บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ความผิดของตามาร์ค โดยท่านยินดี

Conspiracy Theory...โดยท่านยินดี  ต่อสุวรรณ


จากเหตุการณ์รบที่เกิดขึ้นชายแดนไทย - กัมพูชาในช่วงประมาณ 10 วันที่ผ่านมา จนคนไทยต้องอพยพจากถิ่นที่อยู่จำนวนครึ่งแสนและจากข่าวที่ปรากฏต่อสาธารณชน มีการแสดงออกของนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารบกและแม่ทัพภาคที่ 2 ที่ได้แสดงออกถึงการย่อหย่อนการรักษาไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตยเขตแดนของรัฐ และย่อหย่อนต่อการรักษาไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตยของปัจเจกบุคคล (Individual) อันเป็นสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ทำให้ประชาชนต้องทิ้งบ้านเรือนถิ่นที่อยู่ ไม่อาจทำมาหากินหรือประกอบอาชีพอย่างปกติได้ แต่ต้องหลบหนีภัยจากการรุกรานของกัมพูชามาอยู่ร่วมกันในศูนย์อพยพ

       การ กระทำโดยย่อหย่อนต่อการปฏิบัติหน้าที่ของผู้มีหน้าที่ต้องรักษาไว้ซึ่ง เอกราชอธิปไตยและบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐนั้น มิได้มีความหมายว่าเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบของ ผู้มีอำนาจหน้าที่อย่างปกติธรรมดาเท่านั้น แต่กรณีนี้เป็นการย่อหย่อนต่อการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งเข้าข่ายของการกระทำความ ผิดอาญาในความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 119 มาตรา 120 มาตรา 122 ( 2 ) (4) มาตรา127 มาตรา 128 และมาตรา 129

       ผู้ เขียนจึงประสงค์จะเขียนบทความนี้ เพื่อชี้ให้เห็นประเด็นของการกระทำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดให้ปรากฏ แก่สาธารณชนและแก่ผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ได้ไตร่ตรองถึงการกระทำการ ตามหน้าที่ของตนเพื่อหลีกเลี่ยงจากการที่จะต้องตกเป็นอาชญากรโดยรู้เท่าไม่ ถึงการณ์นั้นเสีย ผู้เขียนมิได้มีเจตนาร้ายต่อผู้ใดแต่ประสงค์จะชี้ให้เห็นหลักวิชาการทาง กฎหมายเพื่อให้หาทางแก้ไข หากบุคคลที่เกี่ยวข้องมีความสุจริตเป็นที่ตั้งก็สามารถแก้ไขในสิ่งที่ผิด พลาดได้

       จากการให้สัมภาษณ์ของผู้บัญชาการทหารบกที่ได้ ให้สัมภาษณ์ในทำนองว่า เรื่องการทำงานในการรบของทหารไม่เกี่ยวข้องกับMOU’43 นั้น ผู้เขียนเห็นว่าเป็นความเข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อนอย่างร้ายแรง ซึ่งอาจทำให้มีการนำไปสู่การดำเนินคดีอาญากับผู้บัญชาการทหารบก และทำให้กองทัพบกกลายเป็นจำเลยของสังคมไปชั่วกาลนานได้

       บันทึก MOU’43 ได้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2543 ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชา ผู้ที่ติดตามข่าวสารจะทราบว่าMOU’43 เป็นบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชาที่จะดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขต แดนไทย-กัมพูชา ตามเอกสารต่อไปนี้ (ก.) อนุสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศสแก้ไขเพิ่มเติมข้อบทแห่งสนธิสัญญาฉบับลง วันที่ 3 ตุลาคม รัตนโกสินทรศก 112 ( ค.ศ.1893 ) ว่าด้วยดินแดนกับข้อตกลงอื่นๆฉบับลงนาม ณ.กรุงปารีส เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก 122 ( ค.ศ.1904 )

       (ข.) สนธิสัญญาระหว่างพระเจ้าแผ่นดินแห่งสยามกับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ ฝรั่งเศสฉบับลงนาม ณ.กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทรศก 125 ( ค.ศ.1907 ) กับพิธีสารว่าด้วยการปักปันเขตแดนแนบท้ายสนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทรศก 125 (ค.ศ.1907) และ ( ค.) แผนที่ที่จัดทำขึ้นตามผลงานการปักปันเขตแดนของคณะกรรมการปักปันเขตแดน ระหว่างสยามกับอินโดจีน ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามอนุสัญญาฉบับปี ค.ศ.1904 และสนธิสัญญาฉบับปี ค.ศ.1907 กับเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้อนุสัญญาฉบับปี ค.ศ.1904 และสนธิสัญญาฉบับปี ค.ศ. 1907 ระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ตามเอกสารใน MOU’43 ดังกล่าวมีการกล่าวถึงแผนที่ แต่ไม่ได้ระบุแผนที่มาตราส่วน 1: 200,000 ไว้แต่อย่างใด แต่ได้มีบันทึกข้อความที่นายวรากรณ์รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ได้ทำบันทึกเสนอนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ให้ทราบถึงมาตราส่วนแผนที่ที่จะใช้แสดงเขตแดนระหว่างไทย -กัมพูชานั้น ให้ใช้มาตราส่วน1 : 200,000 

       โดยมีข้อความในบันทึกดังกล่าวว่า “ พื้นฐานทางกฎหมาย การสำรวจและปักปันเขตแดนทางบกจะดำเนินการโดยใช้เอกสารหลักฐานที่ผูกพันไทย กับกัมพูชา ตามกฎหมายระหว่างประเทศ คืออนุสัญญาฉบับลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1904 สนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ.1907 กับพิธีสารแนบท้ายและแผนที่แสดงเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา มาตราส่วน 1:200,000 ซึ่งจัดทำขึ้นตามผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน” การ ที่คณะรัฐมนตรีในสมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศ ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตรไปลงนามใน MOU’43 โดยได้ทราบอย่างแน่ชัดแล้วว่า เส้นเขตแดนระหว่างไทย -กัมพูชา จะใช้แผนที่มาตราส่วน 1: 200,000

       ก่อน ที่กัมพูชาจะก่อตั้งเป็นประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย รัฐไทยได้รู้อาณาเขตประเทศไทยแล้วว่า มีอาณาเขตตามอนุสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศสที่ไทยได้ลงนามไว้แล้ว รัฐ ไทยได้ออกฎหมายใช้บังคับกับโบราณสถานของไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2477 โดยได้ขึ้นทะเบียนปราสาทตาเมือนธมและปราสาทตาเมือนโต๊ด เป็นโบราณสถานของรัฐไทยแล้วตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2478 (ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 หน้าที่ 3712 วันที่ 8 มีนาคม 2478 ) และในปี 2541 ไทยก็ได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าฝั่งซ้ายลำโดมใหญ่ ในท้องที่ตำบลโซง อำเภอน้ำยืน ตำบลโคกสะอาด กิ่งอำเภอน้ำขุ่น อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี และป่าเขาพระวิหารในท้องที่ตำบลเสาธงชัย ตำบลภูผาหมอก อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นอุทยานแห่งชาติโดยมีแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกา ระบุการใช้มาตรส่วน 1 : 50,000 ในแผนที่ดังกล่าว ( ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 115 ตอนที่ 14 ก. ลงวันที่ 20 มีนาคม 2541) การที่ประเทศไทยได้ขึ้นทะเบียนให้ปราสาทตาเมือนธม ปราสาทตาเมือนโต๊ดเป็นโบราณสถานตามกฎหมาย และมีพระราชกฤษฎีกาให้ป่าเขตพระวิหารเป็นอุทยานแห่งชาติย่อมแสดงให้เห็นได้ ว่า รัฐบาลไทยได้รู้ว่าแนวเส้นเขตแดนประเทศไทยนั้นใช้เส้นแนวเขตแดนมาตราส่วน 1 : 50,000 

       เมื่อ รัฐบาลได้ทำบันทึกข้อตกลง MOU’43 กับกัมพูชา อันเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศโดยใช้เส้นเขตแดนไทย - กัมพูชา มาตราส่วน 1: 200,000 นั้น ในทางกฎหมายระหว่างประเทศจึงเป็นการที่รัฐบาลไทย ได้ยอมยกดินแดนประเทศไทยให้กัมพูชา โดยยกเลิกเขตแดนมาตราส่วน 1:50,000 มาใช้มาตราส่วน 1 :200,000 MOU’43 จึงเป็นบันทึกข้อตกลงยกสิทธิในดินแดนของรัฐไทยให้แก่กัมพูชา ( CESSION ) ( ซึ่งเทียบได้กับทางแพ่ง เป็นการโอนทรัพย์สิน หรือสละสิทธิในทรัพย์สินให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง) กัมพูชา จึงมีสิทธิหรือมีกรรมสิทธิ์ในดินแดนประเทศกัมพูชาตามมาตราส่วน 1:200,000 เพราะรัฐบาลไทยได้สละสิทธิในที่ดินอันเป็นอาณาเขตของประเทศไทยไปเรียบร้อย แล้ว อำนาจอธิปไตยในดินแดน 1:200,000 จึงตกอยู่ในอำนาจอธิปไตยของกัมพูชา 

       อำนาจ อธิปไตยมิได้หมายความแต่เฉพาะพื้นที่ดินอันเป็นอาณาเขต ( TERRITORY ) เท่านั้น แต่เอกราชและอำนาจอธิปไตยในทางอื่นคือ นิติบัญญัติ บริหาร รวมทั้งตุลาการ ตลอดจนอำนาจอธิปไตย อันเป็นสิทธิและเสรีภาพของปัจเจกบุคคลย่อมต้องสูญเสียไปด้วย โดยประชาชนจะถูกจำกัดสิทธิที่จะเข้าไปในอาณาเขตดังกล่าวได้

       ตาม หลักกฎหมายภายในประเทศของไทย การทำบันทึก MOU’43 จึงเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดอาญาในความผิดต่อความมั่นคงของรัฐตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 119 เพราะทำให้ราชอาณาจักรหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักรตกไปอยู่ใต้อำนาจ อธิปไตยของรัฐต่างประเทศ หรือเพื่อให้เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไป แม้จะไม่มีการเข้ามาอยู่หรือยึดครองของทหารหรือคนกัมพูชา การทำMOU’43 เป็นการกระทำความผิดอาญาสำเร็จครบองค์ประกอบของการกระทำความผิดอาญาโดย สมบูรณ์ เพราะอำนาจอธิปไตยในดินแดนของประเทศไทยมาตราส่วน 1:50,000 ได้สูญสิ้นโดยMOU’43ไปหมดแล้ว ซึ่งก็ปรากฏหลักฐานการแสดงออกของ กัมพูชาเรียกร้องให้ไทยใช้มาตราส่วน 1:200,000 มากำหนดเส้นเขตแดน กัมพูชาได้ตัดถนนและเข้าใช้พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร มีการสร้างวัดและนำราษฎรเข้ามาอยู่อาศัยโดยไทยไม่ได้โต้แย้งขัดขวาง มีการแสดงออกจากการกระทำของฝ่ายไทยที่ยินยอมให้กัมพูชาเข้ามายึดครองใช้ พื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ มีการอ้างสิทธิการปักปันเขตแดนไทย -กัมพูชาขึ้นใหม่ ทั้งมีการแสดงออกของการกระทำของรัฐบาลไทยที่ดำเนินการให้มีคณะกรรมการเพื่อ ปักปันเขตแดนใหม่ แสดงให้เห็นถึงการยินยอมยกอำนาจอธิปไตยในเขตดินแดนบางส่วนให้แก่กัมพูชาไป แล้ว การแสดงออกของข้าราชการไทยและทีมงานศึกษาวิจัยของไทย ตลอดจนผู้นำรัฐบาล ผู้นำทางทหารที่รับผิดชอบในเขตแดนที่ยอมรับว่าพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร เป็นดินแดนพิพาทหรือเป็นดินแดนที่ต้องปักปันเขตแดน การที่ผู้นำหรือผู้แทนไทยไม่ได้ยืนยันเขตแดนไทยในเวทีโลก โดยที่ฝ่ายกัมพูชาอ้างสิทธิในเขตแดนตามมาตราส่วน 1 : 200,000

       การ ที่ไทยใช้สิทธิประท้วงกัมพูชากว่า 100 ครั้ง โดยอ้างว่ากัมพูชาผิดเงื่อนไขตามMOU’43 โดยที่กัมพูชาไม่ได้สนใจกับการประท้วงของไทยเลยแม้แต่น้อย ก็เพราะกัมพูชาได้รู้เป็นอย่างดีถึงสาระสำคัญของMOU’43 นั้น เป็นเรื่องที่ไทยได้สละเขตแดนที่เป็นอำนาจอธิปไตยของไทยให้กับกัมพูชาหมด สิ้นแล้ว และกัมพูชารู้ดีว่า การประท้วงของไทยนั้นไม่มีผลต่อกัมพูชา ไม่ว่าในความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชา หรือในสายตาของประชาคมโลก เพราะกัมพูชามีหลักฐานแสดงต่อนานาอารยประเทศได้ว่า ไทยได้สละอำนาจอธิปไตยในดินแดนแห่งราชอาณาจักรไทยให้ตกอยู่ในอำนาจอธิปไตย ของกัมพูชาไปแล้วตามมาตราส่วน 1 :200,000 พฤติการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นล้วนเป็นการยืนยันได้ว่า บันทึกข้อตกลง MOU’43 นั้นเป็นการกระทำความผิดอาญาตามกฎหมายภายในประเทศไทยเป็นความผิดสำเร็จแล้ว [ส่วน MOU’43 จะมีผลผูกพันรัฐไทยหรือไม่นั้นเป็นอีกปัญหาหนึ่ง และคณะรัฐมนตรีไทย นักการเมืองกัมพูชา ตลอดจนข้าราชการกระทรวงต่างประเทศทั้งไทยและกัมพูชา จะเป็นผู้ร่วมกระทำความผิดอาญาอันเป็นกฎหมายของไทยหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานและความสามารถที่จะทำการสืบสวนสอบสวน หาผู้ร่วมกระทำความผิดต่อไป และในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นคนต่างด้าวกระทำความผิดนอกราชอาณาจักรไทย แต่ผลของการกระทำเกิดขึ้นในราชอาณาจักรหรือประสงค์จะให้ผลเกิดขึ้นในราช อาณาจักรโดยสมคบกับผู้กระทำในราชอาณาจักรแล้ว ผู้นั้นก็ถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดในราชอาณาจักร ซึ่งจะต้องถูกสอบสวนดำเนินคดีอาญาในราชอาณาจักรไทยได้เช่นกัน เพราะ MOU’43 เป็นการกระทำที่ต้องร่วมสมคบคิดกัน]

       โดยลักษณะของ บันทึก MOU’43ไม่ใช่เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศ เป็นเพียงหนังสือบันทึกข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชา ที่ไทยยอมสละเขตแดนให้อำนาจอธิปไตยของไทยตกอยู่ในอำนาจอธิปไตยของกัมพูชา เท่านั้น MOU’43 จึงไม่ต้องผ่านรัฐสภา และถึงจะนำเข้าสู่รัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบก็ไม่ทำให้ MOU’43 ซึ่งเป็นหลักฐานของการกระทำความผิดอาญานั้น กลายเป็นหลักฐานที่ไม่ใช่เป็นการกระทำความผิดอาญาได้แต่อย่างใดไม่ เพราะรัฐสภาไม่ใช่เป็นสถานที่ฟอกความผิดอาญาของรัฐบาลหรือของบุคคลใดและรัฐสภาไม่อาจรับรองการกระทำความผิดของรัฐบาลได้ 

       รัฐบาลหลายสมัยที่ผ่านมารวมทั้งรัฐบาลชุดนี้ ไม่ได้มีการดำเนินคดีอาญากับรัฐบาลและผู้กระทำความผิดที่ได้ทำ MOU’43 แต่อย่างใด การ กระทำของรัฐบาลชุดนี้ไม่อาจเป็นผู้สนับสนุนในการกระทำความผิดในการทำ MOU’43 ของรัฐบาลชุดก่อนได้ เพราะการกระทำความผิดอาญาในการทำ MOU’43 ได้สำเร็จไปแล้ว แต่การที่รัฐบาลชุดนี้ เห็นชอบที่จะปฏิบัติตาม MOU’43 และนำไปปฏิบัตินั้น การกระทำของรัฐบาลชุดนี้จึงเข้าหลักเกณฑ์ของการกระทำความผิดต่อความมั่นคง ของรัฐภายนอกราชอาณาจักร ซึ่งเป็นคนละกรรม คนละวาระต่างกัน โดย รัฐบาลและข้าราชการที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นทหารหรือพลเรือนจะต้องทราบเป็น อย่างดีว่า MOU’43 จะนำไปใช้ไม่ได้ เพราะMOU’43 นอกจากจะเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายอาญาแล้ว MOU’43 ยังเป็นการทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 1 ที่บัญญัติว่า ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกมิได้ 

       การ ทำ MOU’43 เป็นการสละอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพในดินแดนให้อำนาจอธิปไตยตกไปเป็นของ กัมพูชาและทำให้เอกราชของรัฐไทยต้องเสื่อมเสียไป ก่อให้เกิดการเรียกร้องและสิทธิเรียกร้องแก่กัมพูชาที่จะเรียกร้องเอาดินแดน จากไทย โดยนำไปร้องเรียนต่อองค์การสหประชาชาติเพื่อให้ประชาคมโลกบังคับกับประเทศ ไทย ทั้งยังนำเรื่องไปสู่ศาลโลก ( I.C.J ) เพื่อใช้อำนาจของศาลโลกบังคับกับประเทศไทยปรากฏให้เห็นเป็นปัจจุบัน ซึ่งรัฐบาลจะนำเอา MOU’43 มาใช้ปฏิบัติหน้าที่ของรัฐบาลไม่ได้เลย เพราะต่อรัฐธรรมนูญและขัดต่อนโยบายของรัฐบาลเอง รัฐบาลจะกระทำการใดๆ ที่จะทำให้เอกราชอธิปไตยและบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ ต้องสูญเสียหรือเสียหายไปไม่ได้โดยเด็ดขาดเพราะเป็นความผิดที่มีโทษทางอาญา

       การ ที่รัฐบาล กองทัพไทยผู้มีหน้าที่รักษาดินแดนแห่งราชอาณาจักรไทยได้ปฏิบัติหน้าที่โดย ย่อหย่อน อันแสดงให้เห็นเป็นที่สงสัยต่อสาธารณชนได้ว่า มีการคบคิดกันกระทำเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อกัมพูชา โดยประสงค์ที่จะก่อให้เกิดการดำเนินการรบหรือ การกระทำในทางอื่นที่เป็นปรปักษ์ต่อรัฐแล้ว การกระทำของรัฐบาลและของกองทัพก็จะเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดต่อความมั่น คงของรัฐภายนอกราชอาณาจักรตามมาตรา 119 , มาตรา 120 และมาตรา 122 ได้

       กอง ทัพจะอ้างว่าเป็นนโยบายของรัฐบาล หรือจะอ้างว่า MOU’43 รวมทั้งบันทึก JBC หรือการประชุม JBC ซึ่งมีผลมาจาก MOU’43 ก็ไม่สามารถอ้างได้ เพราะ กองทัพจะต้องทราบว่า ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกไม่ได้ และจะต้องทราบได้เป็นอย่างดีว่า รัฐบาลจะกระทำการใดๆอันเป็นการแบ่งแยกราชอาณาจักรไทยไม่ได้ กับต้องทราบเป็นอย่างดีอีกด้วยว่า การมีกำลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์นั้น มีไว้เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช อธิปไตย ความมั่นคงของรัฐ ตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 77 การปฏิบัติหน้าที่โดยย่อหย่อน หรือปล่อยปละละเลยให้มีการรุกล้ำอธิปไตยและปล่อยให้มีการกระทำอันเป็นการ กระทำเพื่อให้เอกราชขอรัฐเสื่อมเสียไปนั้นไม่อาจกระทำได้

       กอง ทัพจะต้องทราบอาณาเขตประเทศของรัฐไทยได้เป็นอย่างดีในระดับของผู้เชี่ยวชาญ และผู้ชำนาญการว่า รัฐไทยนั้นมีเส้นเขตแดนแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างไร และอยู่ ณ.ที่ใด กองทัพจะต้องรู้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายหรือดำเนินการใดๆ ให้มีผลกระทบต่อการต้องสูญเสียอำนาจอธิปไตยในเขตแดนไม่ได้ (ถ้าไม่ มีการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันระหว่างรัฐบาลทั้งสองฝ่าย) กองทัพจะต้องทราบด้วยความรู้เชี่ยวชาญในยุทธศาสตร์และยุทธศิลป์ของการรบ จะต้องทราบถึงกลไกและวิธีการที่จะเผด็จศึกเพื่อรักษาไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพแห่งเขตอำนาจของรัฐไทย กอง ทัพไม่อาจดำเนินการรบโดยปล่อยให้กัมพูชายิงฝ่ายเดียว เพื่อให้กัมพูชาหยุดยิงเมื่อกัมพูชาไม่หยุดยิงจึงยิงตอบโต้ หรือจะใช้วิธีให้กัมพูชายิงก่อน แล้วค่อยยิงตอบโต้พอสมควรนั้นหาได้ไม่ เพราะการกระทำดังกล่าวไม่ใช่เป็นการใช้กำลังทหารเพื่อพิทักษ์รักษาไว้ซึ่ง อำนาจอธิปไตยและบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐแต่อย่างใดไม่ แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำที่ใช้ชีวิตของทหารที่ปฏิบัติการและชีวิต ของประชาชน (หากไม่มีการอพยพหนีมาก่อน) เป็นเหยื่อสังหารให้กับศัตรู ซึ่งก็ไม่ต่างอะไรกับกรณีที่มีการใช้มนุษย์มาเป็นโล่กำบังการสู้รบนั่นเอง

       กอง ทัพจะต้องทราบว่าการสู้รบเพื่อรักษาที่มั่นโดยไม่ขับไล่ผู้รุกรานออกไปจาก เขตแดนแห่งอำนาจอธิปไตยของรัฐนั้น ไม่ใช่เป็นการรบเพื่อรักษาอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐแต่อย่างใด ไม่ แต่การกระทำดังกล่าวจะส่อพฤติการณ์ให้เห็นว่าเป็นการสมรู้ร่วมคิดกัน กอง ทัพจะต้องทราบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งจะต้องมีการปฏิบัติต่อกันเยี่ยงประเทศที่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันด้วย แต่ก็มิใช่เป็นอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายโดยตรงของกองทัพที่จะต้องสร้างปฏิ สัมพันธ์ทางการทูตอยู่ฝ่ายเดียว

       พฤติการณ์ที่ เกิดขึ้นปรากฏให้เห็นเป็นสาธารณะนั้น กองทัพจะต้องทราบดีว่ากัมพูชาต้องการเขตแดนที่ได้กลายเป็นอำนาจอธิปไตยของ กัมพูชาโดย MOU’43 ให้สมบูรณ์โดยการยึดครองให้ได้ทั้งหมดเท่านั้นและกองทัพจะต้องทราบว่า การ กระทำการตามหน้าที่ของกองทัพที่ขัดต่อหลักการปฏิบัติในการรบของกองทัพตาม มาตรฐานของวิญญูชนโดยทั่วไปที่เห็นได้ว่า กองทัพไม่ได้ทำหน้าที่ในการรบทั้งในทางยุทธศาสตร์และยุทธศิลป์เพื่อเผด็จศึก อย่างแท้จริงนั้น การกระทำของผู้รับผิดชอบในกองทัพก็จะเข้าข่ายของการกระทำความผิดอาญาในข้อหา ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักรได้เช่นกัน

       และ ถ้าปรากฏว่ากัมพูชาได้เข้ามายึดครองในเขตแดนอาณาเขตประเทศไทยส่วนใดส่วน หนึ่งแล้ว การกระทำของผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในกองทัพก็ถือว่าได้กระทำความผิดอาญา สำเร็จแล้ว โดยไม่อาจจะอ้างว่าเป็นคำสั่งหรือเป็นนโยบายของรัฐบาล หาได้ไม่ เพราะอำนาจหน้าที่ของกองทัพเป็นอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายโดยตรงไม่ได้ขึ้นอยู่ กับรัฐบาลหรือคำสั่งของรัฐบาล และกองทัพไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดทางอาญาโดยอาศัยคำสั่งที่ไม่ชอบด้วย กฎหมายหรือไม่มีกฎหมายรองรับของรัฐบาลได้

       ขณะนี้ปรากฏว่ากัมพูชาได้นำเรื่องไปฟ้องศาลโลก ( I.C.J) จะด้วยข้ออ้างประการใดก็ตาม เมื่อ รัฐไทยไม่ได้มีสนธิสัญญาที่ประเทศไทยต้องอยู่ในเขตอำนาจของศาลโลกแล้ว รัฐบาลจะนำให้ประเทศไทยให้ตกอยู่ในเขตอำนาจของศาลโลกไม่ได้เลย เพราะเป็นการทำให้เอกราชของรัฐต้องเสื่อมเสียไปต้องตกอยู่ในอำนาจบังคับของ ศาลโลก (Compulsory) และรัฐบาลจะต้องทราบเป็นอย่างดีว่า กัมพูชาไม่อาจนำเอาบันทึกข้อตกลง MOU’43 ไปใช้ในองค์การสหประชาชาติหรือศาลโลกได้เลย เพราะการทำบันทึก MOU’43 ที่ไทยยอมสละอาณาเขตดินแดนจากมาตราส่วน 1 : 50,000 โดยยินยอมให้กัมพูชาใช้มาตราส่วน 1 :200,000 ซึ่งจะทำให้ไทย-กัมพูชาเปลี่ยนแปลงอาณาเขตประเทศกันนั้น เป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายอาญาภายในประเทศของไทยและ ยังขัดต่อรัฐธรรมนูญของกัมพูชา ซึ่งบัญญัติให้กัมพูชาใช้มาตราส่วน 1 :100,000

       รัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชา โดยกระทรวงต่างประเทศทั้งสองจะต้องทราบเป็นอย่างดีว่า MOU’43 นั้น ขัดต่อกฎหมายภายในของแต่ละประเทศของตน การทำบันทึก MOU’43 ที่ขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญของไทยและของกัมพูชาและผิดกฎหมายอาญาของไทยแล้ว ในทางกฎหมายระหว่างประเทศถือได้ว่า MOU’43 ขัดต่อหลักกฎหมายเด็ดขาด ( JUS COGENS ) บันทึก MOU’43 จึงเป็นโมฆะตั้งแต่วันที่ทำบันทึกดังกล่าว และไม่มีผลผูกพันรัฐไทย 

       การที่กัมพูชานำเรื่องไปสู่ศาลโลกโดยอ้างถึงการขอให้ศาลตีความในคำพิพากษา (ซึ่งผ่านมาเกือบ 50 ปี แล้ว ) ซึ่ง กัมพูชาและไทยต่างก็ต้องทราบดีว่า ไม่มีเหตุผลและประเด็นตามข้ออ้างที่จะนำคดีไปสู่ศาลโลกได้แต่อย่างใด ซึ่งรัฐบาลและทนายความมีหน้าที่และงานในวิชาชีพทางกฎหมายจะต้องรู้ว่ารัฐไทย ไม่มีพันธกรณีที่จะต้องตกอยู่ในอำนาจการบังคับของศาลโลกแล้ว ก็จะต้องดำเนินการไม่ให้รัฐไทยต้องตกอยู่ในอำนาจการบังคับของศาลโลก ซึ่งหากมีการได้ดำเนินการใดๆ ให้รัฐไทยต้องตกอยู่ในอำนาจของศาลโลกแล้ว เพียงเท่านี้ผู้มีส่วนร่วมในการกระทำดังกล่าวก็เข้าข่ายของการกระทำความผิด อาญาในข้อหาความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักรได้ อันเป็นการกระทำที่ต่างกรรม ต่างวาระกัน

       และ หากปรากฏว่ารัฐไทยยินยอมให้ศาลโลกพิจารณาวินิจฉัยคดีตามที่กัมพูชาดำเนินการ แล้ว โดยรัฐไทยไม่ยกประเด็นMOU’43 ขึ้นว่ากล่าวว่าเป็นการร่วมกันทุจริต (Corruption ) ระหว่าง รัฐบาลไทยชุดก่อนและรัฐบาลกัมพูชา เพราะได้มีการร่วมกันทำผิดกฎหมายซึ่งเป็นกฎหมายภายในของทั้งสองประเทศขึ้น ต่อสู้ เพื่อตัดอำนาจการดำเนินคดีของกัมพูชาแล้ว การกระทำของบุคคลที่เกี่ยวข้องให้มีการดำเนินคดีในศาลโลกดังกล่าวก็จะมีความ ผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักรซึ่งเป็นความผิดคนละกรรมต่างกัน

       และ ทั้งกัมพูชาและรัฐบาลไทยต้องรู้ว่าการร่วมกันทำ MOU’43 โดยมีการสละเขตแดนของไทยให้กัมพูชาโดยผิดกฎหมายภายในของประเทศทั้งสองนั้น ย่อมเป็นการที่รัฐบาลสองประเทศร่วมกันกระทำการทุจริตอันเป็นการกระทำที่ขัด ต่อกฎบัตรสหประชาติ (United nation convention against corruption) ซึ่งรัฐบาลกัมพูชาและรัฐบาลไทยจะนำคดีมาสู่ศาลโลกไม่ได้เลย อันเป็นหลักสากลที่คู่กรณีต้องไปศาลโดยมือสะอาด (Clean hand doctrine) หาใช่สมคบกันมาศาลโลกเพื่อใช้ศาลโลกเป็นเครื่องมือเพื่อปิดบังการกระทำการอันเป็นการทุจริตของตนนั้นหาได้ไม่

โดย ยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ - 4 พฤษภาคม 2554

คำถามถึงอภิสิทธิ์ ทำไมทะเลาะกับเขมรแทบตาย เพื่อกลับไปที่เดิม?

คำถามถึงอภิสิทธิ์ ทำไมทะเลาะกับเขมรแทบตาย เพื่อกลับไปที่เดิม?


เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (7 มิ.ย.) มีข่าวเล็กๆ ชิ้นหนึ่งที่รายงานโดยเว็บไซต์ thaiinsider ว่านายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ “ยันสู้คดีเพื่อปกป้องอธิปไตย บี้พรรคอื่น ต้องยืนยันท่าทีเรื่องปัญหาไทย-เขมรให้ชัดเจน เพราะจุดยืน ปชป.ชัดแล้ว” และ ในข่าวมติชนวันที่ 5 มิ.ย. นายอภิสิทธิ์ยังบอกว่ากัมพูชาต้องแสดงความจริงใจ “ด้วยการชะลอการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกต่อยูเนสโก โดยเริ่มต้นร่างแผนบริหารจัดการร่วมกันระหว่างไทยกับกัมพูชา” นี่เป็นอีกครั้งหนึ่งที่นายอภิสิทธิ์ใช้ชาตินิยมเพื่อหวังผลทางการเมือง
ผู้เขียนเชื่อว่าประชาชนไทยทุกกลุ่มทุกสีล้วนเอาใจช่วยให้ทีมกฎหมายของ ไทยประสบความสำเร็จในการต่อสู้คดีกับกัมพูชาในขณะนี้ เพราะถ้าศาลตีความว่า “พื้นที่โดยรอบ” ที่ไทยจะต้องถอนทหารออกไปให้หมดนั้น คือพื้นที่ตามเส้นเขตแดนบนแผนที่ 1:200,000 จะส่งผลให้ไทยต้องสูญเสียพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม.โดยรอบพระวิหาร การสูญเสียครั้งนี้ไม่เพียงแต่จะเพิ่มพูนความเกลียดชังระหว่างไทยกับกัมพูชา แต่อาจกลายเป็นเงื่อนไขที่จะนำไปสู่วิกฤติการเมืองไทยที่รุนแรงกว่าทุกครั้ง ที่พระวิหารเคยเป็นปัญหามา การต่อสู้ครั้งนี้จึงมีความเสี่ยงสูงมาก
ปัญหาคือ ประเทศไทยไม่ควรต้องเดินมาสู่ความเสี่ยงนี้เลย หากนายอภิสิทธิ์ไม่ไหลไปกับกระแสแสชาตินิยมและมุ่งเอาชนะทางการเมืองภายใน มากจนเกินไป
สิ่งที่บทความชิ้นนี้ต้องการแสดงให้เห็นคือ สาระสำคัญที่ทีมกฎหมายไทยที่นำโดยนายวีรชัย พลาศรัย แถลงด้วยวาจา (Oral hearing) ในนามของรัฐบาลไทยต่อศาลโลกเมื่อวันที่ 30 และ 31 พ.ค.ที่ผ่านมา ไม่ได้แตกต่างจากสิ่งรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวชได้กระทำไว้ แต่นายสมัครและนายนพดล ปัทมะ กลับถูกกลุ่มชาตินิยมและนายอภิสิทธิ์ หัวหน้าพรรคฝ่ายค้านในขณะนั้น โจมตีว่าทำให้ไทยเสียดินแดน
ว่าด้วยเส้นเขตแดนตามมติ ครม.2505 และการสงวนสิทธิ์
นายวีรชัยแถลงว่า “ประเทศไทยมีความสม่ำเสมอในจุดยืนของตนที่ยอมรับคำตัดสิน ของศาลเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2505 และได้ปฏิบัติตามคำตัดสินดังกล่าวอย่างสมบูรณ์” ดังจะเห็นได้ว่าหลังจากศาล มีคำตัดสินออกมา คณะรัฐมนตรี (ของสฤษดิ์ ธนะรัชต์) ได้จัดให้มีการประชุมเมื่อวันที่ 10 ก.ค. เพื่อกำหนดพื้นที่ของพระวิหารให้เป็นไปตามคำตัดสินของศาล ต่อมาในวันที่ 19 ก.ค. ฝ่ายไทยได้จัดทำรั้วลวดหนวมขึ้นตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 10 ก.ค. เพื่อเป็นเครื่องหมายเขตแดนของพระวิหาร และฝ่ายกัมพูชาก็ยอมรับเส้นเขตแดนดังกล่าวตลอด 40 ปีที่ผ่านมา
ผู้เขียนเห็นว่าข้อโต้แย้งของฝ่ายกฎหมายไทยเป็นสิ่งที่ชาญฉลาด โดยใช้การประพฤติปฏิบัติของกัมพูชาเป็นเครื่องผูกมัดทางกฎหมายต่อกัมพูชาเอง อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนมีข้อสังเกตสองประการ
(1) คำแถลงของฝ่ายไทยชี้ว่านับแต่ปี 2505 เป็นต้นมา ฝ่ายไทยได้ยึดรั้วลวดหนวมที่ตั้งขึ้นในสมัย รบ.สฤษดิ์ ว่าเป็นส่วนหนึ่งของเส้นเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชาในบริเวณพระวิหาร ข้อเท็จจริงก็คือ ในยุคของ รบ.นายสมัคร สุนทรเวช กระทรวงการต่างประเทศภายใต้การนำของนายนพดล ปัทมะได้พยายามเจรจาจนกระทั่งกัมพูชายินยอมตัดพื้นที่ 4.6 ตร.กม. ออกจากเอกสารยื่นขอจดทะเบียนพระวิหารเป็นมรดกโลกในปี 2551 ได้สำเร็จ โดยกัมพูชาเอาเฉพาะพื้นที่ที่ถูกล้อมรั้วตามมติ ครม. 2505 ไปขึ้นทะเบียน (โปรดดูรูปแผนผังประกอบ)


แผนผังแสดงพื้นที่ (1) คือทรัพย์สินที่ขึ้นทะเบียน และพื้นที (2) คือเขตกันชน จาก The Kingdom of Cambodia,
The Temple of Preah Vihear Inscribed on the World Heritage List (UNESCO) since 2008.
จากแผนผังข้างต้น ส่วนสีเหลืองคือพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม. ในเอกสารยื่นจดทะเบียน กัมพูชาระบุชัดเจนว่ามีเพียงพื้นที่หมายเลข 1 คือตัวปราสาท และหมายเลข 2 (พื้นที่สีเขียวทั้งหมด) ซึ่งอยู่ในเขตพื้นราบฝั่งกัมพูชา เราจะเห็นได้ว่าไม่มีพื้นที่ฝั่งตะวันตกถูกนำไปขึ้นทะเบียนมรดกโลก จึงเท่ากับกัมพูชาเอาเฉพาะตัวปราสาทและพื้นที่ภายในรั้วลวดหนามนั่นเอง
แต่เมื่อนายนพดลชี้แจงต่อสภาในการอภิปรายไม่ไว้วางใจเมื่อวันที่ 24 มิ.ย.2551 ว่าพื้นที่ทางฝั่งตะวันตกของพระวิหารที่กัมพูชานำไปขึ้นทะเบียนมรดกโลก ไม่มีส่วนใดรุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ที่ไทยอ้างสิทธิ์อยู่ (4.6 ตร.กม.) เพราะเป็นไปตามเส้นเขตแดนที่กำหนดตามมติครม. 2505 นายอภิสิทธิ์ตอบโต้ว่า:
“ผมฟังท่านรัฐมตรี (นพดล) ชี้แจงหลายเวทีแล้วครับ ไปบอกว่าศาลตัดอย่างนั้น เราก็เลยไปกำหนดเขตแดนตามมติคณะรัฐมนตรี 2505 ท่านประธานครับ ไม่มีที่ไหนเขาขีดเขตแดนโดยมติคณะรัฐมนตรีครับ มติคณะรัฐมนตรีสัปดาห์นี้เป็นอย่าง สัปดาห์หน้าก็เปลี่ยนได้...ไม่มีหลักสากลที่ไหนเลยครับเขาไปปล่อยให้คณะ รัฐมนตรี หรือมติของฝ่ายบริหารกำหนดเขตแดนระหว่างประเทศ”
“ศาลตัดสินให้เฉพาะ Temple ตามมติ ครม.2505 นั้นเป็นเรื่องของ Area เพื่อจะปฏิบัติ เพราะแน่นอนครับ การดำเนินการของรัฐบาลไทยในขณะนั้นต้องกังวลแน่นอนว่า ถ้าไปขีดเส้นแล้ว เกิดการเผชิญหน้า เกิดการปะทะกัน ก็ไม่เป็นผลดีกับฝ่ายใด ก็ต้องกำหนดแนวปฏิบัติไว้อย่างนี้ครับ ที่ท่านรัฐมตรีมักจะมาขีดเส้นอยู่นี่ แล้วก็บอกว่าเป็นเขตแดนนั้น ไม่ใช่ครับ เป็นเขตแนวปฏิบัติกำหนดโดยคณะรัฐมนตรีเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติให้เห็นว่า เราไม่ได้ฝ่าฝืนสิ่งที่เป็นศาลโลกสั่ง แต่ไม่ได้มีสถานะของการเป็นเขตแดน กัมพูชาก็ไม่ได้ยอมรับ นี่คือข้อเท็จจริงครับ”
คำถามคือ นายอภิสิทธิ์ยอมรับหรือไม่ว่า ณ วันนี้ ตนเห็นด้วยกับ รบ.นายสมัคร ที่ให้ยึดเส้นรั้วตามมติ ครม. 2505 เป็นเส้นเขตแดนในบริเวณนี้ หากเป็นเช่นนั้นจริง นายอภิสิทธิ์ควรกล่าวคำขอโทษต่อนายสมัคร ที่แม้จะเสียชีวิตไปแล้ว และต่อนายนพดลหรือไม่?
(2) นี่เป็นการประกาศอย่างเป็นทางการครั้งแรกในนามของรัฐบาลอภิสิทธิ์ว่าไทยยอมรับคำตัดสินของศาลโลก โดยไม่มีประโยคต่อท้ายว่า “ไทยยังสงวนสิทธิ์ที่จะเรียกร้องเอาปราสาทพระวิหารคืนมาเป็นของไทย” อัน เป็นประโยคที่นายอภิสิทธิ์กล่าวย้ำบ่อยครั้งตั้งแต่สมัยที่เป็นหัวหน้าพรรค ฝ่ายค้านจนถึงปัจจุบัน เป็นประโยคที่ใช้โจมตี รบ.สมัครว่าได้สละสิทธิ์ดังกล่าวไป
ประโยคดังกล่าวสร้างความเข้าใจผิดและความหวังลมๆ แล้งๆ ให้กับประชาชนทั่วไปว่าไทยยังมีสิทธิตามกฎหมายที่จะเอาปราสาทพระวิหารมาเป็น ของไทย ทั้งๆ ที่ธรรมนูญของศาลโลกกระบุไว้ชัดเจนว่า คำตัดสินของศาลโลก “ถือเป็นที่สุด” ไม่มีอุทธรณ์ ฎีกา แต่หากจะขอให้ศาลทบทวนคำพิพากษาจะต้องกระทำภายใน 10 ปีนับแต่มีคำพิพากษา
คำถามคือ ถ้านายอภิสิทธิ์เชื่อมั่นว่าไทยยังมีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องปราสาทพระวิหารคืน มาจริง ทำไมจึงไม่ให้ทีมกฎหมายไทยประกาศข้อสงวนสิทธิ์ดังกล่าวในเวทีศาลโลก เพราะการประกาศว่า “ไทยยอมรับคำตัดสินของศาลโลก” โดยไม่มีเงื่อนไขต่อท้าย ก็เท่ากับรัฐบาลอภิสิทธิ์กำลังสละสิทธิ์ที่จะทวงคืนพระวิหาร หรือเพราะนายอภิสิทธิ์รู้ว่าประโยคแบบนี้ใช้หากินได้แต่ในเมืองไทยเท่านั้น? แต่ไม่มีความหมายในทางกฎหมายใดๆ ในเวทีนานาชาติเลย ซ้ำร้ายจะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นตัวตลกเสียอีก
คำพูดเรื่อง “สงวนสิทธิ์” ที่จะเอาพระวิหารคืนมานั้น มีที่มาจากจอมพลสฤษดิ์ และจดหมายที่นายถนัด คอมันตร์ รมต.กต. มีถึงเลขาธิการยูเอ็น แต่การพูดแบบนี้เมื่อปี 2505 ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติเพราะยังมีอายุความอยู่ แต่เมื่ออายุความหมดไปตั้งเกือบ 40 ปีแล้ว โดยที่ไทยไม่เคยพยายามรื้อฟื้นคดีในช่วงที่ผ่านมาเลย มันย่อมเป็นได้แค่เครื่องมือหากินทางการเมืองที่ไร้ความรับผิดชอบ
การบริหารจัดการพระวิหารและพื้นที่ทับซ้อน
ผู้เขียนเห็นด้วยกับถ้อยแถลงต่อศาลโลกของนายวีรชัย เมื่อวันที่ 30 พ.ค.ที่ว่า เมื่อปี 2546 รัฐบาลไทยและกัมพูชาเคยตกลงจัดตั้งคณะกรรมการร่วมระดับรัฐมนตรีเพื่อพัฒนา พื้นที่ปราสาทพระวิหารร่วมกัน และได้หารือเรื่องการขึ้นทะเบียนมรดกโลกร่วมกันตามแผนพัฒนาการท่องเที่ยว “สองอาณาจักร หนึ่งเป้าหมาย” มีการจัดตั้งอนุกรรมการร่วมสองคณะ คณะหนึ่งเพื่อดูแลการฟื้นฟูและรักษาพระวิหาร อีกคณะหนึ่งเพื่อวางแผนและพัฒนาพื้นที่รอบปราสาท โครงการดังกล่าวชี้ว่ารัฐบาลไทยในขณะนั้น พร้อมที่จะเปิดหน้าใหม่ของปราสาทพระวิหารให้เป็นความร่วมมือและมิตรภาพกับ กัมพูชา แต่ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อกัมพูชากลับยื่นขอขึ้นทะเบียนแต่ฝ่ายเดียวในปี 2547 ฝ่ายไทย (ในสมัย รบ.สุรยุทธ์) จึงได้คัดค้านการขึ้นทะเบียนของกัมพูชาเพราะเอาดินแดนที่ไทยอ้างสิทธิ์ไป ขึ้นทะเบียนด้วย ได้มีความพยายามเจรจาแก้ไขในส่วนนี้ และในที่สุด รบ.ไทย (สมัยสมัคร) ก็สนับสนุนการขึ้นทะเบียนพระวิหารเป็นมรดกโลกในปี 2551
อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเห็นว่ามีความจำเป็นต้องทำความกระจ่างในบางประเด็น:
  1. เมื่อกัมพูชายืนยันที่จะยื่นจดทะเบียนตามลำพัง และบอกให้ไทยแยกยื่นส่วนที่อยู่ในเขตแดนไทย รัฐบาลสุรยุทธ์ยังคงสนับสนุนการขึ้นทะเบียนพระวิหารของกัมพูชาต่อไป บนเงื่อนไขว่ากัมพูชาต้องร่วมมือแก้ไขและป้องกันปัญหาที่จะกระทบต่อเขตแดน ที่ไทยอ้างสิทธิ์
     
  2. การเจรจาเพื่อให้กัมพูชาแก้ไขแผนผังแนบขอขึ้นทะเบียนพระวิหารจึงดำเนิน ต่อเนื่องมาจนถึง รบ.สมัคร จนในที่สุดกัมพูชายินยอมตัดพื้นที่ส่วนที่ไทยอ้างสิทธิออกจากแผนผัง โดยจำกัดพื้นที่เขตกันชน (buffer zone) ให้เหลือเพียงตัวปราสาท, ฝั่งตะวันออกและด้านใต้ของตัวปราสาท ดังแผนที่ข้างต้น
     
  3. หน่วยงานของไทยในสมัย รบ.สมัครยังทำให้กัมพูชาตกลงว่าจะร่วมกับไทยจัดทำแผนบริหารจัดการพื้นที่ ด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกของปราสาท โดยแผนดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนบริหารจัดการปราสาทฯ และพื้นที่โดยรอบทั้งหมด
  4. หน่วยงานของไทยในสมัย รบ.สมัครยังสามารถเกลี้ยกล่อมให้กัมพูชายอมตกลงในหลักการว่าทั้งสองฝ่ายจะ ร่วมมือกันพัฒนาร่วมในพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนด้วย (ตรวจสอบข้อมูลในข้อ 1-4 ได้ใน บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, แฉเอกสารลับที่สุด ปราสาทพระวิหาร พ.ศ.2505-2551, น.280-302)
ประเด็นในที่นี้คือ ความร่วมมือผลักดันให้พระวิหารเป็นมรดกโลกมาจากความพยายามของ รบ.ไทยที่จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนบ้าน ทั้งสองฝ่ายมีเจตจำนงที่จะทำให้พระวิหารเป็นสัญลักษณ์ของมิตรภาพและความร่วม มือยุคใหม่ แต่แน่นอนว่าความหวาดระแวงไม่ไว้วางใจระหว่างกันอย่างคงมีอยู่ ฝ่ายกัมพูชาหวาดระแวงว่าไทยคงอยากได้พระวิหาร และหวงแหนในสิ่งที่เขาเห็นว่าเป็นสิทธิตามกฎหมายของเขาแล้ว ไม่จำเป็นต้องขึ้นทะเบียนร่วมกับไทย กระนั้น เมื่อความสัมพันธ์ ระหว่างกันยังดีอยู่ การเจรจาแก้ปัญหาก็สามารถเดินต่อไปได้ จนกระทั่งไทยสามารถเกลี้ยกล่อมให้กัมพูชาตัดพื้นที่ 4.6 ตร.กม.ออกจากเอกสารขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก ทั้งๆ ที่ 4.6 ตร.กม. ก็เป็นพื้นที่ที่กัมพูชาอ้างสิทธิอยู่ด้วยเช่นกัน แต่เขาก็ตัดทิ้ง เพราะเขามั่นใจว่าการขึ้นทะเบียนมรดกโลก ไม่มีผลต่อการปักปันเขตแดน แต่สิ่งสำคัญกว่าในที่นี้คือ ปรากฏการณ์ที่ชี้ว่าเมื่อความสัมพันธ์ดี การเจรจาและยืดหยุ่นก็เป็นไปได้ แต่สังคมไทยก็หลงอยู่กับข้อมูลบิดเบือนว่าไทยกำลังจะเสียดินแดนนับล้านไร่ หากกัมพูชาขึ้นทะเบียนพระวิหารเป็นมรดกโลก
นอกจากนี้ สิ่งน่าเสียดายอย่างยิ่งก็คือ ข้อตกลงที่ให้มีการพัฒนาร่วมในพื้นที่ทับซ้อน อันเป็นแนวทางสร้างสันติภาพและความเจริญให้กับผู้คนสองประเทศที่ดีที่สุด ก็ได้ถูกทำลายลงไปด้วย กัมพูชาก็ไม่ยอมรับแนวทางนี้อีกต่อไปเช่นกัน ฉะนั้น ในวันนี้ การที่นายอภิสิทธิ์เรียกร้องให้กัมพูชาหันมาบริหารจัดการร่วมพื้นที่รอบ ปราสาทพระวิหาร จึงสายเกินการณ์ไปเสียแล้ว น่าเสียดายที่นายอภิสิทธิ์อยู่ในสถานะที่ได้เปรียบกว่านายสมัครและนายนพดล ที่จะอธิบายให้ประชาชนเข้าใจข้อมูลที่ถูกต้อง และหาทางยุติปัญหากับกัมพูชาด้วยสันติวิธี แต่เรากลับไม่ได้เห็นสิ่งเหล่านี้เลย ฉะนั้น จึงเป็นเรื่องตลกที่ขำไม่ออกที่ถ้อยแถลงต่างๆ ของ รบ.อภิสิทธิ์ในวันนี้เป็นสิ่งที่ รบ.สมัครได้พยายามทำไว้แล้วทั้งสิ้น
เมื่อกระแสชาตินิยมขยายอวิชชา เพิ่มพูนมิจฉาทิฐิของทั้งไทยและกัมพูชา จนเหลือแต่ความเกลียดชังและมุ่งเอาชนะกันอย่างเด็ดขาด การเจรจาทุกปิดประตู การสูญเสียที่ชายแดนเกิดขึ้นนับครั้งไม่ถ้วน เราจึงต้องเผชิญกับความเสี่ยง ณ ศาลโลกอีกครั้ง


ตอบโต้โดยพี่ วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ 

คำเตือนถึงอภิสิทธิ์: โปรดอย่าปล่อยให้ศาลโลกแปลคำผิด โดย วีรพัฒน์ ปริยวงศ์

คำเตือนถึงอภิสิทธิ์: โปรดอย่าปล่อยให้ศาลโลกแปลคำผิด โดย วีรพัฒน์ ปริยวงศ์


วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ ผู้เขียนขอส่งคำเตือนด้วยความปรารถนาดีไปยังรัฐบาลรักษาการและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาให้รอบคอบว่าศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) กำลังเข้าใจจุดยืนไทยผิดหรือไม่?
     เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ หนังสือพิมพ์ประชาไทได้เผยแพร่บทความเรื่อง “คำถามถึงอภิสิทธิ์ ทำไมทะเลาะกับเขมรแทบตาย เพื่อกลับไปที่เดิม?” โดย ผศ. ดร. พวงทอง ภวัครพันธุ์ ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ http://www.prachatai3.info/journal/2011/06/35327  ผู้เขียนเห็นว่าบทความดังกล่าวมีข้อคิดที่เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะในแง่การให้ความเป็นธรรมกับผู้ที่เกี่ยวข้องในอดีต และการดำเนินนโยบายระหว่างประเทศอย่างมีสติและจิตวิทยา.
     กระนั้นก็ดี ด้วยความเชื่อมั่นในน้ำใจความเป็นนักวิชาการของ ผศ. ดร. พวงทอง ผู้เขียนพึงเสนอความเห็นแย้งต่อบทความดังกล่าวอย่างน้อยสองประการ ดังต่อไปนี้.
ประการแรก: “ขอบเขต” ปราสาทพระวิหาร ไม่ใช่สิ่งเดียวกันหรือส่วนหนึ่งของ “เขตแดน” ไทย-กัมพูชา
             บทความของ ผศ. ดร. พวงทอง สื่อให้เห็นว่าศาลโลกอาจแปลคำพูดของไทยผิด หรือไม่ก็อาจแปลให้มีผู้อ่านเข้าใจผิดได้ ดังนี้.

           ผศ. ดร. พวงทองกล่าวถึงถ้อยแถลงของไทย ณ ศาลโลก เมื่อวันที่ ๓๐-๓๑ พ.ค. ที่ผ่านมาว่า:
“[นาย วีรชัย พลาศรัย] แถลงว่า ‘ประเทศไทยมีความสม่ำเสมอในจุดยืนของตนที่ยอมรับคำตัดสิน ของศาลเมื่อวันที่ ๑๕ มิ.ย. ๒๕๐๕ และได้ปฏิบัติตามคำตัดสินดังกล่าวอย่างสมบูรณ์’ ดังจะเห็นได้ว่าหลังจากศาลมีคำตัดสินออกมา คณะรัฐมนตรี (ของสฤษดิ์ ธนะรัชต์) ได้จัดให้มีการประชุมเมื่อวันที่ ๑๐ ก.ค. เพื่อกำหนดพื้นที่ของพระวิหารให้เป็นไปตามคำตัดสินของศาล ต่อมาในวันที่ ๑๙ ก.ค. ฝ่ายไทยได้จัดทำรั้ว[ลวดหนาม]ขึ้นตามมติ ครม.เมื่อวันที่ ๑๐ ก.ค. เพื่อเป็นเครื่องหมายเขตแดนของพระวิหาร และฝ่ายกัมพูชาก็ยอมรับเส้นเขตแดนดังกล่าวตลอด ๔๐ ปีที่ผ่านมา”
          จากนั้น ผศ. ดร. พวงทอง ตั้งข้อสังเกตโดยกล่าวเชิงสรุปว่า:
“คำ แถลงของฝ่ายไทยชี้ว่านับแต่ปี ๒๕๐๕ เป็นต้นมา ฝ่ายไทยได้ยึดรั้ว[ลวดหนาม]ที่ตั้งขึ้นในสมัย รบ.สฤษดิ์ ว่าเป็นส่วนหนึ่งของเส้นเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชาในบริเวณพระวิหาร”
     เนื่องจากมิได้มีการระบุเอกสารอ้างอิงไว้ ผู้เขียนจึงสันนิษฐานว่า ผศ. ดร. พวงทอง อ้างถ้อยคำจากเอกสารบันทึกของศาล CR 2011/14 หน้า ๑๒ ในส่วนที่นายวีรชัย พลาศรัยกล่าวเป็นถ้อยคำภาษาฝรั่งเศส ความว่า:
“10. Le 19 juillet, des travaux commencèrent pour ériger une clôture en fil de fer barbelé et un panneau marquant la limite de la zone du temple, conformément à la ligne qui avait été retenue par le conseil des ministres du 10 juillet aux fins de l’exécution de l’arrêt de 1962. Vers le 5 août, les travaux furent terminés” (เน้นคำโดยผู้เขียน)
     ศาลโลกได้แปลเอกสาร CR 2011/14  เป็นฉบับ uncorrected (ยังไม่ได้รับการตรวจสอบโดยคู่ความ) ซึ่งเอกสารแปล หน้าที่ ๔ ได้แปลถ้อยคำภาษาฝรั่งเศสของนายวีรชัย พลาศรัยข้างต้น เป็นภาษาอังกฤษดังนี้:
“On 19 July, work began to erect a barbed wire fence and a sign marking the boundary of the Temple area, according to the line which had been adopted by the Council of Ministers on 10 July for the purposes of implementing the 1962 Judgment. The work was completed by around 5 August.” (เน้นคำโดยผู้เขียน)
     หากข้อสันนิษฐานถูกต้อง ผู้เขียนจำต้องทำความเห็นแย้งว่า ลวดหนามที่ ผศ. ดร. พวงทอง อธิบายว่าเป็น “เครื่องหมายเขตแดนของพระวิหาร” และเป็นส่วนหนึ่งของ “เส้นเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชาในบริเวณพระวิหาร” นั้น เป็นการแปลถ้อยคำที่คลาดเคลื่อนในทางกฎหมายอย่างมีนัยสำคัญ และไม่ตรงกับสิ่งที่นายวีรชัยเรียกว่า “la limite de la zone du temple” ดังนี้:
         ๑.    ในบริบทคดีปราสาทพระวิหาร คำว่า “เขตแดน” เป็นคำเฉพาะในทางกฎหมายระหว่างประเทศ ต่างจากคำว่า “la limite” ในภาษาฝรั่งเศสที่นายวีรชัยใช้ ซึ่งมีความหมายยืดหยุ่นกว่า กล่าวคือ “la limite” ในทางหนึ่งอาจแปลโดยเจาะจงว่า “เขตแดน” กล่าวคือเขตที่ถูกกำหนดเพื่อบ่งชี้หรือแบ่งดินแดนของรัฐหรือดินแดนอื่นในทาง กฎหมาย  แต่ในอีกทางหนึ่ง คำว่า “la limite” คำเดียวกันนี้ยังสามารถแปลอย่างทั่วไปได้ว่า “ขอบเขต” คือเขตที่กำหนดจุดสิ้นสุดของบริเวณหรือสถานที่ เช่น ขอบเขตของวัดนั้นสิ้นสุดที่กำแพงวัด .
          ๒.    ผู้เขียนเห็นว่าสิ่งที่นายวีรชัยในฐานะตัวแทนประเทศไทยเรียกว่า “la limite de la zone du temple” นั้นหมายถึง “ขอบเขตของตัวปราสาทพระวิหาร” ซึ่งในทางกฎหมายไม่ใช่สิ่งเดียวกับ “เขตแดนในบริเวณปราสาทพระวิหาร” ตามที่ ผศ. ดร. พวงทองกล่าวถึง. ถามว่าเป็นเพราะอะไร ตอบได้ว่า:
               ๒.๑    เขตแดนที่มีการกล่าวถึงในบริบทของคดีนี้คือเขตแดนของรัฐ ประสาทพระวิหารเป็นเพียงวัตถุ ไม่อาจมีเขตแดนของตนเองในทางกฎหมายได้.
               ๒.๒    ไทยและกัมพูชาไม่เคยทำข้อตกลงเรื่องเขตแดนหรือขอบเขตเฉพาะบริเวณปราสาทพระ วิหาร มีแต่อนุสัญญาเรื่องเขตแดนสมัยที่สยามทำกับฝรั่งเศส ซึ่งก็ไม่ได้กล่าวถึงปราสาทพระวิหารไว้ ดังนั้น “เขตแดนในบริเวณปราสาทพระวิหาร” จะมีอยู่หรือไม่อย่างไรจึงต้องว่าไปตาม อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศสฯ.
               ๒.๓    ศาลโลกไม่เคย “วินิจฉัย” (adjudge) ว่าเส้นเขตแดนระหว่างไทยและกัมพูชาคือเส้นใด คำพิพากษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕ เพียงแต่วินิจฉัยผูกพันไทยว่า อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศสฯ ส่งผลให้ประสาทพระวิหารตั้งอยู่ในเขตแดนกัมพูชา. จริงอยู่ว่าการที่ศาลวินิจฉัยเช่นนั้นศาลได้นำ “แผนที่ภาคผนวก ๑” มา “พิจารณา” แต่ศาลเองก็ย้ำในคำพิพากษาว่า “การพิจารณาแผนที่” มิใช่ “การวินิจฉัย” ว่าเส้นเขตแดนหรือแผนที่ใดผูกพันไทยหรือไม่ เพราะศาลไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะ “วินิจฉัย” เรื่องเขตแดน.
               ๒.๔    การจะตอบว่าเส้นเขตแดนที่แท้จริงคือเส้นใด ต้องว่าไปตามอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศสฯ และข้อตกลงอื่นๆ ซึ่งเป็นเรื่องของการตีความสนธิสัญญาในสมัยปัจจุบัน ผู้มีอำนาจตีความคือไทยและกัมพูชา (ยกเว้นไทยและกัมพูชาจะมอบอำนาจให้ศาลตีความ) ซึ่งกฎหมายระหว่างประเทศเรื่องสนธิสัญญาเปิดช่องให้ไทยและกัมพูชาตีความได้ แตกต่างจาก “แนวพิจารณา” ของศาลโลกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๕ (ซึ่งศาลโลกย้ำเองว่าไม่ผูกพันไทย).
(ประเด็นเหล่านี้มีความละเอียดอ่อนในทางกฎหมาย และอาจเกิดความสับสนได้ง่าย ผู้เขียนได้อธิบายเพิ่มเติมไว้ที่ https://sites.google.com/site/verapat/temple/summary1962#TOC-17)
     ๓.    การจะกล่าวว่า ผศ. ดร. พวงทอง เข้าใจคลาดเคลื่อนไปฝ่ายเดียวก็คงไม่เป็นธรรมนัก เพราะนิติกรศาลโลกเองก็แปลเอกสาร CR 2011/14  ฉบับ uncorrected  อย่างไม่ถี่ถ้วน โดยในหน้า ๑๒ นิติกรได้แปลคำฝรั่งเศส “la limite” เป็นอังกฤษว่า “boundary”. ที่ว่าแปลไม่ถี่ถ้วน ก็เพราะว่าคำว่า “boundary” เองแม้โดยทั่วไปจะสื่อความหมายถึง “เขตแดน” แต่ก็มีความหมายกว้างพอที่จะหมายถึง “ขอบเขต” ได้ ซึ่งต่างไปจากคำอื่น เช่น คำว่า “frontier” (พรมแดน) ซึ่งมีนัยในทางเขตแดนที่ชัดเจนกว่า.
     ๔.    ที่สำคัญที่สุด ที่ว่านิติกรศาลโลกไม่ถี่ถ้วนนั้น เป็นเพราะว่าตลอดการแถลงคดีทั้งสองวัน ตัวแทนและทนายความฝ่ายไทยเองต่างก็ได้แถลงคำพูดทั้งภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งล้วนแสดงให้เห็นว่า คำว่า “เขตแดน” ฝ่ายไทยเลือกใช้คำฝรั่งเศสว่า “la frontière” คู่กับคำอังกฤษว่า “boundary” (ตัวอย่าง ดู CR 2011/14 หน้า ๑๒ ย่อหน้าที่ ๘, หน้า ๑๕ ย่อหน้าที่ ๑๒, หน้า ๑๙ ย่อหน้า ที่ ๓๓, หน้า ๒๘-๓๐ ฯลฯ) ทั้งนี้ นายวีรชัยก็ได้ย้ำจุดยืนของไทยอีกครั้ง เช่น ตามบันทึกเอกสาร CR 2011/16 หน้าที่ ใน ๒๕-๒๖ ว่าคำพิพากษาปี พ.ศ. ๒๕๐๕ ไม่ได้ตัดสินเรื่อง “เขตแดน” แต่อย่างใด แนวของลวดหนาม หรือ “la limite” เป็นเพียงเส้นปฏิบัติการตามคำพิพากษาที่นำมาใช้ระหว่างกระบวนการจัดทำเขตแดน ยังไม่สิ้นสุด.
     5.    ในทางกลับกัน หากผู้ใดหลงแปลคำว่า “la limite” ว่า “เขตแดน” แล้ว ก็อาจสับสนว่าไทยยอมรับ “เขตแดน” ไปแล้วและพูดจาขัดกันเองหรือไม่ อาจเป็นการเสียรูปคดีในที่สุด.
     6.    ข้อที่กล่าวมาจึงสรุปได้ว่า คำว่า “la limite” ในเอกสาร CR 2011/14  หน้าที่ ๑๒ นั้น มิได้หมายถึง “เขตแดน” หรือ “boundary” ตามที่ผศ. ดร. พวงทองเข้าใจ ส่วนคำว่า “boundary” ที่นิติกรศาลโลกใช้ ก็เป็นการแปลถ้อยคำอย่างไม่รอบคอบ อีกทั้งรัฐบาลไทยเองก็น่าจะนำกรณีดังกล่าวไปทบทวนการใช้ถ้อยคำให้ระมัดระวัง มากขึ้น หากจะต้องมีการใช้ถ้อยคำลักษณะดังกล่าวในอนาคต.
     เมื่อบัดนี้มีผู้นำถ้อยคำ “la limite-boundary-เขตแดน” มากล่าวอ้างในสื่อมวลชนแล้ว อีกทั้งคำว่า “boundary” ที่นิติกรศาลใช้ก็ดูสุ่มเสี่ยง  ผู้เขียนในฐานะนักกฎหมายก็ขอแนะนำให้รัฐบาลไทยตรวจสอบคำแปลคำแถลงที่จัดทำ โดยนิติกรศาลโลกอย่างละเอียด แม้จะเป็นเพียงเอกสารที่ยังไม่ได้รับการตรวจสอบ (uncorrected) ก็ตาม เพราะไทยก็มิอาจนิ่งนอนใจว่าจะมีผู้พิพากษาศาลโลกท่านใดที่ไม่ชำนาญภาษา ฝรั่งเศสและนำคำแปลภาษาอังกฤษที่นิติกรแปลอย่างไม่รอบคอบไปพิจารณาหรือไม่ หรือฝ่ายกัมพูชาจะนำไปใช้อ้างต่อไปอย่างไร หากจำเป็นไทยก็สามารถแสดงท่าทีที่ชัดเจน เช่น ท้วงติงเอกสารคำแปลว่า “la limite de la zone du temple” มิใช่ “เขตแดน (boundary) ในบริเวณปราสาทพระวิหาร”  แต่หมายถึง “ขอบเขต (limit) ของบริเวณปราสาทพระวิหาร” เป็นต้น.
ประการที่สอง การ“สงวนสิทธิ์” เป็นได้มากกว่าเครื่องมือหากินทางการเมืองที่ไร้ความรับผิดชอบ
          ผศ. ดร. พวงทองกล่าวว่า:
“คำพูดเรื่อง ‘สงวนสิทธิ์’ ที่จะเอาพระวิหารคืนมานั้น มีที่มาจากจอมพลสฤษดิ์ และจดหมายที่นายถนัด คอมันตร์ รมต.กต. มีถึงเลขาธิการยูเอ็น แต่การพูดแบบนี้เมื่อปี ๒๕๐๕ ย่อมเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติเพราะยังมีอายุความอยู่ แต่เมื่ออายุความหมดไปตั้งเกือบ ๔๐ ปีแล้ว โดยที่ไทยไม่เคยพยายามรื้อฟื้นคดีในช่วงที่ผ่านมาเลย มันย่อมเป็นได้แค่เครื่องมือหากินทางการเมืองที่ไร้ความรับผิดชอบ”
     ผู้เขียนไม่ขอโต้เถียงว่าเคยมีใครใช้เรื่อง  “สงวนสิทธิ์” มาเป็นเครื่องมือหากินทางการเมืองที่ไร้ความรับผิดชอบหรือไม่ แต่หากมีผู้ทำจริง ก็ต้องขอชื่นชม สนับสนุน และเป็นกำลังใจให้แก่ผู้ที่นำประเด็นมาตีแผ่และเตือนสติให้แก่สังคม.
     กระนั้นก็ดี ผู้เขียนจำต้องแย้งว่าการ “สงวนสิทธิ์” เอาปราสาทพระวิหารคืนมาตามกฎหมายระหว่างประเทศนั้น “เป็นไปได้” ทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ การสงวนสิทธิในทางกฎหมายระหว่างประเทศไม่ใช่แค่เรื่องการขอให้ศาลทบทวนคำ พิพากษาหรืออายุความเพียงอย่างเดียว แต่สามารถสงวนอย่างทั่วไป ต่อเนื่อง และไม่มีระยะเวลาจำกัด ที่ผ่านมาไม่มีนักกฎหมายอธิบายเรื่องนี้ไว้ชัดเจน แต่เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ผู้เขียนจะขอยกกรณีที่เป็นไปได้ในทางกฎหมายระหว่างประเทศ (ซึ่งแม้เป็นกรณีสุดวิสัยและเป็นไปได้ยาก แต่ก็ยังเป็นไปได้) ให้เป็นตัวอย่างพอสังเขปดังนี้.
     ตัวอย่างแรก เป็นเรื่องหลักการได้มาซึ่งอธิปไตยเหนือดินแดนทั่วไป เช่น หากในอนาคต มีสถานการณ์หรือเหตุที่ทำให้กัมพูชาไม่ใส่ใจที่จะครอบครองปราสาทพระวิหาร หรือ สละการครอบครองปราสาทพระวิหาร หรือมีเหตุตามกฎหมายทำให้สงสัยได้ว่าบริเวณที่ตั้งปราสาทพระวิหารถือเป็นดิน แดนที่ไม่มีเจ้าของ (terra nullius) การประพฤติปฏิบัติของไทย  เช่นการ “สงวนสิทธิ์” ย่อมเป็นข้อสนับสนุนการอ้างสิทธิ (claim) การได้มาซึ่งอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารตามกฎหมาย เช่น ในดคีศาลโลกระหว่างสิงคโปร์และมาเลเซีย มีการโต้เถียงทำนองเดียวกันว่าโขดหินในทะเลที่ต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิไม่ ชัดเจนนั้นเป็นของใคร (ICJ Reports 2008).
     ตัวอย่างที่สองเป็นกรณีที่การใช้อำนาจตามหมวดที่ ๗ (Chapter 7) ประกอบกับข้อ ๒ (๗) และ ข้อ ๑๐๓ แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ เช่น กรณีที่สถานการณ์ไทยและกัมพูชาทวีความรุนแรงจนกระทบถึงสันติภาพและความมั่น คงระหว่างประเทศ คณะมนตรีความมั่นคง (Security Council) อาจมีมาตรการตามความจำเป็นเพื่อปกป้องรักษาสันติภาพและความมั่นคงดังกล่าว ซึ่งไทยและกัมพูชามีหน้าที่ตามกฎหมายต้องปฏิบัติตาม นอกจากนี้ไม่มีข้อห้ามในทางกฎหมายที่จะห้ามมิให้มีมาตรการเกี่ยวกับตัว ปราสาทพระวิหาร หากมาตรการนั้นมีความจำเป็นและชอบธรรม. ในเรื่องการพิจารณาความชอบธรรมของมาตรการนั้น ส่วนหนึ่งย่อมขึ่นอยู่กับว่าไทยได้สงวนสิทธิทวงคืนปราสาทพระวิหารและโต้แย้ง คำพิพากษาศาลโลกอย่างชอบธรรมมาโดยตลอดหรือไม่.
     แม้จะไม่มีหลักประกันใดว่าการสงวนสิทธิจะก่อให้เกิดสิทธิ ฉันใดก็ฉันนั้น รัฐบาลพึงระวังสงวนสิทธิไว้เพื่อเป็นเครื่องมือในการรักษาผลประโยชน์ในอนาคต อย่างแยบยลและถูกกาลเทศะ หากแต่มิใช่เป็นเงื่อนไขที่ขัดขวางโอกาสสร้างประโยชน์ร่วมกันในปัจจุบัน หรือเป็นเครื่องมือหากินกับประชาชน.
บทย่อและบทวิเคราะห์คดีปราสาทพระวิหารฉบับเต็ม อ่านได้ที่ https://sites.google.com/site/verapat/temple/summary1962
—————————————————-
วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
อดีต นักกฎหมายในคดีศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ สำนักกฎหมาย Freshfields Bruckhaus Deringer (กรุงปารีส). นิติศาสตรมหาบัณฑิต (รางวัลทุนฟุลไบรท์และวิทยานิพนธ์เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด.  http://www.facebook.com/verapat.pariyawong

หนองจาน ถึงคุกเปร็ยซอ คดีอัปยศข้ามชาติ

หนองจาน ถึงคุกเปร็ยซอ คดีอัปยศข้ามชาติ



ซ้ำซัดซับซ้อนสับสน ยุดยื้อยึกยัก ชิงไหวชิงพริบสร้างภาพ ใครหลายคนหวังผลคดี”วีระ, ราตรี"ติ่งของปัญหาไทย-เขมร แต่อาจเป็นน้ำผึ้งหยดเดียววันหน้า

 29 ธันวาคม 2553 ประมาณ 13 นาฬิกา ชะตาชีวิตสองคนหักเหอย่างแรง จากทีม 10 คนให้รอที่รถ 3 อีก 7 คน* ก้าวพ้นถนนศรีเพ็ญเข้าบริเวณบ้านหนองจาน ต.โนนหมากมุ่น อ.โคกสูง จ.สระแก้ว ไปดูปัญหาคนไทยร้องเรียนที่ดินใกล้หลักเขตแดนที่ 46 ถูกต่างชาติยึดครอง
เดินเข้าไปประมาณ 600 เมตร คนที่รถเห็นทหารกัมพูชา 5-6 คนถืออาวุธมาคุมตัวทั้งหมดเดินหายไป

สำหรับ วีระ บริเวณนี้เขาเคยมาสำรวจด้วยเรื่องเดียวกันนี้ และถูกจับเมื่อ 20 สิงหาคมปีกลาย ตชด.ไทยช่วยเจรจาปล่อยตัวออกมา
เขาคัดค้านอย่างสุดตัว ไม่ยอมให้กัมพูชายึดดินแดนที่มีหลักฐานคนไทยครอบครอง เขาร่วมชุมนุมค้านนำร่างบันทึกข้อตกคณะกรรมาธิการชายแดนไทย-กัมพูชา หรือเจบีซี เข้าสู่รัฐสภาเพื่ออนุมัติ คัดค้านยูเนสโก้เข้าข้างเขมรจะรวบรัดรับรองแผนบริหารจัดการพื้นที่รอบปราสาท พระวิหารเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียว
"วีระ" เป็นคนเดียวไปประท้วงการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่บราซิล มิ.ย.53
เขาร่วมระดมมวลชนนำไปสำแดงพลังทวงคืนเขาพระวิหาร ปะทะกับชาวบ้านภูมิซรอล ถึงสองหน!

วันนั้น เครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ เทียนพุทธ พุทธพงษ์อโศก ผอ.สถานีโทรทัศน์ FMTV นำมวลชนชุมนุมหน้าประตู 4 ทำเนียบรัฐบาลไทย เพื่อเรียกร้องรัฐบาลไทยให้ขับไล่ทหารกัมพูชาและชุมชนกัมพูชาออกจากดินแดน ไทย และนำคนไทยกลับบ้าน
เล่ห์เขมร กลไทย
ข่าว จับ 7 คนไทยดังไปทั่วราวไฟลาม แต่ระหว่างนั้น การให้ข่าวของคนในรัฐบาล และกองทัพพูด ล้วนวกอ้อมไม่ชัดเจน ซ้ำไปเพิ่มน้ำหนักข้อกล่าวหาคนไทยกระทำผิดได้ทั้งสิ้น ผ่านไประยะหนึ่งจนกระทั่งประเมินได้ว่า การเคลื่อนไหวมวลชนอย่างเดียว กดดันรัฐบาลไทยที่ไม่เอาธุระไม่พอ ที่ประชุมเครือข่ายคนไทยฯ ตั้งหลักจะต่อสู้เพิ่มด้วยแนวทางกฎหมายระหว่างประเทศ ตามอนุสัญญาเจนีวา และตั้งทีมเฉพาะกิจไปช่วยสู้คดี

นายการุณ ใสงาม อดีต ส.ส. ส.ว.บุรีรัมย์ เป็นทนายความ พูดภาษาเขมรถิ่นซึ่งสื่อสารได้กับกัมพูชา มีประสบการณ์ในกัมพูชาพอตัว เป็นหัวหน้าทีม
กำหนด “ธงนำ” ไม่รับคำตัดสินทุกศาลของกัมพูชา 
หม่อมหลวงวัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิชาการรั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ออกตั๋วการบินไทยไว้ล่วงหน้า 2-3 วัน ในฐานะส่วนหนึ่งครอบครัวการบินไทย ทีมที่ปรึกษากฎหมายเครือข่ายคนไทยฯ 7 คนบินไปพนมเปญถึงเช้าวันอาทิตย์ 9 ม.ค. สถานทูตไทยประจำกรุงพนมเปญ ประสานงานมีรถตู้มารับและพาส่งโรงแรมเดอะ รีเจนท์ พาร์ค 10 โมงเช้า
พลันรถจอดหน้าหน้าโรงแรม เธอเปิดเครื่องโทรศัพท์มือถือ ข้อความมีสคอลเพียบ และสัญญาณดังขึ้น กดรับ เป็นผู้สื่อข่าวไทยเร่งเร้าถาม “อาจารย์หม่อมอยู่ไหนแล้ว” ...ไม่นานล็อบบี้โรงแรมก็พรึ่บ กองทัพนักข่าว
"หนึ่งทุ่มคืนนี้ สถานทูตให้ไปพบ" การุณ เอ่ยขึ้น
...หัวโต๊ะทำดูราวราชสีห์ คือ ประศาสน์ ประศาสน์วินิจฉัย เอกอัครราชทูตไทยประจำพนมเปญ ธรรมเนียมไทยยกมือไหว้ต่างทิ้งหมด ญาติของวีระ สมความคิด ญาติ นฤมล จิตรวะรัตนา ญาติของราตรี ต่างมากันเองอยู่ร่วมโต๊ะด้วย  
ท่านทูตแหงะหน้าดูคนนั้นที คนนี้ที แล้วถามขึ้น
"คุณเป็นใคร?" การุณ นั่งใกล้หัวโต๊ะ ถัดมา ณฐพร โตประยูร และ ม.ล.วัลย์วิภา สองคนแรกแนะนำตัวอย่างเสียมิได้ แต่เธอไม่ทันจะเอ่ย ท่านทูตโบกมือพลางว่า “ไม่ต้องแล้ว อาจารย์วัลย์วิภา ผมรู้จักดี”

บรรยกาศการหารือไม่ค่อยเป็นกันเองนัก ดูราวกับไม่ญาติเชื้อคนไทยกำลังหารือจะช่วยคนไทยด้วยกัน ตกลงวันจันทร์ 10 ม.ค. ก็ยังไม่ได้อนุญาตให้เข้าเยี่ยม
เหยียบพนมเปญหนนี้ “จันศรี นิวาส” กรรมการเครือข่ายทวงคืนแผ่นดินแม่ ชาวขุนหาญ ศรีสะเกษ โผล่มาแสดงตัว ดักรอที่โรงแรม พร้อมกับชาวเขมรสองคน กุลีกุจอช่วยยกของ ขับรถตามเหมือนอารักขา ไปรอหน้าเรือนจำเปร็ยซอ หากาแฟให้ดื่ม
จันศรี มีเชื้อสายเขมร แม่ของ”จันศรี” ข้ามมาฝั่งไทยหนีสงครามกลางเมือง จนลูกได้สัญชาติไทย แต่น้า น้องสาวแม่ยังอยู่ในกัมพูชา สายสัมพันธ์จึงแน่นแฟ้น ไปมาหาสู่กัน  
"วีระ" ลั่นเจตนารมณ์หนแรกพนมเปญ 13-14 ม.ค. การุณ ล่วงหน้าไปตั้งสำนักงานย่อย พยายามติดต่อพบทนายความกัมพูชาที่สถานทูตไทยว่าจ้างช่วยคดี นายรุ โอน ทนายของราตรี นายปริก วิจิตรา ทนายของวีระ
สถานทูตไทยให้เบอร์มา ก็ไม่ตรง กลับเป็นชาวเขมรเสียอีกช่วยค้นชื่อเบอร์โทร พาตามหา แต่ก็ติดต่อไม่ได้อยู่ดีเพื่อไม่ให้เสียเที่ยว คณะให้พาตระเวนร้านหนังสือ ไปซื้อรัฐธรรมนูญกัมพูชา และวิธีพิจารณาความ ไป council of Bar คล้ายสภาทนายความของไทย
ไม่นานก็สืบรู้ว่า "ออกญา ลี ยง พัต" ส.ว.กัมพูชา เจ้าของคาสิโนตามแนวชายแดน ต่างหากเป็นคนออกค่าจ้างทนายชาวเขมรให้ดูคดีคนไทย รวม 1.4 ล้านบาท
ดังนั้น...ชวนให้ทุกคนคิด!
ก่อนหน้านั้น พณิช กับ นฤมล ได้ประกันตัวออกมาอยู่สถานทูตไทยก่อน ด้วยเหตุผลป่วย มีโรคประจำตัว นที่สุด ศาลชั้นต้นกัมพูชา ตัดสินให้ทั้งหมดมีความผิดรุกล้ำดินแดน เข้าหมู่บ้านโจกเจ็ย(โชคชัย) จ.บันเตียเมียนเจ็ย
จนกระทั่ง 19 ม.ค. อีก 4 คนศาลปล่อยตัวชั่วคราว รวมทั้ง ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ด้วยมาพักอยู่สถานทูตไทย ทีมเครือข่ายคนไทยฯ จึงได้เข้าเยี่ยม และวันรุ่งขึ้นจึงได้รับอนุญาตเข้าเยี่ยม วีระ สมความคิด
ทันทีเห็นหน้า เขาตรงเข้ากอดการุณอย่างแน่น ตัวสั่นเทิ้ม ใบหน้า ดวงตาก่ำ
"ผมรอวันนี้นาน ผมรู้ว่าต้องมีวันนี้" สีหน้า แววตา กระตือรือร้น ขณะที่ยังไม่ได้นั่งเก้าอี้กันเลย
"พี่สู้เลยนะ ตามที่พี่เห็นสมควร ผมสู้ตลอด ผมอยู่ได้" วีระ บอกเจตนารมณ์

คืน 20 ม.ค. เวลา 20.30 น. มีประชุมกับทีมทนายชาวกัมพูชา จากนั้นราวเที่ยงคืน สถานทูตเรียกให้ 6 คนลงนามหนังสือยื่นขอให้ศาลกัมพูชาร่นเวลาตัดสินให้เร็วขึ้นทุกคน ยกเว้น ราตรี ไม่ลงนาม เหตุผลคือเชื่อแนวทางต่อสู้ของวีระ เธอเสียสละจะอยู่สู้คดีด้วย ส่วนคนอื่นๆ ก็คิดหนัก สำหรับ นฤมลนั้นโรคประจำตัวคือไทรอยด์ จึงไม่น่าจะดีนักจะยืดอยู่สู้คดี 
วันรุ่งขึ้น ศาลชั้นต้นพนมเปญเริ่มกระบวนครั้งที่สอง ตัดสิน 5 คนไทยที่สารภาพรุกล้ำแดนกัมพูชา จำคุก 9 เดือน โทษจำให้รอลงอาญา ปรับคนละ 1 ล้านเรียล ประมาณ 1 หมื่นบาท  และส่งกลับเมืองไทย 22 ม.ค.
แต่ 2 คนกลับถูกเพิ่มโทษกล่าวหา 3 สถานหนัก เป็นจารชน มุ่งจารกรรมข้อมูลที่ตั้งทางทหาร
ขณะที่ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ตั้งเวทีชุมนุมสะพานมัฆวานรังสรรค์วันแรก 25 ม.ค.ตามกำหนดเดิม

ศาลชั้นต้นเขมร กำหนดพิจารณาตัดสินสองคนไทย 1 ก.พ. จู่ ๆ ล่วงหน้าหนึ่งวัน สหพันธ์นักข่าวอาเซียน มีนักข่าวคนไทยด้วยชื่อ "ประสิทธิ์" ติดต่อ ม.ล.วัลย์วิภา อยากให้มาหารือ นายเขียว กัณฤทธิ์ รัฐมนตรีกระทรวงสื่อสารกัมพูชา สำทับอีกว่า “จะมีผลต่อรูปคดีในศาล”
เช้า วันนั้น การุณ, วัลย์วิภา กับ สก โสวัน ประธานสหพันธ์นักข่าวอาเซียน(ยูเอ็มเอ) นายโปรย สมบัติ รองเลขาธิการสหพันธ์ฯ เป็นคนไทย มาพร้อมกับนายเขียว 

"ให้พี่วีระออกไปก่อน อย่างไงก็ได้...วีรบุรุษต้องรู้จักการเอาตัวรอด" รัฐมนตรีช่วยกระทรวงสื่อสาร เอ่ยขึ้น
"รัฐบาลสองฝ่ายไม่สามารถยุ่งกระบวนการ ตุลาการได้ แต่จะช่วยเท่าที่ช่วยได้ จะเอาคำขอนี้ไปปรึกษานายกฯฮุนเซน คือเอาคนไทยกลับบ้านก่อน" คำพูดของนายเขียว 
"ที่ดินไม่สูญหายหรอก จะเป็นของใครก็ตาม" นายเขียว ว่าต่อ
"ความยุติธรรมก็ต้องไม่สูญหายเหมือนกัน" อาจารย์หม่อม ตอบสวน
"ช้างชนกัน หญ้าแพรกแหลกลาญ" รัฐมนตรีสื่อสาร เปรยภาษิตคุ้นเคยทั้งสองชาติ เสริมให้มีนัยยะ
"เราก็มีภาษิตอย่างนี้เหมือนกัน" เธอตอบ
"ทางเก่า จะสะดวกกว่าทางใหม่"
การุณ และ ม.ล.วัลย์วิภา รู้หมายถึงทางเก่าไม่ต้องขึ้นศาล แต่การเจรจาในห้อง ล้มเหลว!
ออกจากห้องเจรจา นักข่าวหลายคนมาท้วง "รูปคดีอยู่ในมือคุณ เขียนให้ฉบับได้ไหม เชื่อมั่นในเจบีซี"
เธอฉุนขึ้นมาทันที "ถ้าเจบีซี ไม่ต้องมาพูดเลย"
แต่นักข่าวพวกนี้ยังไม่ลดละ เสนออีกว่า “ก็แค่เขียนว่าเชื่อมั่นคณะกรรมการไทยกัมพูชา ท่านเขียวรออยู่นะ"
"ขอโทษ ฉันไม่สามารถ ไม่ต้องมาอะไรกับฉัน" เธอตัดบท

ค่ำวันเดียวกัน ทีมไทยได้พบทนายกัมพูชาทั้งสองคน จึงชวนไปภัตตาคารจีนแห่งหนึ่ง สั่งอาหารมาเยอะ แต่แทบไม่ได้กิน เน้นทำความเข้าใจกับทนายเขมรไปพร้อมๆ กับพี่ชายของราตรี
"คุณต่อสู้ไม่มีเอกสารอะไรเลย เราสิทำให้ได้ทั้งหมด แฟ้มเบ้อเร่อ" การุณ พูดภาษาเขมร เชิงกำชับ
 แต่ ทนายกัมพูชาทำเหมือนแค่รับทราบ จังหวะนั้นญาติของราตรีถามขัดขึ้น "จะเชื่อถือได้เหรอ" การุณ พยายามอธิบายอย่างเนิบ ๆ กลับถูกสำทับให้อีก "ไปพบท่านทูตไม่อ่อนน้อม ทำให้ผลออกมาอย่างนี้"
"แล้วจะให้คลานไปกราบหรือไง" ม.ล.วัลย์วิภา โพล่งขึ้น ทำเอาทั้งวงอึ้ง รวมวงคณะติดตามอีกโต๊ะด้วย

ศาลเขมร ชี้ชะตาโหด 
1 กุมภาพันธ์ ที่ศาลชั้นต้นกัมพูชา กรุงพนมเปญ
เผอิญ หรือลางชะตา เสียงกรี๊ดร้องโหยหวนของหมูจากโรงเชือดดังขึ้น มีเสียงทุบหนัก ๆ ดัง ป๊อก เงียบไป นี่ฆ่าหมูข่มขวัญกันหรือไง...เปล่าหรอก เข้าเทศกาลตรุษจีน
กลิ่นสาบความตายคลุ้งแตะนาสิก สัญญาณไม่เป็นมงคลเสียเลย
...อัยการ(ซก เฮียน) ลุกขึ้นถามและสรุปในศาลตอนหนึ่งความว่า ท่านเข้ามาในเขตกัมพูชา เห็นกองฟาง คูนา นั่นคือ ยุทธศาสตร์ที่อ่อนของกัมพูชา แต่ถ้าไม่ได้เห็นอะไร ก็คือ ยุทธศาสตร์ที่แข็งของเรา
นี่มันกำปั้นทุบดินชัด ๆ เห็นหรือไม่เห็นอะไร ก็ผิดอยู่ดี! 

ล่ามที่ศาลเลือก แปลคำโต้ตอบของวีระ ไม่ค่อยตรงนัก ที่ตลกร้าย ล่ามคนเดียวกัน ก็วิ่งเป็นนักข่าวด้วย ทั้งสองคนไทยจึงร้องขอเปลี่ยนล่ามคนใหม่ แต่ศาลพนมเปญก็ไม่อนุญาต ไม่สนกระทั่งแฟ้มเอกสารพยานหลักฐาน แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ
ล่ามชั้นดีและที่ปรึกษาชาวกัมพูชา เป็นหญิง ภาษาราชการได้ เธอเคยอยู่สถานทูต ภาษาชาวบ้านก็ดี คุณสมบัติอีกอย่างคือ เธอพูดไทยได้ เพราะอดีตสามีเธอเป็นวิศวกรคนไทย คอยบอกข้อผิดพลาดของฝ่ายโจทก์
คืนก่อน ได้ขอตัวราตรีจากสถานทูต มาซักซ้อมการเบิกความ และจะต้องนำแนวทางนี้บอกกับวีระ ด้วย เพราะอยู่ใกล้กัน 
ในศาลเธอกระซิบบอก วีระ ชั่วเสี้ยวนาที สารัตถะ คือ เหมือนสู้คดีศาลนางรอง คนของเครือข่ายถูกจับ 4 คน ศาลนางรองตัดสินยกฟ้อง ศาลนางรองไม่รับแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน เอกสารวางอยู่ตรงนั้น มีอะไรบ้าง วีระเรียนกฎหมายและผ่านการฟ้องร้องมาพอสมควร จึงยกมือให้การค้านอย่างฉะฉาน แต่ศาลไม่สนใจหลักฐานต่าง ๆ เลย
ในแฟ้มนั้นแสดงรายการตามหมวด 30 กว่าเรื่อง เช่น แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ รัฐธรรมนูญกัมพูชา ทั้งเน้นมาตรา 2 กัมพูชาถือแผนที่ประเทศมาตราส่วน 1 ต่อ 1 แสนด้วย และประมวลกฎหมายอาญากัมพูชา มาตรา 38 ตรงกับ หลักการ "น็อน คอมมูนิกาโด้" 
ในที่สุด ศาลชั้นต้นก็ตัดสินให้ทั้งสองมีความผิด เมื่อปิดศาล ราตรีเดินออกมาอย่างหงอย ๆ ส่วนวีระหันมาทางทีมคนไทยและสื่อมวลชนตะโกนว่า
"ผมบริสุทธิ์ ผมจะสู้ ๆ" เป็นครั้งที่สองยืนยันเจตนารมณ์

กุมภา บีบคั้นมหาโหดช่วง กุมภาพันธ์ บีบคั้นหัวใจทีมที่ปรึกษากฎหมาย ที่ต้องอุทธรณ์คดีให้ได้ แต่ขอเยี่ยมกี่ครั้งก็ถูกบอกเลื่อนตลอด 11 ก.พ. โทรมาล่วงหน้าวันเดียว กำหนดเยี่ยม 17 ก.พ.ก็อีกโทร 16 ยกเลิก อ้างมียิงปะทะที่ชายแดน หลายครั้ง อ้าง นายฮอ นัมฮง รัฐมนตรีต่างประเทศ ไปภารกิจต่างประเทศ 3 ทุ่มโทรมาเลื่อน กำหนด 23 ก.พ.ก็โทรมาสี่โมงเย็น
ทีมกฎหมายจึงขึงขังเอาว่า ขอให้บอกมาเป็นลายลักษณ์อักษร อย่างน้อยเป็นอีเมล์ ไม่ใช่แค่โทรบอก
เธอกับทีมกฎหมายแน่ชัดแก่ใจว่า การต่อสู้คดีของงวีระ ราตรี เป็นการยืนยันอธิปไตยเขตแดน ทั้งสองคือพยานอ้างอิงเป็นประโยชน์ต่ออนาคต

แต่ในประเทศไทยมี 3 จำพวก คือ พวกแนวทางเสียชาติ กับแนวทางต่อสู้กู้ชาติ และไม่มีแนวทาง(กูไม่สนใจเรื่องนี้) ก็จะมีค่าเท่ากับแนวทางแรก
เรื่องมันยากไปกันใหญ่ เมื่อ ณฐพร โตประยูร ซึ่งร่วมคณะไปด้วยตั้งแต่แรก ในฐานะที่ปรึกษากฎหมาย จู่ ๆ ไม่มีมติเครือข่ายคนไทยฯ เลย เขานำแม่กับน้องชายวีระ เข้าพบนายกอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตัวเขาไม่พูด แต่นายกฯ ให้สัมภาษณ์ ว่าเป็นคนนำญาตินายวีระมาเล่าสภาพ และขอความช่วยเหลือ ซึ่งแนวทางก็คือขออภัยโทษ
เครือข่ายคนไทยฯ เรียกประชุมและมีมติปลด ณฐพร ออกจากที่ปรึกษากฎหมายเครือข่ายฯ
พิรุธ มีมาก แต่เพิ่งถูกทบทวนก็คราวนี้ หลังศาลพนมเปญตัดสิน 2 คนไทย ณฐพร บินกลับมาก่อน ทุกคนก็เดินทางกลับเมืองไทยตอนหัวค่ำ เมื่อเครื่องบินลงจอดสนามบินสุวรรณภูมิ “การุณ” ก็ถูกตำรวจจับคดีร่วมกับพันธมิตรฯ ยึดสนามบิน ก่อการร้าย
ปกติ ณฐพร จะมารอรับที่สนามบิน แต่ค่ำนั้นเขาส่งลูกน้องมาแทน
"ณฐพร คุณอยู่ไหน" ม.ล.วัลย์วิภา โทรศัพท์ถาม
คำ ตอบอ้างว่า "อยู่แถวนี้แหละ อาจารย์กลับได้เลย" เธอยังถามย้ำอีก "คุณอยู่ไหน" แต่ดูเหมือนไร้ประโยชน์จะเซ้าซี้ เธอกับเลขาต้องขนอุปกรณ์สำนักงานของการุณ กลับด้วย
ก่อนขึ้นเครื่องที่พนมเปญก็จะโทรบอกแล้วว่า อีกหนึ่งชั่วโมงจะถึงให้มาช่วยขนอุปกรณ์ แต่ ณฐพร ไม่รับโทรศัพท์

ไปพนมเปญครั้งที่ 2 ณฐพร โทรบอกเธอว่า "อาจารย์ไม่ต้องมาหรอก ผู้หญิง เป็นเรื่องผมกับการุณ"
ครั้นรุ่งเช้า การุณ โทรมาหา "อาจารย์หม่อม มาช่วยกันคิดซี"
ณฐพร ให้ข่าวบ่อย ๆ ทั้งๆ ที่การจะแถลงอะไร ต้องผ่านการหารือประเด็นก่อน พูดถึงความรู้กฎหมายระหว่างประเทศ ถ้าฟังจับความให้ดี สิ่งที่ ณฐพร พูดเรื่องอนุสัญญาเจนีวา และอะไรอีกมากมาย ก็เหมือนลอกความมาจาก อาจารย์ธนบูลย์ จิรานุวัฒน์

ระหว่าง 28 ก.พ. ถึง 1 มี.ค. ความพยายามเข้าเยี่ยมวีระ เพื่อให้ลงนามมอบอำนาจยื่นอุทธรณ์ ท่ามกลางข่าวสะพัด การขออภัยโทษ ทีมกฎหมายก็หนักใจ กัมพูชามันจะให้อุทธรณ์ได้หรือไม่ 
สำหรับราตรี ลงนามขออุทธรณ์ไว้แล้วช่วงได้ประกันตัว ช่วงนั้นส่งตัวแทนไปสำนักงานกาชาดระหว่างประเทศ เรียกร้องให้เป็นคนกลางนำหนังสือให้วีระเซ็นมอบอำนาจแทน กาชาดระหว่างประเทศ ไม่ทำ การุณ กับม.ล.วัลย์วิภา กับทีมทำงานก็ไปหาสถานทูตไทย เรียกร้องในเรื่องเดียวกัน ยื่นหนังสือลงนามมอบอำนาจทำการแทน ขอให้ทูตไทยทำหน้าที่ นำไปอธิบายวีระให้เข้าใจ ว่าเครือข่ายกำลังทำตามเจตนารมณ์ของเขา ทูตมอบให้ จักรกฤษณ์ ตอนแรกอ้างว่า เกรงจะไม่ทัน แต่พวกเขายืนยัน ไม่ทันไม่เป็นไร เรื่องเป็นเรื่องตายของวีระ เขาควรจะได้รับรู้
เธอยก เรื่องสถานทูตยังเรียกทนายเขมรมาพบได้เป็นเวลาสามทุ่มแล้ว เรื่องนี้ถ้าจะทำให้จริง ย่อมทำได้

"คุณมีเอกสารไหม เอามาให้ดูด้วย คุณวีระ คุณราตรี ไม่อุทธรณ์ เรื่องอุทธรณ์นี่ ถ้ายื่นไปแล้ว เขาไม่พอใจก็ถอนได้ เพราะต้องยื่นภายใน 1 เดือน และเราอุทธรณ์ตามหลัก น็อน คอมมูนิกาโด้" เธอบอก
สถานทูตยังยืนยัน แม่ของวีระไม่อุทธรณ์ ทีมงานจึงโทรศัพท์ติดต่อน้องชายวีระ แต่ปิดเครื่องหมด
28 ก.พ.เป็นโอกาสสุดท้าย พรุ่งนี้ต้องยื่นอุทธรณ์ให้ได้ ทีมเครือข่ายฯ ยืนยัน ถ้าสถานทูตดำเนินการอย่างไรก็ให้โทรศัพท์มาเลย กลับไปรอที่ห้องพักโรงแรม การุณ ดูร้อนใจ เธอแนะให้อยู่นิ่ง ๆ รอจนหลังหลังเที่ยงวันไปแล้ว เราก็รอจนนาทีสุดท้าย ก็ไม่มีโทรศัพท์มา
กระทั่ง บ่ายสามโมง ม.ล.วัลย์วิภา การุณ กับล่ามหญิงชาวเขมร จึงไปยื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าหน้าที่ศาลชั้นต้น "การุณ"คนเดียวแปะโป้งเป็นพยาน รับรองเอกสารเลขที่ 159 ลงวันที่ 1 มี.ค.2554 เวลา 15.30 น.
ในคำอุทธรณ์ ใช้หนังสือลงนามชื่อราตรี และพ่วงวีระลงไป "ข้าพเจ้าทั้งสองคนไม่ยอมรับคำตัดสินศาลกัมพูชา และขออุทธรณ์สู้คดี"
แทบจะเฮ ปิดโทรศัพท์ กระทั่ง 6 โมงเย็นวันถัดมา จึงแถลงข่าวอุทธรณ์ได้แล้ว แต่ก็ไม่ปฏิเสธญาติขออภัยโทษ ใครต่อสู้แนวไหนได้ก็ทำไป
มีใครในรัฐบาลไทยพูดบ้าง กัมพูชากระทำขัดรัฐธรรมนูญกัมพูชา มาตรา 38 และแน่นอนกฎหมายไทยย่อมมี ตามหลักกฎบัตรระหว่างประเทศ นั่นคือหลัก “น็อน คอมมูนิกาโด” คนถูกคุมขัง ไร้สภาพการสื่อสารกับโลกภายนอก ไม่รู้ข้อมูลความจริงอันใด ถูกรบเร้า โน้มน้าว ข่มขู่ ให้ลงชื่ออะไร ย่อมไร้สภาพบังคับ
ย้อนไปช่วงหลังตัดสินประมาณ 2 สัปดาห์ วีระก็ล้มป่วยหนักกะทันหัน อาหารเป็นพิษ เนื่องจากที่ครอบฟันหลุด แต่สถานทูตไทยไม่เข้าไปช่วย นายพนิชเองเป็นคนเปิดเผยกับสื่อ ซึ่งล่วงเลยเข้าต้นมี.ค.แล้ว
ปรีชา กับแม่วิไลวรรณ ต้องรีบแจ้นไปเยี่ยม พบหน้ากัน ก็โอบกอดกันร้องไห้ วีระตัวสั่นเทิ้ม นัยน์ตารื้นแดงก่ำ
“แม่รู้ไหม ผมเกือบตาย” 
หลัง จากบอกอาการให้ฟังแล้ว เขาก็วกมาถามถึงความยากลำบากของแม่ น้องชายต้องเสียการงานมาเป็นภาระ วีระ ไม่มีเมีย ไม่มีลูก ได้แต่ถามถึงหลาน ๆ ด้วยความคิดถึง ยิ่งตัวเล็กสุด ที่เขาเอ็นดู หยอกเอิน
ข่าวล้มป่วย เหมือนจะเป็นจุดหักเห เป็นแรงกดดันให้ญาติต้องขอพบนายกอภิสิทธิ์ เมื่อ 8 มี.ค. เพื่อขอคำยืนยันแนวทางขออภัยโทษ ตามที่ยื่นไป  

รัฐบาลหมอง- มอง"วีระ"อย่างปุถุชน  วี ระ เมื่อเห็นน้ำตาแม่ ขอร้องอยากให้ยื่นขออภัยโทษ เขาก็ยอม เดิมทีรัฐบาลไทยบอกคงไม่ทันในสิ้นกุมภา แต่ล่วงเลยมีนาคม จนมิถุนายน ก็ยังไม่ได้ขออภัยโทษ
เสมือนตัวประกันในคุกเปร็ยซอ โยงเป็นหนึ่งเงื่อนไขในหลายๆ เงื่อนไข ที่กัมพูชากดดันไทย แต่ดูเหมือนศัตรูจะมาก พวกนักการเมืองไม่ชอบขี้หน้า รวมทั้งคนในประเทศไทยก็มีจำนวนไม่น้อยคิดต่างสุดขั้วด้วย จึงไม่ส่งผลอะไรกับรัฐบาลนัก
สถานทูตไทยในพนมเปญหว่านล้อมด้วยข้อมูล เหตุผลข้างเดียวว่า รัฐบาลไทยยังไม่สามารถขออภัยโทษได้ เพราะพวกเครือข่ายคนไทยฯ ไปจุ้นจ้าน จึงต้องให้ถอนอุทธรณ์ออกไป
ข่าวกระท่อนกระแท่นแบบนี้ส่งผลเสียต่อเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ ถูกมองเป็นจำเลยสังคมไป

"เราเป็นผู้หญิงในทีม ไม่สบายนักหรอก เรื่องความปลอดภัย ลองใครมันแกล้งเมามาใกล้ ๆ เสียบเราก็ได้ เราถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนชัด ๆ ทำไม่จะปกป้องตัวเองไม่ได้ แล้วทำไมรัฐบาลไทยต้องเพลี้ยงพล้ำกัมพูชาตลอด เขาเดินเกมนี้อยู่แล้ว ประสานสื่อมวลชนด้วย" ม.ล.วัลย์วิภา โอด
เธอรู้ด้วยว่า 4 ก.พ. วีระเขียนคำอุทธรณ์ด้วยลายมือตัวเอง แต่ กษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีต่างประเทศ ไปเกลี้ยกล่อม แล้วใบนั้นหายไป ทนายเขมรนำร่างหนังสือขออภัยโทษมาให้ดู ภาษาไทยกับภาษาเขมร...สารภาพรุกล้พดินแดน วีระขอปากกามาเขียนแก้ว่า ถูกจับในดินแดนไทย แล้วส่งกลับให้ไปแก้ จนกระทั้ง 14 มี.ค.นำมาให้ดู แต่เป็นภาษาเขมร วีระก็พาซื่อเซ็นไป
เขาคิดว่า นายกประเทศไทยจะทำให้ได้ คิดว่ามีคนหวังดีจะช่วย แต่ฮุนเซนย้ำแล้วว่า ต้องติดคุกสองในสามก่อนจึงจะขออภัยได้

21 มี.ค.น้องชายเข้าเยี่ยมวีระ และ 25 มี.ค.ทีมที่ปรึกษาเครือข่ายคนไทยฯ และญาติของราตรีไปเยี่ยมด้วย พบหน้ากันคราวนี้ วีระ แววตาสลด พูดเกือบจะเป็นโอดครวญ "ขออภัยโทษ ดูสิป่านนี้ยังไม่ได้ รัฐบาลหลอกกระทั่งแม่ผม"
การุณ เอ่ยขึ้น เอาล่ะจะอธิบายให้ฟังถึงแนวทางการต่อสู้ แล้วเราทำอะไรบ้าง ฯลฯ
"คุณ แค่อยู่นิ่ง ๆ ไม่จำเป็นต้องอยู่ประตุ 4 ประตู 5 ทำเนียบ หรือไปศาลโลก คุณอยู่ที่นี่ ทำสมาธิ คุณอุทธรณ์ ไม่ใช่ ขออภัยโทษ การขออภัยโทษคือเสียแผ่นดินอย่างเดียว คุณเข้าใจไหม"
การุณ ยังพูดถึงหลักการใหญ่ การจับกุมตั้งข้อกล่าวหาและตัดสินคดีไม่เป็นธรรมเช่นนี้ ไม่เข้าข่ายความผิด มีอนุสัญญาเจนีวาบัญญัติไว้ 
แววตาวีระกลับมีประกายอีกครั้ง "ผมจะสู้ถึงที่สุด ผมอยู่ได้ ผมจะประทังชีวิตด้วยการกินข้าว กินให้มาก ๆ จะได้มีแรง"
เป็นการยืนยันเจตนารมณ์ครั้งที่สาม

เล่ห์ไทย บทตีหน้าเฉย เอ่ยแค่เยื่อใย แล้ว เหตุอุปสรรคก็โผล่ 4 เม.ย. เครือข่ายคนไทยฯ นำมวลชนไปหน้ากระทรวงต่างประเทศ พร้อมหนังสือคำร้องให้ดำเนินการ ลงนาม ดร.มาลีรัตน์ เอี้ยวสกุล ลงนามตัวแทนเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ ยื่นเรียกร้องต่อบัวแก้ว ไปมอบเอกสารให้ วีระ, ราตรี ลงนามมอบอำนาจให้ดำเนินการแทน แต่บัวแก้วไม่ส่งให้ 18 พ.ค.มวลชนจึงไปทวงถามอีก คืบหน้าอย่างไร ให้ตอบมา
การุณ แถลงบรรยายเมื่อวันที่ 21 พ.ค. ว่า “บัวแก้วใช้เอกสาร 2 แผ่นตบหน้าเรา แผ่น 1 ภาษาเขมร เนื้อความถอนการมอบอำนาจให้ผมและอาจารย์หม่อม ขอถอนทั้งหมด ลง 31 มีนาคม 2554 เราเพิ่งเห็น 18 พฤษภาคม 2554 อีกแผ่นภาษาไทยให้ยกเลิกทั้งหมดเช่นกัน แต่ลงวันที่ 9 พฤษภาคม จึงต้องเดินทางไปเปร็ยซอ 21 พฤษภาคม ตอนนี้ครบ เจ้าหน้าที่เรือนจำ วีระ ทนายความเขมร สถานทูตไทย คุณแม่ น้องชายวีระ ผม เจริญ กับล่าม”
ล้มเหลวเพราะ แม้จะยื่นอุทธรณ์ได้ทัน 1 มี.ค. แต่ 6 มี.ค. ได้พบกับครอบครัววีระ กับราตรี ที่สำนักสันติอโศก สองคนต้องการให้ไปถอนอุทธรณ์ วันนี้คณะได้เห็นเอกสารลงวันที่ 17 ก.พ. 21 ก.พ. 24 ก.พ. และ 3 มี.ค.
17 ก.พ. ญาติทั้งสองไปพบวีระ ราตรี ทำเรื่องถวายฎีกาต่อกษัตริย์กัมพูชา เรือนจำส่งกระทรวงมหาดไทยๆ ส่งกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา ๆ แถลงข่าวจะให้อภัยโทษต้องติดคุกแล้ว 2 ใน 3 
21 ก.พ. ราตรี ก็ไม่อุทธรณ์ และขออภัยโทษ 24 ก.พ. ทั้งภาษาไทยและเขมร ไม่อุทธรณ์ และขออภัยโทษ เอกสารไทยและเขมร 3 มี.ค. สองคนลงชื่อขอถอนอุทธรณ์ เพื่อถวายฎีกาขออภัยโทษ
แต่กระทั่ง 25 มี.ค. เข้าเยี่ยม วีระก็ยืนยันจะสู้ถึงที่สุด เรียกหาเอกสารจะเซ็นใบมอบอำนาจ แต่เรือนจำดึงตัวเขาออกไป 
จนถึง 18 พ.ค.มวลชนจึงไปทวงถามกระทรวงบัวแก้วอีก คืบหน้าอย่างไร ให้ตอบมา
"บัว แก้วใช้เอกสาร 2 แผ่นตบหน้าเรา แผ่น 1 ภาษาเขมร เนื้อความถอนการมอบอำนาจให้ผมและอาจารย์หม่อม ขอถอนทั้งหมด ลง 31 มีนาคม 2554 เราเพิ่งเห็น 18 พฤษภาคม 2554 อีกแผ่นภาษาไทยให้ยกเลิกทั้งหมดเช่นกัน แต่ลงวันที่ 9 พฤษภาคม จึงต้องเดินทางไปเปร็ยซอ 21 พฤษภาคม ตอนนี้ครบ เจ้าหน้าที่เรือนจำ วีระ ทนายความเขมร สถานทูตไทย คุณแม่ น้องชายวีระ ผม เจริญ กับล่าม”

นายการุณ พูดต่อหน้านำหนังสือมาแสดง 17 ก.พ.คุณเซ็นสู้คดีใช่ไหม 21 ก.พ. 3 มี.ค.ยื่นถอนทั้งไทยทั้งเขมรใช่ไหม ยอมรับเซ็นเองทั้งหมดใช่ไหม มีการถวายฎีกาใช่ไหม “ใช่”  
หลัง 25 มี.ค. 6 วันถัดมา เซ็นยกเลิกอำนาจใช่ไหม “ใช่” 9 พ.ค.เซ็นภาษาไทยใช่ไหม “ใช่” ยืนยันลงนามเอง โดยครอบครัวยินยอม 
วีระบอกเขาและครอบครัวต้องการให้ใช้ใบ มอบอำนาจนี้หลังการเลือกตั้งเสร็จแล้ว จะเป็นรัฐบาลใครก็ไม่รู้ ถ้าไม่มีพรรคใดช่วยแล้ว จะมอบอำนาจให้เครือข่าย
"คุณวีระจะทำหมายเหตุไว้ แต่เราติง เอกสารนี้จะส่งให้ยูเอ็น กาชาดระหว่างประเทศ คณะมนตรีความมั่นคง ใช้ได้ไหม ขีดฆ่าวันที่ 20 พฤษภาคม ได้ไหม หลังเลือกตั้งให้ดำเนินการแทน ใครจะเชื่อ”
การุณ สรุปจบ “ก็ได้ขอยุติ ไม่ขีดฆ่า 20 พฤษภา ไม่หมายเหตุ แต่จะมอบให้แม่ น้องชาย รักษาไว้”
ถึงกระนั้น “น็อน คอมมูนิกาโด้” ยังเป็นแนวทางต่อสู้ เรียกร้องความบริสุทธ์ให้ทั้งสองได้ และยังคงทำอยู่. 
*7 คนไทยถูกจับ ได้แก่ พนิช วิกิตเศรษฐ์ ส.ส.กรุงเทพฯ พรรคประชาธิปัตย์ นายวีระ สมความคิด ผู้ประสานงานเครือข่ายคนไทยหัวใจรักชาติ น.ส.ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ ร.ต.แซมดิน เลิศบุศย์ นายตายแน่ มุ่งมาจน นางนฤมล จิตรวะรัตนา และนายกิชพลธรณ์ ชุสนะเสวี 

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง