บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันเสาร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ศาลโลกหรือศาลพระภูมิ?

  by ชินเดช

                                                        
      
       กรณีพิพาท จากการรุกล้ำดินแดนของเขมร  ศาลโลก (ไอซีเจ) อ่านคำสั่งเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคมได้ออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวให้ทั้งสองฝ่ายคือ ไทยและกัมพูชาต้องถอนทหารพ้นไปจากพื้นที่พิพาท ทั้งในตัวปราสาทพระวิหาร ภูมะเขือ รวมไปถึงพื้นที่โดยรอบอื่นๆโดยไทยต้องออกจากพื้นที่ของตัวเอง      
      
        ขณะ ที่ฝ่ายกัมพูชายังคงสามารถคงชุมชน วัด ที่เป็นพลเรือนเอาไว้ได้ต่อไป และที่สำคัญยังคงอนุญาตให้ส่งกำลังบำรุงได้ตลอดเวลา โดยห้ามไม่ให้ไทยขัดขวาง
        เขมรคงได้ “ปรปักษ์” ต่อในพื้นที่ที่รุกล้ำเข้ามา  เรียกว่า ได้กับได้ เพราะในคำสั่งศาลโลกปี พศ.2505 พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร เป็นของไทยโดยสมบูรณ์  เขมรได้อธิปไตย เพราะแผนที่ปิดปาก เฉพาะพื้นที่บนตัวปราสาทเท่านั้น  และเขมรก็ยอมรับมาโดยตลอด
          หากพิจารณาโดยผิวเผินก็มองเห็นว่า ไม่มีฝ่ายไหนชนะ เพราะต้องถอนทหารทั้งคู่  แต่ในความเป็นจริงล้วนแล้วแต่เป็นชุมชนของฝ่ายเขมรทั้งสิ้น รวมไปถึงวัดแก้วศิขาคีรีสวาระ การรุกเข้ามาก่อสร้างถนน  จนเสร็จเรียบร้อย จนสามารถบรรทุกอาวุธยุทโธปกรณ์เข้ามาเสริมกำลังในช่วงที่มีการปะทะกับทหาร ไทยบ่อยครั้ง
         แต่นี่คือการปล้นที่แยบยลครับพี่น้อง...โดยมีคนไทยโดยเฉพาะรัฐบาลนาย อภิสิทธิ์  เวชชาชีวะแห่งพรรคประชาธิปัตย์ เป็นคนชี้ช่องให้โจรเข้าบ้านสมรู้ร่วมคิดกับโจรเป็นคณะสุดท้าย
         เพราะนี่เป็นการสุมหัวของนานาประเทศที่จะเข้ามาตักตวงผลประโยชน์ทรัพยากร ธรรมชาติในอ่าวไทย ที่มาในรูปแบบของ “คณะกรรมการประสานงาน” ระหว่างประเทศเพื่อการคุ้มครองและพัฒนาปราสาทพระวิหาร (ไอซีซี) จำนวน 7 ชาติ ตามกลไกของคณะกรรมการมรดกโลก นอกจากนี้ยังเข้ามาในรูปแบบของคณะผู้สังเกตการณ์ใน “เขตปลอดทหาร” นำโดย อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นตัวแทนของนานาชาติ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่แอบแฝงผลประโยชน์ทั้งสิ้น
          แม้ว่า จะเป็นมาตรการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลกที่กำหนดออกมาระหว่างที่กำลัง พิจารณาคดีหลักที่ฝ่ายกัมพูชาร้องให้ศาลโลกพิจารณาตีความคำพิพากษาเกี่ยวกับ ประสาทพระวิหารเมื่อปี พ.ศ. 2505 ว่าครอบคลุมพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรที่เป็นของไทยด้วยหรือไม่? (ทั้งที่คำพิพากษาของศาลโลกปี2505 เข้าไปอ่านกี่ครั้งต่อกี่ครั้ง..มันก็ไม่มีข้อความไหนที่จะบ่งบอกว่า พื้นที่โดยรอบ 4.6 ตร.กม.จะเป็นของเขมรตรงไหน..ชาติไหนหรือมนุษยชาติที่มีวัฒนธรรมทางภาษาบนโลก นี้หรือมนุษย์ต่างดาวก็เถอะ... ก็ต้องตีความในเนื้อแท้ของภาษาที่เขียนไว้อย่างเดียวกัน..)
       ที่สำคัญรัฐบาลไทยที่นำโดย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่ชื่อ กษิต ภิรมย์ ไปยอมรับขอบเขตอำนาจของศาลโลกตั้งแต่ต้น และเสียเปรียบมาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ขณะเดียวกันเมื่อศาลโลกออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้ทั้งสองฝ่ายถอนทหารออก มา    ทั้งคู่กลับแสดงความยินดี และแสดงท่าทียอมรับคำสั่งนั้นโดยดี
       เพราะความ “ดื้อตาใส” ของ ผู้นำรัฐบาลไทย คือ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ใช่หรือ?  ที่ไม่ยอมรับฟังความเห็นจากคนอื่นที่ทักท้วงให้รัฐบาลยกเลิกบันทึกข้อตกลง ว่าด้วยความร่วมมือปักปันเขตแดนทางบกระหว่างไทย-กัมพูชา(เอ็มโอยู43) ที่ลงนามในรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ยุค ชวน หลีกภัย  และประสบความล้มเหลวมาตลอด เพราะฝ่ายกัมพูชาไม่เคยปฏิบัติตามแม้สักครั้ง คุณวีระ สมความคิดและเลขายังติดคุกเป็นพยานชี้ความอัปยศจนถึงทุกวันนี้    ที่สำคัญผลจากจากเอ็มโอยูดังกล่าวทำให้ฝ่ายตรงข้ามรุกล้ำเข้ามาเรื่อยๆ ขณะที่ฝ่ายไทยยังติดกับอยู่กับการเจรจาทวิภาคีแต่เพียงฝ่ายเดียว   นั่นก็เพราะเหตุผลเดียวที่พรรคประชาธิปัตย์ต้องทำเช่นนี้   คือสามารถอ้างได้ว่า    เป็นเพราะพ่ายแพ้ในศาลโลก ไม่ใช่เป็นเพราะความล้มเหลวของเอ็มโอยู 43  จึงทำให้เสียดินแดนหรือต้องเดินหน้าถลำลึกลงไปเรื่อยๆ
       ไม่ต้องหลับตาวิเคราะห์ต่อหรอกครับว่า เมื่อฝ่ายกัมพูชาได้เปรียบในเบื้องต้นในลักษณะนี้แล้ว คงจะไม่หยุดต้องเดินหน้าต่อ ด้วยการใช้แผนที่ 1 ต่อ 200,000 ทำให้พื้นที่ตลอดแนวชายแดนของไทยตั้งแต่เดิมตั้งแต่ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ตลอดจนถึงจันทบุรี ตราด ตกเป็นของเขมร  เป็นการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตใหม่ตั้งแต่บนบกลงไปถึงทะเลในอ่าวไทยครั้งใหม่   สังเกตได้จากการพิจารณาคดีของศาลโลกคราวนี้   มีการอ้างอิงแผนที่ตามมาตราส่วนดังกล่าวอีกด้วย
       
        นี่ คือการปล้นของชาติมหาอำนาจที่สุมหัวกันเพื่อผลประโยชน์ในอ่าวไทย  ไม่ว่าน้ำมันหรือก๊าซ...โดยมีคนไทยขายชาติให้ความร่วมมือ...และศาลโลกเคยมี คำพิพากมาแล้วในอดีต 17 ครั้ง 17 กรณี..แต่ก็ไม่เคยมีชาติไหนประเทศไหนในโลกนี้ปฏิบัติตามสักครั้ง  ถ้าประเทศไทยปฏิบัติตามก็คงเป็นชาติแรกในโลกที่ต้องบันทึกในกินเนสบุ๊คกัน ละ..เหอ เหอ!!!

เร่งตั้งคกก.ถกเขมรตามมติศาลโลก


“บัวแก้ว” เรียกประชุมด่วน ตั้งคณะทำงานเตรียมถกเขมร ปฏิบัติตามมติศาลโลก ย้ำไม่กระทบกับคดีหลัก
ที่ กระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 22 ก.ค.  นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวภายหลังที่นายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ เป็นประธานการประชุมหน่วยงานภายในของกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อหารือถึงการเตรียมการในการดำเนินตามมติมาตรการชั่วคราวของศาลยุติธรรม ระหว่างประเทศ หรือ ศาลโลก ว่า นายกษิต ได้ตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงาน ขึ้นมาเพื่อเตรียมการด้านข้อมูลต่างๆ และเพื่อเป็นกลไกลใหม่ในการประสานกับประเทศกัมพูชาต่อไป เพราะจากที่ได้มีการพิจารณาในรายละเอียดต่างๆ ของมาตรการชั่วคราว ได้อยู่นอกเหนือขอบเขตของคณะกรรมการชายแดนทั่วไป(จีบีซี)  ต้องมีคณะกรรมการหรือคณะทำงานขึ้นมาเพื่อเป็นกลไกลใหม่ในการทำหน้าที่ประสาน งาน อีกทั้ง ที่ประชุมยังได้หารือถึงรายละเอียดที่จะร่วมประชุมเตรียมการกับหน่วย งานราชการที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 25 ก.ค.นี้ ด้วย
              
“ที่ ประชุมได้พิจารณาข้อต่างๆของศาลโลก ซึ่งฝ่ายกฎหมายยืนยันว่ามาตรการต่างๆของศาลโลกไม่กระทบกับอธิปไตยของประเทศ ไทย แม้ในพื้นที่นี้จะมีการกำหนดเขตปลอดทหารชั่วคราว แต่อำนาจปกครองก็ยังคงอยู่อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ยังได้ดูแผนผังในเรื่องเขตปลอดทหารชั่วคราว และขอยืนยันว่าศาลโลกไม่ได้ใช้แผนที่ใดเป็นพิเศษในการกำหนดพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งการที่พื้นที่เขตปลอดทหารครอบคลุมพื้นที่ที่ไม่ได้เป็นพื้นที่ขัดแย้ง กัน แสดงให้เห็นว่าไม่เกี่ยวข้องกับอธิปไตยหรือเขตแดน จึงขอให้ทุกฝ่ายสบายใจได้”นายธานี กล่าวและว่า ฝ่ายกฎหมายได้ย้ำว่ามาตรการชั่วคราวที่ศาลโลกออกมานั้น ไม่ได้มีการพิจารณาล่วงหน้าหรือมีผลกระทบกับคดีหลักในเรื่องของการตีความใน พื้นที่พิพาท ซึ่งทางศาลโลกก็ได้แจ้งกับเราแล้วว่า ขอให้ฝ่ายไทยนั้นยื่นข้อสังเกตที่เป็นลายลักษณ์อักษรให้กับศาลโลก ภายใน 4 เดือน หรือในเดือน พ.ย.
              
นายธานี กล่าวอีกว่า ในวันที่ 25 ก.ค.นี้ ทางกระทรวงฯจะประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะฝ่ายทหาร ซึ่งจะนำคำสั่งศาลโลกมาพิจารณาถึงในรายละเอียด และดูว่าส่วนราชการใดจะต้องปฏิบัติในส่วนใดบ้าง เพื่อให้มีความกระจ่าง อย่างไรก็ตาม ไทยและกัมพูชา จะต้องหารือกันในรายละเอียดเกี่ยวกับข้อกำหนดต่างๆที่ศาลโลกได้ให้ไว้ ทั้งนี้ สำหรับผลการประชุมทั้งหมดนี้ เป็นการเตรียมการเพื่อนำเสนอให้กับรัฐบาลใหม่ได้พิจารณา ตามที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวไว้ว่าเรื่องนี้จะต้องให้รัฐบาลชุดใหม่ได้พิจารณาอีกครั้ง.
 

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง