บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทภ.2 ชี้สายลับเขมรลงรหัสตรงที่ตั้งทหารไทย


นายโกย กวง โฆษกรัฐบาลกัมพูชา


โฆษกทัพภาค2 ระบุรหัส10หลักในแผนที่ตรงที่ตั้งฐานทหารไทย รวบรวมหลักฐานส่งอัยการฟ้องศาล ผบ.ฉก.ทหารพราน23 วอนปชช.แจ้งเบาะแสสายลับ


จาก การจับ 3 สายลับกัมพูชาเมื่อ 7 มิ.ย.ที่ผ่านมา โดยทหารกองกำลังสุรนารี กองทัพภาคที่ 2 ร่วมกับตำรวจ สภ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ จับกุมนายสุชาติ มูฮัมหมัด อายุ 32 ปี สัญชาติไทย นายอึ้ง กิมไท อายุ 43 ปี สัญชาติกัมพูชา และนายเหวียง เติ้งยัง อายุ 31 ปี สัญชาติเวียดนาม ขับรถกระบะโตโยต้า วีโก้ ทะเบียน ชว-1901 กทม. ไปสอดแนมที่บ้านภูมิซรอล อ.กันทรลักษ์  
ขณะที่ ทางการกัมพูชายังแถลงปกป้องคนทั้งสามว่า ไม่ใช่จารชน โดย นายโกย กวง โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา ระบุว่ากงสุลกัมพูชาในไทย ตั้งทนายความ 4 คนช่วยสู้คดีด้วย และกล่าวหาไทยสร้างเรื่องเพื่อกดดันให้มีการแลกตัวกับนายวีระ สมความคิด และน.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ที่ถูกขังเรือนจำกัมพูชา และหวังผลต่อคณะกรรมการมรดกโลก
ล่าสุด วานนี้(14 มิ.ย.) พันเอกประวิทย์ หูแก้ว โฆษกกองทัพภาคที่ 2 แถลงยืนยันว่า ผู้เชี่ยวชาญภาษาและทางทหารได้สอบสวนผู้ต้องหาทั้งสามคนเพิ่มเติม โดยเฉพาะรหัสตัวเลข 10 หลักกำกับในแผนที่ทางทหาร 10 ชุด บางชุดตรงกับจุดที่ตั้งฐานทหารฝ่ายไทยจริง มีแนวโน้มว่าทั้งสามคนเป็นสายลับกัมพูชาจริง ซึ่งกำลังรวบรวมหลักฐานเพื่อส่งฟ้องต่ออัยการและศาลต่อไป 
"ส่วนกัมพูชากล่าวหาไทยสร้างหลักฐาน เท็จนั้น ไม่เป็นความจริง กระบวนการยุติธรรมประเทศไทยจะให้ความยุติธรรมกับทุกคน ซึ่งไม่มีใครสามารถเข้าไปแทรกแซงได้อยู่แล้ว" โฆษกกองทัพภาคที่ 2 กล่าว
วันเดียวกันนี้ นายเจษฎา กตเวทิน รองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า วันที่ 14 มิ.ย. นายวีระชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้ยื่นข้อคิดเห็นฝ่ายไทยต่อเอกสารของฝ่ายกัมพูชา เกี่ยวกับการสู้รบระหว่างไทยกับกัมพูชาเมื่อปลายเม.ย.ที่ผ่านมา รวมทั้งจำนวนประชาชนที่อาศัยตามแนวชายแดน และตัวเลขผู้อพยพยื่นต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ไอซีเจ) ซึ่งให้ทั้งสองฝ่ายได้ยื่นหลักฐานเพิ่มเติมอีกครั้ง เพื่อให้แต่ละฝ่ายได้แสดงข้อสังเกตในเอกสารข้อมูลระหว่างกัน
สระแก้วทำประวัติ 55 เขมรมุสลิม
ขณะ ที่ชายแดนด้าน จ.สระแก้ว วันเดียวกันนี้ พ.ต.ท.เบญจพล รอดสวาสดิ์ รอง ผกก.ตม.จว.สระแก้ว พ.ต.ท.สมศักดิ์ เจียมกรกต สว.ตม.จว.สระแก้ว ประสานกับ พ.ต.ท.จตุรภัทร สิงหัสฐิต สวป.สภ.คลองลึก พ.ต.ท.ธัชชัย ทิพเนตร สว.ตร.ทท.สระแก้ว และฝ่ายความมั่นคงกองกำลังบูรพา กองทัพภาคที่ 1 ร่วมกันตรวจสอบและทำประวัติชาวกัมพูชา 225 คน จากฝั่งปอยเปต ประเทศกัมพูชา เข้ามาฝั่งไทยอย่างละเอียด 

จากการตั้งจุดร่วมตรวจค้นยาเสพติด บริเวณทางเข้าตลาดโรงเกลือ หน้าด่านพรมแดนอรัญประเทศ พบชาวกัมพูชาจำนวนมากเดินแบกสัมภาระข้ามด่านมา สอบถามทราบว่า เป็นชาวกัมพูชามุสลิม 55 คน แยกเป็นชาย 34  หญิง 21 คน อ้างว่าจะไปเที่ยวเยี่ยมญาติที่ปัตตานี และ นราธิวาส ถือพาสปอร์ตกัมพูชา วีซ่าระบุมาท่องเที่ยว 14 วัน จึงตรวจสอบถ่ายรูปทำประวัติไว้อย่างละเอียด ก่อนอนุญาตเดินทางต่อไปได้ 
"กษิต-ฮอ" ถกส่งคณะผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย ที่ กระทรวงการต่างประเทศ เมื่อเวลา 16.00 น. นายเจษฎา กตเวทิน รองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงคณะเจ้าหน้าที่สำรวจล่วงหน้าไปยังพื้นที่ปะทะในกัมพูชาแล้ว ว่า เป็นข้อมูลที่คาดเคลื่อน ซึ่งในข้อเท็จจริงเป็นเพียงเจ้าหน้าที่การทูตลงดูพื้นที่เท่านั้น ซึ่งฝ่ายไทยยังยืนยันว่า การประชุมจีบีซี จะต้องทำควบคู่กับการส่งคณะเจ้าหน้าที่สำรวจล่วงหน้าลงพื้นที่ปะทะ ที่จะนำไปสู่การลงนามในหนังสือข้อตกลงการส่งคณะผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียลง พื้นที่ต่อไป
เนื่องจากการประชุมจีบีซี จะเป็นเวทีการหารือเรื่องการถอนกำลังทหาร และควรกำหนดเรื่องนี้ให้เรียบร้อยก่อนที่จะมีการส่งคณะผู้สังเกตการณ์ลง พื้นที่ แม้ว่า เรื่องนี้จะมีความเห็นที่ขัดแย้งจากฝ่ายกัมพูชาที่ต้องการลงนามข้อตกลงก่อน ที่จะมีการประชุมจีบีซีขึ้น แต่ในระดับเจ้าหน้าที่ก็พยายามเจรจาหาทางออกและหาจุดร่วมระหว่างกัน โดยในระหว่างการประชุมอาเซม ที่ประเทศฮังการี เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้พบปะหารือกับนายฮอร์ นัม ฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา เพื่อผลักดันหาทางออกในความเห็นไม่ตรงกันระหว่างไทย - กัมพูชา เกี่ยวกับร่างขอบเขตอำนาจหน้าที่ (ทีโออาร์) การส่งคณะผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียลงพื้นที่ 
อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่า ท่าทีของไทยไม่ได้พยายามสร้างเงื่อนไขขึ้นมาใหม่ แต่เป็นสิ่งที่ตกลงกันไว้ตามที่รัฐมนตรีกลาโหมของไทยและกัมพูชา ได้ตกลงกันไว้ในการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ในวันที่ 18-19 พ.ค.ที่ผ่านมา ที่ประเทศอินโดนีเซีย
ทหารวอนปชช.แจ้งเบาะแสสายลับชายแดน
ที่ค่ายพิทักษ์อุทุมพรเขต หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 23 บ้านน้ำเย็น อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ พ.อ.ธนศักดิ์ มิตรภานนท์ ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจ  กล่าวว่า ขณะนี้แม้ว่าไทยเราจะจับกุมสายลับจาก 3 ชาติได้แต่ตนยังมีความเชื่อว่ายังคงมีสายลับที่กระจายอยู่ในพื้นที่ในแถบชาย แดนไทย-กัมพูชา โดยเฉพาะในเขตอำเภอน้ำยืน จ.อุบลราชธานี, หมู่บ้านภูมิชรอล ต.เสาธงชัย อ.กันทรลักษ์ บริเวณช่องสะงำ อ.ภูสิงห์ หรือแม้กระทั่งชายแดนไทย-กัมพูชา จ.สุรินทร์ จึงอยากจะขอความร่วมมือจากราษฎรที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดน ได้ช่วยกันเฝ้าระวังกลุ่มบุคคล หรือบุคคลแปลกหน้า โดยเฉพาะหากเป็นชาวต่างชาติ อย่าได้ไว้วางใจให้เฝ้าระสังเกตดูว่า เขามีเข็มทิศไหม มีแผนที่ประเทศเราติดตัวมารึเปล่า 

ซึ่งหากพบสิ่งเหล่านี้ก็อาจจะเป็นผู้ ที่ไม่หวังดีกับประเทศของเรา เพื่อป้องกัน และดูแลรักษาความปลอดภัยของชายแดน ความปลอดภัยของราษฎรตามแนวชายแดน และความปลอดภัยของประเทศชาติ ต้องขอแรงประชาชนรีบแจ้งท่านกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ให้รีบแจ้งทหารที่ตรึงกำลังตั้งด่านอยู่ให้ทราบทันที เพื่อเราจะข้าดำเนินการตรวจสอบจับกุมต่อไป   
ส่วนสายลับ 3 คนที่ถูกจับกุมได้ถูกคุมขังที่เรือนกันทรลักษ์ สายลับคนไทยยอมให้ปากคำ แต่สายลับจากกัมพูชา และเวียดนามยังไม่พูด อ้างว่ารอกงสุล และทนายจากประเทศตนเท่านั้น

ทำใมเราต้องไปยื่นหนังสือกับ UNESCO ในวันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน ??

โดย Annie Handicraft เมื่อ 14 มิถุนายน 2011 เวลา 10:43 น.
การ ที่เราต้องไปยื่นหนังสือกับ UNESCO ในวันศุกร์ที่  17 มิถุนายน พศ 2554 ในความคิดเห็นของตัวเองนั้นเพราะว่าวิธีคิดและการกระทำของรัฐบาลและ UNESCO สุ่มเสี่ยงอย่างมากที่จะทำให้ประเทศไทยของเราต้องเสียดินแดนในรัชสมัยนี้

การที่คุณสุวิทย์ คุณกิตติ บอกว่าจะต้องมีการปักปันเขตแดนก่อนนั้น เราปักปันเขตแดนโดยใช้สันปันน้ำแล้ว ตามสนธิสัญญา 1904  คุณสุวิทย์และรัฐบาลเข้าใจแจ่มแจ้งหรือเปล่าว่า เส้นสันปันน้ำอยู่ที่ใด อีกทั้งยังมีคำสงวนสิทธิ์ของรัฐบาลไทยตาม พศ 2505ต่อศาลโลก ที่ยังยึดสันปันน้ำเป็นเครื่องยืนยัน และข้อสงวนสิทธิ์ที่จะเอาปราสาทพระวิหารกลับคืนมา สรุปว่ารัฐบาลจะเปลี่ยนแปลงทุกอย่างที่สำเร็จแล้วของเรื่องนี้เมื่อปีพศ 2505หรือคะ  ตกลงหมายความว่าอย่างไร จะเอาอย่างไร

MOU43 คือจุดเปลี่ยนของหลักเขตแดน 73 หลัก และแนวเขตสันปันน้ำบริเวณปราสาทพระวิหาร นายกอภิสิทธิ์ ยืนยันว่าสันปันน้ำอยู่ที่เป้ยตาดีด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์และทางธรณีวิทยา เพราะฉะนั้น
๑. ปราสาทพระวิหารสามารถกลับมาเป็นของเราตามข้อสงวนสิทธิ์ที่ท่านถนัด คอมันต์ ได้ตั้งข้อสงวนไว้กับสหประชาติเมื่อ พ.ศ.2505

๒.ตามหลักการใช้สันปันน้ำเป็นตัวแบ่งเขตแดน เป้ยตาดีชะง่อนผาและปราสาทพระวิหารก็ยังคงต้องเป็นของเราอยู่

3. การปักปันเขตแดนที่ใช้สันปันน้ำเราปักปันไปแล้วตามสนธิสัญญา 1904 ดังนั้นการที่รัฐบาลกล่าวว่าต้องปักปันเขตแดนก่อน รัฐบาลใช้ความคิดแบบไหนเป็นตรรกะในการคิด

ถ้ารบ.ต้อง การจะขอขึ้นร่วมมรดกโลกกับกัมพูชา ตามที่นางอิริน่า โบโกว่า แนะนำนั่นคือรัฐบาลใช้เส้นสันปันน้ำที่ปรากฏบนแผนที่มาตราส่วน 1:200,000 

การ ที่คุณสุวิทย์ไปเซ็นร่างสัญญาข้อตกลงไว้ในเอกสาร WHC-10/34.COM/7B.Add.3 มีวิธีแก้ไขสถานการณ์ที่ง่ายสุด ตามที่หลายๆท่านได้แนะนำคือ ถอนตัวออกจากการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลก เพื่อประท้วงต่อมติคณะกรรมการมรดกโลกทั้งหมด และไม่ให้ปัญหาบานปลายไปถึงรัฐบาลชุดหน้า และ ไม่มีความจำเป็นใดๆต้องเลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการออกไป เพราะเป็นเพียงแค่การหนีเอาตัวรอดของรัฐบาลชุดนี้ อีกทั้งยังมีความเสี่ยงมากในอนาคต

 ในวันนี้ (วันอังคารที่ 14) คุณสุวิทย์ คุณกิตตินัดประชุมร่วมกับคณะมรดกโลกชุดใหญ่โดยมีดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรีเป็นประธาน จะกำหนดท่าทีและแนวทางการทำงานก่อนเดินทางไปประชุมมรดกโลกที่ปารีส วันที่17 มิย. หัวข้อเรื่องกำหนดท่าทีต่อข้อเสนอของนางอิริน่า โบโกว่า ที่ต่อรอง "ให้ไทยร่วมในแผนการบูรณะปราสาทพระวิหาร" แลกกับการเลื่อนแผนบริหารจัดการพท.ของกพช.ออกไปอีกหนึ่งปี ข้อเสนอของยูเนส โกในเรื่องบูรณะปฏิสังขรณ์ปราสาทพระวิหาร เป็นเรื่องที่ไม่สมควรทำ เพราะนี่คือก็การตอกย้ำว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นของกัมพูชา เพราะเป็นการร้องขอโดยฝ่ายกัมพูชา อ้างว่ามีความเสียหายโดยเกิดขึ้นจากการปะทะของฝ่ายไทย เป็นการรุกคืบสร้างหลักฐานเพื่อนำไปใช้ในเวทีนานาชาติ ซึ่งเคยเกิดขึ้นมาแล้วเมื่อปี 2505 เช่นเดียวกับที่ยูเนสโกสนับ สนุนเงิน 5 หมื่นเหรียญสหรัฐฯให้กัมพูชานำมาซ่อมและสร้างตลาดในดินแดนประเทศไทย เป็นการละเมิดอธิปไตยของไทยโดยยูเนสโกอย่างชัดเจน

จุด ประสงค์ของการไปยื่นหนังสือเพื่อขอให้ตั้งกรรมการสอบสวนรัฐภาคีกัมพูชา ศูนย์กลางมรดกโลกและคณะกรรมการมรดกโลกที่มีมติที่ประชุมครั้งที่ 31-34 และที่สำคัญร้องขอให้คณะกรรมการมรดกโลกลบรายชื่อ"ปราสาทพระวิหาร"ออกจาก บัญชีมรดกโลกนั้นจึงสมเหตุสมผลที่จะต้องกระทำเป็นอย่างยิ่ง

แต่ เดิมทหารไทยรักษาการณ์อยู่ฝั่งนี้ส่วนนอกประตูเหล็กทหารกัมพูชานั่งอยู่ เรายังครอบครองพื้นที่ปราสาทพระวิหารไปจนถึงเป้ยตาดี นอกรั้วลวดหนามเป็นการกั้นอาณาบริเวณไม่ใช่พรมแดนตามที่เข้าใจกัน พูดง่ายๆกัมพูชามีสิทธิในตัวปราสาทเฉพาะอำนาจอธิปไตยซึ่งไทยสงวนสิทธิ์ในการ ทวงคืนไว้แล้วครับ
ขอบคุณภาพโดยอ.เทพมนตรี ลิมปพยอม
นายก พูดถึงปราสาทพระวิหาร ถ้าท่านพูดจริงว่าดินแดนของเราอยู่ที่สันปันน้ำ เขมรได้เฉพาะตัวปราสาท เขมรมีสิทธิ์อยู่ในรั้วลวดหนามตามภาพข้างบน นอกนั้นท่านต้องจัดการผลักดัน เขาขึ้นมาอยู่ได้เพราะ MOU43 หมูของเขมรที่ท่านกอดอยู่ ถ้าท่านไม่ทำถือว่าโกหกและเอาตัวรอด (ปล.แต่สันปันน้ำของนักวิชาการ ๗.๑ ล้านไม่ใช่ที่หน้าผาแต่อยู่ที่แผนที่ ๑:๒๐๐,๐๐๐๐ ระวางดงรัก เอากับไอ้พวกนี้ซิมั่วสิ้นดี)
ข้อความและภาพโดยอ.เทพมนตรี ลิมปพยอม
เอกสาร WHC-10/34.COM/7B.Add.3และผลของมันคือ คณะกรรมการได้ออกมติ 5 ข้อ ดังปรากฏในข้อมติที่ 34.COM.7B.66 ซึ่งนายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมได้ยอมรับและได้ลงนามรับรอง พร้อมกับ นายซก อัน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา โดยมี นาย โฮโอ ลูอิซ ซิลว่า เฟอริลล่า รัฐมนตรีวัฒนธรรมบราซิล ซึ่งเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการมรดกสมัยที่ 34 เป็นสักขีพยาน

ในข้อมติ 34.COM.7B.66 มีข้อความดังนี้
1. ได้รับเอกสาร WHC-10/34.COM/7B.Add.3 เรียบร้อยแล้ว

2. อ้างอิงถึง ข้อมติที่ 31COM.8B.24, 32COM.8.B.102, และ 33COM.7B.65 ซึ่งได้มีผ่านการอนุมัติในการประชุมสมัยที่ 31 (ไครเชิส ปี 2007) สมัยที่ 32 (ควิเบก ปี 2008) สมัยที่ 33 (เซวิญา ปี 2009) ตามลำดับ

3. ให้บันทึกว่า คณะกรรมการมรดกโลก ได้รับเอกสารที่เสนอโดยรัฐภาคีแล้ว

4. คณะกรรมการได้ให้การต้อนรับมาตราการที่รัฐภาคีได้จัดทำเพื่อการจัดตั้งคณะ กรรมการประสานงานระหว่างประเทศ (ICC) เพื่อการฟื้นฟูปราสาทพระวิหารอย่างยั่งยืน

5. มีมติให้มีการพิจารณาเอกสารที่เสนอโดยรัฐภาคีในสมัยประชุมที่ 35 ในปี 2010
ข้อความและถาพโดย อ.เทพมนตรี ลิมปพยอม

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง