บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ฮอเร่งร่างข้อตกลงไทย-เขมรรับผู้สังเกตการณ์อาเซียน


เอกสารแถลงข่าวกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๔ กรณีนายฮอ นำฮง ส่งจดหมายถึงรัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย เสนอร่างข้อตกลงที่ ๒ เกี่ยวกับการส่งผู้สังเกตการณ์ 


ฟิฟทีนมูฟ – ฮอ นำฮง เสนอร่างข้อตกลงที่สองระหว่างไทย-เขมร ไปยัง รมว.ต่างประเทศอินโดฯ เร่งส่งผู้สังเกตการณ์ลงพื้นที่ปราสาทพระวิหารเพื่อปฏิบัติตามมาตรการชั่ว คราวศาลโลก ส่วนโฆษกสำนักนายกฯ เขมร เผยเขมรทำหน้าที่ตนเองครบถ้วนแล้วยังเหลือแต่ฝ่ายไทย ระบุถอนทหารในพื้นที่ที่ไม่จำเป็นออกแล้ว ยังเหลือไว้ที่ปราสาทฯ รอผู้สังเกตการณ์มาถึง
ก่อนหน้านี้เมื่อ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔ กัมพูชาได้เสนอร่างข้อตกลงระหว่างไทยและกัมพูชา โดยมีอินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียนเป็นพยานลงนาม เพื่อปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ล่าสุดเมื่อ ๒๗ กรกฎาคม ตามเอกสารแถลงข่าวของกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา นายฮอ นำฮง รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา ได้ส่งจดหมายถึงนายมาร์ตี นาตาเลกาวา รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย เสนอร่างข้อตกลงที่สองในการจัดส่งผู้สังเกตการณ์ โดยเนื้อหาในจดหมายระบุว่า อ้างถึงจดหมายของตนลงวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๕๔ กรณีเสนอร่างข้อตกลงระหว่างราชอาณาจักรกัมพูชา และราชอาณาจักรไทย ในการปฏิบัติตามคำสั่งศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ตนใคร่ขอเสนอข้อตกลงที่สองซึ่งแนบมาด้วย

จดหมายระบุต่อว่า วัตถุประสงค์ของข้อตกลงใหม่นี้ เพื่อนำไปสู่การวางคณะผู้สังเกตการณ์ (IOT) เพื่อตรวจประเมินในพื้นที่ของเขตปลอดทหารตามมาตรการชั่วคราว (PDZ) และการตรวจสอบการถอนเจ้าหน้าที่ทหารของทั้งกัมพูชาและไทยอย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการทำงานของคณะผู้สังเกตการณ์ จดหมายระบุในตอนท้ายว่า หวังว่าอินโดนีเซียจะเร่งพิจารณาและตอบร่างข้อตกลงใหม่โดยเร็ว รวมถึงการตอบจากฝ่ายไทย นายฮอ นำฮง ได้ส่งสำเนาจดหมายดังกล่าวถึงรัฐมนตรีต่างประเทศไทยด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ เอกสารแถลงข่าวของกระทรวงต่างประเทศกัมพูชาไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดร่างข้อ ตกลงที่สองที่นายฮอ นำฮง อ้างถึง
นอกจากนี้ ตามรายงานข่าวของสำนักข่าวซีอีเอ็นของกัมพูชา (๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔) นายไพ ซีพาน โฆษกสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา เปิดเผยว่ากัมพูชายังไม่ได้รับการตอบรับจากฝ่ายไทย เกี่ยวกับการถอนทหารออกจากพื้นที่พิพาท ตามที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้มีมาตรการชั่วคราว ส่วนอินโดนีเซียเห็นว่าควรต้องรอรัฐบาลใหม่ของไทยเพื่อหารือในเรื่องนี้ นายไพ ซีพาน ระบุอีกว่ากัมพูชาได้ทำหน้าที่ของตนทุกอย่างแล้วในการตอบสนองต่อคำสั่งของ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ยังเหลือแต่ฝ่ายไทยเท่านั้น นอกจากนี้สถานการณ์ตามแนวชายแดนยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง กัมพูชาได้ลดจำนวนทหารลงในพื้นที่ที่ไม่มีความจำเป็น แต่ในพื้นที่พระวิหาร ทหารกัมพูชายังคงอยู่เช่นเดิมจนถึงเวลาที่ผู้สังเกตการณ์มาถึง

"สมปอง"ชี้ไทยไม่เสียดินแดนให้เขมร จี้กองทัพรับใช้ประเทศอย่างเต็มกำลัง

"สมปอง"ชี้ไทยไม่เสียดินแดนให้เขมร จี้กองทัพรับใช้ประเทศอย่างเต็มกำลัง "วัลย์วิภา"ดักคอรัฐบาลใหม่อย่า"เกี้ยเซียะ"รัฐบาลกัมพูชา


เมื่อเวลา 14.30 น. ที่ห้องประชุม ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช อาคารอเนกประสงค์ ชั้น 9 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ภาคีเครือข่ายผู้ติดตามสถานการณ์ปราสาท เขา พระวิหาร และเว็บไซต์ฟิฟทีนมูฟ จัดเสวนาหัวข้อ “15 กรกฎาคม ขึ้นเขา ออกทะเล” กำหนดผู้ร่วมในงานประมาณ 50 คน
ผู้ดำเนินการรายการระบุเหตุผล ตั้งหัวข้อเสวนา เพราะกัมพูชาเองให้ความสำคัญมากกับวันดังกล่าว เป็นวันกล่าวหาไทยรุกรานดินแดนบนเขาพระวิหารเมื่อ 15 ก.ค.2551 วันนั้น พลตรีกนก เนตระคเวสนะ ผู้บัญชาการกองกำลังสุรนารี(ยศขณะนั้น) นำกำลังทหารเพียง 20 นาย ขึ้นไปกดดันให้ทหารกัมพูชาปล่อย 3 คนไทยที่มุดรั้วลวดหนามไปนั่งประท้วงแสดงสิทธิในเขตดินแดนประเทศไทย และยังตรงกับการเชิญยกฐานธงชาติไทยมาทั้งฐานโดยไม่ลดธงลงจากจุดผาเป้ยตาดี หลังศาลโลกตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา และปัจจุบันศาลโลกตัดสิน ใช้มาตรการนอกเหนือคำขอของกัมพูชาโดยตีผังกลุ่มรูปสี่เหลี่ยมคางหมูเป็นเขต ปลอดทหาร คลุมพื้นที่มากกว่า 4.6 ตร.กม.ที่อ้างสิทธิกันอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นดินแดนประเทศไทย 
ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล อดีตผู้ร่วมคณะทนายความสู้คดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ.2505 นำการเสวนากล่าวตอนหนึ่ง เพื่อให้เข้าใจชัดเจนและไม่ใจเสียว่า ไทยเสียปราสาทพระวิหารและดินแดนโดยรอบไปแล้วนั้นว่า “ยังไม่เสีย” ไทยไม่ยอมรับคำตัดสินศาลโลก พันเอกถนัด คอมันตร์ รมว.ต่างประเทศ ทำหนังสือขอสงวนสิทธิไว้ต่อองค์การสหประชาชาติ และทหารไทยก็ล้อมรั้วรอบตัวปราสาท และเรียกเป็นเขตปราสาทพระวิหารไม่ได้เรียกเขตพรมแดนประเทศแต่อย่างใด เราอนุญาตให้กัมพูชาขึ้นมาได้ทางบันไดหักเท่านั้นเอง เมื่อเฮลิคอปเตอร์กัมพูชาบินขึ้นมา ทหารไทยก็ยิงตกยังมีหลักฐานอยู่
ซึ่งผู้พิพากษาศาลโลกเสียง ข้างมากก็ไม่ได้พิจารณาแผนที่ เขตแดน แต่ตัดสินในประเด็นกฎหมายปิดปาก ซึ่งกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ประท้วงไปแล้วอย่างสุภาพบุรุษคือไล่ทหารฝรั่งเศสไปถอดเครื่องแบบทหาร และว่ากล่าวเชิญมาแล้วทำไมต้องแต่งทหารและชักธงชาติฝรั่งเศสเหนือเขาพระ วิหารด้วย แต่ศาลมองไม่เห็นเป็นการประท้วง
"ประการสำคัญ ในทางปฏิบัติอย่างเป็นทางการ ประเทศไทยไม่เคยยอมรับว่าเสียดินแดน ไม่เคยส่งมอบดินแดนคืนให้ใคร เหมือนกรณีพิธีส่งมอบดินแดนเกาะฮ่องกงคืนประเทศจีน หลังอังกฤษบังคับเช่าครอบครองเป็นร้อยปี” 
ศ.ดร.สมปอง กล่าวอีกว่า ส่วนในทางทะเลนั้นก็ยืนยันชัดเจนว่า การประกาศสิทธิทะเลอาณาเขตและไหล่ทวีปของรัฐบาลในอดีตของกัมพูชาไม่ถูกต้อง ไม่มีกฎหมายระหว่างประเทศรองรับการทำแผนที่มั่วแบบนั้น ประการสำคัญเรื่องเขตแดนทางทะเลจะแยกจากเขตแดนทางทะเล ไม่นำมาโยงกัน และต้องบอกว่าน่าเสียใจเพราะประเทศไทยเป็นผู้นำในด้านกฎหมายทะเล เป็นประเทศประธานประชุมเรื่องนี้หลายท่าน และนอกนั้นก็ล้วนเป็นชาวเอเซีย แต่ปัจจุบันจะปล่อยให้มีการล่วงละเมิดทางทะเลหรือ เชื่อว่ากองทัพเรือไทยที่เข็มแข็งในย่านนี้คงไม่ยอมปล่อยให้ประเทศไทยเสีย เปรียบ และข้อให้ทำหน้าที่อย่างเต็มกำลัง 
ด้าน หม่อมหลวงวัลย์วิภา จรูญโรจน์ ภาคีเครือข่ายติดตามสถานการณ์ปราสาท เขาพระวิหาร กล่าวถึงการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทยกับกัมพูชา 2.6 หมื่นตร.กม. ตามบันทึกความเข้าใจร่วมไทย-กัมพูชา หรือเอ็มโอยู 2544 ซึ่งแปลกมากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย นายสุรเกียรติ เสถียรไทย ไปลงนามกับนายสก อัน แค่ที่ปรึกษารัฐบาล เป็นประธานองค์การปิโตรเลียมของกัมพูชา เมื่อ 18 มิ.ย.2544 และต่อมาลงนามในบันทึกข้อตกลงร่วมไทย-กัมพูชา หรือจอยท์คอมมูนิเก้ 2544 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับ นายกฯ ฮุน เซน
ซึ่งต่อมา คนไทยคิดว่าถูกเลิกไปแล้วในรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อ 15 พ.ย.2552 แต่ความจริงแค่แขวนไว้ แค่เหตุผลทางการเมืองต่อกระแสกดดันให้เลิก เอ็มโอยู 43 ยุคนายชวน หลีกภัย อันเป็นต้นเรื่องสืบเนื่องมาถึงเอ็มโอยู 44 ด้วย

“เชื่อว่าเอ็มโอยู 44 และจอยท์คอมมูนิเก้ 44 จะเดินตามโมเดล เอ็มโอยู 43 คือ รัฐบาลใหม่จะพูดว่าแนวเขตพรมแดนทางทะเลยังไม่ชัดเจน ดังนั้น ต้องเจรจากันก่อน ซึ่งเรื่องนี้ต้องไปดูในข้อ 14 ในฉบับภาษาอังกฤษ หรือข้อ 13 ในฉบับแปลภาษาไทยของกระทรวงต่างประเทศของไทย ระบุคณะกรรมการร่วม จะต้องดำเนินการขจัดอุปสรรคเขตแดนทางบกให้แล้วเสร็จเสียก่อน ซึ่งมีแนวโน้มทางบกจะสำเร็จตามที่กัมพูชาต้องการและได้เปรียบ”
ม.ล.วัลย์วิภา ขยายความถึงขั้นตอนสำคัญคือกระบวนการเจรจาสองประเทศ ซึ่งจะเดินไปเพื่อกัมพูชาได้ประโยชน์ เพราะรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พูดและเขียนไว้ให้เป็นหลักฐานเป็นคุณกับฝ่ายกัมพูชาที่นำไปเสนอในศาลโลก ข้อที่ว่า ไทยไม่เคยแสดงความชัดเจนเรื่องเขตแดนอยู่จุดไหน ไทยไม่เคยอ้างอธิปไตยอย่างเต็มที่ในบริเวณรอบปราสาทพระวิหาร ไทยไม่เคยยืนยันแผนที่ประเทศไทยมาตราส่วน 1 ต่อ 5 หมื่นในพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ตัวอย่างชัดเจนเมื่อ 7 คนไทยถูกจับที่บ้านหนองจาน นายกฯอภิสิทธิ์ไม่ยืนยันเป็นดินแดนไทย กลับใช้คำว่า ”เขตพื้นที่ปฏิบัติการ” ขณะที่กัมพูชายืนยันเป็นดินแดนของเขา อีกทั้งเมื่อกัมพูชายื่นร้องต่อคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ ก.ค.2551 ไทยก็ยื่นชี้แจงโต้ตอบเพียงแค่เขมรละเมิดเอ็มโอยู 43 ทั้งที่เอ็มโอยู 43 สอดแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสนที่ศาลโลกปี 2505 ไม่ได้รับพิจารณา
สุดท้ายในเวทีกล่าวฝากรัฐบาลใหม่ว่า อย่าดูหมิ่นประชาชนเหมือนรัฐบาลประชาธิปัตย์ ต้องรู้จักชี้เขตแดนประเทศไทยได้ ไม่รู้อาณาเขตประเทศไม่ได้ อย่าให้เรื่องผลประโยชน์พลังงานในทะเลมาเป็นตัวล่อเปิดช่องเจรจาเสียเปรียบ และจะต้องยกเลิกเอ็มโอยู 44 และเจซี 44 ไม่ผูกพันกับข้อตกลงที่ไม่มีกฎหมายระหว่างประเทศรองรับ รวมทั้งต้องช่วยนำนายวีระ สมความคิด นางสาวราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ 

กรุงเทพธุรกิจ

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง