วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
"ทูตวีระชัย"ทำเซอร์ไพส์กัมพูชาสู้คดีบนศาลโลก
ผู้แทนฝายไทย
รับคำพิพากษาพระวิหาร2505 ไม่ละเอียด
เรื่องใหญ่"มาตการชั่วคราว"คาดสั่งใน1-2เดือน
เผยเขมร,ไทยต่างตั้งผู้พิพากษาสมทบเป็นฝรั่งเศส
นายวีระชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก ประเทศเนเธอแลนด์ ในฐานะผู้แทนไทยชี้แจงศาลโลก กรณีกัมพูชายื่นร้องศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก ให้ตีความคำพิพากษากรณีปราสาทพระวิหาร เมื่อพ.ศ.2505 และขอให้มีคำสั่งมาตรการชั่วคราวบริเวณพื้นที่ปราสาทพระวิหาร
โดยเขาให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้ประเทศไทยได้เตรียมข้อมูลจะชี้แจงอธิบายต่อศาลโลก ต้องยอมรับอำนาจคดีเก่าที่กัมพูชาได้ยื่นต่อศาลโลกให้ตีความคำพิพากษา ซึ่งอยู่ในอำนาจคดีเดิม หากประเทศไทยไม่ไปชี้แจงข้อมูล ศาลโลกก็ จะตัดสินบนพื้นฐานข้อมูลของกัมพูชาไปได้ ส่วนแนวทางการต่อสู้คดีขอยังไม่เปิดเผย เนื่องจากฝ่ายตรงข้ามจะล่วงรู้ งปล่อยให้กัมพูชาทายไป เหมือนกับไทยประเมินท่าทีกัมพูชาเช่นกัน
นายวีระชัย กล่าวว่า กัมพูชาได้ยื่นเรื่องต่อศาลโลก โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การขอให้ตีความคำพิพากษาเพิ่มเติมกรณีปราสาทพระวิหาร เมื่อพ.ศ.2505 และขอให้มีมาตรการชั่วคราว ในส่วนตีความเพิ่มเติมคำพิพากษานั้น เป็นส่วนต่อเนื่องจากคดีเดิม
"คง พูดลำบากว่าใครจะแพ้หรือชนะ เพราะผลเมื่อปี 2505 ศาลไม่ได้เขียนละเอียด โดยประเด็นที่ต้องดู คือ ศาลสั่งให้เราถอนทหารออกจากปราสาท กว้างขวางขนาดไหน แต่ไทยได้ถอนทหารแล้ว และเชื่อว่าได้ดำเนินการถูกต้องแล้ว"
นายวีระชัย กล่าวอีกว่า ในองค์คณะผู้พิพากษาประจำที่ศาลโลกมี 15 คน ประธานเป็นชาวญี่ปุ่น และเป็นอดีตนักการทูต กัมพูชาและไทยตั้งผู้พิพากษาเฉพาะกิจเป็นคนฝรั่งเศสข้างละ 1 คน รวมเป็น 17 คน ซึ่งศาลโลกได้ นัดให้ประเทศไทยเข้าให้ข้อมูลทางวาจา ในวันที่ 30-31 พฤษภาคมที่จะถึง เป็นการพิจารณาออกมาตรการชั่วคราวเพียงอย่างเดียว โดยจะดูว่าสิทธิ์ของแต่ละฝ่ายเป็นอย่างไร มีความจำเป็นเร่งด่วนในการออกมาตรการชั่วคราวเร่งด่วนหรือไม่
ผู้ แทนฝ่ายไทยกล่าวด้วยว่า ขณะที่กัมพูชาต้องการให้เราถอนทหารออกไป โดยยึดแผนที่ฝรั่งเศส ส่วนประเทศไทยไม่ได้ยึดแผนที่นั้น และเราก็เห็นว่า ไทยไม่ได้ล้ำแต่อย่างใด เมื่อกัมพูชาขอให้ไทยถอนออก แต่ไทยถอนออกไม่ได้ เพราะไทยยังเห็นว่า ตรงนั้นเป็นแผ่นดินไทยอยู่ อย่างไรก็ตาม มาตรการชั่วคราวคาดว่าจะใช้เวลาพิจารณาไม่นาน เชื่อว่าน่าจะ 1-2 เดือน ส่วนการขอให้ศาลโลกตี ความคำพิพากษาเพิ่มเติมนั้น ตนเห็นว่าน่าจะมีขึ้นในเดือน ก.พ. 2555 ส่วนที่จะมีการเปลี่ยนตัวผู้พิพากษา 5 คน ก็ขึ้นอยู่กับการบริหารของศาล ถ้าไม่เร่งให้เร็วในปีนี้เลย ก็คงต้องรอหลังเดือน ก.พ. ส่วนการอุทธรณ์เมื่อตัดสินแล้วทำไม่ได้สำหรับศาลโลก ว่าอย่างไรก็อย่างนั้นเลย
"กลไก ทวิภาคีเพื่อแก้ไขข้อพิพาทไทยกับกัมพูชา และในกรอบของอาเซียนยังไม่ถึงทางตัน ส่วนกลไกทวิภาคีจากการตีความของศาลรัฐธรรมนูญ ก็ให้เดินต่อไป ส่วนทางอาเซียนก็ยังไม่ตัน เพียงแต่ว่าฝ่ายไทยตั้งเงื่อนไข แต่ฝ่ายกัมพูชารับไม่ได้ เรื่องการขอตีความในศาลโลกเป็นสิทธิของกัมพูชาในฐานะสมาชิกสหประชาชาติ มองว่าคงต้องเน้นสันติภาพเป็นหลัก ไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อ" นายวีระชัย กล่าวในที่สุด
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/policy/20110524/392246/ทูตวีระชัยเผยไทย,เขมรตั้งผู้พิพากษาศาลโลกสมทบคนฝรั่งเศส.html
นายวีระชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก ประเทศเนเธอแลนด์ ในฐานะผู้แทนไทยชี้แจงศาลโลก กรณีกัมพูชายื่นร้องศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก ให้ตีความคำพิพากษากรณีปราสาทพระวิหาร เมื่อพ.ศ.2505 และขอให้มีคำสั่งมาตรการชั่วคราวบริเวณพื้นที่ปราสาทพระวิหาร
โดยเขาให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้ประเทศไทยได้เตรียมข้อมูลจะชี้แจงอธิบายต่อศาลโลก ต้องยอมรับอำนาจคดีเก่าที่กัมพูชาได้ยื่นต่อศาลโลกให้ตีความคำพิพากษา ซึ่งอยู่ในอำนาจคดีเดิม หากประเทศไทยไม่ไปชี้แจงข้อมูล ศาลโลกก็ จะตัดสินบนพื้นฐานข้อมูลของกัมพูชาไปได้ ส่วนแนวทางการต่อสู้คดีขอยังไม่เปิดเผย เนื่องจากฝ่ายตรงข้ามจะล่วงรู้ งปล่อยให้กัมพูชาทายไป เหมือนกับไทยประเมินท่าทีกัมพูชาเช่นกัน
นายวีระชัย กล่าวว่า กัมพูชาได้ยื่นเรื่องต่อศาลโลก โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การขอให้ตีความคำพิพากษาเพิ่มเติมกรณีปราสาทพระวิหาร เมื่อพ.ศ.2505 และขอให้มีมาตรการชั่วคราว ในส่วนตีความเพิ่มเติมคำพิพากษานั้น เป็นส่วนต่อเนื่องจากคดีเดิม
"คง พูดลำบากว่าใครจะแพ้หรือชนะ เพราะผลเมื่อปี 2505 ศาลไม่ได้เขียนละเอียด โดยประเด็นที่ต้องดู คือ ศาลสั่งให้เราถอนทหารออกจากปราสาท กว้างขวางขนาดไหน แต่ไทยได้ถอนทหารแล้ว และเชื่อว่าได้ดำเนินการถูกต้องแล้ว"
นายวีระชัย กล่าวอีกว่า ในองค์คณะผู้พิพากษาประจำที่ศาลโลกมี 15 คน ประธานเป็นชาวญี่ปุ่น และเป็นอดีตนักการทูต กัมพูชาและไทยตั้งผู้พิพากษาเฉพาะกิจเป็นคนฝรั่งเศสข้างละ 1 คน รวมเป็น 17 คน ซึ่งศาลโลกได้ นัดให้ประเทศไทยเข้าให้ข้อมูลทางวาจา ในวันที่ 30-31 พฤษภาคมที่จะถึง เป็นการพิจารณาออกมาตรการชั่วคราวเพียงอย่างเดียว โดยจะดูว่าสิทธิ์ของแต่ละฝ่ายเป็นอย่างไร มีความจำเป็นเร่งด่วนในการออกมาตรการชั่วคราวเร่งด่วนหรือไม่
ผู้ แทนฝ่ายไทยกล่าวด้วยว่า ขณะที่กัมพูชาต้องการให้เราถอนทหารออกไป โดยยึดแผนที่ฝรั่งเศส ส่วนประเทศไทยไม่ได้ยึดแผนที่นั้น และเราก็เห็นว่า ไทยไม่ได้ล้ำแต่อย่างใด เมื่อกัมพูชาขอให้ไทยถอนออก แต่ไทยถอนออกไม่ได้ เพราะไทยยังเห็นว่า ตรงนั้นเป็นแผ่นดินไทยอยู่ อย่างไรก็ตาม มาตรการชั่วคราวคาดว่าจะใช้เวลาพิจารณาไม่นาน เชื่อว่าน่าจะ 1-2 เดือน ส่วนการขอให้ศาลโลกตี ความคำพิพากษาเพิ่มเติมนั้น ตนเห็นว่าน่าจะมีขึ้นในเดือน ก.พ. 2555 ส่วนที่จะมีการเปลี่ยนตัวผู้พิพากษา 5 คน ก็ขึ้นอยู่กับการบริหารของศาล ถ้าไม่เร่งให้เร็วในปีนี้เลย ก็คงต้องรอหลังเดือน ก.พ. ส่วนการอุทธรณ์เมื่อตัดสินแล้วทำไม่ได้สำหรับศาลโลก ว่าอย่างไรก็อย่างนั้นเลย
"กลไก ทวิภาคีเพื่อแก้ไขข้อพิพาทไทยกับกัมพูชา และในกรอบของอาเซียนยังไม่ถึงทางตัน ส่วนกลไกทวิภาคีจากการตีความของศาลรัฐธรรมนูญ ก็ให้เดินต่อไป ส่วนทางอาเซียนก็ยังไม่ตัน เพียงแต่ว่าฝ่ายไทยตั้งเงื่อนไข แต่ฝ่ายกัมพูชารับไม่ได้ เรื่องการขอตีความในศาลโลกเป็นสิทธิของกัมพูชาในฐานะสมาชิกสหประชาชาติ มองว่าคงต้องเน้นสันติภาพเป็นหลัก ไม่อยากให้เสียเลือดเนื้อ" นายวีระชัย กล่าวในที่สุด
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/policy/20110524/392246/ทูตวีระชัยเผยไทย,เขมรตั้งผู้พิพากษาศาลโลกสมทบคนฝรั่งเศส.html
อดีตตัวแทนยูเอ็นพล่อยไทยรุกราน-ฮวยเซงดราม่าเขมรได้รับความลำบาก
อดีตตัวแทนยูเอ็นพล่อยไทยรุกราน-ฮวยเซงดราม่าเขมรได้รับความลำบาก
ฟิฟทีนมูฟ — เบนนี วิดโยโน อดีตผู้แทนยูเอ็นประจำเขมร เข้าพบโปรโมตหนังสือกับนายกฯ เขมร ไม่วายปากพล่อยกล่าวหาไทยรุกรานดินแดนเขมรพร้อมเสนอจะช่วยเหลือ ระบุตนได้ศึกษาประวัติศาสตร์มาแล้ว ส่วนฮุน เซน ดราม่าระบุการรุกรานของไทยทำเขมรยากลำบาก ซ้ำมีวิกฤติเศรษฐกิจโลกนายเบนนี วิดโยโน ระหว่างเยี่ยมคารวะและมอบหนังสือเล่มใหม่ของตนให้กับนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔
ตามรายงานของหนังสือพิมพ์กัมพูชาใหม่และสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา (๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔) อ้างการเปิดเผยของนายเอียง โซะปลแลต1 ผู้ช่วยส่วนตัวของนายกรัฐมนตรี ฮุน เซน ที่ระบุว่า ระหว่างการเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ของนายเบนนี วิดโยโน (Benny Widyono) อดีตตัวแทนเลขาธิการสหประชาชาติประจำกัมพูชา ชาวอินโดนีเซีย ในช่วงเช้าวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ นายเบนนี่ได้กล่าวว่าประเทศไทยได้รุกรานต่อบูรณภาพดินแดนของกัมพูชา เนื่องจากตนได้ศึกษาประวัติศาสตร์พื้นที่ปราสาทพระวิหารอย่างชัดเจน
นายเอียงเปิดเผยว่า ในการเข้าเยี่ยมคารวะดังกล่าว นายเบนนี่ได้มอบหนังสือภาษาเขมรซึ่งนายเบนนีเป็นผู้เขียน เรื่อง “ระบำในเงามืด: สีหนุ เขมรแดง และสหประชาชาติในกัมพูชา” (Dancing in Shadows: Sihanouk, the Khmer Rouge and the United Nations in Cambodia) โดยนายเบนนีได้กล่าวกับฮุน เซน ว่า ตนได้แสวงหาความรู้และศึกษาประวัติของปราสาทพระวิหาร ซึ่งความจริงประเทศไทยได้ทำการรุกรานกัมพูชา นอกจากนี้นายเบนนี่ยังเสนอจะให้การช่วยเหลือเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำกรุง นิวยอร์ค เพื่อช่วยงานในเรื่องดังกล่าวนี้
นายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณที่ได้แสวงหาความรู้และจะช่วยเหลือกัมพูชาใน ปัญหาปราสาทพระวิหาร และได้แจ้งนายเบนนีอย่างละเอียดเกี่ยวกับการรุกรานของไทยบนแผ่นดินกัมพูชา รวมถึงมาตรการของกัมพูชาในการขัดขวางการรุกรานดังกล่าวของไทย นอกจากนี้ ฮุน เซน ได้เล่าถึงความยากลำบากของกัมพูชาที่เกิดจากการรุกรานของไทย พร้อมกับที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลก
นายเบนนี วิดโยโน เกิดในประเทศอินโดนีเซีย อดีตปฏิบัติภารกิจทูตองค์การสหประชาชาติ เคยประจำอยู่ที่กรุงเทพ ซานดิเอโก นิวยอร์ค และกัมพูชา รู้ทั้งภาษาไทยและภาษาเขมร ทำงานในหน่วยรักษาสันติภาพของ UNTAC ระหว่างปี ค.ศ.๑๙๙๓-๑๙๙๔ เป็นตัวแทนเลขาธิการยูเอ็นประจำกัมพูชาระหว่าง ค.ศ. ๑๙๙๔-๑๙๙๗ การเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีกัมพูชาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการโปรโม ตหนังสือเล่มล่าสุดของตน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)