บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

บทความ 20 หน้า แสดงจุดยืนรัฐบาลประชาธิปัตย์ เปรียบเทียบกับ จุดยืนของพันธมิตรฯ 20 ข้อ

“นายกฯ” เผยแพร่บทความ 20 หน้า แสดงจุดยืนรัฐบาลประชาธิปัตย์ เปรียบเทียบกับ จุดยืนของพันธมิตรฯ 20 ข้อ ยืนยันทำถูกต้องที่ยึดมั่นดำเนินการตามเอ็มโอยู 43


เมื่อเวลาประมาณ 05.00 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ใช้ช่องทางเฟซบุ๊ก Abhisit Vejjajiva เผยแพร่บทความ โดยมีการโพสต์ข้อความหัวข้อ “เปรียบเทียบจุดยืนกรณีเขตเเดนไทยกัมพูชา” มีความยาว 20 หน้า เปรียบเทียบจุดยืนกรณีเขตแดนไทย-กัมพูชา ระหว่างรัฐบาลประชาธิปัตย์ กับจุดยืนของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รายละเอียดติดตามได้ที่เฟซบุ๊ก Abhisit Vejjajiva

สรุปโดยย่อจุดยืนของรัฐบาลประชาธิปัตย์ 20 ข้อ ดังนี้

1.รัฐบาลใช้บันทึกความเข้าใจ ปี 43 เป็นกลไกในการเจรจา โดยแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน ระวางดงรัก ไม่ใช่ผลงานของคณะ กรรมการปักปัน ไม่เป็นไปตามสนธิสัญญาฯ ไม่มีน้ำหนักทางกฎหมาย และไม่สามารถนำไปถ่ายทอดลงในภูมิประเทศจริงได้


2.บันทึกความเข้าใจ ปี 43 กำหนดให้จัดทำภาพถ่ายทางอากาศ และสำรวจภูมิประเทศร่วมกัน เมื่อใช้เทคโนโลยีปัจจุบันแล้วจะพบว่า ภูมิประเทศจริงไม่ได้เป็นไปตามแผนที่ระวางดงรัก จะยืนยันว่าแผนที่ดังกล่าวนำมาใช้ไม่ได้


3.แนวสันปันน้ำมีคำจำกัดความทางวิชาการเป็นสากล มีกฎหมายระหว่างประเทศรับรอง มิใช่เป็นการสำรวจ และหาแนวสันปันน้ำใหม่


4.การมีบันทึกความเข้าใจ ปี 43 เพื่อป้องกันไม่ให้กัมพูชานำเรื่องการตีความคดีเขาพร
ะวิหารขึ้นศาลโลกได้อีก


5.รัฐบาลได้ทำหนังสือถึงกัมพูชา จะใช้แผนที่ 1 ต่อ 2 แสนอื่นๆ ที่ไม่ใช่ระวางดงรัก


6.หากไม่มีบันทึกความเข้าใจ ปี 43 ต่างฝ่ายต่างจะยึดถือเส้นเขตแดนธรรมชาติที่ตนเองเข้าใจ ก็จะเกิดความขัดแย้งนำไปสู่การสู้รบกัมพูชาได้ละเมิดบันทึกความเข้าใจ ปี 43 ข้อ 5 ไทยทำหนังสือประท้วงไปหลายครั้ง และกัมพูชายอมที่จะย้ายชุมชน และตลาดออก จากพื้นที่ดังกล่าว


7.บันทึกความเข้าใจ ปี 43 เป็นกลไกทวิภาคี ในการแก้ไขข้อพิพาทด้านเขตแดนอย่างสันติวิธี ไม่จำเป็นต้องพึ่งสหประชาชาติ หรือศาล โลกเข้ามาร่วมแก้ไขข้อพิพาท


8.ไทยไม่เคยสละหลักสันปันน้ำ และไม่ยอมรับแผนบริหารจัดการมรดกโลกของกัมพูชา ทำให้การประชุมมรดกโลกเลื่อนไปเป็นมิถุนายนปีหน้า


9.กัมพูชาไม่สามารถเสนอพื้นที่กันชนต่อมรดกโลก ต้องรอเจรจากับไทยตามบันทึกความเข้าใจ ปี 43


10.นายสุวิทย์ (คุณกิตติ) ไม่มีอำนาจลงนามประนีประนอม เนื่องจากไม่ได้เป็นกรรมการมรดกโลก แต่ลงนามเพื่อรับรองว่ามติการประชุมเป็นที่พึงพอใจของไทย และเอกสารที่กัมพูชามอบไว้ในการประชุมครั้งที่ 34 ยังมิใช่เอกสารอ้างอิงที่จะใช้ในการประชุมครั้งที่ 35 ในปีหน้า เพราะกัมพูชายังละเมิดบันทึกความเข้าใจ ปี 43 ต้องทำเอกสารใหม่ และไทยสงวนสิทธิ์ขอพิจารณาในรายละเอียด และเอกสารของกัมพูชาที่แนบท้ายแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน กัมพูชาทำมาแจกนอกรอบไม่ใช่เอกสารการประชุม ไทยไม่ยอมรับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก และได้ท้วงติงการที่ยูเนสโกให้เงินกัมพูชา 5 หมื่นเหรียญเพื่อซ่อมแซมตลาด และพื้นที่ดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการเจรจาตามบันทึกความเข้าใจ ปี 43 และไทยยืนยันจะคัดค้านการตั้งคณะกรรมการประสานงานนานาชาติเพื่ออนุรักษ์ ปราสาทพระวิหาร เพราะเข้าข่ายล่วงละเมิดอธิปไตยไทย


11.บันทึกความเข้าใจ ปี 43 เป็นตัวยืนยันว่ายังมีข้อพิพาทเขตแดนอยู่ ต้องตกลงกันให้เรียบร้อยก่อน


12.การยกเลิกบันทึกความเข้าใจ ปี 43 จะทำให้ต่างฝ่ายต่างยึดแนวทางที่ตัวเองเชื่อ จะนำไปสู่การเผชิญหน้ากัน


13.ผลการประชุมเจบีซีไม่มีผลเสีย เพราะบันทึกความเข้าใจ ปี 43 ยึดตามลักสันปันน้ำ แผนที่ 1 ต่อ 2 แสนของกัมพูชานำมาใช้ไม่ได้ ที่ไม่คัดค้านในที่ประชุมเพราะเป็นสิทธิของกัมพูชาจะเข้าใจตามที่ตัวเอง เชื่อ แต่ตามกรอบเจบีซีแผนที่ดังกล่าวใช้ไม่ได้ กระทรวงการต่างประเทศจะปรับท่าทีในการประชุมครั้งต่อไป และไทยจะไม่มีการถอนทหารออกจากพื้นที่ดังกล่าว


14.การตั้งกรรมาธิการศึกษาเรื่องเจบีซี ไม่ได้เป็นการถ่วงเวลา แต่ตั้งตามที่พันธมิตรฯ เสนอ


15.การแก้กฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 190 เป็นความผิดพลาดทางเทคนิค ไม่ได้เกี่ยวข้องกับรัฐบาล


16.การที่ 79 ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์เข้าชื่อเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความกรอบเจบีซี เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการอ้างอิงของรัฐสภา


17.รัฐบาลไม่มีแนวคิดที่จะเปิดให้นักท่องเที่ยวไทยเข้าไป เยี่ยมชม ปราสาทพระวิหาร กัมพูชาออกข่าวแต่เพียงฝ่ายเดียว ไทยไม่ถอนทหาร กัมพูชายอมถอนชุมชนและตลาด ต้องเจรจาตามกรอบบันทึกความเข้าใจ ปี 43 ต่อไป จึงยังไม่สามารถทำแผนบริหารจัดการมรดกโลกได้


18.การไม่ถอนตัวจากภาคีมรดกโลกทำให้ไทยมีช่องทางต่อสู้มาก ขึ้น คณะกรรมการมรดกโลกต้องฟังไทย และชะลอการพิจารณาแผนบริหารจัดการไปปีหน้า และไม่ได้ทำให้เวลาในการแก้ปัญหาเหลือน้อยลง เนื่องจากการประขุมคณะกรรมการมรดกโลกกำหนดไว้เดือนมิถุนายน 2554


19.หากเห็นว่าการเป็นภาคีมรดกโลกไม่เป็นประโยชน์อีกต่อไป เราก็ทิ้งหมากตัวนี้ได้ แต่จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อคณะกรรมการมรดกโลกไม่ฟังเราเท่านั้น และการถอนตัวในภายหลังก็ไม่ได้ส่งผลเสียหายใดๆ


20.รัฐบาลยืนยันว่าการทำให้มีสงครามหรือปะทะกันมิได้ช่วยแก้ปัญหา หลังจากยุติการปะทะกันก็ต้องหันเข้ามาเจรจากันอยู่ดี

ศาลโลกตีความใหม่ไทยไม่เสียเปรียบ

หลังจากที่กัมพูชายื่นคำร้องให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก ให้ตีความคำวินิจฉัยกรณีปราสาทพระวิหารในปี 1962 คงมีคำถามตามมาว่ากัมพูชาสามารถฟ้องเพื่อให้มีการตีความในศาลโลกได้หรือไม่
     
       เรื่องนี้ต้องพิจารณาจากคำพิพากษาเดิมประกอบกับคำร้องใหม่ของกัมพูชาว่า มีรายละเอียดอย่างไร และรัฐไทยควรดำเนินการอย่างไรเพื่อปกป้องสิทธิและอธิปไตยของชาติ
     
       ประเด็นข้อกฎหมายที่ต้องพิจารณา คือ กัมพูชาสามารถขอให้ศาลโลกขยายการตีความคำพิพากษาของศาลโลกตามธรรมนูญมาตรา 60 ได้หรือไม่ ซึ่งบางฝ่ายอาจมองว่าสิ่งที่กัมพูชาฟ้องนั้น เป็นการทำเกินอำนาจขอบเขตที่มาตรา 60 กำหนดไว้ และเสนอให้รัฐบาลไทยสู้ด้วยการตัดฟ้องอำนาจศาลโลกว่า ไม่มีอำนาจพิจารณาขยายตีความเกินขอบเขตคำพิพากษาศาลโลก
     
       แต่ถ้าพิจารณาจากคำฟ้องของกัมพูชากว่า 30 หน้าที่ยื่นต่อศาลโลกจะพบความจริงว่า มีมูลเหตุของการฟ้องที่จะให้ตีความคำพิพากษาได้ ซึ่งในคำฟ้องของกัมพูชาอ้างถึงเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคจากการเจรจาทวิภาคีที่ เกี่ยวข้องกับเอ็มโอยู 2543 โดยตรง ดังนี้
     
       กัมพูชาได้อ้างในคำฟ้องว่ารัฐบาลไทยไม่มีความจริงใจในการขับเคลื่อนกลไก ระดับทวิภาคี มีการเคลื่อนไหวการเมืองภายในประเทศทำให้การเจรจาเจบีซีไม่มีความคืบหน้า จนนำไปสู่ความขัดแย้ง โดยระบุในคำฟ้องมีสาระสำคัญ ดังนี้
     
       แม้ว่าจะมีการประชุมของเจบีซี ถึง 3 ครั้ง ในพฤศจิกายน ปี 2008 ซึ่งเป็นกระบวนการที่เริ่มต้นมาจาก mou แต่ก็ไม่มีความคืบหน้า เนื่องจากขาดแรงผลักดันทางการเมืองในส่วนของประเทศไทย หลักก็คือกระบวนการจัดทำหลักเขตแดนระหว่างสองประเทศ.....ถ้ากระบวนการนี้ ประสบความสำเร็จและสามารถจัดทำจนเสร็จสิ้น ตามที่กัมพูชาได้คาดหวัง ก็จะสามารถขจัดความขัดแย้งใดๆ ที่เกี่ยวกับการตีความในเรื่องของเขตแดนในพื้นที่ตั้งของปราสาทพระวิหาร
     
       ดังนั้น กัมพูชาจึงถือว่าองค์ประกอบในการยื่นตีความนั้นครบองค์ประกอบแล้ว เพราะครบเงื่อนไขทั้งสองอย่าง กล่าวคือ มีความจำเป็นต้องตีความหมายคำว่า พื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารหมายถึงตรงไหน และการตีความคำพิพากษาที่ต่างกันของทั้งสองประเทศได้นำไปสู่การสู้รบแล้ว และทั้งหมดที่ทำได้นั้นเพราะกระบวนการจัดทำหลักเขตแดน และ mou 43 ล้มเหลว
     
       จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่คำฟ้องของกัมพูชาลงวันที่ 20 เมษายน แต่กลับกล่าวถึงเหตุการณ์ปะทะที่เกิดขึ้นล่วงหน้าระหว่างวันที่ 22-26 เมษายน สะท้อนชัดเจนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นแผนที่กัมพูชากำหนดล่วงหน้าไว้แล้ว
     
       อาจมีข้อสงสัยว่าทำไมกัมพูชาจึงเพิ่งจะยื่นต่อศาลโลกหลังผ่านการตัดสินคดีไป นานถึง 49 ปี สาเหตุก็เป็นเพราะว่ากัมพูชาประสบปัญหาความขัดแย้งภายในกว่าจะสร้างชาติให้ เป็นหนึ่งเดียวได้เวลาก็ล่วงเลยไปหลายปี เมื่อความเป็นชาติของกัมพูชามีความเข้มแข็งขึ้นจึงเริ่มสนใจที่จะเข้ามาดูแล เขตแดนของตัวเองมากขึ้น ทำให้เกิดข้อพิพาทกับไทยตามแนวตะเข็บชายแดนหลายครั้ง จนนำไปสู่การทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันในการปักหลักเขตแดนให้มีความชัดเจนเพื่อ ยุติความขัดแย้งระหว่างสองประเทศอันเป็นที่มาของเอ็มโอยู 2543 ทำให้สองฝ่ายมีกลไกทวิภาคีในการเจรจาระหว่างกัน จนกัมพูชาไม่สามารถนำเรื่องขึ้นตีความต่อศาลโลกได้ เนื่องจากเงื่อนไขที่จะเป็นมูลเหตุของการตีความหมายคำพิพากษาตามมาตรา 60 นั้น มี 2 ประการ คือ
     
       1. ต้องมีความตั้งใจในการทำให้ความหมายของคำพิพากษานั้นๆชัดเจนขึ้น ไม่ใช่ต้องการให้ตอบคำถามที่ยังไม่ได้มีการตัดสิน และ 2. ต้องมีความขัดแย้งในเรื่องของการตีความหมายคำพิพากษาจนเป็นผลให้เกิดปัญหาใน การปฏิบัติ
     
       สิ่งที่ต้องพิจารณาต่อไปคือ เราจะไม่เดินเข้าสู่การต่อสู้ในศาลโลกได้หรือไม่ คำตอบคือไม่ว่าเราจะไปหรือไม่ไม่มีผลต่อการพิจารณาของศาล เพราะเป็นคดีเดิมที่ศาลโลกสามารถพิจารณาคดีได้แม้จะมีฝ่ายกัมพูชาเบิกความ ข้างเดียวก็ตาม ซึ่งเท่ากับจะทำให้ไทยเสียสิทธิในการต่อสู้
     
       เมื่อเป็นเช่นนี้ประเด็นที่ต้องวางแนวทางต่อ คือ จะสู้คดีอย่างไรไม่ให้แพ้คดีซ้ำรอยประวัติศาสตร์ปี 1962 ซึ่งเรื่องนี้จะต้องดูรายละเอียดจากคำพิพากษาของศาลโลกและการดำเนินการของ ทั้งฝ่ายไทยกับกัมพูชาหลังคำตัดสินเป็นตัวตั้งแล้วจะเห็นแง่มุมในการต่อกร กับเขมร
     
       ศาลโลกได้มีคำตัดสินเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 1962 ใน 3 ประเด็น คือ 1. ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา 2. ประเทศไทยมีพันธกรณีในการถอนทหาร หรือตำรวจ หรือยาม หรือผู้ดูแล ที่ประจำอยู่ที่ปราสาทพระวิหาร หรือบริเวณพื้นที่อันอยู่บนดินแดนของกัมพูชา และ 3. ประเทศไทยมีพันธกรณีที่ต้องคืนวัตถุใดๆ ที่ได้นำออกมาจากปราสาทหรือบริเวณพื้นที่ปราสาท
     
       จะเห็นได้ว่าหลังคำพิพากษาของศาลโลก ครม.ในขณะนั้นมีมติล้อมรั้วลวดหนามบริเวณรอบตัวปราสาทเพื่อเป็นแนวปฏิบัติ การให้ทหารไทยดำเนินการดูแลขอบเขตภายใต้อธิปไตยของไทย ซึ่งในประเด็นนี้นอกจากกัมพูชาจะไม่ได้โต้แย้งแล้ว กษัตริย์สีหนุของกัมพูชายังเดินทางไปในพื้นที่โดยไม่มีการคัดค้าน
     
       เท่ากับยอมรับว่าไทยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลกอย่างสมบูรณ์แล้ว ด้วยการถอนทหารและธงชาติไทยจากตัวปราสาท แต่ยังคงกำลังทหารรอบปราสาทพระวิหารซึ่งอยู่ภายใต้อธิปไตยของไทย ซึ่งในเรื่องนี้ประธานศาลโลกก็เคยกล่าวในงานสัมนาวิชาการครั้งหนึ่งเกี่ยว กับกรณีปราสาทพระวิหารไว้ว่า ไทยได้ดำเนินการทุกอย่างตามคำพิพากษาของศาลโลกแล้ว
     
       ดังนั้นในแง่ข้อเท็จจริงก็มีมุมที่เราสามารถโต้แย้งได้อย่างมีน้ำหนัก ประกอบกับคำฟ้องของกัมพูชามีความขัดแย้งในตัวเอง คือ มีการอ้างว่าเอ็มโอยู 2543 เกิดขึ้นเพื่อปักหลักเขตแดนตามคำพิพากษาของศาลโลก ซึ่งขัดกับข้อเท็จจริงเพราะศาลโลกมิได้ตัดสินในเรื่องเขตแดนและแผนที่ 1 ต่อ 200,000 ตามที่กัมพูชายื่นคำร้องเพิ่มเติมเข้าไปในปีเดียวกัน (1962) โดยศาลยกคำร้องไม่รับไว้พิจารณา
     
       เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เท่ากับว่าการที่กัมพูชายื่นคำร้องขอให้ตีความคำพิพากษา เดิมโดยอ้างเรื่องเขตแดนรอบปราสาทพระวิหารและแผนที่ 1 ต่อ 200,000 นั้น ถือเป็นคดีใหม่ ไม่ใช่คดีเดิมที่มีการตัดสินไปแล้ว ซึ่งไม่เข้าเงื่อนไขตามข้อ 1 ที่ระบุว่า ต้องมีความตั้งใจในการทำให้ความหมายของคำพิพากษานั้นๆ ชัดเจนขึ้น ไม่ใช่ต้องการให้ตอบคำถามที่ยังไม่ได้มีการตัดสิน
     
       จะเห็นชัดเจนว่าในทางเทคนิคของกฎหมายสิ่งนี้เป็นข้อต้อสู้สำคัญที่ไทยต้อง โต้แย้งเป็นอันดับแรกว่า กัมพูชาไม่มีสิทธิฟ้องตามมาตรา 60 เพราะไม่ใช่คดีเดิม หากจะฟ้องต้องฟ้องเป็นคดีใหม่ ซึ่งไทยก็มีสิทธิที่จะไม่เข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีของศาลโลกได้อย่างชอบ ธรรม เพราะเราไม่ได้เป็นประเทศภาคีสมาชิก
     
       แต่ถ้าศาลโลกยังรับคำร้องของกัมพูชาไว้พิจารณา ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนของการต่อสู้ในข้อเท็จจริงประกอบกับข้อกฎหมายระหว่าง ประเทศ ซึ่งในส่วนของข้อเท็จจริงได้กล่าวไปแล้วในข้างต้น โดยกระทรวงการต่างประเทศมีหลักฐานเป็นรูปถ่ายที่กษัตริย์สีหนุเดินทางไป ปราสาทพระวิหารในวันที่ไทยล้อมรั้วลวดหนามรอบตัวปราสาทด้วย

ทนายพันธมิตรฯ เตรียมฟ้องกองทัพไทย

ทนายพันธมิตรฯ เตรียมฟ้องกองทัพไทย ฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ตาม รธน.ปล่อยให้เขมรล่วงล้ำอธิปไตย เปิดฉากยิงถล่ม-บุกรุก 3 ปราสาท ฟันธงรัฐบาลตั้งทีมทนายฝรั่งเศสต่อสู้คดีในศาลโลกแพ้อย่างแน่นอน เพราะไร้จิตวิญญาณ และต้องเดินตามก้นเขมรจนเสียอธิปไตยในที่สุด
      

แฉนายกฯ หลอกชาวบ้านหยุดพูด 7 คนถูกจับในเขตไทย--ยันหลักฐาน “ศิริโชค”โกหกบ่อน้ำยูเอ็น

ชมคลิป ชาวสระแก้วจับโกหกรัฐ ยันบ่อน้ำ UN อยู่ในเขตไทย





                     
หลัง จาก นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคประชาธิปัตย์พร้อมคนไทยรวม 7 คนไทยถูกจับกุมที่บริเวณชายแดน ตำบลโนนหมากมุ่น อ.โนนสูง จ.สระแก้ว ตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา ฝ่ายรัฐบาลโดยเฉพาะกระทรวงการต่างประเทศ รวมทั้งคนใกล้ชิดนายกฯ พยายามพูดตอกย้ำตลอด ว่า ทั้ง 7 คนถูกจับในดินแดนกัมพูชา ล่าสุด นายศิริโชค โสภา ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ได้ตอบโต้ผ่านเฟซบุก ว่า บริเวณบ้านหนองจาน จุดที่คนไทยถูกจับนั้นอยู่ระหว่างปักปันเขตแดน ไม่ใช่บ้านหนองจานที่ UNHCR ขอให้พื้นที่จากไทยเพื่อเป็นศูนย์อพยพชาวกัมพูชาตามที่มีฝ่ายพันธมิตรฯ และกลุ่มคนไทยหัวใจรักชาติเข้าใจ
     
       อย่างไรก็ตาม ประชาชนในพื้นที่ คือ นายธิติพัทธ์ เสมาทอง นายก อบต.บ้านใหม่หนองไทร อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว และ นางสาวนีรนุช เกตุธาตุ ลูกสาว นายบุญจันทร์ เกตุธาตุ เจ้าของที่ดินที่ถูกเขมรยึดจนต้องอพยพไปอยู่ที่อื่น ได้ยืนยันผ่านรายการ “สภาท่าพระอาทิตย์สัญจร” ที่อาคารสาธารณะ อบต.บ้านใหม่หนองไทร เมื่อวันที่ 5 ม.ค.ที่ผ่านมา ว่า บริเวณที่คนไทยถูกจับอยู่บนที่นาของเขา และศูนย์อพยพกัมพูชาก็อยู่บนที่ดินของเขาอย่างแน่นอน
     
       ธิติพัทธ์ - ต่อตรงกับ อ.อรัญประเทศ ยังไม่มี อ.ตาพระยา เลย ที่เอกสารสิทธิที่ออกให้นี่
     
       นีรนุช - ที่ของพ่อค่ะ แกทำกินมาตั้งแต่แกเป็นหนุ่ม ดิฉันนีรนุช เป็นลูกสาวของลุงบุญจันทร์ เกตุธาตุ ตั้งแต่เขมรแตกก็อพยพไปอยู่วังน้ำเย็น ก็ไม่มีที่ทำกิน
     
       เติมศักดิ์ - ที่ดินอยู่ตรงบริเวณไหน
     
       นีรนุช - อยู่ตรงเขต ระหว่างกลาง 46-47
     
       เติมศักดิ์ - ช่วงระหว่าง 47-48 ใช่ไหมครับ
     
       ธิติพัทธ์ - ไม่ ช่วงระหว่างกลาง 46 ไปหา 47
     
       เติมศักดิ์ - ระหว่าง 46-47
     
       ธิติพัทธ์ - เพราะแนวเขตแดนติดกับนาพ่อตาผม อยู่ตะวันออก นาพ่อตา
     
       นีรนุช - ก็อยู่ตรงบ้านเขมร ตรงศูนย์เขมรเลย
     
       เติมศักดิ์ - อ๋อ ตรงนั้นเป็นศูนย์อพยพของเขมร
     
       นีรนุช - ค่ะ ตรงที่บ้านเขมร ตรงที่นายเขาไปถูกจับ
     
       เติมศักดิ์ - อ๋อ คือ บริเวณ ที่ ส.ส.พนิช ถูกจับกุม อยู่ตรงจุดนี้เหรอครับ
     
       นีรนุช - อยู่ที่ดินเขตของเราเลยค่ะ ลุงคนนี้ด้วยค่ะ ไม่ใช่เขตเขมรนะคะ เขตไทยที่ทำกินน่ะ
     
       เติมศักดิ์ - คือ ที่เราเห็นในภาพ ในคลิปวิดีโอ ที่มีป้ายภาษาเขมรอยู่ ตรงนั้น แล้วก็ที่ ส.ส.พนิช ถูกควบคุมตัว
     
       นีรนุช - ป้าเคยไปตอนที่จะออกหลังวัด แต่ออกไม่ได้
     
       ธิติพัทธ์ - ป้ายตรงนั้น คือ ที่ อ.วีระ ดูตามที่ผมดูคลิป ท่านเดินมาชนหลักเขตแล้วก็เดินลัดเข้าไปในศูนย์ ทางนั้นทางเข้าศูนย์ ศูนย์นั้นมันอยู่ในที่ดินเราล้านเปอร์เซ็นต์
     
       นีรนุช - ป้าดูทีวีอยู่ค่ะ เขาเดินอยู่ที่ของเรา
     
       ธิติพัทธ์ - ท่านไปดูป้ายสิ คือ ป้ายเข้าหมู่บ้านตรงนั้นหมู่บ้านของชมรมหนองจาน ที่กัมพูชา ที่มาปลูกบ้านอยู่ เพราะท่านเดินถนนลูกรังเข้าหมู่บ้านเลย ก็เหมือนที่ผมถูกจับ พอผมถูกจับก็พาเดินมาถนนตรงนั้น เขาก็เอารถมา ให้ขึ้นรถไป แล้วก็ขับเข้าไปในศูนย์หนองจาน เลาะๆ ไปที่หน้าโรงเรียน แล้วก็ไปอยู่ตรงสระใหญ่ สระใหญ่นั้นเป็นสระที่ยูเอ็นขุด แต่เป็นที่นาผมกับนาลุงท้าว นาพ่อตากับนาลุงท้าว ที่ปลายนาติดแนวเขตแดนพอดี ถ้ายิงภาพดาวเทียม GPS ยิงจาก 46 ไป 47 จะรู้ชัดเจนทันที มันมีหลักฐานอยู่ ไม่ใช่รัฐบาลบอกว่าจะไปปักปันหลักเขตแดน พูดอย่างนี้พูดผิดแล้วครับ หลักเขตมันมีอยู่
     
       เติมศักดิ์ - ตกลงพอจะยืนยันตรงนี้ว่า จุดที่ ส.ส.พนิช และคณะทั้ง 7 คน ถูกทางการกัมพูชาจับกุม อยู่บนที่ดิน ที่นาคนไทย
     
       ธิติพัทธ์ - ที่นาคนไทยหมดเลย เพราะนามันที่หลักเขตที่ 46, 47 ตะวันตกเฉียงใต้ มันจะเฉียงไป ไม่ใช่ตะวันตกตรงไปอย่างนี้ เขตแนวแดน มันจะเฉียงไปทางทิศใต้

     


มาร์คยกพระวิหารซักฟอกหมักปี51

                 

เปิดจม.เสนีย์ มติครม.2505 ชี้ชัด ปราสาทพระวิหารของ'เขมร' อยู่บนแผ่นดิน 'ไทย'



เปิดมติคณะรัฐมนตรีพ.ศ.2505 พร้อมจดหมายโต้ตอบ และการแสดงข้อคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายหลังศาลโลกตัดสิน ให้ 'ปราสาทเขาพระวิหาร' ตกเป็นของกัมพูชานัยยะชี้ชัด ไทยยอมรับคำตัดสิน แต่ยืนยันหนักแน่นตัวปราสาทอยู่ในดินแดนไทยมาแต่ดั้งเดิม   เช่นนั้น มติครม.

ทั้งหมด เป็นเอกสารทางราชการ จากสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ  'เขาพระวิหาร' รวมทั้งจดหมายของ ม.ร.ว.เสนีย์ปราโมช มีถึงจอมพลสฤษฎิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ยืนยันว่าคำพิพากษาของศาลโลก ผิดทั้งข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายและความเป็นธรรม

1.ลับที่สุด ด่วนที่สุด
ที่ ๕๔๙/๒๕๐๕

๒๑ มิถุนายน ๒๕๐๕

เรื่อง คำพิพากษาคดีเขาพระวิหาร
เรียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
อ้างถึง โทรเลขของกระทรวงการต่างประเทศ ที่ 39/2505 และโทรเลขของสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ที่ 40/2505


สิ่งที่ส่งมาด้วยสำเนารูปถ่ายบันทึกแสดงความเห็นในชั้นต้นของศาสตราจารย์อัง รีโรแลง ตามโทรเลขของกระทรวงฯ ที่อ้างถึงข้างต้น ขอให้สถานเอกอัครราชทูตฯส่งสำเนาคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดี เขาพระวิหารให้ทนายของเราทุกคนและให้รายงานความรู้สึกและความคิดเห็นของศาสตราจารย์อังรี โรแลงถ้าหากมีเกี่ยวกับคำพิพากษาฯ ให้กระทรวงฯ ทราบความแจ้งอยู่แล้ว นั้น

ขอเรียนว่า สำหรับเรื่องการส่งคำพิพากษาของศาลฯ ไปให้ทนายนั้นสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ดำเนินการแล้วโดยชั้นต้นได้ส่งคำพิพากษาไปให้ศาสตราจารย์โรแลง, เซอร์แฟรงค์ ซอสคิสและนายเจมส์ เนวิน ไฮด์ คนละ 1 เล่มเมื่อวันที่ 18 เดือนนี้ทั้งนี้เพราะคำพิพากษาที่ศาลฯ พิมพ์สำหรับใช้ชั้นแรกมีจำนวนจำกัดสถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รีบติดต่อกับสำนักจ่าศาลฯขอคำพิพากษาเพิ่มเติมเพิ่งได้วันนี้อีก 3 ชุด และจะได้รีบจัดการส่งให้นายเจ.จี. เลอเคนส์, นายเดวิด ดาวส์น และนายมาร์เซล สลูสนีโดยด่วนที่สุดในวันนี้

สำหรับเรื่องต่อมาคือเรื่องความรู้สึกและความคิดเห็นของศาสตราจารย์โรแลง เกี่ยวกับคำพิพากษาของศาลฯ นั้น ทันทีที่ได้รับโทรเลขกระทรวงฯข้าพเจ้าได้โทรศัพท์นัดหมายและได้เดินทางไปพบ ศาสตราจารย์โรแลง ณกรุงบรัสเซลส์ เมื่อวันที่ 20 เดือนนี้ศาสตราจารย์โรแลงได้ให้ความเห็นชั้นต้นโดยย่อดังปรากฏในสำเนาบันทึก ที่ได้แนบมาเพื่อกระทรวงฯ ได้โปรดทราบ ณ ที่นี้เรื่องนี้สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้รายงานให้กระทรวงฯ ทราบแล้วโดยทางโทรเลขที่อ้างถึงข้างต้นจึงขอเรียนมาเพื่อเป็นการยืนยันอีก ครั้งหนึ่ง
ข้าพเจ้าขอถือโอกาสนี้รายงานเพิ่มเติมด้วยว่าในระหว่างการสนทนาข้าพเจ้าได้ สอบถามความรู้สึกและความคิดเห็นของศาสตราจารย์โรแลงในเรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้ด้วย คือ

1.ความถูกต้องยุติธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ของศาลฯ
ข้าพเจ้าได้ถามความเห็นของศาสตราจารย์โรแลงว่าโดยที่ในปัจจุบันมีผู้พิพากษา ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศอย่างน้อย 2 คนที่เป็นคนสัญชาติของประเทศคอมมิวนิสต์โดยแท้จริง คือ นาย ปี.วินิอาสกี้(โปแลนด์) ซึ่งเป็นประธานของศาลฯ และนาย วี. เอม.คอเรทสกี้ (สหภาพโซเวียต)ฉะนั้นจะเป็นไปได้หรือไม่ที่บุคคลเหล่านี้จะเอนเอียงเข้าข้าง กัมพูชาทั้งนี้เพราะกัมพูชาอ้างว่าเป็นกลางแต่เป็นที่ทราบกันว่ามีความ ฝักใฝ่กับคอมมิวนิสต์มากส่วนประเทศไทยนั้นดำเนินนโยบายสนับสนุนประเทศฝ่ายตะวันตกอย่างชัดแจ้ง

ศาสตราจารย์โรแลงแจ้งว่าจากประสบการณ์ที่เคยว่าความในศาลยุติธรรมระหว่าง ประเทศมาช้านานมีความรู้สึกอยู่ประการหนึ่งว่าศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเป็น องค์กรระหว่างประเทศที่คอมมิวนิสต์แผ่อิทธิพลเข้าไปได้ยากแห่งหนึ่งเพราะ เหตุผลประการแรกคือ ผู้พิพากษาจากประเทศคอมมิวนิสต์มีจำนวนน้อยและประการต่อมา ลักษณะงานของศาลฯ หนักไปในทางวิชาการอยู่มาก

อย่างไรก็ดี ศาสตราจารย์โรแลงเห็นว่า สำหรับคดีเขาพระวิหารนี้ผู้พิพากษาบางคน เช่น นายบาเดวังห์ (สัญชาติฝรั่งเศส) และนายคอเรทสกี้(สหภาพโซเวียต) อาจมีความเอนเอียงเข้าข้างกัมพูชาก็เป็นได้แต่ส่วนนายวินิอาสกี้ (โปแลนด์) นั้น เท่าที่รู้จักกันมาศาสตราจารย์โรแลงเห็นว่า จะเป็นคอมมิวนิสต์ในนามมากกว่าเพราะมีท่าทีเป็นคนโปแลนด์สมัยก่อน คอมมิวนิสต์อยู่มากเป็นนักกฎหมายและอายุมากแล้วเข้าใจว่าจะไม่สนใจกับลัทธิ คอมมิวนิสต์ในการปฏิบัติหน้าที่มากนัก

ศาสตราจารย์โรแลงแจ้งต่อไปว่าคำพิพากษาคดีเขาพระวิหารได้เขียนขึ้นด้วยความระมัดระวังเป็น พิเศษอาจกล่าวได้ว่ามากกว่าคำพิพากษาคดีอื่นๆส่วนมากถ้อยคำที่เขียนไม่แสดง ให้เห็นร่องรอยของความลำเอียงหรือความไม่ยุติธรรมนอกจากนั้น ศาสตราจารย์โรแลงมีความเห็นว่าผู้พิพากษาบางคน อาทิ เช่นเซอร์เจอรัลล์ ฟิตสมอริซ (สัญชาติอังกฤษ) เป็นต้นมีท่าทีอยากจะช่วยประเทศไทยอยู่มาก แต่คงไม่อาจทำได้ดังจะเห็นได้จากความเห็นเอกเทศแนบท้ายคำพิพากษาในคดีนี้

2.การดำเนินการขั้นต่อไปในด้านคดีความ
ข้าพเจ้าได้สอบถามความเห็นของศาสตราจารย์โรแลงว่าประเทศไทยจะควรดำเนินใน อย่างใดต่อไปในด้านคดีความกล่าวคือจะสมควรฟ้องร้องขอให้ศาลฯ พิจารณาเกี่ยวกับแนวเขตในส่วนอื่นๆในบริเวณเทือกเขาดงรักซึ่งยังไม่ชัดแจ้งในขณะนี้หรือไม่?หรือจะควรดำเนินการอย่างอื่นใด?

ศาสตราจารย์โรแลงแจ้งว่า สำหรับเรื่องเขาพระวิหารนั้นเป็นอันหมดปัญหาเพราะ ศาลฯ ได้วินิจฉัยแล้วแต่ก็เป็นการดีอย่างหนึ่งที่ผู้พิพากษาหลายคนเห็นว่า เอกสารแนบท้ายหมายเลข1ของกัมพูชาไม่สมบูรณ์ในขณะที่ทำซึ่งนับว่าผู้พิพากษา เหล่านี้เชื่อหลักฐานและข้อพิสูจน์ของฝ่ายไทยนอกจากนั้นในคำพิพากษาของศาลฯ ศาลฯก็มิได้วินิจฉัยให้ประโยชน์แก่ฝ่ายกัมพูชาตามข้อเสนอสุดท้ายของฝ่ายนั้น ในข้อ1 และ 2 สำหรับปัญหาเรื่องการจะฟ้องร้องขอให้ศาลฯวินิจฉัยแนวเส้นเขตแดนโดยทั่วไป นั้นคิดว่าถ้ารอดูให้เรื่องคลี่คลายอีกสักเล็กน้อย จึงค่อยพิจารณาจะเหมาะสมกว่า

ศาสตราจารย์โรแลงได้แจ้งด้วยว่า ขณะนี้กำลังศึกษคำพิพากษาอย่างละเอียดและจะได้ทำบันทึกความเห็นเป็นลาย ลักษณ์อักษรส่งมายังข้าพเจ้าโดยด่วนต่อไป


จึงขอเรียนรายงานมาเพื่อกระทรวงฯ ได้โปรดทราบและพิจารณา
ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง
ลงพระนาม  วงษ์มหิป
(หม่อมเจ้าวงษ์มหิป ชยางกูร)




2.ด่วนมาก
ที่ สร. (๐๖๐๑) ๒๑๕๗๖/ ๒๕๐๕      กระทรวงการต่างประเทศ
๒๗ มิถุนายน  ๒๕๐๕

เรื่อง การปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลในคดีปราสาทพระวิหาร
กราบเรียน นายกรัฐมนตรี
อ้างถึง หนังสือกระทรวงการต่างประเทศที่ สร. (0601) 21136/2505 ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2505


อนุสนธิหนังสือกระทรวงการต่างประเทศที่อ้างถึงข้างต้นกราบเรียนเรื่องบันทึก ความเห็นของศาสตราจารย์ โรแลง พร้อมด้วยคำแปลภาษาไทยและสำเนาหนังสือรายงานของเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ความละเอียดแจ้งอยู่แล้วนั้น

บัดนี้กระทรวงการต่างประเทศขอประทานเสนอแนวทางเกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำ พิพากษาของศาลในคดีปราสาทพระวิหารเพื่อประกอบการพิจารณาของ ฯพณฯ ดังต่อไปนี้

1.ในคดีปราสาทพระวิหารกัมพูชาและประเทศไทยได้รับพันธะที่จะปฏิบัติตามคำ พิพากษาของศาลแต่กฎเกณฑ์เกี่ยวกับวีธีปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลนั้นกฎบัตร สหประชาชาติก็ดี ธรรมนูญศาลและข้อบังคับของศาลก็ดีมิได้วางหลักเกณฑ์ในเรื่องนี้ไว้ ดังนั้นการปฏิบัติจึงเป็นเรื่องของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย

ในคดีที่พิพาทเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารนี้ ศาลได้มีคำพิพากษาและชี้ขาดในส่วนที่จะต้องปฏิบัติไว้ว่าก.อำนาจอธิปไตย เหนือซากปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา

ข.ให้ประเทศไทยถอนกำลังทหาร ตำรวจ คนเฝ้าหรือยามรักษาการที่ได้ส่งไปประจำ ณ ปราสาทพระวิหาร ออกจากปราสาทพระวิหารซึ่งเป็นดินแดนของกัมพูชา

2.สำหรับ ข้อ ก. คำพิพากษามิได้กำหนดหน้าที่ให้ประเทศไทยต้องปฏิบัติแต่มีหน้าที่จะต้องงด เว้นการปฏิบัติ กล่าวคือไทยจะไม่รุกล้ำเข้าไปในบริเวณซากปราสาทพระวิหารซึ่งศาลได้พิพากษา ให้อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชาซึ่งถ้าหากมีการกระทำเช่นนั้นกัมพูชาก็ อาจจะอ้างได้ว่าเป็นละเมิดต่ออธิปไตยของกัมพูชาเหนือซากปราสาทพระวิหาร

3.สำหรับ ข้อ ข. ประเทศไทยมีพันธะจะต้องถอนกำลังทหาร ตำรวจคนเฝ้าหรือยามรักษาการ จากซากปราสาทพระวิหารซึ่งในคำพิพากษาของศาลก็มิได้มีการห้ามมิให้ประเทศไทย มีกำลังทหารหรือตำรวจ อยู่นอกบริเวณซากพระวิหารซึ่งเป็นอาณาเขตของไทยแต่เรื่องที่ยากแก่การ ปฏิบัติก็คือคำพิพากษามิได้ชี้ขาดอย่างชัดแจ้งว่าซากพระวิหารมีอาณาเขตกว้าง ขวางเพียงใด ดังนั้นอาจจะมีปัญหาเรื่องการปักหลักเขตแดนใหม่ซึ่งตามคำพิพากษาของศาลก็มิ ได้ถือตามแผนที่ภาคผนวก แต่อาจถือตามสันปันน้ำเว้นแต่บริเวณซากปราสาทเท่านั้น

4.สำหรับ ข้อ ค. ประเทศไทยมีพันธะจะต้องคืนวัตถุจำนวน 1 ชิ้นที่นักเรียนจากกรมศิลปากร ได้นำเอามาจากปราสาทพระวิหารวัตถุชิ้นนี้เป็นศิลามีคำจารึกที่อ่านไม่ออกแผ่นศิลาชิ้นนี้กัมพูชาอ้างว่าได้โยกย้ายมาจากปราสาทพระวิหารโดยอ้างหนังสือของกรมศิลปากรเป็นพยานหลักฐานในคดี

5.การปฏิบัติตาม ข้อ ข. นี้ ไทยอาจปฏิบัติได้เองในบางส่วนแต่การปักหลักเขตแดนเพื่อให้เป็นไปตามคำ พิพากษาเกี่ยวกับบริเวณพระวิหารนั้นน่าจะได้กระทำเมื่อกัมพูชาขอมา และด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย

เรื่องนี้ ปรากฏในบันทึกความเห็นของศาสตราจารย์ โรแลง ฉบับลงวันที่ 21มิถุนายน 2505 ซึ่งให้ความเห็นว่าถ้ารัฐบาลไทย เห็นชอบและเห็นเป็นโอกาสอันควรศาสตราจารย์ โรแลงก็จะรับเป็นผู้ไปทาบทามนาย ปินโต และนาย เรอแตร์ ทนายความของกัมพูชาอย่างไม่เป็นทางการให้

6.ส่วนการปฏิบัติตาม ข้อ ค. นั้นจะต้องคืนให้แก่ผู้มีอำนาจรับมอบแทนรัฐบาลกัมพูชาและควรจะรอไว้ให้ กัมพูชาขอมาเสียก่อนเพื่อจะได้ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้ที่มีอำนาจรับมอบ

ฉะนั้น จึงขอกราบเรียนมาเพื่อพิจารณา ณ ที่นี้
ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง

(นายถนัด คอมันตร์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ


กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย




3.ที่ กต. ๗๖๗๘/๒๕๐๕     สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

๒๘ มิถุนายน ๒๕๐๕
เรื่อง ความเห็นของทนายความฝ่ายไทยเกี่ยวกับคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีเขาพระวิหาร
เรียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
อ้างถึงหนังสือกระทรวงการต่างประเทศที่ สร. (0601) 30613/2505 ลงวันที่ 21มิถุนายน 2505 และที่ สร. (0601) 20687/2505 ลงวันที่ 22 มิถุนายน 2505

ตามที่ได้รายงานความเห็นของศาสตราจารย์อังรี โรแลง เซอร์ แฟรงก์ ซอสคิสและนาย เจ. จี. เลอเลนส์ทนายความฝ่ายไทยเกี่ยวกับคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศใน คดีเขาพระวิหารไปเพื่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีทราบ ความแจ้งอยู่แล้วนั้น
ได้นำเสนอ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีทราบแล้วด้วยความขอบคุณ
ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง

(นายมนูญ บริสุทธิ์)
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี


กองนิติธรรม


4.ด่วนมาก
ที่ สร. (๐๖๐๑) ๒๒๗๐๙๘/๒๕๐๕    กระทรวงการต่างประเทศ
๑๗ สิงหาคม ๒๕๐๕
เรื่อง นำส่งบันทึกข้อสังเกตเกี่ยวกับคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีปราสาทพระวิหาร
กราบเรียน นายกรัฐมนตรี
อ้างถึง

1. หนังสือกระทรวงการต่างประเทศที่ สร.(020***) 21771/2505 ลงวันที่ 29 มิถุนายน 2505 และ
2. หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่ กต.7964/2505 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2505
สิ่งที่ส่งมาด้วย บันทึกข้อสังเกตเกี่ยวกับคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) ลงวันที่ 12 สิงหาคม 2505 รวม 30 ชุด

อนุสนธิหนังสือกระทรวงการต่างประเทศที่อ้างถึงนำเสนอบันทึกข้อสังเกตเกี่ยว กับคำพิพากษาในคดีปราสาทพระวิหาร ลงวันที่ 27มิถุนายน 2505 ไปเพื่อ ฯพณฯ พิจารณาและหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่อ้างถึงแจ้งมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่3 กรกฎาคม 2505 อนุมัติให้พิมพ์บันทึกข้อสังเกตดังกล่าวแล้วได้ นั้น

ขอกราบเรียนว่า ก่อนที่จะเปิดเผยบันทึกฉบับนี้กระทรวงการต่างประเทศได้ให้นักกฎหมาย ของกระทรวงการต่างประเทศพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมบันทึกดังกล่าวแล้วอีกครั้ง หนึ่งดังบันทึกข้อสังเกตเกี่ยวกับคำพิพากษาในคดีปราสาทพระวิหาร ลงวันที่ 16สิงหาคม 2505 ที่ขอประทานเสนอมาพร้อมกับหนังสือนี้ รวม 30 ชุด

ขอแสดงความนับถือ

(นายถนัด คอมันตร์)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ


5.ส่วนตัว      สำนักงานทนายความ
เสนีย์ ปราโมช
๒๗ สิงหาคม ๒๕๐๕

เรียน ท่านนายกรัฐมนตรี ที่นับถือ


ตามที่รัฐบาลได้แต่งตั้งกรรมการขึ้นเพื่อตรวจพิจารณาและทำคำติชมคำพิพากษา ของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีเขาพระวิหารนั้น กรรมการได้ตรวจพิจารณาทำคำวิจารณ์เสร็จแล้วผมจึงได้ส่งวิจารณ์ไปยัง เลขาธิการคณะรัฐมนตรีตามทางการปัญหาที่กรรมการได้เสนอให้รัฐบาลพิจารณามีว่า ถ้ารัฐบาลเห็นชอบด้วยกับวิจารณ์คำพิพากษาของกรรมการแล้วจะเป็นการสมควรหือ ไม่ที่รัฐบาลจะเผยแพร่วิจารณ์ออกไปในเวลานี้กรรมการได้เสนอเหตุผลต่างๆ เกี่ยวกับข้อนี้มาในบันทึกประกอบวิจารณ์

ถ้ารัฐบาลเห็นว่า เป็นการสมควรที่จะเผยแพร่วิจารณ์พิพากษาในเวลานี้ผมมีความยินดีจะช่วยเผยแพร่ในทางแสดงปาฐกถาต่อนักศึกษาและผู้สนใจในเรื่องนี้ทั่วไปเพราะตั้งแต่ได้ข่าวว่าศาลตัดสินให้ไทยแพ้คดีนักศึกษามหาวิทยาลัยรวมทั้งประชาชนผู้สนใจได้มารบเร้าให้ผมไปชี้แจงแสดงความจริงในเรื่องนี้เสนอมา

เมื่อได้อ่านวิจารณ์คำพิพากษาแล้ว จะปรากฏในตอนท้าย ว่ามีหลักวิชาการแผนที่เกี่ยวข้องอยู่ด้วยเป็นส่วนสำคัญซึ่งกรรมการได้เรียน คำวิจารณ์ไปตามแนวความคิดเห็นของ พ.ท.พูนพล อาสนะจินดาผู้เชี่ยวชาญที่ท่านนายกฯ ได้กรุณาอนุมัติให้มาช่วยงานนี้แต่เท่าที่ได้พยายามเขียนออกมาเป็นคำพูดจะ ฟังได้สนิทเพียงไรยังเป็นปัญหาอยู่วิจารณ์ส่วนนี้จะเร้าใจได้ดีเมื่อมีผู้ เชี่ยวชาญนำแผนที่มาแสดงให้ดูเช่นที่กล่าวถึงการปูเส้นกระด้างเป็นเส้นเขต แดนซึ่งจะทำให้เขตแดนเคลื่อนที่จากความจริงปั่นป่วนกันไปขนาดนั้น เมื่อพ.ท.พูนพล อาสนะจินดา นำแผนที่มาแสดงให้ดู กรรมการจึงเห็นความจริง

******วิชาได้อย่างชัดแจ้ง กรรมการจึงได้ปรารภกันว่าถ้ารัฐบาลเห็นเป็นการสมควรที่จะให้มีการเผยแพร่ วิจารณ์คำพิพากษาแล้วหากจะอนุมัติให้มีการแสดงทางโทรทัศน์โดยให้ พ.ท.พูนพล อาสนะจินดานำแผนที่ไปแสดงให้เห็นเป็นจริงเป็นจังตามหลักวิชาการด้วย อาจได้ผลดีและเมื่อปรารภกันดังนี้แล้วกรรมการจึงได้มอบหมายให้ผมพิจารณาหา ทางเรียนมาให้ท่านนายกฯ ทราบ

ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าวิจารณ์คำพิพากษานี้จะเป็นเครื่องมือช่วยให้รัฐบาล แสดงความชอบธรรมของไทยและจะแสดงให้คนทั้งหลายได้ทราบว่าศาลยุติธรรมระหว่าง ประเทศตัดสินคดีนี้ผิดทั้งข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายตลอดจนความเป็นธรรม สมดังที่รัฐบาลได้วิจารณ์ไว้แต่เบื้องต้น

     ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง 
    
       (ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช)

6.ที่ ๑๗๖๓๔/๒๕๐๕    สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

๑๓ กันยายน ๒๕๐๕

เรื่อง บันทึกวิจารณ์คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในกรณีปราสาทเขาพระวิหาร
เรียน หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ประธานคณะกรรมการพิจารณาคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในกรณีเขาพระวิหาร
อ้างถึง หนังสือที่ 368/2505 ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2505 และหนังสือลงวันที่ 27 สิงหาคม 2505

ตามที่ได้ส่งบันทึกของคณะกรรมการฯเกี่ยวกับคำวิจารณ์คำพิพากษาศาลยุติธรรม ระหว่างประเทศในกรณีปราสาทเขาพระวิหารและขอเผยแพร่คำวิจารณ์ไปเพื่อพิจารณา นั้น
ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้พิจารณาแล้ว มีคำสั่งให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาด่วน
คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาเมื่อวันที่11 กันยายน 2505 ลงมติให้กระทรวงการต่างประเทศรับไว้ประกอบการพิจารณาเมื่อมีเรื่องที่จะต้อง ดำเนินการต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อทราบ

ขอแสดงความนับถืออย่างสูง

(นายมนูญ บริสุทธิ์)
เลขาธิการคณะรัฐมนตรี

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง