บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพฤหัสบดีที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2554

"เทพมนตรี" เล็งบี้ยูเนสโกทำตามเงื่อนไข แลกอยู่ในไทยต่อไป

"เทพมนตรี" บอกคาถากันเหนียวไทยต้องไม่ยอมรับอำนาจศาลโลก แนะแจงศาลครั้งต่อไปต้องบอก"ฮุนเซน" ละเมิดคำสั่งศาลโลกยกกองทัพรุกล้ำดินแดนไทย แย้มมีหลักฐานใหม่พร้อมเรียกคืนตัวปราสาท ขอเพียงมีรบ. ทำเพื่อชาติอย่างแท้จริง เผยเตรียมยืนหนังสือต่อยูเนสโกทำตามเงื่อนไข17 มิ.ย. นี้ ชี้ไม่ทำเสี่ยงอยู่ในไทยไม่ได้ด้วยแนวทางสันติ อหิงสา ย้ำหากจะตัดไฟตั้งแต่ต้นลม "สุวิทย์- ดร.โสมสุดา" ต้องลาออก
     









       วันที่ 2 มิ.ย. 2554 บนเวทีปราศรัยการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ นายเทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการประวัติศาสตร์ กล่าวถึงทูตไทย กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีความเชื่อมโยงกันอยู่ เพราะทูตในหลายประเทศได้รับการผลักดันจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ทำให้เห็นภาพแม้ พ.ต.ท.ทักษิณ จะเป็นนักโทษหนีคดีอาญาไปอยู่ต่างประเทศ ตำรวจออกหมายจับ ก็อยู่ยังเดินลอยหน้าลอยตาอยู่ต่างประเทศอย่างสบาย หากถามต่อไปว่าแล้วมีทุตไทยที่เป็นฝ่ายพ.ต.ท.ทักษิณ อยู่ในคดีศาลโลกหรือไม่ ตรงนี้บอกได้เลยว่ามี
     
       อย่างไรก็ดี หลายๆอย่างที่ กระทรวงการต่างประเทศพยายายามต่อสู้ในเวทีศาลโลก ถือว่าทำได้ดี 80% ทำเพื่อชาติ แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดท่านช่วยทำเพิ่มอีกนิด เวลาที่ต้องไปยื่นเอกสารอีกครั้งเมื่อศาลโลกขอ ต้องย้ำกับศาลโลกไป ว่า ไทยไม่ยอมรับอำนาจศาล พร้อมกับตั้งข้อสงวนว่า เราได้บอกกับศาลแล้วว่าไม่ยอมรับและไม่มีอำนาจพิพากษาเกิดขอบเขตคำพิพากษา เดิม หากรัฐบาลทำเรื่องนี้อย่างน้อยเป็นหลักฐาน เอาไว้ต่อสู้หากเราแพ้เขมรในเวทีศาลโลกครั้งนี้ เราจะต้องต่อสู้ ซึ่งขั้นต่อไปจะไปว่ากันในชั้นกระบวนพิจารณาคดีในอนาคต ลูกหลานในอนาคตจะได้ใช้สิทธิทวงคืนกลับมา อย่าลืมว่าการที่ศาลโลกเปิดเวทีครั้งนี้ ศาลต้องเชื่อว่าเขามีอำนาจถึงได้เปิดพิจารณาคดี
     
       “แรกเริ่มเดิมทีตั้งแต่ผมเอาตัวเองเข้ามาในเวทีนี้ เคยบอกไว้ว่ามาครั้งนี้ต้องชนะ ซึ่งตนได้ปฎิญาณตนตั้งใจไว้ว่าจะไม่เอาเฉพาะพื้นที่โดยรอบคืน แต่จะเอาตัวปราสาทคืนด้วย หากทั้งชีวิตต้องทำเรื่องนี้อย่างเดียวก็ยินดี ต้องมีรัฐบาลไหนสักรัฐบาลในอนาคตที่เห็นแก่แผ่นดิน”
     
       นายเทพมนตรี กล่าวต่อว่า ขณะนี้ไทยได้จัดทำเอกสาร 2 ปึกใหญ่ ในนี้แม่ทัพภาค 2 มีส่วนช่วยทำด้วย แต่ว่างใจได้ เอกสารนี้ตนได้เห็นแล้ว แม่ทัพภาค 2 ทำงานนี้ได้ดี ซึ่งอาจเป็นเพราะรายงานมีบันทึกให้ผู้ใหญ่ทราบอยู่แล้ว จะบิดพริ้วไม่ได้ อย่างไรก็ดี ตนอยากแนะนำควรบอกรายละเอียดเพิ่มเติม ว่า ฮุนเซน และคณะ ละเมิดคำพิพากษาศาลโลกปี 2505 ด้วยการยกกองทัพรุกล้ำดินแดนไทยเกินขอบเขตที่ศาลโลกตัดสินไว้
     
       ทั้งนี้ กรมสนธิสัญญาและกฎหาย มีเอกสารครบถ้วนสมบูรณ์ที่จะต่อสู้กับเขมรได้ แต่เขามีพฤติกรรมทำสำนวนให้อ่อน เพื่อให้ศาลออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว จะได้มีการพิจารณาดำเนินการต่อไป เมื่อเราพลาดไปขึ้นศาลแล้ว ทางแก้หากฝากความหวังจากนายอภิสิทธิ์ ไม่ได้ เราต้องตลบหลังศาล ตอนนี้ เรามีหลักฐานใหม่ พร้อมเรียกคืนตัวปราสาท ตนรู้ว่าจะเดินเรื่องอย่างไร แต่ขอปิดไว้ก่อนเดี๋ยวฮุนเซนจะรู้ ตอนนี้ขอเพียงมีรัฐบาลที่เข้าใจปัญหา และเป็นรัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯอย่างแท้จริง
     
       “เราอาจต้องอยู่อีก ในที่นี้หมายถึง อาจไม่ได้อยู่ในที่ชุมนุม แต่ต้องทำเรื่องนี้อีก วันที่ 17 มิ.ย. นี้ หากใครมีเวลาว่าง เชิญไปยูเนสโก เวลา 10.00 น. โดยตนจะไปยืนหนังสือต่อผู้อำนวยการยูเนสโกในประเทศไทย เรื่องนี้เป็นความคิดของตนเองจะชี้แจงผ่านช่องทางของภาคประชาชน แปล 5 ภาษาตามเงื่อนไปกฎสหประชาชาติ ในการนี้เราอาจขู่ยูเนสโกให้ทำตามเงื่อนไข ด้วยว่า หากประสงค์จะอยู่ในประเทศไทยและกิจการยูเสนโกที่อยู่ในประเทศไทยตามรายนาม ข้างล่างนี้ ซึ่งมีมูลค่ามหาศาลมากกว่าอยู่ในเขมร หากไมทำตามที่เราแนะนำ เราอาจต้องขอที่ดินตรงบริเวณถนนสุขุมวิทย์คืน ส่วนจะคืนอย่างไรเราหาหนทางได้ แบบสันติ อหิงสาด้วย”
     
       นายเทพมนตรี ฝากถึง นายสุวิทย์ คุณกิตติ ประธานคณะกรรมการมรดกโลกฝ่ายไทย กับ ดร. โสมสุดา ลียะวณิช อธิบดีกรมศิลปากร ว่า เพื่อตัดไฟตั้งแต่ต้นลม อย่างไรท่านก็ต้องลาออก เพราะสิ่งที่ ฮุนเซน กลัวนอกจากเรื่องยกเลิกเอ็มโอยู43 แล้วยังไม่อยากให้เราลาออกจากภาคีสมาชิก และกลัวเรื่องเราจะเอาทหารไปผลักดัน
     
       ทั้งนี้ เมื่อลาออกจะเป็นผลทันที ทำให้เหลือคาคีสมาชิก 20 ประเทศ จะปั่นป่วนทันที พิจารณาอะไรก็จะไม่เต็ม 100% แน่นอน 20 ประเทศต้องสนใจ หันมาถาม ดร.โสมสุดา ว่าเพราะอะไรถึงลาออก ในโอกาสนี้ดร.โสมสุดา ถือโอกาสชี้แจงแบบผู้ดีได้เลย ว่า ลาออกเพราะนายสุวิทย์ มองเห็นว่ามติของกรรมการมรดกโลก ผิดข้อตกลงในแต่ละครั้ง จึงไม่อยากเห็นคณะกรรมการมรดกโลกทำผิดอนุสัญญามรดกโลกของตัวเองอีก นอกจากนี้ยังสามารถขู่สัมทับ กิจการยูเนสโกในไทยเราต้องกลับมาทบทวนใหม่ กิจการไหนที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยแล้วยังมาตั้งอยู่ เราควรเรียกร้องให้ออกไปจากประเทศ ถ้าจะเล่นต้องเอาให้หนัก อย่าแค่ตีงูให้หลังหัก

ฮอกอดแผนที่ดงรัก หวังศาลโลกเข้าข้างเขมร

posted on by n/e - 20:25 น.

ฟิฟทีนมูฟ — ฮอเผยมีข้อโต้แย้งที่มีเหตุผลถูกต้องครบถ้วน มีแผนที่ระวางดงรักที่กำหนดเส้นเขตแดนชัดเจน ซึ่งไทยเคยยกสันปันน้ำขึ้นสู้แล้วแต่ศาลปฏิเสธ ระบุศาลอาจมีคำสั่งภายใน ๔๐-๔๕ วัน ซึ่งอาจรับคำร้องขอมาตรการชั่วคราวของเขมรทั้งสามข้อ ข้อใดข้อหนึ่งหรือออกคำสั่งใหม่ บอกสถานการณ์ชายแดนเปราะบางอาจเกิดเหตุร้ายที่ไม่อาจเยียวยา แต่เขมรพร้อมสู้ไทยตลอด ๒๔ ชม. ปัดข่าวอินโดฯ ช่วยอาวุธ
นายฮอ นำฮง ระหว่างให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวที่สนามบินพนมเปญ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๔ นายฮอ นำฮง ระหว่างให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวที่สนามบินพนมเปญ ๒ มิถุนายน ๒๕๕๔
นายฮอ นำฮง ระหว่างให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวที่สนามบินพนมเปญ หลังกลับจากศาลโลก กรุงเฮก ๒ มิถุนายน ๒๕๕๔
นายฮอ นำฮง รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา เดินทางกลับจากการนำคณะร่วมการเปิดรับฟังมาตรการชั่วคราว ที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรุงเฮก ถึงสนามบินนานาชาติกรุงพนมเปญ และให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวเมื่อช่วงสายวันนี้ (๒ มิถุนายน ๒๕๕๔) ตามรายงานของหนังสือพิมพ์เกาะสันติภาพและวิทยุเอเชียเสรี นายฮอ นำฮง เปิดเผยว่าศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจะตัดสินมาตรการชั่วคราวที่เสนอโดย กัมพูชา ภายใน ๔๐-๔๕ วัน ไม่ว่าศาลฯ จะเห็นตรงตามข้อเสนอของกัมพูชาหรือไม่ก็ตาม กัมพูชาหวังว่ามีข้อโต้แย้งที่ครบถ้วน อย่างเช่น แผนที่ภาคผนวก ๑ (แผนที่ ๑:๒๐๐,๐๐๐ ระวางดงรัก) ที่กำหนดเส้นเขตแดนอย่างชัดเจน ไทยเคยได้ยกประเด็นเกี่ยวกับสันปันน้ำที่พรมแดนขึ้นโต้แย้งแล้วด้วย แต่ศาลฯ ปฏิเสธ ดังนั้น ข้อเสนอของกัมพูชาจึงมีเหตุผลที่ถูกต้อง หวังหว่าผู้พิพากษาจะเห็นด้วยตามนั้น

นายฮอ นำฮง กล่าวต่อว่า กัมพูชามีทนายต่างชาติ ๓ คน จากฝรั่งเศส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ในการเปิดรับฟังเป็นเวลา ๒ วัน ที่ผ่านมานั้น กัมพูชาได้แจ้งผู้พิพากษาถึงการรุกรานของประเทศไทยตามแนวพรมแดน และตนได้ร้องขอ ๓ ข้อ คือ ๑. ขอให้ไทยถอนกองกำลังออกจากพื้นที่ปราสาทพระวิหาร คือไม่มีพื้นที่ ๔.๖ ตารางกิโลเมตร ๒. ขอให้ศาลฯ ห้ามไม่ให้มีกิจกกรรมทางทหารของไทยตามพรมแดน ซึ่งหมายความว่าห้ามไม่ให้มีการรุกรานของไทย และ ๓. ต้องหวงห้ามการกระทำและกิจกรรมของไทยที่ทำให้กระทบต่อสิทธิของกัมพูชา และทำให้สถานการณ์ตึงเครียด นายฮอ นำฮง ให้ความเห็นว่า ใน ๓ ข้อที่ตนเสนอ ศาลอาจรับและมีคำสั่งตามทั้งหมด อาจรับข้อใดข้อหนึ่ง หรืออาจออกคำสั่งใหม่ซึ่งก็ขึ้นกับเขา
รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา เปิดเผยว่า ฝ่ายไทยมีข้อเรียกร้องเพียงข้อเดียวเท่านั้น คือขอให้ศาลฯ ไม่รับคำร้องของกัมพูชา และกล่าวต่อว่า ขณะนี้สถานการณ์พรมแดนทั่วไปมีความเปราะบางจากการรุกรานของทหารไทยตลอดเวลา หากมีการรุกรานเกิดขึ้นอีก อาจมีเหตุร้ายแรงหรือสถานการณ์ที่ไม่อาจแก้ไขได้ ขณะที่ไทยไม่ได้เคารพต่อคำตัดสินของศาลกรุงเฮก นายฮอ นำฮง ย้ำต่อว่า ตอนนี้กองทัพกัมพูชาเตรียมพร้อมตลอด ๒๔ ชั่วโมง เพื่อสกัดกั้นการรุกรานของไทย
ในตอนท้าย นายฮอ นำฮง ปฏิเสธข่าวกัมพูชาได้รับความช่วยเหลือด้านอาวุธจากอินโดนีเซีย โดยยืนยันว่ากัมพูชาไม่ได้รับอาวุธจากประเทศอินโดนีเซียแต่อย่างใด

“หมาป่าตัวร้าย-ลูกแกะตัวน้อย” ณ ศาลโลก ?

โดยวีรพัฒน์ ปริยวงศ์เมื่อ 1 มิถุนายน 2011 เวลา 21:49 น.
“หมาป่าตัวร้าย-ลูกแกะตัวน้อย” วาทะไทย-กัมพูชา ณ ศาลโลก

วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
อดีต นักกฎหมายในคดีศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ สำนักกฎหมาย Freshfields Bruckhaus Deringer (กรุงปารีส). นิติศาสตรมหาบัณฑิต (รางวัลทุนฟุลไบรท์และวิทยานิพนธ์เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด.

http://www.facebook.com/verapat.pariyawong
______________________________________________________

เมื่อ วันที่ 30 พฤษภาคม 2554 กัมพูชาและไทยได้แถลงวาจาต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก)  เกี่ยวกับกรณีที่กัมพูชาขอให้ศาลมีมาตรการคุ้มครองชั่วคราวเกี่ยวกับปราสาท พระวิหาร ถ้อยคำบางตอน แปลสรุปได้ดังนี้

อ่านเรื่อง “หมาป่าตัวร้าย-ลูกแกะตัวน้อย” ณ ศาลโลก ? ที่
http://www.facebook.com/note.php?note_id=214897531865142

---
ภาพ "หมาป่าฝรั่งเศสกับลูกแกะสยาม" จาก siamnavy.blogspot.com
นายฮอร์ นัม ฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา 
“...ท่าน ประธานศาล ท่านผู้พิพากษาที่เคารพ  เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ จะให้กัมพูชามีความหวังได้อย่างไร ในเมื่อตลอดหลายปีที่ผ่านมา ฝ่ายไทยนั้นจะยอมประชุมด้วยก็เพียงเพื่อเป็นข้ออ้างที่จะผัดผ่อนประเด็นต่อ ไปเรื่อยๆ เป็นวงจรไม่รู้จบ แสดงให้เห็นถึงแผนการถ่วงเวลาและเจตนาอันไม่บริสุทธิ์ของฝ่ายไทย…” (CR 2011/13 หน้า 23) 

นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งราชอาณาจักรไทยประจำเนเธอร์แลนด์  
“…ภาพ ของลูกแกะตัวน้อยที่ถูกจับจ้องโดยเจ้าสุนัขป่าตัวร้าย ซึ่งกัมพูชาพยายามจะวาดภาพให้ศาลเห็นนั้น ล้วนเป็นเท็จ ไทยเองเมื่อสมัยศตวรรษที่ 19 ก็คุ้นเคยกับกรรมของลูกแกะตัวน้อยเป็นอย่างดี ไทยจึงหวังอย่างจริงใจว่าจะไม่มีประเทศใดรวมไปถึงกัมพูชาที่จะต้องรับชะตา กรรมลูกแกะซ้ำในสมัยศตวรรษที่ 21...” (CR 2011/14 หน้า 21) 

เซอร์แฟรงคลิน เบอร์แมน ทนายความฝ่ายกัมพูชา
“…กัมพูชา ไม่แน่ใจว่า “พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร” ที่สื่อมวลชนและทางการไทยอ้างถึงนั้น หมายถึงพื้นที่ใดโดยแน่ชัด...แต่ดูเหมือนจะหมายถึงดินแดนใกล้เคียงกับตัว ปราสาทพระวิหารที่ไทยนำมาอ้างอธิปไตยภายหลังศาลมีคำพิพากษา…” (CR 2011/13 หน้า 27) 
 “…แน่ นอน ไทยย่อมต้องอ้างว่า การที่กัมพูชาขอให้ศาลตีความคำพิพากษานั้น กัมพูชาหวังได้สิ่งที่ถูกศาลปฏิเสธไปเมื่อครั้งที่แล้ว...แต่ไทยเองคงกลืน น้ำลายตัวเองไม่ลง เพราะไทยเองนั้นเป็นฝ่ายปลุกเสกการตีความคำพิพากษาขึ้นมาใหม่อย่าง วิปลาส...เพียงเพื่อจะผูกมัดกัมพูชาว่าเป็นผู้ตีความคำพิพากษาไปเองฝ่าย เดียว” (CR 2011/13 หน้า 35) 

ศาสตราจารย์อลัง เปลเล่ต์ ทนายความฝ่ายไทย 
"มหาศาลาแห่งความยุติธรรม" (The Great Hall of Justice) เป็นชื่อห้องพิจารณาคดีของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก)

---
ภาพจากศาลโลก
 “…วันนี้ กัมพูชาพยายามใช้วิธีอ้างว่าไทยยังคงมีหน้าที่ต้องถอนกำลังเจ้าหน้าที่ออกไป จากบริเวณใกล้เคียงตัวปราสาท ทั้งๆที่ไทยเองก็ได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาเสร็จสิ้นไปเรียบร้อยแล้ว...และ เมื่อเช้านี้กัมพูชาก็ยอมรับต่อศาลเองว่า ไทยกับกัมพูชาเพิ่งมามีความเห็นเกี่ยวกับคำพิพากษาไม่ตรงกันเมื่อไม่นานมา นี้...นั่นไงครับท่านประธานศาล! กัมพูชากำลังสารภาพว่าตลอดเวลาที่ผ่านมาจนกระทั้งไม่นานมานี้ กัมพูชาก็เห็นตรงกับไทยว่าไทยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยถอนกำลังออกไปเรียบ ร้อยแล้ว...” (CR 2011/14 หน้า 25) 

ศาสตราจารย์ฌอง-มาร์ค โซเรล ทนายความฝ่ายกัมพูชา
“…กัมพูชา หวังพึ่งศาลก็เพราะการเจรจาหยุดยิงระหว่างไทยและกัมพูชาในระดับนายทหารนั้น เป็นเรื่องเปราะบาง...สาเหตุหนึ่งก็เพราะว่า หากไทยก้าวเข้าไปสู่สถานการณ์การเมืองภายในประเทศที่เปราะบางด้วยแล้ว ก็ไม่มีอะไรประกันว่าการเจรจาหยุดยิงจะได้รับการรับรองให้แน่นอน ดูตัวอย่างความติดขัดในอดีตได้จากการที่รัฐสภาไทยไม่ให้ความยินยอมข้อตกลง เกี่ยวกับคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมระหว่างสองประเทศเป็นต้น...ความวุ่นวายทาง การเมืองของไทยย่อมอาจนำไปสู่การปะทะกันด้วยอาวุธได้อีก...” (CR 2011/13 หน้า 45-47) 

ศาสตราจารย์เจมส์ ครอว์ฟอร์ด ทนายความฝ่ายไทย
คณะ ตัวแทนฝ่ายไทย ในภาพคือผู้แถลงวาจาต่อศาล ตามลำดับจากซ้ายไปขวา นายวีรชัย พลาศรัย ศาสตราจารย์อลัง เปลเล่ต์ ศาสตราจารย์ศาสตราจารย์เจมส์ ครอว์ฟอร์ด และศาสตราจารย์โดนัลด์ เอ็ม แม็คเรย์

---
ภาพจากกระทรวงการต่างประเทศ
“…เวลา เกือบ 50 ปีหลังคำพิพากษานี้ไม่ใช่เวลาน้อยๆ แต่กัมพูชากลับขอให้ศาลมองทุกอย่างเป็นปัจจุบัน ขอศาลให้สั่งให้ทหารไทยต้องถอนกำลังออกไปจากตัวปราสาท ทั้งๆที่ตอนศาลมีคำพิพากษาทหารเหล่านั้นยังไม่ทันได้เกิดเสียด้วยซ้ำ...ราว กับว่าคำพิพากษาถูกหุ้มด้วยวุ้นถนอมอาหาร ไม่แปรเปลี่ยนข้ามทศวรรษหรือแม้ศตวรรษ หากเรายอมรับหลักการแบบนี้ แล้วระยะเวลาตีความจะไปสิ้นสุดที่จุดใด?...” (CR 2011/14 หน้า 33) 

ศาสตราจารย์โดนัลด์ เอ็ม แม็คเรย์ ทนายความฝ่ายไทย
“…การ ตั้งคณะผู้สังเกตการณ์จากประเทศอินโดนีเซียและการกลับเข้าสู่กระบวนการเจรจา โดยคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (JBC) ย่อมทำให้ข้ออ้างเรื่องความจำเป็นเร่งด่วนของมาตรการคุ้มครองชั่วคราวนั้น ฟังไม่ขึ้น...”
(CR 2011/14 หน้า 54)

______________________________________________________

ขอขอบคุณหนังสือพิมพ์ประชาไทและหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ที่กรุณาช่วยเผยแพร่ข้อเขียน.

http://www.prachatai3.info/journal/2011/05/35198
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9540000066774
______________________________________________________

หมายเหตุ
- วาทะน่าสนใจอื่นๆระหว่างไทยและกัมพูชา ณ ศาลโลกจะนำมาเสนอต่อไป ผู้สนใจสามารถติดตามได้ทาง http://www.facebook.com/verapat.pariyawong (กด like เพื่อรับข้อมูล update ใหม่)

- ข้อความแปลแบบสรุปจากเอกสารศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ Verbatim Record CR 2011/13 และ CR 2011/14 (30 พฤษภาคม 2554)

- บทวิเคราะห์คดีปราสาทพระวิหาร อ่านได้ที่ https://sites.google.com/site/verapat/temple/summary1962

- รูปภาพบรรยากาศศาลโลก ดูได้ที่ http://www.facebook.com/verapat.pariyawong (photos

    • วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ ‎"En particulier, nous montrerons à la Cour que le tableau du grand méchant loup qui guette le petit agneau que le Cambodge essaie de peindre est tout à fait faux. La Thaïlande a trop bien connu la situation de l’agneau pendant le XIXe siècle. C’est son souhait le plus sincère que personne, y compris le Cambodge, ne subisse le même sort au XXIe siècle." (M. Plasai, CR 2011/14, p. 21)


      ขอขอบคุณพี่ วีรพัฒน์ ที่ส่งข้อมูลให้ด้วยครับ

กต.แจงคำให้การไทยต่อศาลโลก

กต.แจงคำให้การไทยต่อศาลโลก


คมชัดลึก : กต.ทวิตแจงคำให้การออท.ประจำกรุงเฮก ต่อศาลโลกขอให้จ่ายคำร้องออกจากสารบบ ย้ำไทยทำตามคำพิพากษาปี 2505 โต้ กัมพูชาการเมืองภายในของไทยไม่เกี่ยวกรณีนี้



(1มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 08.30 น.กระทรวงการต่างประเทศ ทวิตข้อความ ผ่านเว็บไซต์ www.twitter.com  ภายใต้ชื่อ @MFAThai_PR_TH เพื่อชี้แจงการเข้าให้ข้อมูลต่อศาลโลกของไทยว่า "วานนี้ 31 พ.ค. 17.00-18.00 น. เวลากรุงเฮก คณะดำเนินคดีฝ่ายไทยชี้แจงศาลโลกตอบโต้คำขอกัมพูชาให้มีมาตรการชั่วคราว บริเวณปราสาทฯ เป็นวันที่สอง 1.ออท. วีรชัย (พลาศรัย) ย้ำท่าทีของไทยมีความสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ไทยยอมรับและได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาคดีปราสาทฯ 2505 อย่างครบถ้วนแล้วซึ่งกัมพูชาก็ยอมรับ  2. ไทยย้ำศาลโลกไม่ได้ตัดสินเกี่ยวกับเส้นเขตแดนและต้องเจรจาต่อไป โดยมีกลไกในกรอบทวิภาคีดำเนินการ 3. การขึ้นทะเบียนปราสาทเป็นมรดกโลกต้องมีพื้นที่บริหารจัดการอยู่ในไทย การที่ กพช. ปฏิเสธขึ้นทะเบียนร่วมเป็นที่มาของการยื่นคำร้องต่อศาลของ กพช."
 "4.ออท. ณ กรุงเฮกยืนยันไทยจริงใจในการดำเนิน คสพ.กับกัมพูชาบนพื้นฐานของความเท่าเทียม ไม่ได้เป็นการรังแกโดยประเทศใหญ่ตามที่กัมพูชาพยายามสร้างภาพ 5.ไทยไม่ประสงค์ให้ปราสาทพระวิหารเสีย หาย แต่การใช้กำลังเป็นไปเพื่อป้องกันตนเอง ย้ำกพช.ใช้ปราสาทเป็นฐานโจมตีไทย ละเมิดอนุสัญญากรุงเฮกปี 1954  6. ออท. ณ กรุงเฮกตอบโต้กัมพูชาว่าไทยเป็นประชาธิปไตย การเมืองภายในของไทยไม่มีความเกี่ยวข้องแต่อย่างใดกับประเด็นที่ศาลกำลัง พิจารณา 7. ไทยชี้ประชาชนชาวกัมพูชาเพิ่งอพยพย้ายเข้าไปอยู่ในบริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหารเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง"
 "8. ไทยย้ำความขัดแย้งเสี่ยงจะทวีความรุนแรงหรือไม่ขึ้นอยู่กับกัมพูชาที่เป็น ฝ่ายเริ่มโจมตีและขยายความขัดแย้งจากบริเวณปราสาทฯ ไปยังพื้นที่อื่น 9. ออท. ณ กรุงเฮก เน้นการที่มีเหตุการณ์ปะทะเกิดขึ้นในบริเวณอื่นไม่เป็นเหตุให้ศาลต้อง พิจารณามีคำสั่งมาตรการชั่วคราวบริเวณปราสาทพระวิหาร10. ไทยไม่ได้ปิดประตูต่อบทบาทสนับสนุนของฝ่ายที่สามในการแก้ไขปัญหา โดยได้ให้ข้อมูลแก่คณะมนตรีความมั่นคงฯ และร่วมประชุมแข็งขันในกรอบอาเซียน 11.ออท. ณ กรุงเฮก ชี้ไทยกับกัมพูชาไม่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับคำพิพากษา2505 คำขอตีความของกัมพูชาเป็นการขอให้ศาลตัดสินประเด็นที่ไม่ได้ตัดสินไว้ เดิม12. ออท. ณ กรุงเฮก กล่าวสรุปคำขอของไทยต่อศาลโลก คือ ขอให้ศาลจำหน่ายคดีออกจากสารบบ (จบ)"


กษิตทวงบุญคุณเขมรที่ไทยหนุนเอกราช


คมชัดลึก : "กษิต" เปิดโต๊ะแถลงหลังกลับจากชี้แจงศาลโลก ยันไทยไม่ใช่ประเทศใหญ่รังแกประเทศเล็ก ทวงบุญคุณเป็นประเทศแรกที่รับรองเอกราชให้ แถมยังหนุนให้ร่วมอาเซียน



 (2มิ.ย.) นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่่างประเทศ แถลงข่าวภายหลังการเดินทางกลับจากกรุงเฮกแประเทศเนเธอร์แลนด์ว่าเพื่อชี้แจงต่อศาลโลกกรณี ที่กัมพูชาร้องขอให้ออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวบริเสวณพื้นที่ปราสาทพระ วิหาร ว่า คณะดำเนินการด้านกฎหมายของไทยที่ไปในครั้งนี้มีแต่ระดับผู้เชี่ยวชาญด้าน กฎหมายระหว่างประเทศ โดยมีทั้งกระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา สำนักงานอัยการสูงสุด กรมศิลปากร กรมแผนที่ทหาร  กองบัญชาการกองทัพไทย และ กองทัพบก ซึ่งเราได้ประเมินเป้าประสงค์ของกัมพูชาว่า  ต้องการใช้อำนาจศาลเพื่อให้มีคำสั่งให้ไทยถอนทหารออกจากบริเวณปราสาทพระหาร ซึ่ง รวมถึงพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตารางกิโลเมตร นั่นหมายถึงว่า พื้นที่ดังกล่าวจะอยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา และเป็นการเปิดทางให้กัมพูชาอ้างต่อกรรมการมรดกโลกและยูเนสโกว่าบัดนี้ พื้นที่รอบปราสาทพระวิหารได้ตกเป็นของกัมพูชาแล้ว ดังนั้นแผนบริหารจัดการพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหารก็จะดำเนินการต่อไปได้
 นายกษิต กล่าวต่อว่าในการให้การโต้แย้งในศาล เรายืนยันชัดเจนว่าไทยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลโลกปี 2505 แล้ว โดยเราได้ยกปราสาทพระวิหารให้กับกัมพูชาและถอนทหารออกจากพื้นที่โดยรอบ รวมทั้งทำแนวรั้ว ซึ่งเท่ากับว่าเราบอกต่อประชาคนโลกและกัมพูชาว่าส่วนที่เหลือเป็นของประเทศ ไทย ฉะนั้นการที่ศาลจะพูดอะไรโดยใช้แผนที่ 1:200,000 ก็ไม่อยู่ในอำนาจของศาลที่จะพิจารณาอีก
 "หากมีการพิจารณาและยกดินแดนให้กับกัมพูชาในครั้งนี้ก็เท่ากับเป็นการใช้ประตูหลัง" นายกษิตกล่าว
  นายกษิตกล่าวต่อว่า ไทยเห็นว่าไม่มีความเร่งด่วนและมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก็ไม่อยู่ในภาวะที่ จะแก้ปัญหาต่างๆได้ เนื่องจากเหตุการณ์ปะทะเกิดขึ้นที่บริเวณปราสาทตาเมือน และปราสาทตาควาย ที่อยู่ห่างปราสาทพระวิหารราว 50 กิโลเมตร อีกทั้งประเด็นความขัดแย้งก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับปราสาทพระวิหาร ดังนั้นจะเอาเรื่องปราสาทตาเมือนกับตาควายมาเกี่ยวโยงกับปราสาทพระวิหารจึง เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง  ทั้งนี้ยืนยันว่ากลไกทวิภาคีเพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาทตามแนวชายแดนสามารถเดิน หน้าต่อไปได้ อีกทั้งขณะนี้ก็ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมก็เตรียมกำหนดการประชุม จีบีซีที่ จะมีขึ้นที่กรุงพนมเปญ
 นายกษิต กล่าวถึงการดำเนินการตามแพ็คเกจเพื่อส่งคณะผู้สังเกตุการณ์ชาวอินโดนีเซียลง พื้นที่ว่า  ทางไทยก็มีความพร้อม ดังนั้นการที่กัมพูชากล่าวหาว่ากลไกต่างๆชะงักงันก็ไม่เป็นความจริง พร้อมกันนั้นไทยขอปฏิเสธโดยสิ้นเชิงว่าไม่ได้เป็นประเทศใหญ่ที่รังแกกัมพูชา แต่ตลอดเวลาเราได้ช่วยเหลือกัมพูชา และไทย เป็นประเทศแรกที่ให้การรับรองกัมพูชาจาการได้รับเอกราชจากฝรั่งเศศ และยังสนับสนุนให้กัมพูชาเข้ามามีส่วนในกลุ่มความร่วมมืออาเซียน
 นายกษิตกล่าวต่อว่า ภายหลังจากการชี้แจงเสร็จสิ้นผู้พิพากษาชาวบราซิลก็ได้ถามถึงข้อมูลจาก เหตุการณ์ปะทะที่ชายแดนว่ามีชาวบ้านพักอาศัยเท่าไหร่และมีผู้อพยพออกจาก พื้นที่และมีความเสียหายเท่าไหร่  ต่อมา ประธานศาลโลกที่เป็นชาวญี่ปุ่นก็ได้แจ้งว่าขอให้ทั้งสองฝั่งจัดทำเอกสารข้อมูล ส่งให้ศาลโลกภาย ใน 7 มิ.ย. ซึ่งศาลก็จะมอบึคำชี้แจงของแต่ละประเทศให้อีกฝั่งเพื่อทำข้อมูลแย้งและส่ง คืนในวันที่ 14 มิ.ย. จากนั้น 3 สัปดาห์ก็จะมีคำตัดสินว่าจะรับหรือไม่รับการขอให้มีมาตรการคุ้มครองชั่ว คราว  ซึ่งหากรับก็ต้องมาดูว่ามาตรการจะมากน้อยเพียงใด แต่อย่างไรก็ตามไทยก็มีสิทธิที่จะรับหรือไม่รับคำตัดสินของศ่าลก็ได้ เพราะศาลโลกไม่มีหน้าที่บังคับแต่  หากมีคำตัดสิน คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ UNSC จะเป็นผู้บังคับให้ใช้อำนาจนี้
 ผู้สื่อข่าวถามว่า พอใจในการชี้แจงต่อศาลหรือไม่นายกษิตกล่าวว่า เราได้เตรียมการมาเกือบ 2 ปี  อย่างไรก็ตามเราก็ต้องเตรียมข้อมูลต่อไปเพื่อที่จะมาสนับสนุนข้อโต้แย้งกรณี ที่กัมพูชาขอให้ตีความคำพิพากษาเดิมในปี 2505 ซึ่งต้องส่งให้ศาลภายในเดือน ก.ย. จากนั้นศาลจะใช้เวลา 4 - 5 เดือนในการพิจารณา


คมชัดลึก :"ฮอร์ นัมฮง"โวได้เปรียบไทยหลายขุมในการสู้คดีที่ศาลโลก ลั่นเขมรไม่เสียหายไม่ว่าคำตัดสินจะออกมาเป็นอย่างไร



สำนักข่าวซินหัวของทางการจีน รายงานในวันนี้ (2มิ.ย.) ว่า นายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีต่างประเทศของกัมพูชาให้สัมภาษณ์หลังเดินทางกลับถึงสนามบินใน กรุงพนมเปญจากการนำทีมไปเบิกความในคดีที่ยื่นต่อศาลโลกเป็น เวลาสองวันว่า กัมพูชามีความได้เปรียบมากกว่าฝ่ายไทย เนื่องจากมีเอกสารและแผนที่ที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ สนับสนุนการสู้คดีปราสาทพระวิหารในครั้งนี้ แต่เรื่องนี้ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของคณะผู้พิพากษา
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือศาลโลก ณ นครเฮก ของเนเธอร์แลนด์ ได้เปิดโอกาสให้ฝ่ายกัมพูชาและไทยเข้าชี้แจงเมื่อวันที่ 30-31 พฤษภาคมกรณีกัมพูชาร้องขอให้ศาลให้ความคุ้มครองพื้นที่เขาพระวิหาร และออกคำสั่งให้ไทยถอนทหารในพื้นที่พิพาท และตีความคำตัดสินเมื่อปี 2505 ใหม่ และหลังจากสองฝ่ายเบิกความเสร็จสิ้นแล้ว อาจจะมีคำตัดสินในอีก 40-45 วันข้างหน้า
นายฮอร์ นัมฮง ยังกล่าวด้วยว่า ไม่ว่าคำตัดสินของศาลโลกจะออกมาอย่างไร กัมพูชาก็ไม่ได้เสียหายอะไร เพราะฝ่ายกัมพูชาเป็นฝ่ายยื่นคำร้องไปเอง และปราสาทพระวิหารก็ยังคงเป็นของกัมพูชาอยู่ดี
ก่อนหน้านี้ศาลโลกเคยตัดสินเมื่อปี พ.ศ.2505 ยกปราสาทพระวิหารให้เป็นของกัมพูชา แต่ไทยยืนยันอ้างกรรมสิทธิ์ในพื้นที่โดยรอบ 4.6 ตารางกิโลเมตร




เผยไทยมีสิทธิ์รับ-ไม่รับคำตัดสินศาลโลก



คมชัดลึก :"กษิต" เผยไทยมีสิทธิ์รับหรือไม่รับคำตัดสินของศาลโลกได้ ชี้ศาลไม่มีอำนาจบังคับ ระบุแต่ผลหากไม่ทำตามก็ต้องไปยูเอ็นเอสซี ยัน"กัมพูชา"ฟ้องศาลโลกไม่กระทบต่อการส่งทีมผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย ลงพื้นที่ชายแดนไทย-เขมร



(2มิ.ย.) นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงกรณีหากศาลโลกมีคำสั่งออกมาทางใดทางหนึ่งออกมา ว่า ศาลโลกจะ ตัดสินเรื่องคำขอของกัมพูชาที่จะให้ศาลออกมาตรการชั่วคราวว่าจะรับหรือไม่ รับ และถ้ารับจะมีคำสั่งมากน้อยแค่ไหนอย่างไร แต่ก็ไม่แน่ว่าศาลอาจมีคำพิพากษาก่อนก็เป็นได้ เพราะได้มีการส่งเอกสารและข้อมูลประกอบต่างๆไปให้ศาลพิจารณาก่อนหน้านี้แล้ว อย่างไรก็ดีทั้งหมดเป็นเพียงการคาดเดา
 "เรื่องนี้ต้องปล่อยให้เป็นดุลพินิจของศาล โดยจะมีการแจ้งวันผ่านตัวแทนรัฐบาลไทยเพื่อให้ส่งทีมไปนั่งฟังคำตัดสิน ซึ่งหากเป็นภายในปลายเดือนมิถุนายน หรือต้นเดือนกรกฎาคมผมจะเดินทางไปด้วยตัวเอง"นายกษิตกล่าวและว่า
 หากไทยไม่ปฎิบัติตามคำตัดสิน เรื่องทั้งหมดจะไม่กลับมาที่ศาลโลก เพราะศาลไม่มีอำนาจบังคับ แต่เรื่องการบังคับให้เป็นไปตามมติของศาลโลกเป็น อำนาจของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็นเอสซี) ซึ่งเป็นองค์กรสูงสุดของประชาคมโลก ในหลักการเราต้องรับผลบังคับในฐานะของสมาชิกที่ดีของยูเอ็น และถ้าเราไม่ทำก็ต้องไปยูเอ็นเอสซี
 ผู้สื่อข่าวถามว่า มีความมั่นใจแค่ไหนหลังการชี้แจง และคาดว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ นายกษิต กล่าวว่า เรื่องนี้เหมือนทีมฟุตบอล อยู่ที่การฝึกซ้อมก่อนลงแข่ง เราเตรียมการล่วงหน้ามา 2 ปี ทำงานกับทีมทนายที่ปรึกษามาตลอด มีการค้นคว้าเอกสารจากหอจดหมายเหตุในประเทศต่างๆเพื่อป้อนเป็นข้อมูลเป็นพัน เป็นหมื่นฉบับ และยังจะทำต่อไปอย่างไม่ลดละ จากถ้อยแถลงของทั้ง 4 ท่านได้ขึ้นกล่าวต่อศาล ได้มีการแบ่งงานออกมาอย่างดี มีความสอดคล้องและตอบรับกัน เชื่อว่าสิ่งที่ได้พูดตอบทุกประเด็นปัญหาที่ฝ่ายกัมพูชายกขึ้น ด้วยเหตุด้วยผลทางกฎหมาย และหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เราเจอ แต่ตนไม่อยู่ในฐานะที่จะตัดสินว่าสำเร็จหรือไม่ เป็นหน้าที่ของสื่อและนักวิชาการ แต่จากที่อ่านผ่านสื่อคิดว่าเราได้รับการตอบรับในทางบวก
 นายกษิต กล่าวยืนยันด้วยว่า การไปขึ้นศาลโลกไม่ ส่งผลกระทบต่อกระบวนการส่งคณะผู้สังเกตการณ์จากอินโดนีเซียเข้ามายังชายแดน ไทย-กัมพูชา เพราะเรื่องดังกล่าวก็มีความคืบหน้าไปตามขั้นตอนอยู่แล้ว เพียงแต่อาจจะถูกเรื่องอื่นกลบไป ไทยพร้อมและรอให้อินโดนีเซียส่งคณะเข้ามาสำรวจพื้นที่พร้อมกับรอให้กัมพูชา ตอบรับการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป(จีบีซี)อยู่ ขณะนี้ภาระไม่ได้อยู่ที่ประเทศไทย

ไทยเสียดินแดนแน่นอน อ.เทพมนตรี ลิปพยอม 01/06/54

เผยศาลโลกถามเหตุปะทะไทย-กัมพูชา


คมชัดลึก :ศาลโลกสอบถามเหตุการณ์ปะทะไทย-กัมพูชา พร้อมสั่งให้แต่ละปท.ส่งเอกสารแจงภายใน 7 มิ.ย. ก่อนมีคำวินัจฉัย ในวันที่ 14 มิ.ย.นี้ ทีมกฎหมายไทยแจงศาลโลก ชี้ศาลเลี่ยงตีความสถานะทาง กม.ของแผนที่ประกอบคำตัดสินกรณีปราสาทพระวิหาร


(1มิ.ย.) นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์หลังเสร็จสิ้นการชี้แจงในศาลโลก ว่า ผู้พิพากษาได้สอบถามถึงผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่หลังเหตุปะทะในเดือน เมษายนว่าทั้งสองประเทศได้เคลื่อนย้ายประชาชนออกจากพื้นที่มากน้อยแค่ ไหนอย่างไร ความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างไร โดยให้เวลาทั้งสองประเทศ 1 สัปดาห์ในการตอบกลับมายังศาลเป็นลายลักษณ์อักษร คือ ภายในวันที่ 7 มิถุนายน จากนั้นศาลจะนำคำตอบของแต่ละฝ่ายส่งให้อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อให้ชี้แจงกลับมาภาย ในวันที่ 14 มิถุนายนต่อไป
ไทยแจงศาลโลกชี้เลี่ยงตีความสถานะ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคมที่ผ่านมา เมื่อเวลา 16.00-18.00 น . คณะดำเนินคดีของฝ่ายไทยได้กล่าวชี้แจงต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) เป็นวันที่สองของการนั่งพิจารณา กรณีคำขอของกัมพูชาให้ศาลโลกมีคำสั่งมาตรการชั่วคราวให้ไทยถอนทหารออก จากบริเวณปราสาทพระวิหาร ซึ่ง ในโอกาสดังกล่าว คณะฝ่ายไทยได้เสนอข้อมูลข้อเท็จจริงต่าง ๆ เพื่อตอบโต้ประเด็นที่ฝ่ายกัมพูชากล่าวหาไทย รวมถึงประเด็นที่กัมพูชาหยิบยกในช่วงการกล่าวคำแถลงในช่วงสองวันที่ผ่านมา เริ่มจากศาสตราจารย์อลัง เปลเล่ต์ (Alain Pellet) ตามด้วยศาสตราจารย์เจมส์ ครอว์ฟอร์ด (James Crawford) โดยนายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ในฐานะตัวแทน (Agent) ของประเทศไทย กล่าวเป็นลำดับสุดท้าย สรุปประเด็นสำคัญในคำกล่าวของคณะฝ่ายไทยได้ดังนี้
 1 . ศาสตราจารย์เปลเล่ต์ได้กล่าวในประเด็นด้านกฎหมายเพื่อชี้ให้เห็นว่า คำขอของกัมพูชาให้ศาลตีความ คำพิพากษาอยู่นอกเขตอำนาจของศาล ดังนั้น คำขอเรื่องมาตรการชั่วคราวซึ่งเกี่ยวเนื่องกัน ก็อยู่นอกเขตอำนาจศาลเช่นกัน ทั้งนี้ ศาสตราจารย์เปลเล่ต์ได้ยกเหตุผลสนับสนุน โดยเฉพาะในประเด็นที่ว่า คำพิพากษาของศาลโลกเมื่อปี 2505 เน้นเฉพาะเรื่องของอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหาร และ ในครั้งนั้น ศาลได้ปฏิเสธที่จะตีความสถานะทางกฎหมายของแผนที่ภาคผนวก 1 และเส้นเขตแดนในพื้นที่บริเวณดังกล่าวตามที่กัมพูชาขอ โดยใช้แผนที่ประกอบเป็นเหตุผลหนึ่งในการพิพากษาเท่านั้น ดังนั้น ประเด็นเรื่องแผนที่จึงไม่อาจนำมาตีความได้
 นอกจากนี้ ไทยก็ได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาแล้ว โดยกัมพูชาก็ยอมรับและไม่เคยประท้วง แม้แต่เมื่อครั้งที่กษัตริย์สีหนุเสด็จฯ เยือนปราสาทพระวิหารเมื่อเดือน ม. ค. 2506 ก็ไม่ได้ทักท้วงแนวรั้วที่ไทยจัดทำไว้ ซึ่งก็เท่ากับเป็นการยอมรับ ศาสตราจารย์เปลเล่ต์กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของความเห็นแตกต่างในเรื่องเขตแดน ไทยกับกัมพูชา ก็ได้ตกลงที่จะเจรจาจัดทำหลักเขตตลอดแนว โดยลงนามในบันทึกความเข้าใจเมื่อปี 2543 ซึ่งสะท้อนว่าทั้ง 2 ฝ่ายตระหนักว่า คำพิพากษาไม่ได้ตัดสินในเรื่องนี้ และก็ไม่ได้ระบุถึงคำพิพากษาปี 2505 เป็นหนึ่งในเอกสารที่จะนำมาพิจารณาในการเจรจาไว้ในบันทึกความเข้าใจ
 2 . ศาสตราจารย์ครอว์ฟอร์ดกล่าวว่า คำขอของกัมพูชาในประเด็นการตีความคำพิพากษากับประเด็นมาตรการชั่วคราวมีนัย ยะที่ขัดกันเอง โดยเห็นว่า มาตรการชั่วคราวที่กัมพูชาขอไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของศาล การขอมาตรการชั่วคราวต้องสามารถเชื่อมโยงกับคำขอหลักในเรื่องการตีความ แต่สิ่งที่กัมพูชาขอไม่ใช่ข้อขัดแย้งในเรื่องการตีความคำพิพากษาปี ๒๕๐๕ แต่กลับเป็นการขอให้ศาลตัดสินข้อพิพาทใหม่ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตาม หรืออีกนัยหนึ่งคือ การบังคับให้เป็นไปตามคำพิพากษา และข้อ 60 ของธรรมนูญศาลไม่ได้ให้อำนาจแก่ศาลในกรณีนี้   นอกจากนี้ กัมพูชาก็ไม่ได้แสดงให้เห็นว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างมาตรการที่ขอกับสิทธิ ที่มาตรการดังกล่าวจะคุ้มครอง อีกทั้งการที่กัมพูชารอมาเกือบ 50 ปีก็ยิ่งลดความเชื่อมโยงดังกล่าวลงไปอีก จึงเป็นการขอให้ศาลทำเกินขอบเขตของอำนาจตามข้อ 41 ของธรรมนูญศาลโลก ศาลจึงไม่ควรตอบสนองคำขอดังกล่าว
 3 . ขณะที่ นายวีระชัย ได้ย้ำต่อศาลโลกว่า ท่าทีของประเทศไทยมีความสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ประการแรก ไทยยอมรับและปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกเมื่อปี 2505 อย่างครบถ้วนแล้วซึ่งกัมพูชาก็ยอมรับ ประการที่สอง ศาลโลกไม่ได้ตัดสินเกี่ยวกับเส้นเขตแดนซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องมีการกำหนด ต่อไปตามกรอบกฎหมายระหว่างประเทศ โดยในระหว่างที่การเจรจาเขตแดนกำลังดำเนินอยู่ภายใต้กลไกทวิภาคี ที่จัดตั้งขึ้นตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตปี 2543 ไทยก็ได้ยึดเส้นแนวเขตตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2505 มาโดยตลอด และประการที่สาม การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกจำเป็นต้องมีพื้นที่ในการบริหาร จัดการซึ่งพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในดินแดนไทย ซึ่งเป็นเหตุผลที่ไทยได้แสดงความพร้อมที่จะขึ้นทะเบียนร่วมกับกัมพูชา แต่การที่กัมพูชาปฏิเสธเรื่องนี้นำไปสู่ปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการขึ้น ทะเบียน ทั้งนี้ ไทยคัดค้านกลยุทธ์ในการสร้างความขัดแย้ง เพื่อเป็นเหตุให้ศาลสั่งมาตรการชั่วคราว เพื่อให้ไทยออกจากบริเวณที่จำเป็นสำหรับกัมพูชาในการเสนอแผนบริหารจัดการให้ ทันการพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลกในปลายเดือนมิถุนายน
 เอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ย้ำต่อไปว่า ไทยยึดหลักการของความจริงใจในการดำเนินความสัมพันธ์กับกัมพูชา ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของประเทศที่เท่าเทียมกันและมีชายแดนร่วมกัน ไม่ใช่ระหว่างประเทศที่เข้มแข็งกับประเทศที่อ่อนแอกว่า ดังเช่นที่กัมพูชาพยายามจะสร้างภาพ เพื่อช่วยปกปิดจุดมุ่งหมายที่แท้จริงซึ่งสะท้อนในคำปราศรัยของผู้นำกัมพูชา และการดำเนินการของกัมพูชาเพื่อให้ได้พื้นที่ที่อยู่ในดินแดนไทย แต่จำเป็นต่อการผลักดันแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารให้ได้รับการรับรองโดย คณะกรรมการมรดกโลก
 ต่อข้อกล่าวหาของกัมพูชา เอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ได้กล่าวตอบโต้ในประเด็นข้อเท็จจริงต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้เน้นว่า ประเทศไทยไม่ได้มีความต้องการที่จะแย่งชิงดินแดนของกัมพูชา แต่มุ่งรักษาดินแดนของไทยที่มีอยู่ตามกฎหมายระหว่างประเทศ และพร้อมที่จะเจรจากับกัมพูชาในเรื่องเขตแดน ส่วนของข้อกล่าวหาที่ว่าไทยโจมตีเพื่อสร้างความเสียหายต่อปราสาทพระวิหาร นั้น ข้อเท็จจริงคือกัมพูชาใช้ปราสาทพระวิหารเป็นฐานที่มั่นในการโจมตีไทยซึ่ง ละเมิดอนุสัญญากรุงเฮกว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางวัฒนธรรมในกรณีการขัด กันด้วยอาวุธ ค.ศ.1954 ขณะที่ไทยใช้สิทธิเพื่อป้องกันตนเองในระดับที่เหมาะสม และมุ่งเฉพาะเป้าหมายทางทหาร   ส่วนการที่กัมพูชาพยายามเชื่อมโยงปัญหากับการเมืองภายในของไทยนั้น เอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ย้ำว่า ไทยเป็นประเทศประชาธิปไตยและการพิจารณาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับอธิปไตยจะ ต้องได้รับการตรวจสอบโดยรัฐสภา ทั้งนี้ การเมืองของไทยไม่มีความเกี่ยวข้องแต่อย่างใดกับประเด็นที่ศาลกำลังพิจารณา
 สำหรับประเด็นเกี่ยวกับประชาชนชาวกัมพูชาที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง ปราสาทพระวิหารนั้น คนเหล่านี้ไม่ได้อยู่อาศัยมานานตามที่กัมพูชาอ้าง แต่เพิ่งได้รับการย้ายเข้าไปอยู่บริเวณดังกล่าวเพื่อเป้าหมายด้านการเมือง ซึ่งอยู่นอกขอบเขตของการพิจารณาของศาลในครั้งนี้ ส่วนที่กัมพูชาอ้างว่ามีความเสี่ยงที่ความขัดแย้งจะทวีความรุนแรงเพราะไทย ความจริงเรื่องนี้ขึ้นอยู่กับกัมพูชาที่เป็นฝ่ายเริ่มการโจมตีมาตลอด อีกทั้งกัมพูชาก็เป็นฝ่ายขยายความขัดแย้งจากบริเวณปราสาทพระวิหารไปยัง พื้นที่อื่น คือ บริเวณปราสาทตาเมือนและตาควาย ไม่ใช่ไทย การที่มีเหตุการณ์ปะทะเกิดขึ้นในบริเวณอื่นก็ไม่ควรเป็นเหตุให้ต้องเชื่อว่า จะมีเหตุการณ์ที่จะส่งผลกระทบที่ไม่สามารถเยียวยาได้ในบริเวณปราสาทพระวิหาร จึงไม่ควรเป็นเหตุให้ศาลต้องพิจารณามีคำสั่งมาตรการชั่วคราว
 เอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก กล่าวย้ำว่า ในการให้การสองฝ่ายที่ผ่านมา ฝ่ายไทยได้แสดงให้ศาลเห็นว่า ไทยกับกัมพูชาไม่มีความเห็นที่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับความหมายหรือขอบเขตของคำ พิพากษาปี 2505 และคำขอของกัมพูชาให้ศาลตีความคำพิพากษาเป็นความพยายามที่จะให้ศาลตัดสินใน ประเด็นอื่นที่ศาลไม่ได้ตัดสินไว้เมื่อปี 2505 ด้วยเหตุนี้ คำขอดังกล่าวจึงอยู่นอกเขตอำนาจศาล และก็ไม่สมเหตุสมผลแต่อย่างใดที่จะมีการพิจารณาตีความ จึงขอให้ศาลยกคำร้องที่ฝ่ายกัมพูชายื่นเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2554
 ในช่วงท้ายของการนั่งพิจารณา ประธานคณะผู้พิพากษาศาลโลกได้กล่าวว่า ศาลจะพิจารณามีคำสั่งเกี่ยวกับมาตรการชั่วคราวในโอกาสแรก ซึ่งจะได้แจ้งให้ตัวแทนของแต่ละประเทศต่อไป

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง