บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2554

ประเทศไรพรมแดน ( copy มา กรณี ประสาทพระวิหาร )

                              ประเทศไรพรมแดน  ( copy มา  กรณี ประสาทพระวิหาร )
                     http://www.oknation.net/blog/korbsak/2010/08/14/entry-1
         


ผมได้อ่าน ปราสาทพระวิหาร ข้อมูลและข้อคิด โดยศาสตราจารย์ ดร.สมปอง
สุจริตกุล

ผมขอเริ่มที่ปัญหาเขตแดน ไทย – กัมพูชาก่อน  เพราะเป็นสาเหตุของความขัดแย้ง
ไทยยึดถือเขตแดนโดยอ้างอิงสนธิสัญญา สยาม -ฝรั่งเศสเมื่อปีค.ศ. ๑๙๐๘
ระ หว่างปีค.ศ. ๑๙๐๕-๑๙๐๗ คณะกรรมการปักปันเขตแดนผสม สยาม-ฝรั่งเศสได้
ไปตรวจสอบแล้วเห็นว่า การกำหนดเขตแดนในบริเวณทิวเขาดงรักโดยใช้สันปันน้ำเป็น
หลัก ตามสนธิสัญญาทวิภาคีระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๙๐๔ นั้นชัดเจนอยู่แล้ว
เสันสันปันน้ำจึงเป็นเส้นกำหนดเขตชายแดนไทย-กัมพูชา  ซึ่งเป็นที่ยอมรับมาโดย
ตลอดและไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขมาตั้งแต่ปีค.ศ. ๑๙๐๔ จนถึงปัจจุบันโดย
ไม่เคยมีผู้ใดโต้แย้งหรือให้ความเห็นเป็นอย่างอื่น
(สำหรับ ท่านผู้อ่านที่อาจไม่เข้าใจว่าสันปันน้ำหมายถึงอะไร   ให้นึกภาพเทือกเขา
ครับ  แนวสูงสุดของเทือกเขาที่เมื่อฝนตกแล้ว น้ำฝนแยกไหลลงสู่พื้นที่ที่ต่ำกว่าทั้ง
สองด้านคือสันปันน้ำ   เป็นการแบ่งโดยธรรมชาติว่าด้านไหนเป็นเขตไทย  ด้านไหน
เป็นเขตกัมพูชา  สันปันน้ำเป็นส่วนหนึ่งของภูเขา เป็นหินที่แกร่งและอยู่ได้ตลอดไป)


ส่วนกัมพูชาใช้แผนที่ผนวก ๑ ที่ใช้แนบท้ายคำฟ้องคดีปราสาทพระวิหารเป็นแผนที่
กำหนดเขตแดน
ปัญหาของไทย-กัมพูชาที่เกี่ยวข้องกับเขตแดนบริเวณเทือกเขาดงรักมีสองเรื่องใหญ่
สองช่วงเวลา


ช่วงแรกคดีปราสาทพระวิหาร ไทย-กัมพูชา พ.ศ. ๒๕๐๒ – ๒๕๐๕
วัน ที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ กัมพูชาเป็นโจทก์ยื่นคำร้องฝ่ายเดียวเพื่อฟ้องไทยเป็น
จำเลย  ขอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า  พื้นที่ที่ประสาทพระวิหารตั้งอยู่
นั้นอยู่ในอำนาจอธิปไตยของกัมพูชา


(ท่าน อาจารย์สมปองหยิบยกประเด็นที่พวกเราควรทราบไว้ด้วยว่า  คำฟ้องของเขมร
กล่าวถึงเฉพาะพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของปราสาทพระวิหาร  ไม่ใช่พื้นที่เขาพระวิหาร  จากนี้
ไปทุกครั้งเมื่อพูดถึงคดีปราสาทพระวิหาร  ห้ามพูดว่าคดีเขาพระวิหาร หรือคดีปราสาท
เขาพระวิหารเป็นอันขาด)


เนื้อหาจากนี้ไปค่อนข้างจะสำคัญ
เขมรขอให้ศาลฯวินิจฉัย ๕ ประเด็นสำหรับคดีปราสาทพระวิหารครับ


๑. สถานะ ภาพของแผนที่ผนวก ๑ แนบท้ายคำฟ้อง (เป็นแผนที่ที่ทำขึ้นโดยฝรั่งเศส
และ/หรือกัมพูชาโดยไทยไม่มีส่วนร่วมด้วยเลย แม้แต่ฉบับเดียว จึงมีความผิดพลาด
โดยอำนวยประโยชน์ให้ผู้จัดทำคือฝรั่งเศสและนำความเสียหายมา สู่ประเทศไทย)
ท่านอาจารย์สมปองกล่าวด้วยว่า ไทยมิได้เคยยอมรับในอดีตและไม่สมควรอย่างยิ่งที่
จะยอมรับแผนที่ที่กัมพูชานำ มาอ้างอิงในปัจจุบันไม่ว่าในกรณีใด


๒. ความถูกต้องของเขตแดนที่ปรากฏบนแผนที่ผนวก ๑


ทั้งข้อ ๑ และ ข้อ ๒ ศาลงดเว้นการวินิจฉัยความถูกต้องของเส้นเขตชายแดน ศาล
ไม่ได้ทำหน้าที่กรรมการปักปันเขตแดนครับ


๓. ชี้ขาดว่าพื้นที่ที่ประสาทพระวิหารตั้งอยู่นั้น  อยู่ภายใต้อธิปไตยกัมพูชา


ศาลวินิจฉัยด้วยคะแนนเสียง ๙ ต่อ ๓ ว่า ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนพื้นที่ภายใต้
อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา


๔. ให้ไทยถอนกำลังออกจากตัวปราสาทและบริเวณที่ตั้งปราสาท


ศาลวินิจฉัยด้วยคะแนนเสียง ๙ ต่อ ๓ ว่าไทยมีพันธะกรณีจะต้องถอนทหาร ตำรวจ
หรือยามรักษาการณ์ออกจากปราสาทพระวิหาร หรือบริเวณใกล้เคียงที่อยู่บนดินแดน
เขมร


๕.ให้ไทยคืนวัตถุโบราณที่สูญหายไปจากปราสาทพระวิหารเมื่อปี ค.ศ. ๑๓๕๐ –
๑๙๖๒ศาลวินิจฉัยด้วยคะแนนเสียง ๗ ต่อ ๕ ว่าไทยมีพันธะจะต้องคืนให้กัมพูชา
บรรดาวัตถุที่กัมพูชาอ้างถึง


สำหรับจุดยืนและท่าทีของประเทศไทยภายหลังคำพิพากษาของศาลฯมีดังนี้ครับ


ครม. ได้มีมติเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๐๕ ไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลฯ
โดยเห็นว่ามิได้เป็นการพิจารณาวินิจฉัยคดีตามกระบวนการที่ชอบ  ขัดต่อหลักยุติ
ธรรมและหลักกฎหมายระหว่างประเทศ


อย่างไรก็ตามในฐานะที่ ไทยเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ   จึงได้ปฏิบัติตาม
พันธะข้อ ๙๔ ของกฎบัตรสหประชาชาติ    ทั้งนี้โดยยื่นคำประท้วงคัดค้านไปยัง
สหประชาชาติ และตั้งข้อสงวนไว้อย่างชัดเจนว่า ไทยสงวนสิทธิที่มีอยู่หรือพึงมี
ในอนาคตที่จะดำเนินการเรียกคืนซึ่งการครอบครองปราสาทพระวิหารโดยสันติวิธี
(หนังสือว่าด้วยข้อสงวน ยังมีผลบังคับจนถึงปัจจุบัน  ไม่มีการขาดอายุความ)


ก่อน จะเดินหน้าต่อไปยังปัญหาที่สอง  มีประเด็นที่พวกเรา (โดยเฉพาะเจ้าหน้า
ที่ที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย) ต้องท่องกันให้ขึ้นใจครับว่า ไทยเรายืนหยัดเส้นแบ่งเขต
แดนไทย-กัมพูชาที่สันปันน้ำเท่านั้น เพราะฉะนั้นพื้นที่ทับซ้อน(ที่มีความหมายว่า
ทั้งไทยและเขมรแย่งกันเป็นเจ้า ของ) จะมีเฉพาะพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของปราสาท
พระวิหารเท่านั้น (เขมรได้ครอบครองโดยคำวินิจฉัยของศาลโลกแต่ไทยยังสงวน
สิทธิอยู่) ส่วนพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารที่แบ่งโดยสันปันน้ำ  เราถือเป็นดินแดน
ของประเทศไทยทั้งสิ้น


ช่วงที่สองการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก


ประเด็นในส่วนนี้ไม่สลับซับซ้อนมากนัก


กัมพูชา ได้ขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก   คำขอขึ้นทะเบียน
ของกัมพูชานี้ได้อ้างอิงคำพิพากษาของศาลในคดีปราสาทพระวิหาร อย่างผิดพลาด
โดยอ้างว่าศาลรับรองแผนที่ผนวก ๑ ท้ายคำฟ้องของกัมพูชาว่าเป็นแผนที่ที่ถูกต้อง
(ข้อเท็จจริงคือศาลโลกมิได้มีการวินิจฉัยเรื่องเขตแดน)


ซ้ำร้ายไปกว่า นั้น ในช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑  รัฐบาลไทยใน
ขณะนั้นโดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงต่างประเทศ และกรมแผนที่ทหาร
ได้พร้อมใจกันยอมรับนับถืออำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเหนือ ปราสาทพระวิหาร โดย
การออกแถลงการณ์ร่วมกับกัมพูชา


แถลงการณ์ร่วมนี้ เป็นเอกสารประกอบการเสนอขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็น
มรดกโลก โดยกัมพูชาฝ่ายเดียว โดยไทยให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่


ลงนามโดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศไทย และรองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา
เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๕๑ ลงนามย่อไว้ตั้งแต่เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑




--------------------------------------------------------------------
อ่านทั้งหมดแล้วพอจับประเด็นสั้นๆได้ว่า


๑. ปัญหาเขตแดนไทย – กัมพูชา   ไทยยึดถือสนธิสัญญา  กัมพูชายึดถือแผนที่
ผนวก๑ที่ใช้แนบคำฟ้อง


๒. ศาลโลกไม่ได้วินิจฉัยปัญหาเขตแดน   แต่กัมพูชานำไปใช้อ้างอิงอย่างผิดพลาด
ในคำขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก


๓. รัฐบาลไทยยุคก่อนหน้านี้ลงนามในแถลงการณ์ร่วมสนับสนุนกัมพูชาตามข้อ ๒.
เท่ากับเป็นการยอมรับเส้นแบ่งเขตดินแดนตามแผนที่ผนวก ๑  โดยปริยาย     





 
-----------------------------------------------------------------------
       เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ที่ผ่านมา  เขมรใจดี เปิดให้คนไทย เข้าไปชมได้
แต่ทหารไทยก็ควร  ออกมาเพื่อจะได้ส่งเสริมการท่องเทียว  ขณะนี้ ทหารไทย
ก็ไม่ได้กลับเข้าไป เมื่อก่อนประจำการก็เหมือนไม่อยู่

 
//

ดูยังไงก็สันปันน้ำ  ศาลโลกก็ตัดสินเข้าข้างมหาอำนาจ เป็นเหตุให้เราไม่รับ
อำนาจศาลโลกตั้งแต่นั้นมา  แต่เราก็ยืนยันยกแค่ตัวประสาทให้เขาไปในวันนั้น

 

 
//

การตัดสินไม่ได้ตัดสิน ที่ดินตัดสินแค่ตัวประสาท แต่ฮุนเซน ทำให้มันได้ โดนตั้งธงชาติ
และ จนท.ระดับสูงมาในพื้นที่ ทั้งเมียและผัวก็มาเดินเล่นบนพื้นที่ 4.7 ตารางกิโลเมตร
แล้วตอกย้ำอำนาจเหนือดินแดน ของเราไม่เคยเข้าไปเลย ถึงเข้าไปก็ทำเรื่องขออณุญาติ
เขาอีก ก็ไม่ต่างจากการยกให้เขาดีๆ

 
//

แผ่นที่ ที่เขายืนให้มรดกโลก ไม่มีพื้นที่ทับซ้อน การก่อสร้างทาง ไทยประท้วงตาม
mou 43 ก็ไม่สนสร้างจนแล้วเสร็จ

 

 
//

ตอนแพ้ครั้งนั้นก็ยอมตัดให้ไป ถ้ามันอยากขึ้นมาก็ให้มัน ขึ้นหน้าผามา แต่ผ่านไป
เราก็ยอมให้มันตัดถนนมาเลย นี้แหละมิตรประเทศที่ดี

 
//

เขมรเชิญทูต 20 ประเทศมาดู ว่าไม่มีทหารในพื้นที่ ปลอดภัยแล้ว มรดกโลก
มาได้เติมที่เลย ดูมันทำ  ตอกหมุดจบเกมเลย พื้นที่ รอบๆประสาทก็ไม่เหลือ

 
    ตัวประสาทเขาขึ้นมรดกโลกไปแล้ว ทั้งที่ทำไม่ได้เพราะถ้ามองโดยรวมมีแค่
ตัวประสาทมันยืนไม่ผ่าน แถมเป็นพื้นที่มีขอพิพาท และองประกอบอื่นก็อยูฝ้งเรา
เด็กเส้นจริงๆ ประเทศมหาอำนาจ หวังโครงการก่อสร้อง
  ปีนี้  แผ่นการบริหารพื้นที่รอบๆ ก็คงเสร็จ ไม่สนใจเสียงประท้วงจากเราแน่นอน

 

ประเทศไรพรมแดน

ประเทศไรพรมแดน

» ลองอ่านเล่นๆ จริงจัง ขอให้ ท้องผูก ผมเอาที่อ่านมาแล้วเอามาสรุปเล่นๆ ครับ
ประเทศจะไรพรมแดนได้ไง ข้างบ้านไม่เคยจริงใจเอาเปรียบ คิดได้ไง





ภาพแรก จุด ที่6 คือจุด ที่ถูกลักพาตัวไป ตาม กระทรวงต่างประเทศ นะครับ จุด1ถึง 6 ก็ทาง
เดินตาม vdo จุด 2 รั่วลวดหนามเก่า UN แต่คิดดีๆโดนที่ จุดที่ 5 มากกว่า เพราะเขมรยึดครอง
ตั้งแต่เส้นสีเหลืองแล้ว ( สังเกต สระน้ำ ที่ UN ขุดทิ้ง ใว้นะครับ)



//

ภาพ 2 จุดลักพาตัวก็ ประมาณ หลัก ที่ 46 นะครับตามภาพ เพราะกำลังจะเดินไปดู
ยังเข้าไม่ถึง ก็โดน ( สังเกต สระน้ำ ที่ UN ขุดทิ้ง ใว้นะครับ)


//

ภาพ 3 ลองลากเล่นๆ เสาหลักเขต มันมีขาเดินได้ หลักสากล คือการตั้งค่าย
UNHCR จะต้อง สร้างค่ายในเขตประเทศที่ 3 ที่ปลอดภัย จะๆได้ไม่ โดน ฆ่า
นี้ผมลากเส้นน้อยลงแล้วนะเกรงใจ เขมร เพราะเอาเข้าจริง UNHCR ต้องตั้ง
ค่ายลึกเข้ามาอีก คงมากกว่าเส้นสีน้ำเงินที่ผมลาก สระน้ำ ก็คงไม่ไปสร้างนอก
ค่าย (ทหาร มีจุดมาร์ค จริง ทุกหลัก แต่ผลประโยช์น ในนั้นก็เยอะนะ )


//


ภาพ 4 เส้นเขตแดน มัน เสร็จไปแล้วตั้งแต่ ราชกาลที่5
ลองคิดแบบไม่มีข้อมูล อะไรเลยแบบบ้านๆ ดูแค่ภาพนะครับ จะเห็นว่า ร.5
ฉลาดมากๆ(ไม่รู้จะราชาศัพย์ คำใหน) ให้เกาะกูดเป็นของเราในสัญญา เพราะ
เกาะมันเดินไม่ได้ แถมหลักเขต ถ้าลองสลับด้าน เอาหลัก 1 มาตั้งที่ทะเล
หลัก 73 ไปตั้งที่ ทางสันปันน้ำทางเขาพระวิหาร มันอาจทำให้เชื่อได้ว่ายัง
ปักปันไม่เสร็จ แต่พอว่างหลักแบบนี้ยิ่งสนับสนุนว่าปักปัน เสร็จแล้ว ตั้งแต่ ร.5



ภาพ 5 เอาของเขามา แปะให้ดูครับ ภาพนี้ นายทหารปืนใหญ่ผู้รักชาติ ให้มา ไม่ว่าจะวัดจากพิกัดของกองกำลังบูรพา พ.ศ. 2549 (เส้นสีแดง) หรือพิกัดของตำรวจตะเวนชายแดน พ.ศ. 2553 (เส้นสีฟ้า) และล่าสุดแม้แต่แผนที่ของกัมพูชา (L 7016) เองก็ระบุว่า 7 คนไทยอยู่ในประเทศไทย หลักเขตมันมีชิวิต วัดวันใหน มันก็เดินหาความเจริญ มุ่งหน้าเข้า
กทม. ถ้าวันนี้ไปวัดอีก ก็คงขยับเข้ามาหา กทม. อีก



ภาพ 6 ไม่มีอะไร ชวนไปดูหนังเฉยๆ ตามงานวัด หนังกลางแปลง หลายคนคงดูแล้วตอนหนังออกใหม่ๆ

คดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505

คดีปราสาทเขาพระวิหาร เป็นความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรกัมพูชากับราชอาณาจักรไทย ซึ่งเริ่มเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2501 ในการอ้างสิทธิเหนือบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ที่ชายแดนไทยด้านอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และชายแดนกัมพูชาด้านจังหวัดพระวิหาร ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการที่ทั้งไทยและกัมพูชา ถือแผนที่ปักปันเขตแดนตามแนวสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรักคนละฉบับ ทำให้เกิดปัญหาพื้นที่ทับซ้อนของทั้งสองฝ่ายในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของตัวปราสาท โดยทั้งฝ่ายกัมพูชาและฝ่ายไทยได้ยินยอมให้มีการพิจารณาปัญหาดังกล่าวขึ้นที่ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2502

คดีนี้ศาลโลกได้ตัดสินให้ตัวปราสาทเขาพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 3 ท่ามกลางความไม่พอใจของฝ่ายไทย ซึ่งเห็นว่าศาลโลกตัดสินคดีนี้อย่างไม่ยุติธรรม เนื่องจากศาลโลกยึดติดอยู่บนแผนที่ฉบับเดียว โดยที่ศาลโลกมิได้มีการตรวจสอบสถานที่อย่างจริงจังตามข้อตกลงไทย-ฝรั่งเศส อย่างไรก็ตาม การตัดสินคดีครั้งนี้ไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องอาณาเขตทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา ในบริเวณดังกล่าวให้หมดไป และยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังต่อมาจนถึงปัจจุบัน
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชาในสมัยนั้นหลังจากกัมพูชาเป็นเอกราช ในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ประเทศไทยได้เป็นประเทศแรกที่ได้ให้การรับรอง จนมีการตั้งสำนักผู้แทนทางการทูตขึ้นที่กรุงพนมเปญ และสัมพันธภาพก็เจริญมาด้วยดีโดยตลอด จนกระทั่ง พ.ศ. 2501 เอกอัครราชทูตกัมพูชา ประจำกรุงลอนดอน ซัมซารี ได้เขียนบทความเกี่ยวกับสิทธิเหนือปราสาทเขาพระวิหาร ลงในนิตยสาร "กัมพูชาวันนี้ (le Combodge d'aujourd'hui ) " มีเนื้อหาส่วนหนึ่งระบุบว่า "ไทยอ้างสิทธิเหนือวิหารนี้ โดยการใช้กำลังทหารเข้ายึดเอาพระวิหาร-อันเป็นการกระทำแบบฮิตเลอร์" จากนั้นมาวิทยุและหนังสือพิมพ์ของกัมพูชาก็ได้พูดถึงเรื่องสิทธิเหนือปราสาทเขาพระวิหารนี้อยู่เรื่อย ๆ จนเกิดกระแส "ทวงเขาพระวิหารคืนจากไทย" แต่ยังไม่รุนแรงนัก นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์ปล้นสะดมทางชายแดนไทย-กัมพูชาเสมอ ๆ ทำให้รัฐบาลไทยในขณะนั้นได้เสนอให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการผสมเพื่อดำเนินการตรวจสอบเส้นเขตแดน แต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนองจากรัฐบาลกัมพูชา ทำให้ความสัมพันธ์เริ่มทรุดลงอย่างรวดเร็ว

วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 ประเทศจีนได้ประกาศรับรองกัมพูชา และสมเด็จนโรดมสีหนุได้เสด็จไปเยือนปักกิ่ง ซึ่งในสมัยนั้นอยู่ในช่วงระวังการแทรกซึมจากคอมมิวนิสต์ รัฐบาลไทยจึงประกาศภาวะฉุกเฉินในเขตท้องที่จังหวัดตราด, จันทบุรี, ปราจีนบุรี, สุรินทร์, บุรีรัมย์, ศรีสะเกษ และอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี เหตุการณ์จึงตึงเครียดหนักขึ้น

วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2501 มีการเจรจาเพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชาขึ้นที่กรุงเทพ แต่ไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้ วันที่ 7 กันยายน ปีเดียวกัน ประเทศไทยได้เดินขบวนประท้วงประเทศกัมพูชา และอ้างถึงกรรมสิทธิ์ของไทยเหนือเขาพระวิหาร นอกจากนี้ยังมีการโจมตีระหว่างสื่อไทยและกัมพูชากันอยู่เนื่อง ๆ จนกระทั่งวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 รัฐบาลกัมพูชาได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย และความสัมพันธ์ก็เลวร้ายลงจนไปสู่การฟ้องร้องต่อศาลโลก




แผนที่ A มาตราส่วน 1:10,000 เป็นแผนที่ที่เป็นทางการของไทย แสดงแนวเส้นเขตแดนฝรั่งเศส-สยามปี 1907 (Line 1) ซึ่งไทยได้โต้แย้งต่อศาลโลกมาตั้งแต่ปี 2505 กับแนวเส้นเขตแดน (Line 2) ที่ไทยใช้หลักสากลยึดถือแนวสันปันน้ำเป็นหลักในการแบ่งเส้นเขตแดนและได้อ้างสิทธิอันชอบธรรมเหนืออาณาบริเวณพื้นที่สีเขียว การยกผืนดินที่ตั้งปราสาทพระวิหารให้แก่กัมพูชากำลังจะสร้างความยุ่งยากให้แก่การกล่าวอ้างอธิปไตยของไทย


แผนที่ B มาตราส่วน 1:200,000 แสดงภาพรวมที่ตั้งปราสาทพระวิหารและแนวเส้นเขตแดนตามแผนที่ของฝรั่งเศสเมื่อ 100 ปีก่อน (Line 1) กับเส้นเขตแดนที่ไทยกล่าวอ้าง (Line 2) โดยยึดสันปันน้ำตามหลักสากล ไทยยืนยันการกล่าวอ้างในเรื่องนี้ตลอด 46 ปีที่ผ่านมา




รายละเอียดของคดี

หลังจากศาลโลกได้ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชาในเดือน มิ.ย.2505 ในเดือนถัดมาไทยก็ได้ยื่นบันทึกต่อศาลโลกพร้อมแผนที่ฉบับนี้แสดงที่ตั้งของปราสาทพระวิหารกับบริเวณโดยรอบและเส้นเขตแดนตามแนวสันปันน้ำที่ไทยสงวนที่จะกล่าวอ้าง ภาพล่างซ้ายแสดงให้เห็นว่าไทยยอมรับให้พื้นที่แก่ปราสาทที่กว้างที่สุดเพียง 100 เมตรเท่านั้น อาณาบริเวณข้างนอกเส้นปรุเป็นพื้นที่เขตสันปันน้ำคดีนี้มีข้อเท็จจริงอยู่ว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2447 ถึง พ.ศ. 2451 ประเทศฝรั่งเศสมีฐานะเป็นรัฐผู้อารักขากัมพูชา ได้ทำสัญญากับประเทศไทยอยู่หลายฉบับ แต่มีสัญญาอยู่ฉบับหนึ่งที่เป็นต้นเหตุของปัญหานี้ คือ สัญญาซึ่งลงในวันที่ 13 กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2447 มีความตกลงอยู่ว่า พรมแดนที่เป็นปัญหาให้ถือเอาสันปันน้ำเป็นเกณฑ์ในการแบ่งเขตแดน และให้แต่งตั้งคณะกรรมการปักบันเขตแดน เพื่อได้ทำการสำรวจบริเวณพื้นที่แถบนั้น

ต่อมาในปี พ.ศ. 2450 ทางการไทยได้ขอให้ทางฝรั่งเศสทำแผนที่พรมแดน ฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ขึ้นจำนวนหนึ่ง หนึ่งในนั้นเป็นแผนที่ที่ฝรั่งเศสลากเส้นเอาเขาพระวิหาร ซึ่งอยู่ในความครอบครองของประเทศไทย ไปอยู่ในฝั่งเขตแดนกัมพูชาของทางฝรั่งเศสด้วย โดยมิได้ยึดแนวสันปันน้ำเป็นเกณฑ์ (แผนที่นี้ต่อมาเรียกว่า "แผนที่ผนวก 1" (Annex I map))

แม้กระนั้น ทางไทยกลับไม่ได้คัดค้านแผนที่นั้นภายในเวลาอันสมควร คณะกรรมการฝ่ายไทยไม่ได้ดำเนินการใด ๆ เลย แม้จะไม่ได้แสดงการยอมรับ แต่ก็ไม่ได้ทำการคัดค้านว่าแผนที่ฉบับที่มีปัญหานั้นไม่ถูกต้อง ท่านเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นคือ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ตรัสขอบใจราชทูตฝรั่งเศสผู้นำส่งแผนที่นั้น และผู้ว่าราชการจังหวัดก็มิได้ทำการทักท้วง

ต่อมา มีการประชุมคณะกรรมการที่กรุงเทพ ฯ ในปี พ.ศ. 2452 โดยใช้แผนที่ผนวก 1 นี้เป็นหลัก ก็ไม่มีผู้คัดค้าน

ปี พ.ศ. 2468 มีการจัดทำสนธิสัญญาระหว่างไทย-ฝรั่งเศส โดยมีการอ้างอิงถึงเขตแดนดังกล่าว และในการเจรจาสนธิสัญญาระหว่างไทย-ฝรั่งเศส ณ กรุงวอชิงตัน เมื่อปี พ.ศ. 2490 รัฐบาลไทยไม่ได้ประท้วงประเด็นดังกล่าว นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2473 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้เสด็จไปเขาพระวิหาร โดยมีผู้สำเร็จราชการฝรั่งเศสรับเสด็จในฐานะทรงเยือนจังหวัดหนึ่งของกัมพูชา แม้ในระหว่าง พ.ศ. 2477-2478 มีการสำรวจพบว่ามีความแตกต่างระหว่างเส้นพรมแดนในแผนที่และแนวสันปันน้ำจริง และได้มีการทำแผนที่อื่น ๆ ซึ่งแสดงว่าปราสาทดังกล่าวอยู่ในประเทศไทย แต่ประเทศไทยก็ยังคงใช้และจัดพิมพ์แผนที่ที่แสดงว่าพระวิหารตั้งอยู่ในกัมพูชาต่อไป เหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศพิจารณาว่า รัฐบาลไทยในขณะนั้นได้ยอมรับ (acquiese) ว่า ฝรั่งเศส มีอำนาจอธิปไตยเหนือเขาพระวิหารเป็นเวลายาวนานถึง 50 ปีมาแล้ว ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ว่าด้วยหลักกฎหมายปิดปาก (estoppel)

ปี พ.ศ. 2501 หลังจากที่กัมพูชาได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส จึงเริ่มมีข้อขัดแย้งเรื่องเขตแดนรอยต่อระหว่างไทยกับกัมพูชา จนกระทั่ง เจ้านโรดมสีหนุ นายกรัฐมนตรีกัมพูชาขณะนั้น นำเรื่องขึ้นเสนอสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในปี พ.ศ. 2502 โดยใช้แผนที่ผนวก 1 เป็นหลักฐานสำคัญ ซึ่งแม้เส้นเขตแดนบนแผนที่จะไม่ได้ใช้สันปันน้ำเป็นเกณฑ์ แต่แผนที่ฉบับนี้ไม่เคยถูกคัดค้านจากรัฐบาลไทยมาก่อน

ดังนั้นในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ จึงได้ตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 3 นอกจากนั้นยังตัดสินด้วยคะแนนเสียง 7 ต่อ 5 ให้ประเทศไทยส่งคืนโบราณวัตถุที่นำออกมาจากปราสาทเขาพระวิหารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยได้เข้ายึดครองพื้นที่ดังกล่าว ต่อมาอีกราวยี่สิบกว่าวัน รัฐบาลไทยโดย ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือไปยัง นายอูถั่น เลขาธิการสหประชาชาติ เพื่อประท้วงคำพิพากษาของศาลโลก และสงวนสิทธิที่ประเทศไทยจะเรียกร้องปราสาทพระวิหารกลับคืนในอนาคต

ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช นักกฎหมายชาวไทย ตั้งข้อสังเกตว่าการตัดสินคดีในศาลโลก ในคดีทำนองเดียวกันนี้ ทั้งก่อนหน้าและหลังคดีพระวิหาร มีเพียงคดีนี้เพียงคดีเดียวที่ผู้พิพากษาให้ความสำคัญกับแผนที่เหนือสนธิสัญญา ในคดีอื่นศาลจะให้น้ำหนักกับแผนที่ก็ต่อเมื่อเป็นแผนที่แนบท้ายสนธิสัญญา หรือเป็นแผนที่ที่ทำโดยฝ่ายที่เสียสิทธิ์ จะไม่ให้ความสำคัญกับแผนที่ฝ่ายเดียว ซึ่งถือเป็นพยานบอกเล่า

คำประท้วงของรัฐบาลไทยต่อคำพิพากษาSarit Dhanarajata's statement on July 4, 1962

"แถลงการณ์ของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ต่อประชาชนชาวไทย เรื่องปราสาทเขาพระวิหาร เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2505"

หากไม่ได้ยินเสียง โปรดดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:วิธีใช้สื่อ
วันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2505 หลังจากศาลโลกตัดสินแล้ว 20 กว่าวัน รัฐบาลไทยโดย ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือไปยัง นายอูถั่น เลขาธิการสหประชาชาติ เพื่อประท้วงคำพิพากษาของศาลโลกโดยอ้างว่าคำพิพากษานั้นขัดต่อกฎหมายและความยุติธรรม นอกจากนี้ ยังสงวนสิทธิที่ประเทศไทยจะเรียกร้องปราสาทพระวิหารกลับคืนในอนาคตด้วย

โดยมีคำประท้วงดังนี้

ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติที่จะอ้างถึงคดีเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร ซึ่งได้นำขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ โดยคำร้องเริ่มคดีฝ่ายเดียวของกัมพูชา เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 1959 (พ.ศ. 2502) และซึ่งศาลได้พิพากษา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 1962 (พ.ศ. 2505) ยอมรับนับถืออธิปไตยของกัมพูชาเหนือซากของปราสาทพระวิหาร

ในแถลงการณ์เป็นทางการลงวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ. 1962 (พ.ศ. 2505) รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ประกาศต่อประชาชนแสดงความไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาของศาลที่กล่าวข้างต้น โดยมีเหตุผลว่า ตามความเห็นของรัฐบาล คำพิพากษาขัดต่อข้อกำหนดอันชัดแจ้งของบทที่เกี่ยวเนื่องของสนธิสัญญา ค.ศ. 1904 (พ.ศ. 2447) และ ค.ศ. 1907 (พ.ศ. 2450) และขัดต่อหลักกฎหมาย และความยุติธรรม แต่อย่างไรก็ดีรัฐบาลก็ยังแถลงว่าในฐานะที่เป็นสมาชิกสหประชาชาติรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะปฏิบัติตามพันธกรณีที่ตนมีอยู่ตามคำพิพากษาดังกล่าว เพื่อปฏิบัติหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ตามข้อ 94 ของกฎบัตร

ข้าพเจ้าใคร่จะแจ้งให้ท่านทราบว่า ในการตัดสินใจที่จะปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารนั้น รัฐบาล ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปรารถนาที่จะตั้งข้อสงวนอันชัดแจ้งเกี่ยวกับสิทธิใด ๆ ที่ประเทศไทยมีหรืออาจมีในอนาคต เพื่อเอาปราสาทพระวิหารกลับคืนมา โดยอาศัยกระบวนการกฎหมายที่มีอยู่หรือที่จะพึงนำมาใช้ได้ในภายหลัง และตั้งข้อประท้วงต่อคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ที่ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา”

ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงรู้สึกเป็นเกียรติที่จะแจ้งข้อความข้างต้นให้ท่านทราบ พร้อมกับขอให้ท่านแจ้งข้อความในหนังสือฉบับนี้ให้สมาชิกทั้งปวงขององค์การนี้ทราบทั่วกันด้วย

คณะผู้พิพากษาและตัวแทนของทั้ง 2 ฝ่าย
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรุงเฮก ระหว่างการพิจารณาคดีเขาพระวิหาร[แก้] ผู้พิพากษาที่ร่วมการพิจารณาผู้พิพากษามีทั้งหมด 15 ท่าน คะแนนเสียง 9 ต่อ 3 ตัดสินว่าปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา และ คะแนนเสียง 7 ต่อ 5 ตัดสินว่า ไทยต้องคืนวัตถุสิ่งประติมากรรม แผ่นศิลา ส่วนปรักหักพังของอนุสาวรีย์รูปหินทราย เครื่องปั้นดินเผาโบราณและปราสาทหรือบริเวณเขาพระวิหารให้แก่กัมพูชา

โบดาน วินิอาร์สกิ (Bohdan Winiarski) : ชาวโปแลนด์ เป็นประธาน — พิพากษาให้เป็นของกัมพูชา
ริคาร์โด อาลฟาโร (Ricardo Alfaro) : ชาวปานามา เป็นรองประธาน — พิพากษาให้เป็นของกัมพูชา
ลูซิโอ มอเรโน กินตานา (Lucio Moreno Quintana) : ชาวอาร์เจนตินา — พิพากษาให้เป็นของไทย
เวลลิงตัน คู (Wellington Koo) : ชาวจีนไต้หวัน — พิพากษาให้เป็นของไทย
เซอร์ เพอร์ซี สเปนเดอร์ (Sir Percy Spender) : ชาวออสเตรเลีย — พิพากษาให้เป็นของไทย
จูลส์ บาเดอวังต์ (Jules Basdevant) : ชาวฝรั่งเศส — พิพากษาให้เป็นของกัมพูชา
อับดุล บาดาวี (Abdul Badawi) : ชาวอียิปต์ — พิพากษาให้เป็นของกัมพูชา
เซอร์ เจรัลด์ ฟิตซ์มอริส (Sir Gerald Fitzmaurice) : ชาวอังกฤษ — พิพากษาให้เป็นของกัมพูชา
วลาดิเมียร์ คอเรดสกี (Vladimir Koretsky) : ชาวรัสเซีย — พิพากษาให้เป็นของกัมพูชา
โคะทะโระ ทะนะกะ (Kotaro Tanaka) : ชาวญี่ปุ่น — พิพากษาให้เป็นของกัมพูชา
โจเซ่ บุสตามันเต อี ริเบโร (José Bustamante y Rivero) : ชาวเปรู — พิพากษาให้เป็นของกัมพูชา
เกตาโน มอเรลลี (Gaetano Morelli) : ชาวอิตาลี — พิพากษาให้เป็นของกัมพูชา
สปีโรปูลอส (Jean Spiropoulos) : ชาวกรีก — งดออกเสียง (ป่วย)
โรแบร์โต คอร์โดวา (Roberto Cordova) : ชาวเม็กซิโก — งดออกเสียง (ป่วย)
ฟิลิป เจสซัป (Philip Jessup) : ชาวอเมริกา (ทนายฝ่ายไทย)
กานเย กวนเยต์ (Garnier-Coignet) : นายทะเบียนศาล
คณะผู้แทนของประเทศกัมพูชา[5]ฯพณฯ ตรวง กัง (Truong Cang) : สมาชิกสภาองคมนตรี เป็นตัวแทน
ทนายฯพณฯ อุค ชุม (Ouk Chhoim) : อัครราชทูตที่ปรึกษาสถานเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศฝรั่งเศส
ดีน แอจิสัน (Dean Acheson) : เนติบัณฑิตประจำศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกา อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ สมัยประธาธิบดี ทรูแมน
โรเช่ ปินโต (Roger Pinto) : อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปารีส
โปล เรอแตร์ (Paul Reuter) : อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปารีส
ที่ปรึกษาทางกฎหมายเบรซ์ เอม คลาเกตต์ (Brice M. Clagett) : เนติบัณฑิต ประจำศาลอุทธรณ์แห่งสหรัฐอเมริกา เขตโคลอมเบีย
ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญพันเอก งิน กาเรต (Ngin Karet) : อธิบดีกรมแผนที่ แห่งกองทัพกัมพูชา
เลขาธิการคณะผู้แทนชาญ ยูรัน (Chan Youran)
รองเลขาธิการคณะผู้แทนเขม สงวน (Chem Snguon)
คณะผู้แทนของประเทศไทย[5]
คณะผู้แทนฝ่ายไทย ในคดีเขาพระวิหาร
คณะผู้แทนฝ่ายไทยหม่อมเจ้าวงษ์มหิป ชยางกูร: เอกอัครราชทูตประจำประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นตัวแทน
ทนายม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช: เนติบัณฑิต
อังรี โรแลง (Henry Rolin) : ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยบรัสเซลส์ และทนายความประจำศาลอุทธรณ์ กรุงบรัสเซลส์
เซอร์ แฟรงก์ ซอสคีส (Sir Frank Soskice) : อดีตแอททอร์นี เยเนราล ในคณะรัฐบาลอังกฤษ
เจมส์ เนวินส์ ไฮด์ (James Nevins Hyde) : เนติบัณฑิตแห่งรัฐนิวยอร์ก และทนายความประจำศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกา
มาร์เซล สลูสนี (Marcel Slusny) : อาจารย์มหาวิทยาลัยบรัสเซลส์ และทนายความประจำศาลอุทธรณ์ กรุงบรัสเซลส์
เจ.จี. เลอ เคนส์ (J. G. Le Quesne) : เนติบัณฑิต
ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญพลโท บุศรินทร์ ภักดีกุล: เจ้ากรมแผนที่ กระทรวงกลาโหม
สุข เปรุนาวิน: รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
จินดา ณ สงขลา: รองเลขาธิการ ก.พ.
พันโท พูนพล อาสนจินดา: อาจารย์โรงเรียนแผนที่ กรมแผนที่ กระทรวงกลาโหม
ที่ปรึกษาทางกฎหมายจาพิกรณ์ เศรษฐบุตร: หัวหน้ากองกฎหมาย กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงต่างประเทศ
เดวิด เอส ดาวนส์ (David S. Downs) : ทนายความประจำศาลสูง ประเทศอังกฤษ

ระหว่างและหลังการพิพากษาของศาลโลกบุคคลสำคัญของประเทศไทยหลายท่าน และผู้พิพากษา 3 ท่านที่ตัดสินให้ไทยชนะได้ออกมาให้ความเห็นต่าง ๆ ดังนี้

[ ระหว่างการพิพากษา ...เป็นที่ทราบกันทั่วไปในขณะนั้นว่าการประท้วงมีแต่จะเป็นทางให้ฝรั่งเศสยกเป็นข้อแก้ตัวที่จะยึดดินแดนมากขึ้น เหตุการณ์ต่าง ๆ ยังคงเป็นอยู่เหมือนเดิม ตั้งแต่ฝรั่งเศสได้นำเรือรบเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา และยึดเมืองจันทบุรี...

— หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล พระธิดาในสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ

หลังการพิพากษา บุคคลชาวไทย ...ไม่เคยเห็นการวินิจฉัยกฎหมายระหว่างประเทศที่หละหลวม เช่นคำพิพากษานี้...

— ดร.ถนัด คอมันตร์ รมต.ต่างประเทศในสมัยนั้น
...คำพิพากษาศาลโลกผิดพลาดอย่างยิ่ง...แม้อีกร้อยสองร้อยปี คำพิพากษาของศาลโลกครั้งนี้จะไม่ทำให้นักกฎหมายคนใดในอนาคตเห็นด้วยเลย...

— ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ทนายฝ่ายไทย
...ด้วยเลือดและน้ำตา...สักวันหนึ่งเราจะต้องเอาเขาพระวิหารคืนมาให้จงได้...

— จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีไทยในสมัยนั้น
...เราคืนให้เฉพาะพื้นที่รองรับตัวปราสาทเขาพระวิหารเท่านั้น ส่วนเขมรจะขึ้นหรือเข้ามาทางไหนเราไม่รับรู้ เป็นเรื่องของเขมรเอง...

— พลเอก ถนอม กิตติขจร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทยในสมัยนั้น
...มันไม่ใช่เป็นเรื่องให้ไม่ให้ เป็นเรื่องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาล...

— พลเอก ประภาส จารุเสถียร รมต.มหาดไทยในสมัยนั้น

วิกิซอร์ซ มีข้อมูลต้นฉบับเกี่ยวกับ:

คำปราศรัยของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ภายหลังทราบคำตัดสินของศาลโลก[แก้] ผู้พิพากษาที่ตัดสินให้ไทยชนะ ...สันปันน้ำไม่ใช่นามธรรมที่คิดขึ้นด้วยสติปัญญา สันปันน้ำเป็นผลอันเกิดขึ้นจากลักษณะของพื้นภูมิประเทศ และย่อมเป็นลักษณะของภูมิประเทศอยู่เสมอ สันเขา แนวชะง่อนผา หรือส่วนสูงของพื้นดินเหล่านี้ย่อมจะประกอบกันเป็นเส้นสันปันน้ำธรรมชาติ...

— ลูซิโอ มอเรโน กินตานา ผู้พิพากษาชาวอาร์เจนตินา
...ข้าพเจ้าคิดว่าฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ของตนเองเป็นสำคัญ

— เซอร์เพอร์ซี สเปนเดอร์ ผู้พิพากษาชาวออสเตรเลีย
...การยอมรับโดยการนิ่งเฉยหลักกฎหมายโรมันที่ว่า "ใครที่นิ่งจะถูกถือว่ายินยอม ถ้าเขาสามารถพูดได้" นั้น ตามความเห็นของข้าพเจ้านำมาใช้ในคดีนี้มิได้

— เซอร์ เวลลิงตันคู ผู้พิพากษาและอดีตนายกรัฐมนตรีชาวจีน

ผู้พิพากษาที่ตัดสินให้กัมพูชาชนะ .

..เห็นได้ชัดเจนว่าอารยธรรมตัวปราสาทเป็นของกัมพูชา แม้กระทั่งแผนที่ของกัมพูชาอีกด้วย
— โบดาน วินิอาร์สกิ ผู้ประธานการพิจารณาคดีเขาพระวิหารชาวโปแลนด์

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง