ความขัดแย้งกรณีปราสาทพระวิหาร
ปํญหาเขตแดน
ความขัดแย้งเรื่องเขตแดนระหว่าง ไทย - กัมพูชา เกิดขึ้นหลังจากที่ฝรั่งเศสเข้าครอบครองอินโดจีนอันเป็นผลให้ไทยต้องทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศสและปักปันเขตแดนในปี พ.ศ.๒๔๔๗ (ค.ศ.๑๙๐๔) เป็นต้นมา โดยได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการปักปันเขตแดนผสมชุดเเรก เมื่อพ.ศ.๒๔๔๙
(ค.ศ.๑๙๐๖) และจัดตั้งคณะกรรมการปักปันเขตแดนผสมชุดที่สอง
ตามสนธิสัญญาฉบับ ค.ศ.๑๙๐๗ และจัดทำแผนที่ขึ้นสำเร็จรวม ๑๑ ฉบับ
ซึ่งคลุมถึงเขตแดนส่วนใหญ่ระหว่างสยาม กับอินโดจีนฝรั่งเศส
โดยฝรั่งเศสเป็นผู้จัดทำแต่เพียงฝ่ายเดียว และลากเส้นเอาเขาพระวิหาร ซึ่งครอบคลุมปราสาทพระวิหารที่อยู่ในความครอบครองของไทยเข้าไปอยู่ในเขตแดนกัมพูชาของฝรั่งเศสแทน จากนั้นในปี พ.ศ.๒๔๕๑
(ค.ศ.๑๙๐๘) จึงได้ส่งแผนที่ให้รัฐบาลสยาม
(ค.ศ.๑๙๐๖) และจัดตั้งคณะกรรมการปักปันเขตแดนผสมชุดที่สอง
ตามสนธิสัญญาฉบับ ค.ศ.๑๙๐๗ และจัดทำแผนที่ขึ้นสำเร็จรวม ๑๑ ฉบับ
ซึ่งคลุมถึงเขตแดนส่วนใหญ่ระหว่างสยาม กับอินโดจีนฝรั่งเศส
โดยฝรั่งเศสเป็นผู้จัดทำแต่เพียงฝ่ายเดียว และลากเส้นเอาเขาพระวิหาร ซึ่งครอบคลุมปราสาทพระวิหารที่อยู่ในความครอบครองของไทยเข้าไปอยู่ในเขตแดนกัมพูชาของฝรั่งเศสแทน จากนั้นในปี พ.ศ.๒๔๕๑
(ค.ศ.๑๙๐๘) จึงได้ส่งแผนที่ให้รัฐบาลสยาม
ต่อมาในปีพ.ศ.๒๔๙๗ (ค.ศ.๑๙๕๔) ฝรั่งเศส แพ้สงคราม
เวียดนามที่ เดียน เบียน ฟู ฝรั่งเศส ต้องถอนทหารออกจากอินโดจีน ไทยจึงได้ส่งทหารเข้าไปรักษาการในบริเวณเขาพระวิหารอีกครั้ง
เวียดนามที่ เดียน เบียน ฟู ฝรั่งเศส ต้องถอนทหารออกจากอินโดจีน ไทยจึงได้ส่งทหารเข้าไปรักษาการในบริเวณเขาพระวิหารอีกครั้ง
แต่ภายหลังกัมพูชาได้รับเอกราชปี พ.ศ.๒๕๐๒ (ค.ศ.๑๙๕๙)
เจ้านโรดม สีหนุ จึงได้ฟ้องต่อศาลโลก เมื่อ ๖ ต.ค.๐๒ กล่าวหาว่าประเทศไทยละเมิดอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนของประเทศกัมพูชา
ในเขตปราสาทและบริเวณพระวิหาร ซึ่งศาลฯ ได้พิจารณาโดยถือการปักปันเขตแดน และยึดถือแผนที่ที่ฝรั่งเศสจัดทำเป็นสำคัญ โดยมิได้ให้ความสำคัญในเรื่องสันปันน้ำตามที่ระบุไว้ในสนธิสัญญาแต่ประการใด สำหรับลักษณะภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ ศาสนา และโบราณคดีนั้น ศาลโลกไม่ถือว่าข้อโต้แย้งเหล่านี้มีความสำคัญในทางกฎหมายแต่อย่างใด ศาลฯพิจารณาเฉพาะเหตุผลที่จะสามารถนำมาสนับสนุนคำวินิจฉัยเพื่อระงับข้อพิพาท โดยศาลฯ เห็นว่าไทย (สยาม) ได้รับแผนที่ดังกล่าวนั้นไว้จึงถือว่าได้รับรองแผนที่นั้นแล้ว ดังนั้น จึงพิพากษาเมื่อ ๑๕ มิ.ย.๐๕ ให้ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในดินแดนของกัมพูชา
จะเห็นได้ว่าศาลฯไม่ได้ ยึดถือสนธิสัญญาซึ่งเป็นหลักสำคัญของกฎหมายระหว่างประเทศ แต่กลับไปยึดเอาแผนที่การปักปันเขตแดนที่มีปัญหาและไม่สมบูรณ์ คำพิพากษาของศาลโลกจึงไม่ได้ตัดสินเรื่องมอบอธิปไตยเหนือดินแดน ทั้งหมดตามเส้นเขตแดนในแผนที่ภาคผนวก ๑
ที่กัมพูชาเสนอไป เพราะจะเป็นการขัดแย้งกับสันปันน้ำในสนธิสัญญาอย่างชัดเจน จึงเลี่ยงไปใช้แผนที่
เพื่อระบุเฉพาะส่วนแยกปราสาทพระวิหารออกไปเท่านั้น
เจ้านโรดม สีหนุ จึงได้ฟ้องต่อศาลโลก เมื่อ ๖ ต.ค.๐๒ กล่าวหาว่าประเทศไทยละเมิดอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนของประเทศกัมพูชา
ในเขตปราสาทและบริเวณพระวิหาร ซึ่งศาลฯ ได้พิจารณาโดยถือการปักปันเขตแดน และยึดถือแผนที่ที่ฝรั่งเศสจัดทำเป็นสำคัญ โดยมิได้ให้ความสำคัญในเรื่องสันปันน้ำตามที่ระบุไว้ในสนธิสัญญาแต่ประการใด สำหรับลักษณะภูมิประเทศ ประวัติศาสตร์ ศาสนา และโบราณคดีนั้น ศาลโลกไม่ถือว่าข้อโต้แย้งเหล่านี้มีความสำคัญในทางกฎหมายแต่อย่างใด ศาลฯพิจารณาเฉพาะเหตุผลที่จะสามารถนำมาสนับสนุนคำวินิจฉัยเพื่อระงับข้อพิพาท โดยศาลฯ เห็นว่าไทย (สยาม) ได้รับแผนที่ดังกล่าวนั้นไว้จึงถือว่าได้รับรองแผนที่นั้นแล้ว ดังนั้น จึงพิพากษาเมื่อ ๑๕ มิ.ย.๐๕ ให้ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในดินแดนของกัมพูชา
จะเห็นได้ว่าศาลฯไม่ได้ ยึดถือสนธิสัญญาซึ่งเป็นหลักสำคัญของกฎหมายระหว่างประเทศ แต่กลับไปยึดเอาแผนที่การปักปันเขตแดนที่มีปัญหาและไม่สมบูรณ์ คำพิพากษาของศาลโลกจึงไม่ได้ตัดสินเรื่องมอบอธิปไตยเหนือดินแดน ทั้งหมดตามเส้นเขตแดนในแผนที่ภาคผนวก ๑
ที่กัมพูชาเสนอไป เพราะจะเป็นการขัดแย้งกับสันปันน้ำในสนธิสัญญาอย่างชัดเจน จึงเลี่ยงไปใช้แผนที่
เพื่อระบุเฉพาะส่วนแยกปราสาทพระวิหารออกไปเท่านั้น
ดังนั้นผู้พิพากษาส่วนใหญ่ (๙:๓ )
จึงพิจารณาเฉพาะอธิปไตย
เหนือตัวปราสาทได้แค่นั้น
พื้นที่นอกเหนือจากตัวปราสาท
จึงเป็นเขตแดนอธิปไตยของไทย
ไม่มีดินแดนทับซ้อน
ไทยเคารพคำตัดสินแต่ยังคงยืนยันการมีอธิปไตย
เหนือดินแดน จึงสร้างรั้วลวดหนาม
ใกล้ปราสาทพระวิหาร
หลังจากศาลโลกตัดสินเมื่อ ๑๕ มิ.ย.๐๕ แล้ว รัฐบาลจอมพล
สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จึงได้สั่งการให้ ล้อมรั้วลวดหนามใกล้ตัวปราสาทพระวิหารเพื่อยืนยันสิทธิ์ว่าเขตแดนนั้นเป็นของไทย (โดยเฉพาะพื้นที่ ๔.๖ ตร.กม.ที่กัมพูชาอ้างสิทธิ์) โดยกัมพูชาก็มิได้ทักท้วง ทำให้กัมพูชาไม่มีทางขึ้นปราสาทพระวิหาร นอกจากจะขึ้นทางเขตแดนไทย
สฤษดิ์ ธนะรัชต์ จึงได้สั่งการให้ ล้อมรั้วลวดหนามใกล้ตัวปราสาทพระวิหารเพื่อยืนยันสิทธิ์ว่าเขตแดนนั้นเป็นของไทย (โดยเฉพาะพื้นที่ ๔.๖ ตร.กม.ที่กัมพูชาอ้างสิทธิ์) โดยกัมพูชาก็มิได้ทักท้วง ทำให้กัมพูชาไม่มีทางขึ้นปราสาทพระวิหาร นอกจากจะขึ้นทางเขตแดนไทย
ความพยายามของกัมพูชาเพื่อให้ได้สิทธิ์ครอบครองพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อน
เขมรแดงทำลายรั้วลวดหนามที่ไทยสร้างไว้
ในห้วงของการเกิดสงครามภายในของกัมพูชา เขมรแดงแพ้สงครามจึงได้หลบหนีมาอยู่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา โดยกำลังบางส่วนได้ขึ้นไปอยู่บริเวณปราสาทพระวิหาร เนื่องจากเป็นพื้นที่สูงกว่า เขมรแดงจึงได้ทำลายรั้วลวดหนามที่รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
สั่งการให้สร้างไว้ ต่อมาเขมรแดงได้เข้าร่วมกับรัฐบาลกัมพูชาอีกทั้งได้มีชาวกัมพูชาเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อน ๔.๖ ตร.กม.
โดยที่ฝ่ายไทยได้ทำการทักท้วงด้วยการส่งบันทึกช่วยจำและทำบันทึกข้อตกลงกับกัมพูชา (แต่มิได้ทำการผลักดันออกไป)
กัมพูชาอ้างสิทธิ์ว่ามีอธิปไตยเหนือดินแดนในพื้นที่ ๔.๖ ตร.กม.ของไทยตามแผนที่ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศส และชาวกัมพูชายังได้เข้ามาสร้างชุมชน ร้านค้า วัดแก้วสิขาคีรีสะวารา เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๑ สร้างถนนจากบ้านโกมุยเขตกัมพูชาเข้ามาเชื่อมต่อกับถนนในเขตไทยในพื้นที่
อ้างสิทธิ์ทับซ้อน ๔.๖ ตร.กม.ผ่านวัดแก้วสิขาคีรีสะวาราไปยังปราสาทพระวิหารเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๖ นอกจากนั้นยังมีหน่วยงานและกำลังทหารของกัมพูชาเข้ามาอยู่ในพื้นที่ ถึงแม้รัฐบาลไทยจะได้ทำการทักท้วงแต่มิได้ทำการผลักดันหรือดำเนินการตามมาตรการตรวจคนเข้าเมืองในระยะเวลาอันสมควร ฉะนั้นจึงอาจเป็นเหตุให้ผูกมัดรัฐบาลไทยในภายหลัง หรือที่เรียกว่า กฎหมายปิดปาก (Estoppel) ได้ว่ารัฐบาลไทยยอมรับการใช้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชาโดยปริยาย (Implied Recognition) (ลักษณะเดียวกันกับที่ไทยเคยเสียปราสาท
พระวิหารที่เคยยอมรับรองและรับแผนที่นั้นไว้)
อ้างสิทธิ์ทับซ้อน ๔.๖ ตร.กม.ผ่านวัดแก้วสิขาคีรีสะวาราไปยังปราสาทพระวิหารเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๖ นอกจากนั้นยังมีหน่วยงานและกำลังทหารของกัมพูชาเข้ามาอยู่ในพื้นที่ ถึงแม้รัฐบาลไทยจะได้ทำการทักท้วงแต่มิได้ทำการผลักดันหรือดำเนินการตามมาตรการตรวจคนเข้าเมืองในระยะเวลาอันสมควร ฉะนั้นจึงอาจเป็นเหตุให้ผูกมัดรัฐบาลไทยในภายหลัง หรือที่เรียกว่า กฎหมายปิดปาก (Estoppel) ได้ว่ารัฐบาลไทยยอมรับการใช้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชาโดยปริยาย (Implied Recognition) (ลักษณะเดียวกันกับที่ไทยเคยเสียปราสาท
พระวิหารที่เคยยอมรับรองและรับแผนที่นั้นไว้)
การดำเนินการทางการทูต และการประชาสัมพันธ์กับสื่อมวลชนต่างประเทศของกัมพูชา
กัมพูชามีขีดความสามารถในการดำเนินการทางการทูต
และการกระจายข่าวต่อสื่อมวลชนนานาชาติได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะนานาชาตินั้นให้ความเห็นใจพยายามช่วยเหลือและสนับสนุนกัมพูชาเนื่องจากเห็นว่ากัมพูชาผ่านภัยสงครามภายในมา และเป็นประเทศที่มีการพัฒนาล้าหลัง (ด้อยพัฒนา) จึงอยากให้กัมพูชามีมรดกโลกใหม่ที่จะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวนำรายได้เข้าประเทศ
และการกระจายข่าวต่อสื่อมวลชนนานาชาติได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะนานาชาตินั้นให้ความเห็นใจพยายามช่วยเหลือและสนับสนุนกัมพูชาเนื่องจากเห็นว่ากัมพูชาผ่านภัยสงครามภายในมา และเป็นประเทศที่มีการพัฒนาล้าหลัง (ด้อยพัฒนา) จึงอยากให้กัมพูชามีมรดกโลกใหม่ที่จะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวนำรายได้เข้าประเทศ
สำหรับการดำเนินการด้านการทูตเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับประเทศของตนนั้น กัมพูชาได้มีหนังสือไปยังประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ขอให้มีหนังสือเวียนให้สมาชิกทราบว่าไทยได้กล่าวหา กัมพูชาล่วงละเมิดอธิปไตยและบูรณาภาพแห่งดินแดนของไทยนั้นเป็นการกล่าวอ้างบนพื้นฐานของแผนที่ ซึ่งไทยเป็นผู้จัดทำขึ้นเองฝ่ายเดียว ในขณะที่กัมพูชาได้ใช้ความพยายามอย่างถึงที่สุดที่จะหลีกเลี่ยงการใช้กำลัง แต่กัมพูชาไม่อาจเพิกเฉยต่อการยั่วยุของไทยได้ นอกจากนั้นยังได้ยื่นบันทึกช่วยจำให้ไทยว่า นรม.ไทย
(นายสมัครฯ) ได้ประกาศอย่างชัดเจนว่าจะให้การสนับสนุนการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลกเมื่อครั้งเดินทางเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการและย้ำว่าในความ เห็นของกัมพูชาไม่ปรากฏพื้นที่อ้างอธิปไตยทับซ้อน (ตีความหมายได้ ๒ นัย นัยหนึ่งตีความว่ากัมพูชายอมรับว่าพื้นที่ทับซ้อนนั้นเป็นของไทย หรืออีกนัยหนึ่งตีความได้ว่ากัมพูชายืนยันว่าพื้นที่ทับซ้อนนั้นเป็นของกัมพูชา) ขณะที่ทางการไทยมิได้มีบันทึกช่วยจำหรือเอกสารใด ๆ ที่โต้แย้งข้อกล่าวอ้างของกัมพูชาตามบันทึกช่วยจำดังกล่าวเพื่อเป็นหลักฐานยืนยันไว้ ย่อมมีผลเป็นการยืนยันว่าเนื้อหาที่ปรากฏในบันทึกช่วยจำของกัมพูชานั้นถูกต้อง จึงเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้ข้อกล่าวอ้างของกัมพูชาที่ปฏิเสธเขตพื้นที่ทับซ้อนมีน้ำหนักในทางกฎหมายมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นกัมพูชายังได้นำคณะทูตและผู้ช่วยทูตทหารประเทศต่าง ๆ ในกัมพูชาที่สำคัญได้แก่ สหรัฐฯ จีน ฝรั่งเศส และเวียดนาม เดินทางเยี่ยมชมปราสาทพระวิหารและเดินทางเข้าไปตรวจการณ์ในพื้นที่ทับซ้อนผ่านชุมชนกัมพูชา และวัดแก้วสิกขาคีรีสะวาราไปยังปราสาทพระวิหารโดยย้ำให้คณะฯ ทราบว่า
ไม่จำเป็นต้องขอความเห็นชอบหรือได้รับอนุญาตจากฝ่ายไทย เนื่องจากเป็นดินแดนของกัมพูชา
(นายสมัครฯ) ได้ประกาศอย่างชัดเจนว่าจะให้การสนับสนุนการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลกเมื่อครั้งเดินทางเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการและย้ำว่าในความ เห็นของกัมพูชาไม่ปรากฏพื้นที่อ้างอธิปไตยทับซ้อน (ตีความหมายได้ ๒ นัย นัยหนึ่งตีความว่ากัมพูชายอมรับว่าพื้นที่ทับซ้อนนั้นเป็นของไทย หรืออีกนัยหนึ่งตีความได้ว่ากัมพูชายืนยันว่าพื้นที่ทับซ้อนนั้นเป็นของกัมพูชา) ขณะที่ทางการไทยมิได้มีบันทึกช่วยจำหรือเอกสารใด ๆ ที่โต้แย้งข้อกล่าวอ้างของกัมพูชาตามบันทึกช่วยจำดังกล่าวเพื่อเป็นหลักฐานยืนยันไว้ ย่อมมีผลเป็นการยืนยันว่าเนื้อหาที่ปรากฏในบันทึกช่วยจำของกัมพูชานั้นถูกต้อง จึงเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้ข้อกล่าวอ้างของกัมพูชาที่ปฏิเสธเขตพื้นที่ทับซ้อนมีน้ำหนักในทางกฎหมายมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นกัมพูชายังได้นำคณะทูตและผู้ช่วยทูตทหารประเทศต่าง ๆ ในกัมพูชาที่สำคัญได้แก่ สหรัฐฯ จีน ฝรั่งเศส และเวียดนาม เดินทางเยี่ยมชมปราสาทพระวิหารและเดินทางเข้าไปตรวจการณ์ในพื้นที่ทับซ้อนผ่านชุมชนกัมพูชา และวัดแก้วสิกขาคีรีสะวาราไปยังปราสาทพระวิหารโดยย้ำให้คณะฯ ทราบว่า
ไม่จำเป็นต้องขอความเห็นชอบหรือได้รับอนุญาตจากฝ่ายไทย เนื่องจากเป็นดินแดนของกัมพูชา
กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
กัมพูชามีความพยายามที่จะขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ต่อองค์กรการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๘ เป็นต้นมา แต่เอกสารขาดรายละเอียด ไม่ครบถ้วนตามหลักวิชา คณะกรรมการมรดกโลกจึงให้ไปปรับปรุงเอกสารการยื่นขอจดทะเบียนใหม่ ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๔๙ กัมพูชาจึงยื่นขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกอีกครั้ง และได้รับการบรรจุ
เป็นวาระในการประชุมของคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ ๓๑ ใน ก.ค.๕๐ ณ เมืองไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ ในการประชุม ไทยได้ทักท้วงและเสนอให้ใช้วิธีขึ้นทะเบียนร่วมกันโดยรวมโบราณสถานที่อยู่ในพื้นที่ฝั่งไทยด้วย แต่กัมพูชาไม่ยินยอม ปลายปี พ.ศ.๒๕๕๐ กัมพูชาได้พาเจ้าหน้าที่สภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (ICOMOS) สำรวจ พื้นที่บนเขาพระวิหาร มีผู้เชี่ยวชาญจากสี่ประเทศ ได้แก่ สหรัฐฯ ฝรั่งเศส เบลเยียม และอินเดีย ไปสำรวจเพื่อเตรียมทำรายงานแผนบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาท และเพื่อให้ความเห็นทางวิชาการต่อคณะกรรมการมรดกโลก นอกจากนั้นรายงานของ ICOMOS ยังได้บิด เบือนข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ว่าปราสาทพระวิหารไม่มีส่วนต่อเนื่องที่ สำคัญอยู่ในประเทศไทยมีเฉพาะส่วนที่อยูในพื้นที่กัมพูชาเป็นองค์ประกอบหลักที่สมบูรณ์เพียงพอ และบันไดที่ทอดลงมาทางทิศเหนือ
สู่พื้นที่ฝั่งไทยนั้นสร้างขึ้นภายหลังบันไดที่ใช้มาก่อน คือ บันไดหัก ทางทิศตะวันออกที่ขึ้นมาจากพื้นที่เชิงเขาในฝั่งกัมพูชา และสระตราว
ซึ่งนักโบราณคดีถือว่าเป็นบารายของปราสาทนั้น ยังระบุว่าเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่สร้างเป็นทำนบหินกั้นน้ำไหลลงมาสู่ลานหินจนกลายเป็น สระน้ำ
เป็นวาระในการประชุมของคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ ๓๑ ใน ก.ค.๕๐ ณ เมืองไครสต์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ ในการประชุม ไทยได้ทักท้วงและเสนอให้ใช้วิธีขึ้นทะเบียนร่วมกันโดยรวมโบราณสถานที่อยู่ในพื้นที่ฝั่งไทยด้วย แต่กัมพูชาไม่ยินยอม ปลายปี พ.ศ.๒๕๕๐ กัมพูชาได้พาเจ้าหน้าที่สภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (ICOMOS) สำรวจ พื้นที่บนเขาพระวิหาร มีผู้เชี่ยวชาญจากสี่ประเทศ ได้แก่ สหรัฐฯ ฝรั่งเศส เบลเยียม และอินเดีย ไปสำรวจเพื่อเตรียมทำรายงานแผนบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาท และเพื่อให้ความเห็นทางวิชาการต่อคณะกรรมการมรดกโลก นอกจากนั้นรายงานของ ICOMOS ยังได้บิด เบือนข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ว่าปราสาทพระวิหารไม่มีส่วนต่อเนื่องที่ สำคัญอยู่ในประเทศไทยมีเฉพาะส่วนที่อยูในพื้นที่กัมพูชาเป็นองค์ประกอบหลักที่สมบูรณ์เพียงพอ และบันไดที่ทอดลงมาทางทิศเหนือ
สู่พื้นที่ฝั่งไทยนั้นสร้างขึ้นภายหลังบันไดที่ใช้มาก่อน คือ บันไดหัก ทางทิศตะวันออกที่ขึ้นมาจากพื้นที่เชิงเขาในฝั่งกัมพูชา และสระตราว
ซึ่งนักโบราณคดีถือว่าเป็นบารายของปราสาทนั้น ยังระบุว่าเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่สร้างเป็นทำนบหินกั้นน้ำไหลลงมาสู่ลานหินจนกลายเป็น สระน้ำ
สำหรับ ICOMOS (ไทย) นั้นเห็นว่าคุณค่าที่สมบูรณ์ของปราสาทพระวิหารเชื่อมโยงอย่างแยกออกไม่ได้กับภูมิทัศน์โดยรอบ
การวางผังและการวางแนวทิศทางซึ่งหันหน้าไปทางเหนือนั้น มีความแตกต่างจากวิหารเขมรอื่น ๆ นอกจากนั้นยังมีความคงบริบูรณ์ (lntactness) ของมรดกทางวัฒนธรรมโดยรอบ คือ ต้องพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆ อันประกอบกันขึ้นเพื่อที่จะแสดงความสมบูรณ์และคุณค่าของมรดกทางประวัติศาสตร์นั้น ซึ่งจากข้อมูลทางโบราณคดี วัตถุโบราณอย่างสระตราว สถูปคู่ ภาพสลักนูนต่ำ โดนตวล ฯลฯ ที่ตั้งอยู่ฝั่งไทยยังเป็นองค์ประกอบสำคัญของปราสาทพระวิหาร นอกจากนี้กัมพูชาได้ร้องขอความช่วยเหลือจากประเทศต่าง ๆ เพื่อขอให้ช่วยเตรียมการจัดทำรายงานความคืบหน้าและทำแผนบริหารจัดการพื้นที่ทับซ้อนนั้น โดยผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่าง ๆ ช่วยจัดทำให้กัมพูชาโดยไม่ให้ไทยเกี่ยวข้อง ในการประชุมที่เมืองเสียมราฐไทยส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วม ๒ คน ซึ่งพบว่ายังคงใช้แผนที่ล้ำเขตไทยและกีดกันไทยออกจากการมีส่วนร่วมในแผนฯ โดยให้ไทยนำเสนอแผนบริหารจัดการเฉพาะส่วนที่อยู่ในฝั่งไทย ตัวแทนไทยจึงถอนตัวเพื่อประท้วงการใช้แผนที่
ซึ่งแสดงเส้นเขตแดนล้ำฝั่งไทยและการบิดเบือนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวปราสาท อีกทั้งสมเด็จฮุนเซนฯ ยังได้แจ้งต่อนายสมัครฯ นรม.ไทย
ซึ่งไปร่วมประชุมที่กัมพูชาว่าจะขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทคำว่า“เฉพาะตัวปราสาท”เพิ่งปรากฏในครั้งนี้ แต่ไทยยังไม่เฉลียวใจว่ามีการเตรียมการที่จะให้กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนแต่ฝ่ายเดียวได้ และเตรียมการให้คณะกรรมการมรดกโลกอนุมัติได้โดยไม่ผิดหลักเกณฑ์ ซึ่งองค์กรการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) เชิญประชุม เมื่อ ๒๕-๒๖ มี.ค.๕๑ ทำแผนอนุรักษ์ปราสาทและพื้นที่รอบปราสาทโดยจะให้มีการทบทวนและพิจารณาความเห็นของฝ่ายไทย
แต่ไทยเห็นว่าเพียงไม่ให้การสนับสนุน ก็สามารถทำให้คณะกรรมการฯ ไม่อนุมัติขึ้นทะเบียนมรดกโลกอยู่แล้ว จึงไม่ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมทำให้พลาดโอกาสแสดงความเห็นคัดค้านรายงานของ ผู้เชี่ยวชาญที่บิดเบือนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลักษณะของปราสาทไว้เป็นหลักฐาน ในเอกสารผนวกที่เสนอต่อคณะกรรมการฯ
การวางผังและการวางแนวทิศทางซึ่งหันหน้าไปทางเหนือนั้น มีความแตกต่างจากวิหารเขมรอื่น ๆ นอกจากนั้นยังมีความคงบริบูรณ์ (lntactness) ของมรดกทางวัฒนธรรมโดยรอบ คือ ต้องพิจารณาองค์ประกอบต่าง ๆ อันประกอบกันขึ้นเพื่อที่จะแสดงความสมบูรณ์และคุณค่าของมรดกทางประวัติศาสตร์นั้น ซึ่งจากข้อมูลทางโบราณคดี วัตถุโบราณอย่างสระตราว สถูปคู่ ภาพสลักนูนต่ำ โดนตวล ฯลฯ ที่ตั้งอยู่ฝั่งไทยยังเป็นองค์ประกอบสำคัญของปราสาทพระวิหาร นอกจากนี้กัมพูชาได้ร้องขอความช่วยเหลือจากประเทศต่าง ๆ เพื่อขอให้ช่วยเตรียมการจัดทำรายงานความคืบหน้าและทำแผนบริหารจัดการพื้นที่ทับซ้อนนั้น โดยผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่าง ๆ ช่วยจัดทำให้กัมพูชาโดยไม่ให้ไทยเกี่ยวข้อง ในการประชุมที่เมืองเสียมราฐไทยส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วม ๒ คน ซึ่งพบว่ายังคงใช้แผนที่ล้ำเขตไทยและกีดกันไทยออกจากการมีส่วนร่วมในแผนฯ โดยให้ไทยนำเสนอแผนบริหารจัดการเฉพาะส่วนที่อยู่ในฝั่งไทย ตัวแทนไทยจึงถอนตัวเพื่อประท้วงการใช้แผนที่
ซึ่งแสดงเส้นเขตแดนล้ำฝั่งไทยและการบิดเบือนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับตัวปราสาท อีกทั้งสมเด็จฮุนเซนฯ ยังได้แจ้งต่อนายสมัครฯ นรม.ไทย
ซึ่งไปร่วมประชุมที่กัมพูชาว่าจะขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทคำว่า“เฉพาะตัวปราสาท”เพิ่งปรากฏในครั้งนี้ แต่ไทยยังไม่เฉลียวใจว่ามีการเตรียมการที่จะให้กัมพูชาขอขึ้นทะเบียนแต่ฝ่ายเดียวได้ และเตรียมการให้คณะกรรมการมรดกโลกอนุมัติได้โดยไม่ผิดหลักเกณฑ์ ซึ่งองค์กรการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) เชิญประชุม เมื่อ ๒๕-๒๖ มี.ค.๕๑ ทำแผนอนุรักษ์ปราสาทและพื้นที่รอบปราสาทโดยจะให้มีการทบทวนและพิจารณาความเห็นของฝ่ายไทย
แต่ไทยเห็นว่าเพียงไม่ให้การสนับสนุน ก็สามารถทำให้คณะกรรมการฯ ไม่อนุมัติขึ้นทะเบียนมรดกโลกอยู่แล้ว จึงไม่ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมทำให้พลาดโอกาสแสดงความเห็นคัดค้านรายงานของ ผู้เชี่ยวชาญที่บิดเบือนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลักษณะของปราสาทไว้เป็นหลักฐาน ในเอกสารผนวกที่เสนอต่อคณะกรรมการฯ
ต่อมาหลังการประชุม เมื่อ ๒๒ พ.ค.๕๑ กัมพูชาขอเปลี่ยนการขึ้นทะเบียนให้เหลือเฉพาะตัวปราสาท จากเดิมที่ใช้ชื่อว่า Sacred Site of Preah Vihear Temple เหลือเพียง Temple of Prea Vihear และเปลี่ยนแผนที่ทั้งหมด แม้ว่าเจ้าหน้าที่ ยูเนสโก ท่านหนึ่งที่ร่วมประชุมอยู่ด้วยให้ความเห็นว่าการเปลี่ยนมาขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทขัดต่อหลักการทางวิชาการ แต่ประธานที่ประชุมซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงของยูเนสโก กลับบอกว่านี่เป็นข้อยกเว้นเนื่องจากเป็น Political Decision
เนื่องจากพื้นที่กันชนบริเวณใกล้ตัวปราสาทฯ เป็นพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อน องค์การยูเนสโกจึงเสนอให้จัดตั้งคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศ (International Coordinating Committee - ICC) เพื่อจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ร่วมโดยมีไทย กัมพูชา และอีกไม่เกิน ๗ ประเทศ เป็นกรรมการ (องค์การยูเนสโกและคณะกรรมการมรดกโลกไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับปัญหาเขตแดนและอนุสัญญาองค์การยูเนสโกว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลก ค.ศ.๑๙๗๒ ระบุว่าการขึ้นทะเบียนฯ
ไม่กระทบต่อการอ้างสิทธิ์ในดินแดนองค์การยูเนสโกและคณะกรรมการมรดกโลกไม่มีอาณัติหรืออำนาจหน้าที่ในเรื่องการกำหนดเขตแดน)
ไม่กระทบต่อการอ้างสิทธิ์ในดินแดนองค์การยูเนสโกและคณะกรรมการมรดกโลกไม่มีอาณัติหรืออำนาจหน้าที่ในเรื่องการกำหนดเขตแดน)
จนกระทั่ง เมื่อ ๘ ก.ค.๕๑ การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ ๓๒ ณ เมืองควิเบกประเทศแคนาดา จึงได้มีมติให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกตามคำขอของกัมพูชา แต่อย่างไรก็ตาม
ไทยก็ยังคงคัดค้านไม่เห็นด้วยกับมติคณะกรรมการมรดกโลกและกล่าวย้ำยืนยันว่าไทยยังคงสงวนสิทธิ์ของไทย ตามหนังสือของ ดร.ถนัด คอมันตร์
ถึงสหประชาชาติเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ไว้อีกครั้งหนึ่ง
ไทยก็ยังคงคัดค้านไม่เห็นด้วยกับมติคณะกรรมการมรดกโลกและกล่าวย้ำยืนยันว่าไทยยังคงสงวนสิทธิ์ของไทย ตามหนังสือของ ดร.ถนัด คอมันตร์
ถึงสหประชาชาติเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ไว้อีกครั้งหนึ่ง
บทวิเคราะห์
๑. ข้อพิจารณา
๑.๑ ที่มาของปัญหา
๑.๑.๑ กัมพูชา ต้องการมีรายได้จากการท่องเที่ยว เนื่องจากกัมพูชาเป็นประเทศที่มีการพัฒนาล้าหลัง
(ด้อยพัฒนา) จึงพยายามหารายได้เข้าประเทศ และรายได้จากการท่องเที่ยวจะเป็นหนทางหนึ่งที่จะสามารถสร้างรายได้เป็นอย่างมาก ดังนั้นกัมพูชาจึงมีความพยายามที่จะให้ปราสาทพระวิหาร
เป็นมรดกโลก แต่การเป็นมรดกโลกนั้นต้องมีพื้นที่กันชนและพื้นที่กันชนนั้นอยู่ในเขตไทย กัมพูชาจึงพยายามอ้างอธิปไตยโดยอาศัยแผนที่
ที่จัดทำโดยฝรั่งเศส หรือสิทธิ์ในการครองครองโดยปรปักษ์ในพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อน ๔.๖ ตร.กม. ดังนั้นกัมพูชาจึงต้องดำเนินการให้ปราสาท
พระวิหารเป็นมรดกโลกเสียก่อน แล้วค่อยดำเนินการเรื่องพื้นที่ทับซ้อนในโอกาสต่อไป
(ด้อยพัฒนา) จึงพยายามหารายได้เข้าประเทศ และรายได้จากการท่องเที่ยวจะเป็นหนทางหนึ่งที่จะสามารถสร้างรายได้เป็นอย่างมาก ดังนั้นกัมพูชาจึงมีความพยายามที่จะให้ปราสาทพระวิหาร
เป็นมรดกโลก แต่การเป็นมรดกโลกนั้นต้องมีพื้นที่กันชนและพื้นที่กันชนนั้นอยู่ในเขตไทย กัมพูชาจึงพยายามอ้างอธิปไตยโดยอาศัยแผนที่
ที่จัดทำโดยฝรั่งเศส หรือสิทธิ์ในการครองครองโดยปรปักษ์ในพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อน ๔.๖ ตร.กม. ดังนั้นกัมพูชาจึงต้องดำเนินการให้ปราสาท
พระวิหารเป็นมรดกโลกเสียก่อน แล้วค่อยดำเนินการเรื่องพื้นที่ทับซ้อนในโอกาสต่อไป
๑.๑.๒ กัมพูชา ต้องการมีเส้นทางถนนขึ้นไปยังปราสาทพระวิหาร การที่กัมพูชามีความพยายามที่จะให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียวโดยกีดกันไทยไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยนั้น จุดประสงค์หลักน่าจะมีสาเหตุจากความต้องการมีอธิปไตยเหนือพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อน ๔.๖ ตร.กม.โดยอ้างสิทธิ์ตามแผนที่ที่ได้จัดทำโดยฝรั่งเศส เพื่อให้มีเส้นทางถนนจากกัมพูชาขึ้นไปยังปราสาทพระวิหารได้จากเดิมที่กัมพูชาไม่เคยมีโอกาสที่จะขึ้นไปยังปราสาทพระวิหารได้ เนื่องจากศาลโลกตัดสินให้เฉพาะตัวปราสาทพระวิหารเท่านั้นที่ตั้งอยู่ในดินแดนของกัมพูชา
๑.๒ วิธีการของกัมพูชา
๑.๒.๑ กัมพูชา ต้องการให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาแต่เพียงฝ่ายเดียว ทั้ง นี้เพื่อให้ได้สิทธิ์ในพื้นที่กันชน(พื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อน ๔.๖ ตร.กม.) โดยกัมพูชาเห็นว่าหากกัมพูชายอมให้เป็นมรดกโลกร่วมจะทำให้กัมพูชามีโอกาส เสียสิทธิ์ในพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนไปโดยปริยาย กัมพูชาจึงพยายามทุกวิถีทางเพื่อกีดกันไทยออกจากการพิจารณาร่วมในทุกเวที ทำให้ไทยต้องประท้วงโดยการไม่เข้าร่วมประชุมเพื่อให้คณะกรรมการในเวทีการ ประชุมต่าง ๆ ยุติหรือกดดันกัมพูชา แต่กลายเป็นเข้าทางของกัมพูชาหรือเป็นไปตามที่กัมพูชาต้องการโดยไทยไม่รู้เท่าทันกัมพูชา และเชื่อว่าหากไทยไม่รู้เท่าทันกัมพูชาอยู่ต่อไปอาจทำให้การดำเนินงานของคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศ (ICC) มีผลกระทบต่อไทยที่จะมีโอกาสเสียดินแดนในพื้นที่ที่กัมพูชาอ้างสิทธิ์ทับซ้อนจากการที่ ICC จะเข้ามาบริหารจัดการในพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนด้วย
๑.๒.๒ กัมพูชาต้องการให้ ICC เข้ามาเป็นผู้จัดการบริหารพื้นที่ทับซ้อน โดยกัมพูชาอ้างสิทธิ์ ในพื้นที่ทับซ้อนตามแผนที่
ที่ได้จัดทำโดยฝรั่งเศสเพื่อให้มีอธิปไตยเหนือดินแดน หากกัมพูชาเป็นฝ่าย ได้เปรียบกัมพูชาอาจฟ้องต่อศาลโลกอีกครั้ง หลังจากที่เคยฟ้องต่อศาลโลกและไทยต้องเสียปราสาทพระวิหารไปเมื่อ ๑๕ มิ.ย.๐๕ และในกรณีนี้ก็เป็นไปในลักษณะเดียวกัน คือไทยเสียปราสาทพระวิหาร เพราะไทยยินยอมรับแผนที่ไว้เท่านั้น ส่วนกรณีอ้างสิทธิ์พื้นที่ทับซ้อน ๔.๖ ตร.กม.นั้นไทยปล่อยปละละเลยการยืนยันสิทธิ์ เนื่องจากกลัวเสียความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพียงแต่มีหนังสือประท้วงและทำบันทึก ข้อตกลงโดยที่กัมพูชามิได้ปฏิบัติตาม แต่กลับเป็นฝ่ายรุกเงียบเพื่อให้ได้สิทธิ์ในการครอบครองพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อน ๔.๖ ตร.กม.อยู่ต่อไป และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ ICC จะเข้ามาบริหารจัดการพื้นที่
อ้างสิทธิ์ทับซ้อนใน ก.พ.๕๒ นั้น จะทำให้ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เนื่องจากไทยและกัมพูชาและชาติอื่น ๆ อีก ไม่เกิน ๗ ชาติ
เป็นคณะกรรมการ (น่าจะได้แก่ประเทศสมาชิกถาวรของคณะมนตรี
ความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ซึ่งมีอยู่ ๕ ประเทศได้แก่ สหรัฐฯ จีน ฝรั่งเศส อังกฤษ และรัสเซีย ทั้งนี้เพราะ UNSC มีหน้าที่ ๑ ใน ๔ ประการคือสอบสวนเกี่ยวกับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การกระทบกระทั่งระหว่างประเทศ ส่วนอีก ๒ ประเทศน่าจะได้แก่ อินเดีย และเบลเยี่ยม หรือญี่ปุ่น โดยทั้ง ๗ ชาตินี้มีความเห็นใจและสนับสนุนกัมพูชา)
ที่ได้จัดทำโดยฝรั่งเศสเพื่อให้มีอธิปไตยเหนือดินแดน หากกัมพูชาเป็นฝ่าย ได้เปรียบกัมพูชาอาจฟ้องต่อศาลโลกอีกครั้ง หลังจากที่เคยฟ้องต่อศาลโลกและไทยต้องเสียปราสาทพระวิหารไปเมื่อ ๑๕ มิ.ย.๐๕ และในกรณีนี้ก็เป็นไปในลักษณะเดียวกัน คือไทยเสียปราสาทพระวิหาร เพราะไทยยินยอมรับแผนที่ไว้เท่านั้น ส่วนกรณีอ้างสิทธิ์พื้นที่ทับซ้อน ๔.๖ ตร.กม.นั้นไทยปล่อยปละละเลยการยืนยันสิทธิ์ เนื่องจากกลัวเสียความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพียงแต่มีหนังสือประท้วงและทำบันทึก ข้อตกลงโดยที่กัมพูชามิได้ปฏิบัติตาม แต่กลับเป็นฝ่ายรุกเงียบเพื่อให้ได้สิทธิ์ในการครอบครองพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อน ๔.๖ ตร.กม.อยู่ต่อไป และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ ICC จะเข้ามาบริหารจัดการพื้นที่
อ้างสิทธิ์ทับซ้อนใน ก.พ.๕๒ นั้น จะทำให้ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เนื่องจากไทยและกัมพูชาและชาติอื่น ๆ อีก ไม่เกิน ๗ ชาติ
เป็นคณะกรรมการ (น่าจะได้แก่ประเทศสมาชิกถาวรของคณะมนตรี
ความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ซึ่งมีอยู่ ๕ ประเทศได้แก่ สหรัฐฯ จีน ฝรั่งเศส อังกฤษ และรัสเซีย ทั้งนี้เพราะ UNSC มีหน้าที่ ๑ ใน ๔ ประการคือสอบสวนเกี่ยวกับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การกระทบกระทั่งระหว่างประเทศ ส่วนอีก ๒ ประเทศน่าจะได้แก่ อินเดีย และเบลเยี่ยม หรือญี่ปุ่น โดยทั้ง ๗ ชาตินี้มีความเห็นใจและสนับสนุนกัมพูชา)
การรุกเงียบของกัมพูชาเกิดขึ้นเนื่องจากมีโอกาสและช่องทางให้กระทำเช่นนั้นได้ โดยอาจเป็นความบังเอิญที่เขมรแดงได้ทำลายลวดหนาม (ในสมัยที่รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ สั่งการให้สร้างไว้
เพื่อยืนยันสิทธิ์ตามคำตัดสินของศาลโลกที่ตัดสินให้เฉพาะตัวปราสาทพระวิหารเท่านั้นที่ตั้งอยู่ในดินแดนของกัมพูชา) หลังจากเขมรแดงทำลายลวดหนามแล้ว ต่อมาชาวกัมพูชา ได้เข้ามาตั้งชุมชน ตลอดจนสร้างวัด นำกำลังทหารและหน่วยงานเข้ามาในพื้นที่และสร้างถนนจากบ้านโกมุยในเขตกัมพูชา เข้ามาในพื้นที่ทับซ้อนไปยังวัดแก้วสิกขาคีรีสะวารา เพื่อขึ้นไปยังปราสาทพระวิหาร
เพื่อยืนยันสิทธิ์ตามคำตัดสินของศาลโลกที่ตัดสินให้เฉพาะตัวปราสาทพระวิหารเท่านั้นที่ตั้งอยู่ในดินแดนของกัมพูชา) หลังจากเขมรแดงทำลายลวดหนามแล้ว ต่อมาชาวกัมพูชา ได้เข้ามาตั้งชุมชน ตลอดจนสร้างวัด นำกำลังทหารและหน่วยงานเข้ามาในพื้นที่และสร้างถนนจากบ้านโกมุยในเขตกัมพูชา เข้ามาในพื้นที่ทับซ้อนไปยังวัดแก้วสิกขาคีรีสะวารา เพื่อขึ้นไปยังปราสาทพระวิหาร
นอกจากการยืนยันสิทธิ์ดังกล่าวแล้ว กัมพูชายังได้พยายามสร้างเงื่อนไข ให้เกิดความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา เพื่อจะได้นำปัญหาเข้าสู่องค์การสหประชาชาติ หลังจากนั้นกัมพูชายังคงพยายามยืนยันสิทธิ์ด้วยการเชิญเอกอัครราชทูต และผู้ช่วยทูตทหารประเทศต่าง ๆ
ในกัมพูชา เดินทางจากกัมพูชา (ผ่านพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนซึ่งมีชุมชนและวัดของกัมพูชาในพื้นที่ ) ขึ้นไปยังปราสาทพระวิหารพร้อมกับแจ้งให้คณะทูตดังกล่าวทราบว่าพื้นที่นั้นเป็นของกัมพูชาจึงไม่ต้องขอความเห็นชอบ หรือยินยอมจากไทยก่อน อีกทั้งกัมพูชา ยังได้มีหนังสือไปยังคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เพื่อยืนยันว่าพื้นที่ทับซ้อนนั้นเป็นของกัมพูชา และส่งหนังสือมายังไทยเพื่อเป็นหลักฐานยืนยันสิทธิ์ด้วย
ในกัมพูชา เดินทางจากกัมพูชา (ผ่านพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนซึ่งมีชุมชนและวัดของกัมพูชาในพื้นที่ ) ขึ้นไปยังปราสาทพระวิหารพร้อมกับแจ้งให้คณะทูตดังกล่าวทราบว่าพื้นที่นั้นเป็นของกัมพูชาจึงไม่ต้องขอความเห็นชอบ หรือยินยอมจากไทยก่อน อีกทั้งกัมพูชา ยังได้มีหนังสือไปยังคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เพื่อยืนยันว่าพื้นที่ทับซ้อนนั้นเป็นของกัมพูชา และส่งหนังสือมายังไทยเพื่อเป็นหลักฐานยืนยันสิทธิ์ด้วย
๑.๓ อุปสรรคในการแก้ปัญหา
ปัญหาเรื่องการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนเป็นปัญหาที่ยากจะตกลงกันได้ โดยเฉพาะเรื่องการใช้แผนที่ที่มีที่มาของแผนที่ต่างกัน และเมื่อเป็นคนละมาตราส่วนก็จะยากมากขึ้น อย่างไรก็ตามหากพื้นที่ส่วนใดมีเส้นเขตแดนทับกันก็ควรปักปันกันไปก่อน ส่วนพื้นที่ใดเส้นเขตแดนเหลื่อมล้ำกันก็ควรเจรจากัน หากเจรจากันไม่สำเร็จหรือหาข้อยุติไม่ได้ ไทยควรเสนอให้พื้นที่นั้นเป็นพื้นที่ No Man’s Land เพื่อสร้างอำนาจ ต่อรองในการที่จะเจรจากับกัมพูชาเพื่อให้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วมภายใต้การให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกร่วม (เพื่อยืนยันว่าไทยยังคงมีสิทธิ์ในปราสาทพระวิหารอยู่ต่อไป)
การเสนอให้พื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนใกล้ปราสาทพระวิหารเป็นพื้นที่ No Man’s Land จะทำให้กัมพูชาไม่มีเส้นทางขึ้นไปยังปราสาทพระวิหารได้ ดังนั้นการอนุรักษ์มรดกโลกหรือการท่องเที่ยวไม่อาจสามารถกระทำได้ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อกัมพูชาเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพราะในอดีตการตัดสินของศาลโลก ในคดีความขัดแย้งกรณีปราสาทพระวิหาร ศาลโลกตัดสินให้เฉพาะตัวปราสาทพระวิหารเท่านั้นที่ตั้งอยู่ในดินแดนกัมพูชา ฉะนั้นการที่กัมพูชาอ้างสิทธิ์ว่ามีอธิปไตยเหนือดินแดน ๔.๖ ตร.กม.จึงเป็นไปไม่ได้ แต่กัมพูชายังคงมีความพยายามที่จะให้ได้สิทธิ์ครอบครองโดยปรปักษ์ ภายใต้พยานยืนยันจากนานาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ รวมทั้ง ICC ด้วย
จึงอาจจะทำให้ไทยต้องเสียสิทธิ์ภายใต้การยอมรับโดยนิ่งเฉยของไทยดังเช่นในอดีตที่ผ่านมา
จึงอาจจะทำให้ไทยต้องเสียสิทธิ์ภายใต้การยอมรับโดยนิ่งเฉยของไทยดังเช่นในอดีตที่ผ่านมา
สำหรับกรณีปราสาทพระวิหารนี้หากตกลงกันไม่ได้
ไทยควรยืนยันต่อ ICCว่า จะต้องรอผลการเจรจาเพื่อจัดทำ
หลักเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาโดย JBC ให้แล้วเสร็จเสียก่อน
จึงจะดำเนินการต่อไปได้ พร้อมกันนั้นควรผลักดันให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนออกไปก่อน แล้วสำรวจว่าเส้นสันปันน้ำที่แท้จริงอยู่ที่ใด เพื่อดำเนินการจัดทำหลักเขตแดนตามสนธิสัญญาสยาม-อินโดจีนฝรั่งเศสต่อไป มิฉะนั้นจะไม่สามารถยืนยันสิทธิ์ในพื้นที่ดังกล่าวได้ ไทยและกัมพูชาควรจะต้องตกลงกันให้ได้ในเรื่องเขตแดนเสียก่อน ก่อนที่จะดำเนินการใด ๆ ต่อไป เพื่อมิให้เกิดกรณีพิพาทอันอาจนำไปสู่การใช้กำลังในอนาคตได้ ซึ่งจะมีผลต่อการอนุรักษ์มรดกโลกด้วย (เป็นข้อต่อรองในการหาทางออกระหว่างที่รอผลการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน เพื่อให้เป็นการพัฒนาพื้นที่ร่วมและเป็นมรดกโลกร่วม อันจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งไทยและกัมพูชารวมถึงภูมิภาคนี้ด้วย)
ไทยควรยืนยันต่อ ICCว่า จะต้องรอผลการเจรจาเพื่อจัดทำ
หลักเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาโดย JBC ให้แล้วเสร็จเสียก่อน
จึงจะดำเนินการต่อไปได้ พร้อมกันนั้นควรผลักดันให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนออกไปก่อน แล้วสำรวจว่าเส้นสันปันน้ำที่แท้จริงอยู่ที่ใด เพื่อดำเนินการจัดทำหลักเขตแดนตามสนธิสัญญาสยาม-อินโดจีนฝรั่งเศสต่อไป มิฉะนั้นจะไม่สามารถยืนยันสิทธิ์ในพื้นที่ดังกล่าวได้ ไทยและกัมพูชาควรจะต้องตกลงกันให้ได้ในเรื่องเขตแดนเสียก่อน ก่อนที่จะดำเนินการใด ๆ ต่อไป เพื่อมิให้เกิดกรณีพิพาทอันอาจนำไปสู่การใช้กำลังในอนาคตได้ ซึ่งจะมีผลต่อการอนุรักษ์มรดกโลกด้วย (เป็นข้อต่อรองในการหาทางออกระหว่างที่รอผลการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน เพื่อให้เป็นการพัฒนาพื้นที่ร่วมและเป็นมรดกโลกร่วม อันจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งไทยและกัมพูชารวมถึงภูมิภาคนี้ด้วย)
๑.๔ อำนาจในการต่อรอง
๑.๔.๑ อำนาจกำลังรบ
อำนาจกำลังรบของไทยมีเหนือกว่ากัมพูชามาก ไม่ว่าจะเป็นกำลังกองทัพบก กำลังกองทัพเรือหรือกำลังกองทัพอากาศ
แต่อย่างไรก็ตาม กัมพูชาก็ยังมีประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม
คอยให้การสนับสนุน นอกจากนั้นปัจจุบันกัมพูชายังได้เพิ่มงบประมาณประจำปีทางทหารขึ้นอีก ๒ เท่าด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม กัมพูชาก็ยังมีประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม
คอยให้การสนับสนุน นอกจากนั้นปัจจุบันกัมพูชายังได้เพิ่มงบประมาณประจำปีทางทหารขึ้นอีก ๒ เท่าด้วย
๑.๔.๒ การสนับสนุนจากต่างประเทศ
กัมพูชายังได้รับความเห็นใจและสนับสนุนจากนานาชาติที่เห็นใจกัมพูชาว่าการพัฒนาประเทศยังล้าหลัง เนื่องจากผ่านภัยสงครามภายในประเทศมาไม่นาน โดยเฉพาะประเทศที่เป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติทั้ง ๕ ประเทศนั้น มีความเห็นใจและสนับสนุนกัมพูชา และหากทั้ง ๕ ประเทศเข้ามาเป็นคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศ (ICC) ก็จะทำให้ไทยเสียโอกาสในการใช้อำนาจในการต่อรอง ถึงแม้ว่า ICC จะไม่มีอำนาจในการจัดการเรื่องเขตแดน แต่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีอำนาจในการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศได้
๑.๔.๓ สถานภาพทางการเมืองและสังคมตลอดจนตัวผู้นำเอง จากสถานการณ์ทางการเมืองและความขัดแย้งทางสังคมไทยที่อ่อนแออยู่ในปัจจุบัน ในขณะที่กัมพูชาซึ่งมีกำลังอำนาจทางทหารน้อยกว่าไทยมาก แต่มีสถานภาพทางการเมืองและสังคม
ที่เข้มแข็งโดยเฉพาะความเป็นชาตินิยม และผู้นำมีอำนาจเด็ดขาดสามารถสั่งการให้ดำเนินการได้ทันที ซึ่งตรงกันข้ามกับไทยที่มีข้อจำกัดในเรื่องการกระทำใดๆ หรือการใช้อำนาจที่จะมีผลกระทบต่อผลประโยชน์หรือความมั่นคงของชาติ เว้นแต่จะกระทำเพื่อป้องกันอธิปไตยเท่านั้น
ที่เข้มแข็งโดยเฉพาะความเป็นชาตินิยม และผู้นำมีอำนาจเด็ดขาดสามารถสั่งการให้ดำเนินการได้ทันที ซึ่งตรงกันข้ามกับไทยที่มีข้อจำกัดในเรื่องการกระทำใดๆ หรือการใช้อำนาจที่จะมีผลกระทบต่อผลประโยชน์หรือความมั่นคงของชาติ เว้นแต่จะกระทำเพื่อป้องกันอธิปไตยเท่านั้น
๒. การแก้ปัญหา
๒.๑ จากการที่ไทยมีอาณาเขตดินแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศทั้งทางบกและทางทะเล
และความไม่แน่นอนของสภาพการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ตลอดจนการถือครองสิทธิ์ของประชาชนบริเวณชายแดน จึงทำให้เกิดข้อขัดแย้งในการตกลงเรื่องเขตแดน การที่จะสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนย่อมเกิดปัญหากระทบกระทั่งระหว่างกัน แต่การเจรจาอาจเกิดผลสำเร็จในกรณีที่บริเวณนั้นไม่มีผลประโยชน์ใดๆ แต่ถ้ามีผลประโยชน์หรือมีทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แร่ธาตุ น้ำมัน ฯลฯ เข้ามาเกี่ยวข้องการเจรจาย่อมประสบผลสำเร็จได้ยากบางครั้งอาจถึงขั้นการใช้กำลัง ดังเช่นความขัดแย้งกรณีปราสาทพระวิหาร เป็นต้น ไทยจึงควรสร้างอำนาจในการต่อรองด้วยการยืนยันสิทธิ์การมีอธิปไตยเหนือดินแดนในทุกพื้นที่ที่น่าจะมีปัญหา
และความไม่แน่นอนของสภาพการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ตลอดจนการถือครองสิทธิ์ของประชาชนบริเวณชายแดน จึงทำให้เกิดข้อขัดแย้งในการตกลงเรื่องเขตแดน การที่จะสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนย่อมเกิดปัญหากระทบกระทั่งระหว่างกัน แต่การเจรจาอาจเกิดผลสำเร็จในกรณีที่บริเวณนั้นไม่มีผลประโยชน์ใดๆ แต่ถ้ามีผลประโยชน์หรือมีทรัพยากรธรรมชาติ เช่น แร่ธาตุ น้ำมัน ฯลฯ เข้ามาเกี่ยวข้องการเจรจาย่อมประสบผลสำเร็จได้ยากบางครั้งอาจถึงขั้นการใช้กำลัง ดังเช่นความขัดแย้งกรณีปราสาทพระวิหาร เป็นต้น ไทยจึงควรสร้างอำนาจในการต่อรองด้วยการยืนยันสิทธิ์การมีอธิปไตยเหนือดินแดนในทุกพื้นที่ที่น่าจะมีปัญหา
๒.๒ สำหรับกรณีปราสาทพระวิหารนั้น ไทยควรสร้างอำนาจต่อรองและยืนยันสิทธิ์เพื่อไม่ให้กัมพูชามีทางขึ้นไปยังปราสาทพระวิหารได้ ดังเช่นที่ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เคยแสดงสิทธิ์ไว้ ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้นควรเป็นลำดับรองลงไปเมื่อเทียบกับผลประโยชน์ของชาติ และเรื่องการปักปันเขตแดนนั้นอาจจะไม่สามารถตกลงกันได้ ไทยจึงควรเสนอและยืนยันให้พื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อน ๔.๖ ตร.กม. เป็นพื้นที่ No Man’s Land ไว้ก่อนเพื่อให้มีอำนาจในการต่อรอง ซึ่งจะทำให้กัมพูชาไม่มีทางขึ้นไปยังปราสาทพระวิหารและจะมีผลกระทบต่อการอนุรักษ์ปราสาทพระวิหารเป็นอย่างยิ่ง เว้นเสียแต่จะให้เป็นมรดกโลกร่วมหรือเป็นมรดกโลกข้ามพรมแดนหรือเป็น
พื้นที่พัฒนาร่วมกันตามที่เคยวางกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือ
ทางเศรษฐกิจ อิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง (ACMECS) ดังที่ไทยและกัมพูชา
เคยเจรจาร่วมกันไว้ โดยไม่คำนึงถึงการปักปันเขตแดน ทั้งนี้ยังเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชาที่จะแก้ไขปัญหา
ข้อขัดแย้งอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี และยังสามารถส่งเสริมการท่องเที่ยว
ของภูมิภาคนี้ได้ดีอีกด้วย
พื้นที่พัฒนาร่วมกันตามที่เคยวางกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือ
ทางเศรษฐกิจ อิรวดี – เจ้าพระยา – แม่โขง (ACMECS) ดังที่ไทยและกัมพูชา
เคยเจรจาร่วมกันไว้ โดยไม่คำนึงถึงการปักปันเขตแดน ทั้งนี้ยังเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชาที่จะแก้ไขปัญหา
ข้อขัดแย้งอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี และยังสามารถส่งเสริมการท่องเที่ยว
ของภูมิภาคนี้ได้ดีอีกด้วย
๒.๓ สำหรับการพิสูจน์สิทธิ์เหนืออาณาบริเวณพื้นที่ที่มีการอ้างสิทธิ์ทับซ้อน ๔.๖ ตร.กม. ใกล้ปราสาทพระวิหารอีกครั้งหนึ่งนั้น ควรพิจารณาจากคำพิพากษาของศาลโลก ซึ่งจะพบว่าจุดอ่อนของไทยคือการที่ไทยเคยยอมรับรองแผนที่ที่จัดทำโดยฝรั่งเศสไว้นั้น อาจทำให้ไทยต้องเสี่ยงกับการเสียดินแดนดังกล่าว ที่จะทำให้กัมพูชามีอธิปไตยโดยสมบูรณ์ และจะทำให้กัมพูชามีเส้นทางถนนขึ้นไปยังปราสาทพระวิหารได้อย่างถาวร หรือไทยอาจได้ปราสาทพระวิหารกลับคืนมา ความเสี่ยงและผลที่ได้จากกรณีนี้จึงไม่น่าจะคุ้มค่าไปกว่าการที่จะให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่พัฒนาร่วมกัน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศ และความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในอนาตคต่อไป อีกทั้งการอ้างสนธิสัญญาในเรื่องสันปันน้ำโดยไม่ยอมรับแผนที่ผนวกแนบท้ายสัญญาในกรณีปราสาทพระวิหาร กับกรณีบ้านร่มเกล้าด้านลาวนั้นเป็นการอ้างที่ตรงข้ามกัน อาจทำให้เกิดปัญหากับไทยขึ้นได้ในอนาคต เนื่องจากเป็นสนธิสัญญาและการจัดทำแผนที่โดยฝรั่งเศสฉบับเดียวกัน ฉะนั้นอาจทำให้นานาชาติมองไทยในทางที่ไม่ดีและไม่ได้รับความเชื่อถือได้
๒.๔ ความขัดแย้งเรื่องเขตแดนนั้น รัฐบาลไทยควรมอบหมายให้หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งรับผิดชอบเป็นหัวหน้าคณะทำงาน ซึ่งคณะทำงานควรประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ทหาร เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมือง กรมสรรพากร เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองและกรมที่ดินของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงการต่างประเทศ ตลอดจนหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อดูแลและติดตามประเมินผลการดำเนินการในเรื่องปัญหาเขตแดนโดยเฉพาะเรื่อง ผลประโยชน์ของชาติเป็นหลักและอำนาจในการต่อรองเพื่อให้การเจรจาเป็นผลสำเร็จ โดยได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายภายใต้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ดีต่อกัน (แต่ถ้าจำเป็นไทยควรแสดงพลังอำนาจทางทหารเพื่อสร้างอำนาจในการต่อรองโดยไม่ ต้องกลัวเสียความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เพราะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้นเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับผล ประโยชน์ของชาติเป็นหลัก ทั้งนี้เพราะฝ่ายกัมพูชามิได้ให้ความสำคัญกับเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศเท่าใดนัก)
๒.๕ ไทยควรแต่งตั้งทีมงานประชาสัมพันธ์ด้านการต่างประเทศ เพื่อเผยแพร่ข้อเท็จจริงหรือแจ้งข้อมูลข่าวสารให้กับประชาคมโลกรวมทั้งสื่อมวลชนต่างประเทศทราบอย่างต่อเนื่อง
๒.๖ ไทยควรจะต้องดำเนินการเกี่ยวกับปัญหาเขตแดน กรณีปราสาทพระวิหารก่อนที่คณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศ (ICC) จะเข้ามาดำเนินการใดๆ ทั้งนี้เพื่อให้มีอำนาจในการต่อรองในการที่จะให้มีการพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน หรือขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกร่วม หรือเป็นมรดกโลกข้ามพรมแดน
โดยไม่มีเรื่องเขตแดนเข้ามาเกี่ยวข้อง
โดยไม่มีเรื่องเขตแดนเข้ามาเกี่ยวข้อง
๒.๗ ไทยควรต้องมีหน่วยงานติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ที่จะทำให้สามารถรู้เท่าทันกัมพูชาเพื่อที่จะสามารถเตรียมการป้องกันและ รักษาผลประโยชน์ของชาติได้ทันท่วงทีไม่ว่าจะเป็นพื้นที่บริเวณใกล้ปราสาทพระ วิหารหรือบริเวณพื้นที่ทับซ้อนในทะเลหรือพื้นที่อื่นใด และเป็นที่น่าสังเกตว่าปัจจุบันกัมพูชาได้มีการเพิ่มงบประมาณทางทหารขึ้นอีก ๒ เท่า อาจเป็นการเพิ่มอำนาจกำลังรบทางทะเล หรือการให้ได้มาซึ่งปราสาทตาเมือนและปราสาทสด๊อกก๊อกต่อไป
ความขัดแย้งกรณีปราสาทพระวิหาร หากกัมพูชากระทำสำเร็จกัมพูชาก็จะมีเส้นทางถนนขึ้นไปยังปราสาทพระวิหาร อีกทั้งยังสามารถส่งเสริมการท่องเที่ยวครบวงจรภายในกัมพูชาเอง ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมเส้นทางพร้อมกับพัฒนาพื้นที่จากปราสาทพระวิหาร ปราสาทตาเมือน ปราสาทสด๊อกก๊อก ไปยังปราสาทนครวัด ปราสาทนครธม และสถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ภายในกัมพูชาที่มีอยู่อย่างมากมาย ที่จะสามารถสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวให้กับกัมพูชาได้เป็นอย่างดี และกรณีปราสาทพระวิหารก็จะเป็นกรณีแรกที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จในกรณีอื่น ๆ อีกต่อไป เช่น พื้นที่ทับซ้อนในทะเล เป็นต้น หากไทยยังไม่รู้เท่าทันหรือติดตามความเคลื่อนไหวของกัมพูชาในเรื่องเหล่านี้ ไทยก็จะเสียผลประโยชน์อย่างมหาศาล
พลโท กฤษดา ปุณยวุฒิพงศ์
---------------------------
เอกสารอ้างอิง
๑. เอกสารการพิจารณาชั้นเนื้อหา ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ค.ศ.๑๙๖๒
คดีปราสาทพระวิหาร ( ระหว่างประเทศกัมพูชา กับไทย)
คดีปราสาทพระวิหาร ( ระหว่างประเทศกัมพูชา กับไทย)
๒. คำแถลงการณ์ร่วมไทย – กัมพูชา (คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ) เมื่อ ๒๒ พ.ค.๒๕๕๑ ในการประชุมเพื่อสานต่อการหารือเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ณ สำนักงานใหญ่ยูเนสโก กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส
๓. คำแถลงของนายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการแห่งชาติ
ว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก
ครั้งที่ ๓๒ ที่เมืองควิเบก ประเทศ แคนาดา เมื่อ ๒ – ๑๐ ก.ค.๕๑
ว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก
ครั้งที่ ๓๒ ที่เมืองควิเบก ประเทศ แคนาดา เมื่อ ๒ – ๑๐ ก.ค.๕๑
๔. คำแถลงเผยแพร่ทางสื่อมวลชนของนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก
ครั้งที่ ๓๒ ที่เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา เมื่อ ๒ – ๑๐ ก.ค.๕๑
ครั้งที่ ๓๒ ที่เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา เมื่อ ๒ – ๑๐ ก.ค.๕๑
๕. คำร้องของรัฐบาลกัมพูชาและคำแก้คำร้องของรัฐบาลไทยคดีปราสาท
พระวิหาร คัดจากคำพิพากษากลาง ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
พระวิหาร คัดจากคำพิพากษากลาง ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
๖. คำชี้แจงกรณีเขาพระวิหาร เผยแพร่ในเว็บไซต์ของกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อ ๑๘ มิ.ย.๕๑
๗. จากการสัมมนาเรื่อง “การเสนอให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกร่วมกันระหว่างไทย-กัมพูชา ในลักษณะข้ามพรมแดน” จัดโดยคณะกรรมาธิการ การศาสนา คุณธรรมจริยธรรม ศิลปวัฒนธรรม วุฒิสภาโดยมีผู้บรรยายได้แก่ ศ.ตรึงใจ บูรณสมภพ สว.สรรหา, นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ, นายวสุ โปษยะนันท์ เลขานุการอิโคโมสประเทศไทย, พ.อ.นพดล โชติศิริ รองผู้บัญชาการ โรงเรียนแผนที่ทหาร กรมแผนที่ทหาร
๘. “มติชนออนไลน์” เผยแพร่บันทึกกระทรวงการต่างประเทศและจดหมายของ
ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หลังศาลโลกตัดสินให้ “ปราสาทพระวิหาร”
ตกเป็นของกัมพูชาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕ (www.matichon.co.th )
ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หลังศาลโลกตัดสินให้ “ปราสาทพระวิหาร”
ตกเป็นของกัมพูชาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๕ (www.matichon.co.th )
๙. หนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ซึ่งได้ลงชื่อกันที่กรุงปารีส
ณ วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ.๑๒๒ จากหนังสือประชุมกฎหมายประจำศก เล่มเพิ่มเติม หน้า ๑๒๑
ณ วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ.๑๒๒ จากหนังสือประชุมกฎหมายประจำศก เล่มเพิ่มเติม หน้า ๑๒๑
๑๐. สัญญาว่าด้วยปักปันเขตแดนติดท้ายหนังสือสัญญาลงวันที่ ๒๓ มีนาคม รัตนโกสินศก ๑๒๕ จากแฟ้มกองบรรณสาร กระทรวงการต่างประเทศ
๑๑. บันทึกความเข้าใจ ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่ง
ราชอาณาจักกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก
ลงนามโดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แห่งราชอาณาจักรไทย กับ นายวาร์ คิม ฮง ที่ปรึกษารัฐบาลผู้รับผิดชอบกิจการชายแดนแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อ ๑๔ มิ.ย.๒๕๔๓
ราชอาณาจักกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก
ลงนามโดย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แห่งราชอาณาจักรไทย กับ นายวาร์ คิม ฮง ที่ปรึกษารัฐบาลผู้รับผิดชอบกิจการชายแดนแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อ ๑๔ มิ.ย.๒๕๔๓