บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เขตทะเลไทย-เขมรไม่เกี่ยวพระวิหาร!

ไทยรัฐ

Pic_236280 ปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชานอกจาก เขตแดนทางบกแล้ว

เขตแดนทางทะเลก็ยังเป็นปัญหาคาราคาซังอยู่

พิษ ของปัญหานี้ ทำให้ทั้งไทยและกัมพูชาไม่สามารถให้บริษัทผู้ขอสัมปทานสำรวจ ขุด และเจาะพลังงานใต้อ่าวไทยออกมาได้ ขณะเดียวกัน  ระหว่างการเมืองไทยเขม็งเกลียว ปัญหานี้ก็ถูกนำมาใช้เป็นประโยชน์ทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่นักวิชาการออกมาชี้ว่า ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงเขตแดนทางบก จะมีผลทำให้เขตแดนทางทะเลเปลี่ยนแปลงไปด้วย
“ไม่จริง”


ถนอม
ถนอม

พล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ อดีตเจ้ากรมอุทกศาสตร์ ยืนยันด้วยเสียงหนักแน่น ก่อนอธิบายว่า การแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชานั้น เขตแดนทางบกกับเขตแดนทางทะเล เรามีลักษณะพิเศษคือ ข้อตกลงทางบกฉบับหนึ่งและมีข้อตกลงทางทะเลอีกฉบับหนึ่ง ดังนั้นไม่ว่าเขตแดนทางบกจะถูกปรับปรุงก็ไม่เกี่ยวข้องกับเขตแดนทางทะเล

พลาง อธิบายเรื่องเขตแดนทางทะเลของไทยว่า ตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา เขตแดนทางทะเลถือหลักสองประการคือ หนึ่งทฤษฎีเปิด หรือกฎเสรีภาพทางทะเล ผู้คิดเป็นนักกฎหมายสหรัฐฯเนื้อหาบอกว่า ทะเลน่าจะเป็นสมบัติร่วมของมนุษยชาติ แม้จะมีคนเห็นด้วย แต่ประเทศที่เป็นเกาะอย่างอังกฤษเดือดร้อน เพราะเห็นว่าตัวเองมีความปลอดภัยต่ำ จึงให้นักกฎหมายของตนเขียนทฤษฎีทะเลปิดขึ้นใหม่ เนื้อหาบอกว่า รัฐควรสามารถที่จะเป็นเจ้าของสิทธิทะเลในส่วนที่ตัวเองดูแล จึงเกิดเป็น 2 ทฤษฎีที่ใช้กันอยู่

แล้วเกิดประเพณีมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ว่า รัฐชายฝั่งมีสิทธิประกาศเขตทางทะเลของตนเองไป 3 ไมล์ทะเล นอกเหนือไปจากนั้นเป็นทะเลหลวง คือพื้นที่ที่ใช้ร่วมกันของเรือแพต่างๆ

การ ใช้ทะเลสมัยก่อน ใช้เพื่อการสงคราม เรื่องสินค้า การประมงบ้างก็ยังเล็กน้อย หลักการนี้ใช้มาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คือปี ค.ศ.1958 เกิดสหประชาชาติแล้ว จึงได้เกิดการประชุม สหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเลขึ้น ที่กรุงเจนีวา



การ ประชุมครั้งนี้ ไทยได้รับเกียรติสูงมาก เพราะกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ผู้แทนของไทย ได้รับเชิญให้เป็นประธานในที่ประชุม “ตอนนั้นเราโดดเด่นในวงการระหว่างประเทศมาก ด้วยบุคลิก นิสัย ความสามารถ และชั้นเชิงนักการทูต เป็นที่ยอมรับทั้งรัสเซียและสหรัฐฯ สองประเทศนี้ก็ไม่มีใครคัดค้าน”

การประชุมคราวนั้นนานถึง 8 เดือน

หลัง การประชุมได้อนุสัญญากฎหมายทะเลระหว่างประเทศ 4 ฉบับ คือ 1.อนุสัญญาว่าด้วยทะเล อาณาเขต และเขตต่อเนื่อง 2.อนุสัญญาว่าด้วยทะเลหลวง 3.อนุสัญญาว่าด้วยการประมง และการอนุรักษ์สิ่งที่มีชีวิตในทะเลหลวง และ 4.อนุสัญญาว่าด้วย ไหล่ทวีป

อนุสัญญาฉบับที่ 4 นี้เอง ที่ทำให้รัฐมีสิทธิ์ประกาศเส้นเขตไหล่ทวีปออกไปในทะเล เพราะว่ามีนิยามว่าไหล่ทวีปคือ ผิวดินและใต้ผิวดินที่ประชิดชายฝั่งและยื่นออกไปในท้องทะเลถึงน้ำลึก 200 เมตร หรือลึกกว่านั้นก็ได้ ถ้ายังแสวงประโยชน์ได้

อ่าวไทยเราลึกที่ สุดบริเวณจังหวัดสงขลาประมาณ 82 เมตรเท่านั้นเอง อ่าวไทยทั้งอ่าวจึงเป็นไหล่ทวีปตามกฎบัตร ในเมื่อรัฐชายฝั่งรอบอ่าวไทยมีทั้งมาเลเซีย ไทย กัมพูชา และเวียดนาม ต้องดูในบทบัญญัติข้อที่ 6 ของอนุสัญญาไหล่ทวีป



ที่ บัญญัติว่า “กรณีรัฐประชิดกัน การประกาศเส้นไหล่ทวีป จะต้องประกาศโดยความตกลงระหว่างกัน อันนี้แหละ ไม่มีใครสนใจ ต่างฝ่ายต่างอยากจะได้มาก ต่างคนต่างประกาศกัน ทำให้ไม่สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ”

กรณีไทยกับกัมพูชาก็ตกอยู่ในเงื่อนไขนี้ เพราะต่างฝ่ายต่างประกาศว่าเป็นพื้นที่ของตน แล้วทางแก้ไขจะทำได้อย่างไร

“ภาย หลังปี 1916 ได้มีการประชุมเรื่องกฎหมายทางทะเลอีกรอบหนึ่งประชุมกันยาว จนที่สุดได้อนุสัญญากฎหมายทะเลปี 1982 บทบัญญัติสองฉบับนี้ใช้ควบกันได้กรณีที่มันขัดกัน แม้ในกฎหมายปี ค.ศ.1958 ไม่มีบอกว่าถ้าไม่ลงรอยกันจะทำอย่างไร แต่ในปี 1982 บอกเลยว่า กรณีที่คุณไม่สามารถตกลงกันได้ ให้ไปใช้ภาค 15 เรื่อง การตกลงกรณีพิพาท ซึ่งบัญญัติว่า หนึ่ง-ต้องเจรจากัน สอง-ใช้คนกลาง สาม-ใช้อนุญาโตตุลาการ สี่-ใช้ศาลโลก และห้า-ใช้กฎหมายทะเล”

เขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “ขณะที่สยามทำความตกลงกับฝรั่งเศส ในเรื่องเส้นเขตแดนบนบก ในปี ค.ศ.1904 ถึง 1907 ในทะเลยังไม่มีกฎหมาย เพราะฉะนั้นเส้นเขตแดนบนบกไม่มีอะไรมาเกี่ยวข้องกับเขตแดนทางทะเล ดังนั้น ไม่ว่าวันนี้ พรุ่งนี้ จะเสียปราสาทพระวิหารให้กัมพูชาไป มันก็ไม่มีอะไรมาเกี่ยวข้องกับพื้นที่ทางทะเล”

เพราะว่า “เส้นเขตแดนทางบก เกิดขึ้นโดยสนธิสัญญาไทยฝรั่งเศส ปี ค.ศ.1904 ถึง 1907 เพราะฉะนั้น เส้นเขตแดนทางทะเลเกิดขึ้นโดยสิทธิการประกาศตามสนธิสัญญาเจนีวาปี 1958 มันตำราคนละเล่ม การที่คนพยายามจะพูดว่า เขมรเอาปราสาทพระวิหารไปแล้ว มันจะเอาพื้นที่ในทะเล มันมาเอาได้อย่างไร มันคนละเรื่อง”

เรื่อง พื้นที่ทางทะเล “เขาบอกให้ประกาศโดยความตกลงร่วมกัน แต่ไทยก็ประกาศ กัมพูชาก็ประกาศ ทำให้เกิดพื้นที่เหลื่อมทับกันอยู่ จริงๆมันคือพื้นที่พิพาท เราไม่สามารถตกลงกันได้ เราก็ต้องดำเนินการไปตามภาค 15 ที่กล่าวมา และตอนนี้ เรากำลังอยู่ในขั้นตอนเจรจา”

ถ้าเจรจาไม่ได้ “ก็เข้าอนุญาโตตุลาการไหม หรือจะขึ้นศาลโลกไหม หรือเข้าศาลกฎหมายทะเล อันนี้เลือกได้”



เรื่อง เส้นเขตแดน “ที่เราบอกว่า เส้นเขตแดนของเราร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ของกัมพูชาใช้ไม่ได้ อันนี้เป็นความเชื่อของคนที่ไม่มีความรู้เรื่องการลากเส้น ไม่รู้ว่าการลากเส้นเขาลากอย่างไร จริงๆมันต้องศึกษามาแต่ละจุด ดังนั้น ความเชื่อที่ว่านี้ ไม่จริง เป็นความเชื่อที่เข้าใจผิด แม้จะเป็นความเชื่อของผู้หลักผู้ใหญ่ นักกฎหมายอะไรก็ตาม เพราะนักกฎหมายเหล่านั้น เขาไม่มีความรู้ในเรื่องเทคนิค เขาไม่ได้มานั่งลากเส้น เขาลากไม่เป็น เขาเรียนกฎหมาย เรียนแต่ตัวหนังสือ แต่กฎหมายทางทะเลมีเรื่องภาคปฏิบัติ คือเส้นที่ปรากฏในแผนที่นั่นต่างหากที่จะเป็นตัวชี้”

ปัญหาพื้นที่ ทะเลไทยกับกัมพูชา “เราเริ่มเจรจากับกัมพูชาเมื่อปี พ.ศ.2538 ที่โรงแรมโอเรียนเต็ล หัวหน้าฝ่ายเราคือ คุณสุรินทร์ พิศ–สุวรรณ หัวหน้าฝ่ายกัมพูชามีสองคน เพราะตอนนั้น กัมพูชามีนายก– รัฐมนตรีสองคน มีคุณโพธิ์ สุทธิรักษ์ ของเจ้านโรดมรณฤทธิ์ และซก อาน เป็นของฮุน เซน”

การ เจรจาครั้งนั้น “เขาบอกเลยว่า เรื่องเขตแดนของเขาไม่ใช่เรื่องที่จะเจรจาได้ เพราะว่าจะขัดรัฐธรรมนูญเขา ผมก็คิดว่า เออ...แล้วจะมาทำไม แต่ภายหลังก็เข้าใจ คือในการเจรจาครั้งต่อๆมา กัมพูชายืนยันจะแสวงประโยชน์ร่วมกัน เหมือนไทยกับมาเลเซีย”

แนวคิดของ พล.ร.อ.ถนอม เจริญลาภ ชัดเจนแล้วว่า เส้นแบ่งเขตแดนทางบกกับทางทะเลแยกจากกัน

ส่วนผลประโยชน์ในอ่าวไทยนั้น ยังมีเงื่อนปมอีกไม่น้อย ที่รอการคลี่คลาย.

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง