บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554

ความเห็นต่อแผนที่กูเกิ้ลของ Sermsuk Kasitipradit




Sermsuk Kasitipradit ปราสาทตระกูลตาเมือน นี่เรียงกันสามหลังจากใต้ขึ้นเหนือ ใต้สุดตาเมือนธม ตามด้วยตาเมือนโต๊ด และตาเมือนบายครีม หลังตาเมือนะมนี่อยุ่ตรงสันปันน้ำเลยครับ นี่ฟังทหารเขาว่ามา ทำให้เป็นปัญหา ส่วนสองหลังอันหลังนี่ลึกเข้ามาในไขตไทยครับ ส่วนตาควายนี่ก็คร่อมสันปันน้ำเหมือนกัน เป้นปัญหายาวแน่นอน หลังเขมรตั้งหลักได้มันก็จะกวนซ่นteen ไทยอย่างที่มันทำมาตลอดครับ

MOU2544 จะทำให้ไทยเสียดินแดนทางทะเลจากเส้นอาณาเขตมั่ว ผนวกการสุ่มเสี่ยงเปลี่ยนตำแหน่งหลักเขต 73 จาก MOU2543

โดย Rattawoot Pratoomraj

MOU2544 จะทำให้ไทยเสียดินแดนทางทะเลจากเส้นอาณาเขตมั่วของเขมร เสริมกับ การสุ่่มเสี่ยงต่อเกมฉ้อฉลเปลี่ยนตำแหน่งหลักเขต 73 ตามแผนที่ 1:200,000 ใน MOU2543 ทำให้เพิ่มอาณาเขตทางทะเลให้เขมร ได้พื้นที่แหล่งพลังงานในอ่าวไทย มากขึ้นอีก

"..ปัญหาเขตแดนทางทะเลที่ว่านี้ ไม่ใช่เพียงแค่การฆ่าตัดตอนผลประโยชน์ทางทะเลของกลุ่มทักษิณ ชินวัตร ที่ทางฝ่ายรัฐบาลให้เหตุผลหากจะมีการยกเลิก MOU 2544 ว่าเป็นเพราะทำในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และทางรัฐบาลกัมพูชาได้ตั้งให้อดีตนายกรัฐมนตรีไทยผู้นี้เป็นที่ปรึกษาทางด้านเศรษฐกิจของประเทศกัมพูชา รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาส่วนตัวทางด้านเศรษฐกิจของสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีของกัมพูชา จึงรับประกันไม่ได้ว่าอดีตนายกรัฐมนตรีไทยจะเปิดเผยข้อมูลที่เป็นความลับแก่ประเทศคู่กรณีในผลประโยชน์ทางทะเลด้วยกันหรือไม่ ทั้งนี้เพราะมันมีเหตุผลที่ขึ้นอยู่กับความเป็นธรรมตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ และผลประโยชน์ของประเทศชาติที่ถูกต้องเป็นธรรมตามหลักการด้วย

โดยกัมพูชาประกาศอ้างสิทธิ์ฝ่ายเดียวในเขตไหล่ทวีป เมื่อปีพ.ศ. 2515 เริ่มจากจุดตั้งต้นของเส้นไหล่ทวีปที่ไม่มีค่าพิกัดที่แน่นอน ลากผ่านเกาะกูดของไทยโดยไม่มีพื้นฐานทางกฎหมายรองรับ และเส้นไหล่ทวีปในแนวเหนือ-ใต้ ไม่ได้กำหนดจากเส้นฐานหมู่เกาะของทั้งสองประเทศตามหลักสากล

ฝ่ายไทยได้ประกาศอ้างสิทธิ์ในเขตไหล่ทวีปตามมาในปี พ.ศ. 2516 แม้จุดเริ่มต้นของเส้นไหล่ทวีปจะยังมีค่าพิกัดไม่แน่นอน เพราะต้องขึ้นอยู่กับหลักเขตแดนหลักที่ 73 หลักเขตสุดท้ายทางบกที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของทางทะเล ซึ่งเรียกว่าเป็นหลักอ้างสิทธิ์ แต่ไทยได้ใช้พื้นฐานทางกฎหมายรองรับในการลากเส้น.."

ยกข้อความมาจาก
ยกเลิก MOU 2544...เพราะละเมิดพันธกรณีอย่างร้ายแรง 
 โดย ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ  สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
http://www.praviharn.net/index.php?option=com_content&view=article&id=130&Itemid=148

อ่านเพิ่ม :
ปราสาทพระวิหารกับการสูญเสียดินแดนไทย โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 25 พฤศจิกายน 2553
http://www.manager.co.th/daily/ViewNews.aspx?NewsID=9530000166800

เขมร รบ ไทย ขบเหลี่ยมชิงแหล่งพลังงานในทะเล โดย : ธนบูลย์ จิรานุวัฒน์ นักวิชาการกฎหมายระหว่างประ
เทศ จากกรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 15 ก.พ. 2544
http://bit.ly/f7IAx4

JOINT DEVELOPMENT IN THE GULF OF THAILAND
ดาวน์โหลด : http://www.dur.ac.uk/resources/ibru/publications/full/bsb7-3_thao.pdf

Mitsui Oil Exploration Co.,Ltd. : Project in Thailand
http://www.moeco.co.jp/en/project/thailand.html

ประกาศที่กระทรวงต่างประเทศเขมร

ประกาศที่กระทรวงต่างประเทศเขมร
แจ้งข้อความเป็นทางการแก่รัฐบาลไทยโดยผ่านสถานทูตไทย ณ กรุงพนมเปญ
ถือว่าข้อความนั้นเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลเขมรได้เลย เช่น.."ถ้าเขาบอกว่าปราสาททั้งสองแห่งเป็นของเขา"
ถือว่ารัฐบาลเขมรประกาศ ฟ้องได้เลยว่าไทยละเมิดอธิปไตยของเขมร แต่รัฐบาลไทยไม่ทำอะไรเลย
"เพราะปราสาททั้งสองแห่งเป็นของเราไม่ไช่พื้นที่ทับซ้อน.."



จับอดีตผู้ใหญ่บ้านโทรบอกพิกัด ให้ทหารเขมรถล่มไทย

เปิดหลักฐานคดีปราสาทพระวิหาร ทำไมศาลโลกถึงไม่ตัดสินแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ? โดยปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

ในคดีปราสาทพระวิหารที่ศาลโลกได้ตัดสินเมื่อ พ.ศ. 2505 นั้นศาลได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้ออธิปไตยของกัมพูชา  แต่มีคำถามอยู่ว่าเหตุใดศาลโลกไม่ตัดสินให้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดในเรื่องแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ?

เพราะถ้าตัดสินทางใดทางหนึ่งให้รู้แล้วรู้รอดความขัดแย้งคงไม่ลามมาจนถึงวันนี้

บางคนอ่านจากคำพิพากษาของศาลโลกแล้ววิเคราะห์เอาเองว่า ศาลโลกไม่มีอำนาจตัดสินเรื่องเขตแดน บางคนก็วิเคราะห์ว่าเป็นเพราะกัมพูชาเพิ่งมามีคำขอให้ศาลโลกพิพากษาตัดสินในเรื่องแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ในภายหลัง และบางคนก็สรุปเอาอย่างสั้นๆง่ายๆว่าประเทศไทยโชคดี ฯลฯ   

เพื่อความกระจ่างจึงน่าจะถอดรหัสถึงการบรรยายเหตุผลหรือเบื้องหลังหาสาเหตุว่าทำไมศาลโลกไม่พิพากษาแผนที่มาตราส่วน 1:200,000

ประเด็นแรกคือศาลโลกไม่ตัดสินการขยายคำฟ้องจากเดิมจริงหรือไม่?

กล่าวโดยสรุปคือเริ่มแรกกัมพูชาได้ยื่นคำขอให้ศาลโลกพิพากษาเพียงแค่ 2 ข้อคือ 1.ขอให้ไทยถอนทหารออกจากตัวปราสาทและ 2. ขอให้ศาลตัดสินอำนาจอธิปไตยแห่งดินแดนเหนือปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา 

ต่อมาวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2505 กัมพูชาเพิ่มคำขอเป็น 4 ข้อ โดยให้พิพากษาเพิ่มเติมอีก 2 ข้อ คือ ขอให้ศาลโลกพิพากษา “เส้นเขตแดน”ตามแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ประการหนึ่ง   และขอให้พิพากษาชี้ขาดว่ารัฐบาลไทยจะต้องส่งคืน สิ่งประติมากรรม แผ่นศิลา  ส่วนปรักหังพังของอนุสาวรีย์ รูปหินทราย และเครื่องปั้นดินเผาที่ได้ถูกโยกย้ายไปจากปราสาทพระวิหาร

ต่อมาวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2505  กัมพูชาเพิ่มคำขออีก 1 ข้อ คือ ขอให้ศาลพิพากษาแผนที่มาตราส่วน 1:200,000

สุดท้ายศาลโลกไม่พิพากษา “เส้นเขตแดน”ตามแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ที่กัมพูชาเพิ่มคำขอต่อศาลโลกมาตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2505  และไม่พิพากษา “แผนที่”มาตราส่วน 1:200,000 ที่กัมพูชาเพิ่มคำขอต่อศาลโลกมาตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2505

แต่ศาลโลกนอกจากจะพิพากษาใน 2 ประเด็นแรกเริ่มที่กัมพูชาร้องขอ (ตัวปราสาทพระวิหาร และ ให้ไทยถอนทหารออกจากตัวปราสาทพระวิหาร) ศาลโลกกลับพิพากษาเรื่องที่ว่ารัฐบาลไทยจะต้องส่งคืนโบราณวัตถุที่ถูกย้ายออกไปจากตัวปราสาทพระวิหารให้กับกัมพูชาด้วย  ซึ่งกัมพูชาขอได้ขอต่อศาลโลก”เพิ่มเติม”เอาไว้เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2505

ดังนั้นการขอให้ศาลโลกพิพากษาชี้ขาดเพิ่มเติมในภายหลังนั้น ไม่น่าจะใช่เหตุผลที่ศาลโลกไม่พิพากษา “แผนที่” และ “เส้นเขตแดน”ตามแผนที่มาตราส่วน 1:200,000  เพราะโดยข้อเท็จจริงแล้วศาลโลกไม่ได้พิพากษาในบางประเด็นที่กัมพูชาร้องขอเพิ่มเติม  แต่ศาลโลก็ได้พิพากษาตามที่กัมพูชาร้องเพิ่มเติมในบางประเด็นเช่นกัน 

แท้ที่จริงแล้วโครงสร้างการต่อสู้คดีปราสาทพระวิหาร เมื่อ พ.ศ. 2505 นั้นมีองค์ประกอบที่หยิบยกขึ้นมาต่อสู้ 3 ประเด็น

ประเด็นแรก  ฝ่ายไทยหยิบยกประเด็นข้อได้เปรียบที่ว่าแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ไม่ใช่ผลงานการปักปันระหว่างสยามกับฝรั่งเศส เพราะถือว่าฝรั่งเศสจัดทำขึ้นฝ่ายเดียว โดยที่คณะกรรมการปักปันสยามกับฝรั่งเศสไม่ได้รับรอบความถูกต้องของแผนที่ดังกล่าว

ประเด็นที่สอง ฝ่ายกัมพูชาหยิบยกประเด็นที่ว่าแผนที่มาตาราส่วน 1:200,000 นั้นฝ่ายไทยไม่เคยปฏิเสธ นิ่งเฉย ไทยจึงโดนกฎหมายปิดปากให้ถือว่ายอมรับแผนที่มาตราส่วน 1:200,000

ประเด็นที่สาม ฝ่ายไทยหยิบยกในประเด็นข้อเท็จจริงของผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ ว่าสันปันน้ำอยู่ที่ขอบหน้าผา และยังปรากฏบันทึกของประธานคณะกรรมการปักปันฝ่ายฝรั่งเศสอีกด้วยว่า การสำรวจและปักปันสยามกับฝรั่งเศสนั้นเสร็จสิ้นแล้ว และบริเวณทิวเขาดงรักนั้น สันปันน้ำคือขอบหน้าผาเห็นได้ชัดเจนมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าจากตีนภูเขาดงรัก  ดังนั้นแผนที่จึงมีความผิดพลาดไม่เป็นไปตามสนธิสัญญาสยามกับฝรั่งเศส และไม่เป็นไปตามที่ได้ตกลงปักปันกันระหว่างสยามกับฝรั่งเศส

ผลปรากฏว่าในประเด็นแรกศาลโลกได้ยอมรับว่าแผนที่นี้ไม่ได้จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมการปักปันสยามกับฝรั่งเศส แต่ว่าจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียวจริงตามที่ฝ่ายไทยได้หยิบยกขึ้นมาต่อสู้  แต่ศาลโลกเห็นว่าไทยก็นิ่งเฉยและไม่ปฏิเสธต่อแผนที่ดังกล่าวที่ฝรั่งเศสจัดทำขึ้นตามที่กัมพูชาต่อสู้เช่นกันจึงเท่ากับว่าไทยต้องยอมรับตามกฎหมายปิดปาก ศาลจึงสรุปว่าให้น้ำหนักเหตุผลประเด็นเรื่องกฎหมายปิดปากของกัมพูชามากกว่าเหตุผลของไทย

คงเหลือประเด็นที่สามซึ่งฝ่ายไทยได้ต่อสู้เรื่องสันปันน้ำที่แท้จริงตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ตามหลักวิทยาศาสตร์  และตามผลงานการสำรวจและปักปันระหว่างสยามกับฝรั่งเศสที่ปรากฏในบันทึกรายงานของประธานการปักปันฝ่ายฝรั่งเศสนั้น ปรากฏว่าศาลโลกไม่กล่าวถึงประเด็น “สันปันน้ำที่แท้จริง” ในคำพิพากษาหลักเลยราวกับว่าไม่เคยมีเรื่องนี้เกิดขึ้น  คงเหลือแต่เอาไว้ในคำพิพากษาแย้งของผู้พิพากษาหลายคนที่เห็นว่าตามหลักข้อเท็จจริงแล้วเมื่อสันปันน้ำอยู่ที่ขอบหน้าผาแล้ว ปราสาทจึงต้องอยู่ในแผ่นดินไทย  ซึ่งปรากฏว่าไม่มีผู้พิพากษาในศาลโลกแม้แต่คนเดียวที่โต้แย้งในประเด็นนี้ของฝ่ายไทยได้

ดังนั้นศาลโลกจึงไม่บรรยายชี้ขาดหรือโต้แย้งในคำพิพากษาหลักในประเด็นเรื่องข้อเท็จจริงในเรื่องสันปันน้ำอยู่ที่ขอบหน้าผาตามที่ฝ่ายไทยหยิบยกมาแม้แต่น้อย เพราะหากหยิบยกขึ้นมาพิจารณาหรือบรรยายเหตุผลเมื่อไรก็จะขัดแย้งอย่างรุนแรงกับกฎหมายปิดปาก ซึ่งอันที่จริงแล้วศาลโลกย่อมตระหนักว่าข้อเท็จจริงเรื่องสันปันน้ำตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส  และผลงานการสำรวจและปักปันระหว่างสยามกับฝรั่งเศสว่าสันปันน้ำอยู่ที่ขอบหน้าผา ตลอดจนเหตุผลที่พิสูจน์ในทางวิทยาศาสตร์เรื่องสันปันน้ำที่ฝ่ายไทยหยิบยกนั้นนอกจากจะขัดแย้งอย่างรุนแรงกับกฎหมายปิดปากแล้ว ยังจะมีน้ำหนักมากกว่ากฎหมายปิดปากเสียอีก

ตรงนี้นี่เองน่าจะเป็นเหตุผลสำคัญที่ศาลโลกไม่พูดถึง “สันปันน้ำที่แท้จริง” และน่าจะเป็นเหตุผลที่แท้จริงที่ทำให้ศาลโลก ไม่ตัดสินเรื่อง “แผนที่” และ “เส้นเขตแดน” ตามแผนที่มาตราส่วน 1:200,000  เพราะถ้าจะพิพากษาเรื่องแผนที่และเส้นเขตแดนตามแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ตามที่กัมพูชาร้องขอ ศาลโลกจะไม่มีสิทธิ์ละเว้นหรือหลีกเลี่ยงไม่พูดถึงประเด็นในเรื่อง “สันปันน้ำที่แท้จริง” ไปได้เลย

ด้วยเหตุผลนี้เราจึงพบร่องรอยบางถ้อยคำในคำพิพากษาของศาลโลกในตอนท้ายว่าเหตุใดจึงไม่พิพากษา “แผนที่” และ “เส้นเขตแดน” ตามแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 จึงไม่ใช่บทปฏิบัติการของคำพิพากษาความว่า:

“คำแถลงสรุปข้อที่หนึ่งและข้อที่สองของกัมพูชาที่ขอให้ศาลพิพากษาชี้ขาดในเรื่องสภาทางกฎหมายของแผนที่ภาคผนวก 1 และในเรื่องเส้นเขตแดนในอาณาบริเวณที่พิพาท จะรับฟังได้ก็แต่เพียงในฐานที่เป็นการแสดงเหตุผล และมิใช่เป็นข้อเรียกร้องที่จะต้องกล่าวถึงในบทปฏิบัติการของคำพิพากษา  ในทางตรงกันข้ามศาลเห็นว่าประเทศไทยนั้นหลังจากที่ได้แถลงข้อเรียกร้องของตนเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือพระวิหารแล้ว ได้จำกัดการต่อสู้คดีตามคำแถลงสรุปของตนในตอนจบกระบวนพิจารณาภาควาจาอยู่แต่เพียงการโต้แย้งและปฏิเสธเพื่อลบล้างข้อต่อสู้ฝ่ายตรงข้ามเท่านั้น โดยปล่อยให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะเลือกหาเหตุผลที่ศาลเห็นเหมาะสมซึ่งคำพิพากษาอาศัยเป็นมูลฐาน

ความหมายก็คือไทยโต้แย้งเฉพาะโต้แย้งฝ่ายกัมพูชาเท่านั้น และปล่อยให้ศาล “เลือกมูลฐาน”เกี่ยวกับกฎหมายปิดปากอย่างเดียว โดยไม่กล่าวถึงมูลฐาน “สันปันน้ำที่แท้จริง” ใช้ในการตัดสินคดีปราสาทพระวิหาร

ด้วยเหตุผลนี้รัฐบาลไทยในยุคนั้นจึงได้ทำการประท้วง และสงวนสิทธิ์ในความอยุติธรรมของศาลโลก  พ.ศ. 2505 ต่อเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ตลอดจนได้แถลงต่อที่ประชุมสมาชิกสหประชาชาติ โดยปราศจากการโต้แย้งใดๆจากที่ประชุมทั้งสิ้น

ส่วนกัมพูชาก็ดูจะพอใจอย่างยิ่งที่ได้ตัวปราสาทพระวิหารมาตั้งแต่นั้น โดยกัมพูชายอมอยู่ในรั้วที่ฝ่ายไทยกั้นเอาไว้ให้ ไม่เคยประท้วง ไม่เคยอุทธรณ์ และไม่เคยสงวนสิทธิ์ที่หวังจะได้ดินแดนตามแผนที่มาตราส่วน 1:200,000  จนเลยระยะเวลา 10 ปี ตามธรรมนูญศาลโลก ที่จะขยายผลคำพิพากษาไปยังแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ไปนานแล้ว

กว่า 30 – 40 ปี ไทยกับกัมพูชาจึงอยู่กันอย่างสงบในบริเวณเขาพระวิหาร เพราะฝ่ายไทยตั้งข้อสงวนที่จะทวงคืนปราสาทพระวิหารในอนาคต  ส่วนฝ่ายกัมพูชาก็ยินดีและพอใจที่อยู่ในขอบรั้วที่ฝ่ายไทยกั้นเอาไว้ให้  คนไทยและกัมพูชาก็จะขึ้นตัวปราสาทพระวิหารจากฝั่งไทย  และอยู่กันอย่างเอื้ออาทรต่อกัน

ไทยและกัมพูชากลับมาเกิดความขัดแย้งครั้งใหญ่อีกครั้ง เพราะแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งตายไปพร้อมกับคำพิพากษาศาลโลก พ.ศ. 2505  ที่ตัดสินเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารนั้น ได้ถูกปลุกขึ้นมาอีกครั้งในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก พ.ศ. 2543 (MOU 2543)  ทำให้กัมพูชาเกิดแรงจูงใจใหม่ในการรุกราน ยึดครองแผ่นดินไทย สำแดงอำนาจอธิปไตยบนแผ่นดินไทย  นำแผ่นดินไทยไปเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกของกัมพูชา และยึดยอดหน้าผาฝั่งไทยให้มาเป็นฐานทัพยิงใส่ราษฎรไทยและทหารไทยอย่างอำมหิตโหดเหี้ยม  เพื่อให้ได้ดินแดนไทยมาเป็นของกัมพูชาตามแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 โดยอาศัยกฎหมายปิดปากเป็นพื้นฐาน

ที่น่าเศร้าก็คือรัฐบาลไทยไม่กล้าแม้จะทวงคืนแผ่นดินไทยกลับคืน ทำให้ทหารกัมพูชาได้ใจใช้อาวุธสงครามจากยอดหน้าผาบนผืนแผ่นดินไทยยิงใส่ราษฎรไทย  จนราษฎรไทยต้องอพยพหนีออกจากถิ่นฐานแผ่นดินไทยอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง