บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สิ่งที่รัฐบาล ปู พึงรู้เกี่ยวกับฮุนเซน

by supaluk


 
ฮุน เซน นับเป็นผู้นำรัฐบาลต่างประเทศคนแรกที่ได้ส่งสาส์นแสดงความยินดีต่อการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อย่างเป็นทางการ โดยเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศไทยเป็นผู้รับหน้าที่ส่งสาส์นดังกล่าวด้วยตนเอง ทั้งยังนับเป็นนักการทูตต่างชาติคนแรกที่เข้าพบ ยิ่งลักษณ์ อย่างเป็นทางการอีกด้วย

แน่นอนว่าการกระทำเช่นนี้ของ ฮุน เซน ในด้านหนึ่งนั้น ก็ต้องยอมรับว่าเป็นสิ่งที่พึงกระทำอย่างยิ่งในฐานะที่ ฮุน เซน เป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศที่กำลังมีปัญหาขัดแย้งอยู่กับประเทศไทย แต่ที่ผิดปกติก็คือการที่ ฮุน เซน ได้สั่งการให้ถอนทหารเขมรหลายร้อยนายออกไปจากพื้นที่พิพาทโดยรอบปราสาทพระวิหารแต่เพียงฝ่ายเดียว ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ รัฐบาล ฮุน เซน ได้ยืนกระต่ายขาเดียวมาโดยตลอดว่าจะไม่ยอมถอนทหารออกไปจากเขตปราสาทพระวิหารอย่างเด็ดขาด แต่ฝ่ายที่จะต้องถอนทหารออกจากพื้นที่ดังกล่าวก็คือฝ่ายไทยเท่านั้น ซึ่งจะเห็นได้ในคำร้องที่รัฐบาล ฮุน เซน ยื่นต่อศาลโลกนั่นเอง

แต่อย่างไรก็ตาม การแสดงท่าทีเป็นมิตรของ ฮุน เซน ที่มีต่อ ยิ่งลักษณ์ (น้องสาวของ ทักษิณ เพื่อนรัก) ดังกล่าวนี้ ก็ยังถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีได้เช่นกัน (หากเทียบกับท่าทีที่มีต่อ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) เพราะ ถ้าหากว่า ฮุน เซน มีเจตนาดีดังที่ได้พรรณาไว้ในสาส์นแสดงความยินดีที่ส่งถึงมือ ยิ่งลักษณ์ ดังกล่าวนี้จริงๆ ก็ย่อมจะทำให้ปัญหาข้อขัดแย้งต่างๆที่ไทยกับกัมพูชามีอยู่ต่อกันนั้นสามารถที่จะเจรจาตกลงกันได้ง่ายขึ้นและเกิดผลที่เป็นรูปธรรมกว่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาอย่างแน่นอน

ถึงกระนั้นก็ตาม สิ่งที่ ยิ่งลักษณ์ พึงจะต้องระมัดระวังอย่างยิ่งในการคบค้าสมาคมกับ ฮุน เซน ก็คือต้องจดจำไว้เลยว่าคนอย่าง ฮุน เซน นั้นไม่ยอมเสียเปรียบใคร และพร้อมที่จะใช้ประโยชน์จากทุกคนที่เห็นว่าพอจะมีประโยชน์ต่อการรักษาผลประโยชน์และอำนาจทางการเมืองของเขาได้สืบไป

อย่างในกรณีของปราสาทพระวิหารนั้น แม้แต่เพื่อนรักอย่าง ทักษิณ ก็เกือบจะพลาดท่าให้กับ ฮุน เซนมาแล้ว เมื่อปรากฏว่า ฮุน เซน ได้มีจดหมายเชิญถึง ทักษิณ เพื่อขอให้เดินทางไปเยือนกัมพูชาในฐานะนายกรัฐมนตรีของไทย โดยสถานที่ที่ ฮุน เซน ได้จัดเตรียมไว้เพื่อจัดพิธีต้อนรับอย่างใหญ่โตนั้นก็คือสถานที่ที่เป็นที่ตั้งของวัดแก้วสิกขาสวารักษ์ในทุกวันนี้นั่นเอง แต่ก็ยังนับว่าดีที่ ทักษิณ ไม่พลาดเสียทีให้แก่ ฮุน เซน ในคราวนั้น
ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่ารัฐบาล ทักษิณ ในเวลานั้นมีรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศเป็นถึงศาสตราจารย์ทางด้านกฎหมายระหว่างประเทศอย่าง กันตธีร์ ศุภมงคล ที่ได้ให้คำปรึกษาว่า ทักษิณ ไม่พึงเดินทางไปสถานที่ที่ ฮุน เซน จัดเตรียมไว้ดังกล่าว เพราะการเดินทางไปสถานที่เช่นว่านั้นจะเป็นเสมือนการยอมรับว่าพื้น ที่ (ซึ่งอยู่ในพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตร) ดังกล่าวนั้นอยู่ในเขตอธิปไตยของกัมพูชานั่นเอง

โดยกรณีในลักษณะเดียวกันนี้ ทางฝ่ายรัฐบาลกัมพูชาก็เคยใช้ได้อย่างสัมฤทธิ์ผลมาแล้ว ซึ่งก็คือกรณีที่ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงเสด็จเยือนปราสาทพระวิหาร โดยมีข้าหลวงใหญ่ฝรั่งเศสคอยต้อนรับในขณะที่ตัวปราสาทนั้นประดับประดาไปด้วยธงชาติฝรั่งเศส ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้นก็ได้ถูกฝ่ายกัมพูชาใช้เป็นพยานหลักฐานสำคัญและทำให้ศาลโลกตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของฝ่ายกัมพูชาเมื่อ 50 ปีที่แล้ว

ถึงแม้ว่าในกรณีของ ทักษิณ ดังกล่าวนี้จะไม่เกิดขึ้นเพราะไหวตัวทันก็ตาม แต่สำหรับ ฮุน เซน แล้วหาได้หยุดเพียงเท่านั้นไม่ เมื่อปรากฏว่า ฮุน เซน ได้สั่งการให้ชาวเขมรโยกย้ายเข้าไปตั้งชุมชน ตลาดและวัดในพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตรดังกล่าวเรื่อยมา และที่ถือว่าผิดปกติอย่างยิ่งก็คือทางการไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศได้ให้การยืนยันว่าได้ทำการประท้วงการกระทำดังกล่าวของฝ่าย ฮุน เซน มาโดยตลอด แต่ก็มิทราบได้ว่าเหตุไฉนการประท้วงที่ว่านั้นมันถึงเงียบกริบมาโดยตลอดเช่นกัน

ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าผู้นำรัฐบาลไทยในช่วงนั้นไม่ต้องการให้เรื่องนี้กลายเป็นข่าวใหญ่โต เนื่องจากเชื่อมั่นว่าด้วยความเป็นเพื่อนรักที่มีอยู่กับ ฮุน เซน นั้นจะทำให้สามารถพูดจาเพื่อตกลงกันได้โดยง่าย และในขณะเดียวกัน ช่วงเวลานั้นก็เป็นช่วงที่ (ผู้นำ) รัฐบาลไทยกับกัมพูชากำลังเจรจาต่อรองกันในหลายเรื่องเช่นการปักปันเขตแดนทางบก การแบ่งปันผลประโยชน์จากแหล่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติในเขตทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย และการลงทุนพัฒนาเกาะกงให้เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเป็นต้น จึงทำให้ต้องเก็บงำการประท้วงที่ว่านี้เอาไว้เพื่อไม่ให้เสียบรรยากาศของการเจรจาต่อรองดังกล่าว

ครั้นแล้ว ทักษิณ ก็พลาดจนได้ เมื่อความเชื่อมั่นที่เต็มเปี่ยมนั้นต้องมีอันสูญสลายไปกับการถูกรัฐประ หารยึดอำนาจทางการเมืองในเดือนกันยายน 2549 และถึงแม้ว่าพลพรรคของ ทักษิณ จะชนะการเลือก ตั้งทั่วไปในปี 2551 แต่ความเชื่อมั่นที่เคยมีในอดีตนั้นก็ได้กลับกลายเป็นอาวุธที่ได้ย้อนกลับมาทิ่มแทง ทักษิณ จนแทบจะเอาตัวไม่รอด มิหนำซ้ำเพื่อนรักอย่าง ฮุน เซน นั้นก็ยังมิยอมอพยพชาวเขมรออกไปจากพื้นที่พิพาทดังกล่าวจนเท่าทุกวันนี้อีกด้วย

นอกจากนี้ ก็มีอีกกรณีหนึ่งที่ ยิ่งลักษณ์ (น้องรักของ ทักษิณ) จะต้องระมัดระวังไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ซึ่งก็คือการเจรจาตกลงเกี่ยวกับการแบ่งปันผลประโยชน์จากแหล่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติในเขตทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทย เพราะกระแสข่าวล่าสุดที่หลุดออกมาจากปากของ Steve Glick ประธานของกลุ่มบริษัท Chevron แห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้สำรวจหาแหล่งน้ำมันและแก๊สฯรายใหญ่ที่สุดที่ได้รับอนุญาตจากรัฐบาล ฮุน เซน นั้น ก็คือกลุ่มบริษัท Chevron พร้อมแล้วที่จะลงทุนขุดค้นน้ำมันและแก๊สฯในอ่าวไทย โดยในขณะนี้ยังรอเพียงไฟเขียวจากรัฐบาล ฮุน เซน เท่านั้น

ฉะนั้น จึงมิใช่เรื่องแปลกอีกเช่นกันที่ ฮุน เซน ต้องรีบร้อนส่งสาส์นแสดงความดีใจถึง ยิ่งลักษณ์ เช่นนี้ เพราะผลประโยชน์จากน้ำมันและแก๊สฯที่ ฮุน เซน คาดหวังว่าจะได้อย่างเป็นกอบเป็นกำนั้นย่อมไม่ใช่เพียงเฉพาะในเขตน่านน้ำของกัมพูชาเท่านั้น หากแต่ ฮุน เซน ยังได้มองถึงเขตทับซ้อนทางทะเลที่มีอยู่กับไทยที่มีอาณาบริเวณกว้างกว่า 27,000 ตารางกิโลเมตรด้วย และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น ก็คือ ฮุน เซน ยังคาดหวังด้วยว่าผลลัพธ์ของการเจรจากับ ยิ่งลักษณ์ นั้นจะออกมาอย่างเดียวกันกับที่เคยตกลงในหลักการไว้กับ ทักษิณ เพื่อนรักด้วย

ทั้งนี้โดยความต้องการของ ฮุน เซน ได้ถูกเปิดเผยโดยเว็บไซต์เจ้าปัญหาอย่าง Wiki-leak ซึ่งได้ปล่อยข้อมูลลับออกมาว่า “ฮุน เซน กับ ทักษิณ นั้นเคยตกลงแบ่งปันผลประโยชน์จากแหล่งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติที่อยู่ในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทยระหว่างกันในสัดส่วน 80 ต่อ 20”

ซึ่งหากจะว่าไปแล้วกรณีดังกล่าวนี้ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เพราะก่อนหน้านี้ ฮุน เซน ได้หลุดปากออกมาในโอกาสเป็นประธานในพิธีมอบปริญญาบัตรให้กับผู้จบการศึกษาจากสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งในกรุงพนมเปญว่าเขาได้กำหนดให้เวลากับกลุ่ม Chevron ยักษ์ ใหญ่ในวงการน้ำมันของสหรัฐฯ เพื่อให้ดำเนินการขุดค้น-นำเอาน้ำมันและแก๊สฯที่อยู่ในเขตน่านน้ำทางทะเลของกัมพูชาในอ่าวไทยขึ้นมาใช้ประโยชน์ให้ได้ภายในปี 2012 หากไม่เช่นนั้นก็จะดำเนินการถอนสัมปทานทันที

พร้อมกันนั้น ฮุน เซน ก็ยังได้สั่งการให้การปิโตรเลียมแห่งชาติซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลกัมพูชานั้น ให้เร่งดำเนินการจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมาเพื่อให้ร่วมทุนกับ Chevron Corp ในการขุดค้นน้ำมันและแก๊สฯเป็นการเฉพาะอีกด้วย

ส่วนในอีกด้านหนึ่งนั้น ฮุน เซน ก็ยังได้สั่งการให้รัฐวิสาหกิจปิโตรเลียมแห่งชาติเร่งเซ็นสัญญากับกลุ่ม TOYO Engineering จากญี่ปุ่นเพื่อให้ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ของการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันแห่งแรกในกัมพูชา ด้วยหวังว่าจะเป็นเงื่อนไขที่ทำให้กลุ่ม TOYO ตัดสินใจลงทุนในด้านดังกล่าวนี้ในกัมพูชาในระยะต่อไป

ทั้งนี้โดย ฮุน เซน ได้ให้คำมั่นว่ารัฐบาลของเขาจะเร่งทำการร่างกฎหมายน้ำมันและแก๊สธรรมชาติเพื่อให้สภาแห่งชาติให้การรับรองและประกาศบังคับใช้ในเร็วๆนี้ จึงเชื่อได้เลยว่ากฎหมายน้ำมันฉบับแรกของกัมพูชาจะผ่านการเห็นชอบในทุกวาระได้อย่างชนิดที่เรียกว่าแบบม้วนเดียวจบ

ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะว่าด้วยอำนาจอันท่วมล้นของรัฐบาล ฮุน เซน นั้น ได้กำหนดวันเวลาไว้แล้วว่าแก๊สฯและน้ำมันหยดแรกในอ่าวไทยนั้น จะต้องถูกสูบขึ้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของกัมพูชาให้ได้ในวันที่ 12 ธันวาคม 2012 หรือ 12-12-12 (ว่ากันว่าเป็นเคล็ดวิชาที่จะทำให้ ฮุน เซน สามารถที่จะครองอำนาจในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของกัมพูชาได้ยาวนานถึง 36 ปีติดต่อกันหรือก่อนที่จะถ่ายโอนอำนาจให้กับ ฮุน มาเนตร บุตรชายคนโตเมื่อ ฮุน เซน มีอายุครบ 70 ปีพอดี)

ทั้งนี้โดยธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) นั้น เชื่อว่าน้ำมันและแก๊สฯ ในเขตทับซ้อนทางทะเลดังกล่าวนี้มีน้ำมันสำรองที่มากถึง 2,000 ล้านบาร์เรล และมีแก๊สฯอีกกว่า 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตหรือคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมกันมากกว่า 5 ล้านล้านบาท ซึ่งถ้าหากขุดค้นขึ้นมาก็จะทำให้รัฐบาล ฮุน เซน มีรายรับมากกว่า 1,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีเลยทีเดียว

แต่อย่างไรก็ตาม กรณีที่เป็นอุปสรรคอย่างมากต่อการตัดสินใจของกลุ่มบริษัทต่างๆ ตลอดช่วงที่ผ่านมา ก็คือการที่ไทยกับกัมพูชายังไม่สามารถตกลงกันได้ทั้งในส่วนของการแบ่งปันผลประโยชน์และเขตทับซ้อนทางทะเลระหว่างกัน

แต่ถึงกระนั้น ทักษิณ กับ ฮุน เซน ก็เคยตกลงในหลักการร่วมกันมาแล้ว เมื่อเดือนสิงหาคม 2549 โดยได้แบ่งเขตทับซ้อนทางทะเลออกเป็น 3 ส่วน โดยส่วนที่อยู่ตรงกึ่งกลางให้แบ่งผลประโยชน์ในสัดส่วน 50 ต่อ 50 แต่ก็ยังตกลงกันไม่ได้คือเขตที่อยู่ใกล้ชายฝั่งของแต่ละฝ่าย ซึ่งฝ่ายไทยเสนอให้แบ่ง 60 ต่อ 40 แต่ฝ่ายกัมพูชาต้องการให้แบ่ง 90 ต่อ 10 เพราะได้รับข้อมูลว่าพื้นที่ที่อยู่ใกล้ฝั่งกัมพูชานั้นมีน้ำมันและแก๊สฯมากกว่าเขตที่อยู่ใกล้ฝั่งไทย

ครั้นเมื่อรู้ไส้เห็นพุงของ ฮุน เซน เช่นนี้แล้ว จึงอยู่ที่ ยิ่งลักษณ์ เองว่าจะเลือกเดินตามรอยทางที่ผู้เป็นพี่ชายได้วางไว้หรือไม่ แต่ที่แน่ๆ สิ่งที่ ยิ่งลักษณ์ พึงจะต้องระมัดระวังไว้ให้มากอย่างยิ่งยวดนั้นย่อมมิใช่สีเสื้อต่างๆ ในประเทศไทยอย่างแน่นอน หากแต่เป็น ฮุน เซน เพื่อนรักของ ทักษิณ นั่นเอง!!!



ทรงฤทธิ์ โพนเงิน

เจีย มอน ไม่แน่ใจ RBC คุยน้ำมันหรือไม่

แฟ้มภาพ: การประชุมคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาคระหว่างไทย-กัมพูชา ที่เมืองเสียมราฐ

ฟิฟทีนมูฟ – เจีย มอน หน. RBC เขมรเผยนำคณะ ๓๕ คน ร่วมหารือไทย คุยปัญหาทุกด้าน เน้นสร้างความไว้วางใจ ระบุไม่แน่ใจจะนำเรื่องสำรวจแหล่งน้ำมันคุยด้วยหรือไม่ ขึ้นกับที่ประชุม ขณะ โกย กวง เผยเขมรหวังการแก้ปัญหาเขตแดนคืบหน้าเพราะเขมรไว้ใจรัฐบาลปูแดง
หนังสือพิมพ์พนมเปญโพสต์ฉบับภาษาเขมร (๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔) รายงานอ้างคำให้สัมภาษณ์ของ พล.ท.เจีย มอน1 รองผู้บัญชาการทหารบกและผู้บัญชาการทหารภูมิภาคที่ ๔ วานนี้ ก่อนออกเดินทางมาร่วมประชุมคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค (RBC) ที่ประเทศไทย เปิดเผยว่าตนจะนำคณะเจ้าหน้าที่ทหารจำนวน ๓๕ คน เพื่อร่วมประชุมทวิภาคีเป็นเวลา ๓ วัน กับฝ่ายไทย

พล.ท.เจีย มอน กล่าวว่า คณะจะหารือเกี่ยวกับปัญหาทุกด้านที่มีตามแนวตะเข็บชายแดนกัมพูชา-ไทย อย่างเช่น ปัญหาความมั่นคงและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการทหาร และสิ่งที่สำคัญสุดคือ กัมพูชาจะสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน เพราะมันเป็นปัญหาหลักในการทำให้มีความก้าวหน้า สำหรับการแก้ปัญหาความขัดแย้งพรมแดน
นอกจากนี้ พล.ท.เจีย มอน ได้ปฏิเสธที่จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับการขุดสำรวจน้ำมันในพื้นที่อ้างสิทธิ์ ทับซ้อนทางทะเล ระหว่างไทยและกัมพูชา โดยกล่าวเพียงว่า มีการกล่าวถึงมากว่าจะมีการนำเอาเรื่องนี้ไปหารือหรือไม่ซึ่งขึ้นกับที่ ประชุม ไม่สามารถยืนยันล่วงหน้าได้ กัมพูชาหวังว่าในศักราชใหม่ของความร่วมมือนี้ จะมีความก้าวหน้ามากขึ้นหลังค้างคามาเป็นเวลานาน
ขณะที่ นายโกย วง โฆษกกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา กล่าวว่าจนถึงขณะนี้ยังไม่มีข่าวความคืบหน้าเกี่ยวกับการเดินทางเยือน กัมพูชาของผู้นำไทยคนใหม่ กัมพูชาหวังว่า การแก้ปัญหาพรมแดนระหว่างกัมพูชาและไทยจะมีความคืบหน้า หลังจากไทยมีรัฐบาลใหม่ เพราะกัมพูชาไว้วางใจพวกเขา
ในการประชุมคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค ที่ จ.นครราชสีมา นอกจากจะมี พล.ท.เจีย มอน เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายกัมพูชาแล้ว ยังมี พล.อ. เนียง พาต2 เลขาธิการกระทรวงกลาโหม และเป็นหัวหน้าสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา (GBC) เข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุมด้วย โดยเมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม อาทิเช่น รองผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการภูมิภาคทหารที่ ๓ ที่ ๔ และที่ ๕ ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาค ที่กระทรวงกลาโหมกัมพูชา เพื่อหารือในการสร้างความร่วมมือที่ดีในระดับภูมิภาคทหารระหว่างกัมพูชาและ ไทย ตลอดจนเตรียมการประชุม RBC ที่มีขึ้น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง