บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การออกข่าวของผอ. UNESCO เป็นการวางแผนของฮุนเซ็นให้ UN เข้ามาหรือไม่ ??


โดย Annie Handicraft เมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2011 เวลา 15:19 น.
UNESCO ที่มีนางIrina Bokova เป็นผู้อำนวยการใหญ่ เตรียมส่งเจ้าหน้าที่มาดูพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารหลังเกิดการสู้รบ

The Director-General of UNESCO, Irina Bokova, today reiterated her call for calm and restraint around the Temple of Preah Vihear, inscribed on the World Heritage List in 2008. A border dispute between Cambodia and Thailand caused several deaths and damage to the site in recent days.
"I intend to send a mission to the area as soon as possible to assess the state of the temple" she said. “World Heritage sites are the heritage of all humanity and the international community has a special responsibility to safeguard them. This requires a collective effort that must be undertaken in a spirit of consultation and dialogue. Heritage should unite people and serve as an instrument of dialogue and mutual understanding and not of conflict.”

Mrs. Irina Bokova
The Director-General of UNESCO

ตอน ขึ้นมรดกโลกรัฐบาลไทยได้คัดค้านและเตือนว่าหากมีการขึ้นทะเบียนก็จะทำให้ ความขัดแย้งขยายวง และอาจนำไปสู่การสู้รบ แต่กรรมการมรดกโลกไม่รับฟังข้อทักท้วงของไทย และยังเห็นว่าการขึ้นทะเบียนไม่เกี่ยวกับเรื่องเขตแดน

การ ขึ้นทะเบียนเริ่มตั้งแต่วันที่ 7 กค.2551 ตลอดช่วงที่ผ่านมาเกิดการเผชิญหน้าตลอด เพราะกัมพูชาต้องการเอาพื่นที่บางส่วนในพื้นที่ 4.6 ตร.กม. เข้าไปอยู่ในแผนบริหารจัดการ มรดกโลกไม่พยายามรับรู้ปัญหาที่เกิดขึ้น การออกข่าวอย่างที่ผู้อำนวยการ UNESCO นางIrina Bokova ให้สัมภาษณ์ทำให้ภาพลักษณ์ไทยเป็นคนเกเรในสายตาคนที่ไม่ได้ติดตามข่าวสาร เรื่องทั้งหมดที่เกิดขึ้นขณะนี้ก็เป็นการวางแผนของฮุนเซ็น เพื่อให้ยูเอ็นเข้ามา อ้างว่าถูกกระทำแต่กลับระดมยิงปืนใหญ่ใส่ประชาชนในพื้นที่ชายแดน

"มรดก โลกเป็นมรดกของมนุษยชาติและประชาคมโลกต้องมีความรับผิดชอบเป็นพิเศษเพื่อปก ปักรักษามรดกโลกเหล่านี้ ที่ต้องการความร่วมมือร่วมกันด้วยการปรึกษาหารือกันพูดคุยเพื่อรักษามรดก เหล่านี้ไว้ มรดกโลกควรเป็นเรื่องของความร่วมมือที่ประชาชนมารวมกันเป็นช่องทางในการ เจรจาพูดคุยเพื่อความเข้าใจที่ดีต่อกันไม่ใช่เป็นเรื่องของความขัดแย้ง" เป็น ส่วนหนึ่งของความเห็นของนาง Irinaฟังดูดีมาก แต่การที่กัมพูชาเดินหน้าเอาพื้นที่ของไทยเข้าไปรวมในแผนบริหารจัดการของ กัมพูชาที่จะเข้าสู่การพิจารณาของกรรมการมรดกโลกกลางปีนี้  เป็นเรื่องของอธิปไตยและบุรณภาพแห่งดินแดน กลับไม่มีการพูดถึง

สะท้อน บอกอย่างดีถึงความร่วมมือที่ชาติมหาอำนาจนำโดยฝรั่งเศส ใช้เครื่องมือผ่านUNESCO เพื่อสนับสนุนกัมพูชา เหมือนอย่างที่ครั้งหนึ่งชาติมหาอำนาจในศาลโลก เอาปราสาทพระวิหารที่อยู่ใต้สันปันน้ำที่เป็นแนวเขตแดนตามอนุสัญญาฝรั่งเศส ปีคศ. 1904 ไปมอบให้กัมพูชา

ภาพ เหตุการณ์เมื่อเดือน กรกฎาคม 2010 อ.เทพมนตรี ลิมปพยอมและคณะ ยื่นหนังสือประท้วงยูเนสโกที่ประเทศฝรั่งเศส เจ้าหน้าที่ออกมารับหนังสือและจะส่งให้ผู้อำนวยการใหญ่ที่บราซิลทันที และได้ได้ส่งไปทางอีเมล์อีกทางหนึ่งด้วย

ขอบคุณภาพจาก อ.เทพมนตรี ลิมปพยอม
Thepmontri Limpaphayom กระทรวงวัฒนธรรมกัมพูชา สำนักฝรั่งเศสปลายบูรพาทิศและคณะกรรมการมรดกโลกกัมพูชาภายใต้การบริหาร จัดการของยูเนสโกฝรั่งเศส (สำนักงานใหญ่) จัดพิมพ์แผนที่ปราสาทพระวิหารที่กรุงปารีส เมื่อ ค.ศ.๒๐๐๗ ใช้มาตราส่วน ๑:๒๐๐,๐๐๐ รุกล้ำดินแดนของไทย

ขอบคุณภาพจาก
อ.เทพมนตรี ลิมปพยอม

กต. ร่อนหนังสือแจง กัมพูชา ปัด ละเมิดน่านฟ้า-โจมตีเขมร

กต. ร่อนหนังสือแจง กัมพูชา ปัด ละเมิดน่านฟ้า-โจมตีเขมร มั่นใจ เปลี่ยนรัฐบาล ไม่กระทบการสู้คดี "เขาพระวิหาร" ในศาลโลก ฮุนเซนปฏิเสธข่าวข้อเสนอบริหารร่วม


หนังสือพิมพ์พนมเปญโพสต์รายงานเมื่อวันจันทร์ (6 มิ.ย.) ว่า ฝ่ายไทยจะไม่ดำเนินการตามคำสั่งของศาลระหว่างประเทศ (ไอเจซี) โดยอ้างการรายงานของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ที่อ้างคำพูดของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ว่าฝ่ายไทยจะยอมรับการตัดสินของศาลไอเจซี ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ แต่ไอซีเจ "ไม่มีอำนาจ" สั่งการให้ฝ่ายไทยถอนทหารออกจากบริเวณชายแดนตามที่กัมพูชาร้องขอ
 ขณะเดียวกันหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ก็รายงานด้วยว่า นายปณิธาน วัฒนายากร โฆษกรัฐบาล ให้ความเห็นสนับสนุน รมว.กลาโหม โดยกล่าวว่า "ไอซีเจ ไม่มีอำนาจในการบังคับให้ไทยถอนทหาร"
 พนมเปญโพสต์ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ความเห็นของ รมว.กลาโหมและโฆษกรัฐบาลไทยจะทำให้เกิดความวุ่นวายครั้งใหม่ในการแก้ปัญหา ชายแดนไทย-กัมพูชาที่ยืดเยื้อมานาน
 ทั้งสองประเทศได้ให้การต่อศาลไอซีเจ หลังจากที่กัมพูชาร้องขอให้ศาลโลกตีความคำสั่งศาลเมื่อปี 2505 ที่ระบุให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา ซึ่งกัมพูชาอ้างว่าคำสั่งศาลดังกล่าวหมายรวมถึงพื้นที่โดยรอบปราสาทด้วย
 ด้านนายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา กล่าวว่า ศาลไอซีเจจะใช้เวลาประมาณ 40-45 วัน ในการลุถึงคำตัดสิน
 ขณะที่นายอังเดรย์ พอสคาคูกิน หัวหน้าแผนกข้อมูลแห่งไอซีเจ กล่าวเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาว่า ไอซีเจไม่มีอำนาจในการบังคับใช้คำพิพากษา เพราะโดยทั่วไปแล้วคู่ความแต่ละประเทศจะเคารพต่อคำพิพากษาของศาล แต่หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาล คู่ความอีกฝ่ายก็สามารถยื่นเรื่องสู่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ เพื่อพิจารณาต่อไปได้
 ส่วนนายกอย เกือง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชายืนยันว่า กัมพูชาไม่หวั่นไหวต่อท่าทีของไทย และหากไทยไม่เคารพต่อคำพิพากษาของศาลโลกที่ระบุให้ไทยถอนทหารออกจากพื้นที่ ชายแดน ก็จะเป็นปัญหาของไทยกับไอซีเจเอง
ฮุนเซนปฏิเสธข่าวข้อเสนอบริหารร่วม
 เว็บไซต์ฟิฟทีนมูฟรายงานข่าวระบุว่า บายนทีวีและหนังสือพิมพ์เกาะสันติภาพของกัมพูชา เมื่อช่วงเย็น (6 มิถุนายน 2554) รายงานอ้างคำกล่าวของฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา พร้อมแนะให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีของไทยไปคิดแต่เรื่องการโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งเถิด อย่าได้พูดอะไรที่เกี่ยวข้องกับปัญหาพรมแดนอีก พร้อมกันนั้นได้ส่งสารยืนยันแจ้งมายังกรุงเทพฯ แจ้งชาวไทยและชาวกัมพูชาว่า กัมพูชาและไทยไม่มีพื้นที่ทับซ้อนทางบก ไม่มี ไม่ว่าเป็นพื้นที่ไหน มีพื้นที่ทับซ้อนเฉพาะในทะเล
 ส่วนกรณีที่ได้เสนอให้กัมพูชา-ไทย ทำธุรกิจร่วมกันในพื้นที่ขัดแย้ง 4.6 ตร.กม. พร้อมเงื่อนไข 3 ข้อนั้นสมเด็จฮุนเซน บอกว่าเรื่องพรมแดน 100 ปี ก็พูดกันไม่จบสิ้น ตอนนี้ข้อไหนก็กำหนดให้ได้ทำงานร่วมกันก่อน ไม่ได้ให้มาเจรจากัน

 "ไม่ได้หารือกับใครเลย อย่าว่าแต่หารือเลย พบก็ไม่ได้พบ เรื่องปัญหาเกี่ยวข้องไปถึงพื้นที่ทับซ้อนนั้น กัมพูชาไม่รู้ ไม่ได้ยิน ไม่ได้ฟังว่ามีพื้นที่ทับซ้อนทางบก แล้ว พล.อ.วิชิต ยาทิพย์ ไปเอามาจากไหน" สมเด็จฮุนเซนกล่าวและว่า นายกรัฐมนตรีของไทยควรทำงานให้ถี่ถ้วนกว่านี้ กล่าวคือ กรรมสิทธิ์ร่วมนั้นไม่มี ดินแดนเขมรต้องชัดว่าเป็นดินแดนเขมร ดินแทนไทยต้องชัดว่าเป็นดินแดนไทย กัมพูชาไม่สามารถถอนกองทัพออกจากดินแดนของตนได้
 นายกรัฐมนตรีกัมพูชากล่าวยืนยันในตอนท้ายว่า เรื่องกัมพูชา-ไทยอยู่ในคณะมนตรีความมั่นคงฯ แล้วอาเซียนควรดำเนินการต่อ ส่วนเรื่องที่ศาลกรุงเฮกก็ยืนยันไม่ถอน ไม่ว่ารัฐบาลไทยปัจจุบันหรือรัฐบาลไหน จนกว่าปัญหาจะยุติ พร้อมกันนี้ ฮุนเซนได้สั่งย้ำไปยังกองทัพแห่งชาติกัมพูชาว่าควรต้องเสริมขีดความสามารถใน การป้องกันตนเอง
บัวแก้วแจงกัมพุชาปัดละเมิดน่านฟ้า
นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า วันนี้ (6มิ.ย.) กระทรวงการต่างประเทศ จะมีหนังสือไปยังสถานเอกอัครราชทูตกัมพูชา ประจำประเทศไทย เพื่อปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา กรณีที่กัมพูชากล่าวหาว่า ฝ่ายไทยละเมิดน่านฟ้าและเตรียมที่จะโจมตีกัมพูชา

"จะได้ชี้แจงข้อ เท็จจริง และยืนยันแนวทางปฏิบัติทางทหารของไทย ที่ต้องรักษาระยะการบินใกล้เส้นแขตแดนอย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตาม ในระหว่างนี้การปฏิบัติการใด ๆ ในพื้นที่ชายแดน ต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น เพราะศาลโลกติดตามพัฒนาการในพื้นที่อย่างใกล้ชิดเช่นกัน" นายธานี กล่าว

มั่นใจเปลี่ยนรัฐบาลไม่กระทบสู้คดีศาลโลก
วันเดียวกัน นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ ในฐานะโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมด้วย นายอิทธิพร บุญประคอง อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ได้แถลงรายละเอียดเกี่ยวกับการสู้คดีในศาลโลก เรื่องการตีความคำพิพากษาเรื่องปราสาทพระวิหารปี 2505 ว่า การไปชี้แจงเมื่อวันที่ 30 - 31 พฤษภาคมที่ผ่านมา เป็นแค่ยกแรก คือ คัดค้านคำร้องขอมาตรการชั่วคราวของกัมพูชาที่ให้ไทยถอนทหารออกจากพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ระหว่างรอให้ศาลตีความเท่านั้น

ทั้งนี้ เมื่อศาลมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะเข้าสู่การพิจารณาเรื่องการตีความ ซึ่งไทยมั่นใจในข้อมูลที่ใช้สู้คดี

ส่วน ที่ว่า หากมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล จะกระทบต่อแนวทางการสู้คดีหรือไม่นั้น นายอิทธิพร ยืนยันว่า ไม่กระทบ เพราะทีมกฎหมายได้กำหนดแนวทางการสู้คดีเอาไว้ชัดเจนตั้งแต่แรก ทั้งเรื่องข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง

กระนั้น ก็ยอมรับว่า ในส่วนของท่าทีต่อคดี อาจเปลี่ยนแปลงได้ ตามนโยบายของรัฐบาล ที่จะเข้ามาบริหารประเทศ เช่นการเพิ่มหรือตัดบางประเด็น ที่รัฐบาลคิดว่า จะเป็นประโยชน์ต่อรูปคดี

“ฮุนเซน” โต้ข่าวเจรจาบริหาร 4.6 ตร.กม.ร่วมกัน กร้าวไม่ถอนทหาร

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา

“ฮุนเซน” ปฏิเสธข่าว ย้ำไม่เคยเจรจากับไทยเรื่องบริหารพื้นที่ 4.6 ตร.กม.ร่วมกัน ยืนยันไม่มีพื้นที่ทับซ้อน ประกาศกร้าวไม่ถอนทหารพ้นรอบปราสาท และไม่ถอนเรื่องจากศาลโลกไม่ว่ารัฐบาลไทยชุดไหน ไล่ “มาร์ค” ไปห่วงเรื่องหาเสียงเลือกตั้งอย่ามาพูดเรื่องพรมแดน กำชับทหารเขมรเสริมขีดความสามารถป้องกันตนเอง
      
       เว็บไซต์ฟิฟทีนมูฟ เผยแพร่รายงานข่าวระบุว่า บายนทีวีและหนังสือพิมพ์เกาะสันติภาพของกัมพูชา เมื่อช่วงเย็น (6 มิถุนายน 2554) รายงานอ้างคำกล่าวของฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา แนะให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไปคิดแต่เรื่องการโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งเถิด อย่าได้พูดอะไรที่เกี่ยวข้องกับปัญหาพรมแดนอีก พร้อมกันนั้นได้ส่งสารยืนยันแจ้งมายังกรุงเทพฯ แจ้งชาวไทยและชาวกัมพูชาว่า กัมพูชาและไทยไม่มีพื้นที่ทับซ้อนทางบก ไม่มี ไม่ว่าเป็นพื้นที่ไหน มีพื้นที่ทับซ้อนเฉพาะในทะเล โดยเป็นการกล่าวในระหว่างเป็นประธานในพิธีมอบประกาศนียบัตรแก่เจ้าหน้าที่ รัฐบาลระดับกลางและระดับสูงที่ผ่านการฝึกอบรมที่โรงเรียนการบริหาร เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา
      
       นอกจากนี้ ฮุนเซนยังได้กล่าวถึงกรณีที่มีรายงานเกี่ยวกับ พล.อ.วิชิต ยาทิพย์ โดยระบุว่า “ผมได้เห็นข่าวนี้ แต่ผมคิดว่าหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ลงรายงานข่าวที่ผิดพลาดไปมาก ดังนั้น ผมก็ไม่ได้ติดใจจะไปแก้ไขอะไร แต่ว่ามาถึงวันที่ 4 มิถุนายน มีการรายงานหัวข้อเดิมอีกจาก ASTV Manager Online ที่กล่าวว่า สมเด็จฯ ฮุนเซน พร้อมอ่อนท่าทีโดยเสนอให้กัมพูชา-ไทย ทำธุรกิจร่วมกันในพื้นที่ขัดแย้ง 4.6 ตร.กม. ในนั้นได้ยกข้อเสนอขึ้น 3 ข้อ คือ
      
       1. ให้ไทยและกัมพูชาถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ขัดแย้ง ไปประจำการในพื้นที่ปกติเดิม
      
       2. ให้ไทยและกัมพูชา ทำธุรกิจร่วมกันในพื้นที่ขัดแย้ง 4.6 ตร.กม.ของปราสาทพระวิหาร โดยนายกรัฐมนตรีฮุนเซนเห็นพ้องที่จะร่วมมือกับนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ถ้าหากเห็นชอบรับข้อเสนอนี้ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนของประเทศทั้งสองได้ไปมาหาสู่กันได้ด้วย
      
       3. ปัญหาหลักเขตควรปล่อยให้คณะกรรมการจัดทำหลักเขตเห็นพ้องกัน.. ต่อประเด็นที่สามนี้ เห็นว่าทั้งสองฝ่ายรับได้ ส่วนประเด็นที่ 1 และ 2 ก็เหมือนกัน ข้อที่ 3 พูดว่า สมเด็จฯ ฮุนเซน บอกว่าเรื่องพรมแดน 100 ปี ก็พูดกันไม่จบสิ้น ตอนนี้ข้อไหนก็กำหนดให้ได้ทำงานร่วมกันก่อน ไม่ได้ให้มาเจรจากัน
      
       โดยในเรื่องนี้ ฮุนเซนได้วิจารณ์ต่อว่า ตนไม่ได้หารือกับใครเลย อย่าว่าแต่หารือเลย พบก็ไม่ได้พบ เรื่องปัญหาเกี่ยวข้องไปถึงพื้นที่ทับซ้อนนั้น กัมพูชา​ไม่รู้ ไม่ได้ยิน ไม่ได้ฟังว่ามีพื้นที่ทับซ้อนทางบก แล้ว พล.อ.วิชิต ยาทิพย์ ไปเอามาจากไหน? นอกจากนี้ ฮุนเซนยังกล่าวอีกว่า นายกรัฐมนตรีไทยควรทำงานให้ถี่ถ้วนกว่านี้ กล่าวคือ กรรมสิทธิ์ร่วมนั้นไม่มี ดินแดนเขมรต้องชัดว่าเป็นดินแดนเขมร ดินแทนไทยต้องชัดว่าเป็นดินแดนไทย กัมพูชาไม่สามารถถอนกองทัพออกจากดินแดนของตนได้
      
       นายกรัฐมนตรีกัมพูชากล่าวยืนยันในตอนท้ายว่า เรื่องกัมพูชา-ไทยอยู่ในคณะมนตรีความมั่นคงฯ แล้วอาเซียนควรดำเนินการต่อ ส่วนเรื่องที่ศาลกรุงเฮกก็ยืนยันไม่ถอน ไม่ว่ารัฐบาลไทยปัจจุบันหรือรัฐบาลไหน จนกว่าปัญหาจะยุติ พร้อมกันนี้ ฮุนเซนได้สั่งย้ำไปยังกองทัพแห่งชาติกัมพูชาว่าควรต้องเสริมขีดความสามารถใน การป้องกันตนเอง

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง