บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กต."พร้อมสู้"ศึกศาลโลก"ไทย-เขมร"


คมชัดลึก : เตรียมการมาเป็นปีแล้ว สำหรับกรณีการที่กัมพูชายื่นขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษา เมื่อปี 2505 เป็นกระบวนการซึ่งได้เริ่มแล้ว เป็นสิทธิของกัมพูชาที่จะยื่นได้ เพียงแต่ไทยไม่รู้ว่ากัมพูชาจะใช้สิทธิเมื่อไร หากยื่นคำร้องแล้ว ประเด็นที่อยากให้ประชาชนเข้าใจชัดเจนคือ คำร้องของกัมพูชามี 2 คำร้อง


 คำร้องแรก คือขอให้ศาลมีมาตรการชั่วคราว
 คำร้องที่สอง คือขอให้ศาลโลกตีความในเรื่องคำตัดสิน โดยเฉพาะประเด็นที่ระบุเขตบริเวณใกล้เคียงกับปราสาทพระวิหาร ขอให้ทหารไทย ตำรวจไทย และเจ้าหน้าที่ไทย ถอนกำลังออกจากพื้นที่ปราสาทและพื้นที่ข้างเคียง
  ในประเด็นนี้กัมพูชาขอให้ศาลโลกตัดสินตามระเบียบของศาลโลก คู่กรณีสามารถที่จะร้องขอได้ ในส่วนของไทย ในฐานะที่ป็นคู่กรณีของคดีนี้ ได้เข้าไปร่วมเพื่อจะให้ข้อมูลในส่วนของไทยให้ทางศาลโลกได้พิจารณาด้วย เพื่อศาลจะไม่ได้ฟังความข้างเดียว
 ในส่วนของอาเซียน ใน 4 ปีข้างหน้า อาเซียนกำหนดให้ 10 ประเทศสมาชิกรวมตัวกันเป็นชุมชนเดียว ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา เป็นหนึ่งในบททดสอบที่สำคัญว่า สมาชิกในกลุ่มอาเซียนจะสามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในครอบครัว ได้หรือไม่ เมื่อรวมตัวกันอยู่ในกรอบของอาเซียน ความเป็นสมาชิกสมาคมอาเซียนที่มีผลประโยชน์ต่างๆ ร่วมกัน เป้าหมายร่วมกัน ในที่สุด คิดว่าจะสามารถแก้ไขได้ด้วยสันติวิธี
 เมื่อพิจารณาคำร้องของกัมพูชา ที่ยื่นต่อศาลโลกครั้งนี้ ในส่วนของคำร้อง กัมพูชาขอให้ศาลโลกตีความว่า พื้นที่ข้างเคียงปราสาทพระวิหารนั้นเป็นของใคร ทหารไทยต้องถอนหรือไม่ ถ้าศาลตัดสินออกมาอย่างไร ไทยก็ต้องเคารพ หากมีการชี้พื้นที่ ในที่สุดศาลอาจจะไม่ได้ชี้ก็ได้ กัมพูชาต้องการให้มีความชัดเจนว่านอกจากตัวปราสาทพระวิหารแล้ว พื้นที่ข้างเคียว เนื่องจากไทยและเขมรมีการใช้แผนที่คนละฉบับ พื้นที่ที่ไทยถืออยู่ พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรนั้น เป็นของไทย ทางกัมพูชาก็ถือว่าเป็นของกัมพูชา
 คำร้องนี้ อยู่ในรอบ 4.6 ไม่ใช่พื้นที่ทั้งหมดของ 4.6 ด้วยซ้ำไป การที่จะเสนอให้พิจารณาคดีใหม่นั้น ตามกฎหมายแล้ว ต้องทำภายใน 10 ปี ตั้งแต่เมื่อมีคำตัดสินออกมา หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีหลักฐานใหม่ เป็นหลักฐานซึ่งมีความสำคัญ มีผลต่อคำตัดสินใจ แต่เลยเวลาไปแล้ว ในกรณีนี้ไม่ใช่การร้องใหม่ เป็นเรื่องของการให้ตีความคำตัดสินเดิมให้มีความชัดเจนขึ้น ในกรณีนี้ดูว่าพื้นที่ที่ศาลจะชี้มีแค่ไหนอย่างไร ศาลอาจจะพิจารณาคำร้องของเขมร นอกเหนือจากคำตัดสิน และศาลอาจจะไม่พิจารณาเพิ่มเติมก็ได้
 ความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชานี้  ในที่สุดแล้วปัญหาต่างๆ จะจบอย่างถาวรด้วยการมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน ไม่ใช่ที่ศาลโลก
 นโยบายไทยมีความชัดเจนในเรื่องความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนหนึ่งต้องพิจารณาดูปัจจัยของฝ่ายกัมพูชา ไม่ว่าการเมือง ผลประโยชน์ ต้องการจะรื้อฟื้นขึ้นมาในกรณีนี้เพื่ออะไร อย่างไร สิทธิในการปกป้อง แต่ไทยไม่เป็นฝ่ายรุก ตามนโยบายต่างประเทศ ได้พยายามส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับประชาชน ความเกี่ยวโยงวัฒนธรรม ต้องยอมรับข้อเท็จจริงว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นครั้งนี้ เป็นเรื่องของผู้นำในเมืองหลวง ไม่ใช่ประชาชนกัมพูชา
 ประชาชนทั้งสองฝั่งที่อยู่ชายแดนนั้น มีความสัมพันธ์กันดี ค้าขายกัน แลกเปลี่ยนสินค้ากัน แต่พื้นที่กัมพูชา ประชาชนไม่มีสิทธิ์มีเสียงอะไรเลย ทั้งหมดขึ้นอยู่กับส่วนกลาง อยากให้เข้าใจว่า ทุกอย่างที่ทำ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศชาติอย่างเต็มที่ อยากให้ทุกกลุ่ม ทุกฝ่าย ต้องมีความคิด แนวทาง ไปในทางสอดคล้องและสนับสนุนซึ่งกันและกัน การที่จะทะเลาะเบาะแว้งในเรื่องปัญหาภายในประเทศ ตามสังคมประชาธิปไตยก็ดำเนินไป
  ในช่วงที่มีกรณีอยู่ที่ศาลโลก โดยไม่มีผลประโยชน์ใดๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เป้าหมายในที่สุดของประเทศไทยต้องปรับความสัมพันธ์ให้ได้ จะเห็นว่า ไทยเปิดทุกประตู ปัญหาชายแดน ปัญหาเขตแดนเป็นปัญหาต่างหาก จะไม่เอามากระทบความสัมพันธ์ในมิติอื่นๆ คนไทยในกัมพูชาก็ยังอยู่ ให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
 ส่วนเรื่องมรดกโลกนั้น ท่าทีโดยพื้นฐาน กระทรวงต่างประเทศไทย ขอให้ระงับการพิจารณาใดๆ ที่จะพัฒนาพื้นที่ในเขตใกล้เคียงกับปราสาทพระวิหารไว้ก่อน ควรจะรอให้ประเด็นในเรื่องปัญหาเขตแดนให้บรรลุ หาทางออกโดยสันติวิธี หากยังดำเนินการต่อไป อาจทำให้ปัญหาต่างๆ ขณะนี้รุนแรงมากขึ้นก็ได้
 ในที่ประชุมมรดกโลกนั้น  กัมพูชาได้รับการจดทะเบียนปราสาทพระวิหารไปแล้ว แต่มีปัญหาที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงถึงกับปะทะกันด้วยกำลังอาวุธ ด้วยกำลังทหารนั้น คือพื้นที่ขัดแย้งรอบๆ ปราสาทพระวิหารอยู่ในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ยังตกลงกันไม่ได้ คงต้องรอให้ศาลโลกตัดสินก่อน เพราะสองฝ่ายถือแผนที่คนละฉบับ
 ประเด็นความขัดแย้งของสองฝ่ายอยู่ที่กัมพูชาต้องเสนอแผนพัฒนาพื้นที่ รอบๆ 4.6 ตารางกิโลเมตร ส่วนฝ่ายไทยก็ยังอ้างสิทธิเป็นเจ้าของอยู่ด้วย
 หากพื้นที่นี้ไม่สามารถตกลงกันได้ การรบก็ยังมีวันปะทุอีก
เจษฎา กตเวทิน
รองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

คุยกับอภิสิทธ์ เรื่อง ไทย-กัมพูชา


MusicPlaylistView Profile
Create a playlist at MixPod.com

กดที่videoเพื่อขยายจอ

เตียบัญเผยป้อมเห็นชอบให้อินโดฯกำหนดวันส่งทีมล่วงหน้า

Posted on by n/e - 12:49 น.

ฟิฟทีนมูฟ – เตีย บัญ กลับถึงพนมเปญ เผย ไทย-เขมร เห็นชอบให้อินโดฯ กำหนดวันส่งทีมล่วงหน้าของผู้สังเกตการณ์ ก่อนส่งทีมผู้สังเกตการณ์ลงพื้นที่ขัดแย้ง ประวิตรเสนอประเด็นสำคัญให้ทีมล่วงหน้าแต่งชุดพลเรือน อินโดฯ-จีน ขอให้แก้ความขัดแย้งด้วยสันติวิธี
พลเอก เตีย บัญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชา
แฟ้มภาพ: พลเอก เตีย บัญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชา
พลเอก เตีย บัญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชา เผยผลการหารือนอกรอบกับรักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทย ภายหลังเดินทางกลับจากการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ ๕ ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อช่วงสายที่ผ่านมา (๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔) ตามรายงานของสำนักข่าวซีอีเอ็นของกัมพูชา

รัฐมนตรีกลาโหมกัมพูชายืนยันกับผู้สื่อข่าวที่สนามบินแห่งชาติกรุง พนมเปญว่า รัฐมนตรีกลาโหมของไทย พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้เห็นพ้องกับตนว่า ให้ประเทศอินโดนีเซียกำหนดวันที่ชัดเจนในการส่งผู้ตรวจสภาพการณ์ หรือทีมล่วงหน้าของผู้สังเกตการณ์ มายังพื้นที่ขัดแย้งพรมแดนกัมพูชา-ไทย เพื่อตรวจสอบก่อนจะส่งผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียมาประจำพื้นที่ ซึ่งพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ เสนอให้ทีมล่วงหน้าแต่งกายในชุดพลเรือน
นอกจากนี้ พลเอกเตีย บัญ ยังกล่าวอีกว่า ในการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน ได้เรียกร้องให้กัมพูชาและไทยแก้ปัญหาความขัดแย้งร่วมกันโดยสันติวิธี และในการหารือนอกรอบกับรัฐมนตรีกลาโหมจีนที่กรุงจาการ์ตา จีนได้เรียกร้องให้แก้ปัญหาโดยสันติวิธีเช่นกัน

เขมรโต้ไทยไม่มีสิทธิ์ขอเลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการฯ

เขมรโต้ไทยไม่มีสิทธิ์ขอเลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการฯ
Posted on 21 May 2011 by n/e - 16:45 น.

ฟิฟทีนมูฟ — โฆษกสำนักนายกฯ เขมรโต้ ไทยไม่มีอำนาจขอเลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารในการประชุมมรดกโลก เผยซก อาน เตรียมขนคณะไปร่วมประชุมจันทร์นี้ ระบุเป็นการหารือไตรภาคีระหว่างไทย เขมรและยูเนสโก และไทยควรเตรียมหาข้อแก้ตัวเรื่องการยิงปืนใหญ่ทำลายปราสาท

นายไพ ซีพาน โฆษกสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา
แฟ้มภาพ: นายไพ ซีพาน โฆษกสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา

โฆษกสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ช่วงบ่ายวันนี้ (๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔) แถลงตอบโต้กรณีที่ นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทย เสนอเลื่อนการประชุมพิจารณาแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหาร โดยระบุว่าไทยไม่มีอำนาจในการเสนอเรื่องดังกล่าวและควรเตรียมหาพยานหลักฐานแก้ต่างในกรณีที่ได้ใช้ปืนใหญ่ยิงทำลายปราสาทพระวิหาร ทั้งนี้ ตามรายงานของเว็บไซต์บายนทีวี และหนังสือพิมพ์กัมพูชาใหม่ เมื่อช่วงบ่าย

นายไพ ซีพาน1 โฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี และเป็นคณะกรรมาธิการมรดกโลกของกัมพูชา กล่าวว่า ในวันจันทร์ที่จะถึงนี้  ฯพณฯ ดร.ซก อาน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จะนำคณะตัวแทนกัมพูชาไปร่วมเวทีไตรภาคีระหว่างกัมพูชา ไทย และองค์การยูเนสโก เกี่ยวกับการอนุรักษ์และพัฒนาปราสาทพระวิหาร โดยเฉพาะเวทีการหารือในเรื่องการรุกรานของกองทัพไทย ต่อปราสาทพระวิหารในระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นายไพ ยังได้กล่าวอีกว่า ไทยไม่มีอำนาจในการเสนอให้เลื่อนการประชุมดังกล่าว และในเวทีนี้ฝ่ายไทยควรแสวงหาพยานหลักฐานต่าง ๆ เพื่อยืนยันต่อหน้าตัวแทนพิเศษขององค์การยูเนสโก เกี่ยวกับการทำลายปราสาทพระวิหารด้วยการยิงปืนใหญ่เข้าใส่

การประชุมที่ศูนย์มรดกโลก กรุงปารีส ในวันที่ ๒๕–๒๖ พฤษาภาคม ที่จะถึงนี้ จะมีการหารือกำหนดระเบียบวาระการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกเดือนมิถุนายน ซึ่งการหารือสามฝ่ายระหว่างไทย กัมพูชา และยูเนสโกที่จะมีขึ้นพร้อมกันนั้น เป็นไปตามการเห็นชอบเมื่อครั้งที่ผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก ส่งทูตพิเศษชาวญี่ปุ่นเดินทางเข้าพบนายกรัฐมนตรีไทยและกัมพูชา หลังการปะทะทางทหารในพื้นที่ปราสาทพระวิหารเมื่อเดือนกุมภาพันธ์

เมื่อวันศุกร์ ที่ ๒๐ พฤษภาคม ที่ผ่านมา นายสุวิทย์ ได้เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่ประเทศฝรั่งเศส วันที่ ๒๕-๒๖ พฤษภาคมนี้ จะมีการประชุมทวิภาคีระหว่างไทย-กัมพูชา วันที่ ๒๕ ตนจะพบกับนายซก อาน เพื่อเจรจาหาแนวทางแก้ไขปัญหาการเผชิญหน้าระหว่างสองประเทศ และฝ่ายไทยจะขอให้มีการเลื่อนวาระการพิจารณาเรื่องที่ ๖๒ เกี่ยวกับการบริหารจัดการพื้นที่โดยรอบของปราสาทออกไปก่อน จนกว่าจะมีความชัดเจนในเรื่องการปักปันเขตแดน

“ฮุนเซน” เดินตามแผน ดันตาเมือน-ตาควาย ขึ้นศาลโลกแบบพระวิหาร โดย ASTV



บรรลุ เป้าหมาย-- ทหารกัมพูชาชุมนุมกันในชายป่าใกล้ชายแดนไทยด้าน จ.อุดรมีชัย ภาพถ่ายวันที่ 25 เม.ย.2554 ขณะการปะทะยืดเยื้อมาหลายวัน และ นายฮอนัมฮอง รมว.ต่างประเทศกำลังอยู่ในกรุงเฮก ดำเนินการขอให้ศาลโลกตีความคำตัดสินกรณีปราสาทพระวิหารที่อยู่ชายแดนอีกด้าน หนึ่ง การปะทะที่ชายแดนปราสาทตาเมือน-ตาควาย กัมพูชามีวัตถุประสงค์ไม่ต่างกันคือ นำความขัดแย้งเข้าสู่ศาลโลกเช่นกรณีพระวิหาร นายกฯ กัมพูชาฮุนเซนกล่าวว่า รัฐบาลกำลังดำเนินการเรื่องนี้ .-- AFP PHOTO.
      
ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ฮุนเซน กล่าวว่า กำลังเตรียมการเพื่อนำปัญหาชายแดนด้านปราสาทตาเมือน กับ ปราสาทตาควาย ทางด้าน จ.อุดรมีชัย-สุรินทร์ เข้าสู่ศาลโลกเพื่อให้พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ถ้าหากกัมพูชาและไทยไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ไม่เช่นนั้นการปะทะระหว่างสองฝ่ายก็จะไม่มีวันสิ้นสุด
      
       ฮุนเซน ระบุดังกล่าวระหว่างปราศรัยในพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างทางหลวงเลข 41 ใน จ.กัมปงสะปือ (Kampong Speu) ในวันพุธ 18 พ.ค.ที่ผ่านมา สำนักข่าวกัมพูชารายงาน
      
       ขณะเดียวกัน ในวันพฤหัสบดี ศาลระหว่างประเทศในกรุงเฮก เตรียมการเปิดไต่สวนนัดแรก เพื่อตีความคำพิพากษาเมื่อเกือบ 50 ปีก่อน ที่ตัดสินยกให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา ขณะที่ดินแดน 4.6 ตารางกิโลเมตรรอบๆ ยังเป็นกรณีพิพาทระหว่างสองประเทศสืบมาตั้งแต่นั้น
      
       “ถ้าหากความขัดแย้งที่ปราสาทตาเมือน กับ ตาควาย ไม่สามารถแก้ไขได้ในเร็ววัน เราสามารถเชื้อเชิญให้แต่ละฝ่ายไปพบกันที่ศาลระหว่างประเทศไทย ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างสันติ หรือไม่เช่นนั้นการต่อสู้ก็จะไม่มีวันสิ้นสุด” สำนักข่าวกัมพูชารายงานอ้างคำพูดของฮุนเซน
      
       ฮุนเซน กล่าวอีกว่า ศาลโลกจะช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้งที่ชายแดนปราสาทพระวิหารเช่นกัน และ กัมพูชาต้องการจะมีความสัมพันธ์อันดีกับไทยเช่นเดียวกับเพื่อนบ้านอีกสอง ประเทศคือ เวียดนาม กับ ลาว ฮุนเซน กล่าว
      
       ขณะเดียวกัน ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) ออกคำแถลงฉบับหนึ่งในวันพฤหัสบดี 19 พ.ค.แจ้งให้ทราบว่า กำลังจะเชิญ 2 ฝ่ายไปให้การกรณีปราสาทพระวิหารในชั้นแรก ระหว่างวันที่ 30-31 พ.ค.ศกนี้ ซึ่งจะเป็นการพิจารณาคำร้องขอเร่งด่วนของกัมพูชา ที่ขอให้ ICJ มีมาตรการปกป้องคุ้มครองปราสาทพระวิหาร
      
       “หมายความว่า การไต่สวนครั้งนี้จะพุ่งไปที่คำร้องขอเร่งด่วนของกัมพูชา เพื่อสั่งให้ไทยถอนทหาร” สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากนคกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ อ้างคำกล่าวของแหล่งข่าว
      
       ศาลโลกตัดสินในปี 2505 ให้ปราสาทเก่าแก่ตกเป็นของกัมพูชา แต่สองฝ่ายต่างกล่าวอ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่ 1.8 ตารางไมล์ (4.6 ตร.กม.) โดยรอบ
      
       รัฐบาลกัมพูชา ได้ยื่นต่อ ICJ ในปลายเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ให้ตีความคำพิพากษาเมื่อ 49 ปีที่แล้ว และขอให้ออกมาตรการเร่งด่วนเพื่อคุ้มครองปราสาทพระวิหารด้วย
      
       ทหารไทย-กัมพูชา ปะทะกันหลายครั้งที่ชายแดนด้านปราสาทพระวิหาร นับตั้งแต่ปี 2551 หลังจากกัมพูชานำปราสาทอายุ 1,000 ปี ไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแต่ฝ่ายเดียว ขณะที่เสนอแผนบริหารจัดการโดยครอบคลุมพื้นที่พิพาท การปะทะเริ่มขึ้นอีกในเดือน ก.พ.ปีนี้
      
       และในเดือน เม.ย.เกิดการปะทะปะทุขึ้นที่ชายแดนปราสาทตาเมือน-ประสาทตาควาย ห่างออกไปกว่า 100 กม.ทางตะวันตก ทหารสองฝ่ายเสียชีวิตกว่า 10 คน อีกจำนวนมากได้รับบาดเจ็บ และ ราษฎรไทย-กัมพูชากว่า 80,000 คน ได้รบผลกระทบจากการปะทะ ซึ่งหลายฝ่ายมองว่า กัมพูชาตั้งใจจะให้เกิดขึ้น
      
       
ฉลาดหลักแหลมแกมโกง


ภาพ วันที่ 26 เม.ย.2554 ทหารกัมพูชาโดยสารไปกับรถบรรทุกจรวด BM-21 ขณะวิ่งห้อสู่ชายแดนปราสาทตาเมือน-ตาควาย อันเป็นเหตุการณ์ที่หลายฝ่ายมองว่ากัมพูชามีเจตนาจะให้เกิดขึ้นเพื่อดำเนิน การในศาลโลก ทุกอย่างปรากฏชัดเจนมาเป็นลำดับ สัปดาห์นี้นายกรัฐมนตรีฮุนเซนกล่าวว่า กำลังเตรียมการดันกรณีปราสาทพิพาทที่ชายแดนด้าน จ.สุรินทร์ของไทย ขึ้นศาลระหว่างประเทศเช่นกรณีปราสาทพระวิหาร. -- AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy.
       
2


ภาพ วันที่ 26 เม.ย.2554 ทหารกัมพูชามองดูรถบรรทุกจรวด BM-21 ภายในที่ตั้ง จ.อุดรมีชัย ขณะการปะทะที่ชายแดนด้านปราสาทตาเมือน-ตาควาย ยืดเยื้อมาหลายวัน อันเป็นเหตุการณ์ที่หลายฝ่ายมองว่ากัมพูชามีเจตนาจะให้เกิดขึ้นเพื่อดำเนิน การในศาลโลก ความจริงปรากฏชัดเจนมาเป็นลำดับ สัปดาห์นี้นายกรัฐมนตรีฮุนเซนกล่าวว่า กำลังเตรียมการดันกรณีตาเมือน-ตาควาย ขึ้นศาลระหว่างประเทศเช่นกรณีปราสาทพระวิหาร.-- REUTERS/Stringer.
       
3


ภาพ วันที่ 26 เม.ย.2554 ทหารกัมพูชากับปืนกลในที่ตั้งใกล้ชายแดนปราสาทตาเมือน-ตาควาย ไกลออกไปในภาพมองเห็นสิ่งปลูกสร้างที่เข้าใจว่าเป็นบ้านเรือนของราษฎร กัมพูชากล่าวหาหลายครั้งว่าฝ่ายไทยยิงปืนใหญ่เข้าใส่หมู่บ้านใกล้ชายแดน ทำให้ต้องอพยพประชาชนหลายหมื่นออกจากพื้นที่ โฆษกกองทัพบกของไทยกล่าวว่า ฝ่ายข้าศึกยิงจากที่ไหนฝ่ายไทยก็จะยิงไปที่จุดนั้นตามหลักการตอบโต้ทั่วไป. -- AFP PHOTO.
       
4


ภาพ วันที่ 25 เม.ย.2554 ทหารกัมพูชากับบังเกอร์ที่ตั้งปืนกลในที่ตั้งใกล้ชายแดนปราสทตาเมือน-ตาควาย เบื้องหลังของภาพมีสิ่งปลูกสร้างที่เข้าใจว่าเป็นบ้านเรือนของราษฎร กัมพูชากล่าวหาหลายครั้งว่าฝ่ายไทยยิงปืนใหญ่เข้าใส่หมู่บ้านใกล้ชายแดน ทำให้ต้องอพยพประชาชนหลายหมื่นออกจากพื้นที่ โฆษกกองทัพบกของไทยกล่าวว่า ฝ่ายข้าศึกยิงจากที่ไหนฝ่ายไทยก็จะยิงไปที่จุดนั้นตามหลักการตอบโต้ทั่วไป. -- AFP PHOTO.
       
5


ภาพ วันที่ 25 เม.ย.2554 ทหารกัมพูชากับปืนกลในที่ตั้งใกล้ชายแดนปราสาทตาเมือน-ตาควาย เบื้องหลังของภาพมีสิ่งปลูกสร้างที่เข้าใจว่าเป็นบ้านเรือนของราษฎร กัมพูชากล่าวหาหลายครั้งว่าฝ่ายไทยยิงปืนใหญ่เข้าใส่หมู่บ้านใกล้ชายแดน ทำให้ต้องอพยพประชาชนหลายหมื่นออกจากพื้นที่ โฆษกกองทัพบกของไทยกล่าวว่า ฝ่ายข้าศึกยิงจากที่ไหนฝ่ายไทยก็จะยิงไปที่จุดนั้นตามหลักการตอบโต้ทั่วไป. -- AFP PHOTO.
       
6


ภาพ วันที่ 26 เม.ย.2554 ตำรวจกัมพูชาชี้ให้ผู้สื่อข่าวดูสิ่งที่เหลืออยู่หลังไฟไหม้ที่บ้านเรือนของ ราษฎรหลังหนึ่ง ใกล้ชายแดนปราสาทตาเมือน-ตาควาย ฝ่ายไทยกล่าวว่าทหารกัมพูชาใช้คนและหมู่บ้านเป็น "ตัวประกัน" ในการยิงต่อสู้กับทหารไทย แต่กรณีปราสาททั้งสองหลัง ซึ่งอยู่ห่างจากปราสาทพระวิหารกว่า 100 กม. กำลังจะเข้าสู่ศาลโลกเช่นกัน. -- AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy.
       
7


ภาพ วันที่ 26 เม.ย.2554 ตำรวจกัมพูชาชี้ให้ผู้สื่อข่าวดูโอ่งมังกรที่บ้านหลังหนึ่งซึ่งถูกไฟไหม้ ใกล้ชายแดนปราสาทตาเมือน-ตาควาย ฝ่ายไทยกล่าวว่าทหารกัมพูชาใช้คนและหมู่บ้านเป็น "ตัวประกัน" ในการยิงต่อสู้กับทหารไทย แต่กรณีปราสาททั้งสองหลัง ซึ่งอยู่ห่างจากปราสาทพระวิหารกว่า 100 กม. กำลังจะเข้าสู่ศาลโลกเช่นกัน. -- AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy.
       
8


ภาพ วันที่ 24 เม.ย.2554 ราษฎรกัมพูชาที่ได้รับผลกระทบจากการปะทะรอบใหม่ที่ชายแดนปราสาทตาเมือน-ตา ควาย ได้รับสิ่งของบรรเทาทุกจากสภากาชาดกัมพูชา รัฐบาลฮุนเซนเผยแพร่ภาพเช่นนี้ออกไปทั่วโลก เพื่อประกอบการกล่าวหาว่าไทย "ก้าวร้าวรุกราน" ละเมิดอธิปไตยกัมพูชา นายกฯ ฮุนเซนกล่าวในสัปดาห์นี้ว่า กำลังจะส่งกรณีปราสาททั้ง 2 หลังขึ้นศาลโลกเช่นกรณีปราสาทพระวิหาร. -- AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy.
       
9


ภาพ วันที่ 24 เม.ย.2554 ราษฎรไทยตามหมู่บ้านใกล้ชายแดนปราสาทตาเมือน-ตาควาย ที่ได้รับผลกระทบจากการยิงของฝ่ายกัมพูชา ถูกโยกย้ายไปยังสถานพักพิงชั่วคราว.o อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ ช่วงเดียวกันทหารไทยได้เก็บกู้จรวด BM-21 ซึ่งไม่ได้นำวิถี และฝ่ายกัมพูชายิงข้ามขตแดนเข้ามาจำนวนมากโดยไม่จำแนกเป้าหมาย ในการปะทะที่หลายฝ่ายมองว่าฝ่ายกัมพูชาต้องการที่จะให้เกิดขึ้น. -- AFP PHOTO/Pornchai Kittiwongsakul.

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง