บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ไทยแจงศาลโลกรอบ 2

ไทยแจงศาลโลกรอบ 2 ยืนยันปฏิบัติตามคำตัดสินศาลมาตลอด แต่เขมรยังกล่าวหาไม่หยุด เชื่อต่างชาติเข้าใจ คาดทราบผลพิจารณาของศาลปลายมิ.ย. จวกแม้วเป็นคนชาติไหนคอยให้ท้ายกัมพูชา นายกษิต ภิรมย์ รมว.การกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์จากกรุงเฮก ประเทศเนเธนแลนด์ ถึงการเข้าชี้แจงต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ ศาลโลก จากการที่ประเทศกัมพูชาได้ยื่นเรื่องต่อศาลโลกให้พิจารณาออกมาตรการคุ้มครอง ชั่วคราวบริเวณปราสาทพระวิหารว่า การให้ข้อมูลต่อศาลโลกที่มีขึ้นในวันที่ 31 พ.ค. ทางกัมพูชาได้ให้การต่อศาล ในเวลา 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นของประเทศเนเธนแลนด์ และได้ให้การเสร็จสิ้นแล้ว โดยกัมพูชาให้การลักษณะขยายความจากเอกสารที่ยื่นต่อศาลโลก เน้น ในเรื่องถอนทหารไทยออกจากพื้นที่ 4.6 ตร.กม. อ้างว่า ก็เพื่อเป็นไปตามแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน
นายกษิต กล่าวว่า คณะดำเนินการด้านกฎหมายของไทย นำโดยนายวีระชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก ได้ให้ข้อมูลต่อศาล ในเวลา 17.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น โดยมให้การโต้แย้งคำให้การของกัมพูชา เน้นว่าการออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวเป็นอำนาจนอกเหนือศาลโลก
ส่วนการที่กัมพูชาเรียกร้องให้ขยายความคำตัดสินกรณีปราสาทพระวิหาร ในเรื่องเส้นเขตแดนนั้น เป็นเรื่องเกินขอบเขตอำนาจศาล และศาลก็ไม่มีอำนาจพิจารณาในคดีเดิม เนื่องจากการยื่นร้องกรณีปราสาทพระวิหารปี 2505 ที่ไม่ได้ร้องขอต่อศาลเกี่ยวกับเรื่องเขตแดน หากกัมพูชาอยากจะทราบในส่วนนี้ ก็ต้องยื่นร้องต่อศาลใหม่
ระบุไทยปฏิบัติตามคำตัดสินศาลโลกมาตลอดแต่เขมรกล่าวหาไม่หยุด
ทั้งนี้เนื่องจาก ในปี 2505 ศาลโลกมีคำตัดสินให้ปราสาทพระวิหารอยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา แต่ศาลก็ไม่ได้มีคำตัดสินในเรื่องเขตแดน ขณะที่ไทยได้ปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลโลกครบถ้วนแล้ว ทั้งการถอนทหารออกจากปราสาทพระวิหาร และคืนวัตถุโบราณให้กับกัมพูชาไปแล้วเมื่อ 50 ปีก่อน แต่กัมพูชายังกล่าวหาว่าไทยยังไม่ถอนทหาร ซึ่งไม่เป็นเรื่องจริง  ไทยจึงต้องเน้นย้ำในเรื่องนี้ให้ศาลโลกได้ทราบ
"ตลอดเวลาที่ผ่านมา กัมพูชายอมรับเส้นขอบเขตของพื้นที่ใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร ตามมติของคณะรัฐมนตรี ยุครัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เมื่อ 10 ก.ค. 2505 ที่มีขึ้นเพื่อเป็นการปฎิบัติตามคำพิพากษาดังกล่าว โดยฝ่ายกัมพูชานิ่งเฉย และไม่ได้ทักท้วงใดๆมานานกว่า 40 ปี แต่การที่กัมพูชาพึ่งจะออกมาเรียกร้อง สืบเนื่องจากที่กัมพูชาได้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร และต้องการพื้นที่ใกล้เคียงซึ่งหมายถึงพื้นที่ 4.6 ตร.กม. เข้ามาประกอบในแผนบริหารจัดการพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร"นายกษิตกล่าว 
นายกษิต กล่าวว่า ในระหว่างที่ไทยชี้แจงต่อศาลและโต้แย้งคำให้การของกัมพูชา ฝ่ายไทยได้แสดงภาพถ่ายสไลด์ต่อศาลโลก ที่ทำขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ 10 ก.ค. 2505 ซึ่งเป็นภาพถ่ายรั้วแนวเส้นแบ่งเขตตรงปราสาทพระวิหาร ที่ระบุชัดว่า พื้นที่หลังรั้วตรงตัวเป็นปราสาทพระวิหารเป็นพื้นที่ที่กัมพูชายอมรับ แม้ว่าแนวรั้วจริงจะทรุดโทรมไปบ้างในสมัยเขมรแดง แต่มีบางส่วนที่มีร่องรอยให้เห็นอยู่สามารถตรวจสอบได้
นายกษิต ระบุว่า การที่กัมพูชาต้องการให้ถอนทหารก็ต้องยื่นฟ้องใหม่ และต้องระบุให้ครบถ้วนว่า มีทหารกัมพูชา และไทยอยู่ตรงชุดไหนบ้าง เนื่องจากเรื่องนี้อยู่นอกเหนืออำนาจศาลเช่นกัน
เชื่อประเทศมหาอำนาจเข้าใจข้อเท็จจริงมากขึ้น
เมื่อถามว่า มีความมั่นใจขนาดไหน เนื่องจากมีประเทศมหาอำนาจให้การสนับสนุนกัมพูชาอยู่ นายกษิต กล่าวว่า คงไม่เหมือนเดิม เนื่องจากครั้งนั้นกัมพูชาพึ่งประกาศเอกราช แต่ตอนนี้โลกเปลี่ยนไปแล้ว เป็นเรื่องผลประโยชน์และความร่วมมือที่ทับซ้อนกัน จะบอกว่าประเทศไหนสนับสนุนประเทศใดคงจะลำบาก ซึ่งในศาลโลกประกอบด้วยผู้พิพากษา 15 คน ซึ่งประกอบด้วยประเทศที่หลากหลาย
ขณะที่ ผู้พิพากษาเฉพาะกิจที่ไทยและกัมพูชาแต่งตั้งขึ้น ฝ่ายละ 1 คน จะช่วยถึงการให้ข้อมูลต่อศาลโลกเป็นไปตามแนวทางที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ความมั่นใจขึ้นอยู่กับการเตรียมความพร้อม ซึ่งเราได้เตรียมการมา 2 ปีแล้ว
นอกจากนี้ ยังมีการพบปะกับที่ปรึกษาชาวต่างชาติกว่า 10 ครั้ง และยังมีการลงพื้นที่ใกล้กับประสาทพระวิหารเพื่อดูสถานที่จริงทั้งทางบกและ ทางทะเลที่บริเวณเกาะกูด
อย่างไรก็ตาม ผลการพิจารณาครั้งนี้ จะทราบอีก 4 สัปดาห์ข้างหน้า หรือประมาณปลายเดือนมิถุนายน 2554 
ซัดทักษิณให้ท้ายเขมร
เมื่อถามว่า การที่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างชาติว่า เอะอ่ะอะไรประเทศไทยก็ยิงเข้าประเทศเพื่อนบ้าน นายกษิต กล่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ยังเป็นที่ปรึกษาของรัฐบาลกัมพูชาอยู่หรือไม่ พูดได้อย่างไร ทำไมถึงให้ท้ายกัมพูชาตลอดเวลา มีเหตุผลอะไรที่ประเทศไทยจะทำร้ายประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา สิ่งสำคัญอยู่ที่ประเทศไทยไม่เคยกุเรื่องขึ้นมาเพื่อต้องการดินแดนของประเทศ อื่น
"ความเป็นจริงเราให้ความช่วยเหลือกัมพูชาเสมอมา เหตุใด พ.ต.ท.ทักษิณจึงพูดกล่าร้ายต่อไทย ขอให้คิดใหม่และพูดใหม่ในเรื่องนี้"นายกษิต กล่าว
ส่วนที่มีการปลุกระดมคนผ่านทางเฟสบุ๊กให้ไปชุมนุมประท้วงหน้าศาลโลกนั้น ก็มีชาวกัมพูชาประมาณ 20 คน ไปชุมนุมบริเวณหน้าศาลโลกได้สักพัก และก็เดินทางกลับ โดยในกลุ่มผู้ชุมนุมดังกล่าวไม่มีคนไทยแต่อย่างใด เนื่องจากคนไทยรู้ว่าอะไรเป็นอะไร"นายกษิตกล่าว

ที่มา : ไทยโพส

คำสงวนสิทธิ์ของรัฐบาลไทยปี พ.ศ. 2505 ที่ยังมีผลอยู่

จาก Rattawoot Pratoomraj

วาทะไทย-กัมพูชา ณ ศาลโลก (ยกแรก)


ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ณ กรุงเฮก (“ศาลโลก”) ได้เผยแพร่เอกสาร Verbatim Record CR 2011/13 และ CR 2011/14 ซึ่งเป็นบันทึกคำแถลงที่กัมพูชาและไทยได้แถลงเป็นวาจาต่อศาล เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2554 เกี่ยวกับกรณีที่กัมพูชาได้ขอให้ศาลมีมาตรการคุ้มครองชั่วคราวเกี่ยวกับ ปราสาทพระวิหาร ขอยกใจความของถ้อยคำบางตอนมาสรุปดังนี้

นายฮอร์ นัม ฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา
“...ท่านประธานศาล ท่านผู้พิพากษาที่เคารพ เมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ จะให้กัมพูชามีความหวังได้อย่างไร ในเมื่อตลอดหลายปีที่ผ่านมา ฝ่ายไทยนั้นจะยอมประชุมด้วยก็เพียงเพื่อเป็นข้ออ้างที่จะผัดผ่อนประเด็นต่อ ไปเรื่อยๆ เป็นวงจรไม่รู้จบ แสดงให้เห็นถึงแผนการถ่วงเวลาและเจตนาอันไม่บริสุทธิ์ของฝ่ายไทย…”
(CR 2011/13 หน้า 23)

นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งราชอาณาจักรไทยประจำเนเธอร์แลนด์
“…ภาพของลูกแกะตัวน้อยที่ถูกจับจ้องโดยเจ้าสุนัขป่าตัวร้าย ซึ่งกัมพูชาพยายามจะวาดภาพให้ศาลเห็นนั้น ล้วนเป็นเท็จ ไทยเองเมื่อสมัยศตวรรษที่ 19 ก็คุ้นเคยกับกรรมของลูกแกะตัวน้อยเป็นอย่างดี ไทยจึงหวังอย่างจริงใจว่าจะไม่มีประเทศใดรวมไปถึงกัมพูชาที่จะต้องรับชะตา กรรมลูกแกะซ้ำในสมัยศตวรรษที่ 21...”
(CR 2011/14 หน้า 21)

เซอร์แฟรงคลิน เบอร์แมน ทนายความฝ่ายกัมพูชา
“…กัมพูชาไม่แน่ใจว่า “พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร” ที่สื่อมวลชนและทางการไทยอ้างถึงนั้น หมายถึงพื้นที่ใดโดยแน่ชัด แต่ดูเหมือนว่าจะหมายถึงดินแดนใกล้เคียงกับตัวปราสาทพระวิหารที่ไทยนำมา อ้างอธิปไตยภายหลังศาลมีคำพิพากษา…”
(CR 2011/13 หน้า 27)
“…แน่นอน ไทยย่อมต้องอ้างว่า การที่กัมพูชาขอให้ศาลตีความคำพิพากษานั้น กัมพูชาทำไปเพื่อหวังได้สิ่งที่ถูกศาลปฏิเสธไปเมื่อครั้งที่แล้ว...แต่ไทย เองคงกลืนน้ำลายตัวเองไม่ลง เพราะไทยเองนั้นเป็นฝ่ายปลุกเสกการตีความคำพิพากษาขึ้นมาใหม่อย่าง วิปลาส...เพียงเพื่อจะผูกมัดกัมพูชาว่าเป็นผู้ตีความคำพิพากษาไปเองฝ่าย เดียว”
(CR 2011/13 หน้า 35)

ศาสตราจารย์อลัง เปลเล่ต์ ทนายความฝ่ายไทย
“…วันนี้กัมพูชาพยายามใช้วิธีอ้างว่าไทยยังคงมีหน้าที่ต้องถอนกำลังเจ้า หน้าที่ออกไปจากบริเวณใกล้เคียงตัวปราสาท ทั้งๆ ที่ไทยเองก็ได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาเสร็จสิ้นไปเรียบร้อยแล้ว...และเมื่อเช้า นี้กัมพูชาก็ยอมรับต่อศาลเองว่า ไทยกับกัมพูชาเพิ่งมามีความเห็นเกี่ยวกับคำพิพากษาไม่ตรงกันเมื่อไม่นานมา นี้...นั่นไงครับท่านประธานศาล! กัมพูชากำลังสารภาพว่าตลอดเวลาที่ผ่านมาจนกระทั่งไม่นานมานี้ กัมพูชาก็เห็นตรงกับไทยว่าไทยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาโดยถอนกำลังออกไปเรียบ ร้อยแล้ว...”
(CR 2011/14 หน้า 25)


ศาสตราจารย์ฌอง-มาร์ค โซเรล ทนายความฝ่ายกัมพูชา
“…กัมพูชาหวังพึ่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวจากศาลก็เพราะการเจรจาหยุดยิง ระหว่างไทยและกัมพูชาในระดับนายทหารนั้นเป็นสถานการณ์ที่มีความเปราะ บาง...สาเหตุหนึ่งก็เพราะว่าหากไทยก้าวเข้าไปสู่สถานการณ์การเมืองภายใน ประเทศที่เปราะบางด้วยแล้ว ก็ไม่มีอะไรประกันว่าการเจรจาหยุดยิงจะได้รับการรับรองให้แน่นอน ดูตัวอย่างความติดขัดในอดีตได้จากการที่รัฐสภาไทยไม่ให้ความยินยอมข้อตกลง เกี่ยวกับคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมระหว่างสองประเทศเป็นต้น...ความวุ่นวายทาง การเมืองของไทยย่อมอาจนำไปสู่การปะทะกันด้วยอาวุธได้อีก...”
(CR 2011/13 หน้า 45-47)

ศาสตราจารย์ศาสตราจารย์เจมส์ ครอว์ฟอร์ด ทนายความฝ่ายไทย
“…เวลาเกือบ 50 ปีหลังคำพิพากษานี้ไม่ใช่เวลาน้อยๆ แต่กัมพูชากลับขอให้ศาลมองทุกอย่างเป็นปัจจุบัน ขอศาลให้สั่งให้ทหารไทยต้องถอนกำลังออกไปจากตัวปราสาท ทั้งๆที่ตอนศาลมีคำพิพากษาทหารเหล่านั้นยังไม่ทันได้เกิดเสียด้วยซ้ำ...ราว กับว่าคำพิพากษาถูกหุ้มด้วยวุ้นถนอมอาหาร ไม่แปรเปลี่ยนข้ามทศวรรษหรือแม้ศตวรรษ หากเรายอมรับหลักการแบบนี้ แล้วระยะเวลาตีความจะไปสิ้นสุดที่จุดใด?...”
(CR 2011/14 หน้า 33)

ศาสตราจารย์โดนัลด์ เอ็ม แม็คเรย์ ทนายความฝ่ายไทย
“…การตั้งคณะผู้สังเกตการณ์จากประเทศอินโดนีเซียและการกลับเข้าสู่กระบวนการ เจรจาโดยคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (JBC) ย่อมทำให้ข้ออ้างเรื่องความจำเป็นเร่งด่วนของมาตรการคุ้มครองชั่วคราวนั้น ฟังไม่ขึ้น...”
(CR 2011/14 หน้า 54)


---------------------------------------------
หมายเหตุ
ศาลโลกยังคงรับฟังการแถลงด้วยวาจาต่อในวันที่ 31 พฤษภาคม 2554.
บทวิคราะห์ประเด็นคดีปราสาทพระวิหาร อ่านเพิ่มได้ที่ https://sites.google.com/site/verapat/temple/summary1962

เกี่ยวกับผู้เขียน อดีตนักกฎหมายในคดีศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ สำนักกฎหมาย Freshfields Bruckhaus Deringer (กรุงปารีส). นิติศาสตรมหาบัณฑิต (รางวัลทุนฟุลไบรท์และวิทยานิพนธ์เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด.

ไทยแจงศาลโลกยันไม่ได้รุกรานกัมพูชาก่อน

Pic_175356 'ชวนนท์' เผยไทยแจงศาลโลก ไม่เคยรุกรานกัมพูชาก่อน ยัน การปะทะ ไม่เกี่ยวกับพระวิหาร เพราะเกิดที่ตาเมือนและตาควาย ระบุ รออีก 3 สัปดาห์ ศาลตัดสินออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวให้ไทยถอนทหารหรือไม่...
เมื่อ เวลาประมาณ 23.00 น. วันที่ 30 พ.ค. นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรมว.ต่างประเทศ กล่าวในรายการ ข่าว 3 มิติ และ สถานีโทรทัศน์​ทีเอ็นเอ็น ถึงการให้การต่อศาลโลก กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในวันนี้ ว่า ไทยเริ่มชี้แจง เมื่อเวลา ประมาณ ​16.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น หรือ ประมาณ 21.00 น. ตามเวลาประเทศไทย หลักๆ ดูก่อนว่าศาลมีขอบเขตอำนาจในการที่จะพิจารณาเรื่องการออกมาตรการชั่วคราว หรือไม่ เพราะว่าสิ่งที่ทำ เราได้ยืนยันว่า คำตัดสินเมื่อปี ค.ศ.1962 หรือ ปี พ.ศ. 2505 ประเทศไทยได้ปฏิบัติไปหมดสิ้น เราไม่มีข้อขัดแย้งกันในเรื่องคำตัดสิน เพราะฉะนั้น สิ่งที่กัมพูชามาเรียกร้อง เป็นเรื่องที่มากกว่าคำตัดสินในอดีตหรือไม่
อัน ที่สอง เรื่องที่กัมพูชาอ้างว่ามีการปะทะ ไทยบุกรุกเข้าไปโดยจุดต่างๆ มีความเกี่ยวเนื่องกับพระวิหารหรือไม่ อย่างไร จริงๆ แล้ว มีการอ้างถึงการปะทะ ที่ปราสาทตาเมือน  และ ตาควาย ซึ่งห่างจากพระวิหาร เราได้ชี้แจงกับผู้พิพากษาว่าไม่น่าเกี่ยวข้องกัน และ ความเสียหายเกิดขึ้นกับไทยด้วย มีรูปถ่าย ที่โรงเรียนภูมิซรอล ซึ่งไม่ใช่พื้นที่พระวิหาร กัมพูชาใช้อาวุธเข้ามาในฝั่งไทยก่อน ยืนยันว่าเราไม่มีแนวคิดจะรุกรานประเทศเพื่อนบ้าน แต่ไทยเป็นประเทศผู้ให้ช่วยเหลือมากมาย หลังศาลตัดสิน 2505 ดังนั้น สิ่งที่กัมพูชากล่าวอ้างไม่เป็นความจริง
นายชวนนท์ กล่าวอีกว่า ศาลได้รับฟังข้อมูลต่างๆ ที่ทางที่ปรึกษา 3 ท่านให้ข้อมูลไป ซึ่งท่านหนึ่งให้ข้อมูลขอบเขตอำนาจของศาล อีกท่านเป็นเรื่องขอบเขตอำนาจในการพิจารณาคดี ท่านที่สาม เรื่องการออกมาตรการชั่วคราว  เรายืนยันว่าได้ทำตามคำตัดสินของศาลอย่างครบถ้วน กัมพูชาไม่จำเป็นต้องเรียกร้องใดๆ นอกจากนั้น เรื่องการปะทะ ไม่ได้เกิดจากฝ่ายไทยเริ่มต้น และ จุดต่างๆ ที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดที่พระวิหาร แต่เกิดบริเวณตาควาย ตาเมือน แต่สิ่งที่เรียกร้องวันนี้เป็นสิ่งที่นอกเหนือจากคำตัดสิน ส่วนในช่วงเช้า นายฮอร์ นัม ฮง รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้พูดเรื่องที่เราได้คาดเดาไว้อยู่แล้ว ที่มีการฟ้องร้อง ทางที่ปรึกษาได้มีเวลา 3 ชั่วโมง ในการนำคำร้องกลับไปทบทวน และเพิ่มคำชี้แจงในวันนี้ ซึ่งเป็นการตอบคำถามที่ชัดเจนค่อนข้างครบถ้วน

นาย ชวนนท์ กล่าวด้วยว่า ท่าทีของศาลโลก ตนบอกไม่ได้ แต่เราคิดว่าสิ่งที่เราต้องการจะพูด ข้อมูลที่เตรียมมาครบถ้วนสมบูรณ์ หวังว่าคำตัดสินจะเป็นประโยชน์ต่อไทย โดย ต้องรออีก3สัปดาห์ กว่าศาลจะตัดสินว่าจะออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวให้ไทยถอนกำลังในพื้นที่ ปราสาทพระวิหารโดยทันทีตามที่กัมพูชาร้องขอหรือไม่ ส่วนเรื่องคำขอจะต้องรอการทำคำชี้แจงอย่างเป็นทางการจากไทยอีกครั้ง ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 3-6 เดือน ส่วน ในวันพรุ่งนี้ กัมพูชาจะมีเวลา 1 ชั่วโมง ในการสรุุปคำชี้แจง ในเวลา 10.00 น. และ  ไทยมีเวลา 1 ชั่วโมงเช่นกัน  เรื่องนี้เป็นเรื่องที่กัมพูชาขยายความการตัดสิน แต่กัมพูชา พยายามแอบอ้างให้ลามไปถึงแผนที่ เชื่อว่าเราจะได้รับความเข้าใจและคำตัดสินที่ดีของประเทศไทย
ขณะที่ ทวิตเตอร์ของกระทรวงการต่างประเทศtwitter.com/#!/mfathai_pr_th ได้รายงานว่า คณะดำเนินคดีฝ่ายไทยเริ่มแถลงต่อศาลโลกกรณีกัมพูชาขอมาตรการชั่วคราวสืบ เนื่องกับคดีปราสาทพระวิหารแล้ว โดย ออท. ณ กรุงเฮกกล่าวเป็นคนแรก  ลำดับการกล่าวคำแถลงของคณะไทย ออท. ณ กรุงเฮกกล่าวภาพรวมก่อน ตามด้วยที่ปรึกษา กม. คือ ศ.เปลเล่ต์ ศ. ครอว์ฟอร์ด และ ศ. แม็คเรย์ ออท. ณ กรุงเฮก แจงไทยปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกอย่างครบถ้วนแล้วตั้งแต่ปี 2505 แม้ผลตัดสินจะเป็นที่ถกเถียง ไทยชี้กัมพูชารับการตีความเส้นขอบเขตบริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหารตามมติ ครม. 2505 ไม่เคยท้วง แต่เพิ่งเปลี่ยนท่าทีเพราะจะขึ้นทะเบียนมรดกโลก

ไทย ชี้กัมพูชายอมรับด้วยว่าสองฝ่ายยังต้องเจรจากำหนดเส้นเขตแดนโดยลงนาม บันทึกความเข้าใจปี 2543 เพื่อจัดทำหลักเขตตลอดแนวรวมบริเวณปราสาทพระวิหาร ออท. ณ กรุงเฮกย้ำไทยปรารถนาจะอยู่ร่วมกับกัมพูชาอย่างสันติ พยายามพัฒนาความสัมพันธ์และร่วมมือ ไม่มีเหตุผลใด ๆ ที่จะสร้างความขัดแย้งกับกัมพูชา ออท. ณ กรุงเฮกชี้ไทยยึดแนวสันติ แก้ไขข้อพิพาทด้วยวิถีทางการทูต มีบทบาทร่วมในภารกิจรักษาสันติภาพใน 21 ประเทศ รวมถึงในกัมพูชาเมื่อปี 2534-2536 ออท. ณ กรุงเฮกย้ำไทยไม่ได้เป็นฝ่ายเริ่มโจมตีกับกัมพูชาเมื่อ ก.พ. และ เม.ย.- พ.ค. แต่เป็นฝ่ายถูกโจมตี จนต้องใช้สิทธิตอบโต้เพื่อปกป้องอธิปไตย ไทยแจงกัมพูชาต้องการดินแดนที่จะใช้สำหรับแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหาร เพื่อให้กระบวนการขึ้นทะเบียนมรดกโลกสมบูรณ์ ซึ่งรุกล้ำเข้ามาในฝั่งไทย
1. ศ.อลัง เปลเล่ต์ ที่ปรึกษากฎหมายของไทยชี้แจงเหตุที่คำขอตีความและคำขอมาตรการชั่วคราวของ กัมพูชาอยู่นอกเขตอำนาจของศาลโลก 2. ศ.เปลเล่ต์: ประเด็นให้ไทยถอนทหารและคืนโบราณวัตถุนั้นเป็นการผูกพันครั้งเดียวไทยได้ ดำเนินการแล้ว 3. ศ.เปลเล่ต์: ไทยไม่ได้โต้แย้งอธิปไตยของ กพช เหนือปราสาทฯ ไม่มีความเห็นต่างในเรื่องนี้ ศาลจึงไม่มีอำนาจตีความและออกมาตรการชั่วคราว 4. ศ.เปลเล่ต์: การตีความเหตุผลของคำพิพากษาทำได้เมื่อจำเป็นต่อคำตัดสินเท่านั้น การพยายามเปลี่ยน คำพิพากษาเป็นกำหนดเส้นเขตแดนจึงไม่ถูกต้อง 5. ศ.เปลเล่ต์:การตีความต้องไม่แก้ไขสิ่งที่ศาลพิพากษาแล้ว เรื่องเขตแดนเป็นเหตุผลประกอบการตัดสินได้หากจำเป็นเท่านั้น

1.ศ.ครอว์ฟอร์ด: ศาลไม่มีเขตอำนาจออกมาตรการชั่วคราวคดีนี้เพราะมิใช่เขต อำนาจที่จะพิจารณาว่าคู่ความปฏิบัติตามคำตัดสินแล้ว? ซึ่งเป็นเรื่องของ UNSC 2.ศ.ครอว์ฟอร์ด:คำพิพากษาในคดีปราสาทฯเกี่ยวข้องกับปราสาทฯ เท่านั้น ศาลปฏิเสธเมื่อ 2505 ว่าคดีพิพากษาเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือปราสาทฯ ไม่ใช่เขตแดน 3.ศ.ครอว์ฟอร์ด:คำขอมาตรการชั่วคราวอ้างความจำเป็นฉุกเฉินจากเหตุการณ์ที่ เกิดขึ้นห่างจากปราสาทฯและเกิดภายหลังคำพิพากษา 2505 ศาลจึงไม่มีเขตอำนาจ
1. ศ.โดนัลด์ เอ็ม แม็คเรย์นำเสนอข้อวิเคราะห์ถึงเหตุผลที่ศาลไม่ควรมีคำสั่งออกมาตรการชั่ว คราว 3 ประการ (ต่อ) 2. ศ.แม็คเรย์: ไทย-กพช ไม่มีข้อพิพาทเกี่ยวกับคำพิพากษาในคดีเดิม มาตรการชั่วคราวไม่มีความสมดุล เพราะสั่งให้ไทยดำเนินการเพียงฝ่ายเดียว 3.ศ.แม็คเรย์:คำขอของกพช.ไม่เข้าเงื่อนไขเรื่องความจำเป็นเร่งด่วน หลักฐานที่กพช.อ้างเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่อยู่นอกบริเวณที่ศาลโลกพิพากษาปี 2505 4. ศ.แม็คเรย์: การขอให้ศาลมีมาตรการชั่วคราวเท่ากับให้ศาลตัดสินในเบื้องต้นเกี่ยวกับความ ถูกต้องของแผนที่ ซึ่งขัดกับแนวปฏิบัติของศาล


ไทยรัฐออนไลน์ 


ความเห็น วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
 
ลองอ่านบันทึกคำแถลงของทั้งฝ่ายกัมพูชาและไทยแล้ว ยอมรับว่ายกแรกฝ่ายไทยชกสนุกกว่า.

ทนายฝ่ายไทยท่านหนึ่งกล่าวว่า กัมพูชาขอให้ไทยถอนทหารออกไปตามคำพิพากษา ทั้งๆที่ในวันที่พิพากษา ทหารไทยเหล่านั้นยังไม่ทันได้เกิดเสียด้วยซ้ำ!

---
อ่านบันทึกกระบวนพิจารณาวันแรก (30 พ.ค.) ได้ที่ http://www.icj-cij.org/docket/index.php?p1=3&p2=3&k=89&case=151&code=ct2&p3=2

ข้อความสรุปโดยรัฐบาลไทย
http://twitter.com/#!/MFAThai_PR_TH
www.icj-cij.org
‎30/05/2011: Request for interpretation of the Judgment of 15 June 1962 in the Case concerning the Temple of Preah Vihear (Cambodia v. Thailand) (Cambodia v. Thailand) - Public hearings – request for the indication of provisional measures

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง