บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ไทย-เขมรเตรียมเปิดจุดผ่านแดนอีกสองแห่ง


การหารือเปิดจุดผ่อนปรนชั่วคราวและตั้งตลาดระหว่างไทย-กัมพูชา ๑๕ ส.ค. ๕๔ฟิฟทีนมูฟ — สื่อเขมรรายงาน จนท.ไทย-เขมร ร่วมหารือเปิดจุดผ่านแดนสองแห่ง โดยกำหนดเปิด ๓๑ ส.ค. นี้ ขณะสื่อท้องถิ่นไทยเผยหารือเปิดจุดผ่อนปรนชั่วคราวและเปิดตลาดพื้นที่ ช่องกร่าง พร้อมกันรั้วทางเดิน ขณะเขมรโวยไม่เอารั้วเพราะทำเสียบรรยากาศ
หนังสือพิมพ์กัมพูชาใหม่ (๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๔) รายงานว่า เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ที่ผ่านมา กองกำลังป้องกันพรมแดนของทั้งไทยและกัมพูชา ระหว่างผู้บัญชาการและรองผู้บัญชาการสองฝ่ายได้ร่วมหารือกัน เพื่อเปิดจุดผ่านแดนอีก ๒ แห่ง คือ ด่านทมอดูน1 และด่านจุบโกกี2 ซึ่งอยู่ในพื้นที่ อ.บันเตียอำปึล จ.อุดรมีชัย ของกัมพูชา และ อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์

ร.ท.คัด โซะเคือน3 ผู้กำกับการตำรวจจุบโกกี กองพันที่ ๗๐๒ ตำรวจป้องกันพรมแดน4 (ตชด.กัมพูชา) เปิดเผยว่า พ.อ.ยีม พัน5 ผู้บัญชาการจังหวัดทหารบกอุดรมีชัย ประจำด่านจุบโกกี ได้นำกำลังระดับผู้บัญชาการและรองผู้บัญชาการทหารอำเภอบันเตียอำปึล พร้อมตำรวจป้องกันพรมแดนจำนวนหนึ่ง พบปะหารือกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย ที่นำโดย พ.อ.ณัฎฐ์ ศรีอินทร์ ผู้บังคับการกรมทหารพรานที่ ๒๖6
โดยการหารือมีประเด็นหลักที่สำคัญสองประเด็น คือ ๑. ทหารกัมพูชาและทหารไทยร่วมพบปะสร้างมิตรภาพเพื่อผลักดันให้เกิดความสัมพันธ์ อันดี แสวงหาหนทางสลายความขัดแย้งร่วมกัน ให้กองกำลังทั้งสองฝ่ายมีความเชื่อใจกัน ให้มีเศรษฐกิจที่ดี เป็นผลประโยชน์สำหรับประชาชนทั้งสองฝ่ายที่จะนำสินค้ามาค้าขายระหว่างกัน ๒. ในวันที่ ๓๑ สิงหาคม เจ้าหน้าที่ทั้งจาก อ.บันเตียอำปึล และ อ.บ้านกรวด จะพบปะหารือเพื่อกำหนดวันเปิดด่านผ่านแดนทั้งสองแห่งอย่างเป็นทางการ
ขณะที่ (๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๔) รายงานว่าการพบปะหารือระหว่างเจ้าหน้าที่ของสองประเทศ มีขึ้นเมื่อวันที ๑๕ สิงหาคม ในพื้นที่ช่องกร่าง ต.บักได อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ โดยฝ่ายไทยประกอบด้วย พ.อ.ธัญญา เกียรติสาร ผู้บังคับการทหารหน่วยเฉพาะกิจที่ ๒ กองกำลังสุรนารี กองทัพภาคที่ ๒ นายชาติชาย รัตนภานพ นายอำเภอพนมดงรัก พ.อ.ณัฎฐ์ ศรีอินทร์ ผู้บังคับการกรมทหารพรานที่ ๒๖ เจ้าหน้าที่ตำรวจภูธร และเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฝ่ายกัมพูชาประกอบด้วย พล.ท. ซอ ณารงค์ ผู้ช่วยเสนาธิการกองทัพบก และเสนาธิการสมรภูมิรบที่ ๓ พร้อมด้วยนายฮุณ เรือน นางสโลม กึมลอน รองนายอำเภอปันเตียอำปึล และพล.ต. เนี๊ยะ วงศ์ รองผู้บังคับการกองพลน้อยที่ ๔๒ หารือเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเจ้าหน้าที่ทหาร และเจ้าหน้าที่ฝ่ายต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานติดต่อกันในด้านต่างๆ บริเวณพื้นที่ชายแดนไทยและกัมพูชา รวมถึงแนวทางการเปิดจุดผ่อนปรน เพื่อการแลกเปลี่ยนสินค้าในพื้นที่ชั่วคราว บริเวณช่องกร่าง ต.บักได อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ โดยทั้งฝ่ายกัมพูชาและฝ่ายไทยกำหนดพื้นที่วางจำหน่ายสินค้าในพื้นที่ของตน เอง
พ.อ.ณัฎฐ์ ศรีอินทร์ ผู้บังคับการกรมทหารพรานที่ ๒๖ กองกำลังสุรนารี กองทัพภาคที่ ๒ ซึ่งเป็นหน่วยกำกับกำลังพล ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ชายแดนช่องกร่าง ต.บักได ชี้รายละเอียดข้อเสนอพิจารณาเบื้องต้นของผู้แทนจากกระทรวงมหาดไทยได้เดินทาง มาตรวจพื้นที่ช่องกร่าง ตั้งแต่วันที่ ๕ สิงหาคมที่ผ่านมา โดยมีข้อเสนอ ดังนี้
๑. การเปิดจุดผ่อนปรนชั่วคราวดังกล่าว อย่าให้มีผลกระทบกับเส้นเขตแดน รวมทั้งหลักเขตแดน โดยเฉพาะบริเวณช่องกร่าง มีหลักเขตที่ ๒๒ ตั้งอยู่ อย่าให้แนวตลาดเข้าไปใกล้ เนื่องจากเกรงผู้ไม่หวังดีทำลายหรือเปลี่ยนแปลงหลักเขตได้ แต่อาจจะมีการอนุญาตให้ประชาชนทั้ง ๒ ประเทศสามารถเข้าชมหรือถ่ายภาพได้ แต่ต้องมีเจ้าหน้าที่ทั้งสองฝ่ายดูแลร่วมกัน ๒. ตลาดทั้งสองฝ่ายควรแยกออกจากกันเพื่อให้ง่ายต่อการควบคุม โดยมีพื้นที่ตรงกลางไว้รองรับการสัญจรไปมาของกันและกัน และ ๓. ร่วมกันวางมาตรการที่ดีร่วมกันในระยะยาว โดยเฉพาะปัญหายาเสพติด
ในเบื้องต้นฝ่ายไทยได้สรุปข้อพิจารณามานำเสนอประชุมร่วมกับกัมพูชามี ๔ เรื่อง ประกอบด้วย ๑. รูปแบบและแผนผังการเปิดตลาดแลกเปลี่ยนสินค้า ๒. แนวความคิดกำหนดขอบเขต ๓. ประเภทสินค้าที่กัมพูชานำมาขาย และ ๔. วันเวลาเปิด-ปิด สำหรับแผนผังตลาดของไทยจะอยู่บริเวณหน้าฐานปฏิบัติการทหารช่องกร่าง และจะมีรั้วกำหนดขอบเขตชัดเจน ซึ่งจะเว้นตรงกลางเป็นช่องว่างทางเดินและจะมีรั้วหรือลวดหนามกั้นทางเดินไป ยังตลาดของกัมพูชาตรงกันข้าม ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่ทั้งสองฝ่ายดูแลความสงบเรียบร้อยและการเข้า-ออกของ ประชาชนทั้งสองประเทศ สำหรับวัน เวลาในการเปิดตลาดนั้น ในช่วงแรกฝ่ายไทยเสนอให้เปิดตลาดนัดสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง ในทุกวันพุธของสัปดาห์ ระหว่างเวลา ๐๙.๐๐ – ๑๔.๐๐ น. โดยจะเปิดตลาดครั้งแรกในวันพุธที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๔
ระหว่างการหารือกัมพูชาได้โต้แย้งเรื่องที่ไทยกำหนดรั้วลวดหนามเพื่อกั้น เขตทางเดินสองฝั่งถนนเข้ามายังฝั่งไทย โดยเห็นว่าหากมีรั้วกั้นจะทำให้เสียบรรยากาศความสัมพันธ์ได้ ซึ่งพลโทซอ ณารงค์ ไม่อยากให้มีรั้วลวดหนามกั้นแนวถนนทั้งสองฝั่ง ยืนยันว่า ชาวกัมพูชาที่เดินทางมาตลาดที่จะเปิดใหม่นี้ เป็นคนดี ไม่มีคนร้าย และมีคนไม่มากที่จะมาตลาดแห่งนี้
ขณะที่พ.อ.ธัญญา เกียรติสาร ผู้บังคับการชุดเฉพาะกิจที่ ๒ กองกำลังสุรนารี กองทัพภาคที่ ๒ ชี้แจงว่า การกำหนดพื้นที่เดิน เพื่อป้องกันผู้ไม่หวังดีทั้งไทยและกัมพูชา ที่อาจใช้ช่องว่างที่ไม่มีรั้วกันหลบหนีหรือลักลอบกระทำผิดกฎหมาย หรือขนสิ่งผิดกฎหมาย จึงจำเป็นจะต้องดำเนินการทำรั้วลวดหนามกั้นพื้นที่ไว้ แต่กัมพูชาไม่เห็นด้วย ซึ่งฝ่ายไทยระบุว่าเป็นข้อเสนอเบื้องต้น ที่จะต้องหารือกันในรายละเอียดอีกครั้ง เพราะเหลือเวลาอีกประมาณ ๒ สัปดาห์ นอกจากนี้แต่ละฝ่ายจะมีการตั้งคณะกรรมการหรือส่งตัวแทนมาร่วมประชุมย่อยกัน อีกครั้ง เพื่อหารือและเตรียมเปิดตลาดในวันที่ ๓๑ สิงหาคมนี้

มรดกโลกเขมรโต้ RBC ไม่คุยเสนอแผนบริหารฯ ร่วม


แถลงการณ์คณะกรรมการมรดกโลกกัมพูชา ลงวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ 

ฟิฟทีนมูฟ — คณะกรรมการมรดกโลกเขมรออกแถลงการณ์โต้ผู้ว่าฯ ศรีสะเกษ ที่ระบุว่าที่ประชุม RBC เห็นชอบเสนอแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารร่วมกัน และจะหารือกับผู้ว่าฯ พระวิหาร สิ้นเดือนนี้ แถลงการณ์ระบุไม่มีการคุยเรื่องนี้ และไม่มีเหตุผลที่ยกเอาเรื่องนี้มาพูดถึงอีก
คณะกรรมการมรดกโลกกัมพูชา ออกแถลงการณ์ลงวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ ตอบโต้คำให้สัมภาษณ์ของ นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ โดยในตอนต้นของแถลงการณ์ กล่าวแสดงการตอบรับการประชุมคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาคไทย-กัมพูชา (RBC) ที่จังหวัดนครราชสีมา ที่ได้หยิบยกประเด็นปัญหาต่าง ๆ ขึ้นหารือ รวมถึงมีการเตรียมการณ์สำหรับผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียในอนาคต การค้าขายและการท่องเที่ยวตามแนวชายแดน สร้างความเจริญให้พื้นที่ชายแดน และร่วมกันต่อต้านการลักลอบนำเข้ายาเสพติด

คณะกรรมการมรดกโลกกัมพูชา อ้างคำให้สัมภาษณ์ของผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ที่เผยแพร่ในเอเอสทีวีและไทยทีวี วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๔ ที่ว่าคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค กัมพูชา-ไทย เห็นพ้องว่าจะเสนอแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารร่วมกัน และจะนำเรื่องหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัดพระวิหารของกัมพูชา ในวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๔ ที่จังหวัดศรีสะเกษ โดยคณะกรรมการมรดกโลกกัมพูชาขอปฏิเสธว่า ตามข่าวสารที่แจ้งโดยคณะตัวแทนกัมพูชาที่เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวนั้น ไม่มีการหารือเกี่ยวกับการเสนอแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหารร่วมกันเลย ดังนั้น ไม่มีเหตุผลใดที่จะต้องยกปัญหานี้ขึ้นมากล่าวถึงอีก

อดีตเจ้ากรมอุทกศาสตร์” เชื่อ เขตแดนทางบกไม่กระทบในทะเล

ASTV


7 กมธ.วุฒิสภา เสวนา “มรดกโลกกับความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา” ถกข้อพิพาทจากคำสั่งศาลโลก-กก.มรดกโลก “อดีตเจ้ากรมอุทกศาสตร์” ระบุ ไทย-กัมพูชา ต่างฝ่ายต่างปล่อยสัมปทานพลังงาน เพื่ออ้างเขตแดนตัวเอง แนะฝ่ายการเมืองอย่าล้วงลูกคณะทำงาน ชี้ขั้นตอนซับซ้อนหาประโยชน์ยาก เชื่อ เขตแดนทางบกไม่กระทบในทะเล ยัน “เกาะกูด” เป็นของไทยทั้งเกาะ ด้าน “เมียปิยสวัสดิ์” อ้างรัฐ “มาร์ค” ไม่เลิกเอ็มโอยู 44 เหตุหวั่นกระทบความสัมพันธ์เพื่อนบ้าน
     
       วันนี้ (26 ส.ค.) ที่โรงแรมรอยัล ริเวอร์ ได้มีการจัดเสวนาเรื่อง “มรดกโลกกับความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา” ซึ่งเป็นการจัดร่วมกันของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วุฒิสภา 7 คณะ อาทิ กมธ.การต่างประเทศ กมธ.การปกครองและ กมธ.การทหาร เป็นต้น โดย พล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ อดีตเจ้ากรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคทางทะเลฝ่ายไทย กล่าวตอนหนึ่งว่า ประเด็นเรื่องพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลอ่าวไทย-กัมพูชา ที่รัฐบาลสองฝ่ายไม่สามารถตกลงเรื่องเขตแดนได้ พบว่า มีมากถึง 2.6 หมื่น ตร.กม.และมีแหล่งพลังงานอยู่มหาศาล เบื้องต้นเชื่อว่า แหล่งพลังงานจะอยู่ในฝั่งไทยมากกว่าฝั่งกัมพูชา เนื่องจากลักษณะสัณฐานของภูมิประเทศที่มีส่วนเว้า ซึ่งขณะนี้ยอมรับว่า ในพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าวรัฐบาลทั้งสองฝ่ายได้มีการให้สัมปทานบริษัทเอกชนที่จะเข้ามาขุดเจาะหาพลังงานกันแล้ว โดยรัฐบาลไทยได้ให้สัมปทานไปแล้วตั้งแต่ปี 2511 กับหลายบริษัท เช่น บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นต้น เช่นเดียวกับรัฐบาลกัมพูชาที่ให้สัมปทานกับบริษัทเอกชน ตั้งปี 2540
       
       “ในพื้นที่สัมปทานในพื้นที่กัมพูชา ยังมีปัญหาคือ หากขุดก๊าซแล้วจะไปไหนต่อ เพราะทางประเทศกัมพูชาไม่มีท่อก๊าซ และไม่มีโรงแยกก๊าซ ที่ผ่านมา รัฐบาลกัมพูชาคิดว่าจะขายให้กับฝั่งไทย แต่ก็มีปัญหาด้านการเมืองก่อน แต่คิดว่าปัญหานี้น่าจะเจรจากันได้เร็วๆล นี้ ส่วนผลประโยชน์ในพื้นที่ทับซ้อนที่หลายฝ่ายกังวลว่าจะเป็นประเด็นผลโยชน์ของบุคคล ผมไม่เชื่อว่าเป็นเช่นนั้น เพราะมีเจ้าหน้าที่ที่ดูแลอยู่หลายหน่วยงาน เรื่องการเจรจานี้ยังมีเจ้าหน้าที่ที่ดูแลอยู่ ดังนั้น ไม่ว่าใครเป็นรัฐบาลคณะทำงานชุดนี้ยังทำงานอยู่ ควรปล่อยให้คณะนี้ทำงานต่อไป อย่าได้ล้วงลูก และเรื่องซุกผลประโยชน์ ผมว่าไม่มีทาง เพราะตั้งแต่โบราณกระบวนการเจรจาได้ถูกเซทไว้อย่างเป็นระบบแล้ว” พล.ร.อ.ถนอม กล่าว
       
       ทั้งนี้ พล.ร.อ.ถนอม ให้สัมภาษณ์ภายหลังการบรรยายว่า การตั้งข้อสังเกตของหลายฝ่ายที่กังวลในประเด็นแหล่งพลังงานทางอ่าวไทย ในพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ว่า ที่ผ่านมา ทั้ง 2 ประเทศ ประกาศว่า เป็นพื้นที่ของตนเองฝ่ายเดียว ซึ่งไม่มีผลรับรอทางกฎหมาย เพราะตามกฎบัตรสหประชาชาติ ระบุว่า ในพื้นที่ทับซ้อนต้องมีการตกลงร่วมกันระหว่าง 2 ประเทศให้ได้ข้อยุติก่อน ขณะนี้ตนเห็นว่าแนวทางการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าว ต้องมีการเจรจากันและมีขั้นตอนอีกมา ดังนั้น เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ด้านพลังงาน จึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยาก เพราะการเจรจาเรื่องผลประโยชน์ดังกล่าวต้องมีหลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้อง อาทิ กรมอุทกศาสตร์ กระทรวงการต่างประเทศ กรมแผนที่ทางทหาร กรมสนธิสัญญา กรมเชื้อเพลิง เป็นต้น และที่สำคัญต้องผ่านการเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภา ตามกรอบรัฐธรรมนูญ มาตรา 190
       
       พล.ร.อ.ถนอม กล่าวอีกว่า สำหรับข้อกังวลเรื่องกรณีที่ศาลโลกกำลังวินิจฉัยเรื่องปักปันเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชา ยืนยันว่า การพิจารณาของศาลโลกจะพิจารณาเฉพาะการปักปันทางบก ถึงหลักเขตที่ 73 ซึ่งไม่เกี่ยวเนื่องถึงเขตแดนทางทะเล และไม่ได้ผ่ากลางเกาะกูดอย่างที่หลายฝ่ายซึ่งไม่มีความเข้าใจออกมาวิจารณ์ เพราะในอดีตมีหลักฐานที่ฝ่ายกัมพูชายอมรับว่าเกาะกูดเป็นของไทยหลายอย่างอีกด้วย
       
       ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรีสมัยรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีมติให้ยกเลิกเอ็มโอยู 2544 จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อไป พล.ร.อ.ถนอม กล่าวว่า มติ ครม.ดังกล่าวยังไม่ได้มีการยกเลิก เป็นเพียงการเห็นชอบในหลักการเท่านั้น และส่งเรื่องต่อให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาให้รอบคอบ ซึ่งขณะนี้เรื่องยังคงค้างอยู่ ดังนั้น เป็นหน้าที่ที่รัฐบาลชุดใหม่ต้องพิจารณาต่อไป ความเห็นส่วนตัวมองว่าหากมีการยกเลิกเอ็มโอยู 44 นั้นเท่ากับเป็นการล้มการเจรจาที่ผ่านมาตั้งปี 2513 ซึ่งหากเป็นไปตามนั้นไม่รู้กี่ปีจะได้ใช้พลังงานในพื้นที่ดังกล่าว
       
       ด้าน นางอานิก อัมระนันทน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน ซึ่งได้เข้าร่วมรับฟังการบรรยายด้วย เปิดเผยกับสื่อมวลชนว่า สาเหตุที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ยกเลิกเอ็มโอยู 44 อย่างเด็ดขาด โดยการนำเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภานั้น เพราะเกรงว่าจะกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งกรณีที่คณะรัฐมนตรีชุดที่แล้ว ให้ความเห็นชอบในหลักการเพื่อยกเลิกนั้น เป็นเพียงการแสดงจุดยืนที่ไม่เห็นด้วยกับเส้นเขตแดนทางทะเลที่กัมพูชาได้เขียนขึ้น ส่วนสาเหตุที่มาเรียกร้องในรัฐบาลชุดใหม่ เป็นเพราะต้องแสดงจุดยืนว่าเราคัดค้านและในเอ็มโอยู 44 ยังไม่มีการตกลงเรื่องการจัดสรรพลังงานที่แน่ชัด เกรงว่า จะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนรายใดรายหนึ่งได้

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง