บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2554

สัมพันธ์ลึก-ผลประโยชน์ลงตัว ปราสาทพระวิหาร-ทักษิณ-อัลฟาเยด-ปตท.

สัมพันธ์ลึก-ผลประโยชน์ลงตัว
เริ่มหัวข้อโดย: phan ที่ กันยายน 12, 2008, 04:47:18 pm

สัมพันธ์ลึก-ผลประโยชน์ลงตัว ปราสาทพระวิหาร-ทักษิณ-อัลฟาเยด-ปตท.


เครือข่าย 'ทักษิณ' ไม่เพียงแต่เป็นเชื้อชั่วที่ยังไม่ตาย แต่ยังเป็นเชื้อร้ายที่แข็งแรงคอยทำร้ายประเทศไทย ไม่เว้นแม้กระทั่งเรื่อง 'น้ำมันแพง' และ 'ปราสาทพระวิหาร' ที่กลายเป็นเรื่องสมประโยชน์เติมพลังให้เครือข่ายทักษิณอย่างแทบไม่น่าเชื่อ ขณะเดียวกันคนไทยทั้งประเทศต้องสูญเสียและเจ็บปวดกับความรู้สึกที่ว่า

"คนไทยทำร้ายคนไทยด้วยกันเอง"

น้ำมันแพงทำให้คนไทยน้ำตาเล็ด เพราะข้าวของแพง แต่กลุ่มคนเครือข่ายทักษิณ ตั้งแต่เพื่อนต่างชาติอย่าง 'โมฮัมเหม็ด อัลฟาเยด' เจ้าของห้างสรรพสินค้า แฮร์รอดส์ เพื่อนสนิททักษิณ กุนซือ และลิ่วล้อในคราบของผู้บริหารกิจการด้านพลังงาน และธุรกิจยักษ์ใหญ่อย่าง ปตท. กลับเริงร่ากับเม็ดเงินกำไร รายได้ เงินเดือน หุ้นและโบนัส และยิ่งคนไทยเสี่ยงต้องเสียดินแดนในเขตชายแดนไทย-กัมพูชา หลังจากปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกแล้ว เครือข่ายของทักษิณยิ่งมีโอกาสร่ำรวยมากขึ้นจากบ่อน้ำมันและก๊าซในกัมพูชา

เรื่องราวเหล่านี้เกี่ยวพันกันอย่างทับซ้อน ลึกซึ้ง และเนิ่นนาน ด้วยผลประโยชน์ร่วมกันอย่างลงตัว

น้ำมัน-ก๊าซล้นกัมพูชา

นิตยสาร Positioning ฉบับเดือนกรกฎาคม 2008 รายงานไว้ว่า แหล่งน้ำมันและก๊าซของประเทศกัมพูชายังมีอีกจำนวนมาก ตามรายงานที่เปิดแผยโดย TE DUONG TARA ผู้อำนวยการ Cambodian National Petroleum Authority เมื่อ 2 ปีก่อนระหว่างการประชุมว่าด้วยเรื่องเทคโนโลยีปิโตรเลียมของอาเซียนครั้งที่ 4 ปรากฏแผนที่ประเทศกัมพูชาที่มีการสำรวจแหล่งพลังงาน พบแหล่งก๊าซ และน้ำมันทั้งบริเวณนอกชายฝั่งและชายฝั่งของประเทศ รวมทั้งทะเลสาบโตนเลสาบ ใจกลางประเทศกัมพูชา ซึ่งที่ผ่านมากัมพูชาได้เปิดให้ต่างชาติเข้าไปสำรวจขุดเจาะพื้นที่นอกชาย ฝั่งในอ่าวไทยแล้วบางส่วน เช่น เชฟรอน และไทยโดย ปตท.สผ. บริษัทลูกของ ปตท. โดยมีข้อตกลงที่ลงตัว แม้ว่าจะเป็นพื้นที่ทับซ้อนกันอยู่

นอกจากนี้ ยังปรากฏชัดว่ามีแหล่งน้ำมันบริเวณชายฝั่ง จังหวัดเกาะกง พื้นที่เป้าหมายที่ทักษิณจะไปลงทุนพร้อมกับโมฮัมเหม็ด อัลฟาเยด อย่างที่ พลเอกเตีย บัญ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กัมพูชา ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนไทยว่า ทักษิณจะลงทุนธุรกิจพลังงาน เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติในกัมพูชา หลังจากที่ได้หารือกับ สมเด็จฯ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาเรียบร้อยแล้ว เป็นขั้นตอนต่อจากที่ไทยให้ความช่วยเหลือกัมพูชามาตั้งแต่สมัยรัฐบาลทักษิณ ในการสร้างถนนหมายเลข 48 ที่เชื่อมต่อการเดินทางจากชายแดนไทย เกาะกง ไปยังพนมเปญให้สะดวกขึ้น ซึ่งการเปิดถนนยังมี สมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะน้องเขยของทักษิณ ร่วมพิธิเปิดอีกด้วย

และที่เกาะกงนี้ ยังมีแหล่งพักผ่อน รีสอร์ตดังอย่าง สีหนุวิลล์ เป็นจุดขาย อีกในปัจจุบัน

ทักษิณ-อัลฟาเยด-ปตท.สผ.

ทักษิณและกัมพูชากำลังพัฒนาความสัมพันธ์เพื่อผลประโยชน์ด้านพลังงาน นับเป็นการขึ้นมายืนอยู่หน้าฉากอย่างชัดเจนของทักษิณ หลังถูกรัฐประหารออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทยเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549

ทักษิณไม่ได้เริ่มธุรกิจพลังงานนี้จากศูนย์อย่างแน่นอน เพราะความร่วมมือกับอัลฟาเยดอย่างที่บิ๊กกัมพูชาให้สัมภาษณ์นั้น คงไม่จบที่การพัฒนาเกาะกงให้เป็นเอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์เท่านั้น เพราะอัลฟาเยดหากินกับอ่าวไทยและคนไทยมานาน ผ่าน ปตท.สผ. บริษัทลูกของ ปตท.

ย้อนหลังเมื่อธันวาคม 2542 สื่อต่างชาติอย่างน้อย 2 แห่ง ที่ยังสามารถสืบค้นข้อมูลได้ทางเครือข่ายออนไลน์ คือ Asian Economic News และนิตยสาร Offshore ลงข่าวพร้อมเพรียงกัน ว่า

"หลังจากโมฮัมเหม็ด อัลฟาเยดจัดตั้ง บริษัท แฮร์รอดส์ เอเนอร์ยี (Harrods Energy) ก็ได้สิทธิสำรวจน้ำมันใน 4 แปลงขุดเจาะในอ่าวไทย คือ B2/38, B11/32, B11/38 และ B12/32 ห่างจากชายฝั่งระยอง 150 กิโลเมตร โดยมีศักยภาพในการขุดเจาะน้ำมันวันละ 8,000 บาร์เรล ซึ่งในการสำรวจขุดเจาะครั้งนั้น Harrods Energy ถือหุ้น 50 เปอร์เซ็นต์ในการลงทุนสำรวจขณะที่ ปตท.สผ. ถือหุ้น 50 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือ"

นิตยสาร Positioning ยังรายงานด้วยว่า แฮร์รอดส์ เอเนอร์ยี เปลี่ยนชื่อเป็นเพิร์ลออยล์ในเวลาต่อมา มีบริษัทในไทยรวม 8 บริษัท โดยผู้ถือหุ้นใหญ่คือบริษัทที่จดทะเบียนในบริติชเวอร์จิ้น

การเข้ามาของอัลฟาเยด อาจไม่ง่าย หากไม่มีเทคโนแครต เสนาบดีของไทยกรุยทาง นี่คือผลพวงที่สะท้อนให้เห็นชัดเจนถึงองค์กรที่กลวง จนทำให้กลุ่มคนที่ต้องการหาประโยชน์เข้ามาได้อย่างง่ายดาย และเป็นเวลานาน โดยเฉพาะ ปตท. หน่วยงานที่เคยเป็นความหวังของคนไทยด้านพลังงาน

ไม่ผิดหาก ปตท. จะกำไร และมีเป้าหมายอย่างที่ ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ซีอีโอของ ปตท. ตั้งเป้าหมายให้ ปตท. เป็นบริษัทข้ามชาติภายในปี 2555 มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 94,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากปี 2550 ที่มีรายได้ 47,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้น 15 เปอร์เซ็นต์ต่อปี และตั้งแต่ปี 2555 รายได้เพิ่มอีกปีละ 8 เปอร์เซ็นต์ จนในปี 2563 มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 176,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมกับความเป็นบริษัทชั้นนำ ติดอันดับ 100 บริษัทของฟอร์จูนภายในปี 2555 จากเมื่อปี 2550 ปตท. อยู่ในอันดับ 207

บิ๊ก ปตท. รวยล้น

เมื่อบริษัทร่ำรวยย่อมทำให้ผู้บริหารที่มาทำงานที่นี่ร่ำรวยไปตามกัน รายงานประจำปีของ ปตท. ระบุชัดเจนถึงผลตอบแทนทั้งโบนัส เงินเดือนที่บอร์ด ปตท. ได้รับ และผู้บริหารที่ร่ำรวยจากหุ้น

เฉพาะบอร์ดกว่า 10 คน ได้เบี้ยประชุม โบนัส เฉพาะที่ทำงานให้ ปตท. เท่านั้นรวมกันถึง 42 ล้านบาทโดยมี โอฬาร ไชยประวัติ ซึ่งปัจจุบันมีตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยชินวัตร และประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด และ สุชาติ ธาดาธำรงเวช อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง อดีตที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของนายกรัฐมนตรี (ทักษิณ) ได้รับสูงสุดคนละกว่า 3 ล้านบาท

สำหรับผู้บริหาร ระดับสูงของ ปตท. ตั้งแต่ระดับกรรมการผู้จัดการใหญ่ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ได้เงินเดือน โบนัส รวมประมาณ 74 ล้านบาท ซึ่งผู้บริหารที่มีหุ้นมากสุดคือ จิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจสำรวจ ผลิต และก๊าซธรรมชาติ ณ 31 ธันวาคม 2550 มีหุ้นเหลืออยู่ 175,830 หุ้น คิดเป็นมูลค่าประมาณ 65,408,760 บาท เฉพาะประเสริฐที่วันนี้เจ้าตัวยืนยันว่าไม่มีหุ้นแล้ว แต่หากย้อนหลังไปเมื่อปี 2548 เขาได้หุ้น ESOP เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2548 จำนวน 243,000 หุ้น (บันทึกราคาที่ 0.00 บาท) และ 1 ปีให้หลังได้โอนออก 60,700 หุ้น และ 29 กันยายน 2549 ได้อีก119,000 หุ้น จากนั้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2550 ได้ขายออกครั้งละ 5,000 หุ้นบ้าง 60,000 หุ้นบ้าง ในราคาเฉลี่ย 330-370 บาท จนล่าสุดเมื่อ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 ได้ ESOP อีก 87,000 หุ้น

นี่คือความร่ำรวยของ ปตท. ซึ่งถูกตั้งคำถามว่าเป็นธรรมหรือไม่ที่รายได้มากมาย มาจากความลำบากของประชาชนคนไทย เพราะการผูกขาด และการคิดราคาน้ำมันอย่างไม่เป็นธรรม

น้ำมันแพงตามสูตรสิงคโปร์

ปตท. ผูกขาดธุรกิจโรงกลั่นทั้งหมด 5 โรงจากที่มีอยู่ทั้งหมด 7 โรง คิดเป็นกำลังการผลิตกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของทั้งประเทศ ปั๊มน้ำมันทั่วประเทศต้องซื้อจากโรงกลั่นในเครือของ ปตท. โรงกลั่นที่ต้องการกำไรทำให้ ปตท. อ้างอิงราคาน้ำมันในตลาดสิงคโปร์ที่เป็นแหล่งซื้อขายและปั่นราคาน้ำมันที่ คิดล่วงหน้า 1-2 เดือน ทั้งที่โรงกลั่นซื้อน้ำมันดิบส่วนใหญ่จากตะวันออกกลางและบางส่วนจากในประเทศ ไทย

แม้จะมีเสียงคัดค้านว่าไม่จำเป็นต้องอ้างอิงราคาสิงคโปร์ แต่ ปตท. ก็พยายามชี้แจงว่าจำเป็นเพราะเป็นไปตามการคิดราคาในกลไกของตลาดโลก แม้จะฟังไม่ขึ้น แต่ ปตท. ก็ยังคงเดินหน้าคิดราคาน้ำมันที่ยึดราคาสูงเป็นที่ตั้ง นอกเหนือจากภาษีต่างๆ และค่าขนส่งหลายส่วนมาประกอบกันจนแพงอย่างที่ต้องจ่ายกัน

ราคา หน้าโรงกลั่น=ราคานำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากต่างประเทศ (Import parity Price) ที่มาจากราคาน้ำมันจรในตลาดจรที่สิงคโปร์ (FOB)+ค่าขนส่ง+ค่าประกันภัย+ค่าจัดเก็บน้ำมัน+ภาษีศุลกากรนำเข้า

ค่าการตลาด=ค่าสารปรับปรุงคุณภาพ+ค่าขนส่ง+ค่าส่งเสริมการตลาด+ค่าผลตอบแทนในการดำเนินธุรกิจ

ในที่สุดปัญหาจากราคาน้ำมันแพง ไม่ใช่เพราะตลาดโลกหรือเพราะตลาดสิงคโปร์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะประเสริฐได้เฉลยออกมาด้วยตัวเองว่าเพราะ ปตท. ต้องกำไรและ ปตท. อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ

"อยู่ ที่ว่าสังคมไทยอยากให้ ปตท. เป็นยังไง และวันนี้ ปตท. ก็อยู่ในตลาดฯ (ตลาดหลักทรัพย์ฯ) ก็อยู่ที่สังคมไทยว่าอยากให้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือเปล่า ผมเป็นผู้บริหาร เป็นพนักงาน ปตท. ผมก็อยากทำอะไรให้ดีที่สุดแก่ทุกฝ่าย และสอดคล้องกับแนวทางที่ทั่วโลกทำกัน ถ้าเผื่อว่าเราซึ่งเป็นประเทศ Net Import Country มาบิดเบือนโครงสร้างราคาและเราต้องนำเข้า ประชาชนก็ไม่รู้จักประหยัด เราก็ต้องไปเอาก๊าซหุงต้มเข้ามาแล้ว เราต้องอุดหนุน สุดท้ายจะเอาเงินมาจากไหน ปตท. ก็อุดหนุนไปหลายหมื่นล้านบาทแล้ว ถ้าเอา ปตท. เป็นหน่วยอุดหนุน ปตท. ก็ต้องไปเป็น Non Profit Organization ก็อย่าให้ ปตท. เป็นบริษัทอยู่ในมหาชน ก็เอา ปตท. ออกจากตลาดฯ ปตท. ก็จะเป็นเหมือนรัฐวิสาหกิจที่จะไม่สามารถสนองนโยบายรัฐได้เหมือนในบางรัฐ วิสาหกิจ"

ณ วันนี้เค้าลางที่คนไทยจะต้องลำบากต่อไปกับราคาพลังงานที่แพงขึ้นกำลังชัด ขึ้น เพราะไม่ว่าจะเป็นก๊าซ แอลพีจี เอ็นจีวี และแม้แต่อี 85 ก็กำลังถูกครอบงำด้วยกลุ่มทุนที่มีรากฐานมาจากธุรกิจที่ต้องการกำไรเป็นที่ ตั้งทั้งสิ้น และที่สำคัญคือการผูกขาดโดย ปตท.

กลุ่มทุนฮุบ E85-LPG-NGV

ไม่ว่าจะเป็น E20 หรือ E85 คือหนทางทำให้คนไทยได้ใช้น้ำมันถูกขึ้น เพราะมันเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่นำเอทานอลมาผสมน้ำมันเบนซิน ซึ่งเอทานอลมาจากพืชและมันสำปะหลัง

โรงงานเอทานอลขนาดใหญ่ ล้วนมาจากทุนระดับบิ๊ก ไม่ว่าจะเป็นของค่ายเบียร์ช้างที่เปิดเผยตัวชัดเจน และยังมีเครือข่ายที่ไม่เปิดเผยตัวชัดเจน ทั้งกลุ่มเบียร์สิงห์ กลุ่มคอมลิงค์ ตัวแทนและกลุ่มของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย จนมาถึงกลุ่มเทมาเส็กที่ยอมจ่ายเงินให้ทักษิณ 73,000 ล้านบาท เพื่อซื้อหุ้นชินคอร์ป

เช่นเดียวกับธุรกิจก๊าซที่ต้องยกให้ว่าเป็นลับ-ลวง-พรางฉบับ ปตท. และเครือข่ายทักษิณที่แนบเนียน เพราะผู้เล่นในตลาดก๊าซ LPG ที่รับช่วงจาก ปตท. ไม่ว่าจะเป็นสยามแก๊สหรือเวิลด์แก๊สล้วนก๊วนเดียวกัน

สยามแก๊ส หรือ สยามแก๊สแอนด์ปิโตรเคมีคัลส์ ที่กำลังเข้าตลาดหุ้นในเร็ววัน ก็พบชื่อ พลเอกชัยสิทธิ์ ชินวัตร อดีตผู้บัญชาการทหารบก ลูกพี่ลูกน้องของอดีตนายกฯ ทักษิณเป็นประธานกรรมการ ส่วน เวิลด์แก๊ส นั้นถือหุ้นเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์โดย ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น ที่รุ่งเรืองจากธุรกิจก๊าซ และถังก๊าซ จนเข้าตลาดหุ้นได้ในช่วงรัฐบาลทักษิณ มีผู้ถือหุ้นใหญ่คือคนใน ตระกูลลาภวิสุทธิสิน อดีตนายทุนของพรรคไทยรักไทย

นี่คือเครือข่ายที่น่าสะพรึงกลัว เพราะก่อนแปรรูป ปตท. รัฐบาลใช้นโยบายตรึงราคาก๊าซหุงต้ม ขายถังละ 160 บาท หลังเข้าตลาดฯ ราคาเพิ่มมาเป็นถังละ 290-300 บาท

จึง ไม่แปลกหาก ปตท. จะเดินหน้าแยก LPG เป็น 2 ราคา เพราะบรรดาโบรกเกอร์ทั้งหลายต่างวิเคราะห์หุ้น ปตท. ว่า ราคาต่ำของ LPG เป็นปัจจัยกดดัน ปตท. ในเชิงสร้างกำไร เนื่องจากปัจจุบันรัฐมีการควบคุมราคาขาย LPG ในประเทศ 315 เหรียญต่อตัน ขณะที่ราคาส่งออกในตลาดโลกสูงถึง 800 - 900 เหรียญต่อตัน ซึ่งเมื่อปีที่แล้ว ปตท. มียอดส่งออก LPG 8.9 พันบาร์เรลต่อวัน ลดลงจากปี 2549 ถึง -51.8 เปอร์เซ็นต์ เพราะมีการใช้ภายในประเทศเพิ่มขึ้น

นี่ จึงเป็นนัยสำคัญว่าทำไมจึงต้องดันราคา LPG ในประเทศให้สูง โดยตั้งราคา 2 มาตรฐานเพื่อตรึงราคาภาคครัวเรือนเพื่อรักษาความนิยมของรัฐบาลต่อไป ขณะที่ลอยตัวราคาภาคขนส่งและอุตสาหกรรมจะ ช่วยลด Demand ของ LPG ในตลาดรถ เพื่อให้ปริมาณ LPG เหลือมากพอให้ ปตท. ส่งออกทำกำไรได้มากยิ่งขึ้นกว่าเงินที่ได้รับจากการชดเชยกองทุนน้ำมัน และยังเป็นเครื่องมือช่วย ปตท. ครองตลาดก๊าซเพื่อยานยนต์ด้วย NGV แต่เพียงผู้เดียว ไม่ต่างจากการ"ยิงกระสุนนัดเดียวได้นกสองตัว

ตราบ เท่าที่ ปตท. ยังสามารถซื้อสื่อและสร้างภาพด้วยงบโฆษณาพีอาร์และซีเอสอาร์ ปีหนึ่งหลักพันล้านบาท ผนวกเข้ากับเชื้อทักษิณและการผูกขาดของ ปตท. และกลุ่มทุนที่เหนียวแน่น คนไทยคงต้องลำบากกับน้ำมันและก๊าซที่ถูกปั่นราคาไปอีกนาน

******************

LPG หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลว มาจาก 2 แหล่ง คือการกลั่นน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมันและการแยกก๊าซธรรมชาติ จึงถือเป็นผลพลอยได้สุดๆ โดยมีต้นทางมาจาก ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) บริษัทในกลุ่ม ปตท.

นอกจากนี้ ยังให้สัมปทานขุดเจาะ 30 ปีในอ่าวไทย และบางแปลงมีพื้นที่คาบเกี่ยวไทย-กัมพูชา แก่บริษัท เชฟรอน สำรวจและผลิตปิโตรเลียม รวมทั้งร่วมทุน 16 เปอร์เซ็นต์ ในโครงการอาทิตย์ของ ปตท.สผ. อีกด้วย โดยเชฟรอนผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวได้ 47,147 บาร์เรลต่อวัน นอกเหนือจากผลิตก๊าซธรรมชาติ 1,668 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และน้ำมันดิบ 85, 387 บาร์เรลต่อวัน โดยส่งต่อก๊าซธรรมชาติทั้งหมดให้ ปตท. ที่เชฟรอนแจ้งว่า 75 เปอร์เซ็นต์นำไปผลิตกระแสไฟฟ้า 25 เปอร์เซ็นต์เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเคมี

ดังนั้น เมื่อแยกก๊าซเรียบร้อยแล้ว ส่วนหนึ่งจะใช้เป็นวัตถุดิบผลิตกระแสไฟฟ้า ขณะที่ ปตท. ครองตลาดก๊าซธรรมชาติ NGV แต่เพียงผู้เดียวและใช้กับตลาดยานยนต์เท่านั้น โดย ปตท. ใช้เงินลงทุนไปแล้ว 60,000 ล้านบาท แต่ยังอยู่ในภาวะขาดทุนสะสมกว่า 6,000 ล้านบาท

ส่วนที่เป็นก๊าซเหลว LPG นั้น นอกจาก ปตท. จะขายปลีกมีส่วนแบ่งตลาดรวม 45 เปอร์เซ็นต์ยังขายส่งให้บริษัทก๊าซ โดยมีสยามแก๊สแอนด์ปิโตรเคมีคัลส์และเวิลด์แก๊สเป็นยักษ์ใหญ่รองจาก ปตท. ด้วยส่วนแบ่งตลาดประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์และ 21 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ เบื้องหลังราคาน้ำมันมหาโหด
ปตท และ ก.พลังงาน เห็นสิงโปร์เป็นพ่อ เลยอ้างอิงราคาน้ำมัน


1 . กลั่นเองก็ถูกกว่า เพราะซื้อราคา จำนำล่วงหน้า 3-5ปี แต่ อ้างราคาตลาดโลกรายวัน
2. อ้างสิงโปร์ตลาดใหญ่ แต่ทำไม รถยนต์ไม่อิงราคา ดีทรอย ทั้งที่ภาษีอาฟต้าก็ 0%
3. FTA ก็ถูกลงเฉพาะผักผลไม้ ทางเกษตรกร แต่สินค้า อุตสาหกรรม ของพ่อค้านักการเมือง ยังแพงเหมือนเดิม
4. อ้างเป็นมหาชนต้องลอยตัว ตามตลาดโลก100% ก็ไม่ถูกต้องเพราะรัฐถือหุ้นเกินครึ่งแถม บังคับด้วยเอกสิทธิของรัฐ ให้ หน่วยงานราชการซื้อน้ำมัน ปตท เท่านั้น ไม่ได้ลอยตัวใครถูกแพงก็เลือกซื้อเอา
5. อ้างการค้าเสรี แต่ผูกโควต้านำเข้ากับยักใหญ่4-5บริษัท ตลาดจรและมาเลก็ขายถูก(14-16บาท/ลิตร) แต่นำเข้ากันไม่ได้
6. อ้างการค้าเสรีลอยตัว แต่ ปิโตนัส นำเข้าจะขายได้ถูกกว่าก็ไม่ใด้ เพราะมีการ ฮั้วราคาตรึงราคาไว้ที่40กว่าบาท
7. มาเลเซีย ขายส่งออกลิตรละ 15-16 บาท ก็ใม่ยอมนำเข้ามาขาย เพราะกลัวรู้ราคาทุน (ถ้าอ้าง ราคามาเลเซีย + ภาษี8บาท+ค่าการตลาด3บาท=27บาท )ใช่ไหม
8. แต่ยังดันทุรังอ้างราคา โคตรพ่อสิงโปร์ 41- 43บาท สะใจดีจริงๆคุณสมพงษ์

* ราคาน้ำมันตลาดสิงโปร์รายวันคือ= ต้นทุนกลั่นของสิงโปร์ + กำไรพ่อค้าสิงโปร์ +ค่าโบรกเกอร์ นายหน้า3% + ค่าการเก็งกำไรรายวัน ของพ่อค้าหน้าเลือด
* คิดได้ไงคุณสมพงษ์ เป็นต้นทุนกลั่น อ้างอิงของ น้ำมันไทย เพราะมัน บวกกำไร ใว้แล้วถึง 3ต่อ แล้วเอามาตั้งต้นนับหนึ่งเป็นต้นทุนกลั่นของไทย
* ราคาที่ถูกต้องคือ ราคาเฉลี่ย ระหว่างต้นทุนซื้อ จำนำราคาล่วงหน้า กับ ราคาขายตลาดโลกรายวันที่ดูไบ (ใม่ใช่ของ นิวยอร์ค หรือ สิงโปร์) เพราะเป็น รัฐวิสาหกิจเกินครึ่ง และเป็น มหาชนไม่ถึงครึ่งเดียว
* จับตาดูให้ดีคิวต่อไป ก๊าซLPGจะลอยตัวถึงลิตรละ15-18บาท NGVจะลอยตัว12บาท จะอ้างอะไรได้อีกทั้งๆที่ ขุดเจาะได้ในประเทศแท่นขุดเจาะเต็มอ่าวไทย ไหนว่าก๊าซโชติช่วงชัชวาลตั้งแต่สมัยนายกเปรมฯ แถมก๊าซNGVซื้อจำนำราคาจากพม่ากิโลละ1บาท ยังหน้าด้านจะอ้างตลาดโลกรายวันอยู่อีกหรือ

ผลกระทบต่อสังคมไทย
1. ปตท กำไร1 แสนล้าน เงินที่ไหลออกก็4แสนล้าน ( เชลล์,คาลเท็ก,เอสโซ่,ปิโตนัส ) ถ้าปีนี้ ปตท กำไร2.5แสนล้าน เงินไทยก็จะ ไหลออกนอกประเทศ= 2.5แสนล้านคูณ4เท่า สะใจดีไหมคุณสมพงษ์
2 . เศรษฐกิจลูกโซ่ล่มสลาย อีกไม่รู้กี่หมื่น แสนบริษัท รัฐเก็บภาษีไม่ได้อีกกี่แสนล้าน คนไทยยากจนลง ต้อง ฆ่าตัวตายไม่รู้กี่ครอบครัว นักเรียน นักศึกษา ต้องขายตัวแลกค่าหน่วยกิต ประชาชนตกงาน ไม่มีเม็ดเงินจะหากิน ต้องก่อ อาชญกรรม แลกความอยู่รอด เข้าใจบ้างรึยัง คุณสมพงษ์

หยุดบริหารเศรษฐกิจแบบคนสิ้นคิด ระวังจะสิ้นชาติ เพราะกลไกเกมส์โกง ของพ่อค้าน้ำมัน สิงโปร์ไม่ใช่ โตคร
พ่อคุณ แต่ลูกหลานคุณกำลังจะอดตายทั้งประเทศ เพราะกลเกมส์ กลโกง ทำกำไรของพวกคุณ รู้ไว้ด้วยคุณสมพงษ์

Abhisit, wake up and accept Asean's help [-Thai opinion]

Abhisit, wake up and accept Asean's help [-Thai opinion]


(Photo: Reuters)
February 19, 2011
Songdej Praditsmanont
Bangkok
The Nation
Opinion

When two neighbours quarrel to the extent of having to use firearms, common sense tells me that both parties cannot sit down and negotiate on their own.

One has to call police to resolve the issue. I give the benefit of the doubt to the Foreign Ministry and PM Abhisit Vejjajiva for knowing best in not giving importance to Cambodia internationally and regionally. But I now start to doubt the government's tactic in declining the offer of help from Asean when it should be beneficial to us to allow others to see the other side of our opponent.

Furthermore, I am also puzzled by a man who has called Hun Sen a ruffian, then having the audacity to shake his hand afterward. He is supposed to talk sense with Hun Sen. In this latest flare-up he called Hun Sen a delinquent and blamed Russia, France and India for taking sides. He is now still our representative in resolving our issues with Hun Sen. I have to admit that either I am in the wrong universe or PM Abhisit and the Foreign Ministry are outside this orbit

ประวัติการเสียดินแดนของไทย 14 ครั้ง พอหรือยัง?

ประวัติการเสียดินแดนของไทย 14 ครั้ง พอหรือยัง?

จะเสียดินแดนเพื่ออะไร [25 มิ.ย. 51 - ]
หมายเหตุประเทศไทย - ไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/news.php?section=society03&content=94661

ในบทความ “ไทยอาจเสียดินแดนครั้งที่ 15” เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว ผมจบลงว่า ไทยเสียดินแดนมาแล้ว 14 ครั้ง เสียดินแดนไปแล้ว 782,877 ตร.กม. จากพื้นที่ 1,294,992 ตร.กม. ในอดีต วันนี้ไทยเหลือพื้นที่เพียง 512,115 ตร.กม.

ก็มีผู้สนใจถามไถ่ ไทยเสียดินแดนไป 14 ครั้งอย่างไร ผมก็พยายามค้นจากเว็บเอามาปะติดต่อปะต่อเล่าสู่กันฟังเท่าที่ค้นได้ แต่ไม่สมบูรณ์นัก

ผมจำได้ว่าเคยไปดูที่พิพิธภัณฑ์ในพระบรมมหาราชวัง เห็นแผนที่ประเทศไทยตั้งแต่สมัย พระเจ้าตากสินมหาราช แล้วก็ตื่นตะลึง นึกไม่ถึงว่าราชอาณาจักรไทยสมัยก่อนจะยิ่งใหญ่ แผ่อิทธิผลขึ้นไปถึงประเทศกัมพูชาลาวจนถึงทางตอนใต้ของประเทศจีน ก่อนที่จะค่อยๆหดลงมาเรื่อยๆ

ไทยเสียดินแดน ครั้งที่ 1 ให้ อังกฤษ ในสมัยรัชกาลที่ 1 คือ เกาะหมาก หรือ ปีนัง ของมาเลเซียในปัจจุบัน พื้นที่ 375 ตร.กม. เพราะ พระยาไทรบุรี กบฏและให้อังกฤษเช่าเพื่อขอความคุ้มครอง แล้วอังกฤษก็ยึดเอาไปดื้อๆ

ครั้งที่ 2 เสียเมืองมะริด ทวาย ตะนาวศรี พื้นที่ 55,000 ตร.กม. ให้ พม่า ในรัชกาลที่ 1 มังสัจจาเจ้าเมืองทวายเป็นไส้สึกให้พม่า เพราะไม่พอใจที่กองทัพไทยเข้ายึดครอง และไทยไม่สามารถตีคืนกลับมาได้

ครั้งที่ 3 เสียเมืองบันทายมาศ หรือ ฮาเตียน ให้ ฝรั่งเศส ในรัชกาลที่ 3

ครั้งที่ 4 เสียเมืองแสนหวี เมืองพง เชียงตุง พื้นที่ 62,000 ตร.กม. ให้ พม่า สมัยรัชกาลที่ 3 ซึ่งเป็นดินแดนที่ไทยได้มาในรัชกาลที่ 1 โดยฝีมือพระเจ้ากาวิละ แต่ไทยไม่มีกำลังยึดครอง เพราะตอนนั้นเกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียง จันทน์และรัฐกลันตัน ไทรบุรี

ครั้งที่ 5 เสียรัฐเปรัค ให้ อังกฤษ ใน รัชกาลที่ 3 ปัจจุบันเป็นของมาเลเซีย

ครั้งที่ 6 เสียดินแดนสิบสองปันนา ให้ จีน พื้นที่ 90,000 ตร.กม. ใน รัชกาลที่ 4 เพราะเกิดการแย่งชิงอำนาจกันเองในเมืองเชียงรุ้ง รัชกาลที่ 3 ส่งกองทัพเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ไปตีเชียงตุงเพื่อต่อไปเชียงรุ้ง แต่ไม่สำเร็จ รัชกาลที่ 4 ก็ให้ยกกองทัพไปตีเชียงตุงอีก แต่ก็ไม่สำเร็จ เลยตกเป็นของจีนไป

ครั้งที่ 7 เสียดินแดนเขมรและเกาะ 6 เกาะ ให้ ฝรั่งเศส พื้นที่ 124,000 ตร.กม. ในสมัยรัชกาลที่ 4 เพราะไทยอ่อนแอเอง

ครั้งที่ 8 เสียดินแดนสิบสองจุไท (เมืองไล เมืองเชียงค้อ) ให้ ฝรั่งเศส พื้นที่ 87,000 ตร.กม. ใน รัชกาลที่ 5 พวกฮ่อก่อกบฏไทยส่งกองทัพไปปราบ แต่สองแม่ทัพไม่ถูกกัน ฝรั่งเศสฉวยโอกาสส่งทหารเข้าเมืองไล อ้างไปช่วยไทยปราบฮ่อ เมื่อปราบได้แล้ว ฝรั่งเศสไม่ยอมยกทัพกลับ ในที่สุดไทยต้องยอมให้ฝรั่งเศสรักษาเมืองไลและเชียงค้อ

ครั้งที่ 9 เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำสาละวิน อันอุดมสมบูรณ์ให้ อังกฤษ ในรัชกาลที่ 5 พื้นที่ 30,000 ตร.กม. ปัจจุบันเป็นของพม่า

ครั้งที่ 10 เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง หรือ ลาว ในปัจจุบันให้ ฝรั่งเศส ในรัชกาลที่ 5 พื้นที่ 143,000 ตร.กม. ซึ่งเป็นของไทยตั้งแต่สมัย สมเด็จพระนเรศวร เป็นการเสียดินแดนที่เจ็บปวดที่สุดเพราะถูกฝรั่งเศสยึดจันทบุรีและตราดบีบบังคับ

ครั้งที่ 11 เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง ตรงข้ามเมืองหลวงพระบาง ให้ ฝรั่งเศส อีก พื้นที่ 25,500 ตร.กม. ใน รัชกาลที่ 5 เพื่อแลกกับจันทบุรี

ครั้งที่ 12 เสียมณฑลบูรพา ประกอบด้วย พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ ให้ ฝรั่งเศส ในรัชกาลที่ 5 พื้นที่ 51,000 ตร.กม. เพื่อแลกกับ ตราด เกาะกง ด่านซ้าย แต่ฝรั่งเศสถอนทหารจากตราดและด่านซ้าย แต่ไม่คืนเกาะกงให้ไทย

ครั้งที่ 13 เสีย รัฐกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี ปริส ให้ อังกฤษ ในรัชกาลที่ 5 พื้นที่ 80,000 ตร.กม. เพื่อแลกกับอำนาจศาลไทย ปัจจุบันเป็นของมาเลเซีย

ครั้งที่ 14 เสีย ปราสาทพระวิหาร ให้ เขมร เมื่อ 15 มิถุนายน 2505 ใน รัชกาลที่ 9 พื้นที่ 2 ตร.กม. ตามคำพิพากษาศาลโลก ซึ่งไทยไม่ยอมรับ เพราะมีผู้พิพากษาสองคนมาจากประเทศคอมมิวนิสต์ ทำให้ เชื่อว่าเอนเอียง

ครั้งที่ 15 ไทยอาจเสียพื้นที่ปราสาทเขาพระวิหารให้เขมรอีก เพราะรัฐบาลสมัครเซ็นให้เขมรขึ้นทะเบียนมรดกโลก ทั้งที่ข้อพิพาทยังไม่จบ.

ปราสาทพระวิหารควรเป็นของใคร?

ปราสาทพระวิหารควรเป็นของใคร?



15 กพ 2553    

พ.ต.พันธ์ศักดิ์ ศรีเฟื่องฟุ้ง    






ซุ้มมนเทียรแรกสร้าง (ภาพ หนังสือการเมืองเรื่องเขาพระวิหาร)

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วผมบังเอิญเปิด TV ดู  พบว่าช่อง 3 หรือ 5 (ไม่แน่ใจ)  ได้เชิญอาจารย์มหาวิทยาลัยท่านหนึ่งซึ่งไว้หนวด    มาเป็นวิทยากรในรายการที่วิเคราะห์สถานการณ์การมาเยือนเขาพระวิหาร  และบริเวณชายแดนที่ติดกับไทยของนายฮุนเซน นายกเขมร       วิทยากรท่านนั้นได้เริ่มเกริ่นนำว่าการเยือนเขาพระวิหารนั้นคงไม่มีปัญหา เพราะ ไทยได้ยอมรับว่าเป็นของเขมร แต่การไปเยือนในบริเวณที่อื่น ๆ นั้นอาจเกิดปัญหาได้ เพราะ ทั้งสองฝายต่างก็อ้างกรรมสิทธิ์ในพื้นที่ทับซ้อน 4.7 ตร.กม.”


ฟังแค่นี้คนทั่วไปก็คงไม่รู้สึกอะไร ไม่มีอะไรแปลกเหมือนน้ำแข็งลอยในแก้วน้ำแต่สำหรับผมกลับเกิดความไม่สบายใจอย่างมาก คิดถึงนายก คิดถึงนายสาทิตและคิดถึงนายกษิต ว่าจะรู้สึกเหมือนผมหรือเปล่า เพราะ ผมไม่คิดว่านี่คือก้อนน้ำแข็งลอยในแก้ว  แต่เป็นก้อนน้ำแข็งลอยในมหาสมุทรแบบที่เรือไททานิคเจอ  ทำไมผมจึงคิดเช่นนั้น?


การที่อาจารย์คนหนึ่งออกมาพูดแบบนั้น แล้วคนส่วนใหญ่ในสังคมไทยไม่รู้สึกอะไรแสดงว่าคนไทย มองไม่ออกว่าอาจารย์ได้พูดคลาดเคลื่อน  ในสิ่งสำคัญที่เกี่ยวกับอธิปไตยของประเทศไทย  แสดงว่าคนส่วนใหญ่ยังเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับอธิปไตยของประเทศไทย ถ้าคนในชาติเข้าใจคลาดเคลื่อนขาดความรู้ที่ถูกต้อง  อีกไม่นานเราก็จะเห็นเจ้ากรมแผนที่ทหาร, อธิบดีกรมสนธิสัญญา, และนักการเมืองไทย  ตกลงยอมยกดินแดนที่ควรเป็นของไทยให้เขมรอีกเพื่อสร้างสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ


อะไรบ้างที่คลาดเคลื่อน?

1.การที่พูดว่าไทยได้ยอมรับว่าเป็นของเขมรนั้นคลาดเคลื่อน  เพราะ  รัฐบาลสมัยจอมพลสฤษดิ์ ได้  ตกลงยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลโลก       แต่ได้ประท้วงและแสดงความไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษา  รวมทั้งตั้งข้อสงวนสิทธิอันชอบธรรมของประเทศไทยในเรื่องนี้ไว้  เพราะฉะนั้นจะถือว่ายอมรับว่าปราสาทพระวิหารเป็นของเขมรไม่ได้


2.  การที่พูดว่า ทั้งสองฝ่ายต่างอ้างกรรมสิทธิ์ในพื้นที่ทับซ้อน 4.7 ตร.กม.” จริง ๆ แล้วก็ไม่ถึงกับคลาดเคลื่อนแต่ฟังคล้ายกับว่าทั้งสองฝ่ายมีสิทธิ์เท่ากัน  และคนไทยทั่วไปก็เข้าใจว่าต่างฝ่ายต่างอ้างกรรมสิทธิ์    โดยอ้างแผนที่คนละฉบับบ้าง  หรือเข้าใจว่าไทยอ้างสนธิสัญญาแต่เขมรอ้างแผนที่  ไม่รู้ว่าใครถูกใครผิดกันแน่  ผมคิดว่าถ้าคนไทยมีความเข้าใจแค่นี้อีกไม่นาน เราคงเจรจาแบ่งดินแดนที่ทับซ้อน 4.7 ตร.กม. นี้ให้เขมรครึ่งหนึ่งเพื่อเป็นการประนีประนอม


ย้อนกลับไปเรื่องคดีปราสาทพระวิหาร คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจว่าศาลโลกเข้าข้างเขมร เพราะมีฝรั่งเศสหนุนหลัง  จึงไม่ได้ตัดสินด้วยความเป็นธรรม  บางคนก็ว่าเพราะคนไทยมีไส้ศึกในกระทรวงต่างประเทศ เอาแผนการต่อสู้คดีไปให้ฝ่ายเขมร  แต่คนไทยเหล่านี้ไม่สามารถตอบโดยอิงหลัก กม. ว่าศาลโลกตัดสินไม่ยุติธรรมอย่างไร  เวลาไปบอกเพื่อนบ้านในอาเซียน หรือบอกฝรั่งเราก็พูดแต่เพียงว่าศาลโลกตัดสินไม่ยุติธรรมปราสาทพระวิหารควรเป็นของไทย  แต่ที่ศาลอ้างว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยได้แสดงการยอมรับแผนที่ที่ฝรั่งเศสจัดทำ  ในหลายกรณีเป็นเวลายาวนานกว่า 30 ปี  คนไทยก็จะบอกว่านั่นเป็นเพราะ เจ้าหน้าที่ไม่รู้  แต่คนไทยพูดไปก็ไม่สบายใจ เพราะ นักการเมืองและเจ้าหน้าที่ไทยไม่รู้เป็นเวลายาวนานมาก   แม้กระทั่งเมื่อไทยตั้งกรมแผนที่ทหารทำแผนที่ใช้เองได้  แผนที่ก็ยังเคยแสดงเขตแดนว่าปราสาทพระวิหารเป็นของเขมร(ดูความเห็นแย้งของผู้พิพากษามอรี่โน่ ควินตานา  ย่อหน้าแรก หน้า 71)


เอาเป็นว่าเมื่อไม่ถึง 2 ปีมานี้  ในรัฐบาลนายสมัคร  ก็ยังทำร่างคำแถลงการณ์ร่วมกับเขมรสนับสนุนให้เขมรนำปราสาทพระวิหารไปขึ้นทะเบียนมรดกโลก   ซึ่งก็คือยอมรับว่าปราสาทพระวิหารเป็นของเขมร  โดยเขมรได้แนบแผนที่ไปกับแถลงการณ์ร่วมด้วย แล้วเจ้ากรมแผนที่ทหาร, เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ, อธิบดีกรมสนธิสัญญา  ก็ยังออก TV ยืนยันว่าไทยไม่เสียดินแดนและไม่เสียหายจากการทำร่างคำแถลงการณ์ร่วม



จริง ๆ แล้วปราสาทพระวิหารควรเป็นของใคร?

เรื่องนี้ต้องเริ่มตั้งแต่สนธิสัญญา คศ. 1904(พศ. 2447) ไทยยกดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส  การกำหนดเขตแดนในข้อ 1.  ของสนธิสัญญาเขียนว่า เขตแดนระหว่างประเทศสยามกับกัมพูชา  เริ่มต้นบนฝั่งซ้ายของทะเลสาบจากปากแม่น้ำสะตุง โรลูโอส  และไปตามเส้นขนานจากจุดนั้นในทางทิศตะวันออก  จนกระทั่งถึงแม่น้ำแปรก  กำปงเทียม  แล้วเลี้ยวไปทางด้านทิศเหนือไปพบกับเส้นตั้งฉากจากจุดบรรจบนั้น  จนกระทั่งถึงทิวเขาดงรัก  จากที่นั่นเส้นเขตแดนคือสันปันน้ำ  ระหว่างลุ่มน้ำของแม่น้ำเสนและแม่น้ำโขงด้านหนึ่งกับแม่น้ำมูลอีกด้านหนึ่ง  และสมทบกับทิวเขาภูผาด่าง  โดยถือยอดเขาเป็นเส้นเขตแดนไปทางทิศจะวันออก  จนถึงแม่น้ำโขง  จากจุดนั้นทวนน้ำขึ้นไปให้ถือแม่น้ำโขงเป็นเขตแดนของอาณาจักรสยามตามข้อ 1.  แห่งสนธิสัญญาฉบับวันที่ 3 ตค. คศ. 1893(พศ. 2436) “


นี่คือถ้อยคำในสนธิสัญญาที่ไทยตกลงยกดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ให้ฝรั่งเศสในปี คศ 1904  จะเห็นได้ว่าอ่านเข้าใจยากมาก(เหมือนการบอกทางให้เพื่อนทางโทรศัพท์  ถ้าหลายเลี้ยวมาก ๆ ฟังแล้วจะงงทุกที)  และเนื่องจากยังไม่มีการทำแผนที่ที่ได้มาตรฐานในบริเวณดังกล่าวมาก่อน  คนไทยก็ยังไม่มีความรู้เรื่องการทำแผนที่  จึงปล่อยให้ฝรั่งเศสทำแผนที่แต่เพียงฝ่ายเดียว  3 ปีต่อมา(คศ. 1907)  ทหารฝรั่งเศสก็ทำแผนที่เสร็จ มีชุดละ 11 แผ่น  ส่งให้รัฐบาลไทยหลายชุด  ไทยก็รับเอาแผนที่นี้และใช้เรื่อยมา  โดยไม่ได้เฉลียวใจเลยว่าทหารฝรั่งเศสเล่นไม่ซื่อ  กล่าวคือ แผนที่ของฝรั่งเศสนั้นไม่ได้สอดคล้องกับถ้อยคำในสนธิสัญญาในหลายจุด  โดยเฉพาะบริเวณเขาพระวิหาร  ทหารฝรั่งเศสเห็นว่าบริเวณนี้สวยดีอยากได้  อยากให้เป็นของฝรั่งเศสก็ขีดเส้นพรมแดนตรงนั้นให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตแดนเขมร  ทั้ง ๆ ที่ในสนธิสัญญากล่าวว่าบริเวณนั้นให้ยึดถือแนวสันปันน้ำเป็นหลัก  และถ้าแผนที่ได้ถูกทำขึ้นอย่างสอดคล้องกับสนธิสัญญา  ปราสาทพระวิหารก็ต้องอยู่ในเขตไทย


เป็นอันว่าคนฝรั่งเศสที่ทำแผนที่มีเจตนาฉ้อฉลมาแต่แรก  เพราะมีความรู้เรื่องการทำแผนที่เป็นอย่างดี  แต่กลับจงใจทำให้ปราสาทพระวิหารและพื้นที่อื่น ๆ อีกหลายแห่งตกเป็นของเขมร


ในทางหลัก กม.  แผนที่ที่ฝรั่งเศสทำขึ้นนี้จึงควรตกเป็นโมฆะ เพราะ ผู้ทำมีเจตนาฉ้อฉล  ขีดเส้นพรมแดนโดยไม่มีหลักการอ้างอิงและขัดต่อสนธิสัญญา คศ.1904  ซึ่งเป็นแม่บทและเป็นพื้นฐานที่รัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศสต้องการให้มีการจัดทำแผนที่


การที่เจ้าหน้าที่ไทยจำนวนมากทั้งผู้ใหญ่และผู้น้อย หลงใช้แผนที่โดยไม่คัดค้านก็เพราะไม่รู้ข้อเท็จจริง(ถ้ารู้ใครจะยอมยกบ้านตัวเองให้คนอื่น)  อย่างไรก็ดีการไม่คัดค้านและการยอมรับเอามาใช้ก็ไม่ได้ทำให้สิ่งที่เป็นโมฆะตั้งแต่ต้นกลับมาดีขึ้นได้  เพราะ เป็นการยอมรับในลักษณะสำคัญผิดในข้อเท็จจริง  ไม่เคยมีเจตนายกดินแดนให้ฝรั่งเศสเพิ่มเติมไปจากในสนธิสัญญา


คำพิพากษาศาลโลกนั้นพูดยืดยาวมากในเรื่องพฤติกรรมที่ข้าราชการไทยยอมรับการใช้แผนที่และไม่ได้ปฏิเสธแผนที่ที่ฝรั่งเศสทำขึ้น  ฉะนั้นรัฐบาลไทยในปี 2553 จึงควรทำความเข้าใจกับคนไทยทั้งประเทศและต่อชาวโลกให้ได้ว่า


1.     ไทยยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลโลก เนื่องจากไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติโดยการถอนกำลังทหารออกจากตัวปราสาท แต่ไทยไม่ยอมรับและไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษานั้น  ไทยจึงถือว่าปราสาทพระวิหารยังคงเป็นของไทย


แผนที่ทางราชการควรแสดงอาณาเขตของไทยครอบคลุมถึงตัวปราสาทพระวิหาร(แผนที่ต่างจากนี้ให้เผาทิ้งให้หมด)  การจะแสดงแนวเขตลวดหนามหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึง


2.     ไทยยังคงยืนยันว่าเขตแดนไทยกับเขมรต้องเป็นไปตามสนธิสัญญา คศ.1904 ข้อ 1. และแผนที่ที่ฝรั่งเศสจัดทำขึ้นโดยเจตนาฉ้อฉลนั้นเป็นโมฆะตั้งแต่ต้น  ไม่อาจรับรองให้ใช้บังคับได้ ไม่ว่าโดยคนไทยคนหนึ่งหรือหลายคน(แต่การยอมรับของคนไทยบางคนย่อมทำให้ข้ออ้างสิทธิของไทยอ่อนลง  และคงจะมีผู้พิพากษาบางคนยึดถือเป็นหลัก)  เรื่องการเปลี่ยนแปลงเขตแดนหรือยกดินแดนให้ประเทศอื่นนั้นเป็นเรื่องใหญ่มาก  โลกยุคประชาธิปไตยนี้นอกจากต้องทำสนธิสัญญาโดยรัฐบาลแล้วยังต้องได้รับความเห็นชอบจากสภาอีกด้วย (ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ต้องอยู่ในพระราชอำนาจเท่านั้น)


ไทยแพ้คดีก็เพราะแผนที่ที่ฝรั่งเศสทำขึ้น  ถ้าเรายอมรับแผนที่นี้ เราก็จะต้องเสียดินแดนอีก(บริเวณ 4.7 ตร.กม. และพื้นที่ในทะเล)    เขมร(โดยฮุนเซน) รู้เรื่องนี้ดีจึงพยายามแนบแผนที่ฝรั่งเศสนี้ไว้ท้ายข้อตกลงทุกฉบับ  แต่ไทยก็ยังไม่ประสีประสายอมแนบแผนที่ตามคำขอของเขมรทุกครั้ง  จึงต้องแก้ไขเรื่องนี้ให้ได้  และไม่ยอมให้เกิดขึ้นอีก


3.     รัฐบาลควรตั้งคณะกรรมการ  เพื่อสำรวจแนวสันปันน้ำที่แท้จริงให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน    ชี้แจงและทำแผนผังอย่างง่าย ๆ  แต่ถูกต้องแจกจ่ายให้ประชาชนทราบ  อย่านึกว่าการหาแนวสันปันน้ำเป็นเรื่องง่าย เพราะ ในการต่อสู้คดีปราสาทพระวิหารนั้น  ไทยได้อ้างการสำรวจของผู้เชี่ยวชาญชาวดัทช์  ซึ่งทำแผนผังมีเส้นสันปันน้ำและที่ตั้งปราสาทพระวิหารอยู่ในฝั่งไทย   แต่เขมรก็อ้างผู้เชี่ยวชาญชาวอเมริกันซึ่งทำแผนผังมีเส้นสันปันน้ำอีกเส้นและที่ตั้งปราสาทพระวิหารอยู่ฝั่งเขมร (ดูความเห็นแย้งของผู้พิพากษา เวลลิงตัน คู ข้อ 51)


จึงควรมีการเทน้ำและบันทึกวีดีโอ แสดงทิศทางของการไหลของน้ำประกอบมาตรการทางเทคนิคอย่างอื่น    การเผยแพร่วิดีโอแสดงทิศทางการไหลของน้ำถือเป็นเรื่องสำคัญ  และควรมีการเทน้ำลงหลาย ๆ จุด  บริเวณไหนน้ำไหลมาทางเรา บริเวณนั้นก็เป็นของเรา  บริเวณไหนน้ำไหลไปทางเขมรเราต้องยกให้เขมร


ท่านนายกอภิสิทธิ์   ท่านรัฐมนตรีสาทิต  ท่านรัฐมนตรีกษิต  ท่านได้ทำในสิ่งควรทำเพื่อปกป้องอธิปไตยของชาติหรือยัง?

mou 43



MOU ปี พ.ศ. 2543


คลิ๊กที่รูปแรกและคลิ๊กบนรูปไปเรื่อยๆ



บันทึกเครือข่ายภาคประชาชนกรณีข้อเท็จจริงกรณีปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบ

บันทึก

เครือข่ายภาคประชาชน

กรณีข้อเท็จจริงกรณีปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบ

            ตามที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้จัดเวลาในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับภาคประชาชน โดยการถ่ายทอดสดทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ระหว่างเวลา 10.00 น. – 13.00 น.นั้น เครือข่ายภาคประชาชนซึ่งติดตามเรื่องปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบขอประกาศจุดยืนดังต่อไปนี้


1.      เราขอบันทึกเอาไว้เป็นหลักฐานว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ยอมรับ

และยืนยันว่าไทยยึดหลักสันปันน้ำตามทิวเขาดงรักเป็นเส้นเขตแดนอย่างเคร่งครัด 


ยืนยันว่าเฉพาะปราสาทพระวิหารเท่านั้นที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศพิพากษาว่าตั้งอยู่บนพื้นที่ที่อยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา และไทยได้โต้แย้งและสงวนสิทธิ์เอาไว้แล้วตามหนังสือกระทรวงการต่างประเทศ เลขที่ (0601) 22239/2505  ลงวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2505  ดังนั้นฝ่ายไทยจึงยังถือว่าพื้นที่ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่นั้น อยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของไทย


ยอมรับว่าฝ่ายกัมพูชาได้รุกล้ำและยึดครองดินแดนไทยในบริเวณพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารนั้นเป็นความจริง


ยืนยันว่าจะดำเนินการแก้ไขปัญหาการรุกล้ำอธิปไตยด้วยมาตรการการทูตและการทหาร


ยืนยันว่าไทยจะไม่เข้าร่วมกับคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศ (ICC) ที่จะทำหน้าที่อนุรักษ์อย่างยั่งยืนที่ตัวปราสาทพระวิหารในการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก


ยืนยันจะคัดค้านการขึ้นทะเบียนประสาทพระวิหารของกัมพูชาเป็นมรดกโลกต่อไปอย่างต่อเนื่อง และจะคัดค้านแผนบริหารจัดการพื้นที่รอบตัวปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกด้วย


นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยืนยันว่าในช่วงที่เป็นฝ่ายค้านได้ขอให้มีการถอนแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ซึ่งเป็นเอกสารประกอบกรอบการเจรจาออกจากการขอความเห็นชอบจากรัฐสภาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2551 


ยืนยันว่ายูเนสโกได้ละเมิดอำนาจหน้าที่ของตัวเอง ตามธรรมนูญของยูเนสโกในข้อ 1 วรรค 3 ว่าห้ามมิให้ยูเนสโกแทรกแซงกิจการภายในของรัฐสมาชิก


ยืนยันว่าเอกสารและการดำเนินการที่จะผูกพันระหว่างไทย-กัมพูชาจะต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชนอีกครั้ง ก่อนขอความเห็นชอบจากรัฐสภา เช่น พิจารณาเห็นชอบหรือรับรองรายงานการประชุมลับของรัฐสภาเรื่องกรอบการเจรจาระหว่างไทย-กัมพูชา เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2551, ร่างข้อตกลงชั่วคราวระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชากับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยว่าด้วยปัญหาชายแดนในพื้นที่ปราสาทพระวิหาร, ฯลฯ 


2.      การอัญเชิญพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กรณีเนิน 491 ระหว่างไทย

-พม่า    และกรณีของไทย-กัมพูชา นั้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ไม่บังควรที่นำพระราชดำรัสในต่างกรรมต่างวาระมากล่าวสรุปปิดท้ายรายการโดยมีความประสงค์ที่จะกลบเกลื่อนเพื่อเบี่ยงเบนปัญหาที่มีอยู่จริง  เพราะกรณีเนิน 491 นั้น ยังไม่มีความชัดเจนในการครอบครองซึ่งแตกต่างจากพื้นที่ปราสาทพระวิหารซึ่งมีเขตแดนชัดเจนอยู่แล้ว  และกรณีไทย-กัมพูชา ในขณะนั้น ก็มีความแตกต่างจากสถานการณ์ปัจจุบัน ที่ฝ่ายกัมพูชามีเป้าหมายในการรุกล้ำและเข้ามายึดครองดินแดนไทย โดยใช้ MOU 2543 เป็นเครื่องมือ ในกรณีหากมีข้อพิพาทห้ามใช้กำลัง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นประโยชน์ต่อกัมพูชาแต่เพียงฝ่ายเดียวทั้งสิ้น


3.      เราขอยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่าการปักปันเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชานั้น ได้จัดทำเสร็จสิ้น

โดยคณะกรรมการผสมสยาม-ฝรั่งเศส เมื่อ 103 ปีที่แล้ว โดยเฉพาะทิวเขาดงรักอันเป็นที่ตั้งของปราสาทพระวิหาร คณะกรรมการผสมสยาม-ฝรั่งเศส ได้มีมติให้ยึดหลักสันปันน้ำตามสนธิสัญญาแล้ว ดังนั้นเขาพระวิหารอันเป็นที่ตั้งของตัวปราสาทพระวิหารจึงไม่มีความจำเป็นต้องปักปันเขตแดนใหม่ หรือจัดทำหลักเขตแดนใหม่แต่ประการใด  การระบุเอาไว้ในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างไทย-กัมพูชา พ.ศ. 2543 (MOU 2543) ในข้อ 1 ค. ซึ่งระบุให้การสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนเป็นไปตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียวได้ด้วย ย่อมทำให้เกิดความสุ่มเสี่ยงต่อการนำไปใช้ต่อไปในอนาคตทั้งที่การปักปันเขตแดนได้เสร็จสิ้นไปแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 1907 ( พ.ศ. 2450) 


            เราขอยืนยันว่าแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียวนั้น  เป็นแผนที่ที่ผิดพลาด ไม่สามารถนำมาใช้ได้ และศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไม่เคยพิพากษาแผนที่และเส้นเขตแดนตามแผนที่ดังกล่าว ดังนั้นจึงไม่ควรกำหนดแผนที่ดังกล่าวไว้ใน MOU 2543  อนึ่ง คำพิพากษาแย้งของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศกรณีปราสาทพระวิหารเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 นั้นระบุว่าแผนที่ดังกล่าวมีข้อผิดพลาดหลายแห่ง


4.      การที่กระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือแจ้งไปรัฐบาลกัมพูชาเมื่อปี พ.ศ. 2551  ว่า

ฝ่ายไทยไม่ยึดถือแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว ในระวางที่เรียกว่าดงรัก เพราะถือว่าไม่ใช่ผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนผสมระหว่างสยาม-ฝรั่งเศส   เราจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลเปิดเผยเอกสารดังกล่าว แจ้งให้ประชาชนชาวไทยได้รับทราบอย่างชัดเจนโดยเร็วที่สุด  


อย่างไรก็ตามการแสดงออกดังกล่าวยังอยู่ในระดับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศของไทยฝ่ายเดียว และไม่มีผลเท่ากับการยกเลิก MOU 2543 ตามที่ภาคประชาชนร้องขอแต่ประการใด 


นอกจากนี้ความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศในยุคปัจจุบันยังมีความคลาดเคลื่อนอย่างมากจากความเป็นจริงและขัดกับกฎหมายระหว่างประเทศ อาทิ เข้าใจผิดว่าการยึดแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 นั้นมีความสำคัญมากกว่าข้อบทแห่งสนธิสัญญาเพราะแผนที่เกิดขึ้นภายหลัง,  เข้าใจผิดว่าแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 เป็นผลงานของคณะกรรมการผสมสยาม-ฝรั่งเศส,  เข้าใจผิดว่าแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 เป็นผลของการปฏิบัติตามสนธิสัญญาระหว่างสยามฝรั่งเศส, นอกจากนั้นยังเข้าใจคำพิพากษาของศาลโลกไม่ถูกต้องว่าได้พิพากษายอมรับแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 แล้ว ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง โดยเฉพาะถ้าไทยยังคงใช้ MOU 2543 ต่อไป  


ดังนั้นกระทรวงการต่างประเทศต้องแสดงความรับผิดชอบ โดยการออกมากล่าวคำขอโทษต่อประชาชนในการให้ข้อมูลอันเป็นเท็จและเป็นข้อกฎหมายที่ผิดพลาด ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา


5.      เราเห็นว่าบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่าง

ไทย-กัมพูชา (MOU 2543) ถือได้ว่าเป็นหนังสือสัญญาที่มีบทเปลี่ยนแปลงอาณาเขตไทยหรือเขตอำนาจแห่งรัฐ แต่กลับไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ซึ่งถือว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 224





6.      กรณีที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยืนยันว่าในช่วงที่เป็นฝ่ายค้านได้ขอให้มีการถอนแผนที่

มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ซึ่งเป็นเอกสารประกอบกรอบการเจรจาขอความเห็นชอบจากรัฐสภาเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2551  เราขอให้มีการบันทึกกรณีดังกล่าวในรายงานการประชุมของรัฐสภา


7.      ตามที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรีอ้างว่า MOU 2543 มีประโยชน์เพียง

เพื่อให้รู้ว่าฝ่ายกัมพูชาละเมิดตาม MOU 2543   ซึ่งฝ่ายไทยได้ทำหนังสือประท้วงไปไม่น้อยกว่า 20 ครั้ง แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาการถูกรุกล้ำอธิปไตยและเข้ายึดครองดินแดนไทยได้   จึงเป็นเหตุสมควรที่จะยกเลิก MOU 2543 ตามอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยสนธิสัญญาปี ค.ศ. 1969 ได้ในทันที


เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยแสดงอำนาจอธิปไตยของไทยในพื้นที่ซึ่งถูกรุกล้ำนอกเหนือจากมาตรการทางการทูตและการทหาร เช่น การทำหน้าที่ของตำรวจตรวจคนเข้าเมือง,  การทำหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย, การจัดเก็บภาษีต่างๆของกระทรวงการคลัง  ตลอดจนใช้กำลังทหารในการผลักดัน เพื่อปกป้องรักษาดินแดนและอธิปไตยของไทย


8.       เราขอยืนยันว่า หากยกเลิก MOU 2543 แล้ว  ไทยไม่ได้เสียประโยชน์แต่อย่างใด

และยังสามารถใช้ประโยชน์ในการอธิบายกับนานาชาติได้ว่าสาเหตุในการยกเลิกเพราะมีเหตุสืบเนื่องมาจากการละเมิด MOU 2543 ของฝ่ายกัมพูชา และถึงแม้ยกเลิก MOU 2543 แล้วเขตแดนไทยตามสันปันน้ำบริเวณทิวเขาดงรักก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด


9.      เราขอให้รัฐบาลไทยทำการประท้วงนายซก อาน รองนายกรัฐมนตรีของกัมพูชา กรณีที่

ประกาศว่ากัมพูชาได้รับชัยชนะอันยิ่งใหญ่จากการที่นายสุวิทย์ คุณกิตติ ได้ไปลงนามในร่างมติประนีประนอมการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 34 เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งจะกลายเป็นมติมรดกโลกต่อไป    และทำหนังสือยืนยันคัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบให้เป็นมรดกโลกของกัมพูชา ที่นำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกตั้งแต่ครั้งที่ 31 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน


10.   คำแถลงของ ฮุน เซน เมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553  และวันจันทร์ที่ 9

สิงหาคม พ.ศ. 2553 ว่าพร้อมจะนองเลือด  ย่อมแสดงให้เห็นว่ามีความขัดแย้งเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือพื้นที่ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ และการประกาศของฝ่ายกัมพูชาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ฝ่ายกัมพูชานั่นเองที่จะเป็นผู้เริ่มใช้ความรุนแรงก่อน  จึงขอรัฐบาลไทยทำการประท้วงและทำหนังสือแจ้งไปยังองค์การสหประชาชาติ คณะกรรมการมรดกโลก และยูเนสโก ว่าในกรณีนี้กัมพูชาซึ่งเป็นฝ่ายรุกล้ำอธิปไตยและเข้ายึดครองดินแดนไทยจะเป็นผู้ที่เริ่มใช้ความรุนแรงก่อน  ดังนั้นย่อมเป็นการตอกย้ำว่าการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกครั้งนี้ เป็นการทำลายสันติภาพในภูมิภาคนี้อย่างชัดเจน



                                                                                                เครือข่ายภาคประชาชน


                                                                                                10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สัมพันธ์ลึก-ผลประโยชน์ลงตัว ปราสาทพระวิหาร-ทักษิณ-อัลฟาเยด-ปตท.




สัมพันธ์ลึก-ผลประโยชน์ลงตัว
เริ่มหัวข้อโดย: phan ที่ กันยายน 12, 2008, 04:47:18 pm

สัมพันธ์ลึก-ผลประโยชน์ลงตัว ปราสาทพระวิหาร-ทักษิณ-อัลฟาเยด-ปตท.


เครือข่าย 'ทักษิณ' ไม่เพียงแต่เป็นเชื้อชั่วที่ยังไม่ตาย แต่ยังเป็นเชื้อร้ายที่แข็งแรงคอยทำร้ายประเทศไทย ไม่เว้นแม้กระทั่งเรื่อง 'น้ำมันแพง' และ 'ปราสาทพระวิหาร' ที่กลายเป็นเรื่องสมประโยชน์เติมพลังให้เครือข่ายทักษิณอย่างแทบไม่น่าเชื่อ ขณะเดียวกันคนไทยทั้งประเทศต้องสูญเสียและเจ็บปวดกับความรู้สึกที่ว่า

"คนไทยทำร้ายคนไทยด้วยกันเอง"

น้ำมันแพงทำให้คนไทยน้ำตาเล็ด เพราะข้าวของแพง แต่กลุ่มคนเครือข่ายทักษิณ ตั้งแต่เพื่อนต่างชาติอย่าง 'โมฮัมเหม็ด อัลฟาเยด' เจ้าของห้างสรรพสินค้า แฮร์รอดส์ เพื่อนสนิททักษิณ กุนซือ และลิ่วล้อในคราบของผู้บริหารกิจการด้านพลังงาน และธุรกิจยักษ์ใหญ่อย่าง ปตท. กลับเริงร่ากับเม็ดเงินกำไร รายได้ เงินเดือน หุ้นและโบนัส และยิ่งคนไทยเสี่ยงต้องเสียดินแดนในเขตชายแดนไทย-กัมพูชา หลังจากปราสาทพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกแล้ว เครือข่ายของทักษิณยิ่งมีโอกาสร่ำรวยมากขึ้นจากบ่อน้ำมันและก๊าซในกัมพูชา

เรื่องราวเหล่านี้เกี่ยวพันกันอย่างทับซ้อน ลึกซึ้ง และเนิ่นนาน ด้วยผลประโยชน์ร่วมกันอย่างลงตัว

น้ำมัน-ก๊าซล้นกัมพูชา

นิตยสาร Positioning ฉบับเดือนกรกฎาคม 2008 รายงานไว้ว่า แหล่งน้ำมันและก๊าซของประเทศกัมพูชายังมีอีกจำนวนมาก ตามรายงานที่เปิดแผยโดย TE DUONG TARA ผู้อำนวยการ Cambodian National Petroleum Authority เมื่อ 2 ปีก่อนระหว่างการประชุมว่าด้วยเรื่องเทคโนโลยีปิโตรเลียมของอาเซียนครั้งที่ 4 ปรากฏแผนที่ประเทศกัมพูชาที่มีการสำรวจแหล่งพลังงาน พบแหล่งก๊าซ และน้ำมันทั้งบริเวณนอกชายฝั่งและชายฝั่งของประเทศ รวมทั้งทะเลสาบโตนเลสาบ ใจกลางประเทศกัมพูชา ซึ่งที่ผ่านมากัมพูชาได้เปิดให้ต่างชาติเข้าไปสำรวจขุดเจาะพื้นที่นอกชาย ฝั่งในอ่าวไทยแล้วบางส่วน เช่น เชฟรอน และไทยโดย ปตท.สผ. บริษัทลูกของ ปตท. โดยมีข้อตกลงที่ลงตัว แม้ว่าจะเป็นพื้นที่ทับซ้อนกันอยู่

นอกจากนี้ ยังปรากฏชัดว่ามีแหล่งน้ำมันบริเวณชายฝั่ง จังหวัดเกาะกง พื้นที่เป้าหมายที่ทักษิณจะไปลงทุนพร้อมกับโมฮัมเหม็ด อัลฟาเยด อย่างที่ พลเอกเตีย บัญ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กัมพูชา ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนไทยว่า ทักษิณจะลงทุนธุรกิจพลังงาน เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติในกัมพูชา หลังจากที่ได้หารือกับ สมเด็จฯ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาเรียบร้อยแล้ว เป็นขั้นตอนต่อจากที่ไทยให้ความช่วยเหลือกัมพูชามาตั้งแต่สมัยรัฐบาลทักษิณ ในการสร้างถนนหมายเลข 48 ที่เชื่อมต่อการเดินทางจากชายแดนไทย เกาะกง ไปยังพนมเปญให้สะดวกขึ้น ซึ่งการเปิดถนนยังมี สมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะน้องเขยของทักษิณ ร่วมพิธิเปิดอีกด้วย

และที่เกาะกงนี้ ยังมีแหล่งพักผ่อน รีสอร์ตดังอย่าง สีหนุวิลล์ เป็นจุดขาย อีกในปัจจุบัน

ทักษิณ-อัลฟาเยด-ปตท.สผ.

ทักษิณและกัมพูชากำลังพัฒนาความสัมพันธ์เพื่อผลประโยชน์ด้านพลังงาน นับเป็นการขึ้นมายืนอยู่หน้าฉากอย่างชัดเจนของทักษิณ หลังถูกรัฐประหารออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทยเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549

ทักษิณไม่ได้เริ่มธุรกิจพลังงานนี้จากศูนย์อย่างแน่นอน เพราะความร่วมมือกับอัลฟาเยดอย่างที่บิ๊กกัมพูชาให้สัมภาษณ์นั้น คงไม่จบที่การพัฒนาเกาะกงให้เป็นเอนเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์เท่านั้น เพราะอัลฟาเยดหากินกับอ่าวไทยและคนไทยมานาน ผ่าน ปตท.สผ. บริษัทลูกของ ปตท.

ย้อนหลังเมื่อธันวาคม 2542 สื่อต่างชาติอย่างน้อย 2 แห่ง ที่ยังสามารถสืบค้นข้อมูลได้ทางเครือข่ายออนไลน์ คือ Asian Economic News และนิตยสาร Offshore ลงข่าวพร้อมเพรียงกัน ว่า

"หลังจากโมฮัมเหม็ด อัลฟาเยดจัดตั้ง บริษัท แฮร์รอดส์ เอเนอร์ยี (Harrods Energy) ก็ได้สิทธิสำรวจน้ำมันใน 4 แปลงขุดเจาะในอ่าวไทย คือ B2/38, B11/32, B11/38 และ B12/32 ห่างจากชายฝั่งระยอง 150 กิโลเมตร โดยมีศักยภาพในการขุดเจาะน้ำมันวันละ 8,000 บาร์เรล ซึ่งในการสำรวจขุดเจาะครั้งนั้น Harrods Energy ถือหุ้น 50 เปอร์เซ็นต์ในการลงทุนสำรวจขณะที่ ปตท.สผ. ถือหุ้น 50 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือ"

นิตยสาร Positioning ยังรายงานด้วยว่า แฮร์รอดส์ เอเนอร์ยี เปลี่ยนชื่อเป็นเพิร์ลออยล์ในเวลาต่อมา มีบริษัทในไทยรวม 8 บริษัท โดยผู้ถือหุ้นใหญ่คือบริษัทที่จดทะเบียนในบริติชเวอร์จิ้น

การเข้ามาของอัลฟาเยด อาจไม่ง่าย หากไม่มีเทคโนแครต เสนาบดีของไทยกรุยทาง นี่คือผลพวงที่สะท้อนให้เห็นชัดเจนถึงองค์กรที่กลวง จนทำให้กลุ่มคนที่ต้องการหาประโยชน์เข้ามาได้อย่างง่ายดาย และเป็นเวลานาน โดยเฉพาะ ปตท. หน่วยงานที่เคยเป็นความหวังของคนไทยด้านพลังงาน

ไม่ผิดหาก ปตท. จะกำไร และมีเป้าหมายอย่างที่ ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ซีอีโอของ ปตท. ตั้งเป้าหมายให้ ปตท. เป็นบริษัทข้ามชาติภายในปี 2555 มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 94,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากปี 2550 ที่มีรายได้ 47,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้น 15 เปอร์เซ็นต์ต่อปี และตั้งแต่ปี 2555 รายได้เพิ่มอีกปีละ 8 เปอร์เซ็นต์ จนในปี 2563 มีรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 176,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมกับความเป็นบริษัทชั้นนำ ติดอันดับ 100 บริษัทของฟอร์จูนภายในปี 2555 จากเมื่อปี 2550 ปตท. อยู่ในอันดับ 207

บิ๊ก ปตท. รวยล้น

เมื่อบริษัทร่ำรวยย่อมทำให้ผู้บริหารที่มาทำงานที่นี่ร่ำรวยไปตามกัน รายงานประจำปีของ ปตท. ระบุชัดเจนถึงผลตอบแทนทั้งโบนัส เงินเดือนที่บอร์ด ปตท. ได้รับ และผู้บริหารที่ร่ำรวยจากหุ้น

เฉพาะบอร์ดกว่า 10 คน ได้เบี้ยประชุม โบนัส เฉพาะที่ทำงานให้ ปตท. เท่านั้นรวมกันถึง 42 ล้านบาทโดยมี โอฬาร ไชยประวัติ ซึ่งปัจจุบันมีตำแหน่งกรรมการสภามหาวิทยาลัยชินวัตร และประธานกรรมการตรวจสอบ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด และ สุชาติ ธาดาธำรงเวช อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง อดีตที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิของนายกรัฐมนตรี (ทักษิณ) ได้รับสูงสุดคนละกว่า 3 ล้านบาท

สำหรับผู้บริหาร ระดับสูงของ ปตท. ตั้งแต่ระดับกรรมการผู้จัดการใหญ่ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ได้เงินเดือน โบนัส รวมประมาณ 74 ล้านบาท ซึ่งผู้บริหารที่มีหุ้นมากสุดคือ จิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจสำรวจ ผลิต และก๊าซธรรมชาติ ณ 31 ธันวาคม 2550 มีหุ้นเหลืออยู่ 175,830 หุ้น คิดเป็นมูลค่าประมาณ 65,408,760 บาท เฉพาะประเสริฐที่วันนี้เจ้าตัวยืนยันว่าไม่มีหุ้นแล้ว แต่หากย้อนหลังไปเมื่อปี 2548 เขาได้หุ้น ESOP เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2548 จำนวน 243,000 หุ้น (บันทึกราคาที่ 0.00 บาท) และ 1 ปีให้หลังได้โอนออก 60,700 หุ้น และ 29 กันยายน 2549 ได้อีก119,000 หุ้น จากนั้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2550 ได้ขายออกครั้งละ 5,000 หุ้นบ้าง 60,000 หุ้นบ้าง ในราคาเฉลี่ย 330-370 บาท จนล่าสุดเมื่อ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 ได้ ESOP อีก 87,000 หุ้น

นี่คือความร่ำรวยของ ปตท. ซึ่งถูกตั้งคำถามว่าเป็นธรรมหรือไม่ที่รายได้มากมาย มาจากความลำบากของประชาชนคนไทย เพราะการผูกขาด และการคิดราคาน้ำมันอย่างไม่เป็นธรรม

น้ำมันแพงตามสูตรสิงคโปร์

ปตท. ผูกขาดธุรกิจโรงกลั่นทั้งหมด 5 โรงจากที่มีอยู่ทั้งหมด 7 โรง คิดเป็นกำลังการผลิตกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของทั้งประเทศ ปั๊มน้ำมันทั่วประเทศต้องซื้อจากโรงกลั่นในเครือของ ปตท. โรงกลั่นที่ต้องการกำไรทำให้ ปตท. อ้างอิงราคาน้ำมันในตลาดสิงคโปร์ที่เป็นแหล่งซื้อขายและปั่นราคาน้ำมันที่ คิดล่วงหน้า 1-2 เดือน ทั้งที่โรงกลั่นซื้อน้ำมันดิบส่วนใหญ่จากตะวันออกกลางและบางส่วนจากในประเทศ ไทย

แม้จะมีเสียงคัดค้านว่าไม่จำเป็นต้องอ้างอิงราคาสิงคโปร์ แต่ ปตท. ก็พยายามชี้แจงว่าจำเป็นเพราะเป็นไปตามการคิดราคาในกลไกของตลาดโลก แม้จะฟังไม่ขึ้น แต่ ปตท. ก็ยังคงเดินหน้าคิดราคาน้ำมันที่ยึดราคาสูงเป็นที่ตั้ง นอกเหนือจากภาษีต่างๆ และค่าขนส่งหลายส่วนมาประกอบกันจนแพงอย่างที่ต้องจ่ายกัน

ราคา หน้าโรงกลั่น=ราคานำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากต่างประเทศ (Import parity Price) ที่มาจากราคาน้ำมันจรในตลาดจรที่สิงคโปร์ (FOB)+ค่าขนส่ง+ค่าประกันภัย+ค่าจัดเก็บน้ำมัน+ภาษีศุลกากรนำเข้า

ค่าการตลาด=ค่าสารปรับปรุงคุณภาพ+ค่าขนส่ง+ค่าส่งเสริมการตลาด+ค่าผลตอบแทนในการดำเนินธุรกิจ

ในที่สุดปัญหาจากราคาน้ำมันแพง ไม่ใช่เพราะตลาดโลกหรือเพราะตลาดสิงคโปร์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะประเสริฐได้เฉลยออกมาด้วยตัวเองว่าเพราะ ปตท. ต้องกำไรและ ปตท. อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ

"อยู่ ที่ว่าสังคมไทยอยากให้ ปตท. เป็นยังไง และวันนี้ ปตท. ก็อยู่ในตลาดฯ (ตลาดหลักทรัพย์ฯ) ก็อยู่ที่สังคมไทยว่าอยากให้อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ หรือเปล่า ผมเป็นผู้บริหาร เป็นพนักงาน ปตท. ผมก็อยากทำอะไรให้ดีที่สุดแก่ทุกฝ่าย และสอดคล้องกับแนวทางที่ทั่วโลกทำกัน ถ้าเผื่อว่าเราซึ่งเป็นประเทศ Net Import Country มาบิดเบือนโครงสร้างราคาและเราต้องนำเข้า ประชาชนก็ไม่รู้จักประหยัด เราก็ต้องไปเอาก๊าซหุงต้มเข้ามาแล้ว เราต้องอุดหนุน สุดท้ายจะเอาเงินมาจากไหน ปตท. ก็อุดหนุนไปหลายหมื่นล้านบาทแล้ว ถ้าเอา ปตท. เป็นหน่วยอุดหนุน ปตท. ก็ต้องไปเป็น Non Profit Organization ก็อย่าให้ ปตท. เป็นบริษัทอยู่ในมหาชน ก็เอา ปตท. ออกจากตลาดฯ ปตท. ก็จะเป็นเหมือนรัฐวิสาหกิจที่จะไม่สามารถสนองนโยบายรัฐได้เหมือนในบางรัฐ วิสาหกิจ"

ณ วันนี้เค้าลางที่คนไทยจะต้องลำบากต่อไปกับราคาพลังงานที่แพงขึ้นกำลังชัด ขึ้น เพราะไม่ว่าจะเป็นก๊าซ แอลพีจี เอ็นจีวี และแม้แต่อี 85 ก็กำลังถูกครอบงำด้วยกลุ่มทุนที่มีรากฐานมาจากธุรกิจที่ต้องการกำไรเป็นที่ ตั้งทั้งสิ้น และที่สำคัญคือการผูกขาดโดย ปตท.

กลุ่มทุนฮุบ E85-LPG-NGV

ไม่ว่าจะเป็น E20 หรือ E85 คือหนทางทำให้คนไทยได้ใช้น้ำมันถูกขึ้น เพราะมันเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ที่นำเอทานอลมาผสมน้ำมันเบนซิน ซึ่งเอทานอลมาจากพืชและมันสำปะหลัง

โรงงานเอทานอลขนาดใหญ่ ล้วนมาจากทุนระดับบิ๊ก ไม่ว่าจะเป็นของค่ายเบียร์ช้างที่เปิดเผยตัวชัดเจน และยังมีเครือข่ายที่ไม่เปิดเผยตัวชัดเจน ทั้งกลุ่มเบียร์สิงห์ กลุ่มคอมลิงค์ ตัวแทนและกลุ่มของ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย จนมาถึงกลุ่มเทมาเส็กที่ยอมจ่ายเงินให้ทักษิณ 73,000 ล้านบาท เพื่อซื้อหุ้นชินคอร์ป

เช่นเดียวกับธุรกิจก๊าซที่ต้องยกให้ว่าเป็นลับ-ลวง-พรางฉบับ ปตท. และเครือข่ายทักษิณที่แนบเนียน เพราะผู้เล่นในตลาดก๊าซ LPG ที่รับช่วงจาก ปตท. ไม่ว่าจะเป็นสยามแก๊สหรือเวิลด์แก๊สล้วนก๊วนเดียวกัน

สยามแก๊ส หรือ สยามแก๊สแอนด์ปิโตรเคมีคัลส์ ที่กำลังเข้าตลาดหุ้นในเร็ววัน ก็พบชื่อ พลเอกชัยสิทธิ์ ชินวัตร อดีตผู้บัญชาการทหารบก ลูกพี่ลูกน้องของอดีตนายกฯ ทักษิณเป็นประธานกรรมการ ส่วน เวิลด์แก๊ส นั้นถือหุ้นเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์โดย ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น ที่รุ่งเรืองจากธุรกิจก๊าซ และถังก๊าซ จนเข้าตลาดหุ้นได้ในช่วงรัฐบาลทักษิณ มีผู้ถือหุ้นใหญ่คือคนใน ตระกูลลาภวิสุทธิสิน อดีตนายทุนของพรรคไทยรักไทย

นี่คือเครือข่ายที่น่าสะพรึงกลัว เพราะก่อนแปรรูป ปตท. รัฐบาลใช้นโยบายตรึงราคาก๊าซหุงต้ม ขายถังละ 160 บาท หลังเข้าตลาดฯ ราคาเพิ่มมาเป็นถังละ 290-300 บาท

จึง ไม่แปลกหาก ปตท. จะเดินหน้าแยก LPG เป็น 2 ราคา เพราะบรรดาโบรกเกอร์ทั้งหลายต่างวิเคราะห์หุ้น ปตท. ว่า ราคาต่ำของ LPG เป็นปัจจัยกดดัน ปตท. ในเชิงสร้างกำไร เนื่องจากปัจจุบันรัฐมีการควบคุมราคาขาย LPG ในประเทศ 315 เหรียญต่อตัน ขณะที่ราคาส่งออกในตลาดโลกสูงถึง 800 - 900 เหรียญต่อตัน ซึ่งเมื่อปีที่แล้ว ปตท. มียอดส่งออก LPG 8.9 พันบาร์เรลต่อวัน ลดลงจากปี 2549 ถึง -51.8 เปอร์เซ็นต์ เพราะมีการใช้ภายในประเทศเพิ่มขึ้น

นี่ จึงเป็นนัยสำคัญว่าทำไมจึงต้องดันราคา LPG ในประเทศให้สูง โดยตั้งราคา 2 มาตรฐานเพื่อตรึงราคาภาคครัวเรือนเพื่อรักษาความนิยมของรัฐบาลต่อไป ขณะที่ลอยตัวราคาภาคขนส่งและอุตสาหกรรมจะ ช่วยลด Demand ของ LPG ในตลาดรถ เพื่อให้ปริมาณ LPG เหลือมากพอให้ ปตท. ส่งออกทำกำไรได้มากยิ่งขึ้นกว่าเงินที่ได้รับจากการชดเชยกองทุนน้ำมัน และยังเป็นเครื่องมือช่วย ปตท. ครองตลาดก๊าซเพื่อยานยนต์ด้วย NGV แต่เพียงผู้เดียว ไม่ต่างจากการ"ยิงกระสุนนัดเดียวได้นกสองตัว

ตราบ เท่าที่ ปตท. ยังสามารถซื้อสื่อและสร้างภาพด้วยงบโฆษณาพีอาร์และซีเอสอาร์ ปีหนึ่งหลักพันล้านบาท ผนวกเข้ากับเชื้อทักษิณและการผูกขาดของ ปตท. และกลุ่มทุนที่เหนียวแน่น คนไทยคงต้องลำบากกับน้ำมันและก๊าซที่ถูกปั่นราคาไปอีกนาน

******************

LPG หรือก๊าซปิโตรเลียมเหลว มาจาก 2 แหล่ง คือการกลั่นน้ำมันดิบในโรงกลั่นน้ำมันและการแยกก๊าซธรรมชาติ จึงถือเป็นผลพลอยได้สุดๆ โดยมีต้นทางมาจาก ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) บริษัทในกลุ่ม ปตท.

นอกจากนี้ ยังให้สัมปทานขุดเจาะ 30 ปีในอ่าวไทย และบางแปลงมีพื้นที่คาบเกี่ยวไทย-กัมพูชา แก่บริษัท เชฟรอน สำรวจและผลิตปิโตรเลียม รวมทั้งร่วมทุน 16 เปอร์เซ็นต์ ในโครงการอาทิตย์ของ ปตท.สผ. อีกด้วย โดยเชฟรอนผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวได้ 47,147 บาร์เรลต่อวัน นอกเหนือจากผลิตก๊าซธรรมชาติ 1,668 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และน้ำมันดิบ 85, 387 บาร์เรลต่อวัน โดยส่งต่อก๊าซธรรมชาติทั้งหมดให้ ปตท. ที่เชฟรอนแจ้งว่า 75 เปอร์เซ็นต์นำไปผลิตกระแสไฟฟ้า 25 เปอร์เซ็นต์เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเคมี

ดังนั้น เมื่อแยกก๊าซเรียบร้อยแล้ว ส่วนหนึ่งจะใช้เป็นวัตถุดิบผลิตกระแสไฟฟ้า ขณะที่ ปตท. ครองตลาดก๊าซธรรมชาติ NGV แต่เพียงผู้เดียวและใช้กับตลาดยานยนต์เท่านั้น โดย ปตท. ใช้เงินลงทุนไปแล้ว 60,000 ล้านบาท แต่ยังอยู่ในภาวะขาดทุนสะสมกว่า 6,000 ล้านบาท

ส่วนที่เป็นก๊าซเหลว LPG นั้น นอกจาก ปตท. จะขายปลีกมีส่วนแบ่งตลาดรวม 45 เปอร์เซ็นต์ยังขายส่งให้บริษัทก๊าซ โดยมีสยามแก๊สแอนด์ปิโตรเคมีคัลส์และเวิลด์แก๊สเป็นยักษ์ใหญ่รองจาก ปตท. ด้วยส่วนแบ่งตลาดประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์และ 21 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ เบื้องหลังราคาน้ำมันมหาโหด
ปตท และ ก.พลังงาน เห็นสิงโปร์เป็นพ่อ เลยอ้างอิงราคาน้ำมัน


1 . กลั่นเองก็ถูกกว่า เพราะซื้อราคา จำนำล่วงหน้า 3-5ปี แต่ อ้างราคาตลาดโลกรายวัน
2. อ้างสิงโปร์ตลาดใหญ่ แต่ทำไม รถยนต์ไม่อิงราคา ดีทรอย ทั้งที่ภาษีอาฟต้าก็ 0%
3. FTA ก็ถูกลงเฉพาะผักผลไม้ ทางเกษตรกร แต่สินค้า อุตสาหกรรม ของพ่อค้านักการเมือง ยังแพงเหมือนเดิม
4. อ้างเป็นมหาชนต้องลอยตัว ตามตลาดโลก100% ก็ไม่ถูกต้องเพราะรัฐถือหุ้นเกินครึ่งแถม บังคับด้วยเอกสิทธิของรัฐ ให้ หน่วยงานราชการซื้อน้ำมัน ปตท เท่านั้น ไม่ได้ลอยตัวใครถูกแพงก็เลือกซื้อเอา
5. อ้างการค้าเสรี แต่ผูกโควต้านำเข้ากับยักใหญ่4-5บริษัท ตลาดจรและมาเลก็ขายถูก(14-16บาท/ลิตร) แต่นำเข้ากันไม่ได้
6. อ้างการค้าเสรีลอยตัว แต่ ปิโตนัส นำเข้าจะขายได้ถูกกว่าก็ไม่ใด้ เพราะมีการ ฮั้วราคาตรึงราคาไว้ที่40กว่าบาท
7. มาเลเซีย ขายส่งออกลิตรละ 15-16 บาท ก็ใม่ยอมนำเข้ามาขาย เพราะกลัวรู้ราคาทุน (ถ้าอ้าง ราคามาเลเซีย + ภาษี8บาท+ค่าการตลาด3บาท=27บาท )ใช่ไหม
8. แต่ยังดันทุรังอ้างราคา โคตรพ่อสิงโปร์ 41- 43บาท สะใจดีจริงๆคุณสมพงษ์

* ราคาน้ำมันตลาดสิงโปร์รายวันคือ= ต้นทุนกลั่นของสิงโปร์ + กำไรพ่อค้าสิงโปร์ +ค่าโบรกเกอร์ นายหน้า3% + ค่าการเก็งกำไรรายวัน ของพ่อค้าหน้าเลือด
* คิดได้ไงคุณสมพงษ์ เป็นต้นทุนกลั่น อ้างอิงของ น้ำมันไทย เพราะมัน บวกกำไร ใว้แล้วถึง 3ต่อ แล้วเอามาตั้งต้นนับหนึ่งเป็นต้นทุนกลั่นของไทย
* ราคาที่ถูกต้องคือ ราคาเฉลี่ย ระหว่างต้นทุนซื้อ จำนำราคาล่วงหน้า กับ ราคาขายตลาดโลกรายวันที่ดูไบ (ใม่ใช่ของ นิวยอร์ค หรือ สิงโปร์) เพราะเป็น รัฐวิสาหกิจเกินครึ่ง และเป็น มหาชนไม่ถึงครึ่งเดียว
* จับตาดูให้ดีคิวต่อไป ก๊าซLPGจะลอยตัวถึงลิตรละ15-18บาท NGVจะลอยตัว12บาท จะอ้างอะไรได้อีกทั้งๆที่ ขุดเจาะได้ในประเทศแท่นขุดเจาะเต็มอ่าวไทย ไหนว่าก๊าซโชติช่วงชัชวาลตั้งแต่สมัยนายกเปรมฯ แถมก๊าซNGVซื้อจำนำราคาจากพม่ากิโลละ1บาท ยังหน้าด้านจะอ้างตลาดโลกรายวันอยู่อีกหรือ

ผลกระทบต่อสังคมไทย
1. ปตท กำไร1 แสนล้าน เงินที่ไหลออกก็4แสนล้าน ( เชลล์,คาลเท็ก,เอสโซ่,ปิโตนัส ) ถ้าปีนี้ ปตท กำไร2.5แสนล้าน เงินไทยก็จะ ไหลออกนอกประเทศ= 2.5แสนล้านคูณ4เท่า สะใจดีไหมคุณสมพงษ์
2 . เศรษฐกิจลูกโซ่ล่มสลาย อีกไม่รู้กี่หมื่น แสนบริษัท รัฐเก็บภาษีไม่ได้อีกกี่แสนล้าน คนไทยยากจนลง ต้อง ฆ่าตัวตายไม่รู้กี่ครอบครัว นักเรียน นักศึกษา ต้องขายตัวแลกค่าหน่วยกิต ประชาชนตกงาน ไม่มีเม็ดเงินจะหากิน ต้องก่อ อาชญกรรม แลกความอยู่รอด เข้าใจบ้างรึยัง คุณสมพงษ์

หยุดบริหารเศรษฐกิจแบบคนสิ้นคิด ระวังจะสิ้นชาติ เพราะกลไกเกมส์โกง ของพ่อค้าน้ำมัน สิงโปร์ไม่ใช่ โตคร
พ่อคุณ แต่ลูกหลานคุณกำลังจะอดตายทั้งประเทศ เพราะกลเกมส์ กลโกง ทำกำไรของพวกคุณ รู้ไว้ด้วยคุณสมพงษ์

เปิดบันทึกเงื่อนไขข้อตกลงอินโดนีเซีย ฉบับแปล

เปิดบันทึกเงื่อนไขข้อตกลงอินโดนีเซีย ฉบับแปล



       ตัวแทนประเทศไทย กับประเทศกัมพูชา ไปเจรจากันที่เมืองโบกอร์ ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อ 7-8 เมษายน เพิ่งผ่านมา มีถ้อยแถลงถ้อยทีถ้อยอาศัยกันทั้งสองฝ่าย เห็นชอบจะว่าจ้างบริษัทเอกชนทำสำรวจพื้นที่ชายแดนร่วมกัน และจะหารือเรื่องปักปันเขตแดนกันในขั้นตอนต่อไป กัมพูชาเองก็เข้าใจการผลักดันเจบีซี 3 ฉบับ ที่ยังไม่ผ่านรัฐสภาไทย
แต่ที่แน่ ๆ กัมพูชาไม่พอใจกองทัพไทยที่ไม่ยอมให้ผู้แทนสังเกตการณ์อินโดนีเซียเข้าในพื้นที่เขาพระวิหาร ส่วนนอกเหนือจากนี้ ในสาระสำคัญการเจรจาและข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษร ประชาชนก็ยังไม่รู้อยู่นั่นเอง
สำหรับฝ่ายตรวจสอบรัฐบาลนอกรัฐสภา ในนามนักวิชาการ เครือข่ายประชาชนไทยหัวใจรักชาติ ขอเสนอเอกสารที่ฝ่ายรัฐไม่เปิดเผย คือ เงื่อนไขการทำสัญญา การวางทีมผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย (IOT) ในพื้นที่พิพาทชายแดนกัมพูชา-ไทย มีสาระอย่างละเอียดให้พิจารณาดังต่อไปนี้ ;
ข้าพเจ้าขอขอบคุณอีกครั้งในการดำเนินให้เกิดผลลัพธ์ในทางที่ดี จากการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2011
    จากการติดตามผลของประชุมดังกล่าวและเพื่อให้สอดคล้องกับ “คำแถลงของประธานอาเซียน ตามด้วยการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2011” ข้าพเจ้าเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่จะมอบรายการดังต่อไปนี้
 1. จดหมายร่างเงื่อนไขการทำสัญญาหรือ TOR ในการจัดวางทีม IOT ในพื้นที่พิพาทชายแดนกัมพูชา-ไทย
 2.ภาคผนวกเพิ่มเติมจากจดหมาย กล่าวคือ TOR หรือเงื่อนไขการทำสัญญา การวางทีมผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย (IOT) ในพื้นที่พิพาทชายแดนกัมพูชา-ไทย
 เป็นความหวังอย่างจริงใจว่า ข้าพเจ้าสามารถรับความคิดเห็นจากกัมพูชาและไทยต่อจดหมายร่างนี้โดยเร็ว เพื่อจะได้นำไปใช้กับร่างที่จะตามมา ข้าพเจ้าทำได้เพียงเริ่มกระบวนการแลกเปลี่ยนจดหมายเมื่อข้อตกลงนั้นได้ไปสู่ 3 ประเทศกล่าวคือ กัมพูชา อินโดนีเซีย และไทย
  ขณะเดียวกัน ข้าพเจ้าขอเรียนว่า อินโดนีเซียได้ริเริ่มเตรียมการระดับชาติสำหรับหน้าที่ที่ได้รับมอบให้สังเกตการณ์สิ่งที่กล่าวมาแล้ว

ด้วยความนับถืออย่างสูง
ดร.อาร์.เอ็ม มาร์ตี้ เอม.นาตาเลกาวา

ฯพณฯ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศราชอาณาจักรไทย
นายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศราชอาณาจักรกัมพูชา
กรุงจาการ์ตา , กุมภาพันธ์ 2011
ข้าพเจ้าเป็นเกียรติที่กล่าวถึงคำแถลงโดยประธานของอาเซียน ตามด้วยการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2011
ยินดีต้อนรับคำเชิญจากกัมพูชาและไทย ที่จะขอให้อินโดนีเซีย, ซึ่งเป็นประธานอาเซียนอยู่ ณ ปัจจุบัน, ส่งคณะผู้สังเกตการณ์ไปประจำในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบของคู่ภาคีเรื่องเขตแดนกัมพูชา-ไทย, เพื่อเฝ้าดูความยึดมั่นของทั้งสองฝ่าย ที่ว่าจะหลีกเลี่ยงการปะทะกันด้วยกำลังอาวุธ โดยให้คณะผู้สังเกตการณ์มีภาระหน้าที่ดังนี้ ;

"ช่วยและสนับสนุนทั้งสองฝ่ายให้สามารถหลีกเลี่ยงการใช้กำลังระหว่างกันให้จงได้ โดยการเฝ้าดูและส่งรายงานอย่างถูกต้องเป็นกลางในเรื่องที่เกี่ยวกับการร้องเรียน ว่าด้วยการละเมิดความตกลง แล้วส่งรายงานนั้นไปยังแต่ละฝ่าย ผ่านอินโดนีเซียผู้เป็นประธานปัจจุบันของอาเซียน”
ในการนี้ข้าพเจ้าเป็นเกียรติที่จะเสนอเงื่อนไขการทำสัญญาหรือ TOR การวางทีมผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย (Indonesian Observers Team : IOT) ในพื้นที่พิพาทชายแดนกัมพูชา-ไทย ในภาคผนวก

พร้อมกันนี้ข้าพเจ้าได้ยื่นจดหมายเดียวกันนี้และแนบภาคผนวกที่กล่าวถึงให้กับนายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศราชอาณาจักรกัมพูชา
จะเป็นพระคุณอย่างยิ่งหากท่านจะยืนยัน ในฐานะรัฐบาลไทย ในการยินยอมรับการจัดทำ TOR และยืนยันความเข้าใจในจดหมายและภาคผนวกนี้ พร้อมทั้งตอบกลับมาจะถือเป็นการประกอบเอกสารสิทธิ์ที่ถูกต้องตามกฎหมายระหว่างอินโดนีเซีย ไทย และ กัมพูชา

TOR จะมีผลบังคับใช้ในวันที่อินโดนีเซียรับการยืนยันจากคู่ภาคีรายสุดท้ายว่าด้วยการตกลงยอมรับ TOR ซึ่งข้าพเจ้าจะแจ้งให้คู่ภาคีทราบต่อไปในการเริ่มบังคับใช้ TOR
ด้วยความนับถืออย่างสูง
ภาคผนวก
เงื่อนไขการทำสัญญา (TOR) การวางทีมผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย (IOT) ในพื้นที่พิพาทชายแดนกัมพูชา-ไทย

วัตถุประสงค์เป็นไปตามคำกล่าวของประธานอาเซียนในโอกาสการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา เมื่อวันที่  22 กุมภาพันธ์ 2011 ว่า
"ช่วยและสนับสนุนทั้งสองฝ่ายให้สามารถหลีกเลี่ยงการใช้กำลังระหว่างกันให้จง ได้ โดยการเฝ้าดูและส่งรายงานอย่างถูกต้องเป็นกลางในเรื่องที่เกี่ยวกับการร้อง เรียนว่าด้วยการละเมิดความตกลง แล้วส่งรายงานนั้นไปยังแต่ละฝ่าย ผ่านอินโดนีเซียผู้เป็นประธานปัจจุบันของอาเซียน"

องค์ประกอบทีมสังเกตการณ์อินโดนีเซีย (IOT) จะประกอบด้วยข้าราชการทหาร และข้าราชการพลเรือนของอินโดนีเซีย รวม 30 คน
ทีมสังเกตการณ์อินโดนีเซีย 30 คนนี้ จะมีอำนาจและหน้าที่ดังนี้
• IOT กัมพูชา 15 คน จะอยู่ในพื้นที่กัมพูชาที่เป็นพื้นที่พิพาทชายแดนกัมพูชา-ไทย
• IOT ไทย 15 คน จะอยู่ในพื้นที่ไทยที่เป็นพื้นที่พิพาทชายแดนไทย-กัมพูชา

สถานะภาพ
ทีม IOT จะมีสิทธิพิเศษในฐานะที่เป็นตัวแทนทางการทูต

พื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ครอบคลุมของ IOT กัมพูชา จะเป็นพื้นที่กัมพูชาที่เป็นพื้นที่พิพาทชายแดนกัมพูชา-ไทย กล่าวคือ (จะระบุภายหลัง)
พื้นที่ครอบคลุมของ IOT ไทย จะเป็นพื้นที่กัมพูชาที่เป็นพื้นที่พิพาทชายแดนไทย-กัมพูชา กล่าวคือ (จะระบุภายหลัง)

บทบาทและความรับผิดชอบ
ทีม IOT จะต้อง :
ก. สังเกตและตรวจสอบการหยุดรบตามที่คู่ภาคีได้ตกลง
ข. ตรวจสอบความจริงในพื้นที่ตามรายงานการปะทะตามที่คู่ภาคีได้ตกลง
ค. ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับประเทศสมาชิกในการตรวจสอบความจริงในพื้นที่ ตามรายงานการปะทะตามที่คู่ภาคีได้ตกลง
ง. รักษาความยุติธรรม ความเป็นกลาง และความเป็นอิสระ อย่างเคร่งครัด ที่จะปฏิบัติตามคำสั่งและภารกิจของคู่ภาคี และจะเคารพกฎกติกาของกัมพูชา(สำหรับทีม IOT กัมพูชา) และของไทย(สำหรับทีม IOT ไทย)
จ. ในการดำเนินพันธกิจให้ตลอดรอดฝั่ง จะระมัดระวังท่าทีที่จะมีผลให้เกิดการขัดแย้งกัน
ฉ. ยึดถือกฎระเบียบและการประชุมกับคู่ภาคี เพื่อแก้ปัญหาในการปฏิบัติหน้าที่
ช. ไม่ติดอาวุธ แต่จะต้องใส่เครื่องแบบและตราประจำตำแหน่ง

คู่ภาคีจะต้อง :
ก. รับผิดชอบเต็มรูปแบบต่อความปลอดภัยของทีม IOT ในการปฏิบัติหน้าที่
ข. ใช้มาตรการที่จำเป็นทุกมาตรการ ในการปกป้องและรักษาความปลอดภัยให้แก่ทีม IOT
ค. รับรองว่าจะให้การเคลื่อนที่ที่เป็นอิสระโดยทั่ว ในพื้นที่ที่ครอบคลุมการปฏิบัติงานของทีม IOT
ง. จัดเตรียมเส้นทางปลอดภัยในทันที กรณีที่ต้องเคลื่อนย้ายคณะออกจากพื้นที่ครอบคลุม

การรายงานก. ทีม IOTจะส่งรายงานประจำวันต่ออินโดนีเซียผู้เป็นประธานปัจจุบันของอาเซียน
ข. ทีม IOTจะส่งรายงานด่วนในกรณีที่มีการสู้รบตามที่คู่ภาคีได้ตกลงกัน และกรณีอื่น ๆ ที่เป็นที่สนใจอย่างเร่งด่วนจากอินโดนีเซียผู้เป็นประธานปัจจุบันของอาเซียน

การบริหารและการจัดการสนับสนุนคู่ภาคีจะต้องจัดหา :
ก. ที่พักอย่างเพียงพอ พร้อมสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการเดินทางและติดต่อสื่อสาร
ข. การขนส่งทั้งทางอากาศและทางบกอย่างเหมาะสม พร้อมด้วยนักบินและคนขับ
ค. เจ้าหน้าที่ประสานงานและหน่วยเคลื่อนที่ที่จะอำนวยการประสานงาน

รัฐบาลอินโดนีเซียจะรับผิดชอบสำหรับ :ก. เงินเดือนและเงินได้อื่นๆ
ข. ค่าพาหนะไปยังเมืองหลวงของประเทศคู่ภาคี แต่ค่าพาหนะหรือการขนส่งไปยังพื้นที่ชายแดนจะเป็นภาระรับผิดชอบของคู่ภาคี

ช่วงเวลาดำเนินการ
ช่วงเวลาของสัญญากำหนด.........เดือน (จะระบุภายหลัง) จากวันที่ที่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมายของ TOR และจะแก้ไขได้ด้วยการตกลงระหว่างสามภาคีที่เกี่ยวข้อง
การทำให้เป็นผลตาม TOR ของทีม IOT จะมีการทบทวน .........เดือน (จะระบุภายหลัง)

การสิ้นสุดและ/หรือ การชะลอ
รัฐบาลอินโดนีเซียจะยุติหรือจะชะลอการปฏิบัติหน้าที่ โดยมีการแจ้งเตือนไปถึงคู่ภาคีในกรณี :
ก. สถานการณ์ในพื้นที่นำไปสู่อันตรายและการคุกคามต่อชีวิตของผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย
ข. คู่ภาคีไม่ทำตามสัญญาและความรับผิดชอบในการหยุดรบตามที่ระบุไว้ใน TOR หรือ
ค. คู่ภาคีมีเจตนาเพิกเฉยที่จะดำเนินการตามที่รับการแนะนำในการละเมิดการหยุดรบ

ดร.อาร์.เอ็ม มาร์ตี้ เอม.นาตาเลกาวา
ฯพณฯ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศราชอาณาจักรไทย


ข้อสังเกตภาคประชาชนไทย
เครือข่ายประชาชนไทยหัวใจรักชาติ ตั้งข้อสังเกตว่า การเกิดมี “ทีโออาร์ อินโดนีเซีย” ฉบับนี้ แสดงให้เห็นว่าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และอาเซียน ได้รับรู้ข้อมูลถึงการยอมรับแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ของทั้งรัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชา โดยรอเพียงรัฐบาลไทย ยินยอมรับการจัดทำ TOR และยืนยันความเข้าใจในจดหมายและภาคผนวกนี้ พร้อมกับตอบกลับประธานอาเซียนก็มาจะถือเป็นการประกอบเอกสารสิทธิ์ที่ถูกต้องตามกฎหมายระหว่างอินโดนีเซีย ไทย และ กัมพูชา

TOR จะมีผลบังคับใช้ในวันที่อินโดนีเซียรับการยืนยันจากคู่ภาคีรายสุดท้ายว่าด้วยการตกลงยอมรับ TOR ซึ่งก็คือประเทศไทย แต่ประชาชนไทยกลับไม่ได้รับรู้ความจริง  โดยความจริงที่ควรจะเป็น ตัวแทนประเทศไทยไม่สมควรยอมรับทีโออาร์ อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นลักษณะพหุภาคี โดยดึงในนามกลุ่มอาเซียนเข้าไปรองรับการปฏิบัติที่ผิดธรรมเนียมตั้งแต่การก่อเกิดกลุ่มอาเซียน
ยังดีสำหรับประเทศไทย ก่อนการประชุมที่โบกอร์ ผบ.เหล่าทัพของไทยได้ยืนกรานหนักแน่นอย่างเป็นทางการ จะเจรจาคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา หรือ จีบีซี ในกัมพูชาหรือในไทยเท่านั้น รวมทั้งไม่ยอมให้ผู้แทนสังเกตการณ์ฯขึ้นไปบนเขาพระวิหารซึ่งเป็นของประเทศไทย ซึ่งสุ่มเสี่ยงต่ออธิปไตยยิ่งขึ้นไปอีก
เราจะวางใจไม่ได้ โดยเฉพาะในวงเล็บที่จะระบุรายละเอียดเพิ่มเติมลงไป จะวางใจไม่ได้ ตราบใดคนที่อ้างเป็นตัวแทนประเทศไทยไปทำลับ ๆ ล่อ ๆ สมยอมประเทศกัมพูชา ที่ทำตัวประหนึ่งเป็นมหาอำนาจใหม่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ข่มเหงประเทศไทยสยาม หลายหนหลายคราว

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง