กัมพูชาซึ่งได้สร้างสถานการณ์ยิงอาวุธสงครามใส่ทหารไทยและราษฎรไทยมาจนถึงวันนี้ ทั้งๆ ที่ศักยภาพทางการทหารของกัมพูชาไม่สามารถจะเทียบกับทหารไทยได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทัพบกมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย และกองทัพอากาศที่แข็งแกร่งเหนือกว่ากัมพูชาอย่างเทียบกันไม่ได้
การเจรจาและข้อตกลงหยุดยิงแล้วกัมพูชาไม่ยอมหยุดยิงนั้นเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีก จนกลายเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อยาวนาน สร้างความสูญเสียให้กับทหารและราษฎรไทยอย่างที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น
อย่างที่พูดกันมาหลายครั้งหลายหนแล้วว่า การที่กัมพูชายิงใส่ทหารไทยและราษฎรไทยอย่างไม่หยุดยั้งเพราะมีแรงจูงใจ 2 ประการ
ประการแรก กัมพูชามีแรงจูงใจจากแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งปรากฏอยู่ในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก พ.ศ. 2543 หรือ MOU 2543 ที่มีสภาพบังคับให้ไทยและกัมพูชาต้องพิจารณาแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 เป็นครั้งแรก เป็นผลทำให้กัมพูชาสบโอกาสขยายผลการบรรยายคำฟ้องของศาลโลกเกี่ยวกับกฎหมายปิดปากเกี่ยวกับแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งศาลโลกใช้เป็นมูลฐานในการตัดสินอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารให้เป็นของกัมพูชา มาบังคับให้ไทยต้องใช้แผนที่มาตราส่วน 1:200,000 แต่เพียงอย่างเดียวใน MOU 2543
กัมพูชาจึงอาศัยการปะทะกับไทยเพื่อสร้างสถานการณ์ใช้เป็นข้ออ้างนำไปสู่การแสวงหา “คนกลาง” ไม่ว่าจะเป็นศาลโลก คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรืออาเซียน เข้ามากดดันหรือตัดสินให้ไทยต้องยึดตามแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งปรากฏเป็นข้อความอยู่ในข้อผูกพันระหว่างไทยและกัมพูชาตาม MOU 2543
ด้วยเหตุผลนี้กัมพูชาจึงต้องสร้างสถานการณ์ให้มีความขัดแย้งอยู่ตลอดเวลาเพื่อเชื้อเชิญประเทศที่ 3 เข้ามาเป็นคนกลางระหว่างไทยและกัมพูชา
และด้วยเหตุผลนี้กัมพูชาจึงกอด MOU 2543 เอาไว้อย่างเหนียวแน่นในเวลาเดียวกัน ไม่เคยปริปากที่จะยกเลิก MOU 2543 แม้แต่น้อย มีแต่จะหาหนทางที่จะหาคนกลางมาช่วยกัมพูชาภายใต้สภาพของ MOU 2543
ประการที่สอง กัมพูชามีแรงจูงใจเพราะฝ่ายยึดครองแผ่นดินไทยอยู่แล้ว ทั้งบริเวณวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ ภูมะเขือ ครึ่งหนึ่งของปราสาทตาควาย บริเวณใกล้ปราสาทพระวิหาร ฯลฯ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นแผ่นดินไทยที่ทหารกัมพูชาเดิมอยู่ที่ตีนหน้าผาฝั่งกัมพูชา รุกรานขึ้นมายึดครองยอดหน้าผาฝั่งไทยทั้งสิ้น
ด้วยเหตุผลนี้กัมพูชาจึงต้องการให้ มีทหารอินโดนีเซีย หรือทหารจากองค์การสหประชาชาติเข้ามาสังเกตการณ์ บนพื้นที่ซึ่งมีการปะทะกันโดยมีวัตถุประสงค์ชัดเจนที่ต้องการให้มีการทำข้อตกลงหยุดยิงถาวร ซึ่งมีความหมายเท่ากับว่าห้ามทหารไทยผลักดันกัมพูชาออกจากแผ่นดินไทย และมีความหมายเท่ากับว่ากัมพูชาสามารถยึดครองแผ่นดินไทยได้อย่างไม่มีกำหนดระยะเวลาจนกว่าผลการเจรจาจะเป็นที่พอใจของฝ่ายกัมพูชา ซึ่งก็คือประเทศไทยต้องเสียดินแดนให้กับกัมพูชาเป็นการถาวรแล้ว
และเนื่องจากการปะทะครั้งนี้ค่อนข้างยาวนานกว่าปกติ ฝ่ายกัมพูชายิงมาเท่าไรฝ่ายไทยก็ยิงสวนกลับไปมากยิ่งกว่าสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงกับทางกัมพูชาและมีทหารกัมพูชาต้องเสียชีวิตจำนวนมาก
แต่ถึงกระนั้นนายฮุนเซน ก็ไม่สนใจว่าจะสูญเสียทหารกัมพูชาไปเท่าใด เพราะนายฮุนเซนมีความอำมหิตที่พร้อมเอาชีวิตเขมรแดงซึ่งส่วนใหญ่อยู่ชายแดนไทย-กัมพูชาไปแลกเพื่อให้ได้เป้าหมายเดียวคือปะทะกับทหารไทยสร้างสถานการณ์ให้นานาชาติมาแทรกแซงด้วยแรงจูงใจทั้งสองประการข้างต้นให้จงได้
ด้วยเหตุผลนี้การเรียกร้องโดยกัมพูชาเพื่อหยุดยิงจึงเกิดขึ้นเพื่อหยุดความเสียหายของทหารกัมพูชา ในขณะที่อีกด้านหนึ่งกัมพูชาก็ยิงไม่หยุดเพื่อสร้างสถานการณ์ความขัดแย้งให้ดำรงอยู่ก่อนที่จะไปต่อสู้กันในเวทีนานาชาติ
สิ่งที่ฝ่ายไทยควรจะต้องกระทำมากที่สุดในเวลานี้ก็คือทำลายแรงจูงใจของกัมพูชาให้หมดสิ้นไปก่อน ดังนี้คือ
ประการแรก ผลักดันให้ทหารกัมพูชาออกจากแผ่นดินไทย เพื่อลดแรงจูงใจที่กัมพูชาต้องการให้นานาชาติเข้ามาสังเกตการณ์เพื่อให้หยุดยิงทั้ง 2 ฝ่าย เพราะหากไทยผลักดันกัมพูชาออกจากแผ่นดินไทยแล้วมีผู้สังเกตการณ์เข้ามาเป็นสักขีพยานห้ามปะทะกันทั้ง 2 ฝ่าย กัมพูชาจะไม่สามารถรุกรานแผ่นดินไทยต่อไปได้อีก ยิ่งไปกว่านั้นหากไทยยึดขอบหน้าผาบริเวณเขาพระวิหารได้ คณะกรรมการมรดกโลกก็ไม่สามารถเข้ามาบริหารจัดการพื้นที่บริเวณรอบตัวปราสาทพระวิหารได้ ทำให้แผนบริหารจัดการมรดกโลกปราสาทพระวิหารของกัมพูชาต้องยุติลงไปโดยปริยาย
ประการที่สอง อาศัยการที่กัมพูชาละเมิดข้อ 5 ใน MOU 2543 ฝ่ายไทยจึงสามารถยกเลิก MOU 2543 อันจะเป็นการลดแรงจูงใจในเรื่องแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ที่ปรากฏข้อความอยู่ใน MOU 2543 ที่กัมพูชามีความคาดหวังให้นานาชาติเข้ามาขยายผลกฎหมายปิดปากให้ประเทศไทยต้องเสียดินแดนเพิ่มเติม
เพราะในรอบ 2 เดือนที่ผ่านมานี้ ได้พิสูจน์ว่าแม้ประเทศไทยจะมี MOU 2543 แต่ก็มีการปะทะกันไม่ได้หยุดหย่อน ต้องถูกลากไปในเวทีองค์การสหประชาชาติ อาเซียน และยังไปสู้กันในเวทีศาลโลกอีก
แท้ที่จริงแล้ว MOU 2543 คือชนวนปะทะสงคราม!!!
เพราะกัมพูชามีทั้งแรงจูงใจจากแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ใน MOU 2543 และมีแรงจูงใจจากที่ทหารกัมพูชาเข้ามายึดครองแผ่นดินไทยได้เพราะทหารต้องปฏิบัติตามแนวทางสันติวิธีตาม MOU 2543 กัมพูชารุกรานแผ่นดินไทยตาม MOU 2543
แต่ในเวลานี้ปรากฏว่าฝ่ายไทยกลับดำเนินนโยบายกลับด้านกันอย่างสิ้นเชิง ยิ่งดำเนินการไปยิ่งถลำลึกเข้าไปในเกมกัมพูชาดังต่อไปนี้
1. ฝ่ายทหารไทยยิงถล่มทหารกัมพูชาได้อย่างแม่นยำ แต่ไม่ผลักดันกัมพูชาออกจากจุดสูงข่มบนผืนแผ่นดินไทย ทำให้กัมพูชายังคงมีแรงจูงใจในการปะทะกับฝ่ายไทยอย่างต่อเนื่อง
2. ฝ่ายไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศ ยังคงเดินหน้าเรื่องร่างทีโออาร์ หรือแผนแม่บทและในการให้ทหารอินโดนีเซียเข้ามาสังเกตการณ์ทั้งๆ ที่กัมพูชายึดครองแผ่นดินไทยอยู่
3. ฝ่ายไทยมีทิศทางที่จะต่อสู้คดีพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารกับกัมพูชาในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศอีกครั้ง โดยกัมพูชาหวังที่จะเรียกร้องให้มีมาตรการอนุรักษ์ หรือการคุ้มครองชั่วคราว ให้กองกำลังทหารขององค์การสหประชาชาติเข้ามาเป็นสักขีพยานห้ามทหารไทยใช้กำลังทหารผลักดันทหารกัมพูชาออกจากแผ่นดินไทย
ความบังเอิญ 3 ประการข้างต้น รัฐบาลไทยกำลังเดินหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง จนมีความน่าเคลือบแคลงสงสัยว่า รัฐบาลไทยจะทำสิ่งเหล่านี้ไปเพื่อสิ่งใด
เพราะถ้าคิดว่าจะต้องการใช้แสนยานุภาพทางการทหารเพียงแค่ระดับไม่ให้กัมพูชายึดครองแผ่นดินไทยไปมากกว่านี้ ถ้าจะเลือกรบเพียงแค่ระดับตอบโต้ตามสมควรแก่เหตุ โดยไม่สามารถยึดครองแผ่นดินไทยกลับมาได้ ก็ไม่รู้ว่ากระทรวงกลาโหมจะสั่งซื้ออาวุธอย่างมหาศาลในการประชุมคณะรัฐมนตรีครั้งสุดท้ายไปเพื่ออะไร?
ที่น่าประหลาดอยู่พอสมควร ก็เพราะรัฐบาลไทยตัดสินใจจ้างทนายความชาวฝรั่งเศสมาสู้กับกัมพูชาในเวทีศาลโลก ทั้งๆ ที่รัฐบาลไทยควรจะดำเนินการตัดฟ้องของกัมพูชาและไม่ยินยอมให้ศาลโลกมาตัดสินขยายขอบเขตคำตัดสินไปเกินกว่าอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารเมื่อ พ.ศ. 2505
อันที่จริงแล้วการที่รัฐบาลไทยจ้างทนายสัญชาติฝรั่งเศสนั้น ไม่มีใครจะสามารถล่วงรู้จิตใจและเครือข่ายของทนายชาวฝรั่งเศสได้ว่าสุดท้ายแล้วจะมีความซื่อสัตย์ในวิชาชีพของตน หรือจะแฝงซ่อนเร้นด้วยผลประโยชน์และเครือข่ายในประเทศฝรั่งเศสเอง
เรื่องนี้ถือว่ามีความละเอียดอ่อนอยู่มากถึง 3 ประการคือ
1. ฝรั่งเศสเคยเป็นประเทศที่ล่าอาณานิคมและได้กัมพูชามาเป็นเมืองขึ้นของตัวเอง จึงมีประวัติศาสตร์ที่โอนเอียงยืนข้างประเทศกัมพูชามาโดยตลอด
2. ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่จัดทำแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ขึ้นมาเองฝ่ายเดียวโดยไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการปักปันสยาม-ฝรั่งเศส ทั้งมีความผิดพลาดในเรื่องแผนที่ และยังรุกรานสยามประเทศโดยไม่เป็นไปตามอนุสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 และ สนธิสัญญา ค.ศ. 1907 จึงเป็นเรื่องยากที่ทนายฝรั่งเศสจะตำหนิหรือทำลายประเทศฝรั่งเศสเองว่าเป็นฝ่ายกระทำผิดต่อสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส
3. ปัจจุบันฝรั่งเศสมีบริษัท โททาล ออยล์ เข้าไปสัมปทานขุดเจาะสำรวจน้ำมันในอ่าวไทยกับกัมพูชา ทั้งๆ ที่ฝ่ายไทยและกัมพูชายังไม่ได้ตกลงกันในเรื่องเส้นเขตไหล่ทวีปทางทะเลที่แท้จริง
ด้วยเหตุผลนี้ทำให้ไม่มีใครสามารถจะมั่นใจได้ว่าทนายความฝรั่งเศสคนนี้จะยืนอยู่บนผลประโยชน์ของประเทศไทย หรือจะยืนอยู่ข้างผลประโยชน์ของฝรั่งเศสกันแน่
อันที่จริงแล้วคนไทยมีนักกฎหมายระหว่างประเทศที่อยู่ในแนวหน้าระดับโลก อย่าง ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล ที่นอกจากจะเคยดำรงตำแหน่งๆ สำคัญทางด้านกฎหมายระหว่างประเทศในเวทีนานาชาติแล้ว ยังเคยเป็นคนไทยคนแรกและคนเดียวที่ได้เคยไปบรรยายเรื่องกฎหมายระหว่างประเทศที่สถาบัน เฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งถือเป็นสถาบันกฎหมายระหว่างประเทศชั้นนำระดับโลก
ที่น่าสนใจก็คือ ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล เมื่อ 29 ปีที่แล้ว แม้จะไม่ใช่ทนายความโดยตรงในคดีปราสาทพระวิหาร แต่ก็เป็นทนายผู้ประสานงานแสดงออกอย่างชัดเจนว่าประเทศไทยไม่ควรขึ้นศาลโลก เพียงแต่ว่ารัฐบาลในช่วงเวลานั้นไม่คาดคิดว่าศาลโลกจะเป็นศาลการเมืองระหว่างประเทศจึงไม่เคยได้ฟังคำทักท้วงจาก ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล จนต้องพ่ายแพ้ในคดีปราสาทพระวิหารในศาลโลกเมื่อ พ.ศ. 2505 ในท้ายที่สุด
29 ปีผ่านไป ก็ไม่น่าเชื่อว่าคำทักท้วงจาก ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล ก็เกิดขึ้นอีกครั้งทั้งการเสนอให้รัฐบาลไทยต้องยกเลิก MOU 2543, ถอนตัวออกจากภาคีอนุสัญญามรดกโลก และผลักดันทหารกัมพูชาออกจากแผ่นดินไทย ตลอดจนตัดฟ้องอำนาจศาลโลกว่าไม่มีอำนาจพิจารณาขยายตีความเกินขอบเขตคำพิพากษาศาลโลก ซึ่งดูเหมือนว่ารัฐบาลไทยจะยังคงไม่ฟังอยู่เหมือนในอดีตเช่นกัน
ที่น่าหดหู่และน่าเศร้าใจที่สุดก็คือภาพคนไทยต้องอพยพหนีออกจากแผ่นดินไทย ต้องสร้างหลุมหลบภัย ปิดศูนย์อพยพไปเพื่อกลับบ้าน แต่ทหารกัมพูชายังคงอยู่บนผืนแผ่นดินไทยแล้วยังยิงอาวุธสงครามใส่ราษฎรไทยอย่างต่อเนื่อง
นึกไม่ถึงว่าวันนี้ราษฎรไทยต้องหลบหนี และหวาดกลัว เพราะทหารจากประเทศที่เล็กกว่าอย่างกัมพูชาสามารถรุกรานและยึดครองแผ่นดินไทยได้อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
วันอังคารที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ศาลโลกแพร่คำร้องเขมรผ่านเว็บไซต์ ขอคุ้มครองฉุกเฉินให้ทหารไทยพ้นปราสาทพระวิหารไม่มีเงื่อนไขยุติแทรกแซงสิทธิ
ศาลระหว่างประเทศได้เผยแพร่คำขอของกัมพูชากรณีปราสาทพระวิหาร ผ่านทางเว็บไซต์ http://www.icj-cij.org/ มีสาระสำคัญ 3 เรื่อง ได้แก่ 1.กัมพูชาได้ยื่นร้องต่อศาลโลก ให้มีการออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราว และให้ไทยถอนทหารออกจากพื้นที่พิพาทปราสาทพระวิหารทันทีอย่างไม่มีเงื่อนไข 2.ให้ยุติกิจการทางทหารของไทยทุกประเภทในพื้นที่เขาพระวิหาร 3.เรียกร้องให้ไทยหยุดกิจการดำเนินการใดๆ ที่จะเป็นการแทรกแซงสิทธิของกัมพูชา
"กัมพูชาร้องขอให้ประเทศไทยถอนกองกำลังรอบพื้นที่ปราสาทพระวิหารในทันที และขอให้ศาลสั่งห้ามมิให้ประเทศไทยมีการเคลื่อนไหวด้านการทหารในพื้นที่ดังกล่าว รวมทั้งยุติการกระทำที่อาจละเมิดสิทธิของกัมพูชา หรือกระทำการใดๆ ที่อาจส่งผลให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงขึ้น"คำร้องของกัมพูชาระบุคำร้องของกัมพูชาระบุอีกว่า การปฏิเสธอธิปไตยเหนือพื้นที่นอกปราสาท รวมถึงพื้นที่โดยรอบ เท่ากับเป็นการระบุว่า คำตัดสินของศาลโลก(ในปีพ.ศ.2505) ที่ยอมรับพื้นที่ดังกล่าวของกัมพูชาเป็นคำตัดสินที่ขัดแย้งในตัวเอง เพราะเท่ากับว่าได้ปฎิเสธสิทธิของกัมพูชาเหนือตัวปราสาท ซึ่งประเทศไทยก็ไม่ปฏิเสธอธิปไตยเหนือตัวปราสาท แต่กลับให้พิจารณาพื้นที่ทั้งหมด มิใช่แค่ตัวปราสาทอย่างเดียว ทั้งๆ ที่คำตัดศาลโลกครอบคลุมทั้งตัวปราสาทและพื้นที่โดยรอบ
อ่านแถลงการณ์ฉบับเต็มได้ที่ http://www.icj-cij.org/docket/files/151/16480.pdf?PHPSESSID=4428775cb535c95c96d332d693dd627f
แผนที่แปลงสัมปทานปิโตรเลียม.ขอบคุณพี่ Boon Wattanna
แผนที่แปลงสัมปทานปิโตรเลียม
จะเห็นว่า เชฟรอนได้ในพื้นที่ทับซ้อนหมดทุกแปลงผิดสังเกตุมั้ย
เริ่มจาก สแตนดาดออย แล้วแปลงร่างมาเป็น ยูโนแคล แล้วเป็นเชพรอน
เจ้าของคือ จอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช ผู้พ่อ ซึ่งก็คือ อเมริกานั้นเอง
ชื่อบริษัท เชฟรอน บล๊อค บี8 32 (ประเทศไทย) จำกัด
ทะเบียนเลขที่ : 0105538104132 (เลขทะเบียนเดิมคือ 2142/2538)
ประเภท : บริษัทจำกัด วันที่จดทะเบียน : 01/09/2538
สถานะ : คงอยู่
1 ชื่อบริษัท เชฟรอน บล๊อค บี8 32 (ประเทศไทย) จำกัด
2 กรรมการบริษัทมี 7 คน ตามรายชื่อดังต่อไปนี้
1. นาย โจเซฟ ชาฟิค จาจา
2. นาย เอ็ดเวิร์ด จอห์น เมเซอร์
3. นาย ไพโรจน์ กวียานันท์
4. นางสาว ศิริพร ไชยสุต
5. นาย ไบรอัน เจมส์ เบิร์ค
6. นาย แอนโทนี จอห์น เคนริค
7. นาย เดวิด ชาร์ป เบรดี้ /
3 กรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัทได้คือ
นางประภาวดี โสภณพนิช
นายชาญ โสภณพนิช
นายเชิดชู โสภณพนิช
นายวินัย วามวาณิชย์
นายอรุณ จิรชวาลา กรรมการสองในห้าคนนี้ ลงลายมือชื่อร่วมกันและ ประทับตราสำคัญของบริษัท/
4 ทุนจดทะเบียน 1,500,000,000.00 บาท
5 ที่ตั้ง 19 อาคารไทยพาณิชย์ ปาร์ค พลาซ่า อีสท์ อาคาร 3 ชั้น 5 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
6 บริษัทนี้จดทะเบียนครั้งแรกชื่อ บริษัท เอชเจเอชเค (ประเทศไทย) จำกัด ได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อดังนี้ ครั้งที่ 2 เปลี่ยนเป็น บริษัท โสภณอ่าวไทย จำกัด เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2539 ครั้งที่ 3 เปลี่ยนเป็น บริษัท พลังโสภณ จำกัด เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2539 และครั้งสุดท้ายเปลี่ยนเป็น บริษัท เชฟรอน บล๊อค บี8 32 (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2549/
7 นิติบุคคลนี้ได้ส่งงบการเงินปี 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552
8 วัตถุประสงค์ (74213) การสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
จะเห็นว่า เชฟรอนได้ในพื้นที่ทับซ้อนหมดทุกแปลงผิดสังเกตุมั้ย
เริ่มจาก สแตนดาดออย แล้วแปลงร่างมาเป็น ยูโนแคล แล้วเป็นเชพรอน
เจ้าของคือ จอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช ผู้พ่อ ซึ่งก็คือ อเมริกานั้นเอง
ชื่อบริษัท เชฟรอน บล๊อค บี8 32 (ประเทศไทย) จำกัด
ทะเบียนเลขที่ : 0105538104132 (เลขทะเบียนเดิมคือ 2142/2538)
ประเภท : บริษัทจำกัด วันที่จดทะเบียน : 01/09/2538
สถานะ : คงอยู่
1 ชื่อบริษัท เชฟรอน บล๊อค บี8 32 (ประเทศไทย) จำกัด
2 กรรมการบริษัทมี 7 คน ตามรายชื่อดังต่อไปนี้
1. นาย โจเซฟ ชาฟิค จาจา
2. นาย เอ็ดเวิร์ด จอห์น เมเซอร์
3. นาย ไพโรจน์ กวียานันท์
4. นางสาว ศิริพร ไชยสุต
5. นาย ไบรอัน เจมส์ เบิร์ค
6. นาย แอนโทนี จอห์น เคนริค
7. นาย เดวิด ชาร์ป เบรดี้ /
3 กรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัทได้คือ
นางประภาวดี โสภณพนิช
นายชาญ โสภณพนิช
นายเชิดชู โสภณพนิช
นายวินัย วามวาณิชย์
นายอรุณ จิรชวาลา กรรมการสองในห้าคนนี้ ลงลายมือชื่อร่วมกันและ ประทับตราสำคัญของบริษัท/
4 ทุนจดทะเบียน 1,500,000,000.00 บาท
5 ที่ตั้ง 19 อาคารไทยพาณิชย์ ปาร์ค พลาซ่า อีสท์ อาคาร 3 ชั้น 5 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
6 บริษัทนี้จดทะเบียนครั้งแรกชื่อ บริษัท เอชเจเอชเค (ประเทศไทย) จำกัด ได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อดังนี้ ครั้งที่ 2 เปลี่ยนเป็น บริษัท โสภณอ่าวไทย จำกัด เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2539 ครั้งที่ 3 เปลี่ยนเป็น บริษัท พลังโสภณ จำกัด เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2539 และครั้งสุดท้ายเปลี่ยนเป็น บริษัท เชฟรอน บล๊อค บี8 32 (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2549/
7 นิติบุคคลนี้ได้ส่งงบการเงินปี 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552
8 วัตถุประสงค์ (74213) การสำรวจและผลิตปิโตรเลียม
บ่อน้ำมันในประเทศไทยโดย: ลอลิง รักชาติ
บ่อน้ำมันในประเทศไทย
อยากทราบว่า ประเทศไทยพบบ่อน้ำมันที่ไหนบ้าง?
(ก) พื้นที่ภาคเห...นือ ค้นพบและพัฒนาน้ำมันดิบในบริเวณแหล่งแม่สูน หนองยาวสามแจ่ง และแหล่งสันทราย ในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยสามารถผลิตน้ำมันดิบได้เฉลี่ยวันละประมาณ ๑,๔๐๐ บาเรลต่อวัน
(ข) พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ค้นพบแก๊สธรรมชาติในบริเวณแหล่งน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น จากหลุมเจาะสำรวจเบื้องต้น ๔ หลุมเจาะ โดยผลิตเฉลี่ย ๗๐ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
- ค้นพบแก๊สธรรมชาติในบริเวณแหล่งดง มูล อำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ จากหลุมเจาะสำรวจเบื้องต้น ๑ หลุมเจาะ มีอัตราการไหลของแก๊สธรรมชาติ ๑๐ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ขณะนี้ยังไม่มีการพัฒนา
- ค้นพบแก๊สธรรมชาติในบริเวณแหล่งภู ฮ่อม กิ่งอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี จากหลุมเจาะสำรวจเบื้องต้น ๑ หลุมเจาะ มีอัตราการไหลของแก๊สธรรมชาติ ๔ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
(ค) พื้นที่ภาคกลาง
- ค้นพบและพัฒนาน้ำมันดิบ และแก๊ส ธรรมชาติ ในบริเวณแหล่งสิริกิติ์ แหล่งสิริกิติ์ตะวันตก อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร และแหล่งปรือกระเทียม แหล่งวัดแตน อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก โดยมีการผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ยประมาณวันละ ๑๙,๐๐๐ บาเรลต่อวัน แก๊สธรรมชาติ ๔๕ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และแก๊สหุงต้ม (LNG) ๒๙๒ ตันต่อวัน
- ค้นพบและพัฒนาน้ำมันดิบ ในบริเวณแหล่งบึงหญ้า และแหล่งบึงม่วง อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย โดยผลิตน้ำมันดิบ เฉลี่ยประมาณ ๔๕๐ บาเรลต่อวัน
- ค้นพบและพัฒนาน้ำมันดิบ ในบริเวณแหล่งอู่ทอง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี และแหล่งกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ยรวมประมาณ ๙๐๐ บาเรลต่อวัน
- ค้นพบและพัฒนาน้ำมันดิบ ในบริเวณแหล่งวิเชียรบุรี อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ยประมาณ ๒๐๐ บาเรลต่อวัน
(ง) พื้นที่อ่าวไทย
- ค้นพบและพัฒนาแก๊สธรรมชาติ ในบริเวณกลุ่มของแหล่งเอราวัณ ซึ่งได้แก่ แหล่งเอราวัณ บรรพต สตูล ปลาทอง กะพง ปลาแดง จักรวาล ฟูนาน ตราด ปะการัง ไพลิน และสุราษฎร์ โดยมีอัตราการผลิตแก๊สธรรมชาติ ประมาณ ๑,๐๐๐ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และแก๊สธรรมชาติเหลวประมาณ ๓๔,๐๐๐ บาเรลต่อวัน และมีการค้นพบน้ำมันดิบที่แหล่งสุราษฎร์ด้วย
- ค้นพบและพัฒนาแก๊สธรรมชาติและน้ำมันดิบ ในบริเวณแหล่งทานตะวัน โดยผลิตแก๊สธรรมชาติได้ ๕๗ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และน้ำมันดิบ ๓,๕๐๐ บาเรลต่อวัน
- ค้นพบและพัฒนาน้ำมันดิบ ในบริเวณแหล่งนางนวล โดยผลิตน้ำมันดิบในอัตรา ๒,๙๐๐ บาเรลต่อวัน
- ค้นพบและพัฒนาแก๊สธรรมชาติ ในบริเวณแหล่งบงกช โดยผลิตแก๊สธรรมชาติ ๓๑๐ ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และแก๊สธรรมชาติเหลว ประมาณ ๑๐,๐๐๐ บาเรลต่อวัน
- ค้นพบแก๊สธรรมชาติ ในบริเวณพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย โดยมีปริมาณสำรองและอัตราการไหลที่สามารถพัฒนาได้ในเชิงพาณิชย์สูงมากดู
เพิ่มเติมโดย: ลอลิง รักชาติ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)