บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

กลาโหมเขมรออกแถลงการณ์ทวงชุดทางออก

กลาโหมเขมรออกแถลงการณ์ทวงชุดทางออก

ฟิฟทีนมูฟ — เมื่อช่วงบ่ายวันนี้ กลาโหมเขมรออกแถลงการณ์ทวงชุดทางออกจากการประชุม รมว.ต่างประเทศ ที่จาการ์ตา ๙ พ.ค. ซึ่งกษิตไปให้ความเห็นชอบไว้ พร้อมทั้งเผยว่าในการหารือร่วมเตีย บัญ พลเอกประวิตร รับปากจะมาเร่งรัดกษิตให้ลงนามชุดทางออกดังกล่าว เพื่อให้ชุดล่วงหน้าอินโดฯ เข้ามาปฏิบัติงาน
05222011PR-NDF-1500_Page_105222011PR-NDF-1500_Page_2
แถลงการณ์กระทรวงกลาโหมกัมพูชา ลงวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ทวงชุดทางออกที่นายกษิต ภิรมย์ ไปทำความตกลงเมื่อ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔

กระทรวงกลาโหมกัมพูชาออกแถลงการณ์ เมื่อเวลา ๑๓.๐๐ น วันนี้ (๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔) จี้ให้ไทยเร่งปฏิบัติตามผลการหารือระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศของไทย กัมพูชา และอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ที่ได้ข้อสรุปเป็นชุดทางออกพร้อม ๖ ขั้นตอนตามกรอบเวลา รวมทั้งอ้างถึงคำกล่าวสุนทรพจน์ของ พล.อ. เตีย บัญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่กล่าวในที่ประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่ได้ย้ำจุดยืนต่อการรับผู้สังเกตการณ์และชุดทางออก
โดยแถลงการณ์ฉบับดังกล่าวระบุว่า ในสุนทรพจน์ที่ได้กล่าวแถลงโดย ฯพณฯ พล.อ.เตีย บัญ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ในวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ระบุว่า “ในความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ เกี่ยวกับบริบทการแก้ปัญหาความขัดแย้ง จุดยืนที่เป็นนิจของกัมพูชา คือสนับสนุนกระบวนการในการสลายความขัดแย้งโดยสันติวิธีเพียงอย่างเดียว โดยยืนบนหลักการกฎหมายระหว่างประเทศ และธรรมนูญอาเซียน โดยสิ่งที่แสดงให้เห็น คือ กัมพูชาได้ยอมรับเงื่อนไขข้อตกลงทั้งหมดที่เกี่ยวกับการจัดส่งผู้สังเกต การณ์อินโดนีเซีย รวมทั้งชุดทางออกที่เห็นพ้องร่วมกันในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศทั้งสาม คือ อินโดนีเซีย กัมพูชา และไทย เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ที่กรุงจาการ์ตา”
แถลงการณ์ฉบับดังกล่าวยังกล่าวอ้างด้วยว่า ในการหารือระหว่างรัฐมนตรีกลาโหมกัมพูชา ไทย ที่อินโดนีเซีย ฯพณฯ ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้แสดงจุดยืนเห็นชอบที่จะผลักดันให้รัฐมนตรีต่างประเทศไทย เร่งรัดในการลงนามอนุมัติชุดทางออกที่ได้เห็นชอบร่วมกันแล้ว ในวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔ โดยรัฐมนตรีต่างประเทศทั้งสาม เพื่อก้าวถึงการอนุญาตให้ชุดสำรวจล่วงหน้าอินโดนีเซียเข้ามาปฏิบัติงาน

เขมรต่างแดนเตรียมประท้วงไทยหน้าศาลโลก-รบ.วอนให้อดทน

เขมรต่างแดนเตรียมประท้วงไทยหน้าศาลโลก-รบ.วอนให้อดทน

ฟิฟทีนมูฟ – เขมรต่างแดนว่อนหนังสือปลุกระดมประท้วงต่อต้านไทยหน้าศาลโลก ๒๘-๓๐ พ.ค. นี้ กดดันศาลให้พิจารณาโทษไทย พร้อมเคลื่อนไปจี้สถานทูตไทยให้หยุดสงครามรุกรานดินแดนกัมพูชา จนท.รัฐบาลเขมรวอนให้ใช้ความอดทนอดกลั้น
การชุมนุมประท้วงต่อต้านไทยของชาวเขมรต่างแดน ที่ Seattle เมื่อ ๑๒ กุมพาพันธ์ ๒๕๕๔
แฟ้มภาพ: การชุมนุมประท้วงต่อต้านไทยของชาวเขมรต่างแดน ที่ Seattle เมื่อ ๑๒ กุมพาพันธ์ ๒๕๕๔
ตามรายงานของบายนทีวีของกัมพูชา เมื่อช่วงเช้าตรู่วันนี้ (๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๔) นายติตย์ โซะเทีย1 รองหัวหน้าหน่วยข่าวและตอบโต้เร็ว สำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้แถลงขอให้ชาวเขมรใช้ความอดทนอดกลั้น ในระหว่างที่มีการตีความคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เรื่องดินแดนในพื้นที่ปราสาทพระวิหารของเขมร ทั้งนี้ เนื่องจากชาวเขมรที่อาศัยอยู่ในประเทศต่าง ๆ มีกำหนดจะชุมนุมในระหว่างวันที่ ๒๘-๓๐ พฤษภาคม ที่จะถึงนี้ เพื่อเดินขบวนประท้วงต่อต้านการรุกรานของไทยเหนือบูรณภาพดินแดนกัมพูชา หน้าศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ที่กรุงเฮก

ตามเอกสารเรียกร้องที่แพร่กระจายตามอินเตอร์เน็ต การชุมนุมต่อต้านดังกล่าวจะดำเนินการที่หน้าศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อขอให้ศาลฯ ทำการกล่าวโทษประเทศไทยต่อการละเมิดคำตัดสิน พ.ศ. ๒๕๐๕ และการก่อสงครามรุกรานเหนือบูรณภาพดินแดนกัมพูชา พร้อมทั้งทำให้เกิดความเสียหายแก่ปราสาทพระวิหารของเขมรด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ จะมีการเคลื่อนขบวนไปยังสถานทูตไทย เพื่อเรียกร้องให้ไทยยุติสงครามรุกรานแผ่นดินประเทศกัมพูชา

“เตียบัญ” อ้าง “ประวิตร” รับปากแล้ว พร้อมให้ทีมอิเหนาเข้าชายแดน



รัฐมนตรี กลาโหมกัมพูชาเตียบัญสัมผัสมือกับ พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รมว.กลาโหมไทย ต่อหน้า รมว.กลาโหมอินโดนีเซียปุรโนโม ยุสกิอานโตโร หลังการพบปะสองฝ่ายในกรุงจาการ์ตาวันที่ 18 พ.ค.2554 ก่อนการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนจะเริ่มขึ้น พล.อ.เตียบัญอ้างในวันเสาร์ 21 พ.ค.นี้ว่า ฝ่ายไทยได้ตกลงรับปากจะให้ทีมสังเกตการณ์หยุดยิงอินโดนีเซียเข้าพื้นที่ได้ แล้ว. -- REUTERS/Beawiharta.
     
ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- รัฐมนตรีกลาโหมกัมพูชา พล.อ.เตียบัญ กล่าวหลังเดินทางกลับจากไปร่วมประชุมรัฐมนตรีกลาโหมกลุ่มอาเซียนในกรุง จาการ์ตา ว่า ฝ่ายไทยโดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ได้รับปากจะให้คณะสังเกตการณ์การหยุดยิงจากอินโดนีเซีย เข้าประจำชายแดนไทย-กัมพูชา แล้ว ซึ่งเป็นความคืบหน้าสำคัญ แม้ว่าจะเป็นการรับคำด้วยวาจาก็ตาม
     
       พล.อ.เตียบัญ ระบุดังกล่าวขณะให้สัมภาษณ์ที่สนามบินโปเจินตง เมื่อกลับถึงกรุงพนมเปญในวันเสาร์ สำนักข่าวกัมพูชารายงานในวันอาทิตย์ 22 พ.ค.ศกนี้
     
       รมว.กลาโหมกัมพูชา ไม่ได้อธิบายในรายละเอียด ว่า พล.อ.ประวิตร ไปรับปากรับคำเรื่องนี้ได้อย่างไร ในขณะที่คณะรัฐมนตรีไทยยังไม่ได้ลงมติรับรองร่างข้อกำหนด (Terms of Reference) ที่รัฐมนตรีต่างประเทศไทย กัมพูชาและอินโดนีเซีย ตกลงกันในกรุงจาการ์ตาก่อนหน้านี้
     
       รมว.กลาโหมของไทย เคยให้ให้สัมภาษณ์ก่อนหน้านี้ ว่า รัฐบาลชุดปัจจุบัน ไม่สามารถดำเนินการเรื่องนี้ได้เนื่องจากได้ประกาศยุบสภาแล้ว
     
       แต่ พล.อ.เตียบัญ บอกว่า การตกลงรับคำของ พล.อ.ประวิตร เป็นการเปิดทางให้การประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปหรือ GBC (General Border Committee) สามารถมีขึ้นได้ ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดเรื่องนี้อีกเช่นกัน
     
       พล.อ.เตียบัญ เพิ่งกลับจากการประชุม รมว.กลาโหมอาเซียน ระหว่างวันที่ 16-18 เดือนนี้ และ บอกกับสื่อว่าที่ประชุมมีความห่วงใยต่อสถานการณ์ชายแดนกัมพูชา-ไทย นอกจากนั้นในทุกวงประชุมฝ่ายกัมพูชาล้วนแต่แสดงความปรารถนาที่จะแก้ไขปัญหา กับไทยอย่างสันติ สำนักข่าวของทางการกล่าว


ทัศนะ



"ประวิตร"แนะผู้สังเกตการณ์อิเหนาแต่งกายพลเรือนลงพื้นที่พิพาทไทย-เขมร

 พล.อ.เตีย บัญห์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชา กล่าววานนี้ (21 พ.ค.) ที่ท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ ภายหลังเดินทางกลับจากการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ว่า การเจรจาต่อรองปัญหาชายแดน ระหว่างไทยกับกัมพูชา มีความคืบหน้าอย่างมาก หลัง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย ให้คำมั่นว่า จะรับผู้สังเกตุการณ์อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีขึ้น ก่อนการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป หรือ GBC ระหว่างไทยกับกัมพูชา
        การหารือระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของของไทยและกัมพูชา ภายใต้การจัดเตรียมของ นายเพอร์โนโม ยูสเจียนโตโร รัฐมนตรีกลาโหมอินโดนีเซีย ในวันที่ 18 พฤษภาคม พล.อ.ประวิตร ได้กล่าวร้องขอให้อินโดนีเซีย ออกประกาศเพื่อทราบ เกี่ยวกับการส่งทีมสํารวจลงพื้นที่ชายแดนในเวลาที่เหมาะสม และได้แนะนำให้ทั้งหมด แต่งกายแบบพลเรือนทั่วไป ซึ่งปฏิกริยาดังกล่าวของ พล.อ.ประวิตร นั้น ดูมีท่าทีว่าต้องการแก้ไขปัญหาชายแดนกับกัมพูชานั้น ก็พิจารณาให้เห็นถึงขั้นตอนที่ก้าวหน้าของการเจรจาชายแดนระหว่างไทยและ กัมพูชา และทันทีที่ทีมผู้สังเกตการณ์จากอินโดนีเซีย เดินทางมายังพื้นที่ชายแดนใกล้กับปราสาทพระวิหาร กัมพูชาก็จะจัดการประชุม GBC กับไทย โดยปราศจากคนกลาง
        นอกจากนี้ พล.อ.เตีย บัญห์ ยังระบุถึงการเจรจากับ นายเหลียง กวงเหลี่ย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของจีน ซึ่งจีนได้สนับสนุนให้ประเทศกัมพูชาและประเทศไทย ในการเร่งการเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งโดยเร็ว

ตียบัญเผยไทยเสนอรับทีมล่วงหน้า เปิดทางประชุม GBC

ตียบัญเผยไทยเสนอรับทีมล่วงหน้า เปิดทางประชุม GBC

ฟิฟทีนมูฟ — สื่อเขมรรายงานอ้างคำพูดเตียบัญ เผยผลการหารือ รมว.กลาโหมไทย ฝ่ายไทยเสนอให้อินโดส่งทีมสำรวจล่วงหน้าลงพื้นที่ขัดแย้ง ขณะเขมรต้องการแค่ให้ไทยรับ TOR ระบุเป็นการเปิดทางสู่การประชุม GBC แย้งกับกลาโหมไทยที่ระบุประชุม GBC ไม่มีเงื่อนไขผู้สังเกตการณ์เกี่ยวข้อง เตีย บัญ เผย จีน-อินโดฯ อยากให้ไทย-เขมรแก้ปัญหาให้จบ-จบ
tea-banh-21-05-2011
พลเอกเตีย บัญ ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวที่สนามบินนานาชาติกรุงพนมเปญ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔
ภายหลังเดินทางกลับจากการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ที่ประเทศอินโดนีเซีย พลเอก เตีย บัญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชา ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวที่สนามบินนานาชาติกรุงพนมเปญ เมื่อช่วงสายวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ที่ผ่านมา นอกจากแถลงผลการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมแล้ว เตีย บัญ ได้กล่าวถึงการหารือกับรัฐมนตรีกลาโหมของไทย โดยได้ข้อสรุปเห็นพ้องเกี่ยวข้องกับการรับทีมสำรวจล่วงหน้าของผู้สังเกต การณ์อินโดนีเซีย และการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป หรือ GBC

ตามรายงานของหนังสือพิมพ์กัมพูชาใหม่ (๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔) รัฐมนตรีกลาโหมกัมพูชาได้แถลงกับผู้สื่อข่าวว่า ในการประชุมดังกล่าวตนได้ร่วมหารือปัญหากับ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทย กัมพูชาต้องการให้มีการยอมรับ TOR เพื่อก้าวไปสู่การประชุม JBC และ GBC แก้ปัญหาให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว
ขณะที่วิทยุเอเชียเสรี วันเดียวกัน ระบุถึงผลการหารือของสองรัฐมนตรีว่า ทั้งสองได้เห็นชอบร่วมกันที่จะให้มีทีมสำรวจล่วงหน้าของผู้สังเกตการณ์ อินโดนีเซีย มาในพื้นที่ขัดแย้งซึ่งมีการปะทะกันด้วยอาวุธก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นการเปิดทางให้มีการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป เพื่อสลายความขัดแย้งพรมแดนในประเทศทั้งสอง โดยเตีย บัญ กล่าวว่า “เกี่ยวกับปัญหานั้น คือเขาต้องการให้มีคณะกรรมการชายแดนทั่วไปให้ได้โดยเร็ว ความสำเร็จนั้นคือคณะกรรมการชายแดนทั่วไปสามารถแก้ปัญหาได้อย่างมี ประสิทธิภาพ”
นอกจากนี้ ตามรายงานของหนังสือพิมพ์กัมพูชาใหม่  รัฐมนตรีกลาโหมกัมพูชายังได้กล่าวถึงการหารือนอกรอบในช่วงเช้าวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ที่สำนักงานกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซีย กับรัฐมนตรีกลาโหมของจีน โดยจีนต้องการให้ปัญหาความขัดแย้งกัมพูชาและไทยจบสิ้นโดยเร็ว ซึ่งตนได้แจ้งความปรารถนาของกัมพูชากลับไปยังรัฐมนตรีกลาโหมจีนว่า กัมพูชาต้องการได้ความสงบสุข ต้องการจบความขัดแย้ง
จากนั้น พลเอก เตีย บัญ ได้พูดคุยกับประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ซึ่งพลโท ซูซิโล บัมบัง ยูโดโยโน ต้องการให้ปัญหาระหว่างประเทศทั้งสองจบโดยเร็ว เนื่องจากว่าการสู้รบกันเป็นปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งในการประชุมที่อินโดนีเซีย คราวนี้ เพราะว่าการประชุมร่วมกันของผู้นำทหารในอาเซียนหารือกันในการสกัดกั้นความ ขัดแย้งในภูมิภาค ซึ่งพลเอก เตีย บัญ ได้รายงานกลับไปว่า กัมพูชาได้ยอมรับการแก้ปัญหาหมดแล้วยังเหลือแต่ฝ่ายไทย จากนั้นรัฐมนตรีกลาโหมกัมพูชาเสนอให้ไทยเป็นผู้กล่าว ซึ่งขณะนั้น พลเอกประวิตร ได้ขอให้อินโดนีเซียแจ้งข้อมูลมาให้กัมพูชาและไทย ในการจัดส่งทีมมาประเมินสภาพการณ์ พลเอก เตีย บัญ กล่าวต่อว่า เนื่องจากเรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ ก่อนหน้านั้นกัมพูชาเพียงต้องการให้ไทยยอมรับ TOR คือยอมรับผู้สังเกตการณ์เท่านั้น แต่ขณะนี้ไทยต้องการให้อินโดนีเซียออกหนังสือแจ้งการจัดส่งทีมสำรวจ นี่เป็นเงื่อนไขใหม่ที่เรารับได้ในเวลานี้ แล้วประธานอาเซียนได้ยืนยันว่าเขาจะรีบดำเนินการโดยเร็ว โดยเจ้าหน้าที่เตรียมการของอินโดนีเซียได้สอบถามถึงเครื่องแบบที่จะใช้ เป็นชุดพลเรือนหรือชุดทหาร พลเอกประวิตร ได้ยืนยันว่าให้ใช้ชุดพลเรือน
ขณะที่ ตามรายงานในสื่อไทยหลายแหล่งเมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พันเอก ธนาธิป สว่างแสง โฆษกกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า สองฝ่ายเห็นพ้องกันเตรียมจัดประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป โดยไม่มีเงื่อนไข และอาจเลื่อนการประชุมให้เร็วขึ้น แต่ยังไม่ได้ระบุสถานที่ ส่วนกรณีกระแสข่าวที่ว่าได้มีความเห็นชอบให้จัดชุดสำรวจพื้นที่ร่วม ๓ ชาติ คือ ไทย กัมพูชา และอินโดนิเซีย เข้าสำรวจพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา นั้น  โฆษกกระทรวงกลาโหม ระบุว่า ไม่สามารถพูดได้ ต้องรอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นผู้ชี้แจง
อนึ่ง หากมีความเห็นชอบให้มีทีมสำรวจล่วงหน้าตามคำกล่างอ้างของฝ่ายกัมพูชา การหารือระหว่างรัฐมนตรีกลาโหมไทย-กัมพูชา ครั้งนี้ จะเป็นการเห็นชอบที่จะดำเนินการในแนวทางที่สอดคล้องกับ อันเป็นผลการหารือสามฝ่าย ระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศ ไทย กัมพูชา และอินโดนีเซีย หลังการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน คราวก่อน

ไก่ไม่เคยหมดเล้าที่ กต.

ไก่ไม่เคยหมดเล้าที่ กต.

Posted on 21 May 2011 by n/e - 20:45 น.

ฟิฟทีนมูฟ – จากบทความ “ไก่ตัวเท่าควายของนายกษิตและกระทรวงต่างป
ระเทศ” ที่ติงเตือนการตั้งผู้พิพากษาสมทบสัญชาติฝรั่งเศส เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศ โดยนายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ แถลงว่าการตั้งผู้พิพากษาสัญชาติเดียวกันซ้ำนั้นกระทำได้ ไม่ผิดกฎแต่อย่างใด ตามปรากฎในเว็บไซต์กระทรวงฯ

เรื่อง นี้ เมื่อได้บอกแล้ว เตือนแล้ว ยังรั้นจะเอาความเขลามาแย้งขัด ก็ป่วยการจะขัดเกลาต่อไปอีก ให้ดำเนินการตามสะดวกสมความมุ่งหมาย เร่งนำพากันไปเข้าปิ้งที่ศาลโลก แล้วประเทศจะเป็นผู้รับกรรม ซึ่งบรรดาท่าน ๆ ไม่เกี่ยวและไม่เคยต้องรับผิดอะไร

ประวัติศาสตร์ของทุกชนชาติมักสอนไว้เสมอว่า โง่ด้วย สู่รู้ด้วย แล้วขยันด้วย นำพาไปแต่ทางพินาศ หากโง่ส่วนตัวเสียหายส่วนตัวนับว่าไม่เดือดร้อน ใคร แต่โง่แล้วลากพาประเทศไปด้วย..นี่ไม่ควร เรื่องเขมร-ฝรั่งเศส-ศาลโลกนี้ เสียหายกันมาไม่รู้กี่ครั้งไม่เคยรู้จำ ก็ถ้าโง่ถึงขั้นตั้งฝรั่งเศสเป็นทั้งทนายและผู้พิพากษาสมทบได้ ทำไม่ไม่ตั้งเขมรให้ตรงตัวไปเสียเลย

ต่อ มา ดูเหมือนว่าเรื่องไก่ ๆ ควาย ๆ ของกระทรวงการต่างประเทศนั้น เห็นจะเพาะเลี้ยงไว้เป็นฟาร์มใหญ่ จึงปล่อยเรี่ยราดได้ไม่รู้หมด การตอบคำถามผู้สื่อข่าวของอธิบดีกรมสารนิเทศ ตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์กระทรวงฯ ที่กล่าวถึงนั้น เราได้เห็นอีกว่า ที่วงเล็บคำศัพท์ไว้สามแห่งผิดหมดทั้งสามแห่ง ตามภาพที่เห็นด้านล่าง

mfa-icj
ภาพ: ข่าวสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศยืนยันการแต่งตั้งผู้พิพากษาเฉพาะกิจสัญชาติฝรั่งเศส ไม่ขัดต่อระเบียบข้อบังคับและธรรมนูญของศาลโลก วันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๕๔

ข้อความผิดถูกมีดังนี้คือ

* กระทรวงการต่างประเทศเขียน Judge ad Hoc ที่ถูกคือ Judge ad hoc
* กระทรวงการต่างประเทศเขียน Rule of Court ที่ถูกคือ Rules of Court
* กระทรวงการต่างประเทศเขียน Statue of the International Court of Justice ที่ถูกคือ Statute of the International Court of Justice

ให้สงสัยว่า เห็นทีกระทรวงการต่างประเทศจะสิ้นคนมีความรู้ ความสามารถ กับเรื่องพื้นฐานจำเป็นอย่างภาษา ยังปล่อยออกมาให้ประจานหน้าตัวเอง ไม่ว่าเพราะความชุ่ยหรือความโง่ ให้ไว้ใจไปเจรจาเรื่องใหญ่ความเมืองนั้น ใครกล้าวางใจเห็นจะไม่มี

ยิ่งเมื่อนายเจษฎา กตเวทิน รองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ให้ความเห็นว่า “พื้นที่พิพาทรอบปราสาทพระวิหารต้องรอให้ศาลโลกตัดสิน เพราะสองฝ่ายถือแผนที่คนละฉบับ” นั่นหมายความว่า กระทรวงการต่างประเทศของราชอาณาจักรไทยได้โอนถ่ายอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนไปให้ ‘องค์การต่างด้าว’ ภายนอกเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด

เป็นที่น่าเสียดายว่า หลังการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเมื่อคราวก่อน อธิบดีกรมสนธิสัญญานำคณะขอเข้าพบอดีตข้าราชการระดับสูงหลายท่านของกระทรวง การต่างประเทศ เพื่อขอคำแนะนำ รับมือการที่เขมรนำประเด็นพิพาทปราสาทพระวิหารไปยังศาลยุติธรรมระหว่าง ประเทศ ทว่าเมื่อรับฟังแล้วก็ไม่ได้นำพา ยังมุ่งหน้าไปสู่หนทางให้ประวัติศาสตร์เมื่อห้าสิบปีก่อนมันหยามซ้ำ

การที่ควรจะแย้งโต้ปัดอำนาจศาลฯ สับปะรังเคนั่น ก็ไม่เห็นกระทรวงการต่างประเทศจะมีท่าที กลับแต่จะกระตือรื้อร้นพาคณะไปเที่ยวทัวร์ที่ศาลโลก จะไปเยี่ยมชมสิ่งใดกันหรือ ร่องรอยความเจ็บช้ำในอดีต หรือรอยเทียนที่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เคยพาคณะไปเวียนวน

ศาลโลกไม่มีอำนาจรื้อฟื้นคดีเก่าเมื่อพ้นระยะเวลาที่กฏหมาย กำหนดไว้ ไม่มีสิทธิ์รับพิจารณาหรือ “เปิดคดีใหม่” และไม่มีอำนาจออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวบังคับกับประเทศที่มิได้ยินยอมรับ อำนาจศาลฯ

จึงไม่มีเหตุผลที่ไทยต้องไปว่าจ้างร้องขอให้ค นชาติอดีตเจ้าอาณานิคม กัมพูชา เป็นทนายหรือผู้พิพากษาสมทบ และเร่งร้อนไปร่วมกระบวนการ ทั้ง ๆ ที่การเปิดรับฟังที่จะถึงในช่วงปลายเดือนเป็นเพียงการหารือในเรื่องมาตรการ คุ้มครองชั่วคราว สิ่งพึงทำคือเตรียมคำคัดค้านอำนาจศาลฯ และแถลงข้อเท็จจริงพร้อมแสดงหลักฐานการรุกรานของกัมพูชา เพื่อขอมาตรการคุ้มครองชั่วคราวอันเป็นประโยชน์ต่อไทย

เมื่อมองวิธีคิดและการดำเนินการโดยรอบ เวลานี้ดูจะเป็นการยากเสียแล้วที่จะห้ามปรามกระทรวง การต่างประเทศ ต่อให้เอาโซ่เส้นใหญ่มาล่ามผูก ก็ยังจะดึงดันแหกไปให้จนได้ ถ้าไม่เสียแผ่นดินอีกในคราวนี้ ก็ไม่รู้จะว่าอย่างไร ทางอื่น..มองไปไม่เห็น มันถึงคราวจะพินาศ ใครก็ช่วยไม่ได้จริง ๆ

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง