บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

คนเขมร" วอนคนทั่วโลกล้มระบอบ "ฮุนเซน" ยันต้องลากตัวไปรับกรรมที่ศาลโลกให้ได้

"องค์กรพลังประชาชนเขมร" จวก "ฮุนเซน" ยับ!! ลั่นพวกเผด็จการ บ้าสงครามเพราะได้ประโยชน์ถูกครอบงำโดยคอมมิวนิสต์จากรัฐบาลเวียดนามอีกชั้นหนึ่ง ระบุเป็นตัวการทำคนเขมรอดอยากและไปตาย ชี้ต้องลากตัวไปรับกรรมที่ศาลโลกให้ได้ ย้ำไม่สามารถรอให้ฮุนเซนแก่ตายได้ ถึงเวลาต้องเปลี่ยนผู้นำ รัฐบาลใหม่ ที่ไม่ใช่เผด็จการ วอนคนทั่วโลกสนับสนุนล้มระบอบ "ฮุนเซน"





นายสเร ณัฐศร องค์กรพลังประชาชนเขมร กล่าวว่า ส่งครามไม่ใช่สิ่งที่ดี มีแต่สร้างความเลวร้ายให้กับประชาชน ฮุนเซน บ้าสงคราม เพราะ ต้องการได้ประโยชน์จากสงคราม ฮุนเซนเป็นเผด็จการถูกครอบงำโดยคอมมิวนิสต์จากรัฐบาลเวียดนามอีกชั้นหนึ่ง ทุกอย่างเป็นไปด้วยการครอบงำของนโยบายคอมมิวนิสต์เวียดนาม คนไทยและกัมพูชา เป็นคนที่มีสีเนื้อเหมือนกัน เป็นคนพุทธเหมือนกัน และเราต่างไม่ต้องการสงคราม เราต้องการความร่วมมือระหว่างไทยกับกัมพูชา ประเทศกัมพูชาต้องการการสนับสนุนจากคนไทยและคนทั่วโลก เพื่อต่อต้านรัฐบาลกัมพูชาภายใต้การครอบงำของคอมมิวนิสต์จากเวียดนาม
      
       “องค์กรพลังประชาชนเขมร ขณะนี้มีหลายพื้นที่ทั่วโลกทั้งในประเทศ สหรัฐเอมริกา แคนาดา นิวซีแลนด์ ยุโรป มีหลายพื้นที่มาก เราจะทำงานอย่างเข้มแข็ง เพื่อต่อต้านกับฮุนเซน ที่เป็นเผด็จการและอยู่ภายใต้การครอบงำของคอมมิวนิสต์ วันนี้ปราศจากการช่วยเหลือจากคนไทย เราไม่สามารถต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ฮุนเซนได้ เพราะอยู่ภายใต้การครอบงำของอีกประเทศหนึ่ง”
      
       นายสเร กล่าวว่า ฮุนเซน เป็นบุคคลชอบสงคราม ละเมิดสิทธิมนุษย์ชน และฆ่าคนจำนวนมาก แต่โลกไม่เหมือนเดิม การเปลี่ยนแปลงในอาหรับ ไม่ว่าจะอียิปต์ ลิเบีย ตูนีเซีย เราต้องการปลุกให้ประชาชนลุกขึ้นมาต่อสู้กับฮุนเซน ประชาชนที่มีข้อมูลมากพอจะทำให้เราสามารถต่อสู้กับเผด็จการฮุนเซนได้ เราจะออกไปดำเนินการทั้งภายในและภายนอกประะทศ เพื่อให้ได้ประชาธิปไตยกลับคืนมา ต่อต้านเผด็จการและต่อต้านรัฐบาลคอมมิวนิสต์ในรัฐบาลกัมพูชา ทั้งนี้องค์กรพลังประชาชนเขมรในอเมริกา ได้จับมือเป็นพันธมิตรกลับหลายประเทศ เพื่อต่อต้านระบอบฮุนเซน เราต้องการผู้นำคนใหม่ที่ไม่ใช่ฮุนเซน เราต้องการรัฐบาลใหม่และรอบบอการปกครองใหม่ที่ไม่ใช่เผด็จการ เราต้องการการสนับสนุนจากคนไทยทุกคนและคนทั่วโลก
      
       ทั้งนี้ ฮุนเซน เป็นนายกที่เอาแต่ผลประโยชน์เอื้อพวกพ้องตัวเอง ทำให้คนกัมพูชาต้องอดอยากและต้องไปตาย ครอบครัวเขาพยายามกระชับอำนาจเพื่อครอบครองกัมพูชาตลอดกาลอย่างไม่มีกำหนดเวลา เราไม่สามารถรอให้ฮุนเซนแก่ตายได้ เราต้องการเอาฮุนเซนออกจากตำแหน่งโดยเร็ว เพื่อสร้างระบบการปกรอง สร้างรัฐบาลและผู้นำใหม่ เราไม่ต้องการให้กัมพุชาอยู่ภายใต้การครอบงำโดยคอมมิวนิสต์และจีนผู้อยู่เบื้องหลังฮุนเซน เราต้องการการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โลกไม่เหมือนเดิมและกัมพูชาจะต้องไม่เหมือนเดิม
      
       อย่างไรก็ดี ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคต เราต้องการให้กัมพูชาเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง และเราต้องการที่จะเปลี่ยนมัน เราจะจับมือกับคนไทยและทุกคนในโลก เราขอความสนับสนุจากทุกคน เพื่อต่อต้านระบอบฮุนเซน และเราต้องการนำตัว ฮุนเซน ไปขึ้นศาลโลก ฮุนเซนฆ่าคนจำนวนมากและไม่เคยเคารพสิทธิมนุษย์ชน เขาต้องถูกพิพากษาโดยศาลโลกโดยเช่นเดียวกัน
      
       นายสเร กล่าวทิ้งท้ายว่า เราเป็นเพื่อนบ้านที่ดี เราเป็นชาติที่ดี เราจะร่วมมือกัน อย่าให้คอมมิวนิสต์เข้ามาแทรกแซงในประเทศของเรา(กัมพูชา) เราจะลุกขึ้นยืนด้วยกัน เรารักเสรีภาพ รักประชาธิปไตย เราต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ ต่อสู้กับเผด็จการ หากเราไม่ลุกขึ้น จะไม่สามารถต่อสู้คอมมิวนิสต์ในกัมพูชาได้ วันนี้คอมมิวนิสต์เข้ามาแทรกแซงในกัมพูชาและมีอิทธิพลต่อประเทศไทยด้วย ฉะนั้น เราต้องลุกขึ้นต่อสู้ดัวยกัน โลกต้องการการปลี่ยนแปลง คอมมิวสนิสต์ถึงเวลาหยุดได้แล้ว เราต้องการผู้นำใหม่ ที่รักประชาชน รักเสรีภาพ ทำให้ประชาชนมีเสรีภาพที่แท้จริง

จับพิรุธวิธีขี้โกงของช่างแผนที่ฝรั่งเศส ในระวาง DANGREK (ดงรัก) ค.ศ. 1908

ถ้าพิสูจน์ได้ว่า ฝรั่งเศสทำแผนที่ระวาง DANGREK (ดงรัก) ค.ศ. 1908 คลาดเคลื่อนจากภูมิประเทศจริง กัมพูชาจะทำใจยอมรับได้ไหม ยิ่งถ้าใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ในการตรวจสอบความถูกต้องของภูมิประเทศในแผนที่ ก็จะทราบอย่างง่ายดายว่า จากช่องสะงำไปทางตะวันออกจนถึงเขาพระวิหาร ตรงตำแหน่งหน้าผาเป้ยตาดีนั้น ฝรั่งเศสเลื่อนภูมิประเทศที่เป็นแนวหน้าผาของเทือกเขาพนมดงรัก ล้ำเข้ามาในดินแดนไทย 1.98 km แถมยังเขียนเส้นเขตแดนในแผนที่ ล้ำตำแหน่งหน้าผาเป้ยตาดี (จริง) เข้ามาในดินแดนไทยมากถึง 4.49 km








เส้นแดง คือ แนวขอบหน้า​ผาต่างระดั​บตามภูมิประ​เทศจริง
เส้นเขียว คือ แนวขอบหน้า​ผาต่างระดั​บที่ฝรั่งเศ​สจงใจเขียน​ให้กระดกขึ้​นทางตะวันอ​อก (ด้านเขาพระ​วิหาร)
ส่งผลให้กระ​ดกลงทางตะวั​นตก (ช่องสะงำ-​ช่องโอสะมั​ค)
เส้นม่วง คือ เส้นเขตแดน​ที่ฝรั่งเศ​สเขียนล้ำดิ​นแดนไทยเพื่​อเอาเขาพระ​วิหาร
คลิกปุ่มลู​กศรซ้าย = ภาพ Google Maps แสดงแนวขอบ​หน้าผาต่าง​ระดับตามภู​มิประเทศจริ​ง
                                                                                                             
(สังเกต: เส้นแดงของ​ทั้ง 2 ภาพ ทับกันพอดี​)


          















ดูให้ดีแล้วจะเห็นว่า ฝรั่งเศสขี้โกงโดยใช้ช่องสะงำเป็นจุดหมุน ดังนี้คือ เส้นเขียว (แนวขอบหน้าผาที่ฝรั่งเศสเขียนคลาดเคลื่อน) ที่กระดกขึ้นทางตะวันออกของช่องสะงำนั้น คือ เส้นที่ฝรั่งเศสวาดตำแหน่งเขาพระวิหาร (เป้ยตาดี) ล้ำขึ้นมาในดินแดนไทย 1.98 ...km ซึ่งส่งผลให้เส้นเขียวทางตะวันตกของช่องสะงำ (จุดหมุน) กระดกลงต่ำกว่า เส้นแดง (แนวขอบหน้าผาตามภูมิประเทศจริง) ล้ำลงไปในดินแดนกัมพูชา 2.43 km … ความฉลาดแกมโกงของคนฝรั่งเศสที่วาดแผนที่ระวาง DANGREK (ดงรัก) ค.ศ. 1908 เขาจึงเขียนเส้นเขตแดนในแผนที่ขาดตอนไว้เพียง จากช่องสะงำไปทางตะวันออกถึงเขาพระวิหาร แต่จากช่องสะงำไปทางตะวันตก (ถึงช่องโอสะมัค) กลับเว้นว่างไว้ ทั้งนี้เพราะ ถ้ามีการเขียนเส้นเขตแดนไปทางตะวันตกของช่องสะงำ (จุดหมุนในกระดาษไข) เส้นเขตแดนก็ต้องกระดกลงต่ำกว่า เส้นแดง (แนวขอบหน้าผาตามภูมิประเทศจริง) ล้ำลงไปในดินแดนกัมพูชาแน่ๆ

ภาพแสดง: ความคลาดเคลื่อนของเขาพระวิหาร ในแผนที่ระวางดงรัก (DANGREK) ค.ศ. 1908 ที่ฝรั่งเศสทำขึ้นเองฝ่ายเดียว

เส้นสีเทาแนวนอน: เส้นรุ้ง(Latitude) 14 องศา 20 ลิปดา เหนือ (N)
เส้นสีเทาแนวตั้ง: เส้นแวง(Longitude) 104 องศา 40 ลิปดาตะวันออก (E)
เส้นสีม่วง: เส้นเขตแดนประเทศที่ฝรั่งเศสเขียนคลาดเคลื่อน
เส้นสีแดง: แนวขอบหน้าผาต่างระดับตามภูมิประเทศจริง
เส้นสีน้ำเงิน: หน้าผาเป้ยตาดีจริงแตกต่างกับหน้าผาเป้ยตาดีในแผนที่ 1.98 km
เส้นสีฟ้าอมเขียว: หน้าผาเป้ยตาดีในแผนที่แตกต่างกับเส้นเขตแดนในแผนที่ 2.51 km
รวมเส้นสีน้ำเงินและเส้นสีฟ้าอมเขียว เป็นระยะทาง 4.49 kmด้วย




ท่านใดที่เคยใช้กระดาษไขในการวาดภาพ เขียนแบบ หรือทำแผนที่ ก็ลองนึกภาพดูสิครับว่า จุดที่ช่างแผนที่ฝรั่งเศสใช้เป็นจุดหมุน เพื่อเลื่อนแนวหน้าผาของเทือกเขาพนมดงรัก ในขั้นตอนการทำแผนที่ขี้โกงฉบับระวาง DANGREK (ดงรัก) ค.ศ. 1908 นั้น น่าจะใช่ ช่องสะงำ หรือไม่ ?

แผนที่ฝรั่งเศส ค.ศ. 1908 จงใจเลื่อนตำแหน่งเขาพระวิหารหรือไม่ ?โดย Chayut Ratanapong

เส้นสีแดงคือแนวขอบหน้าผาต่างระดับที่น่าจะตรงกับคำว่า "จนบรรจบภูเขาผาต่าง" ใน ข้อ 1 ของอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เส้นสีแดงนี้ได้มาจากภาพแผนที่ของ Google Earth ซึ่งถ่ายระยะไกลจากดาวเทียมด้วยความละเอียดสูง จึงมีความแม่นยำมากกว่าแผนที่ทหาร (Datum: Indian Thailand) มาตราส่วน 1: 50,000

เมื่อเทียบระยะกับเส้นรุ้ง-เส้นแวง ก็สังเกตได้ชัดว่า เส้นชั้นความสูงที่เป็นรูปร่างของเขาพระวิหารนั้น ถูกฝรั่งเศสเขียนให้ผิดตำแหน่ง โดยหน้าผาเป้ยตาดีผิดตำแหน่งจาก Latitude   14 องศา 23.3794 ลิปดา เป็น 14 องศา 24.3616 ลิปดา ซึ่งล้ำดินแดนสยาม 1.98 กิโลเมตร

ฝรั่งเศสเขียนเส้นเขตแดนโดยเทียบระยะกับรูปร่างของภาพที่เป็นแนวหน้าผา … เมื่อแนวหน้าผาล้ำดินแดนขึ้นมาในแนว Latitude แนวเส้นเขตแดนจึงย่อมล้ำดินแดนขึ้นมาด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ฝรั่งเศสเขียนเส้นเขตแดนบริเวณเขาพระวิหารล้ำแนวเป้ยตาดีเข้ามาในดินแดนสยาม 2.51 กิโลเมตร

การเขียนรูปร่างภูมิประเทศให้ผิดตำแหน่ง Latitude เช่นนี้ ฝรั่งเศสจะจงใจหรือไม่ก็ตาม แต่มีผลให้รู้สึกว่า แนวเส้นเขตแดนล้ำดินแดนสยามไม่มาก … แต่ในการปักปันเขตแดนจำต้องปักหลักเขตแดนตาม Coordinate ของเส้นรุ้งเส้นแวง ฉะนั้น เส้นเขตแดนในแผนที่ฝรั่งเศส ค.ศ. 1908 จึงล้ำเป้ยตาดีเข้ามาในดินแดนไทยมากถึง 4.49 กิโลเมตร

ผมใช้เวลาหลายวันในการตรวจสอบแผนที่ระวางดงรัก ค.ศ. 1908 เปรียบเทียบกับ Google Maps Viewer และ Google Earth ด้วยโปรแกรมจัดการแผนที่ OziExplorer และพบความบกพร่องที่น่าจะเกิดจากความไม่สุจริตในการทำแผนที่ ดังนี้

1. หลังจากจัดทำภาพแสดงกรอบระวางโขง-ดงรัก ค.ศ. 1904 และกรอบระวางดงรัก ค.ศ. 1908 พบว่า: ฝรั่งเศสระบุค่าเส้นแวง (Longitude) ผิดทั้ง 4 เส้น โดยน้อยกว่าค่าจริงถึง 2 องศา 20 ลิปดา
 ภาพแสดง: กรอบระวางโขง-ดงรัก ค.ศ. 1904 และกรอบระวางดงรัก ค.ศ. 1908

ผมถอดพิกัดด้วย Datum: Indian Thailand มาตีกรอบทับแผนที่ Google
กรอบดำ: ระวางโขง ตามอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1904
กรอบน้ำเงิน: ระวางดงรัก ตามอนุสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1904
กรอบแดง: ระวางดงรัก ที่ฝรั่งเศสทำขึ้นเองฝ่ายเดียว ค.ศ. 1908
หมายเหตุ: แผนที่ระวางดงรัก ค.ศ. 1908 (ที่ฝรั่งเศสทำเองฝ่ายเดียว) มีเส้นแวง (Longitude) 4 เส้น แต่ระบุค่าผิดทุกเส้น โดยระบุน้อยกว่าค่าจริงถึง 2 องศา 20 ลิปดา
ฝรั่งเศสระบุผิดเป็น: 101 20', 101 40', 102 00', 102 20'
ค่า Longitude จริง: 103 40' 104 00' 104 20' 104 40'
2. หลังจากวางแนวหน้าผาต่างระดับของเทือกเขาพนมดงรักลงในแผนที่ระวางดงรัก ค.ศ. 1908 โดยเทียบกับเส้นรุ้งเส้นแวง  พบว่า: แนวเส้นชั้นความสูงที่แสดงรูปร่างหน้าผาของเทือกเขาพนมดงรักนั้น มีความคลาดเคลื่อนจากภูมิประเทศจริงซึ่งแสดงด้วยเส้นสีแดง ซึ่งเป็นแนวขอบหน้าผาต่างระดับที่น่าจะตรงกับคำว่า "จนบรรจบภูเขาผาต่าง" ใน ข้อ 1 ของอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 … โดยหน้าผา "เป้ยตาดี" ถูกเขียนให้ล้ำดินแดนสยาม 1.98 กิโลเมตร และฝรั่งเศสยังเขียนเส้นเขตแดนบริเวณเขาพระวิหารล้ำแนวเป้ยตาดีเข้ามาในดินแดนสยามอีก 2.51 กิโลเมตร รวมเป็น 2 เด้ง ฉะนั้น เส้นเขตแดนในแผนที่ระวางดงรัก ค.ศ. 1908 (ที่ฝรั่งเศสทำขึ้นเองฝ่ายเดียว) จึงล้ำเป้ยตาดีเข้ามาในดินแดนไทยมากถึง 4.49 กิโลเมตร



ภาพแสดง: เส้นแนวขอบหน้าผาต่างระดับ
 (เส้นสีแดง) ที่น่าจะตรงกับคำว่า "จนบรรจบภูเขาผาต่าง" ใน ข้อ 1 ของอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1904 เส้นสีแดงนี้ได้มาจากภาพแผนที่ของ Google Earth ซึ่งถ่ายระยะไกลจากดาวเทียมด้วยความละเอียดสูง จึงมีความแม่นยำมากกว่าแผนที่ทหาร (Datum: Indian Thailand) มาตราส่วน 1: 50,000
… เมื่อเทียบระยะกับเส้นรุ้ง-เส้นแวง ก็สังเกตได้ชัดว่า "เส้นชั้นความสูง" ที่เป็นรูปร่างของเขาพระวิหารนั้น ถูกฝรั่งเศสเขียนให้ผิดตำแหน่ง โดยหน้าผาเป้ยตาดีผิดตำแหน่งจาก Latitude 14 องศา 23.3794 ลิปดา เป็น 14 องศา 24.3616 ลิปดา ซึ่งล้ำดินแดนสยาม 1.98 กิโลเมตร

… ฝรั่งเศสเขียนเส้นเขตแดน โดยเทียบระยะกับรูปร่างของภาพที่เป็นแนวหน้าผา … เมื่อแนวหน้าผาล้ำดินแดนขึ้นมาในแนว Latitude แนวเส้นเขตแดนจึงย่อมล้ำดินแดนขึ้นมาด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ฝรั่งเศสเขียนเส้นเขตแดนบริเวณเขาพระวิหาร ล้ำจุดเป้ยตาดี (ในแผนที่) เข้ามาในดินแดนสยาม 2.51 กิโลเมตร

… การเขียนรูปร่างภูมิประเทศให้ผิดตำแหน่ง Latitude เช่นนี้ ฝรั่งเศสจะจงใจหรือไม่ก็ตาม แต่มีผลให้รู้สึกว่า แนวเส้นเขตแดนล้ำดินแดนสยามไม่มาก … แต่ในการปักปันเขตแดนจำต้องปักหลักเขตแดนตาม Coordinate ของเส้นรู้งเส้นแวง

… ฉะนั้น เส้นเขตแดนในแผนที่ฝรั่งเศส ค.ศ. 1908 จึงล้ำหน้าผาเป้ยตาดี (ในภูมิประเทศจริง) เข้ามาในดินแดนไทยมากถึง 4.49 กิโลเมตร
ภาพแสดง: ความคลาดเคลื่อนของเขาพระวิหาร ในแผนที่ระวางดงรัก (DANGREK) ค.ศ. 1908 ที่ฝรั่งเศสทำขึ้นเองฝ่ายเดียว

เส้นสีเทาแนวนอน: เส้นรุ้ง(Latitude) 14 องศา 20 ลิปดา เหนือ (N)
เส้นสีเทาแนวตั้ง: เส้นแวง(Longitude) 104 องศา 40 ลิปดาตะวันออก (E)
เส้นสีม่วง: เส้นเขตแดนประเทศที่ฝรั่งเศสเขียนคลาดเคลื่อน
เส้นสีแดง: แนวขอบหน้าผาต่างระดับตามภูมิประเทศจริง
เส้นสีน้ำเงิน: หน้าผาเป้ยตาดีจริงแตกต่างกับหน้าผาเป้ยตาดีในแผนที่ 1.98 km
เส้นสีฟ้าอมเขียว: หน้าผาเป้ยตาดีในแผนที่แตกต่างกับเส้นเขตแดนในแผนที่ 2.51 km
รวมเส้นสีน้ำเงินและเส้นสีฟ้าอมเขียว เป็นระยะทาง 4.49 km
ภาพแสดง: ความคลาดเคลื่อนของ หน้าผาเทือกเขาพนมดงรัก ในแผนที่ระวางดงรัก (DANGREK) ค.ศ. 1908 ที่ฝรั่งเศสทำขึ้นเองฝ่ายเดียว

เส้นแดง คือ แนวขอบหน้าผาต่างระดับตามภูมิประเทศจริง
เส้นเขียว คือ แนวขอบหน้าผาต่างระดับที่ฝรั่งเศสจงใจเขียนให้คลาดเคลื่อน

ในเมื่อแนวเทือกเขาพนมดงรักในแผนที่ฝรั่งเศส ระวางดงรัก ค.ศ. 1908 คลาดเคลื่อนตั้งหลายกิโลเมตรเช่นนี้
… ช่วยวิเคราะห์กันดูเถิดว่า ถ้ายังปล่อยให้กัมพูชาเลือกนำมาใช้เฉพาะจุดที่เขาได้เปรียบแล้ว จะปักปันเขตแดนกันได้ตลอดรอดฝั่ง หรือว่าจะพิพาทกันไม่รู้จบ
… แล้วที่ฝรั่งเศสเขียนแนวหน้าผาล้ำเข้าไปในดินแดนกัมพูชาหล่ะ จะยอมให้ไทยปักปันเขตแดนตามแผนที่ฝรั่งเศสด้วยไหม ?
ภาพแสดง: เส้นเขตแดนที่เขียนไม่ครบในแผนที่ระวางดงรัก (DANGREK) ค.ศ. 1908 ที่ฝรั่งเศสทำขึ้นเองฝ่ายเดียว

เส้นแดง คือ แนวขอบหน้าผาต่างระดับตามภูมิประเทศจริง
เส้นเขียว คือ แนวขอบหน้าผาต่างระดับที่ฝรั่งเศสจงใจเขียนให้กระดกขึ้นทางตะวันออก (ด้านเขาพระวิหาร) ส่งผลให้กระดกลงทางตะวันตก (ช่องสะงำ-ช่องโอสะมัค)
เส้นม่วง คือ เส้นเขตแดนที่ฝรั่งเศสเขียนล้ำดินแดนไทยเพื่อเอาเขาพระวิหาร

… แผนที่ฝรั่งเศส ค.ศ. 1908 นั้น มีข้อพิรุธที่สำคัญมาก คือ มีการเขียนเส้นชั้นความสูงเป็นรูปแนวหน้าผาของเทือกเขาพนมดงรักจนเต็มแผ่นระวางดงรัก (เส้นเขียว) แต่เขียนเส้นเขตแดน (เส้นม่วง) ไว้เพียงแค่ 2 ใน 3 เท่านั้น โดยเว้นไว้ในส่วนที่เขียนเทือกเขาพนมดงรักถอยลงไปอยู่ในดินแดนกัมพูชา (ต่ำกว่าเส้นแดงซึ่งเป็นแนวขอบหน้าผาของเทือกเขาพนมดงรัก)
… คล้ายกับว่าในตอนทำต้นฉบับแผนที่แผ่นระวางดงรักนี้ ได้มีการเลื่อนกระดาษไขด้านขวา (ทิศตะวันออก) ให้เส้นเขตแดนบริเวณเขาพระวิหารล้ำขึ้นไปในดินแดนสยาม
… แต่พอเส้นเขตแดนด้านซ้าย (ทิศตะวันตก) จะกระดกลงต่ำกว่าแนวจริงของขอบหน้าผา (เส้นแดง) ซึ่งอยู่ลึกลงไปในดินแดนกัมพูชาประมาณ 4 กิโลเมตร ฝรั่งเศสก็เว้นการเขียนเส้นเขตแดนอย่างไม่น่าเกิดขึ้นสำหรับการทำแผนที่บริเวณพรมแดน
… ทั้งๆ ที่ได้มีการปักปันหลักเขตแดนตั้งแต่ช่องสะงำ ผ่านช่องโอสะมัคไปทางบุรีรัมย์ จนสิ้นสุดที่ อ.คลองใหญ่ จ.ตราด แล้วเสร็จตั้งแต่ปี ค.ศ. 1907

ผ่าพิสูจน์ประวัติศาสตร์..จากไทยกู้เกียรติศักดิ์

ไทยกู้เกียรติศักดิ์ เป็นหนังสือพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพ หลวงวิชิตสมรรถการ(รัตน์ ยมะสมิต) วันที่ ๔ เมษายน ๒๔๘๔ 
ซึ่งในคำปรารภที่เขียนให้โดย พล.ต. ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีขณะนั้นว่า หนังสือเล่มนี้เป็นตำนานเดี่ยวกับกรณีพิพาทระหว่างไทยกับอินโดจีน กรณีพิพาทเรื่องดินแดนระหว่างประเทศเรากับอินโดจีนฝรั่งเศส ซึ่งขณะนั้นก็ยังมีกรณีพิพาทกันยังไม่รู้จะสิ้นสุดเมื่อใด….
พลิกอ่านในหนังสือนี้ มีเรื่องประวัติการเสียดินแดนแก่ฝรั่งเศสที่ได้รวบรวบไว้

โดยระบุว่า การเสียดินแดนของไทย ให้แก่ฝรั่งเศส โดยการเสียเขมร เริ่มในวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๔๐๖ โดยพระนโรดมพระเจ้าแผ่นดินของเขมร ได้ทำสัญญายอมอยู่ใต้อารักขาฝรั่งเศส โดยทางฝรั่งเศสโฆษณาว่า การที่พระนโรดมทำเช่นนั้นด้วยความสมัครใจและเพราะอยู่ใต้อารักขาไทยไม่ผาสุก
พิธีเปิดอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ๒๔ มิถุนายน ๒๔๘๓
ไทยขอปรับปรุงเขตแดนกับกับฝรั่งเศส ๒๔๘๓
แต่เอกสารที่มีในประเทศไทยลายพระหัตถ์สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี มีมากราบทูลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพ.ศ. ๒๔๐๓ สามปีก่อนตกอยู่ในอารักขาของฝรั่งเศส และ ในปี ๒๔๐๖ หลังเข้าอยู่ใต้อารักขาฝรั่งเศส มีข้อความขัดแย้งกัน
แผนที่แนบท้ายหนังสือประวัติการเสียดินแดนแก่ฝรั่งเศศ
แนบท้ายหนังสือไทยกู้เกียรติศักดิ์

หนังสือเล่มที่๒ เป็นหนังสือสัญญา กรุงสยามกับฝรั่งเศส ร.ศ.๑๒๒ นำมาให้ชมกันค่ะ
เนื้อหา หนังสือสัญญา กรุงสยามกับฝรั่งเศส ร.ศ.๑๒๒
ต่อมาอีก ๔ ปี ฝรั่งเศสได้บังคับให้ไทยทำสัญญารับรองอารักขาของฝรั่งเศสในแดนเขมร ลงวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๔๑๐ นั่นคือการเสียดินแดนให้ฝรั่งเศสครั้งที่๑

ในครั้งที่๒ เสียแคว้นสิบสองจุไทย ที่เกิดเรื่องราวปราบฮ่อ แคว้นสิบสองจุไทยก็กลายเป็นของฝรั่งเศส ตั้งแต่พ.ศ.๒๔๓๑
ไทยเสียดินแดนให้ฝรั่งเศสถึง๕ครั้งโดยครั้งที่๕ เสียพระตะบอง เสียมราฐและศรีโสภณ โดยสัญญาลงวันที่ ๒๓ มีนาคม ๒๔๔๙
ต่อมาก็มีการเจรจาขอปรับปรุงเขตแดนกับฝรั่งเศส โดยเมื่อเดือนสิงหาคม ๒๔๘๒
ฝ่ายฝรั่งเศสได้ขอทาบทามมายังไทย ให้มีการเจรจาปรับปรุงเขตแดนตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ครั้นเมื่อเกิดสงครามยุโรป ฝรั่งเศสขอเจรจาสงบศึกเยอรมันและมีการปักปันเขตกันตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ไทยเราเป็นประเทศเล็ก การเจรจาอย่างไรโดยสันติวิธีก็ไม่เป็นผลสำเร็จ ฝรั่งเศสมีการรุกรานเขตแดนไทย ความผันผวนของเหตุการณ์ทวีความคับขันจนเกิดเป็ฯกรณีพิพาท
เราเสียดินแดนให้ประเทศล่าอาณานิคมมาแล้วแต่ในอดีตหลายครั้ง คนไทยเราทุกคน คงไม่อยากให้มีการสูญเสียอีก
ข้อเท็จจริงกรณีเขาพระวิหารเป็นอย่างไรกรณีพิพาทที่ยืดเยื้อ และเกี่ยวเนื่องจากเกร็ดประวัติศาสตร์ข้างต้น จนเกิด การยื่นฟ้องต่อศาลโลก เมื่อปี ๒๕๐๕

เรื่องจริง! ที่เกิดขึ้น...ปีพุทธศักราช 2501


            เรื่องจริง! ที่เกิดขึ้น...ปีพุทธศักราช 2501
      ธงชาติไทย..กับอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนปราสาทพระวิหาร..หลักฐานที่ชาติไทย..คนไทยสามารถแสดงให้ปรากฎต่อชาวโลกได้เช่นกัน         ณ ช่วงเวลานั้น มีคนไทยกลุ่มหนึ่งหาญกล้ามุ่งหน้าสู่....
ผืนแผ่นดินปราสาทพระวิหาร  ช่วงชายแดนรอยต่อของไทยกับเขมร
 

เมื่อปีพุทธศักราช 2501  มีเหตุการณ์พิพาทเกิดขึ้นระหว่างไทยกับกัมพูชา (เขมร)  กรณีเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือดินแดนปราสาทพระวิหาร

เราจึงต้องใช้คำว่า..หาญกล้า  กับพวกเขา..ที่กล้าเผชิญภัย
ข้างหน้า  โดยไม่หวั่นกลัว อะไรจะเกิดขึ้น เมื่อต้องอยู่ในดินแดน
ที่กำลังเกิดเรื่องพิพาทกัน พวกเขากลับมุ่งมั่น ต่อความคิด
ความต้องการ  ด้วยจิตสำนึกรักชาติ  เพื่อบันทึกภาพประวัติศาสตร์ เหตุการณ์..ที่เกิดขึ้นเหนือดินแดนปราสาทพระวิหาร  ช่วงเวลานั้น

พวกเขาเดินทางไปที่นั่น...ดินแดนปราสาทพระวิหาร เพื่อ
ถ่ายทำภาพยนตร์ไทยเรื่อง "แผ่นดินของใคร" (เดิมใช้ชื่อเรื่องว่า
แผ่นดินฉกรรจ์)

ทั้ง ๆ ที่  ณ ช่วงเวลานั้น.....

พุทธศักราช 2501 ไทยกับกัมพูชามีข้อพิพาทกรณี
กรรมสิทธิ์เหนือปราสาทพระวิหาร

วันที่ 4 สิงหาคม  2501 รัฐบาลไทยประกาศสถานการณ์
ฉุกเฉินทางชายแดนไทยด้านกัมพูชา  รวม 5 จังหวัด คือ จันทบุรี สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และอ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี

วันที่ 1 ธันวาคม  2501  รัฐบาลกัมพูชาตัดสัมพันธ์ทาง
การทูตกับไทย  หลังจากที่การเจรจาไม่บรรลุผล

ต่อมาเมื่อ วันที่ 6 ตุลาคม 2502 กัมพูชาได้ยื่นฟ้องต่อ
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ขอศาลวินิจฉัยให้ไทยถอนกำลังออกจากเขาพระวิหาร  และชี้ขาดเกี่ยวกับอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหาร

....15 มิถุนายน พ.ศ. 2505   ศาลโลกได้มีคำตัดสินพิพากษาให้ปราสาทเขาพระวิหาร เป็นของกัมพูชา......

          ประเด็นทางกฎหมาย  ตามที่มาจาก มติชนออนไลน์ มีดังนี้
          “ ตามคําร้องของกัมพูชาที่สำคัญ  ที่ให้ศาลโลกวินิจฉัยคือประเด็นที่ว่า กัมพูชามีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนอันเป็นที่ตั้งของปราสาทพระวิหาร

           โดยสรุป ไทยแพ้ในประเด็นเรื่องของแผนที่ที่ไทยได้
ร้องขอให้ทางฝรั่งเศสจัดทำขึ้น เพราะไทยขาดผู้เชี่ยวชาญ 
แม้ประเทศไทยจะไม่มีส่วนในการทำแผนที่ แต่ประเทศไทยก็ไม่เคยคัดค้านหรือประท้วงเกี่ยวกับความถูกต้องของแผนที่ ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยมีโอกาสอยู่หลายครั้งที่จะทักท้วงหรือประท้วงถึงความคลาดเคลื่อนหรือความผิดพลาดของแผนที่

          ซึ่งศาลโลกเห็นว่า การนิ่งเฉยของประเทศไทยเป็นเวลานานเท่ากับเป็นการยอมรับความถูกต้องของแผนที่แล้ว จะมาปฏิเสธใน
ภายหลังนั้น ไม่อาจกระทำได้


           เหตุผลอีกประการหนึ่งที่ศาลโลกเห็นว่า ประเทศไทยยอมรับอำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเหนือที่ตั้งปราสาทพระวิหารก็คือ การที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ไปเยือนกึ่งเป็นทางการที่ปราสาทพระวิหาร ในครั้งนั้น กองทหารฝรั่งเศสได้ตั้งกองทหารเกียรติยศรับการเสด็จอย่างเต็มที่ และยังชักธงชาติของประเทศฝรั่งเศสด้วย

ซึ่งศาลโลกเห็นว่า  เท่ากับประเทศไทยยอมรับอำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารว่าเป็นของกัมพูชา (ภายใต้
การปกครองของฝรั่งเศส) "
 
จริงหรือ..ที่คนไทย...ประเทศไทย        ยอมรับตามที่
ศาลโลกวินิจฉัยถึงการที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพเยือนปราสาทพระวิหาร...และธงชาติฝรั่งเศส

เชิญอ่านได้ ณ บัดนี้...


             

                

            ย้อนรอยอดีตกลับไปเมือปีพุทธศักราช 2501 

อ้างเดิม

นัยสำคัญ...ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
บรรพ 4 ลักษณะ 2  เรื่องกรรมสิทธิ์  หมวด 1 การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์


            มาตรา 1310  บุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่น
โดยสุจริตไซร้  ท่านว่าเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของโรงเรือนนั้นๆ .........


            และหมวด 2 แดนแห่งกรรมสิทธิ์ และการใช้กรรมสิทธิ์ 
ลักษณะ 3 ครอบครอง

             มาตรา 1367  บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินโดยเจตนาจะ
ยึดถือเพื่อตน  ท่านว่าบุคคลนั้นได้ซึ่งสิทธิครอบครอง


            มาตรา 1368  บุคคลอาจได้มาซึ่งสิทธิครอบครองโดยผู้อื่นยึดถือไว้ให้


            มาตรา 1369  บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินไว้  ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลนั้นยึดถือเพื่อตน


            มาตรา 1370  ผู้ครอบครองนั้น  ท่านให้สันนิษฐานไว้
ก่อนว่าครอบครองโดยสุจริต  โดยความสงบและโดยเปิดเผย


            มาตรา 1371  ถ้าพิสูจน์ได้ว่าบุคคลใดครอบครองทรัพย์สินเดียวกันสองคราว  ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลนั้นได้ครอบครองติดต่อกันตลอดเวลา


            มาตรา 1375  ถ้าผู้ครอบครองถูกแย่งการครอบครอง
โดยมิชอบด้วยกฎหมายไซร้  ท่านว่าผู้ครอบครองมีสิทธิจะได้คืนซึ่ง
การครอบครอง  เว้นแต่อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินดีกว่า  ซึ่งจะเป็นเหตุให้เรียกคืนจากผู้ครอบครองได้....


           ณ เวลานั้น ปีพุทธศักราช 2501  ได้เกิดข้อพิพาทขึ้นระหว่างไทยกับเขมร  ในการอ้างสิทธิอธิปไตยเหนือดินแดนเขาพระวิหาร



กลุ่มชาวไทยจำนวนหนึ่ง เป็นทีมงานสร้างภาพยนตร์ไทย เรื่อง แผ่นดินของใคร กลับฮึกเหิม กล้าหาญ ไม่ย่อท้อ หวั่นเกรงภยันตรายใด ๆ พวกเขาร่วมใจเดียวกัน รักหวงแหนผืนแผ่นดินไทย  พากันเดินทางบุกบั่นฝ่าดินแดนเขาพระวิหาร  เพื่อเข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์ โดยใช้เวลาเป็นแรมเดือน  ถ่ายทำในสถานที่จริง 
...ณ ดินแดนเขาพระวิหาร  (หลักฐานอ้างจากวันที่ระบุไว้
หลังรูปภาพถ่าย..ธันวาคม 2501)

            เป็นหลักฐานที่บ่งชี้เจตนารมณ์  และสำนึกรักแผ่นดิน  หนึ่งในหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ไทย

 

ฉลอง  กลิ่นพิกุล  เป็นช่างถ่ายภาพยนตร์ ได้ลำดับภาพฟิล์มหนัง  และเก็บภาพนิ่งเบื้องหลังการถ่ายทำไว้  หลังภาพถ่ายระบุวันเดือนปี  คือ ธันวาคม 2501  ข้ามปีมาจนถึงปี พ.ศ. 2502  การถ่ายทำภาพยนตร์จึงเสร็จสมบูรณ์  ใช้เวลาการถ่ายทำ  เหนือผืนแผ่นดินปราสาทพระวิหาร  ต่อเนื่องกันหลายเดือน 



ภาพยนตร์เรื่อง แผ่นดินของใคร  เป็นภาพยนตร์ฟิล์ม
16 มม.  นำออกฉายเป็นทางการเมื่อวันที่  24 พฤศจิกายน 2502   เปิดฉายถึง 4 ธันวาคม พ.ศ. 2502  ที่โรงภาพยนตร์พัฒนากร  
นำแสดงโดย ทักษิณ แจ่มผล    แมน ธีระพล  วิชิต ไวงาน  เชาว์ แคล่วคล่อง  สมพงษ์ กงสุวรรณ  สุทิน บัณฑิตกุล  
สมชาย ปัญทรางกูร
  แสดงประกอบโดย วิไลวรรณ วัฒนพานิช   ปรียา รุ่งเรือง (ซึ่งต่อมาปรียา  รุ่งเรือง ได้รับฉายาอันโด่งดังว่า
นางเอกหนังอกเขาพระวิหาร และแสดงนำในตำนานภาพยนตร์ไทยเรื่องแม่นาคพระโขนง) หนังพากย์โดย สมพงษ์ พิมพ์พร-สายพิณ
และสีเทา

คณะผู้ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง แผ่นดินของใคร  ได้บันทึกภาพเบื้องหลังการถ่ายทำ เป็นภาพขาวดำ โดยช่างถ่ายภาพยนตร์
เรื่องนี้คือ ฉลอง  กลิ่นพิกุล บุคคลหนึ่งเดียวที่มีแนวคิดเป็นอัตลักษณ์  โดดเด่น  ด้วยวิธีการนำเสนอภาพอย่างอาจหาญ มีหัวคิดก้าวล้ำนำยุค การใช้ความกล้าบ้าบิ่นในการถ่ายทำ เพื่อให้มุมกล้องออกมาสวยงาม  ลักษณะภาพที่ถ่ายทำเป็นมุมกล้องมุมสูง ลักษณะ
bird eyes view 

การถ่ายภาพจากมุมสูง  ช่างถ่ายภาพยนตร์คงจินตนาการให้ภาพแสดงออกมา  ให้สามารถมองเห็นทัศนียภาพอันสวยงามรอบ ๆ บริเวณดินแดนเขาพระวิหาร ทั้งที่ยุคนั้นไม่มีอุปกรณ์  หรือเทคโนโลยีจักรกลเข้าช่วยดังโลกยุค พ.ศ. 2552

 ภาพประวัติศาสตร์ไทย ณ ดินแดนปราสาทพระวิหาร  ถูกจารึกไว้  และเป็นภาพที่หาชมได้ยากยิ่ง  (ภาพต้นฉบับ ลิขสิทธิ์เฉพาะของ   ) ภาพแสดงถึงฝีมือการถ่ายทำด้วย
มันสมอง ไอเดียความคิดที่ก้าวหน้า ท้าทาย เป็นความฉลาดของ
คนไทยยุคก่อน  ที่เรียกว่าภูมิปัญญาชาวบ้าน


การถ่ายภาพมุมสูง  โดยการสร้างนั่งร้านไม้ไผ่ สูงเท่ากับตึก
4 ชั้นทีเดียว มีลักษณะลาดเทลงมา รถล้อเลื่อน สามารถชักลากขึ้นลง  ระหว่างพื้นดินด้านล่าง  สู่ยอดบนสุด รถลากบรรทุกช่างถ่ายภาพยนตร์  และผู้ช่วยช่างภาพ  กล้องและอุปกรณ์การถ่ายภาพยนตร์  ช่างภาพต้องใจถึงทีเดียว ไม่กลัวความสูง จึงกล้าบ้าบิ่น ท้าทายความสูงได้ขนาดนั้น

จากในภาพ ยอดบนสุดของนั่งร้าน  ช่างถ่ายภาพยนตร์ไทยชื่อฉลอง กลิ่นพิกุล คนสวมหมวกปีกกลมใบเล็ก เป็นคาเรคเตอร์ประจำตัว  บอกถึงความเป็นตัวเขาได้อย่างชัดเจน กล้า ท้าทาย ไม่หยุดนิ่ง พร้อมก้าวไปข้างหน้า  เป็นเอกลักษณ์เด่นเฉพาะของเขา.. ที่ไม่มีใครเหมือน


 

 ฉลอง  กลิ่นพิกุล ช่างถ่ายภาพยนตร์ไทย (คนสวมหมวกปีกกลม) ยุคก่อนปี พ.ศ. 2500  ฉลองถ่ายรูปกับดารานำชาย ทักษิณ  แจ่มผล (คนกลาง)  แมน  ธีระพล



ยังมีภาพเบื้องหลังอีกภาพหนึ่ง ที่บ่งบอกตัวตนของ ฉลอง ได้อย่างชัดเจน ช่างถ่ายภาพยนตร์ผู้กล้า ท้าทายโลก  เป็นภาพที่ ฉลองกำลังนอนเหยียดยาว  ในมือถือกล้องถ่ายภาพยนตร์  เพื่อจับภาพขณะรถถังวิ่งผ่าน  ฉลองกล้าให้รถถังวิ่งเฉียดผ่านตัว  เพื่อการบันทึกภาพให้สมจริงสมจัง  สร้างความระทึกขวัญ ตื่นเต้นและท้าทาย 
 


และที่สำคัญยิ่ง โดยเฉพาะภาพถ่ายมุมสูงนี้  ยังเป็น
ภาพประวัติศาสตร์ เป็นหลักฐานสำคัญของชาติไทย เหนือดินแดน
เขาพระวิหาร ได้ถูกบันทึกภาพเก็บไว้  เมื่อปีพุทธศักราช 2501  โดยทายาทของฉลอง  เป็นผู้ค้นพบ เมื่อปี 2548 และอนุญาตนำ
ออกเผยแพร่ในคราวนี้เอง 




ภาพสำคัญภาพนี้ แสดงให้เห็นถึงคนไทยกลุ่มหนึ่ง ที่กล้าหาญ กล้าแสดงออกถึงความภาคภูมิใจในอธิปไตยของไทย  เหนือ
ดินแดน...........ปราสาทพระวิหาร 
(อย่าลืมนะครับ...ณ เวลานั้น พ.ศ. 2501  เขมรยังไม่ยื่นฟ้องศาลโลก  ยังไม่มีคำตัดสินพิพากษา..15 มิ.ย. 2505  แต่ธงชาติไทย หรือการเข้าใช้ประโยชน์ในสินทรัพย์  ได้มีเกิดขึ้นมานานแล้ว  และอย่างต่อเนื่อง.....!!!!!!)







คนไทยกลุ่มนี้ ได้เชิญ ธงชาติไทย ขึ้นสู่ยอดเสาเหนือแผ่นดินปราสาทพระวิหาร  ด้วยความรัก..ผืนแผ่นดินของไทย  และยึดถือในกรรมสิทธิ์ครอบครอง ดังภาพที่เห็น  เบื้องล่าง
บนผืนดิน มีดารานักแสดง หนึ่งในนั้น คือ ปรียา  รุ่งเรือง  ที่เห็นฉากด้านหลังคือ ปราสาทพระวิหาร



 บทพิสูจน์ 


ฉะนั้น ภาพยนตร์เรื่อง แผ่นดินของใคร  ยังมีประเด็น
อีกประการที่สำคัญ  เรื่องจิตสำนึก เจตนารมณ์ที่ต้องการถ่ายทอดความรักชาติ ความหวงแหนผืนแผ่นดินไทย


คณะผู้สร้าง  ผู้แสดงและผู้ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้ จึงทุ่มเทแรงกาย แรงใจกันเต็มที่ 

ดารานำ ทักษิณ  แจ่มผล ได้รับรางวัลแสดงนำชายยอดเยี่ยมจากงานการประกวดตุ๊กตาทอง ปี 2502  จากภาพยนตร์เรื่องนี้  เป็นบทพิสูจน์คุณค่าของหนังไทยเรื่องนี้ 



      
 และนี่คือ...บทพิสูจน์ความรักชาติของคนไทย ที่มีตลอดมา
ทุกยุคทุกสมัย


โครงเรื่อง ภาพยนตร์ไทย แผ่นดินของใคร ถ่ายทำ
เมื่อ พ.ศ. 2501

แมนและวิไลวรรณ สองสายลับของทางการ ปลอมตัวเพื่อสกัดกั้นการรุกรานอธิปไตยจากต่างชาติ
          (ขุน สองฟ้า หนุ่มนักขายยาเร่ ) บริเวณชายแดน แต่แท้จริงแล้วเป็นตำรวจที่มาร่วมขบวนการนี้  เพื่อผนึกกำลังแรงสามัคคีต่อต้าน
ผู้ที่คิดร้ายทำลายชาติให้สูญสิ้นไปจากแผ่นดินไทย

บทส่งท้าย :

หลังจากคำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
เมื่อวันที่  15  มิถุนายน 2505  ตัดสินให้ ปราสาทพระวิหาร
ตกเป็นของกัมพูชา โรงภาพยนตร์บรอดเวย์ตัดสินใจนำภาพยนตร์ไทยเรื่อง 
แผ่นดินของใคร มาเปิดฉายซ้ำวันที่ 14 กรกฎาคม 2505

ปัจจุบันฟิล์มภาพยนตร์เรื่องนี้ ยังคงมีหลงเหลือ  และอยู่ในการบูรณะสภาพโดยเจ้าหน้าที่ของหอภาพยนตร์แห่งชาติ /  พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ไทย  นครปฐม 

ทหารไทยปักธง-ปิดทางขึ้นปราสาทตาเมืองธมแล้ว



พ.อ.เนี๊ยะ วงศ์

วันที่ 1 พ.ค. แหล่งข่าวทางการทหาร เปิดเผยว่า เมื่อเวลา 16.00 น.
พ.อ.เนี๊ยะ วงศ์ ผู้บังคับกองร้อยทหารชายแดนที่ 402 ภูมิภาคทหารที่ 4 ประเทศกัมพูชา
ซึ่งควบคุมกำลังการรบ ด้านปราสาทตาเมือนธม ตลอดช่วงเวลา 10 วันของการปะทะ กับทหารไทย
บริเวณปราสาทตาเมือนธม ต.ตาเมียง อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ ที่ผ่านมา
ได้โทรศัพท์ มาประสานงานกับ พ.อ.อดุลย์ บุญธรรมเจริญ ผู้บังคับการชุดเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 26
ฐานปฏิบัติการปราสาทตาเมือนธม
เพื่อขอยุติการสู้รบกับทหารไทย และยอมถอนถอนกำลังทหารกัมพูชาทั้งหมด
ออกจากแนวชายแดน ใกล้กับปราสาทตาเมือนธม ตั้งแต่ช่วงเวลา 16.00 น.วันที่ 1 พ.ค. เป็นต้นไป
      
       ทั้งนี้ เนื่องจากทหารกัมพูชา ขาดขวัญกำลังใจอย่างหนัก
เพราะขาดทั้งเสบียง อาหาร น้ำดื่ม และผู้บังคับบัญชาระดับสูงไม่เคยเดินทางมาเยี่ยมในพื้นที่
อีกทั้งกระสุน และอาวุธปืน ส่วนใหญ่หมดสภาพในการใช้งาน และไม่มีจำนวนเพียงพอยิงต่อสู้กับทหารไทย

 
ทหารเขมร
       นอกจากนั้น ยังสงสารลูกน้องที่ล้มตายเป็นจำนวนมาก
และศพทหารเขมรไม่มีการนำออกจากจุดปะทะ ปล่อยให้เน่าเหม็นส่งกลิ่นคละคลุ้ง
จนทหารเขมรที่อยู่ตามแนวชายแดนต่างหวาดผวากับสภาพอันน่ากลัว
พากันหมดขวัญกำลังใจในการสู้รบ จึงขอยอมแพ้ทหารไทย
และถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ทั้งหมดอย่างไม่มีเงื่อนไข


ทหารไทย

    


       จากนั้น พ.อ.อดุลย์ บุญธรรมเจริญ ผู้บังคับการชุดเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 26
ได้สั่งการให้ทหารไทยทำรั้วลวดหนาม ปิดทางขึ้นปราสาทตาเมือนธม แบบรั้ว 2 ชั้น
ด้านทางขึ้นจากฝั่งประเทศกัมพูชา และนำธงหน่วยทหาร สัญลักษณ์ ทหารพรานผู้กล้านักรบไทย
ไปปักไว้ที่รั้วลวดหนาม ดังกล่าว
พร้อมยังคงตรึงกำลังทหารอย่างเข้มงวดเช่นเดิม
เพราะเกรงเป็นกลอุบายของทหารกัมพูชา
      
       ขณะที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ด้านจุดปะทะช่องกร่าง และ ปราสาทตาควาย
ต.บักได อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์
ก็กำลังมีการเจรจากันระหว่างผู้บังคับหน่วยทหารของไทยและกัมพูชาในพื้นที่ เพื่อยุติการสู้รบ
หลังจากทางทหารไทยได้กดดันอย่างหนัก
ประกอบกับทหารกัมพูชา ขาดขวัญกำลังใจ และทนรับสภาพกลิ่นเน่าเหม็น
ของบรรดาศพทหารที่ตายไปแล้วเป็นจำนวนมากไม่ได้ คาดว่า จะมีการยุติการปะทะกันในเร็วๆ นี้


สรุปความเสียหายของฝ่ายไทย
จากเหตุการณ์ปะทะบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ด้าน จ.สุรินทร์ รวม 10 วัน (22 เม.ย. -1 พ.ค.)
มีทหารไทยได้รับบาดเจ็บทั้งสิ้น 120 นาย เสียชีวิต 7 นาย พลเรือนเสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 7 ราย
บ้านเรือนประชาชนเสียหาย 11 หลัง, ประปาหมู่บ้านเสียหาย 2 แห่ง, ปศุสัตว์ตาย 4 ตัว

ประชาชนไทยในศูนย์อพยพ







ด้านการอพยพประชาชน ขณะนี้มีศูนย์อพยพทั้งสิ้น 43 แห่ง
แบ่งกันเป็น จ.สุรินทร์ 35 ศูนย์ มีผู้อพยพ 42,804 คน จ.บุรีรัมย์ 7 แห่ง ผู้อพยพ 5,866 คน
รวมจำนวนผู้อพยพทั้งสิ้น 48,670 คน
นอกจากนี้มีประชาชนในศูนย์อพยพ เสียชีวิต 2 ราย
สาเหตุของการเสียชีวิต รายแรกเสียชีวิต เพราะความเครียด
กับเหตุการณ์สู้รบที่เกิดขึ้นและมีโรคประจำตัว
ส่วนรายที่ 2 เสียชีวิตเพราะโรคประจำตัว และซึมเศร้า
จากการต้องอพยพหนีภัยสู้ออกจากบ้านเรือนมานาน





ปราสาทตาเมือนธม
 

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง