รัฐไทยสูญเสียปราสาทพระวิหารจากคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เพราะรัฐไทยไม่ได้ปฏิเสธหรือคัดค้านการใช้แผนที่มาตราส่วน 1:200,000 ที่ฝรั่งเศสจัดทำขึ้นในปี ค.ศ. 1908 โดยหลักกฎหมายปิดปาก ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศพิพากษาให้กัมพูชามีอำนาจอธิปไตยเหนือตัวปราสาทโดยมิได้พิพากษาเรื่องเขตแดนระหว่างประเทศ รัฐไทยก็ได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศให้ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตการให้เป็นอำนาจอธิปไตยของกัมพูชา โดยได้ล้อมรั้วเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารอบตัวปราสาทตามคำสั่งของกระทรวงมหาดไทยซึ่งได้เสนอให้นายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณากำหนดเขตบริเวณปราสาทพระวิหาร โดยยึดหลักการที่จะให้ประเทศกัมพูชาได้ไปซึ่งซากปราสาทพระวิหารและพื้นที่รองรับปราสาทเท่านั้น
(คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด หมายเลขแดงที่ อ.338/2553, ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง สุจริตกุล) ผู้เขียนมีความประสงค์เสนอข้อคิดทางวิชาการให้ผู้เกี่ยวข้องได้ทราบถึงสารัตถะของMOU 2543 ว่า MOU2543 เป็นแก้วสารพัดนึก หรือเป็นระเบิดปรมาณูสำหรับประเทศไทยและบุคคลที่กำลังใช้ MOU 2543 อย่างไร หรือไม่
1. หลังจากที่ไทยได้สูญเสียปราสาทพระวิหารและพื้นที่รองรับปราสาทไปแล้ว ต่อมาในปี 2541 รัฐไทยได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินฝั่งซ้ายลำโดมใหญ่ ในท้องที่ตำบลโซง อำเภอน้ำยืน ตำบลโคกสะอาด กิ่งอำเภอน้ำขุ่น อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี และป่าเขาพระวิหาร ในท้องที่ตำบลเสาธงชัย ตำบลภูผาหมอก อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2541 (ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 115 ตอน 14 ก. บังคับใช้ในวันที่ 21 มีนาคม 2541) โดยได้กำหนดแนวเขตแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาให้เป็นอุทยานแห่งชาติไว้ด้วย และแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ ได้กำหนดเครื่องหมายเขตเส้นพรมแดนตามกฎหมายระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชาประชาธิปไตยไว้อย่างชัดเจน โดยใช้มาตราส่วน 1: 50,000 เป็นเนื้อที่อุทยานแห่งชาติ 130 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 81,250 ไร่ และกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นผู้รักษาการให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกา (รัฐบาลสมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี)
ต่อมาในปี 2546 (สมัยรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี) ได้มีการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม โดยตั้งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมขึ้น และได้มีออกพระราชกฤษฎีกาโอนกรมป่าไม้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปเป็นกรมป่าไม้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นผู้ที่มีหน้าที่ดูแลพื้นที่อุทยานแห่งชาติ จำนวน 130 ตารางกิโลเมตร หรือ 81,250 ไร่ รวมทั้งพื้นที่โดยรอบเขาพระวิหารทั้งหมดจึงอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2540 มาตรา 5 พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตอุทยานแห่งชาติฯ พ.ศ. 2541 จึงเป็นกฎหมายที่กำหนดเขตเส้นพรมแดนระหว่างไทยและกัมพูชา และใช้บังคับเป็นเขตเส้นพรมแดนตามกฎหมายแล้ว กองกำลังรักษาความมั่นคงฯ จึงเป็นเจ้าหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเส้นเขตแดนตามกฎหมายด้วย
การออกพระราชกฤษฎีกากำหนดพื้นที่ 130 ตารางกิโลเมตรเป็นเขตอุทยานแห่งชาติ ย่อมจะต้องทราบเป็นอย่างดีว่า พลเมืองของรัฐไทยจำนวนเป็นแสนเป็นล้านคนที่ถูกผลกระทบจากกฎหมายดังกล่าว เพราะพลเมืองเหล่านั้นไม่อาจมีวิถีชีวิตอยู่ได้ตามปกติอย่างที่เคยเป็น และต้องใช้ชีวิตหลบๆ ซ่อนๆ อยู่อย่างคนนอกกฎหมายในทันที เพราะพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติฯมาตรา 16 ได้บัญญัติห้ามเด็ดขาดมิให้บุคคลใดเข้าไปกระทำการใดๆ ในที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติทั้งๆ ที่ดินเหล่านั้นเคยเป็นที่ทำกินมาก่อน ก็ไม่อาจทำกินต่อไปได้ หรือเข้าไปเก็บของป่า ล่าสัตว์และกระทำการใดๆ แก่ ดิน หิน กรวด หรือทรายในเขตอุทยานแห่งชาติไม่ได้เลย
สัญญาณของการเสียไปซึ่งอธิปไตยในดินแดนของประเทศไทย โดยอาศัยช่องทางของกฎหมายไทยและการหย่อนยานในการใช้บังคับกฎหมายกับชาวกัมพูชา
การออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตแดนพื้นที่เป็นอุทยานแห่งชาติ เป็นการที่รัฐไทยได้ยืนยันและรู้ข้อเท็จจริงโดยชัดแจ้งว่า รัฐไทยใช้แผนที่ของรัฐไทยโดยมีมาตราส่วน 1: 50,000 และรัฐไทยไม่ได้ใช้แผนที่ที่ผู้อื่นทำขึ้นตามมาตราส่วน 1: 200,000 ทั้งรัฐไทยไม่มีความผูกพันกับกัมพูชาที่จะต้องใช้แผนที่ที่ฝรั่งเศสทำขึ้นแต่ฝ่ายเดียวตามมาตราส่วน 1: 200,000 แต่อย่างใดไม่ ไม่ว่าแผนที่นั้นจะได้ใช้อ้างอิงในศาลยุติธรรมระหว่างประเทศหรือไม่ก็ตาม
และต่อมาได้มีการลงนามใน MOU 2543 ซึ่งโดยผลของ MOU 2543 ดังกล่าวก็ได้กลายเป็นเอกสาร (deed) ที่บังเกิดผลไปรองรับการบุกรุกยึดครองที่ดินของชาวกัมพูชาให้เป็นเขตแดนของกัมพูชาได้
ต่อมาในปี 2543 รัฐไทยได้ทำบันทึกความเข้าใจหรือ MOU 2543 กับรัฐกัมพูชา โดย
ก่อนที่จะมีการลงนามอนุมัติของนายกรัฐมนตรีให้ รมช.ต่างประเทศไปลงนามทำบันทึกข้อตกลงMOU 2543
นั้น ได้มีการทำหนังสือบันทึกข้อความด่วนที่สุดจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักการเมืองต่างประเทศ ลงวันที่ 2 มิถุนายน 2543 ลงนามโดยนายวรากรณ์ ได้ระบุผลการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) ครั้งที่ 2 ว่า “พื้นฐานทางกฎหมายการสำรวจและปักหลักเขตแดนทางบกจะดำเนินการโดยใช้เอกสารหลักฐานที่ผูกพันไทยและกัมพูชาตามกฎหมายระหว่างประเทศ คือ อนุสัญญาฉบับลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1904 สนธิสัญญาฉบับลงวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1097 กับพิธีสารแนบท้ายและแผนที่แสดงเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชามาตราส่วน 1: 200,000 ซึ่งจัดทำขึ้นตามผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน”
และเอกสารดังกล่าวได้ลงนามอนุมัติโดยนายกรัฐมนตรีในวันที่ 2 มิถุนายน 2543 และเป็นการอนุมัติให้ รมช.การต่างประเทศในฐานะประธานกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา(ฝ่ายไทย) ไปลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU 2543) ที่กรุงพนมเปญระหว่างวันที่ 14-16 มิถุนายน 2543 ซึ่งเป็นที่มาของ MOU 2543 ตามบันทึกข้อความที่เสนอให้นายกรัฐมนตรีลงนามอนุมัติโดยอ้างถึงการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) ครั้งที่ 2 และมีข้อความให้ใช้แผนที่แสดงเขตแดนที่จัดทำขึ้นตามผลงานของคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน ตามมาตราส่วน 1: 200,000 นั้น จึงมีข้อที่เป็นพิรุธอย่างยิ่ง เพราะขณะนั้นยังไม่มีการลงนามบันทึกข้อตกลง MOU 2543 ในขณะนั้นจึงยังไม่มีคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชาหรือ JBC เกิดขึ้น เพราะคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชาหรือ JBC เกิดขึ้นจากการที่ได้มีข้อตกลง MOU 2543 และลงนามในบันทึกข้อตกลงกันแล้ว กรณีจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชาหรือ JBC ก่อนที่จะมีการลงนามใน MOU 2543
ดังนั้นหนังสือสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฉบับลงวันที่ 2 มิถุนายน 2543 ที่เสนอให้นายกรัฐมนตรีอนุมัติให้มีการสำรวจและปักหลักเขตแดนทางบก โดยอ้างถึงผลการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) ครั้งที่ 2 นั้น จึงเป็นที่สงสัยว่า เป็นการทำเอกสารเท็จขึ้น เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตประเทศไทย หรือไม่ เพราะไม่มีข้อเท็จจริงอันเป็นผลของการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) ครั้งที่ 2 อย่างแน่นอน
และถึงแม้จะมีการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา หรือ JBC ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นจริงโดยที่ยังไม่ได้มีการลงนาม MOU 2543 คณะกรรมาธิการดังกล่าวก็ไม่มีอำนาจที่จะประชุมให้มีการใช้แผนที่เขตแดนประเทศแผนที่อื่นที่ไม่ใช่เป็นแผนที่ที่ประเทศไทยใช้อยู่ในขณะนั้น
เพราะในขณะนั้นรัฐไทยได้ใช้แผนที่มาตราส่วน 1 : 50,000 และมีแนวเขตแดนที่แน่ชัดตามกฎหมายที่ได้ออกใช้บังคับแล้ว ตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าฝั่งซ้ายลำโดมใหญ่ฯ พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นอุทยานแห่งชาติไว้ชัดเจนแล้ว
คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชาไม่ว่าจะเป็นชุดใดก็ไม่มีอำนาจที่จะกำหนดให้ใช้แผนที่อื่นที่ไม่ใช่เป็นแผนที่ที่ประเทศไทยใช้อยู่ในขณะนั้นจนปัจจุบันนี้เพื่อเปลี่ยนแปลงอาณาเขตประเทศได้ และไม่มีอำนาจที่จะไปเปลี่ยนแปลงเขตแดนที่ได้ออกใช้บังคับเป็นกฎหมายแล้ว นอกจากสภาจะออกกฎหมายยกเลิกเขตอุทยานแห่งชาติเสียก่อน
การดำเนินการของบุคคลหรือคณะบุคคลดังกล่าว จึงเข้าข่ายของการกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 119, 120, 125 ฯลฯ หากยังคงใช้ MOU 2543 ต่อไป
ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องควรต้องชี้แจงต่อสาธารณชนและแจ้งเป็นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีให้ยกเลิก MOU 2543 อันเป็นการแสดงออกถึงความเป็นผู้บริสุทธิ์ในคดีอาญา (Innocent agent) ของผู้ที่เกี่ยวข้องเอง แต่หากไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการแสดงออกถึงความบริสุทธิ์ของตนเองในระยะแรกที่มีโอกาสกระทำได้แล้ว กรณีก็จะเข้าข่ายของการร่วมกันกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักรอย่างเป็นขบวนการ
โดยมีการวางแผนไว้อย่างแยบยลได้
จะต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา 224 และต้องออกกฎหมายยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตอุทยานแห่งชาติฯ พ.ศ. 2541 และแผนที่ท้ายฯ เสียก่อน เมื่อการลงนามใน MOU 2543 โดยมิได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และยังไม่มีกฎหมายยกเลิกพระราชกฤษฎีกาฯ พ.ศ. 2541 ดังกล่าว MOU 2543 จึงเป็นโมฆะและไม่มีผลบังคับใช้เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 224 และขัดต่อพระราชกฤษฎีกาฯ ดังกล่าว
เมื่อ MOU 2543 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และขัดต่อกฎหมายที่ออกใช้บังคับแล้ว คณะกรรมาธิการที่เกิดจาก MOU 2543 ก็ย่อมเป็นโมฆะและขัดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา 224 และคณะกรรมาธิการฯ ดังกล่าวไม่มีอำนาจที่จะไปดำเนินการใดๆ อันเป็นการฝ่าฝืนหรือขัดต่อแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ พ.ศ. 2541 ได้เลยด้วย รัฐสภา (ที่เกิดจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550) จึงไม่อาจให้ความเห็นชอบกรอบการเจรจาที่กระทำโดยคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมฯ หรือ JBC ซึ่งเป็นคณะกรรมาธิการฯ ที่โมฆะและขัดต่อรัฐธรรมนูญแล้วนั้นหาได้ไม่ รัฐสภาไม่อาจให้สัตยาบันต่อการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญได้ไม่ว่าในกรณีใด
การที่รัฐสภาจะให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับกรอบการเจรจาตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 190 วรรคสามได้นั้น ผลของ MOU 2540 เปรียบเทียบเสมือนเป็น “ต้นไม้รากเน่า” ไม่สามารถนำไปดำเนินการใดๆ ได้ ไม่อาจจะนำไปปลูกพรวนดินรดนำต่อไปได้ แม้รัฐสภาจะให้ความเห็นชอบกรอบการเจรจาก็เป็นการให้ความเห็นชอบในสิ่งที่เป็นโมฆะและไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะย่อมจะต้องรู้ว่าตนเองไม่มีอำนาจที่จะกระทำการดังกล่าวได้ การที่รัฐสภาอนุมัติกรอบการเจรจาให้ ก็ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อแก้ตัวเพื่อให้พ้นจากความรับผิดทางอาญาได้ในเบื้องต้น แต่จะต้องนำเข้าสู่การฟ้องร้องดำเนินคดีอาญา แล้วไปพิสูจน์เจตนาว่าไม่ได้มีเจตนาที่กระทำความผิดเอาเองว่า ตนเองไม่ได้มีเจตนาที่จะทำให้ประเทศต้องเสียดินแดนหรือเปลี่ยนแปลงเขตอาณาเขตประเทศได้เท่านั้น MOU 2543 จึงไม่อาจใช้ได้อีกต่อไป เพราะการใช้ MOU 2543 เป็นการกระทำความผิดอาญาอยู่ในตัวเอง MOU 2543 จึงเป็นลูกระเบิดที่ถอดสลักแล้วกอดไว้กับตัวเองเท่านั้น
จะต้องได้กระทำก่อนที่จะมีการลงนามในหนังสือสัญญา มิใช่มีการลงนามใน MOU 2543 แล้วจึงเสนอรัฐสภาให้ความเห็นชอบในกรอบการเจรจาได้แต่อย่างใดไม่ การลงนามใน MOU 2543 ซึ่งเป็นโมฆะและขัดต่อรัฐธรรมนูญแล้วแต่กลับนำเรื่องกรอบการเจรจาของคณะกรรมาธิการฯ มาให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบก็เท่ากับนำเรื่องที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและเป็นโมฆะมาให้รัฐสภาฟอกความผิดหรือฟอกความเป็นโมฆะของ MOU 2543 ซึ่งรัฐสภาไม่มีอำนาจและหน้าที่ใดๆ ไม่ว่าจะโดยกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือโดยหลักนิติธรรมที่จะกระทำเช่นนั้นได้เลย
การที่รัฐสภาไทยอนุมัติกรอบการเจรจาของคณะกรรมาธิการฯ หรือ JBC จึงเป็นการกระทำที่เป็นโมฆะและเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 190 วรรคสาม และเป็นการที่รัฐสภาไทยได้อนุมัติให้คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมฯ หรือ JBC ไปกระทำการอันฝ่าฝืนต่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตอุทยาน พ.ศ. 2541 โดยที่รัฐสภาไม่มีอำนาจใดๆ ที่จะกระทำการดังกล่าวได้เลย นอกจากจะออกกฎหมายยกเลิกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตอุทยานแห่งชาติฯ พ.ศ. 2541 และแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ ดังกล่าวเสียก่อน
3. MOU 2543 เกิดขึ้นโดยขัดต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 มาตรา 224 เพราะไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา
ต้นไม้รากเน่าไม่อาจออกดอกออกผลได้อีกต่อไปจะต้องตัดทิ้งเท่านั้น คณะกรรมาธิการร่วมเขตแดนฯ เป็นผลของ MOU 2543 คณะกรรมาธิการร่วมเขตแดนจึงเป็นผลไม้ของต้นไม้ที่เป็นพิษซึ่งไม่อาจใช้กินต่อไปได้ และคณะกรรมาธิการฯ ไม่มีอำนาจที่จะไปทำการเจรจาเกี่ยวกับเขตแดนไทย-กัมพูชาได้เลย
ผลของการเจรจาหากได้กระทำไปและทำให้รัฐไทยต้องเปลี่ยนอาณาเขตประเทศ การกระทำดังกล่าวจะมีผลทำให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับกรณีนี้ทั้งหมดจะไม่พ้นจากความรับผิดทางอาญาในข้อหาความผิดต่อความมั่นคงรัฐภายนอกราชอาณาจักรไปได้เลย แม้ผู้ที่เป็นคณะกรรมาธิการร่วมฯ ก็ไม่พ้นจากความรับผิดทางอาญาไปได้
4. เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2552 ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด ตามคดีหมายเลขแดงที่ 2046 -2048/2552 คดีระหว่างนายสุวัฒน์ อภัยภักดิ์ กับพวกรวม 9 คน และนางสายสวาท แจ่มเจริญ กับพวกรวม 2 คน ผู้ฟ้องคดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกับคณะรัฐมนตรี ผู้ถูกฟ้องคดี และเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2553 ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด ตามคดีหมายเลขแดงที่ อ. 338/2553 คดีระหว่างนายอายุทธ์ จิรชัยประวัต หรือ ยุทธ ชัยประวัตร ผู้ฟ้องคดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกับคณะรัฐมนตรี ผู้ถูกฟ้องคดี โดยศาลปกครองได้พิพากษาเกี่ยวกับเส้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชาในบริเวณปราสาทพระวิหารว่า เป็นไปตามแนวสันปันน้ำตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศส ปี ค.ศ. 1904 (พ.ศ.2447) และพิพากษาว่าพื้นที่รอบตัวปราสาทในพื้นที่ N 1 จึงอยู่ในเขตแดนของประเทศไทย
ส่วนพื้นที่ N 2 เป็นพื้นที่ทางทิศตะวันออกและทิศใต้ของปราสาทพระวิหาร กำหนดเป็นพื้นที่กันชน (buffer zone) เพื่อกำหนดมาตรการอนุรักษ์คุ้มครองสถานที่ขอขึ้นทะเบียน และพื้นที่ N 3 เป็นพื้นที่ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกของปราสาทพระวิหาร กำหนดให้เป็นพื้นที่ทั้งสองประเทศจัดทำแผนบริหารจัดการร่วมกัน โดยให้สอดคล้องกับมาตรการการอนุรักษ์สากลเห็นว่า เมื่อพิจารณาจากแผนที่แสดงเขตปราสาทพระวิหารตามมติผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2505 จะปรากฏแนวสันปันน้ำอยู่ทางทิศตะวันออกและทิศตะวันตกของตัวปราสาทพระวิหาร ซึ่งแนวสันปันน้ำดังกล่าว ได้แบ่งเขตแดนประเทศไทยกับประเทศกัมพูชาตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศกับประเทศฝรั่งเศส ปี ค.ศ. 1904 (พ.ศ.2447) ที่ประเทศไทยได้ยึดถือมาโดยตลอด
ดังนั้นเมื่อระบุพื้นที่ N 3 อยู่ด้านทิศตะวันออกของตัวปราสาท โดยมิได้ระบุขอบเขตพื้นที่อย่างชัดแจ้ง พื้นที่ N 2 จึงรวมพื้นที่ในเขตแดนประเทศไทยด้วย และพื้นที่ N 3 ในด้านทิศตะวันตกของตัวปราสาทโดยมิได้ระบุขอบเขตพื้นที่อย่างชัดแจ้ง พื้นที่ N 3 บางส่วนจึงเป็นพื้นที่ในเขตแดนประเทศไทย ส่วนทิศเหนือของตัวปราสาทเป็นพื้นที่ในเขตแดนประเทศไทยทั้งสิ้น ซึ่งพื้นที่ทางทิศเหนือและทิศตะวันตกดังกล่าว มีเนื้อที่ประมาณ 4.6 ตารางกิโลเมตร ตามเอกสารกรณีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกที่กระทรวงการต่างประเทศยื่นต่อศาล
แม้ว่าแถลงการณ์ร่วมฯ จะไม่กำหนดให้พื้นที่ N 2 และ N 3 เป็นพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารในลักษณะเดียวกันกับพื้นที่ N 1 ก็ตาม แต่การระบุให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่กันชน (buffer zone) เพื่อกำหนดมาตรการอนุรักษ์คุ้มครองสถานที่ขอขึ้นทะเบียน และให้เป็นพื้นที่ที่ทั้งสองประเทศจัดทำแผนบริหารจัดการร่วมกัน ย่อมเป็นการให้สิทธิแก่ประเทศกัมพูชาเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่ในพื้นที่ที่อยู่ในเขตแดนและในอำนาจอธิปไตยของประเทศไทย
หากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 (นายนพดล ปัทมะ) ลงนามโดยความเห็นชอบจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 (คณะรัฐมนตรี) ย่อมผูกพันประเทศไทย อันจะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตของประเทศไทยในพื้นที่ N 1 โดยตรงและมีผลกระทบต่ออำนาจอธิปไตยในพื้นที่ N 2 และ N 3 ในส่วนที่อยู่ในอาณาเขตประเทศไทยที่ให้กัมพูชาเข้ามาบริหารจัดการร่วมกับประเทศไทย………”
เขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชานั้นถือแนวเขตสันปันน้ำ ตามพื้นที่ด้านทิศเหนือและทิศตะวันตกเนื้อที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร จึงเป็นพื้นที่ของประเทศไทย คำพิพากษาของศาลปกครองกลางและศาลปกครองสูงสุดจึงผูกพันรัฐบาลต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลดังกล่าวโดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เพราะผู้ถูกฟ้องคดีได้ถูกฟ้องในสถานะของการปฏิบัติหน้าที่ในทางราชการตามตำแหน่งหน้าที่ จึงผูกพันรัฐบาลให้ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลปกครองกลางและศาลปกครองสูงสุดดังกล่าว
และพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร กับพื้นที่ทางด้านทิศเหนือของปราสาทพระวิหารทั้งหมดเป็นพื้นที่ตามแนวเขตสันปันน้ำซึ่งก็ตรงกับแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯกำหนดเขตอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2541 ที่กำหนดที่ดิน ป่าเขาพระวิหาร ในท้องที่ตำบลเสาธง ตำบลภูผาหมอก อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นอุทยานแห่งชาติและมีเครื่องหมายเขตเส้นพรมแดนตามกฎหมายระหว่างไทยและกัมพูชาไว้ชัดเจนแล้วนั่นเอง
รัฐไทยจะต้องแจ้งคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลปกครองกลาง และคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด เรื่องพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ต่อคณะกรรมการมรดกโลกทันที พร้อมทั้งแจ้งให้รัฐกัมพูชาทราบด้วย และในฐานะเป็นรัฐบาลของรัฐไทย รัฐบาลจะต้องยืนยันว่าพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรเป็นเขตแดนของรัฐไทยตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดและตามพระราชกฤษฎีกาฯ ซึ่งเป็นกฎหมายไทย ซึ่งจะนำที่ดิน 4.6 ตารางกิโลเมตรดังกล่าวเข้าไปอยู่ในการบริหารจัดการของ ICC ตามแผนแม่บทมรดกโลกที่กัมพูชาเสนอไปไม่ได้เลย
การที่นายสุวิทย์ คุณกิตติไปลงนามรับรองไว้ไม่มีผลอันชอบด้วยกฎหมาย ขัดต่อคำพิพากษาศาลปกครองกลางและศาลปกครองสูงสุด ขัดต่อกฎหมาย และขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การจะใช้พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรเพื่อใช้บริหารจัดการของ ICC หรือ โดย ICC จะเข้ามาบริหารจัดการได้ตามอนุสัญญามรดกโลกฯ นั้น จะต้องขออนุมัติจากรัฐสภาไทย หรือต้องออกเป็นกฎหมาย มิใช่เข้ามาใช้อำนาจบริหารจัดการในเขตอำนาจอธิปไตยในดินแดนประเทศไทยโดยอาศัยช่องทางอนุญาตให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนมรดกโลกได้แต่อย่างใดไม่ และรัฐไทยจะต้องแจ้งยืนยันให้รัฐกัมพูชาและกรรมการมรดกโลกทราบถึงอธิปไตยแห่งดินแดนของรัฐไทยในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ทราบในทันทีด้วย
การนิ่งเฉยไม่แจ้งให้ทราบถึงผลของคำพิพากษาของศาลไทยและการที่ยังไม่ได้มีการยกเลิกพระราชกฤษฎีกาฯ กำหนดเขตอุทยานแห่งชาติดังกล่าว ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาที่จะไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลและปฏิบัติหน้าที่โดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย โดยไม่รักษาไว้ซึ่งอธิปไตยในดินแดนของรัฐไทย และนั่นย่อมชี้ให้เห็นถึงการกระทำโดยเจตนาประสงค์ต่อผลที่จะทำให้รัฐไทยต้องเสียดินแดนอันเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐของผู้ปกครองของรัฐที่มีเจตนากระทำความผิดต่อเนื่องกันมาได้
5. ข้อเท็จจริงเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชนว่า รัฐไทยและรัฐกัมพูชาไม่ได้ปฏิบัติตามMOU 2543 มาเป็นเวลาช้านานแล้ว ข้อเท็จจริงที่ว่ากัมพูชาได้เข้ามาตั้งวัดแก้วสิกขาคีรีสะวาราในบริเวณเขาพระวิหารมาตั้งแต่ พ.ศ. 2540 -2541 เมื่อรัฐไทยได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดให้พื้นที่ป่าพระวิหารเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อ พ.ศ. 2541 ซึ่งชนกับเขตเส้นพรมแดนก็ไม่ปรากฏว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ/หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะเป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติได้ดำเนินการใดๆ อันเป็นการรักษาไว้ซึ่งอุทยานแห่งชาติ ซึ่งต้องให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากอุทยานแห่งชาติและดำเนินคดีกับผู้บุกรุกแต่อย่างใดไม่
แม้ MOU 2543 (ข้อ 5) ได้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐบาลกับเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานเหล่านั้นจะงดเว้นการดำเนินการใดๆ ที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของพื้นที่ชายแดนก็ตาม แต่ MOU 2543 ไม่ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องงดเว้นการปฏิบัติหน้าที่ที่ตนเองมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายแต่อย่างใดไม่ และจะอ้าง MOU 2543 เพื่อละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายไม่ได้เลย
ได้งดเว้นการปฏิบัติหน้าที่ปล่อยให้มีการก่อสร้างถนนเข้ามาในเขตอุทยานแห่งชาติก็ดี มีการก่อสร้างวัดวาอาราม สร้างร้านค้า และอพยพคนกัมพูชาเข้ามาตั้งรกรากถิ่นฐานในเขตดินแดนที่เป็นอุทยานแห่งชาติโดยไม่ดำเนินการใดๆ นั้น ย่อมเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ อันเป็นการกระทำความผิดอาญาทั้งสิ้น
และถ้าการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวเข้าข่ายของการกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักรโดยทำให้รัฐไทยต้องเสียอธิปไตยในดินแดนหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรตกอยู่ในอำนาจอธิปไตยของรัฐกัมพูชาแล้ว เจ้าพนักงานดังกล่าวก็ย่อมมีความผิดอาญาเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักรด้วย
และถ้าการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวของเจ้าพนักงานของรัฐได้กระทำตามนโยบายของรัฐบาล หรือของคณะรัฐมนตรี
และเป็นการลงนามโดยขัดต่อคำพิพากษาศาลปกครองกลางและศาลปกครองสูงสุด
การยกเลิก MOU 2543 จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งต้องกระทำในทันทีและโดยละมุนละม่อมในระดับตามมาตรฐานสากลของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยไม่เกิดสงคราม เพราะกัมพูชาได้ปฏิบัติโดยละเมิดข้อตกลง MOU 2543 ข้อ 8
โดยกัมพูชาใช้กองกำลังทหารเข้าจับคนไทยแล้วนำไปขึ้นศาลกัมพูชา และถูกพิพากษาลงโทษจำคุกเป็นเวลานานถึง 8 ปี และ 6 ปี โดยกัมพูชาไม่ได้ใช้หลักสันติวิธีด้วยการปรึกษาหารือและเจรจาแต่อย่างใด รัฐไทยจะต้องประกาศยกเลิกการใช้ MOU 2543 ในทันที (หากการจับคนไทยไม่ใช่เป็นกับดักที่ได้มีการสมคบกับกระทำระหว่างคนของรัฐไทยและคนของรัฐกัมพูชา)
ผู้ให้นโยบายดังกล่าวก็มีความผิดอาญาในฐานะเป็นตัวการหรือผู้ใช้ให้กระทำความผิดดังกล่าวด้วย ข้อกำหนดของ MOU 2543 ข้อ 5 ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะทำให้พ้นจากความรับผิดทางอาญาในข้อหาการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบไปได้เลย
มิใช่พร่ำเพ้อแต่คำว่าใช้หลักสันติวิธีโดยไม่มีมาตรฐานของการกระทำภารกิจในกิจการต่างประเทศตามมาตรฐานสากลแต่อย่างใด
การปฏิบัติภารกิจในกิจการระหว่างประเทศที่ไม่มีมาตรฐานหรือต่ำกว่าระดับมาตรฐานสากลแล้ว ย่อมส่อแสดงให้เห็นเจตนาชั่วร้ายและเจตนาทุจริตของผู้มีอำนาจรัฐ และการปฏิบัติภารกิจระหว่างประเทศที่ต่ำกว่าระดับมาตรฐานดังกล่าว ผู้นำของรัฐจะกลายเป็นตัวตลกในสายตาของประชาคมโลกในทันที และนั่นก็คือการสูญเสียซึ่งศักดิ์ศรีของความเป็นชาติไปโดยสิ้นเชิง นอกเหนือจากการสูญเสียอธิปไตยของรัฐในทุกด้าน
(เพราะทุกประเทศจะต้องรู้กฎหมายระหว่างประเทศรู้ข้อผูกพันตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศและรู้มาตรฐานของภารกิจระหว่างประเทศเป็นอย่างดี)
รัฐไทยจะต้องดำเนินการตอบโต้ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศในระดับมาตรฐานสากล จะต้องดำเนินการใช้บังคับกฎหมายในประเทศกับการบุกรุกดินแดนอันเป็นเขตอุทยานแห่งชาติอย่างเฉียบขาดโดยละมุนละม่อมในทันที ต้องแสดงออกถึงการถอนตัวจากการเป็นสมาชิกมรดกโลกหากไม่ได้รับการตอบสนอง และพร้อมที่จะเปิดโต๊ะเจรจาทุกเมื่อ เพื่อรักษาไว้ซึ่งความสมดุลในประโยชน์ร่วมกันอย่างสันติสุขของประชาชนทั้งสองประเทศ ซึ่งต้องแสดงให้เห็นการเคารพซึ่งกันและกันในบูรณภาพและอำนาจอธิปไตยแห่งดินแดนอย่างเท่าเทียมกันฯลฯ…….ฯลฯ
วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2554
อันธพาลฮุนเซน กำลังดิ้นก่อนจะสิ้นอำนาจ! (บทบรรณาธิการ)
อันธพาลฮุนเซน กำลังดิ้นก่อนจะสิ้นอำนาจ! (บทบรรณาธิการ)โดยคนไทยกู้แผ่นดินณ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2011 เวลา 5:55 น.
เกมการเมืองระหว่างประเทศ คือเกมที่เดิมพันกันด้วยผลประโยชน์สูงสุดแห่งชาติ (National Interest) ดังนั้นแต่ละประเทศจึงมักจะไม่ยอมสูญเสียผลประโยชน์ของตนให้กับคู่กรณีโดยง่ายดายเป็นอันขาด ยกเว้นเพียงกรณีเดียวที่รัฐหรือประเทศจะยอมสละผลประโยชน์ของตนก็เพียงเพื่อแลกหรือเพื่อรักษาเอกราชของชาติตนไว้
กรณีความขัดแย้งที่ทางการกัมพูชาพยายามจะจุดประเด็นให้กลายเป็นไฟแห่งสงครามกับรัฐไทยในขณะนี้นั้น หากดูเผิน ๆ ในเชิงการเมืองระหว่างประเทศแล้ว ก็อาจจะมองได้ว่ากัมพูชาก็พยายามจะรักษาผลประโยชน์ของรัฐตนไว้อย่างเหนียวแน่น โดยพยายามต่อสู้ทุกวิถีทาง
แต่เมื่อพิจารณาให้ลึกซึ้งโดยเฉพาะเมื่อมองในสายตาของคนไทย และประชาคมโลกกลุ่มที่รักความสงบแล้ว ก็อาจจะเข้าใจได้โดยไม่ยากว่า กัมพูชาโดยเฉพาะฮุนเซน ผู้นำเผด็จการที่ยึดกุมอำนาจรัฐเกือบจะเบ็ดเสร็จเด็ดขาดมายาวนานเกือบ 3 ทศวรรษ คืออันธพาลในวงการระหว่างประเทศ ที่ต้องการก่อให้เกิดความไม่สงบในภูมิภาคอาเซียน เพราะหวังจะให้ตนเองได้สามารถสืบทอดอำนาจรัฐและกอบโกยผลประโยชน์เข้าพกเข้าห่อของตนได้ต่อไป
หากถามว่า ทำไมฮุนเซนต้องแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวเป็นอันธพาลเช่นนี้ ก็สามารถตอบได้โดยสรุปว่า เพราะฮุนเซนกำลังเสพติดอำนาจและไม่ต้องการสูญเสียอำนาจ ดังนั้นจึงต้องทำทุกอย่างเพื่อยื้ออำนาจไว้ โดยไม่ใส่ใจแม้แต่น้อยว่าพฤติกรรมที่แสดงออกนั้น จะทำให้เพื่อนร่วมชาติของตนและประเทศเพื่อนบ้านได้รับความเดือดร้อนมากมากสักเพียงใด
มีความจริงที่คนส่วนใหญ่ต่างรับรู้กันดีคือ คนเขมรทุกคนมิได้รักใคร่และเคารพฮุนเซน ขณะเดียวกันกลับมีคนจำนวนไม่น้อยพยายามจะโค้นล้มราชวงศ์ฮุนให้สิ้นไป สาเหตุที่ต้องการ โค้นล้มราชวงศ์ฮุนก็เพราะ ประชาชนไม่พอใจในความกักขฬะหยาบคาย และความละโมบโลภมากของผู้นำเผด็จการรายนี้
ตลอดระยะเวลาเกือบ 30 ปีที่ฮุนเซนยึดครองอำนาจไว้ ชาวเขมรและประชาคมโลกล้วนตระหนักดีว่า ฮุนเซนคือผู้สร้างสรรค์หรือผู้ทำลายล้าง ความจริงที่ทุกคนตระหนักคือ ฮุนเซนมาจากกลุ่มคนที่ไร้ฐานันดร เขามิได้มาจากกลุ่มพระราชวงศ์หรือกลุ่มขุนนางชั้นสูงของเขมร มิหนำซ้ำยังไร้ทรัพย์สมบัติด้วย
แต่ทุกวันนี้ เหตุใดฮุนเซนจึงมีทรัพย์สมบัติมากมายมหาศาล มหาศาลชนิดที่ว่าเขาคือผู้ร่ำรวยที่สุดคนหนึ่งในกัมพูชาประเทศด้อยพัฒนาสุด ๆ ประเทศหนึ่งในโลกยุคปัจจุบัน ในมุมกลับกัน คนเขมรเกือบทั้งประเทศกลับต้องเผชิญกับความอดอยากยากจน ต้องหลบหนีออกนอกประเทศเพื่อไปเอาชีวิตรอดในแผ่นดินอื่น สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นชัดว่า ฮุนเซนใช้อำนาจปกครองประเทศอย่างไร หากปกครองอย่างนักปราชญ์แล้ว เหตุใดประเทศจึงทรุดโทรม เหตุใดชาวเขมรจำนวนมากต้องทิ้งแผ่นดินแม่ของตน
ฮุนเซนรู้ดีว่าตนไม่สามารถปฏิเสธความจริงของกระแสโลกในประเด็นที่ว่า ไม่เคยมีผู้นำเผด็จการรายใดสามารถครองอำนาจรัฐได้ชั่วฟ้าดินสลาย ยิ่งเมื่อเกิดปรากฏการณ์โค่นมูบารัคแห่งอิยิปต์ลงอย่างเป็นรูปธรรม และโดมิโนเกมนี้กำลังแพร่ไปจัดการกับผู้นำเผด็จการทั่วโลก ภาพเช่นนี้ยิ่งทำให้ฮุนเซนเกิดอาการสติแตก แล้วก็ยิ่งจะต้องใช้เร่งความรุนแรงทางการทหารกับไทยในอนาคตอันใกล้ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจทางการเมืองในหมู่ชาวเขมรที่ตามเกมไม่ทัน
เกมการเมืองระหว่างประเทศ คือเกมที่เดิมพันกันด้วยผลประโยชน์สูงสุดแห่งชาติ (National Interest) ดังนั้นแต่ละประเทศจึงมักจะไม่ยอมสูญเสียผลประโยชน์ของตนให้กับคู่กรณีโดยง่ายดายเป็นอันขาด ยกเว้นเพียงกรณีเดียวที่รัฐหรือประเทศจะยอมสละผลประโยชน์ของตนก็เพียงเพื่อแลกหรือเพื่อรักษาเอกราชของชาติตนไว้
กรณีความขัดแย้งที่ทางการกัมพูชาพยายามจะจุดประเด็นให้กลายเป็นไฟแห่งสงครามกับรัฐไทยในขณะนี้นั้น หากดูเผิน ๆ ในเชิงการเมืองระหว่างประเทศแล้ว ก็อาจจะมองได้ว่ากัมพูชาก็พยายามจะรักษาผลประโยชน์ของรัฐตนไว้อย่างเหนียวแน่น โดยพยายามต่อสู้ทุกวิถีทาง
แต่เมื่อพิจารณาให้ลึกซึ้งโดยเฉพาะเมื่อมองในสายตาของคนไทย และประชาคมโลกกลุ่มที่รักความสงบแล้ว ก็อาจจะเข้าใจได้โดยไม่ยากว่า กัมพูชาโดยเฉพาะฮุนเซน ผู้นำเผด็จการที่ยึดกุมอำนาจรัฐเกือบจะเบ็ดเสร็จเด็ดขาดมายาวนานเกือบ 3 ทศวรรษ คืออันธพาลในวงการระหว่างประเทศ ที่ต้องการก่อให้เกิดความไม่สงบในภูมิภาคอาเซียน เพราะหวังจะให้ตนเองได้สามารถสืบทอดอำนาจรัฐและกอบโกยผลประโยชน์เข้าพกเข้าห่อของตนได้ต่อไป
หากถามว่า ทำไมฮุนเซนต้องแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวเป็นอันธพาลเช่นนี้ ก็สามารถตอบได้โดยสรุปว่า เพราะฮุนเซนกำลังเสพติดอำนาจและไม่ต้องการสูญเสียอำนาจ ดังนั้นจึงต้องทำทุกอย่างเพื่อยื้ออำนาจไว้ โดยไม่ใส่ใจแม้แต่น้อยว่าพฤติกรรมที่แสดงออกนั้น จะทำให้เพื่อนร่วมชาติของตนและประเทศเพื่อนบ้านได้รับความเดือดร้อนมากมากสักเพียงใด
มีความจริงที่คนส่วนใหญ่ต่างรับรู้กันดีคือ คนเขมรทุกคนมิได้รักใคร่และเคารพฮุนเซน ขณะเดียวกันกลับมีคนจำนวนไม่น้อยพยายามจะโค้นล้มราชวงศ์ฮุนให้สิ้นไป สาเหตุที่ต้องการ โค้นล้มราชวงศ์ฮุนก็เพราะ ประชาชนไม่พอใจในความกักขฬะหยาบคาย และความละโมบโลภมากของผู้นำเผด็จการรายนี้
ตลอดระยะเวลาเกือบ 30 ปีที่ฮุนเซนยึดครองอำนาจไว้ ชาวเขมรและประชาคมโลกล้วนตระหนักดีว่า ฮุนเซนคือผู้สร้างสรรค์หรือผู้ทำลายล้าง ความจริงที่ทุกคนตระหนักคือ ฮุนเซนมาจากกลุ่มคนที่ไร้ฐานันดร เขามิได้มาจากกลุ่มพระราชวงศ์หรือกลุ่มขุนนางชั้นสูงของเขมร มิหนำซ้ำยังไร้ทรัพย์สมบัติด้วย
แต่ทุกวันนี้ เหตุใดฮุนเซนจึงมีทรัพย์สมบัติมากมายมหาศาล มหาศาลชนิดที่ว่าเขาคือผู้ร่ำรวยที่สุดคนหนึ่งในกัมพูชาประเทศด้อยพัฒนาสุด ๆ ประเทศหนึ่งในโลกยุคปัจจุบัน ในมุมกลับกัน คนเขมรเกือบทั้งประเทศกลับต้องเผชิญกับความอดอยากยากจน ต้องหลบหนีออกนอกประเทศเพื่อไปเอาชีวิตรอดในแผ่นดินอื่น สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นชัดว่า ฮุนเซนใช้อำนาจปกครองประเทศอย่างไร หากปกครองอย่างนักปราชญ์แล้ว เหตุใดประเทศจึงทรุดโทรม เหตุใดชาวเขมรจำนวนมากต้องทิ้งแผ่นดินแม่ของตน
ฮุนเซนรู้ดีว่าตนไม่สามารถปฏิเสธความจริงของกระแสโลกในประเด็นที่ว่า ไม่เคยมีผู้นำเผด็จการรายใดสามารถครองอำนาจรัฐได้ชั่วฟ้าดินสลาย ยิ่งเมื่อเกิดปรากฏการณ์โค่นมูบารัคแห่งอิยิปต์ลงอย่างเป็นรูปธรรม และโดมิโนเกมนี้กำลังแพร่ไปจัดการกับผู้นำเผด็จการทั่วโลก ภาพเช่นนี้ยิ่งทำให้ฮุนเซนเกิดอาการสติแตก แล้วก็ยิ่งจะต้องใช้เร่งความรุนแรงทางการทหารกับไทยในอนาคตอันใกล้ เพื่อเบี่ยงเบนความสนใจทางการเมืองในหมู่ชาวเขมรที่ตามเกมไม่ทัน
รวมลิงค์แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร (ข้อมูลปฐมภูมิ)
รวมลิงค์แหล่งข้อมูลเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร (ข้อมูลปฐมภูมิ)โดย Rattawoot Pratoomraj ณ วันที่ 9 สิงหาคม 2010 เวลา 19:11 น.
๑ คำพิพากษาศาลโลก+ความเห็นแย้งคดีปราสาทพระวิหาร แปลโดยกระทรวงการต่างประเทศ
Download : http://elib.coj.go.th/Article/data/d9_8_2.pdf
๒ คำตัดสินของศาลโลก กรณีปราสาทพระวิหารปี พ.ศ. 2505 เป็นภาษาอังกฤษ และ ภาษาฝรั่งเศส
http://bit.ly/8ZfTLa
๓ สรุปคำพิพากษาศาลโลก (ภาษาอังกฤษจากเว็บ International Court of Justice)
Summary of the Summary of the Judgment of 15 June 1962
CASE CONCERNING THE TEMPLE OF PREAH VIHEAR
(MERITS) http://bit.ly/bsTokD
๔ อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ๑๙๐๔ และ สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ๑๙๐๗ (ภาษาฝรั่งเศส-ไทย) พร้อมแผนที่
download ที่ http://www.mfa.go.th/190/infor_data/attach1.pdf
source : http://www.oknation.net/blog/monchai83/2010/08/03/entry-2
หมายเหตุ
เอกสาร ค.ศ. 1904 เป็นเพียง "อนุสัญญา..." ที่ทำขึ้นเพื่อแก้ไขข้อบทในสนธิสัญญา (ตัวแม่) ค.ศ. 1893 อีกทีนึง โดย อ.เทพมนตรีฯ บอกว่า ในปี ค.ศ. 1904 นี้ ไม่มีการทำเป็นแผนที่ ส่วนเอกสาร ค.ศ. 1907 เป็น "สนธิสัญญา..." 1 ฉบับ กับ "พิธีสารว่าด้วยการปักปันฯ"ที่แนบท้ายตัวสนธิสัญญา (ในปีเดียวกัน) อีก 1 ฉบับ และ ในการปักปันหลักเขตแดนที่ 1- 73 นั้น ได้ทำเป็นเอกสารบันทึกวาจาพร้อมแผนผังหลักเขตแดน มาตราส่วน 1:20,000 (หลายฉบับ)โดยแผนผังแต่ละฉบับครอบคลุมพื้นที่ที่ปักปันประมาณ 2-3 หลักเขตแดน ส่วนแผนที่เก๊ 1:200,000 นั้น เพิ่งพิมพ์ขึ้นใหม่ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1908
๕ เว็บที่มีข้อมูลประเด็นปราสาทพระวิหาร มรดกโลก และการเมือง ที่เกี่ยวข้อง (อ.เทพมนตรี ลิมปพยอม)
http://www.praviharn.net/
Facebook Protect PRAVIHARN Organization http://bit.ly/dlPcy0
๖ ข้อเท็จจริงจาก ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ต่อกรณีเขาพระวิหาร - วิกิซอร์ซ
http://bit.ly/blyTux
ข้อเท็จจริงจาก พันเอก (พิเศษ) พูนพล อาสนะจินดา ต่อกรณีเขาพระวิหาร - วิกิซอร์ซ
http://bit.ly/9ukSp6
๗ ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก (เว็บของกระทรวงวัฒนธรรม มีข้อมูล อนุสัญญามรดกโลก)
http://www.thaiwhic.go.th/convention.aspx
๘ สถาบันเอเชียศึกษา ข้อมูลการสัมมนา เขาพระวิหารกับอนาคตความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา
หน้า: 4/6 พันเอก นพดล โชติศิริ (กรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด):
http://bit.ly/ccjKb9
๙ แผนที่ระวางดงรัก (Dangrek) มาตราส่วน ๑ ต่อ ๒๐๐๐๐๐ ที่ฝรั่งเศสจัดทำขึ้นในปี ๑๙๐๘
- ไม่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการปักปันเขตแดนร่วมไทย-ฝรั่งเศส(ไม่เป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญา ๑๙๐๔ และ ๑๙๐๗ ในทางนิตินัย)
- ไม่ได้รับการรับรองจากศาลโลกในการใช้กำหนดเขตแดน (แต่ถูกกัมพูชานำไปอ้างเท็จในเวทีระหว่างประเทศ)
- เขียนขึ้นไม่ตรงกับภูมิประเทศจริง (ไม่ตรงกับเส้นสันปันน้ำ ตามคำบรรยายของศาลโลก ปี พ.ศ.๒๕๐๕)
Facebook | รูปภาพจาก Protect PRAVIHARN Organization http://bit.ly/b5Itps
๑๐ สนธิสัญญาแวร์ซายส์ ค.ศ.1919 เป็นกฏหมายระหว่างประเทศที่ไทยใช้ มาตรา ๒๙ อ้างอิงว่าตัวบทในสนธิสัญญาสำคัญเหนือแผนที่
ARTICLE 29.
The boundaries as described above are drawn in red on a one-in-a-million map which is annexed to the present Treaty (Map No. 1). [See Introduction.] In the case of any discrepancies between the text of the Treaty and this map or any other map which may be annexed, the text will be final.
๑ คำพิพากษาศาลโลก+ความเห็นแย้งคดีปราสาทพระวิหาร แปลโดยกระทรวงการต่างประเทศ
Download : http://elib.coj.go.th/Article/data/d9_8_2.pdf
๒ คำตัดสินของศาลโลก กรณีปราสาทพระวิหารปี พ.ศ. 2505 เป็นภาษาอังกฤษ และ ภาษาฝรั่งเศส
http://bit.ly/8ZfTLa
๓ สรุปคำพิพากษาศาลโลก (ภาษาอังกฤษจากเว็บ International Court of Justice)
Summary of the Summary of the Judgment of 15 June 1962
CASE CONCERNING THE TEMPLE OF PREAH VIHEAR
(MERITS) http://bit.ly/bsTokD
๔ อนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ๑๙๐๔ และ สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ๑๙๐๗ (ภาษาฝรั่งเศส-ไทย) พร้อมแผนที่
download ที่ http://www.mfa.go.th/190/infor_data/attach1.pdf
source : http://www.oknation.net/blog/monchai83/2010/08/03/entry-2
หมายเหตุ
เอกสาร ค.ศ. 1904 เป็นเพียง "อนุสัญญา..." ที่ทำขึ้นเพื่อแก้ไขข้อบทในสนธิสัญญา (ตัวแม่) ค.ศ. 1893 อีกทีนึง โดย อ.เทพมนตรีฯ บอกว่า ในปี ค.ศ. 1904 นี้ ไม่มีการทำเป็นแผนที่ ส่วนเอกสาร ค.ศ. 1907 เป็น "สนธิสัญญา..." 1 ฉบับ กับ "พิธีสารว่าด้วยการปักปันฯ"ที่แนบท้ายตัวสนธิสัญญา (ในปีเดียวกัน) อีก 1 ฉบับ และ ในการปักปันหลักเขตแดนที่ 1- 73 นั้น ได้ทำเป็นเอกสารบันทึกวาจาพร้อมแผนผังหลักเขตแดน มาตราส่วน 1:20,000 (หลายฉบับ)โดยแผนผังแต่ละฉบับครอบคลุมพื้นที่ที่ปักปันประมาณ 2-3 หลักเขตแดน ส่วนแผนที่เก๊ 1:200,000 นั้น เพิ่งพิมพ์ขึ้นใหม่ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1908
๕ เว็บที่มีข้อมูลประเด็นปราสาทพระวิหาร มรดกโลก และการเมือง ที่เกี่ยวข้อง (อ.เทพมนตรี ลิมปพยอม)
http://www.praviharn.net/
Facebook Protect PRAVIHARN Organization http://bit.ly/dlPcy0
๖ ข้อเท็จจริงจาก ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ต่อกรณีเขาพระวิหาร - วิกิซอร์ซ
http://bit.ly/blyTux
ข้อเท็จจริงจาก พันเอก (พิเศษ) พูนพล อาสนะจินดา ต่อกรณีเขาพระวิหาร - วิกิซอร์ซ
http://bit.ly/9ukSp6
๗ ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก (เว็บของกระทรวงวัฒนธรรม มีข้อมูล อนุสัญญามรดกโลก)
http://www.thaiwhic.go.th/convention.aspx
๘ สถาบันเอเชียศึกษา ข้อมูลการสัมมนา เขาพระวิหารกับอนาคตความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา
หน้า: 4/6 พันเอก นพดล โชติศิริ (กรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด):
http://bit.ly/ccjKb9
๙ แผนที่ระวางดงรัก (Dangrek) มาตราส่วน ๑ ต่อ ๒๐๐๐๐๐ ที่ฝรั่งเศสจัดทำขึ้นในปี ๑๙๐๘
- ไม่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการปักปันเขตแดนร่วมไทย-ฝรั่งเศส(ไม่เป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญา ๑๙๐๔ และ ๑๙๐๗ ในทางนิตินัย)
- ไม่ได้รับการรับรองจากศาลโลกในการใช้กำหนดเขตแดน (แต่ถูกกัมพูชานำไปอ้างเท็จในเวทีระหว่างประเทศ)
- เขียนขึ้นไม่ตรงกับภูมิประเทศจริง (ไม่ตรงกับเส้นสันปันน้ำ ตามคำบรรยายของศาลโลก ปี พ.ศ.๒๕๐๕)
Facebook | รูปภาพจาก Protect PRAVIHARN Organization http://bit.ly/b5Itps
๑๐ สนธิสัญญาแวร์ซายส์ ค.ศ.1919 เป็นกฏหมายระหว่างประเทศที่ไทยใช้ มาตรา ๒๙ อ้างอิงว่าตัวบทในสนธิสัญญาสำคัญเหนือแผนที่
ARTICLE 29.
The boundaries as described above are drawn in red on a one-in-a-million map which is annexed to the present Treaty (Map No. 1). [See Introduction.] In the case of any discrepancies between the text of the Treaty and this map or any other map which may be annexed, the text will be final.
"ผศ.จำรูญ" ยกประวัติศาสตร์ ไทยเสียบ้านเมือง แต้ทหาร-ปชช.ร่วมมือกอบกู้คืนได้ทุกครั้ง
"ผศ.จำรูญ" ยกประวัติศาสตร์ ไทยเสียบ้านเมือง แต้ทหาร-ปชช.ร่วมมือกอบกู้คืนได้ทุกครั้ง ยุคนี้ทำไมทหารเมิน ปชช. ซัด"มาร์ค"มัวเมาอำนาจจนลืมวีรกรรมบรรพบุรุษ พร้อมจวกทหารขี้ขลาด ตำรวจโกงกิน ข้าราชการขายตัว พ่อค้าไม่จริง
วันที่ 1 มี.ค. 2554 บนเวทีปราศรัยการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์จำรูญ ณ ระนอง กล่าวว่า ทุกประเทศต้องการ ความสงบสุข ความมั่นคง มั่งคั่ง และประชาชนต้องอยู่อย่างสมศักดิศรีในความเป็นมนุษย์ ประเทศไหนทำไม่ได้เป็นเพราะ คนที่มีอำนาจบริหารบ้านเมืองไม่ดีจริง ของปลอมดีแต่ปาก ประเทศไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใคร เพราะเรามีพระเจ้าแผ่นดิน ด้วยความที่พระองค์ทรงทศพิษราชธรรม ประชาชนของพระองค์จึงอยู่เย็นเป็นสุข เนื่องจากประชาชนมีจำนวนมากจำต้องมีคนมาช่วยงาน เรียกว่าข้าราชการ เพื่อให้ประชาชนอยู่อย่างมีความสุขโดยทั่วถึง คำว่าข้าราชการ ก็การแบ่งออกเป็นหลายหน่วย เริ่มจากที่ใกล้ชิดกับพระราชา มากที่สุด ทำหน้าที่ปกป้องความมั่นคงทั้งภายในและภายนอกประเทศ คือ ข้าราชการทหาร
เมื่อก่อนทหารเรามีศักดิ์ศรี เป็นทหารของพระราชา พระมหากษัตริย์เป็นจอมทัพ มีการสวนสนามสาบานตนทุกปี เดี๋ยวนี้มีไหมครับ อาวุธซื้อมาเพื่อปกป้องแผ่นดิน นั่นหมายความว่าใครรุกรานเราต้องขับไล่ออกไป บัดนี้ทหารเขมรรุกเข้ามาอยู่ในประเทศไทย แล้วทหารไทยได้ขับไล่หรือยัง แล้วบ้านเมืองจะสงบสุข คนไทยยืนอยู่ในผืนแผ่นดินไทย อย่างสมศักดิ์ศรีได้อย่างไร แน่นอนถึงแม้เราจะแพ้สงครามในบางครั้ง แต่เราก็เอากลับคืนมาได้ ด้วยฝีมือทหาร ร่วมกับประชาชน แล้วทำไมไม่เอาประชาชนอย่างเราไปร่วมมือ
ผศ.จำรูญ กล่าวว่า ปราสาทเขาวิหารเป็นของเราแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว แต่ด้วยเลห์ของฝรั่งเศส ต้องการเอาทรัพย์ยากรในแถบนี้ ก็เลยอาศัยประเทศกัมพูชาเป็นเครื่องมือ เบียดเบียนเรา ก่อนหน้านายอภิสิทธิ์ ก็รู้ว่าพื้นที่เขาวิหารเป็นของไทย แต่ตอนนี้เป็นไปได้อย่างไร นายอภิสิทธิ์ ไม่รู้ว่าเป็นพื้นที่ของไทย เพราะมัวเมาในอำนาจ หลงกิเสล จนลืมไปว่าสิ่งเหล่านั้นสู้มาด้วยเลือดเนื้อชีวิตของ ทหาร ประชาชน
"คนเราต้องคิด มีสติ ใช้ปัญญา คนที่เป็นผู้นำกองทัพ รัฐมนตรี ต้องมีปัญญาหากปัญญาไม่เกิด แสดงว่ามีกิเลสมาปกปิดปัญญา ฉะนั้นทหารทั้งหลายคุณได้ทำหน้าที่ปกป้องแผ่นดิน รักษาความสงบทั้งภายในและภายนอกหรือไม่ ถ้าไม่ทำบ้านเมืองจะไปรอดได้อย่างไร หน้าที่คุณเองยังไม่ทำแล้วจะมาสอนให้คนอื่นทำหน้าที่ได้อย่างไร"
ผศ.จำรูญ กล่าวถึงทหาร ว่า ทหารที่เป็นใหญ่ พูดเพราะเหลือเกิน “ถ้ามีการสู้รบทหารผู้น้อยต้องเสียเลือดเนื้อชีวิต” ช่างเป็นพ่อพระเหลือเกิน แล้วไปสมัครเป็นทหารทำไม คนที่เป็นทหารเขามีสำนึกอยู่ในหัวใจ แม้เลือดตกยางออกพร้อมตาย เพื่อปกป้องประชาชนให้ได้อยู่อย่างสงบสุข
ส่วนตำรวจ ได้ชื่อว่าผู้พิทักษ์สันติราช โดยเฉพาะนายตำรวจยศใหญ่ๆ แต่ใจต่ำ มีหลายคนรังแกประชาชนอยู่ ผู้พิทักษ์สันติราชช่วยสำรวจตัวเองว่าทำหน้าที่ผู้พิทักษ์สันติราชแล้วหรือไม่ นายตำรวจอย่างน้อยก็จบโรงเรียนนายร้อย หรือมีวุฒิปริญญาตรี นั่นคือคุณต้องมีสมอง ช่วยสำรวจตัวเอง นอกจากอาชีพตำรวจแล้วคุณทำอะไรอีกบ้าง ถ้าไม่ทำ ช่วยสำรวจขณะนี้มีทรัพย์สมบัติเท่าไร มีเมียกี่คน แล้วแต่ละคนคุณให้เงินเมียใช้หรือสูบเมียกิน ถ้าต้องให้ ให้ใช้ด้วยกี่คน เงินเดือนคุณเดือนละเท่าไหร รวมกันเท่ากับที่คุณมีอยู่ในปัจจุบันหรือไม่ ถ้าไม่มี ตอบได้ทันทีว่าคุณโกงเขามา
ผศ.จำรูญ กล่าวถึงข้าราชการพลเรือน ว่า นักวิชาการที่ดีต้องให้ความรู้โดยไม่มีอคติ ไม่มีจิตริษยาต่อเพื่อนร่วมอาชีพ เมื่อหวลกลับมาดูนักวิชาการในประเทศไทย นักวิชาการอาชีพเดียวกับตนนี่แหละ มีทั้งคนดีคนชั่วปนกันอยู่ โดยเฉพาะนักฉวยโอกาส เวลารู้ว่าสิ่งใดกำลังเพรี่ยงพร้ำ อีกกลุ่มกำลังเฟื่องฟู ก็เหยียบผู้เพรี่ยงพร้ำ เข้าข้างผู้เฟื้องฟู คนอย่างนี้เรียกว่านักวิชากาชั่ว และมันไม่ได้ชั่วธรรมดาด้วยมันไตร่ตรองทำชั่ว จึงเรียกได้ว่าโครตชั่ว บางคนทำตัวเหมือนกับเสือหิว ยอมขายตัว ขายจิตวิญญาณ ขายสมอง ให้นักการเมืองชั่ว เพียงเพื่อให้ได้เงิน 7.1 ล้าน
ส่วนข้าราชการการเมือง หรือที่เรียกตัวเองว่า ผู้ทรงเกียรติ แต่งตัวโก้ผูกเน็คไท้ ดูภายนอกก็เหมือนมีเกียรติ แต่ดูพฤติกรรมในสภา ทำล่มแล้วล่มอีก หน้าที่ก็ไม่ทำ แต่เงินจะขึ้น สรุปพวกคุณไม่มีเกียรติเลย ไมรู้คิดถึงประชาชนมั่งป่าว ขณะที่เขมรยึดดินแดนไทย รัฐบาลก็ได้แต่คิดจะยุบสภาไปเลือกตั้ง
ผศ.จำรูญ กล่าวต่อว่าคนที่เป็นพ่อค้า พ่อค้าส่วนใหญ่ยังมีใจเป็นธรรม เคารพกฏเกณฑ์ เสียภาษี แต่ก็มีไม่น้อยที่เลี่ยงภาษี อย่างไรก็ดีคนพวกนี้ยังไม่ร้ายเท้ากับคนที่เป็นพ่อค้าไม่จริง คือ เป็นตำรวจพ่อค้า ทหารพ่อค้า ข้าราชการพ่อค้า เข้าไปมีผลประโยชน์ทับซ้อน พวกนี้มันเลวสุดๆ เมื่อก่อนโกงกินก็เอาอย่างมาก 2- 3 เปอร์เซนต์ แค่นี้เราก็ชอกช้ำแล้วเพราะมันเอาไปไม่ชอย เดี๋ยวนี้ 30-40 เปอร์เซนต์มันไม่เอา มันเอาสองร้อยเปอร์เซนต์เลย
วันที่ 1 มี.ค. 2554 บนเวทีปราศรัยการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์จำรูญ ณ ระนอง กล่าวว่า ทุกประเทศต้องการ ความสงบสุข ความมั่นคง มั่งคั่ง และประชาชนต้องอยู่อย่างสมศักดิศรีในความเป็นมนุษย์ ประเทศไหนทำไม่ได้เป็นเพราะ คนที่มีอำนาจบริหารบ้านเมืองไม่ดีจริง ของปลอมดีแต่ปาก ประเทศไทยไม่เคยตกเป็นเมืองขึ้นของใคร เพราะเรามีพระเจ้าแผ่นดิน ด้วยความที่พระองค์ทรงทศพิษราชธรรม ประชาชนของพระองค์จึงอยู่เย็นเป็นสุข เนื่องจากประชาชนมีจำนวนมากจำต้องมีคนมาช่วยงาน เรียกว่าข้าราชการ เพื่อให้ประชาชนอยู่อย่างมีความสุขโดยทั่วถึง คำว่าข้าราชการ ก็การแบ่งออกเป็นหลายหน่วย เริ่มจากที่ใกล้ชิดกับพระราชา มากที่สุด ทำหน้าที่ปกป้องความมั่นคงทั้งภายในและภายนอกประเทศ คือ ข้าราชการทหาร
เมื่อก่อนทหารเรามีศักดิ์ศรี เป็นทหารของพระราชา พระมหากษัตริย์เป็นจอมทัพ มีการสวนสนามสาบานตนทุกปี เดี๋ยวนี้มีไหมครับ อาวุธซื้อมาเพื่อปกป้องแผ่นดิน นั่นหมายความว่าใครรุกรานเราต้องขับไล่ออกไป บัดนี้ทหารเขมรรุกเข้ามาอยู่ในประเทศไทย แล้วทหารไทยได้ขับไล่หรือยัง แล้วบ้านเมืองจะสงบสุข คนไทยยืนอยู่ในผืนแผ่นดินไทย อย่างสมศักดิ์ศรีได้อย่างไร แน่นอนถึงแม้เราจะแพ้สงครามในบางครั้ง แต่เราก็เอากลับคืนมาได้ ด้วยฝีมือทหาร ร่วมกับประชาชน แล้วทำไมไม่เอาประชาชนอย่างเราไปร่วมมือ
ผศ.จำรูญ กล่าวว่า ปราสาทเขาวิหารเป็นของเราแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว แต่ด้วยเลห์ของฝรั่งเศส ต้องการเอาทรัพย์ยากรในแถบนี้ ก็เลยอาศัยประเทศกัมพูชาเป็นเครื่องมือ เบียดเบียนเรา ก่อนหน้านายอภิสิทธิ์ ก็รู้ว่าพื้นที่เขาวิหารเป็นของไทย แต่ตอนนี้เป็นไปได้อย่างไร นายอภิสิทธิ์ ไม่รู้ว่าเป็นพื้นที่ของไทย เพราะมัวเมาในอำนาจ หลงกิเสล จนลืมไปว่าสิ่งเหล่านั้นสู้มาด้วยเลือดเนื้อชีวิตของ ทหาร ประชาชน
"คนเราต้องคิด มีสติ ใช้ปัญญา คนที่เป็นผู้นำกองทัพ รัฐมนตรี ต้องมีปัญญาหากปัญญาไม่เกิด แสดงว่ามีกิเลสมาปกปิดปัญญา ฉะนั้นทหารทั้งหลายคุณได้ทำหน้าที่ปกป้องแผ่นดิน รักษาความสงบทั้งภายในและภายนอกหรือไม่ ถ้าไม่ทำบ้านเมืองจะไปรอดได้อย่างไร หน้าที่คุณเองยังไม่ทำแล้วจะมาสอนให้คนอื่นทำหน้าที่ได้อย่างไร"
ผศ.จำรูญ กล่าวถึงทหาร ว่า ทหารที่เป็นใหญ่ พูดเพราะเหลือเกิน “ถ้ามีการสู้รบทหารผู้น้อยต้องเสียเลือดเนื้อชีวิต” ช่างเป็นพ่อพระเหลือเกิน แล้วไปสมัครเป็นทหารทำไม คนที่เป็นทหารเขามีสำนึกอยู่ในหัวใจ แม้เลือดตกยางออกพร้อมตาย เพื่อปกป้องประชาชนให้ได้อยู่อย่างสงบสุข
ส่วนตำรวจ ได้ชื่อว่าผู้พิทักษ์สันติราช โดยเฉพาะนายตำรวจยศใหญ่ๆ แต่ใจต่ำ มีหลายคนรังแกประชาชนอยู่ ผู้พิทักษ์สันติราชช่วยสำรวจตัวเองว่าทำหน้าที่ผู้พิทักษ์สันติราชแล้วหรือไม่ นายตำรวจอย่างน้อยก็จบโรงเรียนนายร้อย หรือมีวุฒิปริญญาตรี นั่นคือคุณต้องมีสมอง ช่วยสำรวจตัวเอง นอกจากอาชีพตำรวจแล้วคุณทำอะไรอีกบ้าง ถ้าไม่ทำ ช่วยสำรวจขณะนี้มีทรัพย์สมบัติเท่าไร มีเมียกี่คน แล้วแต่ละคนคุณให้เงินเมียใช้หรือสูบเมียกิน ถ้าต้องให้ ให้ใช้ด้วยกี่คน เงินเดือนคุณเดือนละเท่าไหร รวมกันเท่ากับที่คุณมีอยู่ในปัจจุบันหรือไม่ ถ้าไม่มี ตอบได้ทันทีว่าคุณโกงเขามา
ผศ.จำรูญ กล่าวถึงข้าราชการพลเรือน ว่า นักวิชาการที่ดีต้องให้ความรู้โดยไม่มีอคติ ไม่มีจิตริษยาต่อเพื่อนร่วมอาชีพ เมื่อหวลกลับมาดูนักวิชาการในประเทศไทย นักวิชาการอาชีพเดียวกับตนนี่แหละ มีทั้งคนดีคนชั่วปนกันอยู่ โดยเฉพาะนักฉวยโอกาส เวลารู้ว่าสิ่งใดกำลังเพรี่ยงพร้ำ อีกกลุ่มกำลังเฟื่องฟู ก็เหยียบผู้เพรี่ยงพร้ำ เข้าข้างผู้เฟื้องฟู คนอย่างนี้เรียกว่านักวิชากาชั่ว และมันไม่ได้ชั่วธรรมดาด้วยมันไตร่ตรองทำชั่ว จึงเรียกได้ว่าโครตชั่ว บางคนทำตัวเหมือนกับเสือหิว ยอมขายตัว ขายจิตวิญญาณ ขายสมอง ให้นักการเมืองชั่ว เพียงเพื่อให้ได้เงิน 7.1 ล้าน
ส่วนข้าราชการการเมือง หรือที่เรียกตัวเองว่า ผู้ทรงเกียรติ แต่งตัวโก้ผูกเน็คไท้ ดูภายนอกก็เหมือนมีเกียรติ แต่ดูพฤติกรรมในสภา ทำล่มแล้วล่มอีก หน้าที่ก็ไม่ทำ แต่เงินจะขึ้น สรุปพวกคุณไม่มีเกียรติเลย ไมรู้คิดถึงประชาชนมั่งป่าว ขณะที่เขมรยึดดินแดนไทย รัฐบาลก็ได้แต่คิดจะยุบสภาไปเลือกตั้ง
ผศ.จำรูญ กล่าวต่อว่าคนที่เป็นพ่อค้า พ่อค้าส่วนใหญ่ยังมีใจเป็นธรรม เคารพกฏเกณฑ์ เสียภาษี แต่ก็มีไม่น้อยที่เลี่ยงภาษี อย่างไรก็ดีคนพวกนี้ยังไม่ร้ายเท้ากับคนที่เป็นพ่อค้าไม่จริง คือ เป็นตำรวจพ่อค้า ทหารพ่อค้า ข้าราชการพ่อค้า เข้าไปมีผลประโยชน์ทับซ้อน พวกนี้มันเลวสุดๆ เมื่อก่อนโกงกินก็เอาอย่างมาก 2- 3 เปอร์เซนต์ แค่นี้เราก็ชอกช้ำแล้วเพราะมันเอาไปไม่ชอย เดี๋ยวนี้ 30-40 เปอร์เซนต์มันไม่เอา มันเอาสองร้อยเปอร์เซนต์เลย
จับมือเอื้อผลประโยชน์กันสุดๆ ฮุนเซน-บิ๊กคนไทย ฮุบขุมทรัพย์อ่าวไทย...!!! 12 ส.ค. 10, 19:30 น
ตีแผ่ข้อเท็จจริงพื้นที่ซับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา
- ฮุนเซน-บิ๊กการเมืองและนักธุรกิจไทย ร่วมกันฮุบผลประโยชน์ชาติ
- ดึงต่างชาติร่วมกันจัดสรรผลประโยชน์กันอย่างลงตัว
- แถมพบเงื่อนงำ บริษัท เพิร์ลออยล์ จดทะเบียนในหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน คว้าสัมปทานเพียบ
ปลุกคนไทยลุกขึ้นสู้ชิงผลประโยชน์ชาติกลับคืน
แม้ว่าปมปัญหาพิพาทไทย-กัมพูชาในเรื่องเขตพื้นที่รอบปราสาทเขาพระวิหาร 4.6 ตารางกิโลเมตร ที่ภาคประชาชนเรียกร้องรัฐบาลให้ยกเลิก MOU 2543 ที่เป็นต้นเหตุของเรื่องทั้งหมดนั้นจะยังไม่ได้ข้อสรุป แต่เรื่องดังกล่าวนั้นมีความสำคัญนอกเหนือจากอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่พิพาทดังกล่าว อีกด้วย
เนื่องจากปมดังกล่าวเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเปิดประตูขุมทรัพย์ทางทะเลในพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา โดยกัมพูชาพยายามที่จะผลักดันการแบ่งเส้นเขตแดนด้วยแผนที่ 1 : 200,000 ที่แนบตาม MOU 2543 ซึ่งจะทำให้พื้นที่ทับซ้อนของเขตแดนทางบกเชื่อมโยงไปถึงเขตพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลที่มีมูลค่าอภิมหาศาล ตั้งแต่ปราสาทพระวิหาร ไปทางจังหวัดสระแก้ว-สุรินทร์-อุบลราชธานี-จันทบุรี และตราด
จึงไม่แปลกที่ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดก็ล้วนจับจ้องขุมทรัพย์นี้ตาเป็นมันโดยเฉพาะชาติมหาอำนาจที่พยายามเข้าไปแสวงหาประโยชน์จากขุมทรัพย์ใต้ทะเลที่มีการประเมินว่าเป็นแหล่งพลังงานที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งที่ 2 ของโลกที่ยังเหลืออยู่ และจุดนี้เองที่นักการเมืองไทยและสมเด็จฮุนเซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชาต่างรู้ดี และได้กลายเป็นแหล่งที่เตรียมผลประโยชน์รองรับไว้แล้วก่อนหน้า
ดังนั้น หากกรณีพิพาทไทย-กัมพูชา จบลงที่ไทยไปเสียท่ายอมรับแผนที่ 1 : 200,000 ก็จะส่งผลกระทบต่อหลักหมุด 73ซึ่งคณะกรรมการปักปันเขตแดนร่วมสยาม-อินโดจีนฝรั่งเศสจัดทำขึ้น ตั้งแต่ปี 2451 ซึ่งมีการปักหลักหมุดทั้งหมด 73 หมุด ตั้งแต่หมุดหลักที่ 1 บริเวณช่องสำงำ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ มาถึงหลักหมุด 73 ที่อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด โดยที่ผ่านมาไทย-กัมพูชามีปัญหาเรื่องหลักหมุดต่อกันมาตลอด โดยเฉพาะมีหลายหลักหมุดในบางพื้นที่ที่สูญหายไป
หลักหมุด 73 นี้เองที่เป็นที่รู้กันดีว่าหากมีการคลาดเคลื่อนแม้เพียง 1-2 ลิปดาแล้ว พื้นที่ทับซ้อนบริเวณอ่าวไทยที่มีอยู่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตรจะกลายเป็นของกัมพูชาทั้งหมด นอกเหนือจากพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร 4.6 กิโลเมตรแล้ว หลักหมุด 73 นี้ก็เป็นจุดที่รัฐบาลไทยต้องให้ความสำคัญ และยืนกรานว่าจะยอมไม่ได้เด็ดขาด
ในส่วนของขุมทรัพย์ทางทะเล 26,000 ตารางกิโลเมตรที่ทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชานี้ จากการสำรวจเบื้องต้นพบข้อมูลที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ซึ่งมีการประเมินว่ามีมูลค่าก๊าซธรรมชาติและน้ำมันอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวสูงถึง 5 ล้านล้านลูกบาศก์เมตรและถ้ามีการขุดเจาะจริงอาจพบในปริมาณมากกว่าที่ประมาณเบื้องต้นมากกว่าด้วย
แหล่งข่าวผู้เชี่ยวชาญในแวดวงพลังงาน เปิดเผยว่า ล่าสุดองค์การปิโตรเลียมแห่งชาติกัมพูชา หรือ Cambodian National Petroleum Authority (CNPA) ได้ว่าจ้างทีมผู้เชี่ยวชาญทำการสำรวจและขุดเจาะและพัฒนาทรัพยากรจากแหล่งพลังงานในพื้นที่ใกล้เคียงกับบริเวณพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา เป็นจำนวน 10 หลุม และพบว่าบริเวณไหล่ทวีปของกัมพูชามีปริมาณก๊าซธรรมชาติกว่า 4 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต และน้ำมันกว่า 200 ล้านบาร์เรล ขณะที่บริเวณไหล่ทวีปฝั่งไทยก็มีการสำรวจและขุดเจาะพบว่ามีปริมาณก๊าซธรรมชาติและน้ำมันกว่า 7 แสนล้านบาร์เรล
“การขุดเจาะสำรวจแหล่งพลังงานใต้ทะเลทั้งของไทยและกัมพูชาบริเวณใกล้เคียงกับแอ่งพลังานที่อยู่ใจกลางพื้นที่ทับซ้อน ที่ถือว่ามีอยู่ในปริมาณมากซึ่งพูดง่ายๆว่านี่เป็นเพียงชายขอบของแอ่งพลังงาน ซึ่งหากมีการสำรวจพื้นที่ทับซ้อนใต้ทะเลก็ประมาณการได้ว่าจะมีพลังงานมหาศาลอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว เพราะบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างก็ให้ความสนใจกันเป็นจำนวนมาก”
สอดคล้องกับข้อมูลรายงานของบริษัทเชฟรอนที่ทำไว้เมื่อปี 2548 ว่า ได้มีการค้นพบบ่อน้ำมันและก๊าซขนาดใหญ่ ในพื้นที่ 2,427 ตารางกิโลเมตรทางตอนใต้ของกัมพูชา โดยเฉพาะพื้นที่สัมปทานแปลงเอ เนื้อที่ 6,278 ตารางกิโลเมตร ที่คาดว่าจะมีน้ำมันสำรองถึง 700 ล้านบาร์เรล และก๊าซธรรมชาติอีก 3-5 ล้านล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่ธนาคารโลกประเมินว่าแหล่งพลังงานในกัมพูชาน่าจะมีน้ำมันถึง 2 พันล้านบาร์เรล และก๊าซธรรมชาติอีก 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ทั้งนี้ พื้นที่ดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ไหล่ทวีป ขณะที่เขตพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา นั้นลักษณะทางธรณีวิทยาที่ชี้ว่าเป็นแอ่งกะทะที่มีการประเมินว่าคุณภาพของทรัพยากรใต้ทะเลมีคุณภาพระดับดีหรือใกล้เคียงกับแหล่งพลังงานของประเทศมาเลเซียเนื่องจากการทับถมในยุคเดียวกันนั่นเอง
แต่การที่จะประเมินมูลค่าที่แท้จริงนั้น จำเป็นต้องสำรวจอย่างละเอียดอีกครั้งว่าพื้นที่ดังกล่าวมีปริมาณก๊าซธรรมชาติและน้ำมันอยู่ปริมาณเท่าใด จำเป็นจะต้องมีการขุดเจาะขึ้นมาก่อนจึงจะประเมินมูลค่าที่แท้จริงได้ แต่ขณะนี้แม้ว่าทั้งรัฐบาลไทย-กัมพูชาจะมีการให้สัมปทานบริษัทต่างๆ เพื่อทำการสำรวจแล้ว แต่ก็ยังไม่มีใครที่สามารถขุดเจาะน้ำมันขึ้นมาได้จริง เนื่องจากยังติดปัญหาข้อขัดแย้งพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา
ข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ในพื้นที่ทางทะเลของกัมพูชา บริษัท เชฟรอน ได้รับสัมปทานอนุญาตขุดเจาะ และยังมีบริษัทจากไทยคือบริษัท ปตท.สผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) (PTTEPI) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ปตท. ได้ร่วมทุน 30% กับอีก 2 บริษัท คือ บริษัท Resourceful Petroleum Ltd. และ SPC Cambodia Ltd. อีก 10% เป็นของ CE Cambodia B Ltd. ทั้งนี้ ปตท.สผ.อ.ได้รับสัมปทานจากรัฐบาลกัมพูชาในการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซ นอกชายฝั่ง ในบริเวณอ่าวไทย แต่ยังมีพื้นที่แหล่งนี้ที่กัมพูชาเรียกว่า “บล็อก B” และ ปตท.สผ. ตั้งรหัสว่าโครงการจี 9/43 มีการพบเบื้องต้นว่ามีน้ำมันและก๊าซจำนวนมาก แต่ในหนังสือรายงานประจำปี 2550 ได้ระบุว่าเป็นพื้นที่คาบเกี่ยวระหว่างไทย-กัมพูชา และกำลังแก้ไขปัญหาเรื่องเส้นแบ่งเขตทางทะเล หรือเป็นหนึ่งในพื้นทับซ้อนระหว่างไทยและกัมพูชาอีกพื้นที่หนึ่ง
อย่างไรก็ตาม เรื่องของการให้สัมปทานบริษัทต่างๆ ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าคนในแวดวงพลังงานรู้กันดีว่า ผลประโยชน์ด้านพลังงานกับภาคการเมืองของไทยนั้นมีสัมพันธ์อันแนบแน่น ซึ่งนักการเมืองไทยมักจะได้ประโยชน์จากการให้สัมปทาน และสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีถือเป็นยุคสมัยที่ได้ชื่อว่ามีการแลกผลประโยชน์ด้านสัมปทานมากที่สุดด้วย
ปมดังกล่าวต้องย้อนกลับไปในช่วงรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณที่หลังจากได้ผลักดันจนสามารถแปรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ให้เป็นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้สำเร็จ ก็เชื่อว่าได้เห็นลู่ทางการแสวงหาผลประโยชน์จากการลงทุนขุดเจาะทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและพยายามผลักดันเรื่องดังกล่าวมาโดยตลอด
ทั้งในแง่ของพฤติกรรมส่วนตัวโดยตลอดระยะเวลากว่า 6 ปี พ.ต.ท.ทักษิณไปเยือนกัมพูชา 4 ครั้ง และสมเด็จฮุนเซนมาเยือนไทย 4 ครั้งโดยขณะนั้นยังไม่มีการตั้งข้อสงสัยต่อความสัมพันธ์ดังกล่าว
จนกระทั่ง นพดล ปัทมะ ขณะที่ดำรงตำแหน่งรมว.การต่างประเทศได้ลงนามแถลงการณ์ร่วมให้กัมพูชาสามารถขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียวได้ ในวันที่ 18 มิ.ย.2551จนวันที่ 8 ก.ค.2551 คณะกรรมการมรดกโลกได้ทำการรับรองการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาในที่สุด ซึ่งขณะนั้น พ.ต.ท.ทักษิณได้ถูกยึดอำนาจจากรัฐบาลทหารตั้งแต่วันที่ 19 ก.ย.2549 เรื่องดังกล่าวจึงชะงักและยุติลงโดยปริยายเมื่อพ.ต.ท.ทักษิณสิ้นอำนาจ
ในแง่ของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐการความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทยในขณะนั้นปรากฏอย่างมากมาย ซึ่ง เจะอามิง โตะตาหยง ส.ส.พังงา และประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ สภาผู้แทนราษฎร อธิบายว่า ในปี 2547 รัฐบาลทักษิณได้อนุมัติให้เงินกู้กัมพูชาอัตราดอกเบี้ยต่ำ จำนวน 827.4 ล้านบาท เพื่อสร้างถนนแบบให้เปล่ากว่า 4 แห่งโดยที่กรมทางหลวงออกแบบให้ จนทำให้มีการตั้งข้อสังเกตจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ถึง 2 โครงการใหญ่ คือโครงการปรับปรุงและลาดยางผิดจราจรเส้นทางสายตราด/เกาะกง-สะแรอัมเปิล (R48)และโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 67 (R67) อันลองเวง-เสียมราฐ
ในเวลาต่อมาที่ พ.ต.ท.ทักษิณ และพวกพ้องไปลงทุนทำธุรกิจ Entertainment complex ที่เกาะกงในกัมพูชาด้วย โดยมีการจั้งข้อสังเกตว่าอาจโดย นสพ.ผู้จัดการรายสัปดาห์ ฉบับวันที่ 18-24 ส.ค. 2551 เรื่อง “สตง.พบ 2 โครงการปล่อยกู้ 'ฮุนเซน' เอื้อชินคอร์ป? คดีเอ็กซิมแบงก์ โผล่เขมร ทักษิณ!ตัวการอีกแล้ว” โดยมองว่าโครงการดังกล่าวอาจมีการเอื้อผลประโยชน์ชาติเพื่อแลกผลประโยชน์ส่วนตัวคล้ายกรณี Exim bank ปล่อยกู้ให้รัฐบาลพม่า
รวมถึงข้อสงสัยในเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อน โดยการทำธุรกิจโทรคมนาคมร่วมกัน ซึ่งกัมพูชาได้มอบสัมปทานให้ บริษัท แมคโบเดีย ชินวัตร (CamShin) ให้บริการระบบดาวเทียมไอพีสตาร์ มือถือ ฯลฯ โดยในปี 50 บริษัทแคมโบเดีย ชินวัตร มีจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์ สูงถึง 72% และลูกค้าในระบบ Prepaid มีมูลค่าการตลาดอยู่ที่ประมาณ 1,000-2,000 ล้านบาท และมีอัตราการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ยังมีธุรกิจไอบีซีเคเบิลทีวีประเทศกัมพูชา ของบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น ที่มี นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน เคยเป็นผู้จัดการพัฒนาธุรกิจ และช่วงนั้นยังเป็นช่วงเดียวกันกับการที่ สมเด็จฯ ฮุนเซนเดินทางมาไทยเพื่อเยี่ยมชมกิจการชินคอร์ป ในวันที่ 10 ส.ค.2549 ด้วย
ที่น่าสนใจก็คือว่าแม้เส้นทางอันลองเวง-เสียมราฐ จะมีเหตุผลเรื่องของการเชื่อมแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่จะเชื่อมโยงมาถึง จ.ศรีสะเกษ ของไทย แต่ในเส้นทาง ตราด-เกาะกง-สะแรอัมเบิล กลับยังไม่ชัดเจนว่ามีเหตุผลเช่นใดหรือมีความจำป็นมาก-น้อยแค่ไหน เนื่องจากก่อนหน้านั้นมีการตัดถนนเส้นหนึ่งบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาไปแล้ว รวมถึงเส้นทางตราด-เกาะกง-สะแรอัมเบิล มีจุดที่กระทรวงคมนาคมเสนอการกู้เป็น 2 ระยะ และมีการเพิ่มวงเงินอีก 300 ล้านบาท จนเป็นจุดที่น่าสังเกตโดยข้อเท็จจริงเมื่อปล่อยกู้ไปแล้วรัฐบาลกัมพูชาจะต้องเป็นผู้ควบคุมโครงการ แต่รัฐบาลในขณะนั้นยังคงติดตามรายละเอียดโครงการต่อให้กับกัมพูชา เพราะการปล่อยกู้เงินกู้เพิ่มโดยสำนักงบประมาณอีก แต่ก็ไม่ปรากฎว่าโครงการนี้สตงยังคงติดตามอยู่หรือไม่ แต่พฤติกรรมต่างๆที่ผ่านมาก็ถือว่าเป็นคำถามที่โยงไปยัง พ.ต.ท.ทักษิณเรืองอำนาจ ได้เป็นอย่างดี
ขณะที่ธุรกิจพลังงานที่หลายฝ่ายเริ่มมีความสงสัย ก็มีความชัดเจนขึ้นเมื่อ พล.อ.เตีย บัญ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของกัมพูชา ได้ให้สัมภาษณ์ก่อน นพดล จะไปลงนามแถลงการร่วมให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกว่า พ.ต.ท.ทักษิณ มีความสนใจที่จะลงทุนธุรกิจพลังงานในกัมพูชา เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติในกัมพูชา โดยเฉพาะการเช่า เกาะกง ซึ่งมีรีสอร์ตดังอย่าง “สีหนุวิลล์” เป็นจุดขาย และ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้หารือกับสมเด็จฯ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาเรียบร้อยแล้ว
ความสัมพันธ์ของบุคคลทั้ง 2 ในอดีตจึงสามารถประเมินได้ว่ามีการติดต่อและดำเนินธุรกิจซึ่งธุรกิจพลังงานจากกรณีอ่าวไทยก็เป็นสิ่งที่ยังต้องจับตา ขณะที่การแสวงหาประโยชน์ทางทะเลนั้น ว่ากันว่ามีกลุ่มทุนซึ่งมีความใกล้ชิดกับ พ.ต.ท.ทักษิณเข้ามาดำเนินธุรกิจการสำรวจและขุดเจาะพลังงานในพื้นที่อ่าวไทยอย่างจริงจัง
เจะอามิง ยังตั้งข้อสังเกตว่า บริษัทเอกชนรายหนึ่ง ซึ่งก็คือ บริษัท เพิร์ลออย (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับสัมปทานในการดำเนินกิจการสำรวจและขุดเจาะแหล่งพลังงานในอ่าวไทยในหลายพื้นที่ซึ่งหากเป็นบริษัททั่วไปคงไม่มีข้อสงสัยมากนัก แต่การสำรวจข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า กรรมการของเพิร์ลออย มีตำแหน่งเป็นกรรมการในบริษัทที่เกี่ยวข้องรวม 8 บริษัท โดยล้วนแล้วแต่ประกอบธุรกิจรับสัมปทานสำรวจ และขุดเจาะน้ำมันแทบทั้งสิ้นโดยที่มีทุนจดทะเบียนเพียงบริษัทละ 100 ล้านบาท รวมถึงบางบริษัทยังไม่ได้บันทึกรายได้ โดยบริษัทที่มีรายได้สูงสุดคือเพิร์ลออย (ประเทศไทย) มีรายได้ปี 2549 รวม 7,071 ล้านบาท กำไร 1,654 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 16.54 บาท
เมื่อตรวจสอบย้อนไปพบข้อมูลที่น่าสนใจว่า บริษัทเพิร์ลออย (ประเทศไทย) จำกัด แต่เดิมชื่อ บริษัท แฮร์รอดส์ เอ็นเนอร์ยี่ ประเทศไทย จำกัด จัดตั้งเมื่อ 16 ก.พ.2547 ด้วยทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่อาคารไทยพาณิชย์ ปาร์ค พลาซ่า เวสท์ ชั้น 10 นอกจากนี้ยังพบว่า “เพิร์ลออยล์ (สยาม) ได้จดทะเบียนที่หมู่เกาะบริติซ เวอร์จิน อังกฤษ โดยมีผู้ถือหุ้นอื่นเป็นบุคคลสัญชาติแคนาดา อินโดนีเซีย 3 คน อังกฤษ 1 คน และอเมริกา 1 คน เพียงคนละ 1 หุ้น เท่านั้น โดยยังพบว่าบริษัทอื่นที่คาดว่ามีความเกี่ยวพันกับเพิร์ลออย โดยตั้งอยู่ในอาคารเดียวกัน ดังนี้ 1.บ.เพิร์ลออย (ประเทศไทย) จำกัด 2.บริษัท เพิร์ลออยล์ บางกอก จำกัด 3.บริษัท เพิร์ล ออยล์ ออฟเชอร์ จำกัด 4.เพิร์ลออย (ปิโตรเลียม) จำกัด 5.เพิร์ลออย (รีซอสเซส) จำกัด 6.บริษัท เพริ์ล ออยล์ (อมตะ) จำกัด 7.เพิร์ลออย ออนชอร์ จำกัด และ 8.บริษัท เพิร์ล ออยล์ (อ่าวไทย) จำกัด
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลที่ไม่อาจมองข้ามได้ ก็คือ ในช่วงปี 2542 โมฮัมหมัด อัลฟาเยด (Mohamed Al Fayed) เจ้าของห้างสรรพสินค้าแฮร์รอดส์ (harrods) เพื่อนของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้จัดตั้ง บริษัท แฮร์รอดส์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ขึ้นเพื่อขอสัมปทานทำธุรกิจน้ำมันในไทย อีกด้วย
“หากมีการประเมินว่า แหล่งพลังงานในอ่าวไทยนี้ไม่มีศักยภาพมากพอ ก็สวนทางกับการที่บริษัทด้านพลังงานยักษ์ใหญ่หลายแห่ง เข้าพบกัมพูชา เพื่อหวังที่จะเข้าขุดเจาะ ในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งกรณีนี้ถือว่าเป็นกรณีสำคัญ ที่มองข้ามไม่ได้”
ขณะที่ข้อมูลซึ่งแสดงในแผนที่แสดงแปลงสัมปทานปิโตรเลียมในประเทศไทย ของ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน แสดงให้เห็นการได้รับสัมปทานในพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ของบริษัทด้านสำรวจพลังานยักษ์ใหญ่ของโลกไม่ว่าจะเป็น บ.ยูโนแคล บ.เชฟรอน บ.ไอเดนมิตซุย ซึ่งถือเป็นบริษัทยักษ์ใหญแทบทั้งสิ้น
นอกจากนี้ บริเวณทรัพยากรทางทะเลบริเวณอ่าวไทยซึ่งเป็นสิทธิของไทยโดยตรงมีการเปิดเผยว่ามีโครงการเจาะสำรวจในปี 53 ดังนี้ 1.โครงการผลิตปิโตรเลี่ยมในทะเลอ่าวไทย แปลงสำรวจหมายเลข B12/27 แหล่งอุบล ของบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด 2.โครงการผลิตปิโตรเลี่ยมในทะเลอ่าวไทย แปลงสำรวจหมายเลข G1/48 ของบริษัท เพริ์ล ออยล์ (อมตะ) จำกัด 3.โครงการเจาะสำรวจปิโตรเลียมในแหล่งมโนราห์ทะเลอ่าวไทย (เฟส 2) แปลงสำรวจหมายเลข G2/48 ของบริษัท เพิร์ล ออยล์ ออฟเชอร์ จำกัด 4.โครงการเจาะสำรวจปิโตรเลียมในอ่าวไทย แปลงสำรวจหมายเลข G3/48 ของบริษัท เพริ์ล ออยล์ (อ่าวไทย) จำกัด 5. โครงการผลิตปิโตรเลียมในแหล่งวาสนาทะเลอ่าวไทย แปลงสำรวจหมายเลข G10/48 ของบริษัท เพริ์ลออยล์ (ประเทศไทย) จำกัด 6. โครงการผลิตปิโตรเลียมในแหล่งนงเยาว์ทะเลอ่าวไทย แปลงสำรวจหมายเลข G11/48 ของบริษัท เพิร์ลออยล์ บางกอก จำกัด
อย่างไรก็ตาม ข้อเคลือบแคลงสงสัยในบริษัท เพิร์ลออย ไม่อาจที่จะตรวจสอบไปยังผู้ถือหุ้นได้ เนื่องจากบริษัทดังกล่าว ได้จดทะเบียนในหมูเกาะบริติช เวอร์จิ้นซึ่งได้รับสิทธิการปกปิดข้อมูลของผู้ถือหุ้นจึงทำให้ยากต่อการตรวจสอบ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอำนาจของ พ.ต.ท.ทักษิณจะสิ้นสุดลงจากการรัฐประหารแต่การแสวงหาผลประโยชน์จากกลุ่มทุนและนักการเมืองยังคงไม่จบสิ้น เนื่องจากมีการตั้งสังเกตจากแหล่งข่าวในแวดวงพลังงานว่า อาจมีการเปิดช่องครั้งสำคัญในยุคของรัฐบาล พ.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ว่าในขณะนั้นได้แก้ไขพระราชบัญญัติ ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 ด้วยการออก พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2550) โดยให้เหตุผลว่า เพื่อสร้างแรงจูงใจต่อนักลงทุนต่างชาติ และแหล่งพลังงานในอ่าวไทยมีขนาดเล็กจึงทำให้มีความเสี่ยงสูง รวมถึงช่วยให้มีการคล่องตัวในการดำเนินกิจการ
กล่าวโดยสังเขป ดังนี้ 1.มาตรา 14 รัฐมนตรีว่าการระทรวงพลังงานมีอำนาจในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และออกกฎกระทรวง ซึ่งควรที่จะออกเป็นมติคณะรัฐมนตรี 2.มาตรา 33 การโอนสัมปทานสามารถทำได้เพียงได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรี และ3. มาตรา 99 (ตรี) ลดหย่อนค่าภาคหลวงจากเดิมที่ไม่เกินร้อยละ 30 หรือรัฐจะได้ค่าภาคหลวงร้อยละ60-70 แต่แก้ไขให้สามารถลดหย่อนค่าภาคหลวงได้ถึงร้อยละ90 หรือรัฐได้เพียงร้อยละ10 เท่านั้นทำให้มีเงินส่งรัฐลดลงเป็นจำนวนมาก เป็นต้น
“มีการมองว่าผู้ที่มีอำนาจในแวดวงพลังงานทั้งนักการเมือง และข้าราชการระดับสูงพยายามที่จะแก้ไขกฎหมาย โดยในขณะนั้นอาจมี พ.ต.ท.ทักษิณเป็นตัวละครหลัก แต่การแก้ไขพ.ร.บ.ปิโตรเลียมก็พบว่า อาจเป็นการเปิดช่องให้กับกลุ่มต่างๆ ง่ายขึ้นทั้งในกลุ่มนักการเมือง หรือบริษัทเอกชนในลักษณะที่รัฐอาจเสียประโยชน์อย่างมหาศาล ”
ด้วยเหตุนี้ การแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าวจึงส่งผลโดยตรงต่อการเข้าขอสัมปทานของบริษัทต่างๆโดยเฉพาะบริษัทขนาดเล็กอย่างเพิร์ลออย ที่ได้รับสัมปทานในการสำรวจเป็นจำนวนมากแต่จุดสำคัญอีกประการก็คือ ผลประโยชน์ที่รัฐควรจะได้รับอย่างคุ้มค่าอาจจะได้น้อยลงอย่างมากและอยู่บนอำนาจตัดสินใจของนักการเมืองและข้าราชการระดับสูงเพียงบางส่วนเท่านั้น และการต่อสู้เพื่อทวงคืนสิทธิบนพื้นที่บนบก-ทางทะเล แม้ว่าไทยจะได้รับชนะในอนาคตผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตก็อาจไม่คุ้มค่ากับสิ่งที่เสียไปอย่างแน่นอน
ดังนั้น ความคืบหน้าจากฝั่งของประเทศกัมพูชาที่มีการสำรวจแหล่งพลังงานในอ่าวไทย ได้เริ่มต้นทำมาตั้งแต่ช่วง พ.ศ.2540 เป็นต้นมา โดยอาศัยความร่วมมือกับบริษัทต่างชาติ เพื่อนำไปสู่ก้าวต่อไปในการขุดเจาะแหล่งพลังงาน คำถามก็คือ เหตุใดบริษัทธุรกิจพลังงานของประเทศมหาอำนาจจึงมีความสนใจในซึ่งต้องยอมรับว่า ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศกัมพูชาทั้งทางบก-ทะเลนั้นมีจำนวนมหาศาล ประกอบกับสงครามภายในประเทศที่สงบไปไม่นานนักทำให้กัมพูชาต้องการเงินลงทุนจากต่างประเทศอย่างมาก ซึ่งเอื้อต่อการเข้าไปลงทุนได้ง่ายขึ้น
จุดสำคัญที่ถือว่าเป็นแม่เหล็กอีกประการหนึ่ง ก็คือ สมเด็จฯ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ถือว่ามีอำนาจสูงสุด สามารถมีอำนาจตัดสินใจในการดำเนินนโยบายและให้สิทธิสัมปทานให้กับบริษัทต่างประเทศ รวมถึงพื้นฐานด้านต่างๆ ทั้งการศึกษา และความเข้มแข็งในการตรวจสอบจากสื่อมวลชนหรือ ภาคประชาสังคม นั้นไม่เข้มข้นและแข็งแกร่งเท่ากับประเทศไทย
“การลงทุนในไทยนั้นค่อนข้างยากหากจะเทียบกับการลงทุนในกัมพูชาและมีการเฝ้าระวังจากสื่อมวลชน ฝ่ายค้าน กลุ่มธุรกิจ รวมถึงภาคประชาชนที่เข้มแข็งกว่า ทำให้นักลงทุนหรือนักการเมืองเลือกที่จะแฝงตัวและเข้าไปขอสัมปทานในกัมพูชามากกว่า เนื่องจากเพียงเข้าติดต่อกับสมเด็จฯ ฮุนเซนก็เพียงพอแล้ว”
จึงแทบจะเรียกได้ว่าหากซื้อใจหรือมีผลประโยชน์ที่มากเพียงพอต่อสมเด็จฮุนเซนโครงการต่างๆก็สามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างไม่ยากเย็น ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า บริษัทยักษ์ใหญ่ทั้ง ยูโนแคล เชฟรอน เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่ยักษ์ใหญ่ที่ได้เข้าไปขอสัมปทานกับกัมพูชาเป็นจำนวนมาก
เมื่อย้อนกลับมามองในฝั่งไทยอีกครั้ง การสำรวจและรับทราบถึงแหล่งพลังงานในอ่าวไทย เชื่อว่าในอดีตอาจมีข้อจำกัดในเรื่องของความรู้และความเชี่ยวชาญในการพัฒนาและขุดสำรวจแต่หลังจากที่ไทยจัดตั้ง บริษัท การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย หรือ ปตท. (ภายหลังแปรรูปเป็น บริษัท ปตท.จำกัด มหาชน) เชื่อว่าองค์ความรู้ด้านพลังงานมีมากขึ้น รวมถึงการแก้ไขพระราชบัญญัติ ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ให้บริษัทเอกชนควรที่จะมีความรัดกุมและสร้างประโยชน์กับประเทศมากที่สุด
แต่ปัญหาก็ยังไม่จบ เมื่อพบว่าพื้นที่ในหลายแปลงมีการให้สัมปทานไปด้วยกันหลายแปลง และมีการโอนสัมปทานต่อให้กับผู้ประกอบการรายอื่น รวมถึงจากเดิมที่การให้สิทธิสัมปทานจะผ่านการพิจารณาโดยการลงมติของคณะรัฐมนตรี (พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ปี 2514) แต่ในปัจจุบันให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานเท่านั้น ซึ่งแต่เดิมที่ถือว่าน้อยแล้ว เมื่อแก้ปัญหากับยิ่งน้อยลงและทำให้สามารถให้สัมปทานได้ง่ายขึ้น
เมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจพลังงานในประเทศสหรัฐอเมริกา การอนุมัติให้สิทธิสัมปทานในการขุดเจาะและสำรวจพลังงานจะต้องผ่านการลงมติจากสภาครองเกรสหรือในประเทศเม็กซิโกจะต้องมีการทำประชาพิจารณ์ก่อนที่จะอนุมัติให้สิทธิสัมปทานแก่เอกชนหรือการโอนสัมปทานให้กับผู้ประกอบการรายอื่นซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก
“วันนี้จึงมองว่านักการเมืองและข้าราชการทำตัวคล้ายกับนายหน้าที่ขายทรัพยากรของชาติให้กับชาวต่างชาติ โดยมีการแก้ไขพ.ร.บ.ปิโตรเลียมให้มีสิทธิทำธุรกิจได้มากขึ้นโดยไม่จำกัดจำนวนมากและปริมาณของพื้นที่ในการถือครอง โดยให้ผลตอบแทนต่อรัฐลดลง รวมถึงข้อสงสัยในแวดงวงพลังงานถึงการประมูลที่บริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีเงินทุนในหลักหมื่นล้านที่แพ้การประมูลสัมปทานจากการเขียนแผนธุรกิจให้กับบริษัทที่มีเงินทุนในหลัก 100 ล้าน ซึ่งว่าแทบไม่มีความเป็นไปได้เลย หรืออาจมองได้ว่ามีผู้อิทธิพลบางส่วนยอมให้สิทธิ์ในอ่าวไทยหรือแบ่งกันเล่นคนละพื้นที่มากกว่า”
ดังนั้น จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่า การให้สัมปทานในอ่าวไทยซึ่งในพื้นที่ของไทย มีการให้สัมปทานแก่บริษัทเอกชนไปหมดทุกแปลงแล้ว โดยมีทั้งรายเล็กและรายใหญ่ที่แต่ที่น่าจับตาอย่างที่สุดก็คือ บริษัท เพิร์ลออย ที่มีทุนจดทะเบียนในหลัก 100 ล้าน บาทเท่านั้นแต่กลับชนะการประมูลขอสัมปทานต่อบริษัทใหญ่ได้เป็นจำนวนมาก
รวมถึงหลักเกณฑ์ในการประมูลสัมปทานของธุรกิจขพลังงาน ที่นอกเหนือจากการให้ราคาที่เป็นประโยชน์ต่อรัฐมากที่สุดแล้ว แผนทางธุรกิจและการพัฒนาเครือข่ายในการขุดเจาะและนำทรัพยากรไปใช้ประโยชน์ในแง่ต่างๆก็ถือเป็นเกณฑ์สำคัญในการให้สิทธิสัมปทานด้วยเช่นกัน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบเม็ดเงินกับบริษัทเล็กๆอย่างเพิร์ลออย และบริษัทใหญ่ของไทยอย่าง ปตท.สผ.ก็มีความเป็นไปได้ว่าแผนงานของ ปตท.สผ.ควรจะมีศักยภาพที่ดีกว่าโดยไม่นับรวมถึงบริษัทธุรกิจพลังงานของต่างประเทศที่มีเม็ดเงินเป็นจำนวนมากอย่าง เชฟรอนหรือยูโนแคลที่ไม่ได้สิทธิในพื้นที่ดังกล่าวด้วย จึงชวนให้คิดว่า ผู้มีอำนาจทางการเมืองเป็นผู้มีสิทธิในการให้สัมปทานมากพอที่จะกดดันบริษัทเหล่านี้หรือไม่
นอกจากนี้ ข้อเท็จริงที่พบจาก ข้อมูลการให้สัมปทานขุดเจาะพลังงานพบว่าในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตก (ทะเลอันดามัน) ของไทยมีบริษัท ปตท.สผ.ได้รับสิทธิเพียงเจ้าเดียว ขณะที่พื้นที่ของอ่าวไทยนั้นมีความหลากหลายของการลงทุนมากว่า ขณะที่บริษัทเล็กๆ อย่างเพิร์ลออยก็ได้สิทธิทั้งบนบก-ทะเลอ่าวไทยเป็นจำนวนมาก รวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงกับบริเวณพื้นที่ทับซ้อนของไทย-กัมพูชาด้วย
ทั้งนี้ ยังรวมถึงการแก้ไขการลดหย่อนค่าภาคหลวงจากเดิมที่กำหนดเพดานไว้ที่ 30% เป็น 90% ในกรณีที่เอกชนเข้าขุดเจาะและสำรวจแล้วไม่พบแหล่งพลังงานหรือพบน้อยจนทำให้ไม่คุ้มค่าการลงทุนก็จะเสียค่าภาคหลวงให้กับรัฐเป็นสัดส่วนที่ลดลงเป็นอย่างมาก ซึ่งล้วนแล้วแต่สวนทางกับการให้ความผลสำรวจและความสนใจของบริษัทยักษ์ใหญ่ในแหล่งพลังงานอ่าวไทย
“สิ่งที่เห็นในตอนนี้ก็คือมันมากกว่าการขายชาติ เพราะเป็นการขายอนาคต เป็นการขายขุมทรัพย์ของไทย ก็อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งหากไทยได้ประโยชน์จากการให้สัมปทานอย่างคุ้มค่าแล้ว การทำรัฐสวัสดิการย่อมเป็นไปได้แต่การให้สิทธิเช่นนี้ ทำให้ประโยชน์ที่ควรได้ลดลงอย่างมาก” แหล่งข่าวในแวดวงพลังงาน ทิ้งท้าย
ดังนั้น การแก้ไขปัญหาต่อจากนี้จำเป็นต้องมองใน 3 แนวทาง ดังนี้
1. กรณีพิพาทในเรื่องเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชา โดยเน้นในจุดของพื้นที่เขาพระวิหาร เนื่องจากมีความเกี่ยวพันกับจากเอ็มโอยู 43 โดยกัมพูชาแนบแผนที่ 1ต่อ 200,000 ซึ่งทำให้ไทยเสียเปรียบกับพูชาทั้งในทางบกและทางทะเล ซึ่งจากกัมพูชาใด้ใช้แผนที่ดังกล้าวในการลากเส้นเขตแดนล้ำเข้ามาในอ่าวไทยและกินเนื้อที่ของอ่าวไทยเป็นจำนวนมาก ซึ่งคาดว่าจะมีแหล่งพลังงานมหาศาลอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องเดินหน้าเพื่อยกเลิก 43 ก่อน
2. กรณีการจำเป็นต้องยกเลิกเอ็มโอยู ปี 44 ที่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ทำลงนามข้อตกลงในการพัฒนาทรัพยากรทางทะเลร่วมกับกัมพูชา เท่ากับว่าไทยยอมรับว่าพื้นที่ทับซ้อนเป็นของไทย-กัมพูชาที่ต้องแสวงประโยชน์ร่วมกันแม้ว่าจะเห็นได้ชัดจากกรณีของเกาะกูด จ.ตราด จะถูกแบ่งให้กับกัมพูชาเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ให้การให้สิทธิสัมปทานแก่บริษัทพลังงานได้ จึงจำเป็นต้องยกเลิกเอ็มโอยูดังกล่าวเช่นกัน
3.พ.ร.บ.ปิโตรเลียมแห่งชาติ ที่ยังถือว่าเป็นปัญหาในหลายส่วนจำเป็นต้องนำมาปรับแก้เนื่องจากรัฐได้ประโยชน์จาก พ.ร.บ.ปิโตรเลียมน้อยกว่าที่ควรจะเป็น และหากรัฐบาลไทยต่อสู้ในเรื่องพื้นที่พิพาททั้งทางบก-ทะเลจนได้รับชัยชนะก็อาจได้ประโยชน์จากทรัพยากรของชาติที่เสียไปน้อยเกินไปกว่าที่ควรจะเป็น
แหล่งข่าวด้านพลังงาน ย้ำด้วยว่า แม้ภาคประชาชน หรือรัฐบาลจะพยายามต่อสู้จนสามารถชนะและได้สิทธิ์ในอธิปไตยเหนือพื้นที่พิพาททางบกในกรณีเขาพระวิหารแล้ว แต่จุดที่น่ากังวลคือความเชื่อมโยงไปยังพื้นที่ทางทะเลก็ยังคงมีปัญหาให้กลับมาแก้ไขด้วยเช่นกันเนื่องจากสัมปทานที่ให้ไปนั้นพร้อมที่จะเดินหน้าโดยบริษัทต่างๆโดยที่ประเทศไทยอาจจะได้รับผลตอบแทนจากการเปิดให้ต่างชาติเข้ามาแสวงหาทรัพยกรสำคัญนี้โดยที่รัฐบาลอาจได้ผลตอบแทนน้อยกว่าที่ควรจะเป็น...
“นักวิชาการ-ความมั่นคง” ยันปมความขัดแย้งพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร 4.6 ตร.กม.จะนำไปสู่การปะทะระหว่างไทย-กัมพูชาแน่ แต่จะไม่พัฒนาไปถึงขั้นสงครามระหว่างประเทศ เนื่องจากจะเกิดการสูญเสียครั้งใหญ่ ยันรัฐบาลอภิสิทธิ์ต้องกล้าที่จะไล่คนเขมรออกจากพื้นที่ขัดแย้งก่อนครอบครองปฏิปักษ์ เปิดโปงปัญหาใหญ่ “นักการเมืองไทยกลุ่มใกล้ชิดทักษิณ-ทหาร” ตัวดี กดดันมาร์คยอมเขมร!
กรณีความขัดแย้งปราสาทพระวิหาร โดยเฉพาะพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารนั้น ได้กลายเป็นเรื่องร้อนแรงที่สุดในประเทศไทยเวลานี้ ที่เกิดความตื่นตัวอย่างสูงสุดในภาคประชาชน โดยเฉพาะประเด็นการขับไล่ประชาชนชาวกัมพูชาที่รุกล้ำมาตั้งรกรากในบริเวณ 4.6 ตารางกิโลเมตรรอบปราสาทพระวิหารที่ศาลโลกตัดสินไปแล้วว่าเป็นของไทยตั้งแต่ พ.ศ.2505 และเป็นการละเมิดข้อตกลง ไทย-กัมพูชาใน MOU43 ที่ชัดเจนที่สุด จนนิด้าโพลได้ทำการสำรวจความคิดเห็นประชาชนแล้วได้ผลว่า 69.55% ของประชาชนไทยหนุนให้ผลักดันเขมรพ้นพื้นที่ร้อนดังกล่าว รวมกับภาคประชาชนที่บีบให้รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีกระทำการเพื่อรักษาดินแดนไทยด้วยวิธีที่เด็ดขาด จนสมเด็จฯ ฮุนเซนเองก็ประกาศพร้อมนองเลือดหากไทยมีการยิงเข้าไปในพื้นที่ปัญหาดังกล่าว
ความขัดแย้งทั้งหมดในปมปราสาทพระวิหารนี้ รวมไปถึงการขับไล่ประชาชนกัมพูชาออกจากพื้นที่ของไทยนั้น ถูกจับตามองอย่างใกล้ชิดจากทุกฝ่ายว่า อาจเป็นชนวนที่นำไปสู่สงครามระหว่างประเทศหรือไม่?
เทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการประวัติศาสตร์ กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลไทยถือว่าได้เปรียบประเทศกัมพูชาอย่างมาก ถ้ายึดเอาคำตัดสินของศาลโลกปี 2505 ขึ้นมา เพราะไทยมีหลักฐานแน่นหนาว่ากัมพูชากำลังทำผิดต่อคำสั่งศาลโลก อีกทั้งยังมีสนธิสัญญาสันปันน้ำที่กัมพูชาจะเข้าครอบครองพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารของไทยไม่ได้ ซึ่งตรงนี้เป็นหลักฐานสำคัญ และไทยได้เปรียบ แต่ปัญหาติดอยู่ที่รัฐบาลกับกระทรวงต่างประเทศเข้าใจกฎหมายระหว่างประเทศดีพอหรือไม่
รวมทั้งรัฐบาลมีความกล้าหาญแค่ไหนที่จะเข้ายึดพื้นที่เป้ยตาดี และล้อมรั้วลวดหนามใหม่ ซึ่งกัมพูชาจะไม่สามารถมาคัดค้านต่อต้านได้ เพราะไทยยึดหลักสันปันน้ำเป็นอธิปไตยของชาติ
“ตอนนี้รัฐบาลต้องเลือกว่าจะทำอย่างไร หรือปล่อยให้ประชาชนกัมพูชาครอบครองในเขตพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารต่อ จนกลายเป็นปัญหาครอบครองปฏิปักษ์ หรือจะเผชิญหน้ารักษาผลประโยชน์ชาติ ซึ่งสุดท้ายแล้วยังเชื่อว่าประชาธิปัตย์จะเลือกมีปัญหาภายนอกประเทศมากกว่าเผชิญปัญหาภายในประเทศ เพราะมีศักดิ์ศรีและได้คะแนนเสียง”
อย่างไรก็ดี ทันทีที่รัฐบาลไทยกล้าหาญ และเข้าไปยึดพื้นที่ความขัดแย้งคืน เชื่อว่าจะเกิดการปะทะกันในพื้นที่ทันที เนื่องจากสมเด็จฮุน เซน ประกาศแล้วว่าพร้อมนองเลือดทันที แต่ไม่ใช่สิ่งที่ไทยต้องกลัว เพราะไทยเป็นฝ่ายถูกต้องตามกติกาสากล โดยเฉพาะต่อคำสั่งศาลโลกปี 2505
“ปะทะกันแน่ แต่พอเกิดการปะทะแล้วก็จะสามารถเคลียร์ได้ และจะกลับไปอยู่ในสภาพเดิมตามคำตัดสินของศาลโลก แม้กระทั่ง สมเด็จสีหนุก็ทราบดีว่าการขึ้นสู่ปราสาทพระวิหารจำเป็นต้องเดินขึ้นบันไดเล็กเท่านั้น ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลไทยจะทำหรือไม่”
นอกจากนี้ ยังมั่นใจว่าการปะทะจะไม่กลายเป็นสงครามระหว่างประเทศ หากรัฐบาลไทยทำการยึดคืนพื้นที่อย่างรวดเร็ว ไม่เสียเวลามาก แต่ถ้ายืดเยื้อ กัมพูชาก็จะใช้วิธีไปร้องสหประชาชนติ หรือคณะมนตรีความมั่นคง และอาจทำให้องค์กรระหว่างประเทศเข้าใจประเทศไทยผิด ซึ่งจะเป็นเรื่องใหญ่ และกระทรวงต่างประเทศของไทยจำเป็นต้องชี้แจงตามหลักฐานข้อเท็จจริง
ด้าน ภุมรัตน์ ทักษาดิพงษ์ อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ประเมินว่า ความขัดแย้งเรื่องปราสาทพระวิหารของไทย-กัมพูชา จะเกิดการปะทะตามพื้นที่ปัญหาแน่นอน และอาจจะมีการปะทะหลายครั้ง แต่จะไม่พัฒนาต่อเป็นสงครามระหว่างประเทศ เพราะไทยและเขมรยังมีสัญญาณที่ส่งออกมาบ่งบอกว่า ทั้งสองจะยังยึดหลักมาตรการทางการทูตเป็นหลัก
โดยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีระดับความสัมพันธ์ 3 ระดับด้วยกัน คือ
1.ในกรณีผลประโยชน์ของทั้ง 2 หรือมากกว่า สอดคล้องกัน ความสัมพันธ์ถือว่าดี
2.กรณีผลประโยชน์ของทั้ง 2 ประเทศขัดแย้งกัน แต่สามารถตกลงกันได้ ก็สามารถรักษาความสัมพันธ์ที่ดีได้
3.กรณีผลประโยชน์ของทั้ง 2 ประเทศขัดแย้งกัน โดยเฉพาะผลประโยชน์สำคัญยิ่งของชาติ ไม่สามารถประนีประนอมได้ คือเรื่องเกี่ยวกับ อธิปไตย,ดินแดนของชาติ,และระบอบการปกครองของชาติ
ในส่วนนี้ประเทศต่างๆ จะใช้มาตรการด้านอื่น เช่น มาตรการทางการฑูต ด้านเศรษฐกิจ และด้านการเมือง เพื่อหาวิธีประนีประนอม แต่หากไม่ได้ผล ถึงจะมีการใช้มาตรการทางการทหาร ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ เพราะจะมีแค่ 2 คำตอบคือ แพ้ หรือชนะ เท่านั้น ซึ่งแต่ละประเทศก็ต้องการที่จะเป็นผู้ชนะ ดังนั้นจึงจะมีการต่อสู้กันเสียเลือดเนื้ออย่างมาก
“ไม่มีประเทศไหนที่จะอยากใช้มาตรการทางการทหารในการแก้ปัญหา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่เล็กกว่าอย่างกัมพูชา คือไม่มีผู้นำประเทศที่เล็กกว่าประเทศใดที่ใช้มาตรการทางการทหารกับประเทศใหญ่กว่า เพราะถ้าทำอย่างนั้นไม่บ้า ก็เมา ยกเว้นว่าจะดึงประเทศอื่นที่ใหญ่กว่ามาร่วม แต่ก็ไม่มีผู้นำประเทศไหนเห็นด้วยกับการใช้กำลังทหาร ซึ่งเชื่อว่ากัมพูชาก็ตระหนักในเหตุผลนี้ดี แม้สมเด็จฯ ฮุนเซนจะมีลักษณะเขี้ยวลากดิน ซึ่งตรงนี้เป็นแค่เกมการเมืองที่เก่งของฮุนเซน เพราะอยู่ในอำนาจถึง 20 กว่าปีเท่านั้น”
ขณะที่ แหล่งข่าวด้านความมั่นคง ระบุว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่าสงครามระหว่างประเทศที่อาจจะเกิดขึ้นได้ยากกว่านั้นคือ ปัญหาภายในประเทศไทยเอง
“คนไทยโดยเฉพาะนักการเมืองหลายกลุ่มเข้าไปมีผลประโยชน์ในกัมพูชาเยอะมาก คนเหล่านี้กำลังลอบบี้รัฐบาลเพื่อไม่ให้ทำอะไรที่จะนำไปสู่การปะทะและสงครามระหว่างประเทศ เพราะห่วงธุรกิจของตัวเอง”
โดยธุรกิจที่กลุ่มนักการเมืองไทยเข้าไปหาผลประโยชน์ในประเทศกัมพูชาอย่างมากนั้นประกอบด้วย ธุรกิจบ่อนกาสิโน ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจการค้าชายแดน และบริษัทน้ำมันทั้งไทยและต่างประเทศที่หวังผลประโยชน์การได้สัมปทานน้ำมันจากประเทศกัมพูชา
“ตอนนี้มีความเคลื่อนไหวกดดันรัฐบาลใต้ดินกันเยอะมาก โดยเฉพาะธุรกิจการค้าชายแดน กับ บ่อนกาสิโนที่จะเดือดร้อนมากที่สุดหากมีสงครามเกิดขึ้น”
เขาบอกอีกว่า นักธุรกิจไทยที่เข้าไปดำเนินธุรกิจในกัมพูชานั้น ส่วนใหญ่เป็นนักการเมืองไทย และเป็นกลุ่มทุนที่ผูกอยู่กับระบบการเมืองไทยอย่างแยกไม่ออก โดยกลุ่มนักการเมืองไทยที่ไปมีผลประโยชน์ในกัมพูชามากที่สุดเป็นกลุ่มทุนในกลุ่มคนใกล้ชิด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และนอกจากนี้ยังมีกลุ่มทหารที่เข้าสู่การเมืองที่เข้าไปมีผลประโยชน์ด้านการค้าชายแดนด้วย ซึ่งคนกลุ่มนี้หลายคนมีอิทธิพลกับพรรคประชาธิปัตย์ด้วย เนื่องจากสนับสนุนด้านทุนให้กับพรรคการเมืองต่างๆ รวมถึงพรรคประชาธิปัตย์ด้วย ดังนั้นจึงมีอิทธิพลมากพอที่จะบีบรัฐบาลไม่ให้กระทำการรุนแรง เพื่อรักษาผลประโยชน์ด้านการค้าของกลุ่มตัวเองด้วย
“ทหารมีทั้งฝ่ายที่ไปอยู่กับ พ.ต.ท.ทักษิณ และฝ่ายตรงข้ามก็มี คือมีผลประโยชน์ด้านการค้าชายแดน โดยเฉพาะทหารระดับสูง ส่วนทหารที่อยากรักษาดินแดนก็เป็นทหารระดับล่าง จึงถูกกุมอำนาจตัดสินใจจากกลุ่มทหารการเมืองไปหมด”
และนี่คือสิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุด!
พลเรือโท ประทีป ชื่นอารมณ์ แนะเลิกMOU44 พับเก็บการลากเส้นเขตแดนทางทะเลของไทยและกัมพูชาทั้ง 2ฉบับ เดินหน้าใช้วิธีการฑูตดึงฮุนเซ็นเข้าสู่โต๊ะเจรจาใหม่ เพื่อดำเนินการลากเส้นเขตแดนทางทะเลใหม่ ระบุจะเป็นประโยชน์กับไทยมากกว่า เพราะจะทำทำให้ได้พื้นที่ทางทะเลมากขึ้น และลดอำนาจต่อรอง ผลประโยชน์กัมพูชาต่อชาติมหาอำนาจ เพราะจำนวนพื้นที่ผลประโยชน์ลดน้อยลง
จากกรณีการตอบกระทู้ของรัฐมนตรีต่างประเทศ กษิต ภิรมย์ ตัวแทนนายกรัฐมนตรีต่อรัฐสภาเกี่ยวกับ 3แนวทางเลือกดำเนินการ เพื่อแก้ไขปัญหาข้อพิพาทของพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลอ่าวไทยระหว่างไทยกับกัมพูชา ได้แก่ หนึ่ง-ขีดเส้นแบ่งชายฝั่ง เพื่อให้เกิดความชัดเจน สอง-หาเส้นตรงตรงระหว่าง 2ประเทศ และสาม-หาเส้นแบ่งผลประโยชน์ร่วมกันทั้ง 2ประเทศ
พลเรือโท ประทีป ชื่นอารมณ์ นายทหารเรือที่เกาะติดสถานการณ์ไทย-กัมพูชามาโดยตลอด ให้ความเห็นต่อท่าทีล่าสุดของผู้นำกัมพูชาที่แสดงออกอย่างแข็งกร้าว และการสนับสนุนของประเทศมหาอำนาจเช่น ฝรั่งเศส ต่อปมปัญหาดังกล่าว กับ “ ผู้จัดการ 360 องศารายสัปดาห์” ว่า เป็นสัญญาณอย่างหนึ่งที่ตอกย้ำว่า กัมพูชากับชาติมหาอำนาจเอื้อผลประโยชน์ทางทะเลซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ หากเอ็มโอยู 2544 ไม่สามารถยกเลิกได้และปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลยังคงอยู่ จะทำให้กัมพูชามีอำนาจต่อรองกับชาติมหาอำนาจได้มาก โดยเฉพาะปริมาณแหล่งผลประโยชน์ของกัมพูชาในพื้นที่ทับซ้อนกว่าเท่าที่ควร เพราะหากเอ็มโอยู 2544 ยกเลิกและมีการขีดเส้นเขตแดนทาง
ทะเลกันใหม่ จะส่งผลให้พื้นที่ปริมาณแหล่งผลประโยชน์ของกัมพูชาลดน้อยลง และทำให้อำนาจต่อรองของกัมพูชาลด
อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าวก็มีคำถามกลับมาว่า ไทยเอื้อผลประโยชน์ให้กับชาติมหาอำนาจน้อยกว่ากัมพูชาหรือไม่ ทั้งที่พื้นที่ทับซ้อนบริเวณนั้นไทยมีสิทธิและเอื้อผลประโยชน์ได้เช่นเดียวกันและตรงกันอาจให้มากกว่า แต่หากพิจารณาในมุมมองของชาติมหาอำนาจในการเลือกร่วมมือแบ่งผลประโยชน์ระหว่างประเทศกำลังพัฒนาที่มีความเจริญแตกต่างกันเช่นไทยกับกัมพูชา ชาติมหาอำนาจย่อมเลือกกัมพูชา ซึ่งเป็นประเทศที่เจริญน้อยกว่าไทย เพราะง่ายต่อการยื่นข้อเสนอแบ่งปันผลประโยชน์
โดยเฉพาะผู้นำกัมพูชาอย่างฮุนเซ็นที่มีความไม่แตกต่างไปจากทักษิณ ชินวัตร ที่ไม่คำนึงถึงว่า ประชาชนกัมพูชาจะยากจนอย่างไรและ ยังคงใช้อำนาจอย่างเผด็จการในการจัดสรรผลประโยชน์ให้กับชาติมหาอำนาจตจำนวนเท่าไหร่ ประชาชนก็ไม่สามารถแสดงออกคัดค้านได้ ซึ่งเป็นข้อด้อยของกัมพูชา แต่เป็นจุดแข็งในการแสดงหาผลประโยชน์ร่วมกับชาติมหาอำนาจ
“พื้นที่ทับซ้อน ผลประโยชน์ของกัมพูชาที่จะได้รับลดน้อยลงอย่างแน่นอน หากมีการยกเลิกเอ็มโอยู 2544 และยกเลิกการขีดเส้นเขตแดนทางทะเลของทั้งสองประเทศแล้วมีเจรจาตกลงกันใหม่ ส่วนตัวเชื่อว่า วิธีการดังกล่าวจะทำให้ประเทศไทยได้ประโยชน์มากกว่า เพราะเราเชื่อว่าเส้นเขตไหล่ทวีปที่ไทยขีดนั้นถูกต้องตามหลักวิชาการมากกว่ากัมพูชา กล่าวคือ พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลที่เกิดขึ้นจากข้อโต้แย้งที่มีเหตุมีผลจะมีพื้นที่ทับซ้อนน้อยกว่านี้ โดยไทยจะเป็นเจ้าของพื้นที่อ่าวไทยอย่างสมบูรณ์แต่เพียงผู้เดียวและในพื้นที่จำนวนมากกว่านี้”
ทั้งนี้ตามหลักวิชาการนั้น ในแง่ความชอบธรรมในการกำหนดพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลของไทยและกัมพูชานั้น ทางกัมพูชามีความไม่ชอบธรรมากกว่า เพราะการลากเส้นเขตไหล่ทวีปต้องลากจากเส้นฐาน โดยรัฐชายฝั่งของแต่ละประเทศจะต้องกำหนดขีดจากเส้นฐาน ซึ่งมี 2 ชนิด ได้แก่ เส้นฐานตรง เป็นเส้นฐานที่ลากเชื่อมระหว่างเกาะกับเกาะ หรือ หินกับหิน และเส้นฐานปกติ เป็นเส้นที่แนบตามขอบชายฝั่งตามระดับน้ำทะเลลดต่ำสุดหรือปานกลางให้ได้ก่อน จากนั้นจึงดำเนินการตาม 3 แนวทางที่กำหนดไว้
“หนทางที่ดีที่สุดในการปฏิเสธก็คือ การยกเลิกเอ็มโอยู 2544 จากนั้นก็ใช้วิธีดำเนินการทางการฑูตระหว่างประเทศให้กัมพูชามาตกลงเรื่องเส้นเขตแดนทางทะเลกับไทย โดยกัมพูชาให้ยกเลิกการลากเส้นเขตแดนทางทะเลที่ได้ทำไว้ในปี พ.ศ.2515 ขณะเดียวกัน ประเทศไทยก็ต้องยกเลิกการลากเส้นเขตแดนบริเวณไหล่ทวีป เมื่อปี พ.ศ.2506 เช่นเดียวกัน แล้วจากตั้งโต๊ะเจรจาในประเด็นดังกล่าวกันทั้งสองประเทศ” นายทหารเรือคนเดิมบอกในตอนท้าย
- ฮุนเซน-บิ๊กการเมืองและนักธุรกิจไทย ร่วมกันฮุบผลประโยชน์ชาติ
- ดึงต่างชาติร่วมกันจัดสรรผลประโยชน์กันอย่างลงตัว
- แถมพบเงื่อนงำ บริษัท เพิร์ลออยล์ จดทะเบียนในหมู่เกาะบริติชเวอร์จิน คว้าสัมปทานเพียบ
ปลุกคนไทยลุกขึ้นสู้ชิงผลประโยชน์ชาติกลับคืน
แม้ว่าปมปัญหาพิพาทไทย-กัมพูชาในเรื่องเขตพื้นที่รอบปราสาทเขาพระวิหาร 4.6 ตารางกิโลเมตร ที่ภาคประชาชนเรียกร้องรัฐบาลให้ยกเลิก MOU 2543 ที่เป็นต้นเหตุของเรื่องทั้งหมดนั้นจะยังไม่ได้ข้อสรุป แต่เรื่องดังกล่าวนั้นมีความสำคัญนอกเหนือจากอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่พิพาทดังกล่าว อีกด้วย
เนื่องจากปมดังกล่าวเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการเปิดประตูขุมทรัพย์ทางทะเลในพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา โดยกัมพูชาพยายามที่จะผลักดันการแบ่งเส้นเขตแดนด้วยแผนที่ 1 : 200,000 ที่แนบตาม MOU 2543 ซึ่งจะทำให้พื้นที่ทับซ้อนของเขตแดนทางบกเชื่อมโยงไปถึงเขตพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลที่มีมูลค่าอภิมหาศาล ตั้งแต่ปราสาทพระวิหาร ไปทางจังหวัดสระแก้ว-สุรินทร์-อุบลราชธานี-จันทบุรี และตราด
จึงไม่แปลกที่ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดก็ล้วนจับจ้องขุมทรัพย์นี้ตาเป็นมันโดยเฉพาะชาติมหาอำนาจที่พยายามเข้าไปแสวงหาประโยชน์จากขุมทรัพย์ใต้ทะเลที่มีการประเมินว่าเป็นแหล่งพลังงานที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งที่ 2 ของโลกที่ยังเหลืออยู่ และจุดนี้เองที่นักการเมืองไทยและสมเด็จฮุนเซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชาต่างรู้ดี และได้กลายเป็นแหล่งที่เตรียมผลประโยชน์รองรับไว้แล้วก่อนหน้า
ดังนั้น หากกรณีพิพาทไทย-กัมพูชา จบลงที่ไทยไปเสียท่ายอมรับแผนที่ 1 : 200,000 ก็จะส่งผลกระทบต่อหลักหมุด 73ซึ่งคณะกรรมการปักปันเขตแดนร่วมสยาม-อินโดจีนฝรั่งเศสจัดทำขึ้น ตั้งแต่ปี 2451 ซึ่งมีการปักหลักหมุดทั้งหมด 73 หมุด ตั้งแต่หมุดหลักที่ 1 บริเวณช่องสำงำ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ มาถึงหลักหมุด 73 ที่อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด โดยที่ผ่านมาไทย-กัมพูชามีปัญหาเรื่องหลักหมุดต่อกันมาตลอด โดยเฉพาะมีหลายหลักหมุดในบางพื้นที่ที่สูญหายไป
หลักหมุด 73 นี้เองที่เป็นที่รู้กันดีว่าหากมีการคลาดเคลื่อนแม้เพียง 1-2 ลิปดาแล้ว พื้นที่ทับซ้อนบริเวณอ่าวไทยที่มีอยู่ประมาณ 26,000 ตารางกิโลเมตรจะกลายเป็นของกัมพูชาทั้งหมด นอกเหนือจากพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร 4.6 กิโลเมตรแล้ว หลักหมุด 73 นี้ก็เป็นจุดที่รัฐบาลไทยต้องให้ความสำคัญ และยืนกรานว่าจะยอมไม่ได้เด็ดขาด
ในส่วนของขุมทรัพย์ทางทะเล 26,000 ตารางกิโลเมตรที่ทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชานี้ จากการสำรวจเบื้องต้นพบข้อมูลที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ซึ่งมีการประเมินว่ามีมูลค่าก๊าซธรรมชาติและน้ำมันอยู่ในพื้นที่ดังกล่าวสูงถึง 5 ล้านล้านลูกบาศก์เมตรและถ้ามีการขุดเจาะจริงอาจพบในปริมาณมากกว่าที่ประมาณเบื้องต้นมากกว่าด้วย
แหล่งข่าวผู้เชี่ยวชาญในแวดวงพลังงาน เปิดเผยว่า ล่าสุดองค์การปิโตรเลียมแห่งชาติกัมพูชา หรือ Cambodian National Petroleum Authority (CNPA) ได้ว่าจ้างทีมผู้เชี่ยวชาญทำการสำรวจและขุดเจาะและพัฒนาทรัพยากรจากแหล่งพลังงานในพื้นที่ใกล้เคียงกับบริเวณพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา เป็นจำนวน 10 หลุม และพบว่าบริเวณไหล่ทวีปของกัมพูชามีปริมาณก๊าซธรรมชาติกว่า 4 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต และน้ำมันกว่า 200 ล้านบาร์เรล ขณะที่บริเวณไหล่ทวีปฝั่งไทยก็มีการสำรวจและขุดเจาะพบว่ามีปริมาณก๊าซธรรมชาติและน้ำมันกว่า 7 แสนล้านบาร์เรล
“การขุดเจาะสำรวจแหล่งพลังงานใต้ทะเลทั้งของไทยและกัมพูชาบริเวณใกล้เคียงกับแอ่งพลังานที่อยู่ใจกลางพื้นที่ทับซ้อน ที่ถือว่ามีอยู่ในปริมาณมากซึ่งพูดง่ายๆว่านี่เป็นเพียงชายขอบของแอ่งพลังงาน ซึ่งหากมีการสำรวจพื้นที่ทับซ้อนใต้ทะเลก็ประมาณการได้ว่าจะมีพลังงานมหาศาลอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว เพราะบริษัทยักษ์ใหญ่ต่างก็ให้ความสนใจกันเป็นจำนวนมาก”
สอดคล้องกับข้อมูลรายงานของบริษัทเชฟรอนที่ทำไว้เมื่อปี 2548 ว่า ได้มีการค้นพบบ่อน้ำมันและก๊าซขนาดใหญ่ ในพื้นที่ 2,427 ตารางกิโลเมตรทางตอนใต้ของกัมพูชา โดยเฉพาะพื้นที่สัมปทานแปลงเอ เนื้อที่ 6,278 ตารางกิโลเมตร ที่คาดว่าจะมีน้ำมันสำรองถึง 700 ล้านบาร์เรล และก๊าซธรรมชาติอีก 3-5 ล้านล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่ธนาคารโลกประเมินว่าแหล่งพลังงานในกัมพูชาน่าจะมีน้ำมันถึง 2 พันล้านบาร์เรล และก๊าซธรรมชาติอีก 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ทั้งนี้ พื้นที่ดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ไหล่ทวีป ขณะที่เขตพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา นั้นลักษณะทางธรณีวิทยาที่ชี้ว่าเป็นแอ่งกะทะที่มีการประเมินว่าคุณภาพของทรัพยากรใต้ทะเลมีคุณภาพระดับดีหรือใกล้เคียงกับแหล่งพลังงานของประเทศมาเลเซียเนื่องจากการทับถมในยุคเดียวกันนั่นเอง
แต่การที่จะประเมินมูลค่าที่แท้จริงนั้น จำเป็นต้องสำรวจอย่างละเอียดอีกครั้งว่าพื้นที่ดังกล่าวมีปริมาณก๊าซธรรมชาติและน้ำมันอยู่ปริมาณเท่าใด จำเป็นจะต้องมีการขุดเจาะขึ้นมาก่อนจึงจะประเมินมูลค่าที่แท้จริงได้ แต่ขณะนี้แม้ว่าทั้งรัฐบาลไทย-กัมพูชาจะมีการให้สัมปทานบริษัทต่างๆ เพื่อทำการสำรวจแล้ว แต่ก็ยังไม่มีใครที่สามารถขุดเจาะน้ำมันขึ้นมาได้จริง เนื่องจากยังติดปัญหาข้อขัดแย้งพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา
ข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ในพื้นที่ทางทะเลของกัมพูชา บริษัท เชฟรอน ได้รับสัมปทานอนุญาตขุดเจาะ และยังมีบริษัทจากไทยคือบริษัท ปตท.สผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) (PTTEPI) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ปตท. ได้ร่วมทุน 30% กับอีก 2 บริษัท คือ บริษัท Resourceful Petroleum Ltd. และ SPC Cambodia Ltd. อีก 10% เป็นของ CE Cambodia B Ltd. ทั้งนี้ ปตท.สผ.อ.ได้รับสัมปทานจากรัฐบาลกัมพูชาในการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซ นอกชายฝั่ง ในบริเวณอ่าวไทย แต่ยังมีพื้นที่แหล่งนี้ที่กัมพูชาเรียกว่า “บล็อก B” และ ปตท.สผ. ตั้งรหัสว่าโครงการจี 9/43 มีการพบเบื้องต้นว่ามีน้ำมันและก๊าซจำนวนมาก แต่ในหนังสือรายงานประจำปี 2550 ได้ระบุว่าเป็นพื้นที่คาบเกี่ยวระหว่างไทย-กัมพูชา และกำลังแก้ไขปัญหาเรื่องเส้นแบ่งเขตทางทะเล หรือเป็นหนึ่งในพื้นทับซ้อนระหว่างไทยและกัมพูชาอีกพื้นที่หนึ่ง
อย่างไรก็ตาม เรื่องของการให้สัมปทานบริษัทต่างๆ ที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าคนในแวดวงพลังงานรู้กันดีว่า ผลประโยชน์ด้านพลังงานกับภาคการเมืองของไทยนั้นมีสัมพันธ์อันแนบแน่น ซึ่งนักการเมืองไทยมักจะได้ประโยชน์จากการให้สัมปทาน และสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีถือเป็นยุคสมัยที่ได้ชื่อว่ามีการแลกผลประโยชน์ด้านสัมปทานมากที่สุดด้วย
ปมดังกล่าวต้องย้อนกลับไปในช่วงรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณที่หลังจากได้ผลักดันจนสามารถแปรูปการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ให้เป็นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้สำเร็จ ก็เชื่อว่าได้เห็นลู่ทางการแสวงหาผลประโยชน์จากการลงทุนขุดเจาะทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลและพยายามผลักดันเรื่องดังกล่าวมาโดยตลอด
ทั้งในแง่ของพฤติกรรมส่วนตัวโดยตลอดระยะเวลากว่า 6 ปี พ.ต.ท.ทักษิณไปเยือนกัมพูชา 4 ครั้ง และสมเด็จฮุนเซนมาเยือนไทย 4 ครั้งโดยขณะนั้นยังไม่มีการตั้งข้อสงสัยต่อความสัมพันธ์ดังกล่าว
จนกระทั่ง นพดล ปัทมะ ขณะที่ดำรงตำแหน่งรมว.การต่างประเทศได้ลงนามแถลงการณ์ร่วมให้กัมพูชาสามารถขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียวได้ ในวันที่ 18 มิ.ย.2551จนวันที่ 8 ก.ค.2551 คณะกรรมการมรดกโลกได้ทำการรับรองการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาในที่สุด ซึ่งขณะนั้น พ.ต.ท.ทักษิณได้ถูกยึดอำนาจจากรัฐบาลทหารตั้งแต่วันที่ 19 ก.ย.2549 เรื่องดังกล่าวจึงชะงักและยุติลงโดยปริยายเมื่อพ.ต.ท.ทักษิณสิ้นอำนาจ
ในแง่ของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐการความช่วยเหลือจากรัฐบาลไทยในขณะนั้นปรากฏอย่างมากมาย ซึ่ง เจะอามิง โตะตาหยง ส.ส.พังงา และประธานคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ สภาผู้แทนราษฎร อธิบายว่า ในปี 2547 รัฐบาลทักษิณได้อนุมัติให้เงินกู้กัมพูชาอัตราดอกเบี้ยต่ำ จำนวน 827.4 ล้านบาท เพื่อสร้างถนนแบบให้เปล่ากว่า 4 แห่งโดยที่กรมทางหลวงออกแบบให้ จนทำให้มีการตั้งข้อสังเกตจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ถึง 2 โครงการใหญ่ คือโครงการปรับปรุงและลาดยางผิดจราจรเส้นทางสายตราด/เกาะกง-สะแรอัมเปิล (R48)และโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 67 (R67) อันลองเวง-เสียมราฐ
ในเวลาต่อมาที่ พ.ต.ท.ทักษิณ และพวกพ้องไปลงทุนทำธุรกิจ Entertainment complex ที่เกาะกงในกัมพูชาด้วย โดยมีการจั้งข้อสังเกตว่าอาจโดย นสพ.ผู้จัดการรายสัปดาห์ ฉบับวันที่ 18-24 ส.ค. 2551 เรื่อง “สตง.พบ 2 โครงการปล่อยกู้ 'ฮุนเซน' เอื้อชินคอร์ป? คดีเอ็กซิมแบงก์ โผล่เขมร ทักษิณ!ตัวการอีกแล้ว” โดยมองว่าโครงการดังกล่าวอาจมีการเอื้อผลประโยชน์ชาติเพื่อแลกผลประโยชน์ส่วนตัวคล้ายกรณี Exim bank ปล่อยกู้ให้รัฐบาลพม่า
รวมถึงข้อสงสัยในเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อน โดยการทำธุรกิจโทรคมนาคมร่วมกัน ซึ่งกัมพูชาได้มอบสัมปทานให้ บริษัท แมคโบเดีย ชินวัตร (CamShin) ให้บริการระบบดาวเทียมไอพีสตาร์ มือถือ ฯลฯ โดยในปี 50 บริษัทแคมโบเดีย ชินวัตร มีจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์ สูงถึง 72% และลูกค้าในระบบ Prepaid มีมูลค่าการตลาดอยู่ที่ประมาณ 1,000-2,000 ล้านบาท และมีอัตราการเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้ ยังมีธุรกิจไอบีซีเคเบิลทีวีประเทศกัมพูชา ของบริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล บรอดคาสติ้ง คอร์ปอเรชั่น ที่มี นพ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรมว.พลังงาน เคยเป็นผู้จัดการพัฒนาธุรกิจ และช่วงนั้นยังเป็นช่วงเดียวกันกับการที่ สมเด็จฯ ฮุนเซนเดินทางมาไทยเพื่อเยี่ยมชมกิจการชินคอร์ป ในวันที่ 10 ส.ค.2549 ด้วย
ที่น่าสนใจก็คือว่าแม้เส้นทางอันลองเวง-เสียมราฐ จะมีเหตุผลเรื่องของการเชื่อมแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่จะเชื่อมโยงมาถึง จ.ศรีสะเกษ ของไทย แต่ในเส้นทาง ตราด-เกาะกง-สะแรอัมเบิล กลับยังไม่ชัดเจนว่ามีเหตุผลเช่นใดหรือมีความจำป็นมาก-น้อยแค่ไหน เนื่องจากก่อนหน้านั้นมีการตัดถนนเส้นหนึ่งบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาไปแล้ว รวมถึงเส้นทางตราด-เกาะกง-สะแรอัมเบิล มีจุดที่กระทรวงคมนาคมเสนอการกู้เป็น 2 ระยะ และมีการเพิ่มวงเงินอีก 300 ล้านบาท จนเป็นจุดที่น่าสังเกตโดยข้อเท็จจริงเมื่อปล่อยกู้ไปแล้วรัฐบาลกัมพูชาจะต้องเป็นผู้ควบคุมโครงการ แต่รัฐบาลในขณะนั้นยังคงติดตามรายละเอียดโครงการต่อให้กับกัมพูชา เพราะการปล่อยกู้เงินกู้เพิ่มโดยสำนักงบประมาณอีก แต่ก็ไม่ปรากฎว่าโครงการนี้สตงยังคงติดตามอยู่หรือไม่ แต่พฤติกรรมต่างๆที่ผ่านมาก็ถือว่าเป็นคำถามที่โยงไปยัง พ.ต.ท.ทักษิณเรืองอำนาจ ได้เป็นอย่างดี
ขณะที่ธุรกิจพลังงานที่หลายฝ่ายเริ่มมีความสงสัย ก็มีความชัดเจนขึ้นเมื่อ พล.อ.เตีย บัญ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของกัมพูชา ได้ให้สัมภาษณ์ก่อน นพดล จะไปลงนามแถลงการร่วมให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกว่า พ.ต.ท.ทักษิณ มีความสนใจที่จะลงทุนธุรกิจพลังงานในกัมพูชา เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติในกัมพูชา โดยเฉพาะการเช่า เกาะกง ซึ่งมีรีสอร์ตดังอย่าง “สีหนุวิลล์” เป็นจุดขาย และ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้หารือกับสมเด็จฯ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาเรียบร้อยแล้ว
ความสัมพันธ์ของบุคคลทั้ง 2 ในอดีตจึงสามารถประเมินได้ว่ามีการติดต่อและดำเนินธุรกิจซึ่งธุรกิจพลังงานจากกรณีอ่าวไทยก็เป็นสิ่งที่ยังต้องจับตา ขณะที่การแสวงหาประโยชน์ทางทะเลนั้น ว่ากันว่ามีกลุ่มทุนซึ่งมีความใกล้ชิดกับ พ.ต.ท.ทักษิณเข้ามาดำเนินธุรกิจการสำรวจและขุดเจาะพลังงานในพื้นที่อ่าวไทยอย่างจริงจัง
เจะอามิง ยังตั้งข้อสังเกตว่า บริษัทเอกชนรายหนึ่ง ซึ่งก็คือ บริษัท เพิร์ลออย (ประเทศไทย) จำกัด ได้รับสัมปทานในการดำเนินกิจการสำรวจและขุดเจาะแหล่งพลังงานในอ่าวไทยในหลายพื้นที่ซึ่งหากเป็นบริษัททั่วไปคงไม่มีข้อสงสัยมากนัก แต่การสำรวจข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า กรรมการของเพิร์ลออย มีตำแหน่งเป็นกรรมการในบริษัทที่เกี่ยวข้องรวม 8 บริษัท โดยล้วนแล้วแต่ประกอบธุรกิจรับสัมปทานสำรวจ และขุดเจาะน้ำมันแทบทั้งสิ้นโดยที่มีทุนจดทะเบียนเพียงบริษัทละ 100 ล้านบาท รวมถึงบางบริษัทยังไม่ได้บันทึกรายได้ โดยบริษัทที่มีรายได้สูงสุดคือเพิร์ลออย (ประเทศไทย) มีรายได้ปี 2549 รวม 7,071 ล้านบาท กำไร 1,654 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 16.54 บาท
เมื่อตรวจสอบย้อนไปพบข้อมูลที่น่าสนใจว่า บริษัทเพิร์ลออย (ประเทศไทย) จำกัด แต่เดิมชื่อ บริษัท แฮร์รอดส์ เอ็นเนอร์ยี่ ประเทศไทย จำกัด จัดตั้งเมื่อ 16 ก.พ.2547 ด้วยทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่อาคารไทยพาณิชย์ ปาร์ค พลาซ่า เวสท์ ชั้น 10 นอกจากนี้ยังพบว่า “เพิร์ลออยล์ (สยาม) ได้จดทะเบียนที่หมู่เกาะบริติซ เวอร์จิน อังกฤษ โดยมีผู้ถือหุ้นอื่นเป็นบุคคลสัญชาติแคนาดา อินโดนีเซีย 3 คน อังกฤษ 1 คน และอเมริกา 1 คน เพียงคนละ 1 หุ้น เท่านั้น โดยยังพบว่าบริษัทอื่นที่คาดว่ามีความเกี่ยวพันกับเพิร์ลออย โดยตั้งอยู่ในอาคารเดียวกัน ดังนี้ 1.บ.เพิร์ลออย (ประเทศไทย) จำกัด 2.บริษัท เพิร์ลออยล์ บางกอก จำกัด 3.บริษัท เพิร์ล ออยล์ ออฟเชอร์ จำกัด 4.เพิร์ลออย (ปิโตรเลียม) จำกัด 5.เพิร์ลออย (รีซอสเซส) จำกัด 6.บริษัท เพริ์ล ออยล์ (อมตะ) จำกัด 7.เพิร์ลออย ออนชอร์ จำกัด และ 8.บริษัท เพิร์ล ออยล์ (อ่าวไทย) จำกัด
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลที่ไม่อาจมองข้ามได้ ก็คือ ในช่วงปี 2542 โมฮัมหมัด อัลฟาเยด (Mohamed Al Fayed) เจ้าของห้างสรรพสินค้าแฮร์รอดส์ (harrods) เพื่อนของ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้จัดตั้ง บริษัท แฮร์รอดส์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ขึ้นเพื่อขอสัมปทานทำธุรกิจน้ำมันในไทย อีกด้วย
“หากมีการประเมินว่า แหล่งพลังงานในอ่าวไทยนี้ไม่มีศักยภาพมากพอ ก็สวนทางกับการที่บริษัทด้านพลังงานยักษ์ใหญ่หลายแห่ง เข้าพบกัมพูชา เพื่อหวังที่จะเข้าขุดเจาะ ในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งกรณีนี้ถือว่าเป็นกรณีสำคัญ ที่มองข้ามไม่ได้”
ขณะที่ข้อมูลซึ่งแสดงในแผนที่แสดงแปลงสัมปทานปิโตรเลียมในประเทศไทย ของ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน แสดงให้เห็นการได้รับสัมปทานในพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ของบริษัทด้านสำรวจพลังานยักษ์ใหญ่ของโลกไม่ว่าจะเป็น บ.ยูโนแคล บ.เชฟรอน บ.ไอเดนมิตซุย ซึ่งถือเป็นบริษัทยักษ์ใหญแทบทั้งสิ้น
นอกจากนี้ บริเวณทรัพยากรทางทะเลบริเวณอ่าวไทยซึ่งเป็นสิทธิของไทยโดยตรงมีการเปิดเผยว่ามีโครงการเจาะสำรวจในปี 53 ดังนี้ 1.โครงการผลิตปิโตรเลี่ยมในทะเลอ่าวไทย แปลงสำรวจหมายเลข B12/27 แหล่งอุบล ของบริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด 2.โครงการผลิตปิโตรเลี่ยมในทะเลอ่าวไทย แปลงสำรวจหมายเลข G1/48 ของบริษัท เพริ์ล ออยล์ (อมตะ) จำกัด 3.โครงการเจาะสำรวจปิโตรเลียมในแหล่งมโนราห์ทะเลอ่าวไทย (เฟส 2) แปลงสำรวจหมายเลข G2/48 ของบริษัท เพิร์ล ออยล์ ออฟเชอร์ จำกัด 4.โครงการเจาะสำรวจปิโตรเลียมในอ่าวไทย แปลงสำรวจหมายเลข G3/48 ของบริษัท เพริ์ล ออยล์ (อ่าวไทย) จำกัด 5. โครงการผลิตปิโตรเลียมในแหล่งวาสนาทะเลอ่าวไทย แปลงสำรวจหมายเลข G10/48 ของบริษัท เพริ์ลออยล์ (ประเทศไทย) จำกัด 6. โครงการผลิตปิโตรเลียมในแหล่งนงเยาว์ทะเลอ่าวไทย แปลงสำรวจหมายเลข G11/48 ของบริษัท เพิร์ลออยล์ บางกอก จำกัด
อย่างไรก็ตาม ข้อเคลือบแคลงสงสัยในบริษัท เพิร์ลออย ไม่อาจที่จะตรวจสอบไปยังผู้ถือหุ้นได้ เนื่องจากบริษัทดังกล่าว ได้จดทะเบียนในหมูเกาะบริติช เวอร์จิ้นซึ่งได้รับสิทธิการปกปิดข้อมูลของผู้ถือหุ้นจึงทำให้ยากต่อการตรวจสอบ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอำนาจของ พ.ต.ท.ทักษิณจะสิ้นสุดลงจากการรัฐประหารแต่การแสวงหาผลประโยชน์จากกลุ่มทุนและนักการเมืองยังคงไม่จบสิ้น เนื่องจากมีการตั้งสังเกตจากแหล่งข่าวในแวดวงพลังงานว่า อาจมีการเปิดช่องครั้งสำคัญในยุคของรัฐบาล พ.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ว่าในขณะนั้นได้แก้ไขพระราชบัญญัติ ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 ด้วยการออก พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ฉบับที่ 6 (พ.ศ.2550) โดยให้เหตุผลว่า เพื่อสร้างแรงจูงใจต่อนักลงทุนต่างชาติ และแหล่งพลังงานในอ่าวไทยมีขนาดเล็กจึงทำให้มีความเสี่ยงสูง รวมถึงช่วยให้มีการคล่องตัวในการดำเนินกิจการ
กล่าวโดยสังเขป ดังนี้ 1.มาตรา 14 รัฐมนตรีว่าการระทรวงพลังงานมีอำนาจในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่และออกกฎกระทรวง ซึ่งควรที่จะออกเป็นมติคณะรัฐมนตรี 2.มาตรา 33 การโอนสัมปทานสามารถทำได้เพียงได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรี และ3. มาตรา 99 (ตรี) ลดหย่อนค่าภาคหลวงจากเดิมที่ไม่เกินร้อยละ 30 หรือรัฐจะได้ค่าภาคหลวงร้อยละ60-70 แต่แก้ไขให้สามารถลดหย่อนค่าภาคหลวงได้ถึงร้อยละ90 หรือรัฐได้เพียงร้อยละ10 เท่านั้นทำให้มีเงินส่งรัฐลดลงเป็นจำนวนมาก เป็นต้น
“มีการมองว่าผู้ที่มีอำนาจในแวดวงพลังงานทั้งนักการเมือง และข้าราชการระดับสูงพยายามที่จะแก้ไขกฎหมาย โดยในขณะนั้นอาจมี พ.ต.ท.ทักษิณเป็นตัวละครหลัก แต่การแก้ไขพ.ร.บ.ปิโตรเลียมก็พบว่า อาจเป็นการเปิดช่องให้กับกลุ่มต่างๆ ง่ายขึ้นทั้งในกลุ่มนักการเมือง หรือบริษัทเอกชนในลักษณะที่รัฐอาจเสียประโยชน์อย่างมหาศาล ”
ด้วยเหตุนี้ การแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าวจึงส่งผลโดยตรงต่อการเข้าขอสัมปทานของบริษัทต่างๆโดยเฉพาะบริษัทขนาดเล็กอย่างเพิร์ลออย ที่ได้รับสัมปทานในการสำรวจเป็นจำนวนมากแต่จุดสำคัญอีกประการก็คือ ผลประโยชน์ที่รัฐควรจะได้รับอย่างคุ้มค่าอาจจะได้น้อยลงอย่างมากและอยู่บนอำนาจตัดสินใจของนักการเมืองและข้าราชการระดับสูงเพียงบางส่วนเท่านั้น และการต่อสู้เพื่อทวงคืนสิทธิบนพื้นที่บนบก-ทางทะเล แม้ว่าไทยจะได้รับชนะในอนาคตผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับในอนาคตก็อาจไม่คุ้มค่ากับสิ่งที่เสียไปอย่างแน่นอน
ดังนั้น ความคืบหน้าจากฝั่งของประเทศกัมพูชาที่มีการสำรวจแหล่งพลังงานในอ่าวไทย ได้เริ่มต้นทำมาตั้งแต่ช่วง พ.ศ.2540 เป็นต้นมา โดยอาศัยความร่วมมือกับบริษัทต่างชาติ เพื่อนำไปสู่ก้าวต่อไปในการขุดเจาะแหล่งพลังงาน คำถามก็คือ เหตุใดบริษัทธุรกิจพลังงานของประเทศมหาอำนาจจึงมีความสนใจในซึ่งต้องยอมรับว่า ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศกัมพูชาทั้งทางบก-ทะเลนั้นมีจำนวนมหาศาล ประกอบกับสงครามภายในประเทศที่สงบไปไม่นานนักทำให้กัมพูชาต้องการเงินลงทุนจากต่างประเทศอย่างมาก ซึ่งเอื้อต่อการเข้าไปลงทุนได้ง่ายขึ้น
จุดสำคัญที่ถือว่าเป็นแม่เหล็กอีกประการหนึ่ง ก็คือ สมเด็จฯ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ถือว่ามีอำนาจสูงสุด สามารถมีอำนาจตัดสินใจในการดำเนินนโยบายและให้สิทธิสัมปทานให้กับบริษัทต่างประเทศ รวมถึงพื้นฐานด้านต่างๆ ทั้งการศึกษา และความเข้มแข็งในการตรวจสอบจากสื่อมวลชนหรือ ภาคประชาสังคม นั้นไม่เข้มข้นและแข็งแกร่งเท่ากับประเทศไทย
“การลงทุนในไทยนั้นค่อนข้างยากหากจะเทียบกับการลงทุนในกัมพูชาและมีการเฝ้าระวังจากสื่อมวลชน ฝ่ายค้าน กลุ่มธุรกิจ รวมถึงภาคประชาชนที่เข้มแข็งกว่า ทำให้นักลงทุนหรือนักการเมืองเลือกที่จะแฝงตัวและเข้าไปขอสัมปทานในกัมพูชามากกว่า เนื่องจากเพียงเข้าติดต่อกับสมเด็จฯ ฮุนเซนก็เพียงพอแล้ว”
จึงแทบจะเรียกได้ว่าหากซื้อใจหรือมีผลประโยชน์ที่มากเพียงพอต่อสมเด็จฮุนเซนโครงการต่างๆก็สามารถเดินหน้าต่อไปได้อย่างไม่ยากเย็น ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า บริษัทยักษ์ใหญ่ทั้ง ยูโนแคล เชฟรอน เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่ยักษ์ใหญ่ที่ได้เข้าไปขอสัมปทานกับกัมพูชาเป็นจำนวนมาก
เมื่อย้อนกลับมามองในฝั่งไทยอีกครั้ง การสำรวจและรับทราบถึงแหล่งพลังงานในอ่าวไทย เชื่อว่าในอดีตอาจมีข้อจำกัดในเรื่องของความรู้และความเชี่ยวชาญในการพัฒนาและขุดสำรวจแต่หลังจากที่ไทยจัดตั้ง บริษัท การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย หรือ ปตท. (ภายหลังแปรรูปเป็น บริษัท ปตท.จำกัด มหาชน) เชื่อว่าองค์ความรู้ด้านพลังงานมีมากขึ้น รวมถึงการแก้ไขพระราชบัญญัติ ปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ให้บริษัทเอกชนควรที่จะมีความรัดกุมและสร้างประโยชน์กับประเทศมากที่สุด
แต่ปัญหาก็ยังไม่จบ เมื่อพบว่าพื้นที่ในหลายแปลงมีการให้สัมปทานไปด้วยกันหลายแปลง และมีการโอนสัมปทานต่อให้กับผู้ประกอบการรายอื่น รวมถึงจากเดิมที่การให้สิทธิสัมปทานจะผ่านการพิจารณาโดยการลงมติของคณะรัฐมนตรี (พ.ร.บ.ปิโตรเลียม ปี 2514) แต่ในปัจจุบันให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีกระทรวงพลังงานเท่านั้น ซึ่งแต่เดิมที่ถือว่าน้อยแล้ว เมื่อแก้ปัญหากับยิ่งน้อยลงและทำให้สามารถให้สัมปทานได้ง่ายขึ้น
เมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจพลังงานในประเทศสหรัฐอเมริกา การอนุมัติให้สิทธิสัมปทานในการขุดเจาะและสำรวจพลังงานจะต้องผ่านการลงมติจากสภาครองเกรสหรือในประเทศเม็กซิโกจะต้องมีการทำประชาพิจารณ์ก่อนที่จะอนุมัติให้สิทธิสัมปทานแก่เอกชนหรือการโอนสัมปทานให้กับผู้ประกอบการรายอื่นซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก
“วันนี้จึงมองว่านักการเมืองและข้าราชการทำตัวคล้ายกับนายหน้าที่ขายทรัพยากรของชาติให้กับชาวต่างชาติ โดยมีการแก้ไขพ.ร.บ.ปิโตรเลียมให้มีสิทธิทำธุรกิจได้มากขึ้นโดยไม่จำกัดจำนวนมากและปริมาณของพื้นที่ในการถือครอง โดยให้ผลตอบแทนต่อรัฐลดลง รวมถึงข้อสงสัยในแวดงวงพลังงานถึงการประมูลที่บริษัทยักษ์ใหญ่ที่มีเงินทุนในหลักหมื่นล้านที่แพ้การประมูลสัมปทานจากการเขียนแผนธุรกิจให้กับบริษัทที่มีเงินทุนในหลัก 100 ล้าน ซึ่งว่าแทบไม่มีความเป็นไปได้เลย หรืออาจมองได้ว่ามีผู้อิทธิพลบางส่วนยอมให้สิทธิ์ในอ่าวไทยหรือแบ่งกันเล่นคนละพื้นที่มากกว่า”
ดังนั้น จึงมีการตั้งข้อสังเกตว่า การให้สัมปทานในอ่าวไทยซึ่งในพื้นที่ของไทย มีการให้สัมปทานแก่บริษัทเอกชนไปหมดทุกแปลงแล้ว โดยมีทั้งรายเล็กและรายใหญ่ที่แต่ที่น่าจับตาอย่างที่สุดก็คือ บริษัท เพิร์ลออย ที่มีทุนจดทะเบียนในหลัก 100 ล้าน บาทเท่านั้นแต่กลับชนะการประมูลขอสัมปทานต่อบริษัทใหญ่ได้เป็นจำนวนมาก
รวมถึงหลักเกณฑ์ในการประมูลสัมปทานของธุรกิจขพลังงาน ที่นอกเหนือจากการให้ราคาที่เป็นประโยชน์ต่อรัฐมากที่สุดแล้ว แผนทางธุรกิจและการพัฒนาเครือข่ายในการขุดเจาะและนำทรัพยากรไปใช้ประโยชน์ในแง่ต่างๆก็ถือเป็นเกณฑ์สำคัญในการให้สิทธิสัมปทานด้วยเช่นกัน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบเม็ดเงินกับบริษัทเล็กๆอย่างเพิร์ลออย และบริษัทใหญ่ของไทยอย่าง ปตท.สผ.ก็มีความเป็นไปได้ว่าแผนงานของ ปตท.สผ.ควรจะมีศักยภาพที่ดีกว่าโดยไม่นับรวมถึงบริษัทธุรกิจพลังงานของต่างประเทศที่มีเม็ดเงินเป็นจำนวนมากอย่าง เชฟรอนหรือยูโนแคลที่ไม่ได้สิทธิในพื้นที่ดังกล่าวด้วย จึงชวนให้คิดว่า ผู้มีอำนาจทางการเมืองเป็นผู้มีสิทธิในการให้สัมปทานมากพอที่จะกดดันบริษัทเหล่านี้หรือไม่
นอกจากนี้ ข้อเท็จริงที่พบจาก ข้อมูลการให้สัมปทานขุดเจาะพลังงานพบว่าในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งตะวันตก (ทะเลอันดามัน) ของไทยมีบริษัท ปตท.สผ.ได้รับสิทธิเพียงเจ้าเดียว ขณะที่พื้นที่ของอ่าวไทยนั้นมีความหลากหลายของการลงทุนมากว่า ขณะที่บริษัทเล็กๆ อย่างเพิร์ลออยก็ได้สิทธิทั้งบนบก-ทะเลอ่าวไทยเป็นจำนวนมาก รวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงกับบริเวณพื้นที่ทับซ้อนของไทย-กัมพูชาด้วย
ทั้งนี้ ยังรวมถึงการแก้ไขการลดหย่อนค่าภาคหลวงจากเดิมที่กำหนดเพดานไว้ที่ 30% เป็น 90% ในกรณีที่เอกชนเข้าขุดเจาะและสำรวจแล้วไม่พบแหล่งพลังงานหรือพบน้อยจนทำให้ไม่คุ้มค่าการลงทุนก็จะเสียค่าภาคหลวงให้กับรัฐเป็นสัดส่วนที่ลดลงเป็นอย่างมาก ซึ่งล้วนแล้วแต่สวนทางกับการให้ความผลสำรวจและความสนใจของบริษัทยักษ์ใหญ่ในแหล่งพลังงานอ่าวไทย
“สิ่งที่เห็นในตอนนี้ก็คือมันมากกว่าการขายชาติ เพราะเป็นการขายอนาคต เป็นการขายขุมทรัพย์ของไทย ก็อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งหากไทยได้ประโยชน์จากการให้สัมปทานอย่างคุ้มค่าแล้ว การทำรัฐสวัสดิการย่อมเป็นไปได้แต่การให้สิทธิเช่นนี้ ทำให้ประโยชน์ที่ควรได้ลดลงอย่างมาก” แหล่งข่าวในแวดวงพลังงาน ทิ้งท้าย
ดังนั้น การแก้ไขปัญหาต่อจากนี้จำเป็นต้องมองใน 3 แนวทาง ดังนี้
1. กรณีพิพาทในเรื่องเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชา โดยเน้นในจุดของพื้นที่เขาพระวิหาร เนื่องจากมีความเกี่ยวพันกับจากเอ็มโอยู 43 โดยกัมพูชาแนบแผนที่ 1ต่อ 200,000 ซึ่งทำให้ไทยเสียเปรียบกับพูชาทั้งในทางบกและทางทะเล ซึ่งจากกัมพูชาใด้ใช้แผนที่ดังกล้าวในการลากเส้นเขตแดนล้ำเข้ามาในอ่าวไทยและกินเนื้อที่ของอ่าวไทยเป็นจำนวนมาก ซึ่งคาดว่าจะมีแหล่งพลังงานมหาศาลอยู่ในพื้นที่ดังกล่าว จึงจำเป็นต้องเดินหน้าเพื่อยกเลิก 43 ก่อน
2. กรณีการจำเป็นต้องยกเลิกเอ็มโอยู ปี 44 ที่รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ทำลงนามข้อตกลงในการพัฒนาทรัพยากรทางทะเลร่วมกับกัมพูชา เท่ากับว่าไทยยอมรับว่าพื้นที่ทับซ้อนเป็นของไทย-กัมพูชาที่ต้องแสวงประโยชน์ร่วมกันแม้ว่าจะเห็นได้ชัดจากกรณีของเกาะกูด จ.ตราด จะถูกแบ่งให้กับกัมพูชาเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ให้การให้สิทธิสัมปทานแก่บริษัทพลังงานได้ จึงจำเป็นต้องยกเลิกเอ็มโอยูดังกล่าวเช่นกัน
3.พ.ร.บ.ปิโตรเลียมแห่งชาติ ที่ยังถือว่าเป็นปัญหาในหลายส่วนจำเป็นต้องนำมาปรับแก้เนื่องจากรัฐได้ประโยชน์จาก พ.ร.บ.ปิโตรเลียมน้อยกว่าที่ควรจะเป็น และหากรัฐบาลไทยต่อสู้ในเรื่องพื้นที่พิพาททั้งทางบก-ทะเลจนได้รับชัยชนะก็อาจได้ประโยชน์จากทรัพยากรของชาติที่เสียไปน้อยเกินไปกว่าที่ควรจะเป็น
แหล่งข่าวด้านพลังงาน ย้ำด้วยว่า แม้ภาคประชาชน หรือรัฐบาลจะพยายามต่อสู้จนสามารถชนะและได้สิทธิ์ในอธิปไตยเหนือพื้นที่พิพาททางบกในกรณีเขาพระวิหารแล้ว แต่จุดที่น่ากังวลคือความเชื่อมโยงไปยังพื้นที่ทางทะเลก็ยังคงมีปัญหาให้กลับมาแก้ไขด้วยเช่นกันเนื่องจากสัมปทานที่ให้ไปนั้นพร้อมที่จะเดินหน้าโดยบริษัทต่างๆโดยที่ประเทศไทยอาจจะได้รับผลตอบแทนจากการเปิดให้ต่างชาติเข้ามาแสวงหาทรัพยกรสำคัญนี้โดยที่รัฐบาลอาจได้ผลตอบแทนน้อยกว่าที่ควรจะเป็น...
“นักวิชาการ-ความมั่นคง” ยันปมความขัดแย้งพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร 4.6 ตร.กม.จะนำไปสู่การปะทะระหว่างไทย-กัมพูชาแน่ แต่จะไม่พัฒนาไปถึงขั้นสงครามระหว่างประเทศ เนื่องจากจะเกิดการสูญเสียครั้งใหญ่ ยันรัฐบาลอภิสิทธิ์ต้องกล้าที่จะไล่คนเขมรออกจากพื้นที่ขัดแย้งก่อนครอบครองปฏิปักษ์ เปิดโปงปัญหาใหญ่ “นักการเมืองไทยกลุ่มใกล้ชิดทักษิณ-ทหาร” ตัวดี กดดันมาร์คยอมเขมร!
กรณีความขัดแย้งปราสาทพระวิหาร โดยเฉพาะพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารนั้น ได้กลายเป็นเรื่องร้อนแรงที่สุดในประเทศไทยเวลานี้ ที่เกิดความตื่นตัวอย่างสูงสุดในภาคประชาชน โดยเฉพาะประเด็นการขับไล่ประชาชนชาวกัมพูชาที่รุกล้ำมาตั้งรกรากในบริเวณ 4.6 ตารางกิโลเมตรรอบปราสาทพระวิหารที่ศาลโลกตัดสินไปแล้วว่าเป็นของไทยตั้งแต่ พ.ศ.2505 และเป็นการละเมิดข้อตกลง ไทย-กัมพูชาใน MOU43 ที่ชัดเจนที่สุด จนนิด้าโพลได้ทำการสำรวจความคิดเห็นประชาชนแล้วได้ผลว่า 69.55% ของประชาชนไทยหนุนให้ผลักดันเขมรพ้นพื้นที่ร้อนดังกล่าว รวมกับภาคประชาชนที่บีบให้รัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีกระทำการเพื่อรักษาดินแดนไทยด้วยวิธีที่เด็ดขาด จนสมเด็จฯ ฮุนเซนเองก็ประกาศพร้อมนองเลือดหากไทยมีการยิงเข้าไปในพื้นที่ปัญหาดังกล่าว
ความขัดแย้งทั้งหมดในปมปราสาทพระวิหารนี้ รวมไปถึงการขับไล่ประชาชนกัมพูชาออกจากพื้นที่ของไทยนั้น ถูกจับตามองอย่างใกล้ชิดจากทุกฝ่ายว่า อาจเป็นชนวนที่นำไปสู่สงครามระหว่างประเทศหรือไม่?
เทพมนตรี ลิมปพยอม นักวิชาการประวัติศาสตร์ กล่าวว่า ขณะนี้รัฐบาลไทยถือว่าได้เปรียบประเทศกัมพูชาอย่างมาก ถ้ายึดเอาคำตัดสินของศาลโลกปี 2505 ขึ้นมา เพราะไทยมีหลักฐานแน่นหนาว่ากัมพูชากำลังทำผิดต่อคำสั่งศาลโลก อีกทั้งยังมีสนธิสัญญาสันปันน้ำที่กัมพูชาจะเข้าครอบครองพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารของไทยไม่ได้ ซึ่งตรงนี้เป็นหลักฐานสำคัญ และไทยได้เปรียบ แต่ปัญหาติดอยู่ที่รัฐบาลกับกระทรวงต่างประเทศเข้าใจกฎหมายระหว่างประเทศดีพอหรือไม่
รวมทั้งรัฐบาลมีความกล้าหาญแค่ไหนที่จะเข้ายึดพื้นที่เป้ยตาดี และล้อมรั้วลวดหนามใหม่ ซึ่งกัมพูชาจะไม่สามารถมาคัดค้านต่อต้านได้ เพราะไทยยึดหลักสันปันน้ำเป็นอธิปไตยของชาติ
“ตอนนี้รัฐบาลต้องเลือกว่าจะทำอย่างไร หรือปล่อยให้ประชาชนกัมพูชาครอบครองในเขตพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารต่อ จนกลายเป็นปัญหาครอบครองปฏิปักษ์ หรือจะเผชิญหน้ารักษาผลประโยชน์ชาติ ซึ่งสุดท้ายแล้วยังเชื่อว่าประชาธิปัตย์จะเลือกมีปัญหาภายนอกประเทศมากกว่าเผชิญปัญหาภายในประเทศ เพราะมีศักดิ์ศรีและได้คะแนนเสียง”
อย่างไรก็ดี ทันทีที่รัฐบาลไทยกล้าหาญ และเข้าไปยึดพื้นที่ความขัดแย้งคืน เชื่อว่าจะเกิดการปะทะกันในพื้นที่ทันที เนื่องจากสมเด็จฮุน เซน ประกาศแล้วว่าพร้อมนองเลือดทันที แต่ไม่ใช่สิ่งที่ไทยต้องกลัว เพราะไทยเป็นฝ่ายถูกต้องตามกติกาสากล โดยเฉพาะต่อคำสั่งศาลโลกปี 2505
“ปะทะกันแน่ แต่พอเกิดการปะทะแล้วก็จะสามารถเคลียร์ได้ และจะกลับไปอยู่ในสภาพเดิมตามคำตัดสินของศาลโลก แม้กระทั่ง สมเด็จสีหนุก็ทราบดีว่าการขึ้นสู่ปราสาทพระวิหารจำเป็นต้องเดินขึ้นบันไดเล็กเท่านั้น ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลไทยจะทำหรือไม่”
นอกจากนี้ ยังมั่นใจว่าการปะทะจะไม่กลายเป็นสงครามระหว่างประเทศ หากรัฐบาลไทยทำการยึดคืนพื้นที่อย่างรวดเร็ว ไม่เสียเวลามาก แต่ถ้ายืดเยื้อ กัมพูชาก็จะใช้วิธีไปร้องสหประชาชนติ หรือคณะมนตรีความมั่นคง และอาจทำให้องค์กรระหว่างประเทศเข้าใจประเทศไทยผิด ซึ่งจะเป็นเรื่องใหญ่ และกระทรวงต่างประเทศของไทยจำเป็นต้องชี้แจงตามหลักฐานข้อเท็จจริง
ด้าน ภุมรัตน์ ทักษาดิพงษ์ อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ประเมินว่า ความขัดแย้งเรื่องปราสาทพระวิหารของไทย-กัมพูชา จะเกิดการปะทะตามพื้นที่ปัญหาแน่นอน และอาจจะมีการปะทะหลายครั้ง แต่จะไม่พัฒนาต่อเป็นสงครามระหว่างประเทศ เพราะไทยและเขมรยังมีสัญญาณที่ส่งออกมาบ่งบอกว่า ทั้งสองจะยังยึดหลักมาตรการทางการทูตเป็นหลัก
โดยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมีระดับความสัมพันธ์ 3 ระดับด้วยกัน คือ
1.ในกรณีผลประโยชน์ของทั้ง 2 หรือมากกว่า สอดคล้องกัน ความสัมพันธ์ถือว่าดี
2.กรณีผลประโยชน์ของทั้ง 2 ประเทศขัดแย้งกัน แต่สามารถตกลงกันได้ ก็สามารถรักษาความสัมพันธ์ที่ดีได้
3.กรณีผลประโยชน์ของทั้ง 2 ประเทศขัดแย้งกัน โดยเฉพาะผลประโยชน์สำคัญยิ่งของชาติ ไม่สามารถประนีประนอมได้ คือเรื่องเกี่ยวกับ อธิปไตย,ดินแดนของชาติ,และระบอบการปกครองของชาติ
ในส่วนนี้ประเทศต่างๆ จะใช้มาตรการด้านอื่น เช่น มาตรการทางการฑูต ด้านเศรษฐกิจ และด้านการเมือง เพื่อหาวิธีประนีประนอม แต่หากไม่ได้ผล ถึงจะมีการใช้มาตรการทางการทหาร ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ เพราะจะมีแค่ 2 คำตอบคือ แพ้ หรือชนะ เท่านั้น ซึ่งแต่ละประเทศก็ต้องการที่จะเป็นผู้ชนะ ดังนั้นจึงจะมีการต่อสู้กันเสียเลือดเนื้ออย่างมาก
“ไม่มีประเทศไหนที่จะอยากใช้มาตรการทางการทหารในการแก้ปัญหา และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่เล็กกว่าอย่างกัมพูชา คือไม่มีผู้นำประเทศที่เล็กกว่าประเทศใดที่ใช้มาตรการทางการทหารกับประเทศใหญ่กว่า เพราะถ้าทำอย่างนั้นไม่บ้า ก็เมา ยกเว้นว่าจะดึงประเทศอื่นที่ใหญ่กว่ามาร่วม แต่ก็ไม่มีผู้นำประเทศไหนเห็นด้วยกับการใช้กำลังทหาร ซึ่งเชื่อว่ากัมพูชาก็ตระหนักในเหตุผลนี้ดี แม้สมเด็จฯ ฮุนเซนจะมีลักษณะเขี้ยวลากดิน ซึ่งตรงนี้เป็นแค่เกมการเมืองที่เก่งของฮุนเซน เพราะอยู่ในอำนาจถึง 20 กว่าปีเท่านั้น”
ขณะที่ แหล่งข่าวด้านความมั่นคง ระบุว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงมากกว่าสงครามระหว่างประเทศที่อาจจะเกิดขึ้นได้ยากกว่านั้นคือ ปัญหาภายในประเทศไทยเอง
“คนไทยโดยเฉพาะนักการเมืองหลายกลุ่มเข้าไปมีผลประโยชน์ในกัมพูชาเยอะมาก คนเหล่านี้กำลังลอบบี้รัฐบาลเพื่อไม่ให้ทำอะไรที่จะนำไปสู่การปะทะและสงครามระหว่างประเทศ เพราะห่วงธุรกิจของตัวเอง”
โดยธุรกิจที่กลุ่มนักการเมืองไทยเข้าไปหาผลประโยชน์ในประเทศกัมพูชาอย่างมากนั้นประกอบด้วย ธุรกิจบ่อนกาสิโน ธุรกิจโรงแรม ธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจการค้าชายแดน และบริษัทน้ำมันทั้งไทยและต่างประเทศที่หวังผลประโยชน์การได้สัมปทานน้ำมันจากประเทศกัมพูชา
“ตอนนี้มีความเคลื่อนไหวกดดันรัฐบาลใต้ดินกันเยอะมาก โดยเฉพาะธุรกิจการค้าชายแดน กับ บ่อนกาสิโนที่จะเดือดร้อนมากที่สุดหากมีสงครามเกิดขึ้น”
เขาบอกอีกว่า นักธุรกิจไทยที่เข้าไปดำเนินธุรกิจในกัมพูชานั้น ส่วนใหญ่เป็นนักการเมืองไทย และเป็นกลุ่มทุนที่ผูกอยู่กับระบบการเมืองไทยอย่างแยกไม่ออก โดยกลุ่มนักการเมืองไทยที่ไปมีผลประโยชน์ในกัมพูชามากที่สุดเป็นกลุ่มทุนในกลุ่มคนใกล้ชิด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และนอกจากนี้ยังมีกลุ่มทหารที่เข้าสู่การเมืองที่เข้าไปมีผลประโยชน์ด้านการค้าชายแดนด้วย ซึ่งคนกลุ่มนี้หลายคนมีอิทธิพลกับพรรคประชาธิปัตย์ด้วย เนื่องจากสนับสนุนด้านทุนให้กับพรรคการเมืองต่างๆ รวมถึงพรรคประชาธิปัตย์ด้วย ดังนั้นจึงมีอิทธิพลมากพอที่จะบีบรัฐบาลไม่ให้กระทำการรุนแรง เพื่อรักษาผลประโยชน์ด้านการค้าของกลุ่มตัวเองด้วย
“ทหารมีทั้งฝ่ายที่ไปอยู่กับ พ.ต.ท.ทักษิณ และฝ่ายตรงข้ามก็มี คือมีผลประโยชน์ด้านการค้าชายแดน โดยเฉพาะทหารระดับสูง ส่วนทหารที่อยากรักษาดินแดนก็เป็นทหารระดับล่าง จึงถูกกุมอำนาจตัดสินใจจากกลุ่มทหารการเมืองไปหมด”
และนี่คือสิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุด!
พลเรือโท ประทีป ชื่นอารมณ์ แนะเลิกMOU44 พับเก็บการลากเส้นเขตแดนทางทะเลของไทยและกัมพูชาทั้ง 2ฉบับ เดินหน้าใช้วิธีการฑูตดึงฮุนเซ็นเข้าสู่โต๊ะเจรจาใหม่ เพื่อดำเนินการลากเส้นเขตแดนทางทะเลใหม่ ระบุจะเป็นประโยชน์กับไทยมากกว่า เพราะจะทำทำให้ได้พื้นที่ทางทะเลมากขึ้น และลดอำนาจต่อรอง ผลประโยชน์กัมพูชาต่อชาติมหาอำนาจ เพราะจำนวนพื้นที่ผลประโยชน์ลดน้อยลง
จากกรณีการตอบกระทู้ของรัฐมนตรีต่างประเทศ กษิต ภิรมย์ ตัวแทนนายกรัฐมนตรีต่อรัฐสภาเกี่ยวกับ 3แนวทางเลือกดำเนินการ เพื่อแก้ไขปัญหาข้อพิพาทของพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลอ่าวไทยระหว่างไทยกับกัมพูชา ได้แก่ หนึ่ง-ขีดเส้นแบ่งชายฝั่ง เพื่อให้เกิดความชัดเจน สอง-หาเส้นตรงตรงระหว่าง 2ประเทศ และสาม-หาเส้นแบ่งผลประโยชน์ร่วมกันทั้ง 2ประเทศ
พลเรือโท ประทีป ชื่นอารมณ์ นายทหารเรือที่เกาะติดสถานการณ์ไทย-กัมพูชามาโดยตลอด ให้ความเห็นต่อท่าทีล่าสุดของผู้นำกัมพูชาที่แสดงออกอย่างแข็งกร้าว และการสนับสนุนของประเทศมหาอำนาจเช่น ฝรั่งเศส ต่อปมปัญหาดังกล่าว กับ “ ผู้จัดการ 360 องศารายสัปดาห์” ว่า เป็นสัญญาณอย่างหนึ่งที่ตอกย้ำว่า กัมพูชากับชาติมหาอำนาจเอื้อผลประโยชน์ทางทะเลซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ หากเอ็มโอยู 2544 ไม่สามารถยกเลิกได้และปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลยังคงอยู่ จะทำให้กัมพูชามีอำนาจต่อรองกับชาติมหาอำนาจได้มาก โดยเฉพาะปริมาณแหล่งผลประโยชน์ของกัมพูชาในพื้นที่ทับซ้อนกว่าเท่าที่ควร เพราะหากเอ็มโอยู 2544 ยกเลิกและมีการขีดเส้นเขตแดนทาง
ทะเลกันใหม่ จะส่งผลให้พื้นที่ปริมาณแหล่งผลประโยชน์ของกัมพูชาลดน้อยลง และทำให้อำนาจต่อรองของกัมพูชาลด
อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าวก็มีคำถามกลับมาว่า ไทยเอื้อผลประโยชน์ให้กับชาติมหาอำนาจน้อยกว่ากัมพูชาหรือไม่ ทั้งที่พื้นที่ทับซ้อนบริเวณนั้นไทยมีสิทธิและเอื้อผลประโยชน์ได้เช่นเดียวกันและตรงกันอาจให้มากกว่า แต่หากพิจารณาในมุมมองของชาติมหาอำนาจในการเลือกร่วมมือแบ่งผลประโยชน์ระหว่างประเทศกำลังพัฒนาที่มีความเจริญแตกต่างกันเช่นไทยกับกัมพูชา ชาติมหาอำนาจย่อมเลือกกัมพูชา ซึ่งเป็นประเทศที่เจริญน้อยกว่าไทย เพราะง่ายต่อการยื่นข้อเสนอแบ่งปันผลประโยชน์
โดยเฉพาะผู้นำกัมพูชาอย่างฮุนเซ็นที่มีความไม่แตกต่างไปจากทักษิณ ชินวัตร ที่ไม่คำนึงถึงว่า ประชาชนกัมพูชาจะยากจนอย่างไรและ ยังคงใช้อำนาจอย่างเผด็จการในการจัดสรรผลประโยชน์ให้กับชาติมหาอำนาจตจำนวนเท่าไหร่ ประชาชนก็ไม่สามารถแสดงออกคัดค้านได้ ซึ่งเป็นข้อด้อยของกัมพูชา แต่เป็นจุดแข็งในการแสดงหาผลประโยชน์ร่วมกับชาติมหาอำนาจ
“พื้นที่ทับซ้อน ผลประโยชน์ของกัมพูชาที่จะได้รับลดน้อยลงอย่างแน่นอน หากมีการยกเลิกเอ็มโอยู 2544 และยกเลิกการขีดเส้นเขตแดนทางทะเลของทั้งสองประเทศแล้วมีเจรจาตกลงกันใหม่ ส่วนตัวเชื่อว่า วิธีการดังกล่าวจะทำให้ประเทศไทยได้ประโยชน์มากกว่า เพราะเราเชื่อว่าเส้นเขตไหล่ทวีปที่ไทยขีดนั้นถูกต้องตามหลักวิชาการมากกว่ากัมพูชา กล่าวคือ พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลที่เกิดขึ้นจากข้อโต้แย้งที่มีเหตุมีผลจะมีพื้นที่ทับซ้อนน้อยกว่านี้ โดยไทยจะเป็นเจ้าของพื้นที่อ่าวไทยอย่างสมบูรณ์แต่เพียงผู้เดียวและในพื้นที่จำนวนมากกว่านี้”
ทั้งนี้ตามหลักวิชาการนั้น ในแง่ความชอบธรรมในการกำหนดพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลของไทยและกัมพูชานั้น ทางกัมพูชามีความไม่ชอบธรรมากกว่า เพราะการลากเส้นเขตไหล่ทวีปต้องลากจากเส้นฐาน โดยรัฐชายฝั่งของแต่ละประเทศจะต้องกำหนดขีดจากเส้นฐาน ซึ่งมี 2 ชนิด ได้แก่ เส้นฐานตรง เป็นเส้นฐานที่ลากเชื่อมระหว่างเกาะกับเกาะ หรือ หินกับหิน และเส้นฐานปกติ เป็นเส้นที่แนบตามขอบชายฝั่งตามระดับน้ำทะเลลดต่ำสุดหรือปานกลางให้ได้ก่อน จากนั้นจึงดำเนินการตาม 3 แนวทางที่กำหนดไว้
“หนทางที่ดีที่สุดในการปฏิเสธก็คือ การยกเลิกเอ็มโอยู 2544 จากนั้นก็ใช้วิธีดำเนินการทางการฑูตระหว่างประเทศให้กัมพูชามาตกลงเรื่องเส้นเขตแดนทางทะเลกับไทย โดยกัมพูชาให้ยกเลิกการลากเส้นเขตแดนทางทะเลที่ได้ทำไว้ในปี พ.ศ.2515 ขณะเดียวกัน ประเทศไทยก็ต้องยกเลิกการลากเส้นเขตแดนบริเวณไหล่ทวีป เมื่อปี พ.ศ.2506 เช่นเดียวกัน แล้วจากตั้งโต๊ะเจรจาในประเด็นดังกล่าวกันทั้งสองประเทศ” นายทหารเรือคนเดิมบอกในตอนท้าย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)