วรรคสาม  และเมื่อลงนามในหนังสือสัญญาดังกล่าวแล้ว  ก่อนที่จะแสดงเจตนาให้มีผลผูกพัน  คณะรัฐมนตรีต้องให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายละเอียดของหนังสือสัญญานั้น  และในกรณีที่การปฏิบัติตามหนังสือสัญญาดังกล่าวก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน หรือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม  ครม. ต้องดำเนินการแก้ไขหรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบนั้นอย่างรวดเร็ว  เหมาะสม และเป็นธรรม  ตามที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ  มาตรา 190 วรรคสี่ 


 การประชุมร่วมกันของรัฐสภาที่มีขึ้นในวันที่ 15 พ.ย. 2554  เพื่อให้มีการอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติตามรัฐธรรมนูญ  มาตรา 179  ต่อกรณีการปฏิบัติตามคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลกนั้น  จึงไม่น่าจะมีประโยชน์ด้วยเหตุผลที่กล่าวข้างต้น  ดังนั้นรัฐบาลจึงควรต้องดำเนินการให้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาเพื่อชี้ แจงและเสนอกรอบการเจรจากับกัมพูชาในการปฏิบัติตามคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่ว คราวของศาลโลกเพื่อขอความเห็นชอบของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ  มาตรา 190 วรรคสามก่อน 


นอกจากนี้ศาลโลกได้กำหนดให้ไทยต้องส่งข้อสังเกตที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Written Observation) ให้ศาลภายในวันที่  21 พ.ย. 2554  สำหรับการพิจารณาคำร้องที่กัมพูชาร้องขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาคดีปราสาท พระวิหาร  ซึ่งในเรื่องนี้กระทรวงการต่างประเทศได้แถลงต่อสื่อมวลชนว่า  หลังจากศาลได้มีคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราว  นายวีรชัย  พลาศรัย ตัวแทน (agent) ฝ่ายไทย  ได้ร่วมหารือกับที่ปรึกษากฎหมายของไทยที่กรุงปารีส  ในเรื่องการจัดทำร่างข้อสังเกตดังกล่าวแล้ว  สำหรับเรื่องนี้รัฐบาลไม่ควรปล่อยให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้รับผิดชอบ ต่อสู้คดีนี้แต่เพียงฝ่ายเดียว  ควรให้ผู้ที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจากภาคส่วนต่างๆ  ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยดำเนินการต่อสู้คดีด้วย  โดยอาจตั้งเป็นรูปของคณะกรรมการกลาง  นอกจากนี้กระทรวงการต่างประเทศควรแปลเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวกับคำสั่งศาลโลก เมื่อวันที่ 18 ก.ค. นี้  เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบข้อมูล


(โดย ดร.สุวันชัย  แสงสุขเอี่ยม  กรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และอดีตสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)


 มติชนออนไลน์

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง