โดยบทบัญญัติของอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1958 ว่าด้วยไหล่ทวีป
ให้สิทธิรัฐชายฝั่งประกาศเขตไหล่ทวีปออกไปขอบนอกของทะเลอาณาเขตได้จนถึงแนวน้ำลึก 200 เมตร อ่าว ไทยซึ่งมีบริเวณทะเลนอกทะเลอาเขตของรัฐต่างๆ ที่เคยมีสถานภาพแต่อดีตตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศเป็นทะเลหลวง จึงมีสถานภาพใหม่ตามอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1958 ว่าด้วยไหล่ทวีป เป็นไหล่ทวีป เพราะอ่าวไทยมีความลึกสูงสุดเพียงประมาณ 82 เมตรเท่านั้น รัฐชายฝั่งที่อยู่รอบอ่าวไทยที่มีส่วนเป็นเจ้าของไหล่ทวีปในอ่าวไทย คือ ไทย เวียดนาม กัมพูชา และ มาเลเซียปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ การอ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปฝ่ายเดียวของประเทศต่างๆ อันมีผลให้เกิดพื้นที่ไหล่ทวีปทับซ้อน ระหว่างไทยกับเวียดนาม และกัมพูชา ประมาณ 32,000 ตาราง กิโลเมตร และไทยกับมาเลเซียประมาณ 7,250 ตารางกิโลเมตร
ให้สิทธิรัฐชายฝั่งประกาศเขตไหล่ทวีปออกไปขอบนอกของทะเลอาณาเขตได้จนถึงแนวน้ำลึก 200 เมตร อ่าว ไทยซึ่งมีบริเวณทะเลนอกทะเลอาเขตของรัฐต่างๆ ที่เคยมีสถานภาพแต่อดีตตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศเป็นทะเลหลวง จึงมีสถานภาพใหม่ตามอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1958 ว่าด้วยไหล่ทวีป เป็นไหล่ทวีป เพราะอ่าวไทยมีความลึกสูงสุดเพียงประมาณ 82 เมตรเท่านั้น รัฐชายฝั่งที่อยู่รอบอ่าวไทยที่มีส่วนเป็นเจ้าของไหล่ทวีปในอ่าวไทย คือ ไทย เวียดนาม กัมพูชา และ มาเลเซียปัญหาที่เกิดขึ้นก็คือ การอ้างสิทธิเขตไหล่ทวีปฝ่ายเดียวของประเทศต่างๆ อันมีผลให้เกิดพื้นที่ไหล่ทวีปทับซ้อน ระหว่างไทยกับเวียดนาม และกัมพูชา ประมาณ 32,000 ตาราง กิโลเมตร และไทยกับมาเลเซียประมาณ 7,250 ตารางกิโลเมตร
การดำเนินการของประเทศไทย เกี่ยวกับปัญหาการอ้างสิทธิในเขตไหล่ทวีปทับซ้อน
การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ครั้งที่ 1 ณ กรุงเจนีวา ค.ศ. 1958 หน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กระทรวงการต่างประเทศโดยความร่วมมือของส่วนราชการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อยู่ภายใต้การกำกับดูแลและกำหนดนโยบายโดยคณะกรรรมการพิเศษเพื่อพิจารณา อนุสัญญาต่างๆ
ประเทศไทยได้คำนึงถึงปัญหาที่จะมีการอ้างสิทธิในเขตไหล่ทวีปทับซ้อนของประเทศเพื่อนบ้านตั้งแต่การเกิดขึ้นของอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1958 ว่าด้วยไหล่ทวีป จึงได้มีการศึกษา ติดตาม และดำเนินการเกี่ยวข้องกับกฎหมายทะเลและเขตทางทะเลมาอย่างต่อเนื่องที่ปรากฏ เป็นรูปธรรมคือ การประกาศอ่าวประวัติศาสตร์ของประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2502 การประกาศทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเล พ.ศ. 2509 และการประเส้นฐานตรงของประเทศไทย ในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เมื่อพ.ศ. 2510 คณะกรรมการพิเศษเพื่อพิจารณาอนุสัญญาต่างๆ ได้กำกับดูแลงานกฎหมายทะเลและเขตทางทะเลของประเทศไทยจนถึงปลายปี พ.ศ. 2512
การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ครั้งที่ 1 ณ กรุงเจนีวา ค.ศ. 1958 หน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ กระทรวงการต่างประเทศโดยความร่วมมือของส่วนราชการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อยู่ภายใต้การกำกับดูแลและกำหนดนโยบายโดยคณะกรรรมการพิเศษเพื่อพิจารณา อนุสัญญาต่างๆ
ประเทศไทยได้คำนึงถึงปัญหาที่จะมีการอ้างสิทธิในเขตไหล่ทวีปทับซ้อนของประเทศเพื่อนบ้านตั้งแต่การเกิดขึ้นของอนุสัญญาเจนีวา ค.ศ. 1958 ว่าด้วยไหล่ทวีป จึงได้มีการศึกษา ติดตาม และดำเนินการเกี่ยวข้องกับกฎหมายทะเลและเขตทางทะเลมาอย่างต่อเนื่องที่ปรากฏ เป็นรูปธรรมคือ การประกาศอ่าวประวัติศาสตร์ของประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2502 การประกาศทะเลอาณาเขต 12 ไมล์ทะเล พ.ศ. 2509 และการประเส้นฐานตรงของประเทศไทย ในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน เมื่อพ.ศ. 2510 คณะกรรมการพิเศษเพื่อพิจารณาอนุสัญญาต่างๆ ได้กำกับดูแลงานกฎหมายทะเลและเขตทางทะเลของประเทศไทยจนถึงปลายปี พ.ศ. 2512
ชื่อคณะกรรมการพิเศษเพื่อพิจารณาอนุสัญญาต่างๆ อาจจะไม่คุ้นกับส่วนราชการอื่นๆ และประชาชน ตามปกติ
คณะกรรมการนี้จะมีภารกิจเกี่ยวกับกระทรวงการต่างประเทศโดยเฉพาะ ภารกิจตามปกติคือการพิจารณากลั่นกรอง สนธิสัญญาและอนุสัญญาต่างๆ ก่อนที่คณะกรรมการจะมีนักกฎหมายและข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศอาวุโสเป็น หลัก เช่น เมื่อ พ.ศ. 2507 ประธานคณะกรรมการ คือ พระมนูเวทย์วิมลนาท กรรมการอื่นซึ่งนามของท่านเป็นที่รู้จักดีจนถึงปัจจุบันก็มี เช่น หลวงจำรูญเนติศาสตร์ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ นายประกอบ หุตะสิงห์ และนายหยุด แสงอุทัย เป็นต้น
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2512 ได้มีการประชุมคณะกรรมการประสานงานเกี่ยวกับการสำรวจทรัพยากรธรณีนอกชายฝั่ง ของประเทศเอเชีย (CCOP) และการประชุมกลุ่มที่ปรึกษาทางวิชาการ (TAG) สมัยที่ 5 ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ สาระสำคัญประการหนึ่งที่ประชุมได้เสนอแนะประเทศสมาชิกว่า “…สมควรที่ปะเทศสมาชิกในเอเชียตะวันออกที่มีน่านน้ำ และไหล่ทวีปประชิดติดกัน จะได้มีการเจรจาตกลงแบ่งเขตไหล่ทวีประหว่างกันให้เป็นที่แน่นอน เพื่อขจัดข้อพิพาทอันพึงเกิดขึ้นได้เกี่ยวกับสิทธิของแต่ละประเทศที่จะ ดำเนินการสำรวจแสวงประโยชน์จากแหล่งปิโตรเลียมและแหล่งแร่ในไหล่ทวีป…”
คณะกรรมการนี้จะมีภารกิจเกี่ยวกับกระทรวงการต่างประเทศโดยเฉพาะ ภารกิจตามปกติคือการพิจารณากลั่นกรอง สนธิสัญญาและอนุสัญญาต่างๆ ก่อนที่คณะกรรมการจะมีนักกฎหมายและข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศอาวุโสเป็น หลัก เช่น เมื่อ พ.ศ. 2507 ประธานคณะกรรมการ คือ พระมนูเวทย์วิมลนาท กรรมการอื่นซึ่งนามของท่านเป็นที่รู้จักดีจนถึงปัจจุบันก็มี เช่น หลวงจำรูญเนติศาสตร์ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ นายประกอบ หุตะสิงห์ และนายหยุด แสงอุทัย เป็นต้น
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2512 ได้มีการประชุมคณะกรรมการประสานงานเกี่ยวกับการสำรวจทรัพยากรธรณีนอกชายฝั่ง ของประเทศเอเชีย (CCOP) และการประชุมกลุ่มที่ปรึกษาทางวิชาการ (TAG) สมัยที่ 5 ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ สาระสำคัญประการหนึ่งที่ประชุมได้เสนอแนะประเทศสมาชิกว่า “…สมควรที่ปะเทศสมาชิกในเอเชียตะวันออกที่มีน่านน้ำ และไหล่ทวีปประชิดติดกัน จะได้มีการเจรจาตกลงแบ่งเขตไหล่ทวีประหว่างกันให้เป็นที่แน่นอน เพื่อขจัดข้อพิพาทอันพึงเกิดขึ้นได้เกี่ยวกับสิทธิของแต่ละประเทศที่จะ ดำเนินการสำรวจแสวงประโยชน์จากแหล่งปิโตรเลียมและแหล่งแร่ในไหล่ทวีป…”
กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ซึ่งเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยในที่ประชุม ได้นำข้อเสนอแนะนี้รายงานรัฐบาล และเสนอขอจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อการเจรจาขึ้น มีชื่อว่า “คณะกรรมการเจรจาสิทธิและขอบเขตไหล่ทวีป”
โดยมีรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติเป็นประธาน
ประกอบด้วยกรรมการจากผู้แทนหน่วยราชการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
และอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย เป็นกรรมการและ
เลขานุการ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบอนุมัติตามข้อเสนอนี้
ภารกิจเกี่ยวกับการเจรจาเขตไหล่ทวีปทับซ้อนระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อน
บ้าน จึงเปลี่ยนเจ้าของเรื่องจากกระทรวงการ
ต่างประเทศเป็นกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2512 คณะ กรรมการเจรจาสิทธิและขอบเขตไหล่ทวีปได้มีการปรับปรุงโครงสร้างหลายครั้ง โดยครั้งหลังสุด ได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะกรรมการฏกหมายทะเลและเขตแดนทางทะเลของประเทศไทย มีปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน ไม่ว่าโครงสร้างคณะกรรมการนี้จะเปลี่ยนแปลง แต่ความเป็นจริงหน่วยงานหลักที่ทำงานเรื่องนี้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2512 คือกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการกฏษฎีกา กรมทรัพยากรธรณี (กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติปัจจุบัน) กรมประมง กรมแผนที่ทหาร และกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ หน่วยงานอื่นจะเข้ามาร่วมในบางครั้งที่มีปัญหาเกี่ยวข้อง เช่น กรมเจ้าท่า กรมศุลกากร กรมอัยการ (กรมสำนักงานอัยการสูงสุดปัจจุบัน) และกระทรวงยุติธรรม เป็นต้น ไม่ได้เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด และกล่าวได้ว่ามีการดำเนินการประสบความสำเร็จด้วยดีมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 มาจนถึงปัจจุบัน มีการเจรจาตกลงเรื่องเขตแดนทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งในอ่าวไทยและทะเล อันดามันจนเกือบหมด ประเทศที่เจรจาตกลงไปแล้วคือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย พม่า (บางส่วน) และเวียดนาม ที่กำลังดำเนินการคือ กัมพูชาในอ่าวไทย และพม่าในทะเลอันดามันด้านใน ตั้งแต่ปากแม่น้ำปากจั่นถึงเกาะสุรินทร์
ต่างประเทศเป็นกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2512 คณะ กรรมการเจรจาสิทธิและขอบเขตไหล่ทวีปได้มีการปรับปรุงโครงสร้างหลายครั้ง โดยครั้งหลังสุด ได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะกรรมการฏกหมายทะเลและเขตแดนทางทะเลของประเทศไทย มีปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน ไม่ว่าโครงสร้างคณะกรรมการนี้จะเปลี่ยนแปลง แต่ความเป็นจริงหน่วยงานหลักที่ทำงานเรื่องนี้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2512 คือกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการกฏษฎีกา กรมทรัพยากรธรณี (กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติปัจจุบัน) กรมประมง กรมแผนที่ทหาร และกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ หน่วยงานอื่นจะเข้ามาร่วมในบางครั้งที่มีปัญหาเกี่ยวข้อง เช่น กรมเจ้าท่า กรมศุลกากร กรมอัยการ (กรมสำนักงานอัยการสูงสุดปัจจุบัน) และกระทรวงยุติธรรม เป็นต้น ไม่ได้เปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด และกล่าวได้ว่ามีการดำเนินการประสบความสำเร็จด้วยดีมาโดยตลอด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 มาจนถึงปัจจุบัน มีการเจรจาตกลงเรื่องเขตแดนทางทะเลกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งในอ่าวไทยและทะเล อันดามันจนเกือบหมด ประเทศที่เจรจาตกลงไปแล้วคือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย พม่า (บางส่วน) และเวียดนาม ที่กำลังดำเนินการคือ กัมพูชาในอ่าวไทย และพม่าในทะเลอันดามันด้านใน ตั้งแต่ปากแม่น้ำปากจั่นถึงเกาะสุรินทร์
การเจรจาปัญหาการอ้างเขตไหล่ทวีปทับซ้อนระหว่างไทยกับมาเลเซียในอ่าวไทย
ไทยกับมาเลเซียได้เริ่มเจรจาปัญหาเขตแดนทางทะเล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2512 โดยเริ่มที่เขตแดนทางทะเลในทะเลอันดามัน และบรรลุความตกลงในปี พ.ศ. 2513 ปัญหาเขตแดนทางทะเลในอ่าวไทยระหว่างไทยกับมาเลเซีย เริ่มการเจรจาเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2515 และสามารถทำความตกลงได้ประมาณ 31 ไมล์ทะเล คือ ในทะเลอาณาเขตจากปากแม่น้ำโกลกออกไป 12 ไมล์ทะเล ถึงขอบนอกของทะเลอาณาเขตของทั้งสองประเทศ และต่อออกไปอีกประมาณ 19 ไมล์ทะเล ในเขตไหล่ทวีปและหยุดไว้เพียงแค่นั้น โดยหวังว่าจะมีการเจรจาต่อไปในปี 2516 แต่โดยปัญหาการเมืองภายในทำให้การเจตจาต้องชงักไปถึง 6 ปี จึงสามารถเริ่มเจรจาครั้งที่ 2 ได้เมื่อปี พ.ศ. 2521 แต่ครั้งนี้ทั้งสองฝ่ายเสนอเส้นเขตแดนที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดพื้นที่ทับซ้อนในเขตไหล่ทวีปประมาณ 7,250 ตารางกิโลเมตร ปัญหานี้ทำให้บรรยากาศตึงเครียดตามสมควรจากปัญหาการประมงล้ำน่านน้ำ นายกรัฐมนตรีของไทยและมาเลเซีย คือ ฯพณฯ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ และ ฯพณฯ ดาโต๊ะ ฮุสเซน ออน แก้ปัญหานี้โดยเป็นหัวหน้าคณะเจรจาของทั้งสองฝ่ายเอง การ เจรจามีขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และในที่สุดมีความตกลงแก้ปัญหาชั่วคราวด้วยการจัดตั้งองค์กรแสวงประโชยน์ ร่วมกันในพื้นที่ทับซ้อนจนกว่าจะตกลงเรื่องเส้นเขตแดนได้ ความตกลงดังกล่าวมีชื่อว่า MOU เชียงใหม่ 2522 ซึ่งเป็นที่มาขององค์กรพัฒนาร่วมไทยมาเลเซีย
การเจรจาปัญหาการอ้างเขตไหล่ทวีประหว่างไทยกับเวียดนานในอ่าวไทย
เวียดนามใต้ประกาศเขตไหล่ทวีป ตั้งแต่ปี พ.ศ.
2541 ภายหลังการรวมประเทศเวียดนามในปี พ.ศ. 2518
รัฐบาลเวียดนามยังยึดถือขอบเขตไหล่ทวีปตามประกาศปี พ.ศ. 2541
เมื่อประกาศเขตไหล่ทวีปของประเทศไทย พ.ศ. 2516
ทำให้เกิดพื้นที่ทับซ้อนในไหล่ทวีปทางตอนใต้ของอ่าวไทยระหว่างไทยกับ
เวียดนาม ประมาณ 6,000 ตารางกิโลเมตร
การเจรจาครั้งแรกเกี่ยวกับเขตไหล่ทวีปทับซ้อนของไทยกับเวียดนาม (ใต้)
มีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2517
ซึ่งมีผลเพียงความตกลงว่าจะเร่งรัดเจรจาตกลงกันต่อไป แต่พอปีต่อมาคือ พ.ศ.
2518 เวียดนาม (ใต้) ก็ล่มสลาย การเจรจาเริ่มนับหนึ่งใหม่เมื่อ พ.ศ.
2535 กับรัฐบาลเวียดนามปัจจุบัน และประสบผลสำเร็จมีความตกลงกำหนดเขตแด
ไทย-เวียดนาม ในพื้นที่ทับซ้อนได้เมื่อ พ.ศ. 2540 หลังการเจรจาเป็นทางการ 9
ครั้งในเวลา 5 ปี จาก
การเจรจากับเวียดนาม ปตท.สผ.ได้รับสัมปทานในการสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติ
ตั้งชื่อพื้นที่นี้ว่าแหล่งอาทิตย์
ผลการสำรวจเชื่อว่าแหล่งอาทิตย์มีปริมาณสำรองของก๊าซธรรมชาติประมาณ 1.8
ล้านล้านลูกบาศฟุตซึ่งเป็นมูลค่าปัจจุบันประมาณ 2 แสนล้านบาท
การเจรจาปัญหาการอ้างเขตไหล่ทวีปทับซ้อนระหว่างไทยกับกัมพูชา
การเจรจาปัญหาเขตไหล่ทวีประหว่างไทยกับกัมพูชา เริ่มต้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.
2513 ซึ่งขณะนั้นกัมพูชายังไม่ได้ประกาศเขตไหล่ทวีป
ไทยมีประกาศพื้นที่สัมปทานของกรมทรัพยากรธรณีเมื่อปี พ.ศ. 2510
การเจรจาครั้งแรกเป็นเพียงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเส้นเขตไหล่
ทวีปไทย-กัมพูชา ซึ่งตกลงว่าจะได้มีการเจรจากันในโอกาส
ต่อไปหลัง การเจรจาครั้งแรกแล้ว ต่อมาไม่นาน การเมืองภายในของกัมพูชาก็มีปัญหาอย่างรุนแรงถึงขั้นเปลี่ยนระบอบการปกครอง ไปเป็นสาธารณรัฐภายใต้การปกครองของประธานาธิบดีลอนนอล ในสมัยรัฐบาลลอนนอลนี้เอง เมื่อ
พ.ศ. 2515 กัมพูชาก็มีประกาศเขตไหล่ทวีป รัฐบาลไทยขณะนั้นได้พยายามประสานรัฐบาลลอนนอลเพื่อให้มีการเจรจาเกี่ยวกับ เขตไหล่ทวีป รัฐบาลไทยขณะนั้นได้พยายามประสานรัฐบาลลอนนอลเพื่อขอให้มีการเจรจาเกี่ยวกับ
เขตไหล่ทวีป เพราะหน่วยงานและประชาชนคนไทยเป็นอันมากข้องใจเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ ลากจากหลักเขตแดนที่ 73 ผ่านเกือบกลางเกาะกูดออกไปในทะเล เมื่อกัมพูชาประกาศเขตไหล่ทวีปเดือนกรกฏาคม 2515
ในเดือนมกราคม 2516 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการเจรจาสิทธิและขอบเขตไหล่ทวีป โดยจอมพลประภาส จารุเสถียร รองนายกรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานคณะกรรมการ องค์ประกอบอื่นๆ มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย ภายหลังที่รับหน้าที่ประธานได้ระยะหนึ่ง จอมพลประภาสฯ ได้เล่าให้ฟังว่า ท่านได้หารือโดยตรงกับลอนนอล ขอให้มีการเจรจาเรื่องเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา เพราะเส้นเขตไหล่ทวีปกัมพูชาที่ประกาศเมื่อ พ.ศ. 2515 ทำให้ไทยข้องใจในท่าทีของรัฐบาลลอนนอลเกี่ยวกับเกาะกูดท่านเล่าว่า ลอนนอลเรียกท่านว่า
เส้นเขตไหล่ทวีปที่กัมพูชาประกาศเป็นไปตามการเสนอของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยว ข้องและบริษัทเอกชนที่เสนอขอรับสัมปทานแสวงประโยชน์จากปิโตรเลียมในเขตไหล่ ทวีปกัมพูชา ลอนนอลไม่มีความมุ่งประสงค์ใดๆ เกี่ยวกับเกาะกูดของไทยทั้งสิ้น และพร้อมที่จะมีการปรับปรุงเส้นดังกล่าว แต่ขณะนั้นการเมืองภายในของกัมพูชาคับขันมาก ฝ่ายค้านและฝ่ายต่อต้านรัฐบาลพยายามหาประเด็นที่จะปลุกระดมประชาชน และต่อต้านรัฐบาลอยู่ตลอดเวลา หากมีการเจรจาเรื่องเส้นเขตแดนไม่ว่าผลการเจรจาจะออกมาเช่นไร ก็คงจะเป็นประเด็นที่จะนำไปโจมตีรัฐบาลได้ เพราะฉะนั้นเป็นตายอย่างไรก็คงจะให้มีการเจรจาขณะนี้ไม่ได้ ขอชะลอไปก่อนจนกว่าทุกอย่างจะดีขึ้นกว่านี้ แต่ปรากฏว่าไม่มีอะไรดีขึ้นสำหรับลอนนอล จนกัมพูชาถูกยึดครองโดยเขมรแดงไปในที่สุด ลอนนอลก็ลี้ภัยไปอยู่สหรัฐอเมริกา
ในสมัยเขมรแดง เมื่อ เอียง ซารี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐบาล เขมรแดงมาเยือนประเทศไทย ปัญหาเขตแดนทางทะเลก็ถูกยกขึ้นเป็นประเด็นการสนทนา แต่ไม่มีความตกลงชัดเจน เพราะเขมรแดงก็ยังไม่พร้อมที่จะมีการเจรจาปัญหาที่มีความซับซ้อนทางเทคนิค เป็นอันว่าเรื่องการเจรจาปัญหาเขตแดนทางทะเลไทยกัมพูชาชงักไปยาวนานถึง 24 ปี โดยมีการเริ่มต้นนับหนึ่งกันใหม่เมื่อสมัยรัฐบาลรณฤทธิ์-ฮุนเซน เมื่อ พ.ศ. 2538 และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
การเจรจาเมื่อ พ.ศ. 2538 ทั้งสองฝ่ายให้ความสำคัญกับการเจรจามาก หัวหน้าคณะเป็นรัฐมนตรีถึง 3 ท่าน (ไทย 1 ท่าน กัมพูชา 2 ท่าน) ผลการเจรจาครั้งแรกได้มีการตกลงตั้งคณะกรรมการเทคนิคร่วม (Joint Technical Committee) เพื่อดำเนินการเจรจาประเด็นทางเทคนิคต่อไป
ปัญหาเขตแดนทางทะเลในอ่าวไทยกับกัมพูชามีความ ซับซ้อนและละเอียดอ่อนเป็นอันมาก มีประเด็นทางเทคนิคทั้งในทางกฏหมายและทางประวัติศาสตร์ที่จะต้องพิจารณาหา ความตกลง คณะกรรมการฯ ได้มีการตั้งอนุกรรมการฯ และคณะทำงานเข้าช่วยแก้ปัญหา แต่ไม่ประสบผลเท่าที่ควร ปัญหาที่สำคัญประการหนึ่งคือ อำนาจการตัดสินใจของ
ผู้เจรจาระดับต่างๆ ดูเหมือนจะมีน้อยมาก วิธีการที่จะนำปัญหามาเจรจาก็ไม่ตรงกันตั้งแต่เริ่มต้น
ต่อไปหลัง การเจรจาครั้งแรกแล้ว ต่อมาไม่นาน การเมืองภายในของกัมพูชาก็มีปัญหาอย่างรุนแรงถึงขั้นเปลี่ยนระบอบการปกครอง ไปเป็นสาธารณรัฐภายใต้การปกครองของประธานาธิบดีลอนนอล ในสมัยรัฐบาลลอนนอลนี้เอง เมื่อ
พ.ศ. 2515 กัมพูชาก็มีประกาศเขตไหล่ทวีป รัฐบาลไทยขณะนั้นได้พยายามประสานรัฐบาลลอนนอลเพื่อให้มีการเจรจาเกี่ยวกับ เขตไหล่ทวีป รัฐบาลไทยขณะนั้นได้พยายามประสานรัฐบาลลอนนอลเพื่อขอให้มีการเจรจาเกี่ยวกับ
เขตไหล่ทวีป เพราะหน่วยงานและประชาชนคนไทยเป็นอันมากข้องใจเส้นเขตไหล่ทวีปของกัมพูชาที่ ลากจากหลักเขตแดนที่ 73 ผ่านเกือบกลางเกาะกูดออกไปในทะเล เมื่อกัมพูชาประกาศเขตไหล่ทวีปเดือนกรกฏาคม 2515
ในเดือนมกราคม 2516 ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการเจรจาสิทธิและขอบเขตไหล่ทวีป โดยจอมพลประภาส จารุเสถียร รองนายกรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานคณะกรรมการ องค์ประกอบอื่นๆ มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย ภายหลังที่รับหน้าที่ประธานได้ระยะหนึ่ง จอมพลประภาสฯ ได้เล่าให้ฟังว่า ท่านได้หารือโดยตรงกับลอนนอล ขอให้มีการเจรจาเรื่องเขตแดนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชา เพราะเส้นเขตไหล่ทวีปกัมพูชาที่ประกาศเมื่อ พ.ศ. 2515 ทำให้ไทยข้องใจในท่าทีของรัฐบาลลอนนอลเกี่ยวกับเกาะกูดท่านเล่าว่า ลอนนอลเรียกท่านว่า
เส้นเขตไหล่ทวีปที่กัมพูชาประกาศเป็นไปตามการเสนอของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยว ข้องและบริษัทเอกชนที่เสนอขอรับสัมปทานแสวงประโยชน์จากปิโตรเลียมในเขตไหล่ ทวีปกัมพูชา ลอนนอลไม่มีความมุ่งประสงค์ใดๆ เกี่ยวกับเกาะกูดของไทยทั้งสิ้น และพร้อมที่จะมีการปรับปรุงเส้นดังกล่าว แต่ขณะนั้นการเมืองภายในของกัมพูชาคับขันมาก ฝ่ายค้านและฝ่ายต่อต้านรัฐบาลพยายามหาประเด็นที่จะปลุกระดมประชาชน และต่อต้านรัฐบาลอยู่ตลอดเวลา หากมีการเจรจาเรื่องเส้นเขตแดนไม่ว่าผลการเจรจาจะออกมาเช่นไร ก็คงจะเป็นประเด็นที่จะนำไปโจมตีรัฐบาลได้ เพราะฉะนั้นเป็นตายอย่างไรก็คงจะให้มีการเจรจาขณะนี้ไม่ได้ ขอชะลอไปก่อนจนกว่าทุกอย่างจะดีขึ้นกว่านี้ แต่ปรากฏว่าไม่มีอะไรดีขึ้นสำหรับลอนนอล จนกัมพูชาถูกยึดครองโดยเขมรแดงไปในที่สุด ลอนนอลก็ลี้ภัยไปอยู่สหรัฐอเมริกา
ในสมัยเขมรแดง เมื่อ เอียง ซารี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รัฐบาล เขมรแดงมาเยือนประเทศไทย ปัญหาเขตแดนทางทะเลก็ถูกยกขึ้นเป็นประเด็นการสนทนา แต่ไม่มีความตกลงชัดเจน เพราะเขมรแดงก็ยังไม่พร้อมที่จะมีการเจรจาปัญหาที่มีความซับซ้อนทางเทคนิค เป็นอันว่าเรื่องการเจรจาปัญหาเขตแดนทางทะเลไทยกัมพูชาชงักไปยาวนานถึง 24 ปี โดยมีการเริ่มต้นนับหนึ่งกันใหม่เมื่อสมัยรัฐบาลรณฤทธิ์-ฮุนเซน เมื่อ พ.ศ. 2538 และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
การเจรจาเมื่อ พ.ศ. 2538 ทั้งสองฝ่ายให้ความสำคัญกับการเจรจามาก หัวหน้าคณะเป็นรัฐมนตรีถึง 3 ท่าน (ไทย 1 ท่าน กัมพูชา 2 ท่าน) ผลการเจรจาครั้งแรกได้มีการตกลงตั้งคณะกรรมการเทคนิคร่วม (Joint Technical Committee) เพื่อดำเนินการเจรจาประเด็นทางเทคนิคต่อไป
ปัญหาเขตแดนทางทะเลในอ่าวไทยกับกัมพูชามีความ ซับซ้อนและละเอียดอ่อนเป็นอันมาก มีประเด็นทางเทคนิคทั้งในทางกฏหมายและทางประวัติศาสตร์ที่จะต้องพิจารณาหา ความตกลง คณะกรรมการฯ ได้มีการตั้งอนุกรรมการฯ และคณะทำงานเข้าช่วยแก้ปัญหา แต่ไม่ประสบผลเท่าที่ควร ปัญหาที่สำคัญประการหนึ่งคือ อำนาจการตัดสินใจของ
ผู้เจรจาระดับต่างๆ ดูเหมือนจะมีน้อยมาก วิธีการที่จะนำปัญหามาเจรจาก็ไม่ตรงกันตั้งแต่เริ่มต้น
เมื่อเริ่มการเจรจา ฝ่ายไทยเห็นว่าการเจรจาทำความตกลงกำหนดเส้นเขตไหล่ทวีปของทั้งสองฝ่ายตลอด พั้นที่ทับซ้อน ตั้งแต่หลักเขตแดนทางบกที่ 73 บนฝั่งที่หาดสารพัดพิษจนไปบรรจบเส้นเขตแดนทางทะเลไทย-เวียดนามทางตอนใต้ของ อ่าวไทยน่าจะเหมาะสมที่สุด กัมพูชาไม่เห็นด้วย อ้างว่าจะใช้เวลาเจรจานานมาก กัมพูชาต้องการแสวงหาประโยชน์ (ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ) ร่วมกันตลอดพื้นที่ทับซ้อน ซึ่งเชื่อวาจะสามารถตกลงและหาผลประโยชน์ได้เร็วกว่าปัญหานี้เจรจากันหลายรอบ หลายปี ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยมีฝ่ายการเมืองระดับสูงของทั้งสองฝ่ายติดตามผลการเจรจาอย่างใกล้ชิด และให้ข้อเสนอแนะเป็นบางครั้งเนื่องจากการเจรจามีที่ท่าว่าจะถึงทางตัน ตั้งแต่เริ่มต้น
ในที่สุดในปี พ.ศ. 2545 ก็มีความตกลงพบกันครั้งทาง โดยให้มีการเจรจากำหนดเขตแดนทางทะเลประมาณหนึ่งในสามของพื้นที่ คือตั้งแต่ แลต 11 องศาเหนือขึ้นไปจนถึงหลักเขตแดนทางบกไทย-กัมพูชาที่ 73 ส่วนที่เหลืออีกประมาณสองในสามของพื้นที่คือตั้งแต่ แลต11 องศาเหนือ ลงมาถึงพื้นที่ไทย-เวียดนาม จะเจรจาแสวงประโยชน์ร่วมกัน ที่จะจัดตั้งเป็นองค์กรร่วมไทย-กัมพูชา ความตกลงนี้ทำให้มีการตั้งอนุกรรมการทางเทคนิคเพื่อจะเจรจาปัญหา
แต่ละพื้นที่ซึ่งจะมีประเด็นทางเทคนิคที่แตกต่างกัน
การเจรจากำหนดเส้นเขตแดนทางทะเลในพื้นที่ทางตอนเหนือ ทั้งสองฝ่ายมีการเสนอเส้นแบ่งเขตแดนทางทะเลจากหลักเขตแดนที่ 73
ลงมาถึงเส้นขนาน แลตที่ 11 องศาเหนือ
แต่เส้นที่เสนอยังมีความแตกต่างกันมาก
จากนั้นมาก็ไม่มีการขยับเส้นที่เสนอนั้นอีกเลย
แม้จะมีการเจรจากันอีกหลายรอบ
ผู้เขียนไม่บังอาจที่จะวิจารณ์ถึงเหตุผลของทั้งสองฝ่าย
แต่ที่เห็นได้ชัดคือความระมัดระวังของท่าทีแต่ละฝ่ายสูงมาก
ในที่สุดได้มีการเสนอที่จะให้มีการจัดกลุ่มเจ้าหน้าที่ทางเทคนิคของแต่ละ
ฝ่ายขึ้น เพื่อหารืออย่างไม่เป็นทางการ
เพื่อนำผลการหารือเข้าหารือกับฝ่ายตนอีกครั้งหนึ่ง
ผู้เขียนเห็นว่าน่าจะเป็นทางออกที่ดีและอาจนำไป สู่ความตกลงได้ในที่สุด แต่จนถึงขณะนี้ซึ่งเวลาล่วงเลยมาเกือบปี การดำเนินการดังกล่าวก็ยังไม่ได้เริ่มต้น
ผู้เขียนเห็นว่าน่าจะเป็นทางออกที่ดีและอาจนำไป สู่ความตกลงได้ในที่สุด แต่จนถึงขณะนี้ซึ่งเวลาล่วงเลยมาเกือบปี การดำเนินการดังกล่าวก็ยังไม่ได้เริ่มต้น
สำหรับการเจรจาเกี่ยวกับพื้นที่ทับซ้อนใต้แลต 11 องศาเหนือลงมา ที่ว่าจะแสวงประโยชน์ร่วมกันจนถึงวันนี้อาจกล่าวได้ว่ายังมีความก้าวหน้าใน ประเด็นที่สำคัญน้อยมาก ประเด็นสำคัญที่ว่าคือ การกำหนดสัดส่วนการแบ่งปันผลประโยชน์และการลงทุน ปัญหานี้มีความซับซ้อนเกี่ยวกับข้อมูลของศักยภาพทางธรณีวิทยาของพื้นที่ ซึ่งไม่ง่ายเหมือนพื้นที่แสวงประโยชน์ร่วมไทย-มาเลเซีย เพราะเมื่อ พ.ศ. 2522 ขณะที่เจรจานั้น ทั้งไทยและมาเลเซียไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพทางธรณีของพื้นที่ จึงตกลงกันง่ายๆ 50:50 แต่เมื่อปัญหาไทย-กัมพูชามีข้อมูลเพิ่มขึ้น ความยุ่งยากซับซ้อนก็ติดตามมาว่าจะจัดสรรกันอย่างไร ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจึงจะไม่มีความเสี่ยงเป็นผู้เสียเปรียบในเงื่อนไของความตกลง ผู้ เขียนคงจะกล่าวถึงเรื่องนี้เพียงเท่านี้ การมีการวิพากษ์วิจารณ์จากสาธารณะมากเท่าใด ก็ยิ่งเพิ่มความกดดันให้กับผู้รับผิดชอบในการเจรจาทั้งสองฝ่ายมากเท่านั้น
จากการที่กัมพูชาเชื่อว่าการเจรจาแสวงประโยชน์ร่วมกันในพื้นที่ทับซ้อน จะทำให้ช่วงเวลาการเจรจาสั้นกว่าการเจรจาลากเส้นเขตแดนทางทะเลระหว่างกันให้ จบสิ้นไปเลยนั้นไม่จริงตามที่เชื่อเมื่อแรกเริ่มการเจรจา พ.ศ. 2538 มาจนถึงขณะนี้ย่างเข้าปีที่ 13 แล้วยังไปไม่ได้ไกลสักเท่าใดเลย ถ้าเจรจากำหนดเส้นเขตแดนป่านนี้อาจไปได้ไกลแล้วโดย ความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน เห็นว่าน่าจะไม่มีประโยชน์ที่จะพยายามให้มีการแสวงประโยชน์ร่วมกัน เพราะดูจากท่าทีของทั้งสองฝ่ายแล้ว เห็นว่ามีจุดยืนที่ห่างกันมาก ถ้าเป็นไปได้ หัวหน้าคณะเจรจาทั้งสองน่าจะหารือกันยกเลิกวิธีการเดิม แล้วเริ่มเจรจาแบ่งเส้นเขตแดนทางทะเลตลอดแนวไปเลย หากภายในระยะเวลาหนึ่ง เช่น 5 หรือ 10 ปี ยังไม่ประสบผลสำเร็จควรหารือกันอีกครั้งว่าน่าจะเหมาะสมหรือไม่ที่จะตกลง ร่วมกันใช้บริการ ศาลโลก การนำคดีขึ้นสู่ศาลโลกใช่ว่าจะต้องทะเลาะกัน จะเห็นว่าในปัญหาเขตแดนทางทะเลเมื่อฝ่ายที่เกี่ยวข้องเห็นว่าการตเจรจาถึง ทางตัน
ก็นำคดีขึ้นสู่ศาลโลกให้ช่วยดำเนินการให้ ดังเช่นคดีไหล่ทวีปทะเลเหนือ 1969 ระหว่างเยอรมัน เดนมาร์ก กับ
เนเธอร์แลนด์ เป็นต้น คนไทยอาจจะมีความรู้สึกไม่ค่อยดีกับศาลโลก เนื่องจากคำตัดสินคดีปราสาทเขาพระวิหาร แต่โดยความเป็นจริง เท่าที่ติดตามผลงานของศาลโลกเกี่ยวกับการตัดสินคดีเขตแดนทางทะเลต่างๆ ผู้เขียนเห็นว่าศาลโลกมีความยุติธรรมและเชื่อถือได้ คำชี้แจงของศาลโลกในคดีต่างๆ ยังถูกนำมาอ้างอิงเป็นบรรทัดฐานในการเจรจาได้เสมอเมื่อมีประเด็นที่สามารถอ้างอิงได้และฝ่ายตรงข้ามจะยอมรับเป็นส่วนมาก
โครงการจัดการความรู้เพื่อผลประโยชน์เเห่งชาติทางทะเล
c/o สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
|