บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แรงงานเขมรก่อจลาจล! ในโรงงานเชือดไก่ที่ชลบุรี


  
       เมื่อเวลา 21.00 น.คืนที่ผ่านมา (10 ก.ค.) พ.ต.ท.สิทธิพงษ์ เชื้อสวัสดิ์ รอง สวป.สภ.หนองใหญ่ เผยว่าได้รับแจ้งว่าเกิดเหตุจลาจลที่บริษัท จีเอฟพีทีนิชิเร (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งอยู่ที่อำเภอหนองใหญ่ จังหวัดชลบุรี จึงได้เดินทางไปยังที่เกิดเหตุที่บริเวณอาคารที่พักพนักงานของบริษัท จีเอฟพีที นิชิเร (ประเทศไทย) จำกัด มีทั้งหมด 9 อาคาร โดยมีพนักงานทั้งชาวไทยและชาวกัมพูชาพักอยู่รวมกันกว่า 1,800 คน
     
       จากการสอบสวนเบื้องต้นทราบว่า เมื่อช่วงเย็นหลังจากคนงานชาวกัมพูชากับแรงงานไทย เลิกงานและกลับเข้าสู่อาคารที่พัก ได้เกิดทะเลาะวิวาท โดยชาวกัมพูชาถูกคนไทย 2 คนทำร้ายจนได้รับบาดเจ็บ ทำให้ชาวกัมพูชาไม่พอใจรวมตัวเป็นจำนวนมากเพื่อจะเอาเรื่องกับคนไทยทั้ง 2 คน ให้ได้ ซึ่งเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจไปถึงได้เข้าเจรจากับชาวตัวแทนชาวกัมพูชาเพื่อ ทราบรายละเอียดทั้งหมด และสามารถจับกุมคนไทยทั้งสองที่ก่อเหตุได้เพื่อควบคุมตัวไปดำเนินคดีที่ สถานีตำรวจ
     
       ในระหว่างจะนำตัวคนไทยทั้ง 2 ไปนั้น กลุ่มชาวกัมพูชาได้ตรงเข้ามาเพื่อจะรุมทำร้ายคนไทย แต่เจ้าหน้าที่กันไว้ และรีบนำตัวคนไทยทั้งสองออกสู่ภายนอกอาคารโดยด่วน เพราะกลุ่มชาวกัมพูชาเริ่มก่อความรุนแรงโดยเข้าทุบรถเจ้าหน้าที่ตำรวจ จึงได้กันคนงานไทยออกมา ทำให้ฝ่ายแรงงานกัมพูชากว่า 1,000 คนออกมารวมตัวกัน ขว้างปาก้อนหินเข้าใส่แรงงานไทย และเจ้าหน้าที่ตำรวจ พร้อมกับตรงเข้ายึดรถสายตรวจของเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวน 4 คัน และช่วยกันจับรถตำรวจหงายท้องทั้งหมด รวมทั้งขู่จะเผาโรงงาน และตึกนอนทั้ง 9 ตึก หากทางเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่นำคู่กรณีที่ก่อเหตุทะเลาะวิวาทมาให้ จนเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องหนีเอาตัวรอดมาตั้งหลักอยู่บริเวณหน้าโรงาน
     
       หลังจากนั้นสถานการณ์เริ่มจะรุนแรง เนื่องจากชาวกัมพูชาที่อาศัยอยู่บนตึกได้ลงมารวมตัวกันเพิ่มมากขึ้น และเริ่มจะจุดไฟเผารถตำรวจ โดยเจาะถังน้ำมันรถให้ไหลนองพื้น เจ้าหน้าที่ตำรวจหนองใหญ่จึงขอกำลังตำรวจในพื้นที่ใกล้เคียงและจากภาค 2 กว่า 400 นายให้มาช่วยกันระงับเหตุเพราะหวั่นจะเกิดเหตุรุนแรง
     
       ต่อมา พล.ต.ต.เธนตร์ พิณเมืองงาม ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี พร้อมด้วย พ.ต.อ.ธีรพล จินดาหลวง รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดชลบุรี ได้เดินทางไปยังที่เกิดเหตุ และได้เข้าเจรจากับแกนนำชาวกัมพูชา ซึ่งมีการเจรจากันหลายรอบ และใช้เวลาในการเจรจาหลายชั่วโมง จนกระทั่ง เวลา 02.30 น.ของวันนี้ (11 ก.ค.) เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ให้ชาวไทยและชาวกัมพูชาที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องออกมารวม ตัวกัน ที่หน้าบริษัท เพื่อคลี่คลายปัญหาให้จบโดยเร็ว
     
       หลังการเจรจากลุ่มแกนนำชาวกัมพูชาเริ่มมีท่าทางอ่อนลง และพร้อมที่จะหยุดสร้างปัญหาดังกล่าว ทำให้เหตุการณ์เริ่มคลี่คลายขึ้น และพร้อมให้เจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบบริเวณที่เกิดเหตุเพื่อเก็บข้อมูลหลัก ฐานต่างๆ และดำเนินคดีต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เนื่องจากมีทรัพย์สินของทางราชการเสียหายเป็นจำนวนมาก
     
       พล.ต.ต.เธนตร์กล่าวว่า ในเบื้องต้นจะต้องดำเนินการสอบสวนหาผู้กระทำผิดทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยจะต้องรวมรวมหลักฐานทั้งหมด เพื่อจับกุมผู้กระทำผิดดังกล่าว โดยเฉพาะชาวกัมพูชาที่ก่อเหตุสร้างความวุ่นวายในครั้งนี้ โดยทราบชื่อผู้กระทำผิดทั้งหมดแล้วประมาณ 5-6 คน อย่างไรก็ตาม จะต้องสืบหาผู้กระทำผิด ซึ่งอาจจะมีเพิ่มมากขึ้นกว่านี้ เพราะเพียง 5-6 คนไม่สามารถจะสร้างสถานการณ์ความรุนแรงได้ขนาดนี้
     
       นอกจากนั้น จะต้องเรียกเจ้าของบริษัทมาวางมาตรการป้องกันเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นอีก เพราะทราบว่ามีชาวกัมพูชามากกว่า 1,000 คน มาทำงานที่บริษัทดังกล่าว และอยู่รวมกัน โดยบริษัทได้สร้างอาคารที่พักให้อยู่ร่วมกัน ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก เพราะมีเป็น 1,000 คน และหากเกิดปัญหาขึ้นอีกอาจจะไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ แต่ในครั้งนี้ถือว่าโชคดีที่การเจรจาเป็นผลสำเร็จ
     
       อนึ่ง บริษัท จีเอฟพีที นิชิเร (ประเทศไทย) จํากัด เป็นผู้ผลิตไก่ครบวงจรรายใหญ่ ร่วมกับกลุ่มทุนญี่ปุ่น “นิชิเรฟู้ดส์ อิงค์” ทุ่มทุน 1,560 ล้านบาท ตั้งโรงงานแปรรูปเนื้อไก่และไก่ปรุงสุกที่จังหวัดชลบุรี กำลังผลิต 93,000 ตัน โดยก่อนหน้านี้เมื่อปลายปีที่แล้วได้เคยเกิดเหตุ แก๊สแอมโมเนียรั่วในส่วนห้องแช่แข็งของโรงงาน ทำให้มีคนงานล้มป่วยจำนวนมาก

นโยบาย ค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท เพื่อแรงงานไทยหรือแรงงานกัมพูชา??

เขมรนับหมื่นทะลักเข้าไทย
เขมรนับหมื่นทะลักเข้าไทย
ฝันหวานค่าแรงวันละ300บ.

แรง งานต่างด้าวแห่ทะลักเข้าไทย หวังเข้ามาขุดทองหลังมีรัฐบาลใหม่ชื่อพรรคเพื่อไทย ที่ประกาศนโยบายให้ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท เผยรัฐบาลเขมรอนุมัติแล้ว 8,000 แรงงานเขมรเข้ามาทำงานในไทย และจะมีตามมาอีกเป็นหมื่น รวมกับแรงงานจากพม่าอีกนับแสน ที่มีทั้งถูกกฎหมายและต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่ก่อปัญหาให้กับเจ้าของ ประเทศอย่างมาก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (9 ก.ค.) ขณะที่ ร.อ.ชาญ ว่องไวเมธี ผบ.ร้อย ทพ.1206 ฉก.กรม.ทพ.12 กกล.บูรพา ร่วมกับ พ.ต.ท.เบญจพล รอดสวาสดิ์ รอง ผกก.ตม.สระแก้ว, พ.ต.ท.ธัชชัย ทิพเนตร สว.ตร.ทท.สระแก้ว, พ.ต.อ.สุบิน บุญเล็ก ผกก.สภ.คลองลึก และ นายอวยชัย กุลทิพมนตรี นายด่านศุลกากรอรัญประเทศ ได้นำกำลังร่วมกันตั้งจุดตรวจค้นยาเสพติดและสิ่งผิดกฎหมายเข้าประเทศ บริเวณจุดตรวจร่วมทางเข้าตลาดโรงเกลือ หน้าด่านพรมแดนอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว ได้ตรวจพบชาวเขมรกลุ่มใหญ่กว่า 100 คน หอบหิ้วและแบกกระเป๋าเสื้อผ้าเดินข้ามด่านพรมแดนอรัญประเทศ จ.สระแก้ว จากฝั่งปอยเปต ประเทศกัมพูชา เข้ามาในฝั่งไทย

เมื่อถึงจุดตรวจร่วมฯ จนท.จึงตรวจสอบพบว่าเป็นแรงงานชาวเขมรจำนวน 113 คน เป็นชาย 59 คน หญิง 54 คน ที่ได้รับอนุญาตตามข้อตกลง MOU ระหว่างรัฐบาลไทยและกัมพูชา ให้เข้ามาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย เนื่องจากมีแรงงานเขมรจำนวนมาก จนท.เกรงว่าจะมีแรงงานต่างด้าวชาวเขมรที่ไม่มีเอกสารรับรองจากรัฐบาลกัมพูชา ปะปนเข้ามาด้วย จึงร่วมกันตรวจสอบเอกสารหลักฐานและตรวจค้นอย่างเข้มงวด เพื่อป้องกันและสกัดกั้นแรงงานเถื่อนและการซุกซ่อนสิ่งผิดกฎหมายเข้าประเทศ โดย จนท.ได้ตรวจสอบพาสปอร์ตทุกคนหากแรงงานเขมรคนไหนไม่มีพาสปอร์ตหรือเอกสารฯ จะไม่อนุญาตให้เข้าประเทศ หลังตรวจสอบและตรวจค้นแล้ว จนท.ได้ถ่ายภาพทำประวัติไว้ก่อนอนุญาตให้ตัวแทนโรงงานอุตสาหกรรมในไทยที่ส่ง เจ้าหน้าที่บริษัทฯ มารอรับแรงงานชาวเขมรเดินทางต่อไปได้
     
นาย สะเอือน ชอย อายุ 23 ปี 1 ในแรงงานเขมร เผยว่า ขณะนี้ในฝั่งกัมพูชามีชาวกัมพูชา หลายหมื่นคนเดินทางมาสมัครเข้ามาทำงานในไทย ซึ่งบริษัทฯ นายหน้าจัดหาแรงงานเขมรในพนมเปญ เมืองหลวงของกัมพูชา ต่างเปิดบริษัทฯ เพิ่มขึ้นมาหลายบริษัทฯ ซึ่งในเดือนกรกฎาคมนี้ รัฐบาลกัมพูชา ได้เซ็นอนุมัติให้แรงงานเขมรเข้ามาทำงานในประเทศไทยจำนวน 8,000 คนและคาดว่าจะมีเพิ่มอีกจำนวนมากนับหมื่นคน ทำให้ชาวเขมรแห่มาสมัครกันเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะหลังจากที่ประเทศไทยมีการเลือกตั้งและพรรคเพื่อไทยซึ่งรัฐบาล กัมพูชาโดยเฉพาะสมเด็จฮุนเซนมนตรีกัมพูชา ได้ออกทีวีและพูดว่ารัฐบาลพรรคเพื่อไทยเป็นเพื่อนรักกับประเทศกัมพูชา ประเทศกัมพูชาจะสนับสนุนรัฐบาลพรรคเพื่อไทย และไทย-เขมร จะเป็นมิตรที่ดีต่อกัน จากคำพูดของสมเด็จฮุน เซน ทำให้ชาวเขมรส่วนใหญ่ดีใจและเชื่อว่าไทย-เขมรจะไม่เกิดสงครามกันอีก แต่สิ่งที่เป็นความหวังของชาวกัมพูชาคือนโยบายของพรรคเพื่อไทยที่จะให้ค่า แรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท ทำให้ชาวเขมรแห่มาสมัครเพื่อเข้ามาทำงานในไทย เพื่อหวังจะได้ค่าแรงวันละ 300 บาท นายสะเอือน ชอย กล่าว

มีรายงานว่า นอกจากแรงงานเขมรจะทะลักหลั่งไหลเข้ามาหางานทำในประเทศไทยแล้ว ยังมีแรงงานจากพม่าอีกจำนวนมากที่พากันอพยพเข้ามาหางานทำในประเทศไทย ทั้งที่ถูกต้องตามกฎหมายและผิดกฎหมาย ซึ่งปัจจุบันนี้มีแรงงานพม่าอยู่ในประเทศไทยจำนวนนับแสนคนแล้ว และกำลังสร้างปัญหาให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมากโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการ รักษาพยาบาลและยารักษาโรคที่ต้องสูญเสียงบประมาณแต่ละปีจำนวนมหาศาลในการ รักษาคนพวกนี้
     
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงกลางดึกของคืนที่ผ่านมา ตำรวจทางหลวงประจวบฯ รับแจ้งมีอุบัติเหตุรถตู้เสียหลักตกข้างทาง ห่างสถานีตำรวจทางหลวง 200 เมตร บริเวณหลักกิโลเมตร 322-323 ต.เกาะหลัก อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ รุดไปตรวจสอบพบรถตู้ยี่ห้อโตโยต้าสีขาว หมายเลขทะเบียน ฮธ 4228 กรุงเทพ ตกลงไปอยู่คูข้างทางฝั่งขาลงภาคใต้ เจ้าหน้าที่มูลนิธิสว่างประจวบธรรมสถาน และตำรวจทางหลวงประจวบฯ และหน่วยกู้ชีพโรงพยาบาลประจวบฯ ต้องระดมเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือผู้โดยสารที่มากับรถตู้ออกมานำส่งโรงพยาบาล ประจวบคีรีขันธ์

ตำรวจทางหลวงประจวบฯ สอบสวนทราบว่าคนขับรถตู้คันดังกล่าวชื่อนายกรฤต เพชรมณี อายุ 37 ได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะและที่ขาให้การว่าได้รับว่าจ้างให้นำแรงงานพม่า จากมหาชัย จ.สมุทรสาคร ไปต่อพาสปอร์ตที่จังหวัดระนอง โดยขณะที่ขับมาถึงบริเวณดังกล่าวสังเกตเห็นเหมือนมีอะไรวิ่งตัดหน้าจึงหัก หลบตกลงไปในคูข้างทาง จนมีผู้บาดเจ็บรวม 13 คน ซึ่งเป็นชายหญิงแรงงานพม่าทั้งหมด เบื้องต้นยังไม่มีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ และตามร่างกาย ซึ่งทางแพทย์และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ ได้ให้การรักษาและทำแผลในเบื้องต้น ส่วนแรงงานพม่าบอกว่าช่วงเกิดอุบัติเหตุกำลังหลับอยู่

จับตาศาลโลก 18 กรกฎาคม: ความผิดพลาด เขตแดนไทย และ MOU ปี 2543


โดยวีรพัฒน์ ปริยวงศ์เมื่อ 10 กรกฎาคม 2011 เวลา 20:57 น.
จับตาศาลโลก 18 กรกฎาคม: ความผิดพลาด เขตแดนไทย และ MOU ปี 2543  

วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ 
อดีต นักกฎหมายในคดีศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ สำนักกฎหมาย Freshfields Bruckhaus Deringer (กรุงปารีส). นิติศาสตรมหาบัณฑิต (รางวัลทุนฟุลไบรท์และวิทยานิพนธ์เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด.

ที่มา http://www.facebook.com/verapat.pariyawong

Link ย่อ http://on.fb.me/pQbeyc

ภาพ คณะตัวแทนฝ่ายไทย จากซ้ายไปขวา ดร.วีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งราชอาณาจักรไทยประจำเนเธอร์แลนด์ ตัวแทน (agent) ฝ่ายไทย นายอิทธิพร บุญประคอง อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย รองตัวแทน (deputy agent) ฝ่ายไทย พร้อมนายกษิต ภิรมย์ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ภาพจากศาลโลก Courtesy of the ICJ.
___________________________________________________________________

หลาย คนคงทราบแล้วว่าในวันจันทร์ที่ 18 ก.ค. นี้ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (“ศาลโลก”) จะอ่านคำสั่งกรณีที่กัมพูชาขอให้ศาลระบุมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ศาลจะสั่งหรือไม่สั่งตามที่กัมพูชาขอหรือไม่อย่างไร ต้องรอลุ้นกัน

แต่ น้อยคนคงทราบว่าช่วงก่อนวันเลือกตั้งที่ผ่านพ้นมา  ศาลโลกได้ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการ (อย่างเงียบๆ) เพื่อปรับเปลี่ยนแก้ไขคำแปลคำพูดของฝ่ายไทย ซึ่งศาลเคยแปลผิดพลาดอย่างมีนัยสำคัญ ดังนี้

คำแปลฉบับเดิมที่ผิดพลาด

เมื่อ วันที่ 29 - 30 พ.ค. 2554 ฝ่ายไทยได้ชี้แจงด้วยวาจาต่อศาลโลกกรณีที่กัมพูชาขอให้ศาลมีคำสั่งระบุ มาตรการคุ้มครองชั่วคราว (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคดีที่กัมพูชาขอให้ศาลตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระ วิหาร พ.ศ. 2505) และศาลได้บันทึกคำชี้แจงของฝ่ายไทยส่วนหนึ่งเป็นเอกสาร CR 2011/14  เป็นฉบับ uncorrected (คือยังไม่ได้รับการตรวจสอบโดยคู่ความ)

ต่อ มาช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2554  เจ้าหน้าที่ศาลโลกได้แปลเอกสาร CR 2011/14  ดังกล่าว ซึ่งในคำแปลหน้าที่ 4 ได้แปลคำพูดย่อหน้าที่ 10 ของนายวีรชัย พลาศรัย (ตัวแทนฝ่ายไทยซึ่งชี้แจงต่อศาลเป็นภาษาฝรั่งเศส) มาเป็นภาษาอังกฤษดังนี้:

“On 19 July, work began to erect a barbed wire fence and a sign marking the boundary of the Temple area, according to the line which had been adopted by the Council of Ministers on 10 July for the purposes of implementing the 1962 Judgment...”

(เน้นคำโดยผู้เขียน, ทั้งนี้ “a sign marking the boundary of the Temple area” ถูกแปลจากคำภาษาฝรั่งเศสต้นฉบับของนายวีรชัยที่ว่า “…un panneau marquant la limite de la zone du temple…”, ดู http://bit.ly/n7fnFx และ http://bit.ly/qLpWUN)

คำ แปลข้างต้นปรากฏอยู่ในบริบทที่ว่า เมื่อเดือนมิถุนายน 2505 ศาลโลกได้พิพากษาว่าปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชาและไทยต้องถอนกำลังทหารออก จาก “บริเวณใกล้เคียงตัวปราสาท” (vicinity) แต่เมื่อคำพิพากษาไม่ได้ระบุขอบเขตของบริเวณดังกล่าวไว้  คณะรัฐมนตรีไทยจึงได้กำหนด “เส้นปฏิบัติการ” เมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2505 เพื่อให้ไทยสามารถปฏิบัติตามคำพิพากษา และจากนั้นเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2505 ไทยจึงเริ่มดำเนินการวางรั้วหลวดหนามรอบตัวปราสาทและตั้งป้ายเพื่อบ่งบอก “boundary”  [ซึ่งอาจแปลว่า “เขตแดน” หรือ “ขอบเขต”] ของบริเวณปราสาทพระวิหาร ตาม “เส้นปฏิบัติการ” เพื่อให้เกิดความชัดเจน

ต่อ มาคำแปลดังกล่าวได้ทำให้เกิดความสับสนเกี่ยวกับคำว่า “la limite” และ “boundary” ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้เขียนจำต้องให้ความเห็นทางกฎหมายในบทความเรื่อง “คำเตือนถึงอภิสิทธิ์: โปรดอย่าปล่อยให้ศาลโลกแปลคำผิด” (http://on.fb.me/mVaV6i) เพื่อเตือนรัฐบาลไทยว่าไม่ควรปล่อยให้ศาลใช้ถ้อยคำที่ไม่รัดกุมและอาจมีปัญหาอย่างมีนัยสำคัญ

กล่าว คือ การที่ศาลนำคำว่า “la limite” ที่นายวีรชัยใช้มาแปลเป็น “boundary” นั้นสามารถทำให้ผู้อ่าน (ซึ่งอาจรวมไปถึงผู้พิพากษาในคดี) เข้าใจไทยผิด เพราะคำฝรั่งเศส “la limite” ที่นายวีรชัยกล่าวไปนั้นหมายถึง “ขอบเขต” หรือ “the limit” ของบริเวณปราสาทพระวิหาร แต่คำอังกฤษ “boundary” ที่ศาลนำมาใช้แปล แม้ทางหนึ่งอาจแปลว่า “ขอบเขต” ได้ แต่ก็สุ่มเสี่ยงต่อการถูกเข้าใจผิดว่าหมายถึง “เขตแดน” (ระหว่างไทยและกัมพูชา) บริเวณปราสาทพระวิหาร ซึ่งกระทบต่อรูปคดีอย่างมากเพราะหากศาลนึกว่าไทยกำลังพูดถึง “เขตแดน” ก็เสมือนว่าไทยยอมรับว่าคำพิพากษา พ.ศ. 2505 ได้ตัดสินเรื่องเขตแดนระหว่างประเทศไปแล้ว (ซึ่งผู้เขียนย้ำว่าเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะคำพิพากษา พ.ศ. 2505 นั้นศาลเพียงตีความสนธิสัญญา และมิได้ลากเส้นเขตแดนแต่อย่างใด)

ต่อ มาเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2554 กระทรวงการต่างประเทศได้เผยแพร่คำแปลภาษาไทยในส่วนที่ตรงกับข้อความดังกล่าว โดยใช้คำว่า “ขอบเขต” แทนคำว่า “la limite” เช่นกัน (http://bit.ly/oVLzUz)

ดร.วีร ชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งราชอาณาจักรไทยประจำเนเธอร์แลนด์ ตัวแทน (agent) ฝ่ายไทย ภาพจากศาลโลก Courtesy of the ICJ.


ศาลโลกแก้ไขคำผิด

ล่า สุดช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2554 ศาลโลกได้ดำเนินการอย่างเงียบๆ เพื่อแก้ไขคำแปลเอกสาร CR 2011/14  ฉบับ uncorrected หน้าที่ 4 ให้ปรากฏเป็นคำแปลปัจจุบัน (ฉบับ uncorrected เช่นเดิม) ดังนี้:

“On 19 July, work began to erect a barbed wire fence and a sign marking the limit of the Temple area, according to the line which had been adopted by the Council of Ministers on 10 July for the purposes of implementing the 1962 Judgment...”

(เน้นคำโดยผู้เขียน, นอกจากนี้ศาลยังได้แก้ไขถ้อยคำลักษณะเดียวกันในย่อหน้าที่ 11 คือเปลี่ยนคำว่า “boundary” มาเป็นคำว่า “limit” แทน, ดู http://bit.ly/pvX06d)

กล่าวคือ ศาลได้แก้ไขคำแปลคำชี้แจงของฝ่ายไทย จากเดิมที่ศาลใช้คำว่า “the boundary of the Temple area” มาเป็น “the limit of the Temple area” เพื่อเป็นการรับทราบจุดยืนของไทยอย่างชัดเจนว่า ไทยไม่ได้ยอมรับว่าคำพิพากษา พ.ศ. 2505 เป็นเรื่องการกำหนด “เขตแดน” (ระหว่างไทยและกัมพูชา) บริเวณปราสาทพระวิหารแต่อย่างใด แนวรั้วรอบปราสาทจึงเป็นเพียง “ขอบเขต” เท่านั้น (ผู้สนใจประเด็นดังกล่าว ดูคำอธิบายได้ที่ http://on.fb.me/oq6cUZ)

ดังนั้น “เขตแดน” ที่แท้จริงระหว่างไทยและกัมพูชา ณ วันนี้คือเส้นหรือบริเวณใด จึงมิได้เกี่ยวข้องกับศาลโลก และย่อมไม่ใช่สิ่งที่ศาลจะตีความได้ แต่ “เขตแดน” เป็นเรื่องที่ต้องว่าไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งได้แก่อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 และเอกสารที่เกี่ยวข้อง อาทิ บันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก พ.ศ. 2543 (ส่วนจะส่งผลดีต่อไทยหรือไม่นั้นเป็นอีกประเด็นที่สำคัญเช่นกัน)

แม้ คำแปลดังกล่าวไม่มีผลผูกพันศาลโดยตรง แต่อย่างน้อย การที่ศาลให้เจ้าหน้าที่แก้ไขคำว่า “boundary” (เขตแดน) มาเป็น “limit” (ขอบเขต) นี้ ถือเป็นสัญญาณที่ดีว่าศาลให้ความสำคัญกับประเด็นละเอียดอ่อนดังกล่าวที่ไทย ต่อสู้ไว้ว่าคดีนี้มิใช่เรื่องเขตแดนดั่งที่กัมพูชาพยายามจะทำให้เป็น

คำชมถึงรัฐบาลอภิสิทธิ์และกระทรวงการต่างประเทศ

ไม่ ว่ารัฐบาลจะทราบเรื่องคำแปลที่ผิดพลาดนี้มาก่อนอยู่แล้ว หรือจะได้ทราบจากบทความของผู้เขียนนั้นคงไม่ใช่ประเด็นสำคัญเท่ากับประเด็น ที่ว่ารัฐบาลต้องรับฟังเสียงของประชาชน และทันทีที่ผู้รับผิดชอบโดยตรง ซึ่งได้แก่กระทรวงการต่างประเทศของไทย ได้ทราบถึงความผิดพลาดดังกล่าว ก็ได้ดำเนินการประสานงานเพื่อให้ศาลแก้ไขคำแปลดังกล่าวให้ถูกต้อง ซึ่งถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่อันสมควรได้รับคำชมและกำลังใจจากประชาชนเช่น กัน

จริงอยู่ ที่ผ่านมาได้มีคำถามตลอดจนเสียงต่อว่าวิพากษ์วิจารณ์ต่อกระทรวงการต่าง ประเทศในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบคดีปราสาทพระวิหารโดยตรงอยู่ไม่น้อย  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบันทึกความเข้าใจ MOU พ.ศ. 2543 สมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ มาจนถึงแถลงการณ์ร่วม (Joint Communiqué) พ.ศ. 2551 สมัยรัฐบาลพลังประชาชน จนถึงกรณีภาคีอนุสัญญามรดกโลก (ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังไม่ชัดว่าการถอนตัวมีผลหรือไม่ ผู้สนใจโปรดดู http://on.fb.me/lWBhHm)

แต่ในขณะเดียวกันการปฏิบัติหน้าที่ ของกระทรวงการต่างประเทศก็สมควรได้รับคำชื่นชมในบางเรื่องเช่นกัน นอกจากเรื่องคำแปลข้างต้นแล้ว ยังมีตัวอย่างอื่น อาทิ

- การใช้เทคโนโลยี twitter รายงานความเคลื่อนไหวของฝ่ายไทยที่ศาลโลก คล้ายการรายงานสด ช่วงวันที่ 29 – 30 พฤษภาคมที่ผ่านมา (http://bit.ly/pGjO1M) แม้เจ้าหน้าที่อาจได้ย่อข้อความจากบทแถลงที่เตรียมไว้ก่อนแล้วและเป็นการ เสนอข้อมูลข้างเดียวของฝ่ายไทยก็ตาม แต่อย่างน้อยประชาชนคนไทยก็สามารถติดตามข่าวสารได้รวดเร็วทันเหตุการณ์

- การใช้เทคโนโลยี facebook เผยแพร่รูปภาพการทำงานของคณะทำงานฝ่ายไทยที่ศาลโลก (http://on.fb.me/nSQlj5) แม้เจ้าหน้าที่อาจจะคัดมาเฉพาะภาพขณะทำงานเพียงไม่กี่รูปซึ่งไม่อาจถ่ายทอด เหตุการณ์จริงได้หมด แต่อย่างน้อยประชาชนก็ได้ทราบถึงบรรยากาศของการสู้คดีประวัติศาสตร์ครั้งนี้ ทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง

- การให้ข้อมูลประชาชนในลักษณะถาม-ตอบ หรือ ย่อสรุปข้อต่อสู้ที่ฝ่ายไทยได้แถลงต่อศาล (http://bit.ly/nJOt1Q) แม้เจ้าหน้าที่จะนำเสนอข้อมูลฝ่ายเดียวโดยที่ไม่ได้สรุปข้อกล่าวหาและข้อ ต่อสู้ที่กัมพูชาอ้างในลักษณะเดียวกัน แต่ก็ถือว่าแปลและสรุปได้ดีในระดับหนึ่ง คือย่อคำแถลงของตัวแทนและทนายความฝ่ายไทยเป็นรายบุคคลและแยกเป็นประเด็น ทำให้ประชาชนผู้สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเป็นภาษาไทยได้สะดวก

นอก จากนี้ ในฐานะผู้ที่เคยช่วยทำคดีในศาลโลกและศาลอื่นมาบ้าง ผู้เขียนมั่นใจว่ายังมีความดีของข้าราชการไทยผู้อดหลับอดนอนอีกหลายกรณีที่ อาจมิได้เปิดเผยต่อประชาชน

ที่กล่าวมา มิได้หวังให้กระทรวงการต่างประเทศรู้สึกปลื้มอกปลื้มใจ แต่ผู้เขียนประสงค์จะสื่อถึงความดังต่อไปนี้

1. ประชาชนมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 56 คือสิทธิได้รับและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในความครอบครองของราชการ ยกเว้นมีความจำเป็นที่เปิดเผยไม่ได้ เช่น เรื่องความมั่นคง  ราชการทุกหน่วยงานต้องเคารพสิทธินี้ และหน่วยงานที่ดีย่อมต้องยึดมาตรฐานที่สูงกว่าพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร ของราชการ พ.ศ. 2540 (ซึ่งสมควรได้รับการแก้ไข)โดยเฉพาะการอาศัยเทคโนโลยีที่ประหยัดและรวดเร็ว ดังที่กระทรวงการต่างประเทศได้ทำเป็นตัวอย่าง

2. ข้าราชการมืออาชีพที่ทำงานฉับไวมีประสิทธิภาพและโปร่งใสต่อประชาชน มีได้อีกในประเทศไทย และประชาชนควรเรียกร้องให้ข้าราชการยึดมาตรฐานดังกล่าว มิใช่จำยอมว่า “เช้าชามเย็นชาม” คือเรื่องปกติ และไม่จำกัดเฉพาะข้าราชการประจำทั่วไปเท่านั้น แต่ต้องรวมถึงข้าราชการหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เช่น เข้าประชุมสภาตรงเวลาหรือไม่ หรือสละเวลามาพบปะประชาชนหลังวันเลือกตั้งมากน้อยแค่ไหน หรือข้าราชการในมหาวิทยาลัย เช่น สอนหนังสือ ตรวจข้อสอบและผลิตผลงานอย่างท่วงทันเหตุการณ์หรือไม่ หรือแม้แต่ข้าราชการตุลาการ ประชาชนผู้เป็นเจ้านายตัวจริงย่อมมีสิทธิถามว่า เหตุใดคดีความในศาลไทยจึงใช้เวลานานและคั่งค้างยืดเยื้อจำนวนมาก เป็นต้น

3. ในยามที่ประเทศชาติมีปัญหาต้องฝ่าฟันร่วมกัน การมองเห็นความดี กล่าวชม และให้กำลังใจกันในสิ่งเล็กๆ น้อยๆ นั้นไม่ได้สำคัญน้อยไปกว่าการต่อว่า ตักเตือน หรือติติงกันในเรื่องที่ใหญ่ และหากเราเพ่งเล็งทำเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง การฝ่าฟันปัญหาร่วมกันย่อมเป็นไปโดยลำบาก

4. เมื่อผู้ใดทราบถึงความผิดพลาดของตน ไม่ว่าผู้นั้นจะสูงศักดิ์ดั่งศาลที่นานาชาติเคารพ หรือทรงอำนาจดั่งนักการเมืองที่ได้รับคะแนนท่วมท้นจากทั่วประเทศ หากผู้นั้นกล้าหาญที่จะยอมรับข้อผิดพลาดและปรับปรุงแก้ไข ย่อมมิใช่เรื่องที่จะซ้ำเติมกัน แต่เป็นสิ่งที่ต้องช่วยกันสนับสนุนและชื่นชม

จับตาศาลโลกวันที่ 18 ก.ค. !  

"มหาศาลาแห่งความยุติธรรม" (The Great Hall of Justice). ภาพจากศาลโลก Courtesy of the ICJ.

นอก จากศาลโลกจะได้แก้ไขคำแปลผิดให้ถูกต้องแล้ว ล่าสุดศาลยังได้แจ้งว่าในวันจันทร์ที่ 18 ก.ค. นี้ ศาลจะอ่านคำสั่งกรณีที่กัมพูชาขอให้ศาลระบุมาตรการคุ้มครองชั่วคราว ซึ่งกัมพูชาขอไว้สามข้อ คือ

(1) สั่งให้ไทยถอนทหารออกไปจากดินแดนของกัมพูชา (territoire cambodgien) ในบริเวณปราสาทพระวิหาร
(2) สั่งห้ามไม่ให้ไทยดำเนินการทางทหารในบริเวณปราสาทพระวิหาร
(3) สั่งให้ไทยงดเว้นการกระทำที่อาจกระทบต่อสิทธิของกัมพูชาหรืออาจทำให้ความขัดแย้งทวีความรุนแรงมากขึ้น

ผู้เขียนมิอาจล่วงรู้ผลของคำสั่งในวันจันทร์ที่ 18 ก.ค. นี้ได้ แต่อาจตั้งข้อสังเกตเบื้องต้นดังนี้

1. จับตาเรื่อง “เขตแดน” ที่แฝงมาในคำขอของกัมพูชา

จาก คำขอทั้งสามข้อข้างต้น คำขอข้อแรกมีนัยเกี่ยวกับเรื่องเขตแดนชัดเจน คือ หากศาลสั่งตามที่กัมพูชาขอ ย่อมแปลว่ามี “พื้นที่ในบริเวณปราสาทพระวิหาร” ที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชา ในขณะที่คำขอสองข้อหลังแม้หากศาลสั่งตามที่กัมพูชาขอ ก็มองได้ว่าไม่เกี่ยวกับเขตแดนโดยตรง เช่น อาจมองเป็นเรื่องการรักษาตัวปราสาทที่เป็นวัตถุแห่งคดี

ไม่ ว่าวันที่ 18 ก.ค. นี้ศาลจะมีคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวหรือไม่แบบใด สิ่งที่ควรจับตามองก็ คือ ศาลจะแสดงจุดยืนในเรื่องคำขอข้อแรกที่กล่าวถึง “เขตแดน” อย่างไร? ผู้เขียนมองว่าเป็นไปได้สามแนวทาง

- แนวแรก ศาล อาจปฏิเสธคำขอข้อแรกโดยสิ้นเชิง จะด้วยเหตุผลว่าศาลไม่มีอำนาจวินิจฉัยเรื่องเขตแดนหรือด้วยเหตุผลอื่นที่ ฝ่ายไทยอ้าง เช่น ประเด็นเขตแดนในปัจจุบันต้องว่าไปตาม MOU พ.ศ. 2543 ฯลฯ ทั้งนี้ การที่ศาลได้ดำเนินการให้เจ้าหน้าที่แก้ไขคำแปลผิด จากคำว่า “boundary” (เขตแดน) มาเป็น “limit” (ขอบเขต) นี้ถือเป็นสัญญาณที่ดีว่าศาลให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าวที่ไทยต่อสู้ไว้

- แนวที่สอง ศาลอาจมีคำสั่งเป็นการทั่วไปตามที่กัมพูชาขอ โดยอาจสั่งโดยไม่อธิบายว่า “พื้นที่ในบริเวณปราสาทพระวิหาร” ที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชา คือ พื้นที่ใด ซึ่งแม้จะไม่ชัดเจน แต่ก็เป็นความคลุมเครือที่กัมพูชาอาจนำมาใช้อ้างต่อได้

- แนวที่สาม ซึ่งน่ากังวลที่สุดและไม่น่าจะเป็น คือ ศาลอาจอ้างถึงข้อเท็จจริงหรือเอกสารบางอย่าง เช่น MOU พ.ศ. 2543 หรือ แผนที่ภาคผนวก 1 (ซึ่ง MOU ได้อ้างถึงโดยไม่เจาะจง) และกล่าวโดยตรงหรือโดยอ้อมในทำนองว่า “พื้นที่ในบริเวณปราสาทพระวิหาร” ที่อยู่ในดินแดนของกัมพูชาอาจเกี่ยวข้องกับเอกสารหรือแผนที่ดังกล่าว ซึ่งอาจเป็นการตีความกฎหมายที่สุ่มเสี่ยงเรื่องเขตแดนดังที่มีผู้ห่วงใยได้ เตือนเกี่ยวกับ MOU ตลอดมา

2. จับตาแนวทางที่ศาลอาจสั่งได้ 3 ทาง

ไม่ว่าศาลจะมองเรื่องเขตแดนอย่างไร หากพิจารณาถึงคำสั่งในวันที่ 18 ก.ค. ในภาพรวม อาจเป็นไปได้สามแนวทาง คือ

- แนวแรก ศาลมีคำสั่งระบุมาตรการคุ้มครองชั่วคราว (ศาลอาจสั่งทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนตามที่กัมพูชาร้องขอ) ซึ่งหมายความว่าไทยต้องปฏิบัติตามคำสั่งทันที และศาลยังคงดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปในส่วนคำร้องที่กัมพูชาขอให้ศาลตีความ คำพิพากษา ซึ่งไทยอาจต้องใช้เวลาสู้คดีต่อไปถึง พ.ศ. 2555

- แนวที่สอง ศาลยกคำร้องกัมพูชาในส่วนมาตรการคุ้มครองชั่วคราว กล่าวคือ ศาลปฏิเสธคำขอให้ระบุมาตรการคุ้มครองชั่วคราวทั้งสามข้อ แต่ศาลยังดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปในส่วนการตีความคำพิพากษา ซึ่งอาจดำเนินต่อไปถึง พ.ศ. 2555 เช่นกัน

- แนวที่สาม ศาลยกคำร้องกัมพูชาทั้งหมด คือปฏิเสธคำขอทั้งสามข้อ พร้อมทั้งมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีที่กัมพูชาขอให้ศาลตีความคำพิพากษา (remove the case from the general list) ทั้งคดี (ในทางกฎหมายเรียกว่าคำขอ in limine ซึ่งในอดีตเคยมีการขอมาแล้วและแม้ไม่สำเร็จแต่ศาลก็มิได้ปฏิเสธว่าสั่งไม่ ได้) ซึ่งหมายความว่าไทยประสบความสำเร็จในการยับยั้งการใช้สิทธิทางศาลโดยกัมพูชา ส่งผลให้ไทยและกัมพูชาต้องกลับเข้าสู่กระบวนการเจรจาต่อไป

ผู้ เขียนตั้งข้อสังเกตเพิ่มว่า กัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลตั้งแต่วันที่ 28 เม.ย. และศาลนัดอ่านคำสั่งในวันที่ 18 ก.ค. หมายความว่าศาลใช้เวลาทั้งสิ้นเกือบ 11 สัปดาห์ ซึ่งถือว่าค่อนข้างนาน หากเทียบจากตัวอย่างในคดีอื่น เช่น กรณีที่เม็กซิโกเคยขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาคดี Avena ที่พิพาทกับสหรัฐฯ นั้น ศาลได้ใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์ก่อนอ่านคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราว (ICJ Reports 2008, p. 311) หรือ กรณีที่จอร์เจียเคยขอให้ศาลโลกระบุคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวในคดีที่ พิพาทกับรัสเซียนั้น ศาลได้ใช้เวลาประมาณ 8 สัปดาห์ก่อนอ่านคำสั่ง (ICJ Reports 2008, p. 353) ซึ่งศาลได้มีคำสั่งระบุมาตรการในทั้งสองคดี

แม้ ระยะเวลาดังกล่าวไม่อาจนำมาเทียบกับคดีของไทยและกัมพูชาได้ชัดเพราะบริบท ต่างกัน (เช่นไม่มีช่องว่างระหว่างคำพิพากษาและการตีความถึงเกือบ 50 ปี) แต่ในทางหนึ่ง การใช้เวลาทั้งสิ้นเกือบ 11 สัปดาห์นี้อาจคาดเดาได้ว่า ศาลไม่สามารถปฏิเสธคำร้องกัมพูชาทั้งสามข้อได้โดยง่าย ซึ่งผู้เขียนยอมรับว่าคดีนี้มีแง่มุมพิเศษที่ไม่มีตัวอย่างชัดเจนให้ศาล เทียบเคียงได้ ดังนั้น ศาลจึงอาจใช้เวลาเพื่ออธิบายเหตุผลในการสั่งคำร้องตามที่กัมพูชาขอ

แต่ ในอีกทางหนึ่ง การใช้เวลานานก็อาจทำให้ไทยมีความหวังได้ว่า ศาลอาจใช้เวลาเพื่อยกคำร้องกัมพูชาทั้งหมด คือปฏิเสธทั้งเรื่องมาตรการคุ้มครองชั่วคราว อีกทั้งสั่งให้จำหน่ายคดีที่กัมพูชาขอให้ศาลตีความคำพิพากษาก็เป็นได้ ทั้งนี้เพราะการวินิจฉัยข้อกฎหมายเรื่องมาตรการคุ้มครองชั่วคราวมี 2 ขั้นตอน คือ (1) ศาลต้องพอใจในข้อสันนิษฐานเบื้องต้น (prima facie) ว่าในที่สุดศาลสามารถรับพิจารณาคดีหลัก (ซึ่งหมายถึงตีความคำพิพากษา) และ (2) ศาลต้องพอใจในเงื่อนไขของมาตรการคุ้มครองชั่วคราวเอง เช่น  ความจำเป็นเร่งด่วน (urgency) หรือภัยอันตรายที่มิอาจแก้ไขเยียวยาได้ (irreparable harm)

ดังนั้น หากศาลเห็นด้วยกับฝ่ายไทยว่าไม่มีข้อสันนิษฐานเบื้องต้น (prima facie) ที่เพียงพอแก่การตีความในคดีหลัก เช่น หากศาลพิจารณาว่า กัมพูชามาขอตีความหลังเวลาผ่านมาเกือบ 50 ปี ทั้งที่กัมพูชาเองได้ยอมรับและเห็นพ้องกับการที่ไทยได้ถอนกำลังออกไป จากบริเวณรั้วลวดหนามรอบปราสาท อีกทั้งไทยและกัมพูชาในปัจจุบันได้มีการตกลง MOU พ.ศ. 2543 เพื่อดำเนินการจัดการเรื่องเขตแดนร่วมกัน จึงถือว่าไทยและกัมพูชาไม่มีข้อพิพาทระหว่างกันเกี่ยวกับตัวคำพิพากษาที่จะ ต้องขอให้ศาลตีความ ศาลย่อมสามารถยกคำร้องและจำหน่ายคดีให้เสร็จสิ้นทั้งหมดไปในเวลาเดียวกัน ก็เป็นได้

3. จับตาการเปลี่ยนแปลงคำสั่งหลังวันที่ 18 ก.ค.

แม้ สุดท้ายศาลโลกอาจจะสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวตามคำขอของกัมพูชาในวันที่ 18 ก.ค. นี้ และแม้ที่ผ่านมาไทยจะได้แสดงเกียรติและศักดิ์ศรีในฐานะอารยประเทศที่รับปาก จะปฏิบัติตามที่ศาลสั่ง แต่กฎหมายระหว่างประเทศก็เปิดช่องให้ไทยสามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลแก้คำสั่ง ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามความเป็นจริง (Rules of Court Article 76)

สังเกต ได้ว่าสถานการณ์ชายแดนไทยและกัมพูชาโดยรวมนั้นมีความตึงเครียดลดน้อยลงนับ แต่กัมพูชายื่นคำร้องต่อศาล แม้ยังมีความเคลื่อนไหวอยู่บ้าง แต่ผลของการเจรจาหยุดยิงในระดับพื้นที่ก็ดี ความคืบหน้าเรื่องผู้สังเกตการณ์จากอินโดนีเซียก็ดี หรือ ท่าทีความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชาหลังการเลือกตั้งของไทยก็ดี อาจเป็นประเด็นที่ศาลนำมาพิจารณาในทางที่เป็นคุณต่อฝ่ายไทยได้ และแม้หากศาลมีคำสั่งตามที่กัมพูชาขอ ไทยย่อมนำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์เหล่านี้ไปชี้แจงเพื่อให้ศาลเปลี่ยน แปลงคำสั่งได้เช่นกัน

ในทางกลับกัน หากวันที่ 18 ก.ค. นี้ศาลปฏิเสธที่จะสั่งตามคำร้องของกัมพูชาแต่ไม่จำหน่ายคดีการตีความ กัมพูชาก็ยังมีสิทธิยื่นคำร้องใหม่ (fresh request) หากมีข้อเท็จจริงใหม่ให้กัมพูชายกอ้างได้ เช่น มีการกลับไปใช้กำลังโจมตีกันและทำให้ตัวปราสาทเสียหายมากขึ้น เป็นต้น (Rules of Court Article 75 (3)) ดังนั้น หากศาลมิได้สั่งจำหน่ายคดีทั้งคดี การดำเนินการใดๆของไทยย่อมต้องไม่วู่วามหรือลืมคำนึงถึงความได้เปรียบเสีย เปรียบในทางศาลเช่นกัน

4. จับตาอนาคตของ MOU พ.ศ. 2543 หลัง 18 ก.ค.

ที่ ผ่านมามีหลายฝ่ายออกมาเรียกร้องให้ไทยยกเลิก MOU (บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและจัดทำ หลักเขตแดนทางบก) พ.ศ. 2543 เพราะสุ่มเสี่ยงต่อการเสียดินแดน ในขณะที่บางฝ่ายได้ออกมาปกป้องความสำคัญและประโยชน์ของ MOU ดังกล่าว

ล่า สุดรัฐบาลไทยก็ได้นำ MOU พ.ศ. 2543 มาอ้างชี้แจงต่อศาลโลกว่า เอกสารดังกล่าวเป็นหลักฐานมัดกัมพูชาว่าแท้จริงแล้วการดำเนินการเกี่ยวกับ เขตแดนในปัจจุบันมิได้เป็นไปโดยผลของคำพิพากษา พ.ศ. 2505 แต่เป็นเรื่องที่ทั้งสองประเทศยังต้องเจรจาและร่วมมือกันต่อไป ดังนั้นการที่กัมพูชาอ้างว่าไทยไม่ยอมรับหรือโต้แย้งเขตแดนของกัมพูชารอบ ปราสาทพระวิหารจึงไม่เกี่ยวกับคำพิพากษา ศาลจึงไม่มีสิทธิตีความ และการที่กัมพูชารุกล้ำเข้ามาก่อสร้างหรือดำเนินการในบริเวณพื้นที่พิพาท นั้นจึงไม่ถูกต้อง (เช่น CR 2011/14 หน้า 12, 16-21 และ CR 2011/16 หน้า 25-26)

ผู้เขียนย้ำอีกครั้งว่า MOU พ.ศ. 2543 เป็นเพียงหนึ่งในเอกสารหรือการกระทำภายหลัง (subsequent agreement / subsequent practice) ที่มีผลต่อการตีความเอกสารที่เป็นคำตอบสำคัญของปัญหาเขตแดนไทยกัมพูชา คือ อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 ผู้ใดที่ออกมาโจมตี MOU พ.ศ. 2543 โดยไม่ทราบถึงบริบทการตีความทางกฎหมายระหว่างประเทศอย่างครบถ้วน ย่อมไม่ต่างไปจากเด็กน้อยที่กรีดร้องเพียงเพราะนึกว่าเมื่อเห็นควันย่อมต้อง มีไฟ แต่ผู้ที่คิดว่าเด็กน้อยนั้นผิดเสมอไปก็อาจตกเป็นเชื้อไฟให้เด็กน้อยคอยดู เสียเอง

คำสั่งที่ศาลจะอ่านในวันจันทร์ที่ 18 ก.ค. นี้ ผู้เขียนเชื่อว่าศาลจะได้อธิบายข้อเท็จจริงเรียงเป็นเรื่องๆ (โดยศาลจะใช้คำว่า “Whereas” หรือ “ตามที่”…ทีละย่อหน้า) โปรดจับตาให้ดีว่า ศาลจะเห็นพ้อง “ตามที่” รัฐบาลไทยได้อ้างถึง MOU ฉบับนี้ไว้หรือไม่ หรือ MOU จะย้อนมาทำร้ายประเทศไทยดังที่มีผู้ย้ำเตือนไว้ และเราสมควรจะพิจารณาอนาคตของ MOU ฉบับนี้ต่อไปอย่างไร!

สุด ท้ายขอฝากกำลังใจไปยังว่าที่รัฐบาลใหม่ ให้สามารถใช้กฎหมายระหว่างประเทศเป็นหนึ่งในเครื่องมือรักษาสันติภาพควบคู่ อธิปไตย และยึดชีวิตของทหารและชาวบ้านที่ชายแดนไว้เหนือความพึงพอใจ ไม่ว่าจะของใครคนไหนก็ตาม

___________________________________________________________________

สำหรับประเด็นที่ไทยได้ชี้แจงต่อศาลโลกไปเมื่อวันที่ 29 – 30 พฤษภาคม 2554 ดูรายละเอียดได้ที่
https://sites.google.com/site/verapat/temple/2011

คณะ นิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ เครือมติชนจัดการเสวนาเชิงวิชาการ “การถอนตัวจากภาคีอนุสัญญามรดกโลกกับอนาคตปราสาทพระวิหาร” วันพุธที่ 13 ก.ค. 2554 ดูรายละเอียดได้ที่
http://bit.ly/oHqWyh

ติดตามข้อมูลทาง Twitter ที่
https://twitter.com/#!/NewVerapat

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง