บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ทีมสู้คดีปราสาทพระวิหารเตรียมให้การทางวาจาต่อศาลโลก


โดย Annie Handicraft



ใน เวลาประมาณ 21.00 น.วันนี้ ตามเวลาประเทศไทย นายวีรชัย พลาศัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ จะนำคณะทนายความของไทยเดินทางไปชี้แจงกับ ICJ หรือ ศาลโลก เพื่อต่อสู้คดี หลังรัฐบาลกัมพูชาทำเรื่องร้องเรียนไปยังศาลโลกเมื่อปลายเดือนเมษายน ให้มีการตีความคำพิพากษาศาลโลก เมื่อปี 2505 ที่ตัดสินยกปราสาทพระวิหารให้เป็นของกัมพูชา ...... แต่ไม่มีความชัดเจนในเรื่องพื้นที่ ซึ่งอยู่ในเขตอธิปไตยของกัมพูชา บริเวณรอบข้างตัวปราสาท .นอกจากข้อร้องเรียนในเรื่องการตีความ กัมพูชายังเสนอให้ศาลมีมาตรการชั่วคราวสั่งให้รัฐบาลไทยถอนทหารออกจากพื้นที่รอบปราสาท และยุติปฏิบัติการด้านการทหารในพื้นที่....... ศาลโลกจึงนัดฟังคำชี้แจงจากฝ่ายไทยและกัมพูชาในวันพรุ่งนี้

นาย วีรชัย กล่าวว่า การเข้าชี้แจงกับศาลโลกวันพรุ่งนี้ จัดขึ้นที่บริเวณอาคารปราสาทสันติภาพ ภายในศาลโลก โดยจะเป็นการชี้แจงเพื่อต่อสู้ต่อคำร้องของกัมพูชา ที่ขอให้ศาลมีมาตรการชั่วคราว ส่วนวันอังคารจะเป็นการไต่สวน

ขณะที่การกล่าวสรุปจากฝ่ายไทยจะเริ่มขึ้นในเวลา 17.00 น.ที่กรุงเฮก ซึ่งตรงกับเวลา 22.00 น.ของวันอังคาร ตามเวลาประเทศไทย

นอกจากนายวีรชัย ที่ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะทนายความฝ่ายไทยแล้ว รัฐบาลไทยได้จ้างทนายความต่างชาติจากฝรั่งเศส แคนาดา และออสเตรเลีย ช่วยว่าความในคดีนี้ด้วย โดยศาลโลกได้นัดตัวแทนฝ่ายกัมพูชาเข้าให้คำชี้แจงเป็นปากแรกในเวลา 10.00 น.วันพรุ่งนี้ ซึ่งตรงกับเวลา 15.00 น.ตามเวลาในประเทศไทย

จาก http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000065577
....................................................................

คำแย้งคำฟ้องกัมพูชา (ไม่ใช่จากรบ.):
- เรื่องความไม่ชัดเจนในเรื่องพื้นที่ตามที่กพช.อ้าง
1 จากรูปหลังจากศาลโลกได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชาในเดือน มิ.ย.2505 ในเดือนถัดมาไทยก็ได้ยื่นบันทึกต่อศาลโลกพร้อมแผนที่ฉบับนี้แสดงที่ตั้งของปราสาทพระวิหารกับบริเวณโดยรอบและเส้นเขตแดนตามแนวสันปันน้ำที่ไทยสงวนที่จะกล่าวอ้าง

ภาพล่างซ้ายแสดงให้เห็นว่าไทยยอมรับให้พื้นที่แก่ปราสาทที่กว้างที่สุดเพียง 100 เมตรเท่านั้น อาณาบริเวณข้างนอกเส้นปรุเป็นพื้นที่เขตสันปันน้ำ
จากวิถีพีเดีย
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%

2. จากศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อปีพศ.๒๕๐๕ วินิจฉัยคดีนี้แค่เรื่องเดียว คือ กัมพูชาหรือไทยเป็นเจ้าของบริเวณปราสาทพระวิหาร. ข้ออ้างเรื่องแผนที่เป็นแค่เหตุผลประกอบการวินิจฉัยว่าปราสาทฯตั้งอยู่ในกัมพูชาหรือไทย.

ศาลจึงวินิจฉัยว่า ปราสาทฯตั้งอยู่ในเขตกัมพูชา ดังนั้นไทยจึงต้องถอนกำลังออกจากปราสาทฯ หรือบริเวณใกล้เคียงตัวปราสาทฯบนอาณาเขตของกัมพูชา. ศาลย้ำว่า เรื่องแผนที่ฯและเส้นพรมแดนนั้นเป็นเพียงเหตุผลที่นำมาสู่ผลวินิจฉัย แต่ไม่ใช่เรื่องที่ศาลพิพากษาผูกพันไทย

3 ศจ. ดร.สมปอง สุจริตกุล
ศาลโลกจะพิจารณาพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรไม่ได้ มันคนละเรื่องกัน

4 คุณวีรพัฒน์ ปริยวงศ์
คำ ว่า “บริเวณใกล้เคียง” (Vicinity) สามารถตีความเทียบเคียงได้กับ “precincts” หรือ “Temple area” ซึ่งย่อมส่งผลให้คำพิพากษาจำกัดพื้นที่ของกัมพูชาว่าได้แก่บริเวณที่ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของตัวปราสาทฯเท่านั้น

Annie: จากความเห็นของ ศจ.ดร.สมปอง สุจริตกุล, คุณวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ พร้อมหลักฐานประกอบคือ คำตัดสินของศาลโลก และหลักฐานบันทึกต่อศาลโลกพร้อมแผนที่แสดงที่ตั้งของปราสาทพระวิหารกับบริเวณโดยรอบและเส้นเขตแดนตามแนวสันปันน้ำที่ไทยสงวนที่จะกล่าวอ้างนั้น หลังจากไทยส่งบันทึกต่อศาลโลกแล้ว เป็นที่น่าสังเกตุว่า ไม่เคยปรากฏว่ากัมพูชามีการคัดค้านบันทึกนี้แต่อย่างใด

จากสิ่งที่นำมากล่าวอ้างนี้ทั้งหมด ย่อมเป็นที่ปรากฎชัดว่า ความหมายและขอบเขตของคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้พิพากษาไว้เมื่อปี 2505 นั้นสมบูรณ์แล้ว และนับตั้งแต่เวลานั้นจนมาถึงปัจจุบัน ไทยยึดเอาตามความหมายอย่างแคบคือตัวประสาทจริงๆและได้มีการสร้างรั้วล้อม แต่สิ่งที่เขมรต้องการคือตัวประสาทในความหมายอย่างกว้างคือรวมทางขึ้นและพท. 4.6ตร.กม.

ซึ่งถ้ารัฐบาลยอมรับอำนาจ ICJ ผลอย่างแรก คือ เรายอมสละสิทธิ์ที่ไทยเคยสงวนไว้เมื่อปีพศ. 2505 และยอมให้ICJ เข้ามาพิจารณาตีความซึ่งสุ่มเสี่ยงมาก

- เรื่องกัมพูชายังเสนอให้ศาลมีมาตรการชั่วคราวสั่งให้รัฐบาลไทยถอนทหารออกจากพื้นที่รอบปราสาท และยุติปฏิบัติการด้านการทหารในพื้นที่
ศจ. ดร.สมปอง สุจริตกุล: ศาลโลกไม่มีอำนาจ ศาลโลกอาจจะสั่งได้แต่ว่าไม่มีใครเขาทำตาม

ครั้งแรกที่โกโบวาออกมาพูดหลังประชุมเสร็จแล้ว

UNESCO Director-General Irina Bokova Convenes meeting between Cambodia and Thailand to discuss conservation measures for Temple of Preah Vihear World Heritage Site

© UNESCO/Alison Clayson - The Preah Vihear temple

The Director-General of UNESCO has facilitated three days of bilateral and individual consultations between delegations from Cambodia (led by Vice-Prime Minister. Sok An) and Thailand (led by Suwit Khunkitti, Minister of Natural Resources and Environment) to discuss conservation issues concerning the World Heritage site of Preah Vihear. The meeting took place ahead of the forthcoming 35th session of the World Heritage Committee that will be held at UNESCO Headquarters in Paris from 19-29 June, 2011.

The meeting, held in an open atmosphere of dialogue and cooperation, sought to foster common understanding of the issues affecting the World Heritage site, and to reach agreement on enhancing its state of conservation following recent threats to the property.
The Director-General while expressing satisfaction that the two Parties had responded positively to her invitation and affirmed their will to protect and preserve the Temple from future potential damages, voiced her disappointment at the fact that no agreement was reached between the Parties on concrete steps ahead of the forthcoming World Heritage Committee session.
“I appeal to both countries to pursue efforts towards achieving a common agreement before the World Heritage Committee session in June in a spirit of cooperation and constructive dialogue” said the Director-General, Irina Bokova.
27.05.2011
Source: UNESCOPRESS

อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร 2541


อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร



ตั้งอยู่ในพื้นที่ของ อำเภอน้ำยืน อำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี และอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ มีเนื้อที่ประมาณ 81,250 ไร่ (130 ตารางกิโลเมตร) อาณาเขตด้านใต้ติดต่อกับประเทศกัมพูชา มีถนนและบันไดทางขึ้นสู่ปราสาทเขาพระวิหารบริเวณผามออีแดง ในตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 14 ก ลงวันที่ 20 มีนาคม 2541) นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 19 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 83 ของประเทศ



พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาพระวิหาร ป่าฝั่งลำโดมใหญ่ ท้องที่อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพื้นที่ป่าไม้ชายแดนให้เป็นพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ ห้ามเข้าไปและอาศัยอยู่โดยเด็ดขาด เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวยังคงความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้และเป็นแหล่งต้น น้ำลำธาร มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่มาก มีทัศนียภาพที่สวยงาม ตลอดจนโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และกรมป่าไม้กำหนดและประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ



อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารมีทัศนียภาพและทิวทัศน์ที่สวยงามอยู่หลายแห่ง เช่น จุดชมวิวผามออีแดง จุดชมวิวหน้าผาช่องโพย บริเวณป่าและสวนหินรอบสระตราว ถ้ำฤๅษี แหล่งตัดหิน สถูปคู่ ภาพสลักนูนต่ำใต้ผามออีแดง น้ำตกผาช่องโพย จุดชมวิว ภูเซี่ยงหม้อ ปราสาทโดนตวล และที่สำคัญคือ ปราสาทเขาพระวิหาร อันเป็นโบราณสถานสำคัญเก่าแก่ ที่เคยเป็นกรณีพิพาทระหว่างไทยกับประเทศกัมพูชา เมื่อพ.ศ. 2505 และในที่สุดศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ได้ตัดสินให้ตัวปราสาทอยู่ในอธิปไตยของประเทศกัมพูชา แต่ถนนและบันไดทางขึ้นสู่ปราสาทเขาพระวิหารอยู่ทางฝั่งไทย และพื้นที่ทางขึ้นบริเวณผามออีแดงที่จังหวัดศรีสะเกษเป็นทางขึ้นที่สะดวกที่สุด



ปราสาทเขาพระวิหารนับได้ว่าเป็นปราสาทขอมที่สำคัญแห่งหนึ่ง ทั้งในแง่ประวัติศาสตร์การก่อสร้างเทวสถานของฮินดู และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทั้งของไทยและกัมพูชาอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร มีเนื้อที่ 81,250 ไร่ และได้ประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 14 ก ลงวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2541 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 83 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของไทย

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง