บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อยู่ไปทำไม UNESCO ไสหัวออกไป

ก.ข.ค.การเมือง
อยู่ไปทำไม UNESCO ไสหัวออกไป
 "Since wars begin in the minds of men, it is in the minds of men that the defenses of peace must be constructed." 

 "ในเมื่อสงครามเริ่มเกิดที่ในใจของมนุษย์ก่อน ดังนั้นการปกป้องสันติภาพจึงต้องสร้างขึ้นในใจมนุษย์เช่นเดียวกัน" 

 อารัมภบทในกฎบัตรของยูเนสโก 

......................................................


 ท่านผู้อ่านที่เคารพ ผู้เขียนไม่ทราบจะยินดีหรือยินร้ายกันแน่กั บข่าวที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ รก.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ หัวหน้าคณะผู้แทนในนำประเทศไทย ถอนตัวออกจากสมาชิกภาพของคณะกรรมการมรดกโลก 

 แต่ที่ทราบก็คือ นายสุวิทย์ถูกเกลี้ยกล่อมโดยรัฐบาลไทย โดยนายกรัฐมนตรีหรือใครก็ไม่แจ้งว่าอย่าเพิ่งถอนตัวเลย สู้คอยต่อสู้อยู่ข้างใน เพื่อใช้จิตวิญญาณของ MOU 2543 ของพรรคประชาธิปัตย์นำสันติภาพและบูรณภาพแห่งดินแดนกลับคืนมาสู่ประเทศไทยเสียก่อนดีกว่า หรืออย่างน้อยก็รอหลังเลือกตั้งให้มันรู้ดำรู้แดงกันเสียก่อนว่า ระหว่างเพื่อไทยกับประชาธิปัตย์ใครจะปกป้องผลประ โยชน์และดินแดนของชาติได้ดีกว่ากัน ทั้งๆที่เวลานี้มันเหลวเป๋วไปแล้วด้วยความไร้ฝีมือและไร้สำนึกในความเป็นไทยของทั้งคู่ 

 เมื่อตอนยูเนสโกตั้งใหม่เมื่อปี 1945 นั้น มีประเทศผู้ก่อตั้งอยู่ 20 ประเทศ และวัตถุประสงค์ของยูเนสโกก็เพื่อจะธำรงสันติภาพของโลกและความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ โดยใช้การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือ 

 แต่ยังไม่ทันไร ยูเนสโกซึ่งเหมือนทารกยังไม่ทันหย่าน้ำนม ก็โกหกชาวโลกและลูบหัวประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ใหญ่เก่าแก่มาหลายร้อยปีในสุวรรณภูมิโดยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใคร ยูเนสโกเอาไทยไปเทียบกับประเทศเกิดใหม่ ยังไม่มีมนุษย์ที่ไหนรู้จักหรือได้ยินชื่อ โดยอวดอ้างคุณูปการของยูเนสโกว่า ยูเนสโกยึดมั่นในการแสวงหาสัจธรรม โดยไม่มีขอบเขตจำกัด เพื่อจะให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและความรู้กันอย่างเสรี 

 (the unrestricted pursuit of objective truth and the free exchange of ideas and knowledge.") 

 และในการกระทำดังกล่าว ยูเนสโกก็ประสบความสำเร็จมิใช่ย่อย ด้วยการสอนให้ชาวนาประเทศมาลีอ่านออกเขียนได้ และสร้าง โรงเรียนประถมหลายแห่งในป่าของประเทศไทย(UNESCO taught farmers in Mali how to spell, built grammar schools in the jungles of Thailand ) 

 ไม่ทราบว่าในนามของรัฐบาลทั้งในอดีตและปัจจุบันได้กราบทบเท้าขอบพระคุณยูเนสโกไปหรือยัง ถ้ายัง รัฐบาลประชาธิปัตย์ควรรีบทำเสีย เพื่อยูเนสโกจะได้ช่วยให้สัจธรรมความจริงว่าด้วยเขาพระวิหารให้กับประเทศใบ้ไทยแลนด์ด้วย มิฉะนั้นเกรงว่าชาวโลกจะหูแตกได้ยินแต่สัจธรรมของเขมรฮุนเซ็นอยู่แต่ฝ่ายเดียว 

 เมื่อตอนพันธมิตรประท้วงยูเนสโกเรื่องเอ็มโอยูและเขาพระวิหารใหม่ๆนั้น ศาสตราจารย์ดร.อดุลย์ วิเชียรเจริญ อดีตประธานคณะผู้แทนไทยในคณะกรรมการมรดกโลกได้เสนอให้รัฐบาลไทยลาออกจากคณะกรรมการไปตั้งนานแล้ว เพราะเห็นว่าคณะกรรมการเอาเปรียบไทยอย่างไม่ลดละทุกเรื่อง จะอยู่ไปก็ไม่มีประโยชน์ 

 แต่ตำนานของสหประชาชาติ ยูเนสโก และมรดกโลกกับประเทศไทยนี้ช่างเหมือนกับเรื่องมหาเศรษฐีกับขอทานเหลือเกิน 

 ยาจกจากประเทศไทยแสนจะซาบซึ้งในบุญคูณอันหาที่เปรียบมิได้ขององค์กรใหญ่ องค์กรรองและองค์กรย่อยทั้งสาม ปานประหนึ่งว่าถ้าขาดพระคุณอุ่นเกล้าจากสามองค์กรนี้แล้วประเทศไทยจะล่มจมเสียชื่ออับอายจนจะดูหน้าชาวโลกเขาไม่ได้ 

 แม้กระทั่งคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองที่เห็นว่า แถลงการณ์ร่วมของนายนพดล ปัทมะ เป็นโมฆะ จนป่านนี้กระทรวงต่างประเทศยังเก็บใส่ลิ้นชักไว้ ไม่กล้าส่งไปให้ยูเนสโกและคณะกรรมการมรดกโลกทราบ เพราะเกรงว่าคุณพ่อจะกระเทือนใจ 

 ผู้เขียนเคยเสนอว่า การแก้ปัญหามรดกและเขาพระวิหารง่ายนิดเดียว เพียงรัฐบาลเขียนจดหมายบอกไปว่า คำสั่งศาลปกครองและศาลรัฐธรรมนูญเป็นอย่างไร และบัดนี้ชาวไทยได้แตกแยกกันยกใหญ่ อย่าว่าแต่ไทยและเขมรเลย เพราะฉะนั้นยูเนสโกและกรรมการมรดกโลก อย่าได้ทำตัวเป็นต้นเหตุต่อไปเลย เพราะมันเป็นการทำลายวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมเสรีภาพและความเข้าใจอันดีระหว่างเพื่อนบ้านแท้ๆ สู้ปล่อยให้ลิ้นกระทบฟันไปตามธรรมชาติดีกว่า อีกหน่อยก็รู้กันเองว่าใครเป็นหมู่เป็นจ่า 

 แต่กระทรวงประเทศก็หาได้แยแสไม่ แถมผู้เขียนขอร้องให้กระทรวงต่างประเทศช่วยบอกประชาชนชาวไทยให้ทราบข้อเท็จจริงว่ายูเนสโกนี่จะเป็นพระเจ้าซึ่งผู้ใดแตะต้องมิได้ก็หาใช่ไม่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และแม้กระทั่งกระจิ๋วสิงคโปร ต่างก็เคยลาออกจากยูเนสโกมาแล้วทั้งสิ้น ทำไมไทยจะออกบ้างไม่ได้ 

 จนแล้วจนรอดกระทรวงต่างประเทศก็ยังเงียบเป็นป่าสาก แถมพูดจาสั่งสอนให้คนไทยเคารพยำเกรงสหประชาชาติและยูเนสโกปานประหนึ่งพระเจ้า 

 ฉบับหน้าผู้เขียนจะแปลเหตุผลที่อเมริกาลาออกจากยูเนสโกให้ฟัง หรือจะให้ดีท่านผู้อ่านดาวกระจายไปใช้กระทรวงต่างประเทศทำงานรับใช้ประชาชนไทยดูซะบ้าง 

 เชิญอ่านครับ 

 The State Department's announcement of this country's intention said the decision was made by President Reagan "on the recommendation of the secretary of state." 

 "That recommendation is based upon our experience that UNESCO: 

 "* Has extraneously politicized virtually every subject it deals with; 

 "* Has exhibited a hostility toward the basic institutions of a free society, especially a free market and a free press; and 

 "* Has demonstrated unrestrained budgetary expansion." 

 A West German spokesman said his country agrees with many of the U.S. criticisms of UNESCO but it would remain a member and try to change the agency through "intensive participation." 

 To that, a State Department official responded: 

 "UNESCO policies, for several years, have served anti-U.S. political ends. The Reagan administration has frequently advised UNESCO of the limits of U.S. toleration: for its misguided policies, its tendentious programs and its extravagant mismanagement. 

 "For nearly three years now, the administration has applied to UNESCO the same priorities that guide our relations to all multilateral organizations but UNESCO alone, among the U.N. system organizations, has not responded." 

 ขอโทษ ครับ วันนี้ไม่มีเวลาแปลให้จริงๆ ผู้เขียนจะรีบไปฟังพันธมิตรด่าคณะกรรมการมรดกโลกก่อน/*****

จดหมายลาออกจากมรดกโลก

เบื้องหลังไทยถอนตัวจากมรดกโลก จาก "เทพมนตรี ลิปพยอม"

สร้างความสั่นสะเทือนไปทั่วโลก เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สุวิทย์ คุณกิตติ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนการเจรจามรดกโลกฝ่ายไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 35 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้ประกาศลาออกจากกรรมการและภาคีสมาชิกกลางที่ประชุม เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2554 ที่ผ่านมา
       
       หลังจากที่ไม่สามารถโน้มน้าวให้ภาคีสมาชิกเลื่อนการพิจารณาแผนการบริหารจัดการดินแดนบริเวณปราสาทพระวิหาร ที่ประเทศกัมพูชาได้นำดินแดนของประเทศไทยเข้าไปรวมด้วยออกไปได้
       
       งานนี้จึงขอถือโอกาสไปพูดคุยกับ เทพมนตรี ลิมปพยอม ตัวแทนคณะกรรมการปกป้องราชอาณาจักรไทย ในฐานะของผู้ที่เข้าไปอยู่ร่วมเหตุการณ์ตั้งแต่ต้นว่า อะไรที่อยู่เบื้องลึกเบื้องหลังของการลาออกครั้งนี้กันแน่
       
       อยากทราบก่อนว่า บทบาทของคุณในการประชุมครั้งนี้เป็นอย่างไรบ้าง
       
       ผมไปสังเกตการณ์ว่า คณะกรรมการมรดกโลกและคณะผู้แทนไทยที่เดินทางไปว่าความเป็นอย่างไร และผลสรุปที่ได้เป็นอย่างไร ซึ่งคุณสุวิทย์เองก็เห็นด้วยที่มีผมเข้ามาเป็นผู้สังเกตการณ์ และอาจจะเข้ามาช่วยในเรื่องข้อมูลให้เขา คุณสุวิทย์ก็เลยอนุญาตให้ผมเข้าไปนั่งในห้องประชุมได้ แต่ผมกับกลุ่มพันธมิตรฯ เองก็มีเป้าหมายอยู่แล้วว่า อยากให้คุณสุวิทย์ลาออกจากภาคีของมรดกโลก
       
       จากการสังเกตการณ์ เห็นบรรยากาศภายในห้องประชุมเป็นอย่างไรบ้าง
       
       ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของประชุมหลายอย่างนะ อย่างครั้งนี้ก็จะมี 40 ประเทศเสนอแหล่งมรดกโลก 42 แห่งเพื่อขึ้นทะเบียนมรดกโลก ก็จะมีการต่อรองกัน ล็อบบี้กัน และก็มีหลายประเทศที่เข้ามาล็อบบี้ฝ่ายไทยให้ช่วยสนับสนุน อีกส่วนหนึ่งเป็นการอนุมัติวงเงินสำหรับการดูแลรักษา บูรณปฏิสังขรณ์หรือนำเงินไปเพื่อพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ของมรดกโลก นอกจากนี้ก็มีเรื่องของมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว แต่มีลักษณะเป็นอันตรายหรือสมควรที่จะถูกลบชื่อออกไป ก็จะเกิดขึ้นในเวทีนี้
       
       แต่สำหรับของคนไทย คุณสุวิทย์เองก็ต่อสู้อย่างแข็งขัน ส่วนผมก็อย่างที่ทราบกันว่า คนในคณะก็มีหลายคนที่ไม่ชอบผม ก็ถูกกีดกันบ้างเป็นเรื่องปกติ แต่ผมก็พยายามคุยกับคุณสุวิทย์และผู้ใหญ่ในทีมที่มาว่า ทำไมเราถึงจำเป็นต้องลาออก เพราะแผนบริหารจัดการที่เขมรเสนอกับที่ประชุม มันรุกล้ำอธิปไตย เราจะยอมเสียดินแดนไปแบบนี้ไม่ได้
       
       แต่เท่าที่สังเกตมา ผมคิดว่าทีมนี้ส่วนหนึ่งก็คงไม่อยากให้ลาออกหรอก บางคนก็ไม่พอใจมากที่คุณสุวิทย์จะลาออก แต่เขาก็เป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยทำให้ไม่สามารถแสดงออกได้
       
       อย่างนี้แสดงว่าทีมงานของฝ่ายไทยเองก็มีความขัดแย้งกันสูงเหมือนกัน
       
       ความขัดแย้งของเขาเป็นขัดแย้งในที เพราะไม่กล้าแสดงออก และคุณสุวิทย์เองก็เป็น
       หัวหน้าคณะ เป็นรัฐมนตรีที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้มา แต่ที่ขัดแย้งหนักน่าจะเป็นขัดแย้งกับผม (หัวเราะ) เพราะบางคนก็มีแค้นเก่าอยู่ ตั้งแต่สมัยเรื่องการอนุรักษ์โบราณสถาน หรือการลักลอบค้าโบราณวัตถุที่ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับกรมศิลปากร ซึ่งคนกรมศิลป์ซึ่งมาที่นี่ เขาก็ไม่ค่อยพอใจผมสักเท่าไหร่หรอก เพราะถือว่าเป็นศัตรูของกรม แล้วคงกลัวว่าผมจะไปบอกให้คุณสุวิทย์ลาออก ดังนั้นพอเห็นผมมาก็เลยพยายามบอกว่า ไม่น่าให้ผมมาอยู่ตรงนี้ อะไรแบบนี้
       
       แต่ผมก็เชื่อว่า คุณสุวิทย์เองก็คงมีธงอยู่ในใจ อย่างเช่นแรกเริ่มมาก็ต้องการให้เลื่อนไปเป็นปีหน้า แล้วท่านนายกฯ เองก็มีลักษณะเป็นเช่นนั้น แต่พอมาถึงที่นี่ กัมพูชาก็ไม่ยอมเลื่อน อยากจะให้แผนปฏิบัติการ โหวตลงมติไปเลย ซึ่งเราก็ทราบอยู่แล้วว่า หากโหวตกันจริง เราก็ต้องแพ้ คุณสุวิทย์เองก็เลยพยายามจะล็อบบี้ประเทศที่น่าสนับสนุน รวมไปถึงฝรั่งในศูนย์มรดกโลก
       
       พอเปิดเผยได้ไหมว่า ประเทศไหนที่เราเข้าไปล็อบบี้
       
       หลายประเทศเลย เช่น มาลี แล้วก็ยังมีอีกหลายประเทศที่สนับสนุนอยู่ แต่ประเทศที่ไม่สนับสนุนตอนนี้ก็คือ บาห์เรน ซึ่งเป็นประธานในที่ประชุม คือเดิมเขาสนับสนุนไทย แต่ตอนนี้รู้สึกจะเฉยเมยมาก เราก็เลยขาดผู้สนับสนุนหลักไป ประกอบกับเขมรเองก็เป็นรองประธานในที่ประชุมด้วย มันก็เลยทำให้หลายๆ ประเทศที่เขาเสนอมรดกโลกเข้ามาเลยเกรงใจ เนื่องจากต้องยอมรับว่าการเสนอมรดกโลกเข้ามาต้องมีเสียงสนับสนุนจาก 24 ประเทศ อย่างประเทศเราก็มีหลายๆ ประเทศที่เข้ามาล็อบบี้ เพราะแม้แต่วินาทีสุดท้ายก่อนที่คุณสุวิทย์จะลาออก ผมก็ยังเห็นประเทศออสเตรเลีย บราซิล และฝรั่งเศสเองก็เข้ามาคุยกับคุณสุวิทย์
       
       เขามาคุยเรื่องอะไร
       
       ผมไม่ทราบรายละเอียด แต่น่าจะเป็นเรื่องการที่เรายอมรับข้อมติของคณะกรรมการมรดกโลกไม่ได้
       
       แล้วประเด็นไหนที่ถือว่าจุดแตกหักของเรื่องนี้
       
       คงเป็นเรื่องการบูรณะ กับการเข้าไปยอมรับว่าจะต้องอนุรักษ์จะต้องดูแล ซึ่งพอถึงเวลากลายเป็นว่า เขมรไม่ยอมทั้งหมด ไม่ใช่ไทยไม่ยอม ของเราก็แค่เอาไปปรับเปลี่ยนข้อความให้เรายอมรับได้ แต่เขมรมาตู้มเดียว ไม่ยอมเลย เพราะเขามีธงอยู่แล้วว่าจะเอาเข้าที่ประชุมให้โหวต
       
       ที่ผ่านมาพอเห็นท่าทีของคุณสุวิทย์บ้างไหมว่า จะตัดสินใจลาออก
       
       ก็พอเห็น เพราะเราคุยกันตลอด ตั้งแต่ก่อนเดินทาง ตอนนั้นเราพบกันอย่างน้อย 2 ครั้ง ซึ่งผมก็บอกว่าในบั้นปลายของเรื่องนี้ คุณสุวิทย์ต้องลาออก เพราะอย่างน้อยๆ เราก็ไม่อยากเสียดินแดนไป โดยเฉพาะในปีนี้ซึ่งเป็นปีมหามงคลด้วย หากเราทำอะไรไปก็ต้องทำภายใต้พระปรมาภิไธยของในหลวง ดังนั้นเราจึงไม่ควรทำอะไรที่ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท ยิ่งถ้าเห็นว่าเสียดินแดนจริง ก็ไม่เห็นจำเป็นจะต้องอยู่ต่อ เพราะถึงเราจะลาออกไป แต่พอเราจัดการเรื่องเขตแดนกับเขมรได้ ก็สามารถกลับมาเป็นสมาชิกได้
       
       และอย่างเมื่อที่ 22 มิถุนายนที่ผ่านมา ผมก็เอาจดหมายลาออกที่ผมร่างแล้วก็แปลเป็นภาษาอังกฤษให้คุณสุวิทย์ถือเอาไว้ ถ้าคุณสุวิทย์เห็นด้วยกับจดหมายนี้ก็ดำเนินการได้ เขายังมีแซวผมเลยว่า จดหมายฉบับนี้มันแรงไป แล้วเขากำลังร่างใหม่กับทีมงาน ซึ่งแสดงว่าเขามีแนวโน้มที่จะลาออก พูดง่ายๆ คือจะเลื่อนนั้นแหละ แต่พอเลื่อนไม่ได้ก็เลยลาออก
       
       แล้วในทีมล่ะ เขาเห็นในทิศทางเดียวกับคุณสุวิทย์หรือเปล่า
       
       ไม่ทราบเหมือนกัน เพราะผมถูกกีดกันไม่ให้เข้าไปนั่งฟังด้วย เพราะเขาคงเริ่มรู้แกวว่า ผมคงไปไซโค (เล่นจิตวิทยา) คุณสุวิทย์ให้ลาออก (หัวเราะ) แต่ที่ผมทราบ กลุ่มที่ไม่อยากให้ลาออกก็เช่นส่วนที่เป็นคณะกรรมการมรดกโลก เพราะการลาออกก็คือ การเสียผลประโยชน์ขององค์กร ซึ่งผมเข้าใจว่า เขาคงคิดถึงหน้าตาประเทศ กลัวต่างชาติจะว่า เรื่องนี้เป็นประเด็นใหญ่ของคนไทย คือกลัวเสียหน้า แต่ผมคิดว่า เสียแผ่นดินมันหนักกว่าเสียหน้า ดังนั้นเสียหน้าไปเถอะ แต่ก็มีบางส่วนเหมือนกันที่สนับสนุน โดยเฉพาะข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ หรือกลุ่มที่เห็นแล้วว่าร่างมติมันแย่มาก
       
       ซึ่งพอลาออกแล้วก็ถือว่ามีผลมากๆ เพราะตอนที่คุณสุวิทย์ประกาศ วงแตกเลยนะครับ ฝรั่งเดินออกมา แล้วตอนหลังเขาก็พยายามจะล็อบบี้ให้เรากลับไป แต่คุณสุวิทย์ไม่ยอม
       
       แสดงว่าเราก็มีโอกาสต่อรองให้คณะกรรมการมรดกโลกมีมติกลับมาเข้าข้างเรา
       
       ไม่มีหรอกครับ คือผมว่าตอนนี้เหมือนเป็นการแสดงละคร พยายามตะล่อมให้เรากลับไป แต่เอาจริงๆ แล้วก็ยังเข้าข้างเขมรเหมือนเดิม คือพยายามให้เราไปยอมรับเขมรให้ได้
       
       และที่สำคัญประธานครั้งนี้เป็นราชนิกูลของบาห์เรน เป็นชนชั้นสูง ดังนั้นเขาจึงเสียหน้ามาก ที่จู่ๆ ก็มีสมาชิกลาออกในที่ประชุม แล้วมันก็จะส่งผลต่อการประชุมคราวต่อไปว่าจะไปทำที่ไหน ซึ่งบาห์เรนก็อยากจะเป็นเจ้าภาพ แต่ผมคิดว่าตอนนี้คงไม่ได้หรอก เพราะพอมีกรณีแบบนี้ก็เลยเหมือนว่า เขาขาดประสิทธิภาพในการควบคุมการประชุม
       
       พอทราบไหมว่า ณ วันนี้คุณสุวิทย์และทีมงานมีแผนจะทำอะไรต่อบ้าง
       
       คงไม่มีมั้ง คุณสุวิทย์เองก็คงต้องไปตั้งหน้าตั้งตาหาเสียงเลือกตั้ง ก็อยู่ที่ประชาชนจะให้เขากลับมาหรือเปล่า (หัวเราะ) ส่วนคณะกรรมการมรดกโลกก็ถือว่าสลายตัวไป เพราะโดยนัยพอเราลาออก เมื่อขอรับหนังสือ ก็ต้องรอผลตอบกลับภายใน 1 ปี แต่ในประเทศเราก็คงทำอะไรไม่ได้แล้ว เพราะถ้าทำก็มีสิทธิถูกฟ้องอีก เพราะถ้ากลับไปก็เหมือนไปรับมติเขา ซึ่งเท่ากับคุณก็ไปยืนยอมให้เราเสียดินแดน พูดง่ายๆ ก็ทำผิดกฎหมายอาญาในประเทศ
       
       อย่างนี้กลัวไหมว่า พอประเทศได้รัฐบาลใหม่ อาจจะมีการทบทวนเรื่องลาออกหรือกลับลำไปรับมติ
       
       ตอนนี้เราก็ทำดีที่สุดแล้ว คือปลดพันธนาการออกไป แต่ถ้ารัฐบาลหน้าจะกลับเข้าสู่พันธนาการใหม่ก็คงต้องมาว่ากันอีกที
       
       แล้วในส่วนของคุณกับพันธมิตรฯ ล่ะ ถึงตอนนี้ มีแผนจะทำอะไรต่อไป
       
       ผมว่าเราต้องจัดการเรื่องยูเนสโกด้วย เพราะตัวผู้อำนวยการใหญ่ (อิรินา โบโกวา) ก็ลำเอียงเข้าข้างกัมพูชา เพราะฉะนั้นเราจะต้องกดดันยูเนสโกเมืองไทย เพราะถือเป็นสาขาในภูมิภาคแปซิฟิกที่ใหญ่ที่สุด และมีความสำคัญกับยูเนสโก ดังนั้นเราต้องประท้วง กดดันให้อิรินาพ้นจากตำแหน่ง เพราะเขาเป็นคนสนับสนุนให้กัมพูชามารุกล้ำดินแดนของประเทศไทย ซึ่งถือเป็นเรื่องใหญ่มากตามกฎบัตรสหประชาชาติที่ไม่อนุญาตให้ยูเนสโกยกดินแดนให้ใคร
       
       นอกจากนี้เราก็มีแผนจะให้ศาลรัฐธรรมนูญช่วยตีความเอ็มโอยู 43 ให้ได้ ซึ่งอาจจะต้องพึ่งหน่วยงานอิสระอย่างสำนักผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในฐานะพลเมืองให้ส่งไป ซึ่งหากทำได้ โอกาสที่จะชนะก็มีสูงมาก เพราะมันผิดอยู่แล้ว
       >>>>>>>>>>
       ……….
       เรื่อง : ทีมข่าว CLICK
       ภาพ : ธนารักษ์ คุณทน

นักวิชาการ เห็นด้วยกับการถอนตัวจากมรดกโลก

“สุวิทย์” แจง ยูเนสโกหมกเม็ด เสนอแผนซ่อมแซมปราสาทพระวิหารเปิดช่องส่งเจ้าหน้าที่ขึ้นไป สุ่มเสี่ยงละเมิดอธิปไตยไทย นักวิชาการเห็นด้วยถอนตัวจากมรดกโลก เพราะยูเนสโกเอาแต่เล่นการเมือง ไม่เคารพกฎหมายไทย ละเมิดกฎเกณฑ์ของตัวเอง ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา
       
      
       
       นายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าทีมเจรจามรดกโลก กล่าวในรายการ “คมชัดลึก” ถึงการถอนตัวจากคณะกรรมการมรดกโลก ระบุว่าเรื่องการเสนอแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหาร ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกคราวก่อนที่บราซิล ทางกัมพูชาได้เสนอแผนต่อศูนย์มรดกโลก แต่ไม่ได้เสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลก ในการประชุมครั้งนี้ที่ปารีสจึงควรมีการเสนอแผนให้คณะกรรมการมรดกโลก แต่ปรากฏว่าไม่มีการพิจารณาแผนบริหารจัดการในการประชุมคราวนี้ โดยนายสุวิทย์กล่าวว่าถ้าไม่พิจารณาในคราวนี้ก็จะต้องบอกว่าเอกสารจะถูกพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป แต่เขียนอย่างนี้ไม่ชัดเจน ไม่ได้เขียนในร่างข้อมติ เขาบอกว่าไม่พิจารณา และเอกสารยังไม่ได้แจกให้กรรมการท่านอื่นๆ เลย
       
       เอกสารในข้อมติเขียนว่า แผนบริหารจัดการยังไม่พิจารณา แต่จะพิจารณาเรื่องการเรื่องอนุรักษ์ปราสาทพระวิหาร ซึ่งนักกฎหมายบอกว่า อันนี้คืออนุญาตให้กัมพูชา หรือยูเนสโก ส่งเจ้าหน้าที่ตามที่ระบุไว้ในคู่มือการดำเนินการ ซึ่งมีความหมายกว้างจนน่ากลัวมาก เราบอกเขาว่าการจะส่งคนขึ้นไปในพื้นที่ซึ่งเป็นพื้นที่ของไทยบริเวณรอบๆ ปราสาท จะต้องไม่ละเมิดอธิปไตยของไทย ต้องขอความเห็นชอบจากเราก่อน ซึ่งเรารับเรื่องนี้ไม่ได้
       
       ส่วนเรื่องการประกาศถอนตัว เราได้ดูความเป็นไปได้ในทุกๆ ทาง ในการประชุมคราวนี้ไม่ได้เจรจาสองฝ่ายกับทางกัมพูชา แต่ทางศูนย์มรดกโลกได้เจรจากับแต่ละฝ่าย และเอาความเห็นสรุปขึ้นมาเป็นร่างอีกร่างหนึ่ง (ซึ่งมีการเสนอให้บูรณะซ่อมแซมปราสาท) การที่เราประกาศถอนตัว เพราะไม่ยอมรับผลการประชุมที่จะออกมา เราไม่ร่วมพิจารณาร่างมติดังกล่าว เราไม่เห็นด้วย ซึ่งได้เราส่งหนังสือประท้วงมาตลอดว่าเราไม่เห็นด้วยกับการขึ้นทะเบียนมรดกโลกปราสาทพระวิหารตั้งแต่การประชุมที่สเปน และที่บราซิล มาถึงตอนนี้ทางกระทรวงการต่างประเทศ ก็จะต้องทำเอกสารแจ้งไปตามเงื่อนไขที่จะต้องดำเนินการ วันนี้หนังสือที่ไทยยื่นถอนตัวออกจากคณะกรรมการมรดกโลกได้ส่งให้คณะกรรมการรับทราบทุกคนแล้ว
       
       นายเดโช สวนานนท์ นายกศิลปากรสมาคม และอดีตอธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า เห็นด้วยกับการถอนตัวครั้งนี้ เนื่องจากเราได้ต่อสู้ในหลักการมานานแล้วแต่ทางยูเนสโกไม่ฟัง และละเมิดกฎเกณฑ์สำคัญของยูเนสโก ที่ว่าการขึ้นทะเบียนมรดกโลกที่คาบเกี่ยวระหว่างประเทศ จะต้องได้รับความเห็นชอบยินยอมจากอีกประเทศหนึ่งก่อนถึงจะขึ้นทะเบียนได้ ซึ่งมีทางออกอย่างเดียวคือต้องขึ้นทะเบียนร่วมกัน ซึ่งนอกจากถอนจากคณะกรรมการฯแล้ว เราควรจะถอนตัวจากยูเนสโกด้วย ตอนนี้เรายังเป็นกรรมการยูเนสโกอยู่ เพราะเรายอมเสียดินแดนไม่ได้ แต่เราให้ความร่วมมือได้ ขึ้นทะเบียนร่วมกันก็ได้
       
       นางวิมลพรรณ ปีตธวัชชัย ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันอิศรา กล่าวว่า เห็นด้วยกับการถอนตัวจากคณะกรรมการมรดกโลก เพราะศูนย์มรดกโลกไม่เคารพกฎหมายไทย ใตอนนั้นที่นพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ไปเซ็นยอมให้กัมพูชานำปราสาทพระวิหารไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เราได้ร้องศาลให้ตีความว่านายนพดลทำผิดกฎหมายตามมาตรา 190 เพราะไม่ได้เข้าพิจารณาในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เราได้แจ้งให้ศูนย์มรดกโลกทราบ และได้ขอให้การกระทำนั้นเป็นโมฆะ ซึ่งทางยูเนสโกควรจะให้ความเคารพกฎหมายของทุกประเทศ แต่เขาก็ยังเดินหน้าต่อไป ถ้ากรณีนี้เกิดกับอังกฤษกับอเมริกา ศูนย์มรดกโลกจะยอมรับกฎหมายเขาหรือไม่ ดังนั้นจะเห็นว่าการชี้แจงต่อมรดกโลกมันไร้ผลมาหลายครั้ง เราหวังว่ายูเนสโกจะเข้าใจ และแก้ปัญหา แต่ทำไมยูเนสโกไม่พยายามช่วยให้สองประเทศอยู่กันอย่างสันติ ประเทศเรามีเขตแดนติดกัน มีผลประโยชน์ร่วมกันทำไมไม่ขึ้นทะเบียนร่วมกัน
       
       ดร.รัชดา ธนาดิเรก กรรมาธิการต่างประเทศสภาผู้แทนราษฎร และผู้สมัคร ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เห็นด้วยกับการถอนตัวครั้งนี้เช่นกัน ที่ผ่านมากรรมาธิการต่างประเทศ อยากให้ชี้แจงข้อมูลต่อยูเนสโกให้ถึงที่สุด ถ้าการขึ้นทะเบียนมรดกโลกให้สมบูรณ์ได้จะทำให้เกิดปัญหาระหว่างสองประเทศ เรื่องการถอนตัวทำไม่ยาก เมื่อเราเห็นว่าเขาไม่ให้ความเป็นธรรม เมื่อถึงวันนี้กรรมการมรดกโลกไม่ให้ความสำคัญกับข้อพิพาทพรมแดน ไม่ให้น้ำหนักที่เราชี้ การถอนตัวก็สมควรแล้ว วันนี้เขาไม่ฟังเรา เราก็ถอนตัวออกมา ในอนาคตถ้าจะถอนตัวจากยูเนสโกก็ทำได้ แต่วันนี้เกิดขึ้นในตอนรัฐบาลรักษาการ ไม่สามารถยกระดับปัญหาขึ้นไป ตอนนี้ก็แก้ปัญหาระหว่างไทยกับคณะกรรมการมรดกโลก แต่ไทยกับยูเนสโกก็ยังมีความร่วมมือเรื่องอื่นๆอีก เช่น เรื่องการศึกษา เรื่องวิทยาศาสตร์
       
       ถ้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลอีก และสถานการณ์ยังเป็นแบบนี้ เราก็ไม่กลับเข้าไปอีก วันนี้รัฐบาลยังทำหน้าที่ เรื่องการถอนตัวให้มีผลทางกฎหมาย ทางกระทรวงการต่างประเทศก็ควรรับลูกแล้วเดินหน้าต่อไป
       
       สำหรับข้อเสียที่ออกจากมรดกโลก นายเดโชกล่าวว่า เราทำคุณค่าโบราณสถานของเรามาก่อนมีมรดกโลกเสียอีก เราได้ความช่วยเหลือจากยูเนสโกก็ได้บ้าง เช่น ประโยชน์ทางการประชาสัมพันธ์ มีเครื่องหมายของมรดกโลก แต่การทำประชาสัมพันธ์ เราก็ทำเป็น ข้อดีของการเป็นมรดกโลกคือเป็นการแสดงความเป็นอารยะ ให้ทั่วโลกมาชื่นชม เป็นการแสดงออกทางภาพลักษณ์ว่าเราเป็นสมบัติของโลก เราทำตามเขาทุกขั้นตอน
       
       นางวิมลพรรณกล่าวถึงการจดทะเบียนมรดกโลกร่วมกันว่า ทำไมยูเนสโกจึงไม่ให้จดทะเบียนร่วมกัน ถ้าทางยูเนสโกคิดว่าเป็นของกัมพูชา ให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนฝ่ายเดียว แล้วมาขอความเห็นชอบจากเราทำไม ที่ผ่านมามีหลายแห่งที่ให้ทำร่วมกัน ถ้าร่วมกันได้ จะนำไปสู่การยุติปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ ถ้ายูเนสโกไม่เล่นการเมืองก็อธิบายด้วยเหตุผลได้ แต่ยูเนสโกเล่นการเมือง เราไม่คิดว่าองค์กรแบบนี้จะเล่นการเมือง
       
       ที่ผ่านมา หลายรัฐบาลไม่ได้ใส่ใจเรื่องนี้จริงจัง เราประมาทเกินไป ไม่คิดว่าฝรั่งเศสมาช่วยกัมพูชา และเอาชาติอื่นที่พูดภาษาฝรั่งเศสมาช่วยด้วย ใครจะไปนึกว่ายูเนสโกละเมิดกติกาของตนเองทุกเรื่อง ให้จดทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท แต่หมกเม็ดเรื่องแผนบริหารจัดการบริเวณโดยรอบ การเป็นมรดกโลกจะต้องสง่างาม ต้องครบถ้วน ตัวปราสาทพระวิหารอย่างเดียวมันไม่ครบถ้วน การเดินหน้าขอขึ้นทะเบียนร่วม เขายืนยันที่เขาทำ เราก็ต้องยืนหยัดในหลักการ ยึดความถูกต้องเป็นธรรม อยู่ร่วมกันอย่างสันติกับกัมพูชา เมื่อไม่มีความเป็นธรรม เราก็ไม่ร่วมมือด้วย ซึ่งเป็นปัญหาขององค์กรซึ่งเป็นเจ้าของมรดกโลก
       
       ดร.รัชดากล่าวว่า การถอนตัวไม่ได้เสียหายอะไร หากเราเสนอสถานที่เป็นมรดกโลกก็มีตราแสตมป์มรดกโลก แต่โจทย์คือ เราต้องปกป้องผลประโยชน์ประเทศชาติ และเป็นเพื่อนบ้านที่ดีให้ได้ การจะเป็นเพื่อนบ้านที่ดีทำไม่ยาก เขาอยากได้อะไรก็ยกให้เขาไป แต่เราต้องการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ ขณะเดียวกันก็ต้องการเป็นเพื่อนบ้านที่ดีด้วย

สุวิทย์แจงยูเนสโก หมกเม็ด

“สุวิทย์” แจง ยูเนสโกหมกเม็ด เสนอแผนซ่อมแซมปราสาทพระวิหารเปิดช่องส่งเจ้าหน้าที่ขึ้นไป สุ่มเสี่ยงละเมิดอธิปไตยไทย นักวิชาการเห็นด้วยถอนตัวจากมรดกโลก เพราะยูเนสโกเอาแต่เล่นการเมือง ไม่เคารพกฎหมายไทย ละเมิดกฎเกณฑ์ของตัวเอง ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างไทยกับกัมพูชา                                นายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าทีมเจรจามรดกโลก กล่าวในรายการ “คมชัดลึก” ถึงการถอนตัวจากคณะกรรมการมรดกโลก ระบุว่าเรื่องการเสนอแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหาร ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกคราวก่อนที่บราซิล ทางกัมพูชาได้เสนอแผนต่อศูนย์มรดกโลก แต่ไม่ได้เสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลก ในการประชุมครั้งนี้ที่ปารีสจึงควรมีการเสนอแผนให้คณะกรรมการมรดกโลก แต่ปรากฏว่าไม่มีการพิจารณาแผนบริหารจัดการในการประชุมคราวนี้ โดยนายสุวิทย์กล่าวว่าถ้าไม่พิจารณาในคราวนี้ก็จะต้องบอกว่าเอกสารจะถูกพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป แต่เขียนอย่างนี้ไม่ชัดเจน ไม่ได้เขียนในร่างข้อมติ เขาบอกว่าไม่พิจารณา และเอกสารยังไม่ได้แจกให้กรรมการท่านอื่นๆ เลย                เอกสารในข้อมติเขียนว่า แผนบริหารจัดการยังไม่พิจารณา แต่จะพิจารณาเรื่องการเรื่องอนุรักษ์ปราสาทพระวิหาร ซึ่งนักกฎหมายบอกว่า อันนี้คืออนุญาตให้กัมพูชา หรือยูเนสโก ส่งเจ้าหน้าที่ตามที่ระบุไว้ในคู่มือการดำเนินการ ซึ่งมีความหมายกว้างจนน่ากลัวมาก เราบอกเขาว่าการจะส่งคนขึ้นไปในพื้นที่ซึ่งเป็นพื้นที่ของไทยบริเวณรอบๆ ปราสาท จะต้องไม่ละเมิดอธิปไตยของไทย ต้องขอความเห็นชอบจากเราก่อน ซึ่งเรารับเรื่องนี้ไม่ได้                ส่วนเรื่องการประกาศถอนตัว เราได้ดูความเป็นไปได้ในทุกๆ ทาง ในการประชุมคราวนี้ไม่ได้เจรจาสองฝ่ายกับทางกัมพูชา แต่ทางศูนย์มรดกโลกได้เจรจากับแต่ละฝ่าย และเอาความเห็นสรุปขึ้นมาเป็นร่างอีกร่างหนึ่ง (ซึ่งมีการเสนอให้บูรณะซ่อมแซมปราสาท) การที่เราประกาศถอนตัว เพราะไม่ยอมรับผลการประชุมที่จะออกมา เราไม่ร่วมพิจารณาร่างมติดังกล่าว เราไม่เห็นด้วย ซึ่งได้เราส่งหนังสือประท้วงมาตลอดว่าเราไม่เห็นด้วยกับการขึ้นทะเบียนมรดกโลกปราสาทพระวิหารตั้งแต่การประชุมที่สเปน และที่บราซิล มาถึงตอนนี้ทางกระทรวงการต่างประเทศ ก็จะต้องทำเอกสารแจ้งไปตามเงื่อนไขที่จะต้องดำเนินการ วันนี้หนังสือที่ไทยยื่นถอนตัวออกจากคณะกรรมการมรดกโลกได้ส่งให้คณะกรรมการรับทราบทุกคนแล้ว                นายเดโช สวนานนท์ นายกศิลปากรสมาคม และอดีตอธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า เห็นด้วยกับการถอนตัวครั้งนี้ เนื่องจากเราได้ต่อสู้ในหลักการมานานแล้วแต่ทางยูเนสโกไม่ฟัง และละเมิดกฎเกณฑ์สำคัญของยูเนสโก ที่ว่าการขึ้นทะเบียนมรดกโลกที่คาบเกี่ยวระหว่างประเทศ จะต้องได้รับความเห็นชอบยินยอมจากอีกประเทศหนึ่งก่อนถึงจะขึ้นทะเบียนได้ ซึ่งมีทางออกอย่างเดียวคือต้องขึ้นทะเบียนร่วมกัน ซึ่งนอกจากถอนจากคณะกรรมการฯแล้ว เราควรจะถอนตัวจากยูเนสโกด้วย ตอนนี้เรายังเป็นกรรมการยูเนสโกอยู่ เพราะเรายอมเสียดินแดนไม่ได้ แต่เราให้ความร่วมมือได้ ขึ้นทะเบียนร่วมกันก็ได้                นางวิมลพรรณ ปีตธวัชชัย ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันอิศรา กล่าวว่า เห็นด้วยกับการถอนตัวจากคณะกรรมการมรดกโลก เพราะศูนย์มรดกโลกไม่เคารพกฎหมายไทย ใตอนนั้นที่นพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ไปเซ็นยอมให้กัมพูชานำปราสาทพระวิหารไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เราได้ร้องศาลให้ตีความว่านายนพดลทำผิดกฎหมายตามมาตรา 190 เพราะไม่ได้เข้าพิจารณาในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร เราได้แจ้งให้ศูนย์มรดกโลกทราบ และได้ขอให้การกระทำนั้นเป็นโมฆะ ซึ่งทางยูเนสโกควรจะให้ความเคารพกฎหมายของทุกประเทศ แต่เขาก็ยังเดินหน้าต่อไป ถ้ากรณีนี้เกิดกับอังกฤษกับอเมริกา ศูนย์มรดกโลกจะยอมรับกฎหมายเขาหรือไม่ ดังนั้นจะเห็นว่าการชี้แจงต่อมรดกโลกมันไร้ผลมาหลายครั้ง เราหวังว่ายูเนสโกจะเข้าใจ และแก้ปัญหา แต่ทำไมยูเนสโกไม่พยายามช่วยให้สองประเทศอยู่กันอย่างสันติ ประเทศเรามีเขตแดนติดกัน มีผลประโยชน์ร่วมกันทำไมไม่ขึ้นทะเบียนร่วมกัน                ดร.รัชดา ธนาดิเรก กรรมาธิการต่างประเทศสภาผู้แทนราษฎร และผู้สมัคร ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เห็นด้วยกับการถอนตัวครั้งนี้เช่นกัน ที่ผ่านมากรรมาธิการต่างประเทศ อยากให้ชี้แจงข้อมูลต่อยูเนสโกให้ถึงที่สุด ถ้าการขึ้นทะเบียนมรดกโลกให้สมบูรณ์ได้จะทำให้เกิดปัญหาระหว่างสองประเทศ เรื่องการถอนตัวทำไม่ยาก เมื่อเราเห็นว่าเขาไม่ให้ความเป็นธรรม เมื่อถึงวันนี้กรรมการมรดกโลกไม่ให้ความสำคัญกับข้อพิพาทพรมแดน ไม่ให้น้ำหนักที่เราชี้ การถอนตัวก็สมควรแล้ว วันนี้เขาไม่ฟังเรา เราก็ถอนตัวออกมา ในอนาคตถ้าจะถอนตัวจากยูเนสโกก็ทำได้ แต่วันนี้เกิดขึ้นในตอนรัฐบาลรักษาการ ไม่สามารถยกระดับปัญหาขึ้นไป ตอนนี้ก็แก้ปัญหาระหว่างไทยกับคณะกรรมการมรดกโลก แต่ไทยกับยูเนสโกก็ยังมีความร่วมมือเรื่องอื่นๆอีก เช่น เรื่องการศึกษา เรื่องวิทยาศาสตร์                ถ้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาลอีก และสถานการณ์ยังเป็นแบบนี้ เราก็ไม่กลับเข้าไปอีก วันนี้รัฐบาลยังทำหน้าที่ เรื่องการถอนตัวให้มีผลทางกฎหมาย ทางกระทรวงการต่างประเทศก็ควรรับลูกแล้วเดินหน้าต่อไป                สำหรับข้อเสียที่ออกจากมรดกโลก นายเดโชกล่าวว่า เราทำคุณค่าโบราณสถานของเรามาก่อนมีมรดกโลกเสียอีก เราได้ความช่วยเหลือจากยูเนสโกก็ได้บ้าง เช่น ประโยชน์ทางการประชาสัมพันธ์ มีเครื่องหมายของมรดกโลก แต่การทำประชาสัมพันธ์ เราก็ทำเป็น ข้อดีของการเป็นมรดกโลกคือเป็นการแสดงความเป็นอารยะ ให้ทั่วโลกมาชื่นชม เป็นการแสดงออกทางภาพลักษณ์ว่าเราเป็นสมบัติของโลก เราทำตามเขาทุกขั้นตอน                นางวิมลพรรณกล่าวถึงการจดทะเบียนมรดกโลกร่วมกันว่า ทำไมยูเนสโกจึงไม่ให้จดทะเบียนร่วมกัน ถ้าทางยูเนสโกคิดว่าเป็นของกัมพูชา ให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนฝ่ายเดียว แล้วมาขอความเห็นชอบจากเราทำไม ที่ผ่านมามีหลายแห่งที่ให้ทำร่วมกัน ถ้าร่วมกันได้ จะนำไปสู่การยุติปัญหาความขัดแย้งในพื้นที่ ถ้ายูเนสโกไม่เล่นการเมืองก็อธิบายด้วยเหตุผลได้ แต่ยูเนสโกเล่นการเมือง เราไม่คิดว่าองค์กรแบบนี้จะเล่นการเมือง                ที่ผ่านมา หลายรัฐบาลไม่ได้ใส่ใจเรื่องนี้จริงจัง เราประมาทเกินไป ไม่คิดว่าฝรั่งเศสมาช่วยกัมพูชา และเอาชาติอื่นที่พูดภาษาฝรั่งเศสมาช่วยด้วย ใครจะไปนึกว่ายูเนสโกละเมิดกติกาของตนเองทุกเรื่อง ให้จดทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท แต่หมกเม็ดเรื่องแผนบริหารจัดการบริเวณโดยรอบ การเป็นมรดกโลกจะต้องสง่างาม ต้องครบถ้วน ตัวปราสาทพระวิหารอย่างเดียวมันไม่ครบถ้วน การเดินหน้าขอขึ้นทะเบียนร่วม เขายืนยันที่เขาทำ เราก็ต้องยืนหยัดในหลักการ ยึดความถูกต้องเป็นธรรม อยู่ร่วมกันอย่างสันติกับกัมพูชา เมื่อไม่มีความเป็นธรรม เราก็ไม่ร่วมมือด้วย ซึ่งเป็นปัญหาขององค์กรซึ่งเป็นเจ้าของมรดกโลก                ดร.รัชดากล่าวว่า การถอนตัวไม่ได้เสียหายอะไร หากเราเสนอสถานที่เป็นมรดกโลกก็มีตราแสตมป์มรดกโลก แต่โจทย์คือ เราต้องปกป้องผลประโยชน์ประเทศชาติ และเป็นเพื่อนบ้านที่ดีให้ได้ การจะเป็นเพื่อนบ้านที่ดีทำไม่ยาก เขาอยากได้อะไรก็ยกให้เขาไป แต่เราต้องการปกป้องผลประโยชน์ของประเทศ ขณะเดียวกันก็ต้องการเป็นเพื่อนบ้านที่ดีด้วย

ปานเทพจี้ สุวิทย์โชว์หนังสือมรดกโลกเขียนอะไรไว้

วันนี้ (27 มิ.ย.)“ปานเทพ” จี้ “สุวิทย์” โชว์หนังสือถอนตัวมรดกโลกเขียนอะไรไว้ ไม่รับมติที่ประชุม หรือแค่ลาออก มีผลเมื่อไหร่ พร้อมประณามยูเนสโกลุแก่อำนาจเดินหน้าอนุมัติแผนเขมร จี้ทหารไล่ผู้รุกรานพ้นดินแดน หวั่นเกิดเป็นพื้นที่มรดกโลกเสียเปรียบอีก จี้ประกาศไม่รับอำนาจศาลโลกด้วย พล.ต.จำลอง ศรีเมือง พร้อมด้วย นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ร่วมกันแถลงข่าวกรณีที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลกและกรรมการมรดกโลก เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา โดยนายปานเทพกล่าวเรียกร้องให้นายสุวิทย์ "เปิดเผยหนังสือที่ได้ยื่นต่อคณะกรรมการมรดกโลก และยูเนสโก เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบว่า การลาออกนั้นมีถ้อยคำและใช้ข้อความว่าอย่างไร ซึ่งจะมีนัยที่สำคัญว่าไทยอยู่ในสถานภาพที่ไม่รับมติที่ประชุม หรืออยู่ในระดับการลาออกต่อมรดกโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งขอให้ชี้แจงทำความเข้าใจในข้อเท็จจริงว่ามีผลทันทีหรือไม่ และจะมีผลทันที หรือว่ามีผลในอีกหนึ่งปีข้างหน้า ขอให้เปิดคำชี้แจงในประเด็นนี้ให้เกิดความชัดเจนด้วย" ขณะที่หลังจากที่ได้ถอนตัวออกมาแล้วปรากฏว่าคณะกรรมการมรดกโลกยังคงมีการประชุมต่อไป และยังมีการลงมติอนุมัติแผนบริหารจัดการ รวมถึงการพัฒนาพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารให้เป็นของกัมพูชา ต่อกรณีดังกล่าวนั้นเราขอประณามคณะกรรมการมรดกโลก และยูเนสโก ที่ยังคงลุแก่อำนาจ แม้ว่าไทยจะถอนตัวแล้วแต่ก็ยังดำเนินการอนุมัติแผนบริหารจัดการให้เป็นของกัมพูชาต่อไป ต้องถือว่าประเทศไทยและประชาชนชาวไทยไม่รับมติดังกล่าว เพราะได้ถอนตัวออกมาแล้ว ดังนั้น ยูเนสโกหรือคณะกรรมการมรดกโลกจะไม่สามารถเข้ามาในพื้นที่บริเวณรอบปราสาทพระวิหารได้ เพราะถือว่าอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของประเทศไทย และประเทศไทยไม่ยินยอมตามมติคณะกรรมการมรดกโลกที่ได้ลงไป นายปานเทพกล่าว่าต่อว่า ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะได้ถอนตัวออกจากมรดกโลกแล้ว แต่เมื่อปรากฏว่าคณะกรรมการมรดกโลกยังคงเดินหน้าอนุมัติแผนบริหารจัดการให้กับกัมพูชาต่อไป ฝ่ายไทยจะต้องดำเนินการทันทีในการผลักดันกัมพูชาออกจากแผ่นดินไทย ไม่เช่นนั้นแล้วพื้นที่ดังกล่าวจะเป็นพื้นที่นำไปสู่การพัฒนาการบริหารจัดการที่ทำให้เกิดเป็นพื้นที่มรดกโลกของกัมพูชาในทางปฏิบัติอีก ก็จะทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบโดยทันที ทำให้การลาออกของนายสุวิทย์สูญเปล่า และที่ต้องระวังอย่างมากก็คือ กรณีของศาลโลก ที่ประเทศไทยยังรับอำนาจศาลโลกอยู่ ยังไม่ถึงขั้นประกาศว่าเราไม่รับอำนาจศาลโลก หรือชี้แจงต่อศาลโลกว่าศาลโลกไม่มีอำนาจและไทยไม่รับคำตัดสินใดๆ ตรงนี้จะเป็นอันตรายต่อไปในอนาคต โดยเฉพาะในระยะสั้นใกล้ที่สุดก็คือ มาตรการคุ้มครองชั่วคราว ที่ศาลโลกกำลังจะพิจารณาให้กับกัมพูชาหรือไม่ ถ้าศาลโลกพิจารณาให้กับกัมพูชา ไทยก็จะเสียเปรียบทันที ในทำนองเดียวกันถ้าศาลไม่คุ้มครองชั่วคราวกัมพูชาและไทยหลงกระโจนเข้าไปรับอำนาจศาลโลก ก็จะต้องถูกตีความในคำพิพากษาศาลโลกเมื่อปี พ.ศ. 2505 ในการขยายขอบเขตเกินกว่าตัวปราสาทพระวิหาร ซึ่งหากไทยรับอำนาจศาลโลกแล้วยังมีการตัดสินให้เป็นโทษต่อประเทศไทยแล้ว ก็จะหมายความว่าการดำเนินการในการถอนตัวออกจากมรดกโลกนั้นสูญเปล่า ทำให้สิ่งที่คณะกรรมการมรดกโลกได้อนุมัติไปสามารถเดินหน้าได้ต่อไป โดยทั้งมติคณะกรรมการมรดกโลกและอาศัยยืมมือศาลโลกในชั้นต่อไปด้วย “การลาออกของนายสุวิทย์จะสูญเปล่าทันทีถ้าไทยไม่ถอน ไม่มีการผลักดันกัมพูชาออกจากแผ่นดินไทย และไม่ดำเนินการประกาศว่าเราไม่รับอำนาจศาลโลก และเลิกเข้าสู่กระบวนการศาลโลก และชี้แจงไปเลยว่าประเทศไทยได้ถอนตัวออกจากการประกาศปฏิญญาการประกาศรับอำนาจศาลโลกมาแล้วหลังจากคดีปราสาทพระวิหาร และได้ตั้งข้อสงวนเอาไว้กรณีคำตัดสินเมื่อปี พ.ศ. 2505 กรณีปราสาทพระวิหารเอาไว้แล้ว ดังนั้นไม่ควรจะมีการดำเนินการที่จะไปรับอำนาจศาลโลกอีกครั้งหนึ่ง” นายปานเทพกล่าว ด้าน พล.ต.จำลองกล่าวว่า เป็นเรื่องน่ายินดีที่ประเทศไทยถอนตัวออกจากมรดกโลก สื่อมวลชนให้ความสนใจกันมากเป็นพิเศษ ถ้าสื่อมวลชนได้สนใจเรื่องเสียดินแดนอย่างนี้มาตั้งแต่ต้นแล้ว ตนเห็นว่าสถานการณ์จะดีขึ้นกว่านี้อีก ส่วนกรณีนายสุวิทย์ได้ให้สัมภาษณ์ว่า ต้องตัดสินใจประกาศให้ประเทศไทยถอนตัวออกจากภาคีมรดกโลก เพื่อเป็นการตัดไฟเสียแต่ต้นลม ที่จริงควรจะตัดมาก่อนหน้านนี้นานแล้ว เพราะพันธมิตรฯ ได้รณรงค์เรื่องนี้มานานว่าเราสามารถถอนตัวจากภาคีมรดกโลกเมื่อไหร่ก็ได้แล้วควรจะรีบทำ แต่ก็ยังดีที่ทำในตอนท้าย ดีกว่าไม่ทำเลย http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000078260 ***************************************** ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ - การที่คณะกรรมการมรดกโลกเดินหน้าอนุมัติแผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหารโดยที่ไทยถอนตัวมติดังกล่าวจึงสูญเปล่าหากไทยไม่ยินยอม ในขณะที่ไทยถอนตัวจากมรดกโลกแต่ถ้าหากไม่ผลักดันกัมพูชาออกจากพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารและปล่อยให้ยูเนสโกและเขมรปรับปรุงพื้นที่ บูรณปฏิสังขรณ์ และลงมือบริหารจัดการ การถอนตัวของไทยก็สูญเปล่าทันที - ในทำนองเดียวกันหากไทยถอนตัวออกจากมรดกโลกแล้วยังไปรับอำนาจศาลโลก และศาลโลกเกิดคุ้มครองชั่วคราวให้กัมพูชา ไทยก็เสียหาย หรือศาลโลกไม่คุ้มครองชั่วคราวให้เขมรแต่ไทยยอมรับก็เท่ากับถลำลึกรับอำนาจศาลโลกให้กลับมาตีความขยายผลคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ.2505 ได้ ดังนั้นถ้าศาลโลกตีความให้ไทยแพ้โดยไทยไปรับอำนาจศาลโลก มรดกโลกทึ่อนุมัติไปแล้วก็เดินหน้าต่อเพราะเป็นของเขมร และการถอนตัวจากมรดกโลกของไทยก็สูญเปล่า Via Facebook

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง