จาก
เหตุการณ์รบที่เกิดขึ้นชายแดนไทย - กัมพูชาในช่วงประมาณ 10 วันที่ผ่านมา
จนคนไทยต้องอพยพจากถิ่นที่อยู่จำนวนครึ่งแสนและจากข่าวที่ปรากฏต่อสาธารณชน
มีการแสดงออกของนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ผู้บัญชาการทหารบกและแม่ทัพภาคที่ 2
ที่ได้แสดงออกถึงการย่อหย่อนการรักษาไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตยเขตแดนของรัฐ
และย่อหย่อนต่อการรักษาไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตยของปัจเจกบุคคล (Individual)
อันเป็นสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
ทำให้ประชาชนต้องทิ้งบ้านเรือนถิ่นที่อยู่
ไม่อาจทำมาหากินหรือประกอบอาชีพอย่างปกติได้
แต่ต้องหลบหนีภัยจากการรุกรานของกัมพูชามาอยู่ร่วมกันในศูนย์อพยพ
การ
กระทำโดยย่อหย่อนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของผู้มีหน้าที่ต้องรักษาไว้ซึ่ง
เอกราชอธิปไตยและบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐนั้น
มิได้มีความหมายว่าเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบของ
ผู้มีอำนาจหน้าที่อย่างปกติธรรมดาเท่านั้น
แต่กรณีนี้เป็นการย่อหย่อนต่อการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งเข้าข่ายของการกระทำความ
ผิดอาญาในความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 119 มาตรา 120 มาตรา 122 ( 2 ) (4) มาตรา127 มาตรา 128 และมาตรา 129
ผู้
เขียนจึงประสงค์จะเขียนบทความนี้
เพื่อชี้ให้เห็นประเด็นของการกระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดให้ปรากฏ
แก่สาธารณชนและแก่ผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ได้ไตร่ตรองถึงการกระทำการ
ตามหน้าที่ของตนเพื่อหลีกเลี่ยงจากการที่จะต้องตกเป็นอาชญากรโดยรู้เท่าไม่
ถึงการณ์นั้นเสีย
ผู้เขียนมิได้มีเจตนาร้ายต่อผู้ใดแต่ประสงค์จะชี้ให้เห็นหลักวิชาการทาง
กฎหมายเพื่อให้หาทางแก้ไข
หากบุคคลที่เกี่ยวข้องมีความสุจริตเป็นที่ตั้งก็สามารถแก้ไขในสิ่งที่ผิด
พลาดได้
จากการให้สัมภาษณ์ของผู้บัญชาการทหารบกที่ได้
ให้สัมภาษณ์ในทำนองว่า เรื่องการทำงานในการรบของทหารไม่เกี่ยวข้องกับMOU’43
นั้น ผู้เขียนเห็นว่าเป็นความเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อนอย่างร้ายแรง
ซึ่งอาจทำให้มีการนำไปสู่การดำเนินคดีอาญากับผู้บัญชาการทหารบก
และทำให้กองทัพบกกลายเป็นจำเลยของสังคมไปชั่วกาลนานได้
บันทึก
MOU’43 ได้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2543
ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชา ผู้ที่ติดตามข่าวสารจะทราบว่าMOU’43
เป็นบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชาที่จะดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขต
แดนไทย-กัมพูชา ตามเอกสารต่อไปนี้ (ก.)
อนุสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศสแก้ไขเพิ่มเติมข้อบทแห่งสนธิสัญญาฉบับลง
วันที่ 3 ตุลาคม รัตนโกสินทรศก 112 ( ค.ศ.1893 )
ว่าด้วยดินแดนกับข้อตกลงอื่นๆฉบับลงนาม ณ.กรุงปารีส เมื่อวันที่ 13
กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก 122 ( ค.ศ.1904 )
(ข.)
สนธิสัญญาระหว่างพระเจ้าแผ่นดินแห่งสยามกับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ
ฝรั่งเศสฉบับลงนาม ณ.กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทรศก
125 ( ค.ศ.1907 )
กับพิธีสารว่าด้วยการปักปันเขตแดนแนบท้ายสนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม
รัตนโกสินทรศก 125 (ค.ศ.1907) และ ( ค.)
แผนที่ที่จัดทำขึ้นตามผลงานการปักปันเขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดน
ระหว่างสยามกับอินโดจีน ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาฉบับปี ค.ศ.1904
และสนธิสัญญาฉบับปี ค.ศ.1907
กับเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้อนุสัญญาฉบับปี ค.ศ.1904
และสนธิสัญญาฉบับปี ค.ศ. 1907 ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส
ตามเอกสารใน
MOU’43 ดังกล่าวมีการกล่าวถึงแผนที่ แต่ไม่ได้ระบุแผนที่มาตราส่วน 1:
200,000 ไว้แต่อย่างใด
แต่ได้มีบันทึกข้อความที่นายวรากรณ์รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
ได้ทำบันทึกเสนอนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น
ให้ทราบถึงมาตราส่วนแผนที่ที่จะใช้แสดงเขตแดนระหว่างไทย -กัมพูชานั้น
ให้ใช้มาตราส่วน1 : 200,000
โดยมีข้อความในบันทึกดังกล่าวว่า
“
พื้นฐานทางกฎหมาย
การสำรวจและปักปันเขตแดนทางบกจะดำเนินการโดยใช้เอกสารหลักฐานที่ผูกพันไทย
กับกัมพูชา ตามกฎหมายระหว่างประเทศ คืออนุสัญญาฉบับลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์
ค.ศ.1904 สนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ.1907
กับพิธีสารแนบท้ายและแผนที่แสดงเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา มาตราส่วน
1:200,000
ซึ่งจัดทำขึ้นตามผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน” การ
ที่คณะรัฐมนตรีในสมัยนายชวน หลีกภัย
เป็นนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ
ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตรไปลงนามใน MOU’43 โดยได้ทราบอย่างแน่ชัดแล้วว่า
เส้นเขตแดนระหว่างไทย -กัมพูชา จะใช้แผนที่มาตราส่วน 1: 200,000
ก่อน
ที่กัมพูชาจะก่อตั้งเป็นประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย
รัฐไทยได้รู้อาณาเขตประเทศไทยแล้วว่า
มีอาณาเขตตามอนุสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศสที่ไทยได้ลงนามไว้แล้ว
รัฐ
ไทยได้ออกฎหมายใช้บังคับกับโบราณสถานของไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477
โดยได้ขึ้นทะเบียนปราสาทตาเมือนธมและปราสาทตาเมือนโต๊ด
เป็นโบราณสถานของรัฐไทยแล้วตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2478
(ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 หน้าที่ 3712 วันที่ 8 มีนาคม 2478 ) และในปี
2541 ไทยก็ได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าฝั่งซ้ายลำโดมใหญ่
ในท้องที่ตำบลโซง อำเภอน้ำยืน ตำบลโคกสะอาด กิ่งอำเภอน้ำขุ่น อำเภอน้ำยืน
จังหวัดอุบลราชธานี และป่าเขาพระวิหารในท้องที่ตำบลเสาธงชัย ตำบลภูผาหมอก
อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ
เป็นอุทยานแห่งชาติโดยมีแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกา ระบุการใช้มาตรส่วน 1 :
50,000 ในแผนที่ดังกล่าว ( ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 115 ตอนที่ 14
ก. ลงวันที่ 20 มีนาคม 2541)
การที่ประเทศไทยได้ขึ้นทะเบียนให้ปราสาทตาเมือนธม
ปราสาทตาเมือนโต๊ดเป็นโบราณสถานตามกฎหมาย
และมีพระราชกฤษฎีกาให้ป่าเขตพระวิหารเป็นอุทยานแห่งชาติย่อมแสดงให้เห็นได้
ว่า
รัฐบาลไทยได้รู้ว่าแนวเส้นเขตแดนประเทศไทยนั้นใช้เส้นแนวเขตแดนมาตราส่วน 1 : 50,000
เมื่อ
รัฐบาลได้ทำบันทึกข้อตกลง MOU’43 กับกัมพูชา
อันเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศโดยใช้เส้นเขตแดนไทย - กัมพูชา มาตราส่วน 1:
200,000 นั้น
ในทางกฎหมายระหว่างประเทศจึงเป็นการที่รัฐบาลไทย
ได้ยอมยกดินแดนประเทศไทยให้กัมพูชา โดยยกเลิกเขตแดนมาตราส่วน 1:50,000
มาใช้มาตราส่วน 1 :200,000 MOU’43
จึงเป็นบันทึกข้อตกลงยกสิทธิในดินแดนของรัฐไทยให้แก่กัมพูชา ( CESSION ) ( ซึ่งเทียบได้กับทางแพ่ง เป็นการโอนทรัพย์สิน หรือสละสิทธิในทรัพย์สินให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง)
กัมพูชา
จึงมีสิทธิหรือมีกรรมสิทธิ์ในดินแดนประเทศกัมพูชาตามมาตราส่วน 1:200,000
เพราะรัฐบาลไทยได้สละสิทธิในที่ดินอันเป็นอาณาเขตของประเทศไทยไปเรียบร้อย
แล้ว อำนาจอธิปไตยในดินแดน 1:200,000 จึงตกอยู่ในอำนาจอธิปไตยของกัมพูชา
อำนาจ
อธิปไตยมิได้หมายความแต่เฉพาะพื้นที่ดินอันเป็นอาณาเขต ( TERRITORY )
เท่านั้น แต่เอกราชและอำนาจอธิปไตยในทางอื่นคือ นิติบัญญัติ บริหาร
รวมทั้งตุลาการ ตลอดจนอำนาจอธิปไตย
อันเป็นสิทธิและเสรีภาพของปัจเจกบุคคลย่อมต้องสูญเสียไปด้วย
โดยประชาชนจะถูกจำกัดสิทธิที่จะเข้าไปในอาณาเขตดังกล่าวได้
ตาม
หลักกฎหมายภายในประเทศของไทย การทำบันทึก MOU’43
จึงเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดอาญาในความผิดต่อความมั่นคงของรัฐตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา 119
เพราะทำให้ราชอาณาจักรหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรตกไปอยู่ใต้อำนาจ
อธิปไตยของรัฐต่างประเทศ หรือเพื่อให้เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไป
แม้จะไม่มีการเข้ามาอยู่หรือยึดครองของทหารหรือคนกัมพูชา การทำMOU’43
เป็นการกระทำความผิดอาญาสำเร็จครบองค์ประกอบของการกระทำความผิดอาญาโดย
สมบูรณ์ เพราะอำนาจอธิปไตยในดินแดนของประเทศไทยมาตราส่วน 1:50,000
ได้สูญสิ้นโดยMOU’43ไปหมดแล้ว ซึ่งก็ปรากฏหลักฐานการแสดงออกของ
กัมพูชาเรียกร้องให้ไทยใช้มาตราส่วน 1:200,000 มากำหนดเส้นเขตแดน
กัมพูชาได้ตัดถนนและเข้าใช้พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร
มีการสร้างวัดและนำราษฎรเข้ามาอยู่อาศัยโดยไทยไม่ได้โต้แย้งขัดขวาง
มีการแสดงออกจากการกระทำของฝ่ายไทยที่ยินยอมให้กัมพูชาเข้ามายึดครองใช้
พื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ มีการอ้างสิทธิการปักปันเขตแดนไทย
-กัมพูชาขึ้นใหม่
ทั้งมีการแสดงออกของการกระทำของรัฐบาลไทยที่ดำเนินการให้มีคณะกรรมการเพื่อ
ปักปันเขตแดนใหม่
แสดงให้เห็นถึงการยินยอมยกอำนาจอธิปไตยในเขตดินแดนบางส่วนให้แก่กัมพูชาไป
แล้ว การแสดงออกของข้าราชการไทยและทีมงานศึกษาวิจัยของไทย
ตลอดจนผู้นำรัฐบาล ผู้นำทางทหารที่รับผิดชอบในเขตแดนที่ยอมรับว่าพื้นที่
4.6 ตารางกิโลเมตร เป็นดินแดนพิพาทหรือเป็นดินแดนที่ต้องปักปันเขตแดน
การที่ผู้นำหรือผู้แทนไทยไม่ได้ยืนยันเขตแดนไทยในเวทีโลก
โดยที่ฝ่ายกัมพูชาอ้างสิทธิในเขตแดนตามมาตราส่วน 1 : 200,000
การ
ที่ไทยใช้สิทธิประท้วงกัมพูชากว่า 100 ครั้ง
โดยอ้างว่ากัมพูชาผิดเงื่อนไขตามMOU’43
โดยที่กัมพูชาไม่ได้สนใจกับการประท้วงของไทยเลยแม้แต่น้อย
ก็เพราะกัมพูชาได้รู้เป็นอย่างดีถึงสาระสำคัญของMOU’43 นั้น
เป็นเรื่องที่ไทยได้สละเขตแดนที่เป็นอำนาจอธิปไตยของไทยให้กับกัมพูชาหมด
สิ้นแล้ว และกัมพูชารู้ดีว่า
การประท้วงของไทยนั้นไม่มีผลต่อกัมพูชา
ไม่ว่าในความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชา หรือในสายตาของประชาคมโลก
เพราะกัมพูชามีหลักฐานแสดงต่อนานาอารยประเทศได้ว่า
ไทยได้สละอำนาจอธิปไตยในดินแดนแห่งราชอาณาจักรไทยให้ตกอยู่ในอำนาจอธิปไตย
ของกัมพูชาไปแล้วตามมาตราส่วน 1 :200,000
พฤติการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นล้วนเป็นการยืนยันได้ว่า บันทึกข้อตกลง MOU’43
นั้นเป็นการกระทำความผิดอาญาตามกฎหมายภายในประเทศไทยเป็นความผิดสำเร็จแล้ว
[ส่วน MOU’43 จะมีผลผูกพันรัฐไทยหรือไม่นั้นเป็นอีกปัญหาหนึ่ง
และคณะรัฐมนตรีไทย นักการเมืองกัมพูชา
ตลอดจนข้าราชการกระทรวงต่างประเทศทั้งไทยและกัมพูชา
จะเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดอาญาอันเป็นกฎหมายของไทยหรือไม่นั้น
ขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานและความสามารถที่จะทำการสืบสวนสอบสวน
หาผู้ร่วมกระทำความผิดต่อไป
และในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นคนต่างด้าวกระทำความผิดนอกราชอาณาจักรไทย
แต่ผลของการกระทำเกิดขึ้นในราชอาณาจักรหรือประสงค์จะให้ผลเกิดขึ้นในราช
อาณาจักรโดยสมคบกับผู้กระทำในราชอาณาจักรแล้ว
ผู้นั้นก็ถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดในราชอาณาจักร
ซึ่งจะต้องถูกสอบสวนดำเนินคดีอาญาในราชอาณาจักรไทยได้เช่นกัน เพราะ MOU’43
เป็นการกระทำที่ต้องร่วมสมคบคิดกัน]
โดยลักษณะของ
บันทึก MOU’43ไม่ใช่เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
เป็นเพียงหนังสือบันทึกข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชา
ที่ไทยยอมสละเขตแดนให้อำนาจอธิปไตยของไทยตกอยู่ในอำนาจอธิปไตยของกัมพูชา
เท่านั้น MOU’43 จึงไม่ต้องผ่านรัฐสภา
และถึงจะนำเข้าสู่รัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบก็ไม่ทำให้ MOU’43
ซึ่งเป็นหลักฐานของการกระทำความผิดอาญานั้น
กลายเป็นหลักฐานที่ไม่ใช่เป็นการกระทำความผิดอาญาได้แต่อย่างใดไม่
เพราะรัฐสภาไม่ใช่เป็นสถานที่ฟอกความผิดอาญาของรัฐบาลหรือของบุคคลใดและรัฐสภาไม่อาจรับรองการกระทำความผิดของรัฐบาลได้
รัฐบาลหลายสมัยที่ผ่านมารวมทั้งรัฐบาลชุดนี้ ไม่ได้มีการดำเนินคดีอาญากับรัฐบาลและผู้กระทำความผิดที่ได้ทำ MOU’43 แต่อย่างใด
การ
กระทำของรัฐบาลชุดนี้ไม่อาจเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดในการทำ MOU’43
ของรัฐบาลชุดก่อนได้ เพราะการกระทำความผิดอาญาในการทำ MOU’43
ได้สำเร็จไปแล้ว แต่การที่รัฐบาลชุดนี้ เห็นชอบที่จะปฏิบัติตาม MOU’43
และนำไปปฏิบัตินั้น
การกระทำของรัฐบาลชุดนี้จึงเข้าหลักเกณฑ์ของการกระทำความผิดต่อความมั่นคง
ของรัฐภายนอกราชอาณาจักร ซึ่งเป็นคนละกรรม คนละวาระต่างกัน
โดย
รัฐบาลและข้าราชการที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นทหารหรือพลเรือนจะต้องทราบเป็น
อย่างดีว่า MOU’43 จะนำไปใช้ไม่ได้ เพราะMOU’43
นอกจากจะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายอาญาแล้ว MOU’43 ยังเป็นการทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 1 ที่บัญญัติว่า
ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้
การ
ทำ MOU’43
เป็นการสละอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพในดินแดนให้อำนาจอธิปไตยตกไปเป็นของ
กัมพูชาและทำให้เอกราชของรัฐไทยต้องเสื่อมเสียไป
ก่อให้เกิดการเรียกร้องและสิทธิเรียกร้องแก่กัมพูชาที่จะเรียกร้องเอาดินแดน
จากไทย
โดยนำไปร้องเรียนต่อองค์การสหประชาชาติเพื่อให้ประชาคมโลกบังคับกับประเทศ
ไทย ทั้งยังนำเรื่องไปสู่ศาลโลก ( I.C.J )
เพื่อใช้อำนาจของศาลโลกบังคับกับประเทศไทยปรากฏให้เห็นเป็นปัจจุบัน
ซึ่งรัฐบาลจะนำเอา MOU’43 มาใช้ปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลไม่ได้เลย
เพราะต่อรัฐธรรมนูญและขัดต่อนโยบายของรัฐบาลเอง รัฐบาลจะกระทำการใดๆ
ที่จะทำให้เอกราชอธิปไตยและบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ
ต้องสูญเสียหรือเสียหายไปไม่ได้โดยเด็ดขาดเพราะเป็นความผิดที่มีโทษทางอาญา
การ
ที่รัฐบาล
กองทัพไทยผู้มีหน้าที่รักษาดินแดนแห่งราชอาณาจักรไทยได้ปฏิบัติหน้าที่โดย
ย่อหย่อน อันแสดงให้เห็นเป็นที่สงสัยต่อสาธารณชนได้ว่า
มีการคบคิดกันกระทำเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อกัมพูชา
โดยประสงค์ที่จะก่อให้เกิดการดำเนินการรบหรือ
การกระทำในทางอื่นที่เป็นปรปักษ์ต่อรัฐแล้ว
การกระทำของรัฐบาลและของกองทัพก็จะเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดต่อความมั่น
คงของรัฐภายนอกราชอาณาจักรตามมาตรา 119 , มาตรา 120 และมาตรา 122 ได้
กอง
ทัพจะอ้างว่าเป็นนโยบายของรัฐบาล หรือจะอ้างว่า MOU’43 รวมทั้งบันทึก JBC
หรือการประชุม JBC ซึ่งมีผลมาจาก MOU’43 ก็ไม่สามารถอ้างได้
เพราะ
กองทัพจะต้องทราบว่า
ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกไม่ได้
และจะต้องทราบได้เป็นอย่างดีว่า
รัฐบาลจะกระทำการใดๆอันเป็นการแบ่งแยกราชอาณาจักรไทยไม่ได้
กับต้องทราบเป็นอย่างดีอีกด้วยว่า การมีกำลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์นั้น
มีไว้เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช อธิปไตย ความมั่นคงของรัฐ ตามรัฐธรรมนูญฯ
มาตรา 77 การปฏิบัติหน้าที่โดยย่อหย่อน
หรือปล่อยปละละเลยให้มีการรุกล้ำอธิปไตยและปล่อยให้มีการกระทำอันเป็นการ
กระทำเพื่อให้เอกราชขอรัฐเสื่อมเสียไปนั้นไม่อาจกระทำได้
กอง
ทัพจะต้องทราบอาณาเขตประเทศของรัฐไทยได้เป็นอย่างดีในระดับของผู้เชี่ยวชาญ
และผู้ชำนาญการว่า รัฐไทยนั้นมีเส้นเขตแดนแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างไร
และอยู่ ณ.ที่ใด กองทัพจะต้องรู้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายหรือดำเนินการใดๆ
ให้มีผลกระทบต่อการต้องสูญเสียอำนาจอธิปไตยในเขตแดนไม่ได้ (ถ้าไม่
มีการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันระหว่างรัฐบาลทั้งสองฝ่าย)
กองทัพจะต้องทราบด้วยความรู้เชี่ยวชาญในยุทธศาสตร์และยุทธศิลป์ของการรบ
จะต้องทราบถึงกลไกและวิธีการที่จะเผด็จศึกเพื่อรักษาไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพแห่งเขตอำนาจของรัฐไทย กอง
ทัพไม่อาจดำเนินการรบโดยปล่อยให้กัมพูชายิงฝ่ายเดียว
เพื่อให้กัมพูชาหยุดยิงเมื่อกัมพูชาไม่หยุดยิงจึงยิงตอบโต้
หรือจะใช้วิธีให้กัมพูชายิงก่อน แล้วค่อยยิงตอบโต้พอสมควรนั้นหาได้ไม่
เพราะการกระทำดังกล่าวไม่ใช่เป็นการใช้กำลังทหารเพื่อพิทักษ์รักษาไว้ซึ่ง
อำนาจอธิปไตยและบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐแต่อย่างใดไม่
แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ใช้ชีวิตของทหารที่ปฏิบัติการและชีวิต
ของประชาชน (หากไม่มีการอพยพหนีมาก่อน) เป็นเหยื่อสังหารให้กับศัตรู
ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกับกรณีที่มีการใช้มนุษย์มาเป็นโล่กำบังการสู้รบนั่นเอง
กอง
ทัพจะต้องทราบว่าการสู้รบเพื่อรักษาที่มั่นโดยไม่ขับไล่ผู้รุกรานออกไปจาก
เขตแดนแห่งอำนาจอธิปไตยของรัฐนั้น
ไม่ใช่เป็นการรบเพื่อรักษาอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐแต่อย่างใด
ไม่ แต่การกระทำดังกล่าวจะส่อพฤติการณ์ให้เห็นว่าเป็นการสมรู้ร่วมคิดกัน กอง
ทัพจะต้องทราบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้นเป็นเรื่องสำคัญ
ซึ่งจะต้องมีการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงประเทศที่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันด้วย
แต่ก็มิใช่เป็นอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายโดยตรงของกองทัพที่จะต้องสร้างปฏิ
สัมพันธ์ทางการทูตอยู่ฝ่ายเดียว
พฤติการณ์ที่
เกิดขึ้นปรากฏให้เห็นเป็นสาธารณะนั้น
กองทัพจะต้องทราบดีว่ากัมพูชาต้องการเขตแดนที่ได้กลายเป็นอำนาจอธิปไตยของ
กัมพูชาโดย MOU’43 ให้สมบูรณ์โดยการยึดครองให้ได้ทั้งหมดเท่านั้นและกองทัพจะต้องทราบว่า
การ
กระทำการตามหน้าที่ของกองทัพที่ขัดต่อหลักการปฏิบัติในการรบของกองทัพตาม
มาตรฐานของวิญญูชนโดยทั่วไปที่เห็นได้ว่า
กองทัพไม่ได้ทำหน้าที่ในการรบทั้งในทางยุทธศาสตร์และยุทธศิลป์เพื่อเผด็จศึก
อย่างแท้จริงนั้น
การกระทำของผู้รับผิดชอบในกองทัพก็จะเข้าข่ายของการกระทำความผิดอาญาในข้อหา
ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักรได้เช่นกัน
และ
ถ้าปรากฏว่ากัมพูชาได้เข้ามายึดครองในเขตแดนอาณาเขตประเทศไทยส่วนใดส่วน
หนึ่งแล้ว
การกระทำของผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในกองทัพก็ถือว่าได้กระทำความผิดอาญา
สำเร็จแล้ว โดยไม่อาจจะอ้างว่าเป็นคำสั่งหรือเป็นนโยบายของรัฐบาล
หาได้ไม่
เพราะอำนาจหน้าที่ของกองทัพเป็นอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายโดยตรงไม่ได้ขึ้นอยู่
กับรัฐบาลหรือคำสั่งของรัฐบาล
และกองทัพไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดทางอาญาโดยอาศัยคำสั่งที่ไม่ชอบด้วย
กฎหมายหรือไม่มีกฎหมายรองรับของรัฐบาลได้
ขณะนี้ปรากฏว่ากัมพูชาได้นำเรื่องไปฟ้องศาลโลก ( I.C.J) จะด้วยข้ออ้างประการใดก็ตาม
เมื่อ
รัฐไทยไม่ได้มีสนธิสัญญาที่ประเทศไทยต้องอยู่ในเขตอำนาจของศาลโลกแล้ว
รัฐบาลจะนำให้ประเทศไทยให้ตกอยู่ในเขตอำนาจของศาลโลกไม่ได้เลย
เพราะเป็นการทำให้เอกราชของรัฐต้องเสื่อมเสียไปต้องตกอยู่ในอำนาจบังคับของ
ศาลโลก (Compulsory) และรัฐบาลจะต้องทราบเป็นอย่างดีว่า
กัมพูชาไม่อาจนำเอาบันทึกข้อตกลง MOU’43
ไปใช้ในองค์การสหประชาชาติหรือศาลโลกได้เลย เพราะการทำบันทึก MOU’43
ที่ไทยยอมสละอาณาเขตดินแดนจากมาตราส่วน 1 : 50,000
โดยยินยอมให้กัมพูชาใช้มาตราส่วน 1 :200,000
ซึ่งจะทำให้ไทย-กัมพูชาเปลี่ยนแปลงอาณาเขตประเทศกันนั้น
เป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายอาญาภายในประเทศของไทยและ
ยังขัดต่อรัฐธรรมนูญของกัมพูชา ซึ่งบัญญัติให้กัมพูชาใช้มาตราส่วน 1
:100,000
รัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชา
โดยกระทรวงต่างประเทศทั้งสองจะต้องทราบเป็นอย่างดีว่า MOU’43 นั้น
ขัดต่อกฎหมายภายในของแต่ละประเทศของตน การทำบันทึก MOU’43
ที่ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญของไทยและของกัมพูชาและผิดกฎหมายอาญาของไทยแล้ว
ในทางกฎหมายระหว่างประเทศถือได้ว่า MOU’43 ขัดต่อหลักกฎหมายเด็ดขาด ( JUS
COGENS ) บันทึก MOU’43 จึงเป็นโมฆะตั้งแต่วันที่ทำบันทึกดังกล่าว
และไม่มีผลผูกพันรัฐไทย
การที่กัมพูชานำเรื่องไปสู่ศาลโลกโดยอ้างถึงการขอให้ศาลตีความในคำพิพากษา (ซึ่งผ่านมาเกือบ 50 ปี แล้ว )
ซึ่ง
กัมพูชาและไทยต่างก็ต้องทราบดีว่า
ไม่มีเหตุผลและประเด็นตามข้ออ้างที่จะนำคดีไปสู่ศาลโลกได้แต่อย่างใด
ซึ่งรัฐบาลและทนายความมีหน้าที่และงานในวิชาชีพทางกฎหมายจะต้องรู้ว่ารัฐไทย
ไม่มีพันธกรณีที่จะต้องตกอยู่ในอำนาจการบังคับของศาลโลกแล้ว
ก็จะต้องดำเนินการไม่ให้รัฐไทยต้องตกอยู่ในอำนาจการบังคับของศาลโลก
ซึ่งหากมีการได้ดำเนินการใดๆ ให้รัฐไทยต้องตกอยู่ในอำนาจของศาลโลกแล้ว
เพียงเท่านี้ผู้มีส่วนร่วมในการกระทำดังกล่าวก็เข้าข่ายของการกระทำความผิด
อาญาในข้อหาความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักรได้
อันเป็นการกระทำที่ต่างกรรม ต่างวาระกัน
และ
หากปรากฏว่ารัฐไทยยินยอมให้ศาลโลกพิจารณาวินิจฉัยคดีตามที่กัมพูชาดำเนินการ
แล้ว โดยรัฐไทยไม่ยกประเด็นMOU’43 ขึ้นว่ากล่าวว่าเป็นการร่วมกันทุจริต (Corruption )
ระหว่าง
รัฐบาลไทยชุดก่อนและรัฐบาลกัมพูชา
เพราะได้มีการร่วมกันทำผิดกฎหมายซึ่งเป็นกฎหมายภายในของทั้งสองประเทศขึ้น
ต่อสู้ เพื่อตัดอำนาจการดำเนินคดีของกัมพูชาแล้ว
การกระทำของบุคคลที่เกี่ยวข้องให้มีการดำเนินคดีในศาลโลกดังกล่าวก็จะมีความ
ผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักรซึ่งเป็นความผิดคนละกรรมต่างกัน
และ
ทั้งกัมพูชาและรัฐบาลไทยต้องรู้ว่าการร่วมกันทำ MOU’43
โดยมีการสละเขตแดนของไทยให้กัมพูชาโดยผิดกฎหมายภายในของประเทศทั้งสองนั้น
ย่อมเป็นการที่รัฐบาลสองประเทศร่วมกันกระทำการทุจริตอันเป็นการกระทำที่ขัด
ต่อกฎบัตรสหประชาติ (United nation convention against corruption)
ซึ่งรัฐบาลกัมพูชาและรัฐบาลไทยจะนำคดีมาสู่ศาลโลกไม่ได้เลย อันเป็นหลักสากลที่คู่กรณีต้องไปศาลโดยมือสะอาด (Clean hand doctrine) หาใช่สมคบกันมาศาลโลกเพื่อใช้ศาลโลกเป็นเครื่องมือเพื่อปิดบังการกระทำการอันเป็นการทุจริตของตนนั้นหาได้ไม่
โดย ยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ - 4 พฤษภาคม 2554