บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

“แม้ว” จับมือ “ฮุน เซน” แบ่งผลประโยชน์บ่อน้ำมัน


ดูวีดีโอประกอบจาก Manager Multimedia
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
ภาพจากพนมเปญโพสต์

วิกิลีกส์ เผย “แม้ว” จับมือ “ฮุน เซน” แบ่งผลประโยชน์บ่อน้ำมันในอ่าวไทย โคโนโคฟิลิปส์ เชฟรอน รอรุมทึ้งสัมปทานสำรวจ เผย เป็นหนึ่งในพื้นที่ดีที่สุดในโลก สำหรับการสำรวจ และจะปฏิวัติกัมพูชาแบบพลิกโฉม หลังข่าวรั่วเขมรปัดไม่รู้เรื่องเจรจา เชฟรอนปิดปากเงียบ
      
       เว็บไซต์หนังสือพิมพ์พนมเปญโพสต์ รายงานเมื่อวันที่ 13 ก.ค.ที่ผ่านมา อ้างการเปิดเผยของวิกิลีกส์ ที่ระบุว่า กัมพูชาและไทยเกือบจะได้ข้อสรุปเกี่ยวกับแหล่งน้ำมันบนพื้นที่ทับซ้อนทาง ทะเลในอ่าวไทย ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่ถูกขับพ้นตำแหน่งในปี 2549 เสียก่อน
      
       เอกสารลับทางการทูตของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 15 พ.ค.2550 ได้กล่าวถึงรายละเอียดการไปเยือนกรุงพนมเปญของสภาธุรกิจสหรัฐฯ-อาเซียน และร่วมประชุมกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงกัมพูชา ว่า ผู้แทนของบริษัท โคโนโคฟิลิปส์ ยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของสหรัฐฯ ได้เรียกร้องให้รัฐบาลกัมพูชา หาทางคลี่คลายข้อพิพาทพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย โดยระบุว่า บริษัทได้รอสัญญาสัมปทานการสำรวจพื้นที่ดังกล่าวมาเป็นเวลาเกือบสิบปีแล้ว
      
       ในระหว่างการประชุมครั้งนั้น นายเกา คิม ฮอร์น เจ้าหน้าที่ระดับสูงกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา ได้แจ้งต่อบริษัท ว่า รัฐบาลไทยและกัมพูชาเกือบได้ข้อยุติในเรื่องนี้ ไม่นานนักก่อนรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะถูกขับพ้นจากการเป็นรัฐบาล
      
       นายเกา กล่าวว่า ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันในหลักการแบ่งรายได้ ดังนี้ พื้นที่ใกล้ไทยมากที่สุด ไทยได้ 80% กัมพูชา 20% ส่วนพื้นที่ตรงกลางแบ่ง 50%-50% และพื้นที่ใกล้ฝั่งกัมพูชา ไทยได้ 20% กัมพูชา 80% ในเวลานั้น เขาคิดว่า ถ้ามีเวลาในการเจรจาเพิ่มเติมอีก 6 เดือน ก็น่าจะตกลงกันได้
      
       วิกิลีกส์ เปิดเผยเอกสารอีกฉบับเกี่ยวกับการประชุมเมื่อปี 2550 ของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกัมพูชา กับ นายแกรี่ ฟลาเฮอร์ตี้ ผู้จัดการทั่วไปด้านการสำรวจ บริษัท เชฟรอน ซึ่งได้สัมปทานสำรวจบล็อกเอ นอกชายฝั่งกัมพูชา ซึ่งเชฟรอนสนใจมากที่จะได้สิทธิในบล็อกที่เป็นพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล โดย นายแกรี่ ฟลาเฮอร์ตี้ ระบุว่า พื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทยนั้น “เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ดีที่สุดในโลกสำหรับการสำรวจ” และมันสามารถจะปฏิวัติกัมพูชาแบบพลิกโฉม ส่วนบล็อกเอ นั้น ไม่มีความสำคัญพอที่จะสำรวจและทำกำไรได้โดยลำพัง
      
       หลังจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกโค่นอำนาจ กรณีพิพาทพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล แทบไม่มีความคืบหน้า ประกอบกับการตั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นที่ปรึกษาเศรษฐกิจของกัมพูชาเมื่อปี 2552 ยิ่งสร้างปัญหามากขึ้น เมื่อคณะรัฐมนตรีไทยได้ดำเนินการจะยกเลิกบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ระหว่างไทย กับกัมพูชา ปี 2544 โดยอ้างว่า บทบาทใหม่ของ พ.ต.ท.ทักษิณ บ่อนทำลายสถานะการเจรจาต่อรองของไทย
      
       เอกสารสถานทูตอีกฉบับในธันวาคม 2552 ยังกล่าวเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ กับกัมพูชา ระบุว่า การไปเยือนพนมเปญของ พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกนักสังเกตการณ์ส่วนใหญ่มองว่า เป็นการสานต่อของ พ.ต.ท.ทักษิณ และ ฮุนเซน ในการใช้และกันเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว
      
       เมื่อวันที่ 12 ก.ค.54 นายเมน เดน รองผู้อำนวยการสำนักงานปิโตรเลียมแห่งชาติกัมพูชา กล่าวว่า ตนไม่ทราบเรื่องข้อตกลงแบ่งรายได้จากน้ำมัน ระหว่างกัมพูชากับไทย และเป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนือความรับผิดชอบของตน ขณะที่ นายเกา คิม ฮอร์น กล่าวว่า เขาจำเรื่องดังกล่าวไม่ได้ ส่วนเชฟรอนปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นเรื่องดังกล่าว
      
       (อ่านข่าวจากพนมเปญโพสต์ได้ที่ http://www.phnompenhpost.com/index.php/2011071350344/National-news/thaksin-oil-deal-interrupted.html)

จับตาศาลโลก 18 กรกฎาคม: ความผิดพลาด เขตแดนไทย และ MOU ปี 2543







โดย วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ อดีตนัฎหมายในคดีศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ



หลายคนคงทราบแล้วว่าในวันจันทร์ที่ 18ฎาคมนี้ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโล) จะอ่านคำสั่งรณีที่ัมพูชาขอให้ศาลระบุมาตรารคุ้มครองชั่วคราว

ศาลจะสั่งหรือไม่สั่งตามที่ัมพูชาขอหรือไม่อย่างไร ต้องรอลุ้นัน

แต่น้อยคนคงทราบว่า ช่วง่อนวันเลือตั้งที่ผ่านพ้นมา ศาลโลได้ให้เจ้าที่ดำเนินาร (อย่างเงียบๆ) เพื่อปรับเปลี่ยนแ้ไขคำแปลคำพูดของฝ่ายไทย ซึ่งศาลเคยแปลผิดพลาดอย่างมีนัยสำคัญ ดังนี้

คำแปลฉบับเดิมที่ผิดพลาด
เมื่อวันที่ 29-30 พฤษภาคม 2554 ฝ่ายไทยได้ชี้แจงด้วยวาจาต่อศาลโลรณีที่ัมพูชาขอให้ศาลมีคำสั่งระบุมาตรารคุ้มครองชั่วคราว (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคดีที่ัมพูชาขอให้ศาลตีความคำพิพาษาคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ.2505) และศาลได้บันทึคำชี้แจงของฝ่ายไทยส่วนหนึ่งเป็นเอสาร CR 2011/14 เป็นฉบับ uncorrected (คือยังไม่ได้รับารตรวจสอบโดยคู่ความ)

ต่อมาช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2554 เจ้าหน้าที่ศาลโลได้แปลเอสาร CR 2011/14 ดังล่า ว ซึ่งในคำแปลหน้าที่ 4 ได้แปลคำพูดย่อหน้าที่ 10 ของนายวีรชัย พลาศรัย (ตัวแทนฝ่ายไทย ซึ่งชี้แจงต่อศาลเป็นภาษาฝรั่งเศส) มาเป็นภาษาอังฤษดังนี้:

"On 19 July, work began to erect a barbed wire fence and a sign marking the boundary of the Temple area, according to the line which had been adopted by the Council of Ministers on 10 July for the purposes of implementing the 1962 Judgment..."

(เน้นคำโดยผู้เขียน, ทั้งนี้ "a sign marking the boundary of the Temple area" ถูแปลจาภาษา ฝรั่งเศสต้นฉบับของนายวีรชัยที่ว่า "...un panneau marquant la limite de la zone du temple..." ดู http://bit.ly/n7fnFx และ http://bit.ly/qLpWUN)

คำแปลข้างต้นปราฏอยู่ในบริบทที่ว่า เมื่อเดือนมิถุนายน 2505 ศาลโลได้พิพาษาว่า ปราสาทพระวิหารเป็นของัมพูชาและไทยต้องถอนำลังทหารออจา"บริเวณใล้เคียงตัวปราสาท" (vicinity) แต่เมื่อคำพิพาษาไม่ได้ระบุขอบเขตของบริเวณดังล่าวไว้ คณะรัฐมนตรีไทยจึงได้ำหนด "เส้นปฏิบัติาร" เมื่อวันที่ 10ฎาคม 2505 เพื่อให้ไทยสามารถปฏิบัติตามคำพิพาษา

และจานั้นเมื่อวันที่ 19ฎาคม 2505 ไทยจึงเริ่มดำเนินารวางรั้วหลวดหนามรอบตัวปราสาทและตั้งป้ายเพื่อบ่งบอ"boundary" (ซึ่งอาจแปลว่า "เขตแดน" หรือ "ขอบเขต") ของบริเวณปราสาทพระวิหาร ตาม "เส้นปฏิบัติาร" เพื่อให้เิดความชัดเจน

ต่อมาคำแปลดังล่าวได้ทำให้เิดความสับสนเี่ยวับคำว่า "la limite" และ "boundary" ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้เขียนจำต้องให้ความเห็นทางฎหมายในบทความเรื่อง "คำเตือนถึงอภิสิทธิ์: โปรดอย่าปล่อยให้ศาลโลแปลคำผิด" (http://on.fb.me/mVaV6i) เพื่อเตือนรัฐบาลไทยว่า ไม่ควรปล่อยให้ศาลใช้ถ้อยคำที่ไม่รัดุมและอาจมีปัญหาอย่างมีนัยสำคัญ

ล่าวคือารที่ศาลนำคำว่า "la limite" ที่นายวีรชัยใช้มาแปลเป็น "boundary" นั้นสามารถทำให้ผู้อ่าน (ซึ่งอาจรวมไปถึงผู้พิพาษาในคดี) เข้าใจไทยผิด

เพราะคำฝรั่งเศส "la limite" ที่นายวีรชัยล่าวไปนั้น หมายถึง "ขอบเขต" หรือ "the limit" ของบริเวณปราสาทพระวิหาร แต่คำอังฤษ "boundary" ที่ศาลนำมาใช้แปล แม้ทางหนึ่งอาจแปลว่า "ขอบเขต" ได้ แต่็สุ่มเสี่ยงต่อารถูเข้าใจผิดว่าหมายถึง "เขตแดน" (ระหว่างไทยและัมพูชา) บริเวณปราสาทพระวิหาร ซึ่งระทบต่อรูปคดีอย่างมาเพราะหาศาลนึว่าไทยำลังพูดถึง "เขตแดน"็เสมือนว่าไทยยอมรับว่าคำพิพาษา พ.ศ.2505 ได้ตัดสินเรื่องเขตแดนระหว่างประเทศไปแล้ว (ซึ่งผู้เขียนย้ำว่าเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะคำพิพาษา พ.ศ.2505 นั้น ศาลเพียงตีความสนธิสัญญา และมิได้ลาเส้นเขตแดนแต่อย่างใด)

ต่อมาเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2554ระทรวงารต่างประเทศได้เผยแพร่คำแปลภาษาไทยในส่วนที่ตรงับข้อความดังล่าว โดยใช้คำว่า "ขอบเขต" แทนคำว่า "la limite" เช่นัน (http://bit.ly/oVLzUz)

ศาลโล้ไขคำผิด
ล่าสุดช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2554 ศาลโลได้ดำเนินารอย่างเงียบๆ เพื่อแ้ไขคำแปลเอสาร CR1 2011/14 ฉบับ uncorrected หน้าที่ 4 ให้ปราฏเป็นคำแปลปัจจุบัน (ฉบับ uncorrected เช่นเดิม) ดังนี้:

"On 19 July, work began to erect a barbed wire fence and a sign marking the limit of the Temple area, according to the line which had been adopted by the Council of Ministers on 10 July for the purposes of implementing the 1962 Judgment..."

(เน้นคำโดยผู้เขียน, นอจานี้ศาลยังได้แ้ไขถ้อยคำลัษณะเดียวันในย่อหน้าที่ 11 คือเปลี่ยนคำว่า "boundary" มาเป็นคำว่า "limit" แทน, ดู http://bit.ly/pvXo6d)

ล่าวคือ ศาลได้แ้ไขคำแปลคำชี้แจงของฝ่ายไทย จาเดิมที่ศาลใช้คำว่า "the boundary of the Temple area" มาเป็น "the limit of the Temple area" เพื่อเป็นารรับทราบจุดยืนของไทยอย่างชัดเจนว่า ไทยไม่ได้ยอมรับว่าคำพิพาษา พ.ศ.2505 เป็นเรื่องารำหนด "เขตแดน" (ระหว่างไทยและัมพูชา) บริเวณปราสาทพระวิหารแต่อย่างใด แนวรั้วรอบปราสาทจึงเป็นเพียง "ขอบเขต" เท่านั้น (ผู้สนใจประเด็นดังล่าว ดูคำอธิบายได้ที่ http://on.fb.me/oq6cUZ)

ดังนั้น "เขตแดน" ที่แท้จริงระหว่างไทยและัมพูชา ณ วันนี้คือเส้นหรือบริเวณใด จึงมิได้เี่ยวข้องับศาลโลและย่อมไม่ใช่สิ่งที่ศาลจะตีความได้ แต่ "เขตแดน" เป็นเรื่องที่ต้องว่าไปตามฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งได้แ่อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ.1907 และเอสารที่เี่ยวข้อง อาทิ บันทึความเข้าใจ (MOU) ระหว่างรัฐบาลไทยับรัฐบาลัมพูชา ว่าด้วยารสำรวจและจัดทำหลัเขตแดนทางบพ.ศ.2543 (ส่วนจะส่งผลดีต่อไทยหรือไม่นั้น เป็นอีประเด็นที่สำคัญเช่นัน)

แม้คำแปลดังล่าวไม่มีผลผูพันศาลโดยตรง แต่อย่างน้อยารที่ศาลให้เจ้าหน้าที่แ้ไขคำว่า "boundary" (เขตแดน) มาเป็น "limit" (ขอบเขต) นี้ ถือเป็นสัญญาณที่ดีว่าศาลให้ความสำคัญับประเด็นละเอียดอ่อนดังล่าว ที่ไทยต่อสู้ไว้ว่า คดีนี้มิใช่เรื่องเขตแดนดั่งที่ัมพูชาพยายามจะทำให้เป็น

คำชมถึงรัฐบาลอภิสิทธิ์และระทรวงารต่างประเทศ
ไม่ว่ารัฐบาลจะทราบเรื่องคำแปลที่ผิดพลาดนี้มา่อนอยู่แล้ว หรือจะได้ทราบจาบทความของผู้เขียนนั้นคงไม่ใช่ประเด็นสำคัญ เท่าับประเด็นที่ว่ารัฐบาลต้องรับฟังเสียงของประชาชน และทันทีที่ผู้รับผิดชอบโดยตรง ซึ่งได้แระทรวงารต่างประเทศของไทย ได้ทราบถึงความผิดพลาดดังล่าว็ได้ดำเนินารประสานงานเพื่อให้ศาลแ้ไขคำแปลดังล่าวให้ถูต้อง

ถือเป็นารปฏิบัติหน้าที่อันสมควรได้รับคำชม และำลังใจจาประชาชนเช่นัน
จริงอยู่ ที่ผ่านมาได้มีคำถามตลอดจนเสียงต่อว่าวิพาษ์วิจารณ์ต่อระทรวงารต่างประเทศ ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบคดีปราสาทพระวิหารโดยตรงอยู่ไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบันทึความเข้าใจ MOU พ.ศ.2543 สมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ มาจนถึงแถลงารณ์ร่วม (Joint Communique**) พ.ศ.2551 สมัยรัฐบาลพลังประชาชน จนถึงรณีภาคีอนุสัญญามรดโล(ซึ่งทุวันนี้็ยังไม่ชัดว่าารถอนตัวมีผลหรือไม่ ผู้สนใจโปรดดู http://on.fb.me/1WBhHm)

แต่ในขณะเดียวันารปฏิบัติหน้าที่ของระทรวงารต่างประเทศ็สมควรได้รับคำชื่นชมในบางเรื่องเช่นัน นอจาเรื่องคำแปลข้างต้นแล้ว ยังมีตัวอย่างอื่น อาทิ
ารใช้เทคโนโลยี twitter รายงานความเคลื่อนไหวของฝ่ายไทยที่ศาลโลคล้ายารรายงานสด ช่วงวันที่ 29-30 พฤษภาคมที่ผ่านมา (http://bit.ly/pGjO1M) แม้เจ้าหน้าที่อาจได้ย่อข้อความจาบทแถลงที่เตรียมไว้่อนแล้ว และเป็นารเสนอข้อมูลข้างเดียวของฝ่ายไทย็ตาม แต่อย่างน้อยประชาชนคนไทย็สามารถติดตามข่าวสารได้รวดเร็วทันเหตุารณ์

ารใช้เทคโนโลยี facebook เผยแพร่รูปภาพารทำงานของคณะทำงานฝ่ายไทยที่ศาลโล(http://on.fb.me/nSQlj5) แม้เจ้าหน้าที่อาจจะคัดมาเฉพาะภาพขณะทำงานเพียงไม่ี่รูป ซึ่งไม่อาจถ่ายทอดเหตุารณ์จริงได้หมด แต่อย่างน้อยประชาชน็ได้ทราบถึงบรรยาาศของารสู้คดีประวัติศาสตร์ครั้งนี้ ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง

ารให้ข้อมูลประชาชนในลัษณะ ถาม-ตอบ หรือ ย่อสรุปข้อต่อสู้ที่ฝ่ายไทยได้แถลงต่อศาล (http://bit.ly/nJOt1Q) แม้เจ้าหน้าที่จะนำเสนอข้อมูลฝ่ายเดียว โดยที่ไม่ได้สรุปข้อล่าวหาและข้อต่อสู้ที่ัมพูชาอ้างในลัษณะเดียวัน แต่็ถือว่าแปลและสรุปได้ดีในระดับหนึ่ง คือย่อคำแถลงของตัวแทนและทนายความฝ่ายไทยเป็นรายบุคคลและแยเป็นประเด็น ทำให้ประชาชนผู้สนใจสามารถศึษาข้อมูลเป็นภาษาไทยได้สะดว

นอจานี้ ในฐานะผู้ที่เคยช่วยทำคดีในศาลโลและศาลอื่นมาบ้าง ผู้เขียนมั่นใจว่ายังมีความดีของข้าราชารไทยผู้อดหลับอดนอนอีหลายรณีที่อาจมิได้เปิดเผยต่อประชาชน

ที่ล่าวมา มิได้หวังให้ระทรวงารต่างประเทศรู้สึปลื้มอปลื้มใจ แต่ผู้เขียนประสงค์จะสื่อถึงความดังต่อไปนี้

1.ประชาชนมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 56
คือสิทธิได้รับและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในความครอบครองของราชาร ยเว้นมีความจำเป็นที่เปิดเผยไม่ได้ เช่น เรื่องความมั่นคง ราชารทุหน่วยงานต้องเคารพสิทธินี้ และหน่วยงานที่ดีย่อมต้องยึดมาตรฐานที่สูงว่าพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชาร พ.ศ.2540 (ซึ่งสมควรได้รับารแ้ไข) โดยเฉพาะารอาศัยเทคโนโลยีที่ประหยัดและรวดเร็ว ดังที่ระทรวงารต่างประเทศได้ทำเป็นตัวอย่าง

2.ข้าราชารมืออาชีพที่ทำงานฉับไวมีประสิทธิภาพและโปร่งใสต่อประชาชน มีได้อีในประเทศไทย และประชาชนควรเรียร้องให้ข้าราชารยึดมาตรฐานดังล่าว มิใช่จำยอมว่า "เช้าชามเย็นชาม" คือเรื่องปติ และไม่จำัดเฉพาะข้าราชารประจำทั่วไปเท่านั้น แต่ต้องรวมถึงข้าราชารหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางารเมือง เช่น เข้าประชุมสภาตรงเวลาหรือไม่ หรือสละเวลามาพบปะประชาชนหลังวันเลือตั้งมาน้อยแค่ไหน หรือข้าราชารในมหาวิทยาลัย เช่น สอนหนังสือ ตรวจข้อสอบและผลิตผลงานอย่างท่วงทันเหตุารณ์หรือไม่ หรือแม้แต่ข้าราชารตุลาาร ประชาชนผู้เป็นเจ้านายตัวจริงย่อมมีสิทธิถามว่า เหตุใดคดีความในศาลไทยจึงใช้เวลานานและคั่งค้างยืดเยื้อจำนวนมาเป็นต้น

3.ในยามที่ประเทศชาติมีปัญหาต้องฝ่าฟันร่วมันารมองเห็นความดีล่าวชม และให้ำลังใจันในสิ่งเล็ๆ น้อยๆ นั้น ไม่ได้สำคัญน้อยไปว่าารต่อว่า ตัเตือน หรือติติงันในเรื่องที่ใหญ่ และหาเราเพ่งเล็งทำเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งารฝ่าฟันปัญหาร่วมันย่อมเป็นไปโดยลำบา

4.เมื่อผู้ใดทราบถึงความผิดพลาดของตน ไม่ว่าผู้นั้นจะสูงศัดิ์ดั่งศาลที่นานาชาติเคารพ หรือทรงอำนาจดั่งนัารเมืองที่ได้รับคะแนนท่วมท้นจาทั่วประเทศ หาผู้นั้นล้าหาญที่จะยอมรับข้อผิดพลาดและปรับปรุงแ้ไข ย่อมมิใช่เรื่องที่จะซ้ำเติมัน แต่เป็นสิ่งที่ต้องช่วยันสนับสนุนและชื่นชม

จับตาศาลโลวันที่ 18ฎาคม !
นอจาศาลโลจะได้แ้ไขคำแปลผิดให้ถูต้องแล้ว ล่าสุดศาลยังได้แจ้งว่าในวันจันทร์ที่ 18ฎาคมนี้ ศาลจะอ่านคำสั่งรณีที่ัมพูชาขอให้ศาลระบุมาตรารคุ้มครองชั่วคราว ซึ่งัมพูชาขอไว้สามข้อ คือ

(1)สั่งให้ไทยถอนทหารออไปจาดินแดนของัมพูชา (territoire cambodgien) ในบริเวณปราสาทพระวิหาร

(2)สั่งห้ามไม่ให้ไทยดำเนินารทางทหารในบริเวณปราสาทพระวิหาร

(3)สั่งให้ไทยงดเว้นารระทำที่อาจระทบต่อสิทธิของัมพูชา หรืออาจทำให้ความขัดแย้งทวีความรุนแรงมาขึ้น

ผู้เขียนมิอาจล่วงรู้ผลของคำสั่งในวันจันทร์ที่ 18ฎาคมนี้ได้ แต่อาจตั้งข้อสังเตเบื้องต้นดังนี้

1.จับตาเรื่อง "เขตแดน" ที่แฝงมาในคำขอของัมพูชา
จาคำขอทั้งสามข้อข้างต้น คำขอข้อแรมีนัยเี่ยวับเรื่องเขตแดนชัดเจน คือ หาศาลสั่งตามที่ัมพูชาขอ ย่อมแปลว่ามี "พื้นที่ในบริเวณปราสาทพระวิหาร" ที่อยู่ในดินแดนของัมพูชา ในขณะที่คำขอสองข้อหลัง แม้หาศาลสั่งตามที่ัมพูชาขอ็มองได้ว่าไม่เี่ยวับเขตแดนโดยตรง เช่น อาจมองเป็นเรื่องารรัษาตัวปราสาทที่เป็นวัตถุแห่งคดี

ไม่ว่าวันที่ 18ฎาคมนี้ ศาลจะมีคำสั่งมาตรารคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่แบบใด สิ่งที่ควรจับตามอง็ คือ ศาลจะแสดงจุดยืนในเรื่องคำขอข้อแรที่ล่าวถึง "เขตแดน" อย่างไร? ผู้เขียนมองว่าเป็นไปได้สามแนวทาง

แนวแร ศาลอาจปฏิเสธคำขอข้อแรโดย สิ้นเชิง จะด้วยเหตุผลว่าศาลไม่มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องเขตแดนหรือด้วยเหตุผลอื่นที่ ฝ่ายไทยอ้าง เช่น ประเด็นเขตแดนในปัจจุบันต้องว่าไปตาม MOU พ.ศ.2543 ฯลฯ ทั้งนี้ารที่ศาลได้ดำเนินารให้เจ้าหน้าที่แ้ไขคำแปลผิด จาคำว่า "boundary" (เขตแดน) มาเป็น "limit" (ขอบเขต) นี้ถือเป็นสัญญาณที่ดีว่า ศาลให้ความสำคัญับประเด็นดังล่าวที่ไทยต่อสู้ไว้

แนวที่สอง ศาลอาจมีคำสั่งเป็นารทั่วไปตามที่ัมพูชาขอ อาจสั่งโดยไม่อธิบายว่า "พื้นที่ในบริเวณปราสาทพระวิหาร" ที่อยู่ในดินแดนของัมพูชา คือ พื้นที่ใด ซึ่งแม้จะไม่ชัดเจน แต่็เป็นความคลุมเครือที่ัมพูชาอาจนำมาใช้อ้างต่อได้

แนวที่สาม ซึ่งน่าังวลที่สุดและไม่น่าจะเป็น คือ ศาลอาจอ้างถึงข้อเท็จจริงหรือเอสารบางอย่าง เช่น MOU พ.ศ.2543 หรือแผนที่ภาคผนว1 (ซึ่ง MOU ได้อ้างถึงโดยไม่เจาะจง) และล่าวโดยตรงหรือโดยอ้อมในทำนองว่า "พื้นที่ในบริเวณปราสาทพระวิหาร" ที่อยู่ในดินแดนของัมพูชาอาจเี่ยวข้องับเอสารหรือแผนที่ดังล่าว

ซึ่งอาจเป็นารตีความฎหมายที่สุ่มเสี่ยงเรื่องเขตแดน ดังที่มีผู้ห่วงใยได้เตือนเี่ยวับ MOU ตลอดมา

สำหรับประเด็นที่ไทยได้ชี้แจงต่อศาลโลไปเมื่อวันที่ 29-30 พฤษภาคม 2554 ดูรายละเอียดได้ที่ http://sites.google.com/site/verapat/temple/2011

“เอฟ-16” บินโฉบ “เขาพระวิหาร” - เขมรจัดเข้าพรรษาแสดงสิทธิ์ใน “วัดแก้วฯ”



โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 13 กรกฎาคม 2554 18:08 น.

วัดแก้วสิกขาคีรีสวา ระ ด้านทิศตะวันตกปราสาทพระวิหาร บนเขาพระวิหาร ในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ชายแดนไทย-กัมพูชา อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ (แฟ้มภาพ)
       ศรีสะเกษ - เครื่อง บินขับไล่ “เอฟ -16” ไทย โฉบใกล้เขาพระวิหาร ขณะประชาชนตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา เตรียมแห่เทียนเข้าพรรษาคึกคัก เผย กัมพูชาจัดกิจกรรมเข้าพรรษาในวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ แสดงสิทธิ์เหนือพื้นที่ 4.6 ตร.กม.เขาพระวิหาร
      
       วันนี้ (13 ก.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงเวลาประมาณ 10.00 น.ที่บริเวณบ้านซำเม็ง ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ได้มีเครื่องบินขับไล่ เอฟ-16 กองทัพอากาศไทย บินเข้ามาที่บริเวณหมู่บ้านแห่งนี้ ซึ่งอยู่ใกล้กับเขาพระวิหาร ชายแดนไทย-กัมพูชา ทำให้ชาวบ้านซำเม็งและชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียงพากันออกมายืนดูเครื่องบิน เอฟ-16 และวิพากษ์วิจารณ์กันต่างๆ นานา แต่ไม่มีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้นแต่อย่างใด ทั้งนี้ คาดว่า เป็นการฝึกซ้อมบินตามปกติ
      
       ด้าน นายวีระยุทธ ดวงแก้ว กำนันตำบลเสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า ในวันที่ 15 ก.ค.นี้ ประชาชนชาวบ้านภูมิซรอล และชาวบ้านทุกหมู่บ้านในเขต ต.เสาธงชัย ได้ร่วมกันจัดพิธีถวายเทียนพรรษาให้แก่วัดใหม่ภูมิซรอล ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา ซึ่งขณะนี้ชาวบ้านภูมิซรอล ที่อยู่ใกล้ปราสาทพระวิหาร ชายแดนไทย-กัมพูชา ได้พากันจัดเตรียมเทียนพรรษากันอย่างคึกคัก โดยมีทหารและตำรวจคอยดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดนอย่างเต็มที่
      
       ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ขณะเดียวกัน ที่วัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ ด้านทิศตะวันตกปราสาทพระวิหาร บนเขาพระวิหาร ชายแดนไทย-กัมพูชา ปรากฏว่า ชาวกัมพูชาได้มีการเตรียมจัดกิจกรรมเทศกาลเข้าพรรษาเช่นเดียวกัน โดยมีการจัดกิจกรรมปฏิบัติธรรมและถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ชาวกัมพูชาที่มา ประจำอยู่ที่วัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ จำนวน 6 รูป เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีวันเข้าพรรษา ซึ่งชาวกัมพูชาเองก็นับถือศาสนาพุทธเช่นเดียวกับชาวไทย อีกทั้งเป็นการพยายามแสดงสิทธิ์เหนือวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ ในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรบนเขาพระวิหาร ในทุกรูปแบบของฝ่ายกัมพูชา

สื่อ เผย ฮุนเซน-ทักษิณแบ่งรายได้ทับซ้อน



ข่าวต่างประเทศ วันพุธที่ 13 เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2554 19:58 น.
วิกิลีกส์ เผย "พ.ต.ท.ทักษิณ - สมเด็จฮุน เซน" ตกลงแบ่งผลประโยชน์ในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล เกือบลงตัวแล้ว ก่อนถูกรัฐประหารปี 2549
วิกิลีกส์ เผยข้อมูลลับที่ได้มาจากสถานทูตสหรัฐฯ ลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2007 จากการเดินทางเยือนกรุงพนมเปญ ของสภาธุรกิจสหรัฐ - อาเซียน และเป็นข้อมูลในระหว่างการรือกับเจ้าหน้าที่ระดับสูงจาก บริษัท ConocoPhillips
บริษัทข้ามชาติ ที่ทำธุรกิจด้านพลังงานเชื้อเพลิงที่ใหญ่อันดับ 3 ในสหรัฐอเมริกา "เพื่อแก้ปัญหาข้อพิพาทกับประเทศไทย เกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนในอ่าวไทย" ซึ่งทาง ConocoPhillips ได้รับสัมปทานในพื้นที่ดังกล่าว เป็นระยะเวลาเกือบ 10 ปี

โดย นายกาว กิม ฮูร์น (Kao Kim Hourn) ผู้ช่วยรัฐมนตรีกัมพูชา กล่าวกับเจ้าหน้าที่ของ ConocoPhillips ว่า รัฐบาลไทยและกัมพูชา เข้าใกล้ข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทยแล้ว ซึ่งทั้ง 2 ฝ่าย วางระบบ
ข้อตกลงร่วมกันสำหรับการแบ่งสรรรายได้ ดังนี้ แบ่งรายได้ร้อยละ 80 ให้กับประเทศไทย และร้อยละ 20 ให้ประเทศกัมพูชา ในแนวระดับที่ใกล้กับประเทศไทยมากที่สุด, ร้อยละ 50 - 50 ในระดับกลาง และร้อยละ 20 ให้กับประเทศไทย และส่วนที่เหลือเป็นของประเทศกัมพูชา ในแนวระดับใกล้กับประเทศกัมพูชามากที่สุด โดยตนคิดไม่น่าจะเกิน 6 เดือน น่าจะมีการตัดสินใจเกี่ยวกกับเรื่องนี้

และเมื่อปี 2009 เมื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาทางเศรษฐกิจให้กับประเทศกัมพูชา หลังคณะรัฐมนตรีของไทย พยามเคลื่อนไหว เพื่อยกเลิกบันทึกความเข้าใจที่ทำไว้กับกัมพูชา เมื่อปี 2001 ส่วนข้อมูลเมื่อ
เดือนธันวาคม ปี 2009 ครั้งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เดินทางเยือนกรุงพนมเปญ ซึ่งนักสังเกตการณ์ส่วนใหญ่นั้น เชื่อว่า พ.ต.ท.ทักษิณ และ สมเด็จฮุน เซน อาจมีการทำข้อตกลงเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวบางอย่างร่วมกัน

ขณะ ที่การสอบถามไปยัง เมน เดน (Men Den) รองผู้อำนวยการการปิโตรเลียมแห่งชาติกัมพูชา กล่าวว่า ตนไม่ทราบเกี่ยวกับข้อตกลงในการแบ่งรายได้จากการปิโตเลียมระหว่างกัมพูชาและ ไทย พร้อมทั้งให้เหตุผลว่า เรื่อง
ดังกล่าวอยู่นอกเหนือความรับผิดชอบของ ตน ด้าน นายกาว กิม ฮูร์น ก็ได้กล่าวปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นต่อกรณีที่เกิดขึ้น โดยระบุว่า ตนจำเรื่องดังกล่าวไม่ได้
Link : http://www.innnews.co.th/สื่อ-เผย-ฮุนเซน-ทักษิณแบ่งรายได้ทับซ้อน--296716_04.html

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง