บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

วิกฤตการณ์ “เขาพระวิหาร” เขตทับซ้อน, มรดกโลกและสันติภาพ by ศุภศรุต ,



         เมื่อเจ้านโรดมสีหนุเสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อจาก " พระเจ้าศรีสวัสดิ์มุนีวงศ์ " เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2484
.
         พระองค์คงจะได้เก็บ ความทรงจำ ที่ปวดร้าวของพระอัยกา ต่อการสูญเสียแผ่นดินกัมพูชาอันไพศาล อันได้แก่ จังหวัดเสียมเรียบ จังหวัดอุดรมีชัย จังหวัดสตึงแตร็ง  - รัตนคีรี จังหวัดโพธิสัตว์ (สวาย) จังหวัดกัมปงธม รวมทั้งจังหวัดพระวิหาร อันเป็นที่ตั้งของ ปราสาทเขาพระวิหาร ให้แก่ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2483 ในสภาพการณ์ของสงครามมหาเอเชียบูรพาและการบีบบังคับของกองทัพญี่ปุ่น ซึ่งพระองค์ได้บันทึกเรื่องราวนี้ไว้ว่า
.
        ......จากการสูญเสียดินแดนเขมรอันศักดิ์สิทธิ์ในครั้งนั้น คุณตาของฉัน คือ สมเด็จศรีสวัสดิ์มุนีวงศ์ทรงตรอมตรมพระราชหฤทัยและเสด็จสวรรคตด้วยความเศร้าโศก .......
.
.
         ประวัติศาสตร์กัมพูชาบันทึกไว้ว่า พระเจ้าศรีสวัสดิ์มุนีวงศ์ กษัตริย์ในอารักขาของฝรั่งเศส เสด็จสวรรคตในปีเดียวกันกับที่ทรงสละราชสมบัติ ณ เมืองท่ากำปอด
          .....แต่เพราะด้วยชัยชนะของฝรั่งเศสในสงครามโลกครั้งที่ 2  ทำให้ฉันได้มีโอกาสทางประวัติศาสตร์ในการกอบกู้ดินแดนคืนให้แก่มาตุภูมิของฉันอีกครั้ง นั่นคือดินแดนของชาวกัมพูชาที่เคยสูญเสียให้แก่ประเทศไทยและได้ยอมรับที่จะคืนให้แก่พวกเรา.. ....พวกเรา กัมพูชา ชาติเขมรและประชาชนชาวกัมพูชาทุกคน
.            ความฝังใจในการสูญเสียแผ่นดินให้กับประเทศไทยของสมเด็จเจ้านโรดมสีหนุ ยังคงเป็นแรงผลักดันให้พระองค์ตั้งตัวของพระองค์เป็นปรปักษ์กับรัฐบาลไทยมาตลอดเวลา และด้วยบุคลิกภาพและรูปร่างหน้าตาที่เป็นแรงดึงดูด ประกอบกับความเป็น "ผู้นำ" ในการฟื้นฟู ลัทธิชาตินิยม ของกัมพูชายุคใหม่ พระองค์ทรงวางเกมการเมืองอย่างชาญฉลาด ยอมเป็นลูกแมวน้อยที่ไม่เชื่องนักของฝรั่งเศส แต่ก็หันไปคบกับคอมมิวนิสต์จีนและเวียดนาม รวมทั้งยอมรับการช่วยเหลือและเปิดพื้นที่ให้อเมริกาเข้ามาในภูมิภาคเป็นครั้งเป็นคราว
.
          ซึ่งความสำเร็จจากการวางตัวแบบ หลายหัวหลายด้าน นี้ นำมาซึ่งความสำเร็จในการประกาศเอกราชของประเทศกัมพูชาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 
.
          แต่เมื่อการเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่มีข้อจำกัดมากมาย  พระองค์จึงเปลี่ยนสถานะ กระโดดลงมาเล่นการเมืองอย่างเต็มตัว โดยทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2498 และถวายราชบัลลังก์กษัตริย์ที่ไร้อำนาจนั้นให้แก่พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สุรามฤต พระราชบิดาของพระองค์เอง
.
         และ นายกรัฐมนตรีสีหนุ ได้ยื่นฟ้องศาลโลก เพื่อขอทวงคืนอธิปไตยบนปราสาทเขาพระวิหาร ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของชาวกัมพูชาในทันที !!!
. 
         เดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2505 ศาลโลกได้พิจารณาตามหลักฐานที่ฝ่ายกัมพูชาอ้างถึงแผนที่ที่จัดทำขึ้นตามสนธิสัญญาพุทธศักราช 2447 ที่มี พลเอกหม่อมชาติเดชอุดม เป็นประธานฝ่ายไทย และ พันโทแบร์นารด์ เป็นประธานฝ่ายฝรั่งเศส ซึ่งได้มีการส่งแผนที่ดังกล่าวให้รัฐบาลสยามจำนวน 50 ฉบับโดย "พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงดำรงราชานุภาพ" เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยทรง "ตอบรับ" ในปี พ.ศ. 2451 พร้อมทั้งทรงขอแผนที่ดังกล่าวเพิ่มเติมอีก 15 ชุดเพื่อไปแจกจ่ายให้กับข้าราชการในท้องถิ่น
.
         ข้อวินิจฉัยของศาลโลก ก็คือ ให้ถือว่า ราชอาณาจักรไทยยอมรับแผนที่ดังกล่าว เพราะเหตุนิ่งเฉยและมิได้ประท้วงแผนที่นั้นในอดีต จึงมีมติ 9 ต่อ 3 ให้พื้นที่ 150 ไร่ รูปห้าเหลี่ยมคางหมู ตกเป็นของประเทศกัมพูชา ( ดูจากแผนที่นะครับ)
.
.
แผนที่ซ้อนทับ แรงเงาสีแดงคืนพื้นที่ซ้อนทับ
.
        คำตัดสินดังกล่าว นำมาสู่ความยินดีอย่างที่สุดของเจ้านโรดมสีหนุและชาวกัมพูชา พระองค์ทรงถือเป็นชัยชนะครั้งประวัติศาสตร์ของประเทศ ในยุคสังคมประชาชาติหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
.
        และดูเหมือนว่า ชัยชนะในปี พ.ศ. 2505 ดูจะยิ่งใหญ่และถูกนำมาสร้างเป็น สัญลักษณ์ แห่งความภาคภูมิใจให้กับชาวกัมพูชา มาตลอด 50 กว่าปี
.
        สัญลักษณ์ เขาพระวิหาร จึงไม่ใช่เป็นเพียง "ศาสนบรรพตที่มีภูมิทัศน์โดดเด่นที่สุดในเอเชียอาคเนย์" อีกต่อไป มันได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์แห่ง ชาตินิยม ที่ฝังใจชาวกัมพูชา ไม่ว่าในยุคสมัยใด
.
.
.
ภาพ ภาพแกะสลักพระนารายณ์ พระนางลักษมีและนางภูมิเทวี ที่ผามออีแดง
.
.
ภาพ สถูปคู่
.
        ชัยชนะของเขาพระวิหารในครั้งนั้น คือชัยชนะเหนือประเทศเพื่อนบ้านที่ยิ่งใหญ่อย่าง "ประเทศไทย" ที่ชาวกัมพูชาถือว่า คอยเหยียบย่ำ รุกรานและแสวงหาประโยชน์จากแผ่นดินกัมพูชามาโดยตลอด
.
        ในมุมกลับกัน ชาวไทยจำนวนมากต่างก็ร่ำไห้เสียใจ ต่อการสูญเสียอธิปไตยของเขาพระวิหารให้กับประเทศกัมพูชา ที่ดูจะยิ่งใหญ่กว่าการร่ำร้องแผ่นดินอื่น ๆ ที่ถูกแย่งชิงไปโดยจักรวรรดินิยมอังกฤษและฝรั่งเศส
.
         เพราะมันหมายถึง ความพ่ายแพ้ ของ ชาตินิยม ในไทย ต่อประเทศเล็ก ๆ อย่างกัมพูชาในเวทีโลกปัจจุบันหลังยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 
.
         ส่วน เส้นกั้นพรมแดนไทย - กัมพูชา หลังจากปี พ.ศ. 2505 ก็ยังไม่มีการปักปันอย่างชัดเจนแต่อย่างใด เพราะในประเทศกัมพูชาเองก็เกิดสงครามกลางเมืองมาตลอด
.
        และเมื่อมีเสถียรภาพหลังปี พ.ศ. 2537 ปัญหาการปักปันเส้นกั้นพรมแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะชัดเจนแต่อย่างใด
. 
         เส้นกั้นพรมแดนทั้งตลอดแนวชายแดนก็ยังคงเป็นปัญหาไม่รู้จบมาจนถึงปัจจุบัน ฝ่ายกัมพูชายังคงถือแผนที่ของฝรั่งเศส ที่อ้างว่ายึดตาม แนวสันปันน้ำ (แต่ความเป็นจริงก็ขีดเส้นเองในแผนที่)ในขณะที่ฝ่ายไทย ยึดแผนที่ของสหรัฐอเมริกาที่ปรับปรุงใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 
.
.
ภาพ ประตูทางขึ้นใหม่ที่ร่นลงมาจากด้านบน รุกล้ำโดยเปิดเผย ?
.
         ชายแดนไทย- กัมพูชาในปัจจุบัน จึงมีลักษณะ ทั้ง No Man's Land และทั้งแบบการจัดหมู่บ้านอาสาเข้าไปตั้งที่บริเวณเส้นเขตแดนเสมือน มีการแข่งขันกันทางกายภาพเพื่อครอบครองแผ่นดิน มากกว่าจะมีหลักเขตที่ชัดเจน
.
       วิกฤตการณ์เขาพระวิหาร ก็เช่นกันครับ เมื่อปัญหาของ เส้นแบ่งเขตแดนที่มองไม่เห็น ยังไม่ได้รับการเจรจาปักปัน พื้นที่ใดใครเข้าครอบครอง ก็จะถือว่าเป็นดินแดนของตน
. 
         เขาพระวิหารจึงเกิดการซ้อนทับแผนที่และเกิดการตั้งถิ่นฐานเข้ามาครอบครองพื้นที่เชิงเขา เมื่อประมาณ 15 ปีที่แล้ว เพราะในก่อนหน้านั้นประมาณปี 2534 ผมได้มีโอกาสขึ้นไปเที่ยวชมปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งในเวลานั้น ประตูเหล็กของฝ่ายไทยในครั้งเสียเขาพระวิหารในปี 2505 ก็ยังคงอยู่ ซึ่งในรายละเอียดในคำตัดสินของศาลโลกยังคงให้ประเทศไทยเป็นเจ้าของ บันได ทางขึ้นจนถึงชั้น บันไดนาคราช
.
.
.
ภาพ บันไดทางขึ้น ซึ่งแต่เดิมจะมี "ประตูเหล็ก" และ "แนวลวดหนาม"กั้นแบ่งเขตบนชั้นที่ 162 (ตรงป้อมขาวจะเห็นประตูรั้วลวดหนาม) ซึ่งตามคำสั่งศาลโลกและมติคณะรัฐมนตรีในยุคนั้น "บันได" ทางขึ้นชั้นล่างจะเป็นของไทย !!!
(ภาพขาวดำ จากหนังสือ"เขาพระวิหาร: ระเบิดเวลาจากยุคอาณานิคม" (หน้า 52) ของ ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม)
.
.
.
ภาพ ชั้นนาค(ราวบันได) จุดเริ่มต้นเขตของกัมพูชาตามคำสั่งศาลโลก
.
        แต่เมื่อไม่กี่ปีมานี้เองครับ เกิดการรุกเข้ามาตั้งบ้านเรือน ฐานที่มั่นทางทหาร ลานจอดเฮลิคอปเตอร์  และลานร้านค้า ขยายตัวออกจากฐานบันไดลงมาเชิงเขา
        ประมาณ ปี พ.ศ. 2544 มีการย้ายประตูเหล็กมายังร่องน้ำเล็ก ๆ เชิงทางขึ้นเขาพระวิหาร ตามตำแหน่งการแบ่งเขตแดนในแผนที่ของประเทศฝรั่งเศสที่ยึดเรื่องของ ร่องน้ำลึก เป็นสำคัญ ร่องน้ำเล็ก ๆ ที่ไหลออกจากสระตราวลงไปที่หน้าผาตะวันออก จึงกลายมาเป็นพรมแดนใหม่ในทันที
.
        ตรงนี้จึงถือได้ว่า มีการรุกล้ำอธิปไตยและเข้ามายึดครองอย่างถาวร โดยไม่มีการผลักดันทางทหารจากฝ่ายไทยเลย !!! 
.
.
.
          แต่ก็เพราะบริเวณฝั่งประเทศไทยเองก็ไม่มีชุมชนตั้งอยู่ เป็นเขตป่าเขาพนมดงรัก ซึ่งในปีพ.ศ. 2541 ได้มีการประกาศเป็น "เขตอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร" ประชิดกับตัวปราสาท จึงไม่มีหมู่บ้านของคนไทยไปอยู่อาศัยในพื้นที่อุทยาน นอกจากฐานที่มั่นของตชด.และทหารพราน ซึ่งในเวลานั้น ก็ไม่ได้รับคำสั่งให้เข้าผลักดันการรุกล้ำดินแดน ด้วยเพราะเหตุผลสำคัญในการส่งเสริมเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่กำลังเติบโตขึ้น
.
         เฮ้อ....(ถอนหายใจ)
.
.
.
ภาพ บารายชั้นล่าง
.
         เดิมฝ่ายกัมพูชาสามารถขึ้นเขาพระวิหารได้เพียงทางเดียว คือ ช่องบันไดหัก ที่อยู่ห่างจากผนังปราสาทประมาณ 100 เมตร แต่เมื่อไร้การทักท้วงจากฝั่งไทย พลมด กัมพูชา ก็หลั่งไหลขึ้นมาตั้งถิ่นฐานจนสามารถตั้ง หมู่บ้าน เพื่อทำธุรกิจบริการท่องเที่ยวบนเขาพระวิหารขึ้นในเขตทับซ้อนได้มาเป็นนานหลายปี
.
          ฝ่ายทหารกัมพูชาแต่ละฝ่าย จนถึงยุคปัจจุบันก็ติดตาม พลมด เข้ามาตั้งค่ายพักในพื้นที่ทับซ้อนและควบคุมแนวชายแดนได้อย่างถาวร !!! 
.
.
ภาพ สุขาชั่วคราวบนลานชั้นที่สอง
.
         การอ้างสิทธิในดินแดน "ทับซ้อน" ของประเทศกัมพูชา ตามเอกสารแนบท้ายการขอขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม จึงกลายมาเป็นต้นเหตุสำคัญของปัญหาวิกฤตการณ์เขาพระวิหาร ในปี พ.ศ. 2551
.
         เพราะเอกสารได้ใช้แนวเขตแดน ตามแผนที่ฝรั่งเศสและใช้การอ้างอิงจากการตั้งถิ่นฐานของชาวกัมพูชาเชิงเขาพระวิหารที่มีอยู่จริง ให้กับ UNESCO
.
          อีกทั้งยังปฏิเสธความร่วมมือในการขอมรดกโลกร่วมกัน ระหว่างเขาพระวิหารของกัมพูชาและโบราณสถาน วัฒนธรรม ในภูมิภาคเดียวกับเขาพระวิหาร ในลักษณะเป็น พหุภูมิภาค (Multiregional) อันได้แก่  "สระตราว" บารายโบราณขนาดมหึมาของเขาพระวิหาร, มออีแดง แหล่งพำนักของเหล่าช่างและครัวเรือน กัลปนา ครัวเรือนที่อุทิศถวายแก่เทพเจ้า, สถูปคู่ สถูปหินที่เชื่อว่าเป็นที่เก็บอัฐิของ "วรกมรเตงอัญ ตปัสวีนทรบัณฑิต" และ ภควัตบาท กมรเตงอัญ ตะ คุรุศรีทิวากรบัณฑิต ผู้ดูแลครัวเรือนของหมู่บ้านศัมภูกรมและภวกรม, ถ้ำและน้ำตกขุนศรี ถ้ำที่หลวงศรี นักบวชนุ่มขาวห่มขาว ผู้เฝ้าปราสาทเขาพระวิหาร รับเงินเดือนจากรัฐบาลไทย ในช่วงรัชกาลที่ 5 – 6 , “น้ำตกตานีหรือน้ำตกห้วยตา น้ำตกขนาดเล็กใกล้กับมออีแดง ,“ถ้ำฤๅษี เพิงถ้ำขนาดใหญ่ใกล้กับสระตราว และ แหล่งตัดหินสร้างปราสาท บริเวณสระตราว ขึ้นทะเบียนเป็นมรดโลกทางวัฒนธรรมร่วมกัน
.
.
ภาพ ประตูหลอกสลักลายตามอย่างประตูไม้ ที่หายไปหมดแล้ว ศิลปะแบบบาปวนและเกลียง ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 16
.
        การแก้ปัญหาพื้นที่ซ้อนทับ จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข ทั้งในแผนที่ ซึ่งก็มีข่าวว่าทางประเทศกัมพูชารับข้อเสนอที่จะแก้ไขแผนที่แนบท้ายแล้ว
.
        อีกทั้งทาง กายภาพ ที่ปรากฏการรุกล้ำ ครอบครองดินแดนเชิงเขาพระวิหารอย่างเปิดเผยของชาวกัมพูชา จนนำไปสู่การปลุกสำนึกชาตินิยมในจังหวัดศรีสะเกษ ที่มีเป้าหมายจะทวงคืนดินแดนเล็ก ๆ เพียง 8 ตารางกิโลเมตรนั้นคืนจากการครอบครองของกัมพูชา
.
.
.
ภาพ ปราสาทประธานเขาพระวิหาร ส่วนเรือนปราสาทพังลงมา เหลือแต่มณฑป
.
         ซึ่งดินแดนซ้อนทับเล็ก ๆ นี้ อาจกลายมาเป็นวิกฤตร้อน ปะทุระอุขึ้นเป็น"ข้อพิพาท" จนลามไปกระทบชิ่ง ประวัติศาสตร์แห่งความอัปยศของชาวไทย ที่ต้องพ่ายแพ้และสูญเสียเขาพระวิหารในอดีต ซึ่งมันจะไม่มีผลดีกับประเทศใดเลย มันจะสร้างแต่รอยร้าวและความสูญเสีย
.
        ทางออกของปัญหา ประเทศไทยต้องยอมรับว่า มีการปล่อยปะละเลยเพื่อผลทางการท่องเที่ยวและแนวอุทยานแห่งชาติ ได้ทำให้เกิดการรุกล้ำแนวเขตแดน ซ้อนทับ ครั้งใหญ่ที่เขาพระวิหาร เป็นความผิดพลาดของเราเองในส่วนหนึ่ง !!!
.
.
ภาพ ระเบียงคด ที่ตั้งของฐานทัพต่อต้านเวียนามของเขมรเสรีในอดีต
.
       ในขณะที่ประเทศกัมพูชา ควรจะเข้าใจและยึดมั่นในคำตัดสินของศาลโลก ให้ดินแดนบริเวณบันไดและพื้นที่ห่างจากกำแพง 100 เมตร กลับคืนมาเป็นของไทย และควรดำเนินการถอนผู้คนออกจากเขตซ้อนทับ ให้เขตซ้อนทับนั้นเป็นเขต “No Man's Land” เสียก่อน
        อย่าฉีกคำตัดสินของศาลโลกเอง เพราะยังมีคนไทย คลั่งชาติ จำนวนมาก ที่อยากจะใช้ประเด็นนี้ นำไปสู่การฟ้องร้องศาลโลกอีกครั้ง เพื่อทวง ปราสาทเขาพระวิหาร คืนจากกัมพูชา
.
.
.
.
ภาพ "พลมด" และร้านค้าของที่ระลึก บนส่วนยอดสุดของปราสาท
.
         หากปรัชญา มรดกโลกทางวัฒนธรรม คือสมบัติของชาวโลกทุกคน ชาวกัมพูชาก็ควรจะประสานความร่วมมือให้เกิดการขึ้นทะเบียนมรดกโลกร่วมกันบนพื้นฐานของ สันติภาพ และ ความเป็นบ้านพี่เมืองน้อง ในสายเลือดของชาวไทยและกัมพูชากว่า 2,000 ปี
.
         มากกว่าจะไปนำประวัติศาสตร์ที่เจ็บแค้น แต่ไม่มี คุณค่า ในโลกปัจจุบัน มาตั้ง ธงแห่งอคติ ใส่ชาวไทย
.
        โปรดอย่านำความเจ็บปวดของเจ้าสีหนุ และลัทธิ ชาตินิยม เห่ย ๆ กลับมาเลย
.
          มรดโลก ที่เริ่มต้นด้วยสันติภาพ จะเป็นมรดกที่มีคุณค่าและยืนยาว !!!
.
         อย่างไรซะ เขาพระวิหาร ก็ยังเป็น "ศาสนบรรพต" สัญลักษณ์แห่งชัยชนะของชาวกัมพูชาเสมอ
.
        .....แต่ บันไดทางขึ้นน่ะ ของไทยชัวร์ ๆ นะครับ เอาคืนมาเสียเถิด ผมมีภาพฟ้องศาลโลกนะ !!!
.
         หุหุ.....
.
.
.

.
.
.
.
.
.
.
.
       แถมท้ายเที่ยวชม "ประติมานวิทยา" ที่ปราสาทหินเขาพระวิหารกันซักหน่อยละกัน จะได้ไม่เสียเที่ยวเอนทรี่เขาพระวิหารนี้
.
        ปราสาทหินเขาพระวิหาร สร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวาลัยบูชาพระศิวะ ในลัทธิ "ไศวะนิกาย" ที่กษัตริย์เขมรในสมัยโบราณจะผ่านพิธีกรรมเพื่อจุดมุ่งหมายนำดวงวิญญาณเมืองสวรรคตขึ้นไปรวมกับสกลกษัตริย์หรือเทพเจ้า เกิดเป็นลัทธิ "เทวราชา"
.
        ตามจารึกกล่าวถึงเขาพระวิหารครั้งแรก ในสมัยของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ผู้สถาปนา "ยโศธรปุระ" ในปลายพุทธศตวรรษที่ 14  พระองค์สุถาปนามหาปราสาท "ศรียโศธรคีรี" หรือ "พนมบาเค็ง - พนมกังดาล" ขึ้นเป็นศูนย์กลางจักรวาลแห่งใหม่ รวมทั้งสถาปนาปราสาทบนยอดเขาหลายแห่งเช่นที่พนมบก พนมกรอม  และปราสาทเขาพระวิหาร
.
        แต่หลักฐานของอาคารในยุค"พนมบาแค็ง" ในต้นพุทธศตวรรษที่ 15 นั้น กลับไม่ปรากฏอยู่บนปราสาทเขาพระวิหารเลย ? จึงเชื่อว่า อาจมีการรื้ออาคารอิฐรุ่นเก่าออก หรือ ปราสาทพระวิหารที่ปรากฏชื่อในจารึกนั้นอาจจะเป็น "ปราสาทโดนตวน" ปราสาทหลังเดี่ยวขนาดย่อม ที่อยู่ในเขตประเทศไทยในปัจจุบันก็เป็นได้........ที่ปราสาทโดนตวนนี้มีร่องรอยการต่อเติมและปรับปรุงมุขยื่นด้านหน้าเป็นศิลปะแบบเกะแกร์ - เกลียง ซึ่งเป็นศิลปะเดียวกันกับปราสาทเขาพระวิหาร
.
        ปราสาทหินเขาพระวิหารถูกสร้างขึ้นบนเชิงผาขนาดใหญ่ลูกใหม่ ที่มีภูมิทัศน์ที่โดดเด่น ห่างจากปราสาทโดนตวนมาทางทิศตะวันตก 3 ช่วงหน้าผา สร้างขึ้นในช่วงสมัยของ "พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1" เป็นการสร้างเพียงยุคสมัยเดียวครับ .....สร้างขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 16 ในศิลปะผสมผสานทั้งแบบ บาแค็ง เกาะแกร์ บันทายสรี เกลียงและบาปวน
.
.
.
.
.

ClipVDO เขาพระวิหาร..ดูชัดๆเขมรบุก!! Posted by joeyman

      ไปเจอวิดีโอของพี่คนหนึ่ง พี่เขาโพสไว้ตั้งแต่วันพฤหัสบดี ที่ 19 มิถุนายน 2551 แต่เห็นว่าน่าจะมีประโยชน์อยู่

                                                            ขอขอบคุณพี่ joeyman ด้วยครับ

" คลิก play เพื่อเริ่มดู
 
   เมื่อเช้าแม่ผมโทรมาจากอุบลฯถามว่าพรุ่งนี้ว่างมั้ย? .. แม่บอกว่า "ถ้าไม่ติดธุระอะไรช่วยเป็นตัวแทนแม่ไปที่ทำเนียบหน่อยสิ...ครั้งนี้เราต้องช่วยกันไม่งั้นเขาพระวิหารคงต้องเสียให้เขมรแน่นอนเพราะรัฐมนตรีเรากลายเป็นรัฐมนตรีเขมรไปแล้ว ... ดูมันทำสิ แอบไปทำสัญญาอะไรต่ออะไร ประชาชนไม่รู้เรื่องเลย ทำยังกะประเทศเป็นของมันคนเดียว.." ความจริงท่านบ่นอีกยาวนะครับ แต่คงพอเท่านี้ก่อน
   พอวางสายจากคุณแม่ผมก็นึกขึ้นได้ว่า "เราเคยถ่ายทำเขาพระวิหารไว้ตอนพาเพื่อนๆไปเที่ยวอุบลฯนี่หว่า??" ..ว่าแล้วก็ค้นหาม้วนนั้นจนเจอ เปิดดู อ้าว..ยังใช้ได้ เลยรีบลงมือตัดต่อแบบง่ายๆทันทีครับ
   หลังจากได้ดูหนังที่ถ่ายไว้หลายปีแล้ว ผมตาสว่างเลยครับ เพราะก่อนหน้านี้เข้าไปอ่าน Blog เรื่องเขาพระวิหารของคุณศุภศรุต ทำให้ได้รู้ว่าเขตแดนของไทยเราจริงๆตามที่ศาลโลกตัดสินเริ่มตั้งแต่บันไดขั้นแรกไปจนถึงบันไดนาคราช .... มันไกลมากนะครับ ถ้าดูในคลิปจะเห็นตอนที่พวกผมเหนื่อยหอบกัน ตรงนั้นน่ะน่าจะเป็นบันไดนาคราช ซึ่งยังเป็นแผ่นดินของเราตามศาลโลกตัดสิน
   แต่ความจริงที่เกิดขึ้น!!! ถ้าดูในคลิปตั้งแต่แรกจะเห็นว่าผมต้องซื้อตั๋วจากฝั่งไทยราคา ๕ บาทตั้งแต่อยู่บริเวณถนนห่างจากลานจอดรถไม่มาก จากนั้นก็เดินผ่านลานโล่งๆ และพบลำธารสายเล็กๆผ่าน ตรงนั้นแหละท่านจะเห็นประตูและรั้วเหล็กสร้างไว้ตรงสะพานข้ามลำธาร พอผมเดินเข้าไปก็ต้องซื้อตั๋วจากทหารเขมรอีกครั้ง ให้ตายเถอะครับย้อนกลับไปตอนนั้นที่ไปเที่ยวผมนึกว่าลำธารนี้เป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างเรากับเขมรจริงๆ เพราะเดินเข้าไปมันเมืองเขมรชัดๆ
   จากสะพานข้ามลำธาร เดินผ่านรั้วเหล็กที่ดูเหมือนที่กั้นเขตแดน ตรงนี้สภาพเป็นลานกว้างๆที่ปัจจุบันกลายเป็นหมู่บ้านเขมรไปแล้วครับ!! มีทหารเขมรเข้ามาอาศัยอยู่ด้วยอย่างเปิดเผย เตะตะกร้อเล่นกันอย่างสนุกสนาน ขอโทษครับ เท่าที่คุณศุภศรตเล่าไว้ ตรงนี้มันแผ่นดินไทยนี่หว่า..ทหารเขมรเข้ามาเตะตะกร้อบนแผ่นดินไทยแล้วหรือ??  ทำไมตรงนี้มีแต่คนเขมร บ้านเขมร ทหารเขมรเต็มไปหมด ส่วนทหารไทยโน้น อยู่ห่างออกไปจากพื้นที่ตรงนี้ราว ๑ กิโลเมตร
   ถ้าไปถามทหารเข้ารู้ครับว่าดินแดนไทยอยู่ตรงไหน แต่เขาบอกว่านักการเมือง รัฐมนตรีสั่งมา กลัวกระทบความสัมพันธ์...โปรดดูอีกครั้งครับ หมู่บ้านเขมรบนแผ่นดินไทย...จะเอาหน้าไปพบผีบรรพบุรุษยังไงกันล่ะครับพี่น้อง..

สรุปปะทะ10 วันพลีชีพ7 เขมรขอหยุดยิง




สาเหตุสูญเสียมากเขมรเริ่มสะเปะสะปะ โจมตีแบบไร้ทิศทาง ขวัญกำลังใจตกต่ำ

ทหาร เขมรไม่สน เปิดฉากยิงโจมตีไทย ทหารไทยเจ็บอีก 2 ทัพภาค 2 ชี้ขวัญกำลังใจทหารเขมรตกต่ำ ขาดเสบียงไร้การเหลียวแลจากระดับสูง ทำให้รบไร้ทิศทาง พบอีกต้องสงสัยสปายเขมร 3 คน ตระเวนกระบะติดจานดาวเทียมหาข่าวในพื้นที่ พร้อมยันจรวด BM-21 ยิงไม่ถึงศูนย์อพยพไทย สรุปรบ 10 วัน ทหารพลีชีพ 7 เจ็บ 120 นาย ปชช.รับเคราะห์ 1 เจ็บ 7 ด้านแม่ทัพภาคที่ 2 ยันทหารยังรักษาที่มั่นไม่เคยเสียเปรียบ ขอดูอีก 1-2 วัน สถานการณ์คลี่คลายจะให้ชาวบ้านกลับเข้าหมู่บ้านได้ ด้าน “มาร์ค” ยันคำร้องที่กัมพูชายื่นต่อศาลโลกยังไม่มาถึงไทย ระบุจะคุยกับ “ฮุน เซน” ในอาเซียนหรือไม่ต้องขอดูข้อกฎหมายก่อน ล่าสุดเนี๊ย วงศ์ รองผบ.พลน้อยที่402 กัมพูชา โทรขอเจรจาไทยหยุดยิงในพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม ขอเก็บศพทหารเขมรจำนวนมากเริ่มส่งกลิ่นเหม็นคละคลุ้งทั่วบริเวณ


ชายแดนปะทะอีกถึงเช้า
เมื่อ วันที่ 1 พ.ค.54 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์สู้รบชายแดนไทย-กัมพูชา ด้าน จ.สุรินทร์ ยังไม่คลี่คลาย ทหารไทยกับกัมพูชายังเปิดฉากปะทะกันต่อเนื่องเป็นวันที่ 10 โดยตั้งแต่คืนวันที่ 30 เม.ย. ที่ชายแดนบริเวณปราสาทตาควาย บ.ไทยนิยมพัฒนา ต.บักได อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ มีเสียงปืนปะทะกันขึ้นตั้งแต่เวลา 23.00 น. ต่อมาเวลา 01.00 น. (1 พ.ค.) ทหารทั้ง 2 ฝ่ายได้ยิงต่อสู้อย่างหนักจนถึงเวลา 02.00 น. โดยมีเสียงลูกระเบิดเอ็ม 79 ยิงเข้ามาประมาณ 20 นาที จากนั้นเป็นการปะทะกันด้วยปืนเล็กประปรายเป็นระยะๆ ตลอดแนวชายแดนถึงปราสาทตาเมือนธม บ.หนองคันนา ต.ตาเมียง กระทั่งถึงเวลา 07.00 น. เช้าวันที่ 1 พ.ค. เสียงปืนจึงได้สงบลง จากเหตุปะทะกันดังกล่าว มีรายงานทหารได้รับบาดเจ็บจำนวน 2 นาย ทราบชื่อ คือ ส.ต.รัฐพล ครองยุทธ์ สังกัด ร.8 พ.2 ถูกสะเก็ดระเบิดบาดเจ็บบริเวณใบหน้า และทหารไม่ทราบชื่อ อีก 1 นาย ถูกสะเก็ดระเบิดเช่นกัน ทั้ง 2 นาย ถูกนำตัวส่งรักษาพยาบาลเบื้องต้นที่โรงพยาบาลพนมดงรัก อ.พนมดงรัก ก่อนส่งต่อไปยังโรงพยาบาลค่ายวีรวัฒน์โยธิน จังหวัดทหารบกสุรินทร์ อ.เมือง จ.สุรินทร์

ชี้ทหารเขมรขวัญ-กำลังใจเริ่มตก
ศูนย์ประชาสัมพันธ์ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพภาคที่ 2 ส่วนหน้าได้แจกเอกสารรายงานสถานการณ์กับสื่อมวลชน ระบุว่า ขณะนี้สถานการณ์การสู้รบระหว่างทหารไทย-กัมพูชาได้เบาบางลง ล่าสุด เมื่อเวลา 20.00 น. วันที่ 30 เม.ย.มีการปะทะตามหน้าแนวชายแดนปราสาทตาควาย ต.บักได โดยทหารกัมพูชาใช้ปืนเล็กประจำกายยิงขึ้นฟ้าตลอดเวลา และสุดท้ายได้ยิงเข้าใส่ฐานทหารไทย และเริ่มขว้างระเบิดมือพร้อมยิงอาร์พีจี เข้าใส่ฐานทหารไทย แต่ไม่สามารถตรวจสอบจำนวนได้ เนื่องจากไม่เข้าเป้าหมาย และไม่ได้ทำให้ทหารได้รับบาดเจ็บ จนกระทั่งเวลา 04.00 น. เช้าวันที่ 1 พ.ค.จึงหยุดการปะทะจนถึงขณะนี้ ทั้งนี้ ทหารกัมพูชาเริ่มมีขวัญและกำลังใจตกต่ำ เนื่องจากการขาดเสบียงและการไม่ได้รับความเหลียวแลจากผู้บังคับบัญชาระดับ สูง อีกทั้งกัมพูชาได้รับข่าวสารว่าทหารไทยมีการส่งเสบียงจากแนวหลัง ทั้งจากประชาชน และอาวุธยุทโธปกรณ์สนับสนุนขึ้นมาแนวหน้าตลอดเวลา ทำให้ขณะนี้น้ำหนักของการปะทะของทหารกัมพูชาไม่ว่าจะเป็นการรบแบบใดเริ่มไม่ มีทิศทางและแผนการปฏิบัติอย่างเป็นรูปแบบ อย่างไรก็ดี สถานการณ์ดังกล่าวเป็นผลให้ฝ่ายทหารไทย คาดเดาอารมณ์ของทหารกัมพูชาได้ยากขึ้น ว่า จะเกิดความเครียดแล้วเปิดฉากใช้อาวุธต่อทหารไทยเมื่อใด จากเหตุการณ์ปะทะ บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาด้าน จ.สุรินทร์ รวม 10 วัน (22 เม.ย.-1 พ.ค.) มีทหารไทยได้รับบาดเจ็บทั้งสิ้น 120 นาย เสียชีวิต 7 นาย พลเรือนเสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 7 ราย บ้านเรือนประชาชนเสียหาย 11 หลัง, ประปาหมู่บ้านเสียหาย 2 แห่ง, ปศุสัตว์ตาย 4 ตัว ด้านการอพยพประชาชนขณะนี้มีศูนย์อพยพทั้งสิ้น 43 แห่ง แบ่งเป็น จ.สุรินทร์ 35 ศูนย์ มีผู้อพยพ 42,804 คน จ.บุรีรัมย์ 7 แห่ง ผู้อพยพ 5,866 คน รวมจำนวนผู้อพยพทั้งสิ้น 48,670 คน

จับตาสายลับใช้กระบะติดจานดาวเทียม
ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า มีสายข่าวจากประชาชน แจ้งว่า พบมีผู้ต้องสงสัยจำนวน 3 คน เข้ามาหาข่าวการวางกำลังของทหารไทย โดยมีลักษณะต้องสงสัยหลายประการ ใช้ยานพาหนะรถกระบะ ในลักษณะมีจานดาวเทียมขนาดเล็กบริเวณเหนือตัวรถ คาดว่า จะเป็นอันตรายต่อความมั่นคง ดังนั้น ขอให้สื่อมวลชน ช่วยกันระมัดระวังและเป็นหูเป็นตาให้กับเจ้าหน้าที่รัฐด้วย หากพบผู้ต้องสงสัยดังกล่าวขอให้แจ้งผ่านมายังศูนย์ประชาสัมพันธ์ ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพภาคที่ 2 ทันที ส่วนการที่มีข่าวลือว่าหากมีการปะทะกันด้วยอาวุธหนัก ทหารกัมพูชาสามารถยิงจรวด BM- 21 เข้ามาได้ถึงศูนย์อพยพต่างๆ ของ จ.สุรินทร์ และ จ.บุรีรัมย์ ทำให้ประชาชนหวาดกลัวนั้น รองผู้บัญชาการกรมทหารปืนใหญ่ที่ 6 ได้ยืนยัน ว่า ข่าวนี้ไม่เป็นความจริง และขอยืนยันว่าศูนย์อพยพต่างๆ ของทาง จ.สุรินทร์และ จ.บุรีรัมย์ มีความปลอดภัยจากระยะการยิงจรวดดังกล่าวอย่างแน่นอน ขอให้ประชาชนที่ยังอยู่ศูนย์อพยพได้มั่นใจในความปลอดภัยดังกล่าว

ลือสะพัดทหารเขมรพึ่งไสยดำสู้
แหล่ง ข่าวสายทหารเปิดเผยว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ทหารที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ปะทะปราสาทตาควาย พบทหารลิงลม เข้ามาหลอกพรางตา ที่เวลายิงแล้วไม่ตายกระโดดหลบไปมา และปีนขึ้นต้นไม้และหายตัวได้ ซึ่งเชื่อว่าทางทหารกัมพูชาได้เล่นไสยศาสตร์ อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ไทยกำลังใช้วิธีแก้ไสยศาสตร์ โดยไม่ขอเปิดเผย อีกทั้งยังมีการปล่อยงูเห่า เข้ามาในเขตประเทศไทยบริเวณปราสาทตาควาย และปราสาทตาเมือนธม ซึ่งเป็นยุทธวิธีในการรบแบบใหม่ที่ทหารกัมพูชานำมาใช้ และสถานการณ์ล่าสุด เมื่อเวลา 11.15 น. วันที่ 1 พ.ค. ทหารกัมพูชาได้ปะทะกับทหารไทย โดยทหารกัมพูชายิงปืนใหญ่เข้าใส่ เสียงดังสนั่น นานประมาณ 5 นาที จากนั้นเสียงปืนก็เงียบไป โดยจุดที่มีการปะทะอยู่ที่บริเวณปราสาทตาควาย

มทภ.2 ลั่นรักษาที่มั่นไม่เสียเปรียบ
พล.ท.ธวัช ชัย สมุทรสาคร แม่ทัพภาคที่ 2 กล่าวว่า สถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชาดีขึ้นเรื่อยๆ โดย 3 วันมาแล้วที่ไม่มีการใช้ปืนใหญ่ หรือจรวดอะไรต่างๆ ทางกองทัพภาคที่ 2 ก็พยายามประสานกับฝ่ายกัมพูชาทุกวัน หากเป็นแบบนี้ก็น่าจะขยับประชาชนได้บางส่วน โดยเฉพาะชาวบ้านที่ไม่ได้อยู่หมู่บ้านประชิดชายแดน น่าจะกลับบ้านได้ภายใน 1-2 วันนี้ ส่วนที่ยังมีการปะทะประปราย อาจจะเพราะทหารกัมพูชาบางส่วนที่ขาดวินัย แต่ก็ต้องยอมรับว่ากลางคืนมองไม่เห็นกัน มีเสียงก๊อกแก๊กก็อาจจะปาระเบิดมา แล้วเราก็สวนไป ส่วนที่จะให้เหตุการณ์สงบลงจริงๆ ตอนนี้ก็มีการคุยกันทุกวันไม่ใช่การเจรจา สถานการณ์จะคลี่คลายเมื่อใดต้องถามฝั่งกัมพูชา เพราะเราก็พยายามรักษาความ สงบเรียบร้อยอยู่แล้ว ขอยืนยันว่า การปะทะกันที่ผ่านมาเราไม่เคยเสียเปรียบ แต่ก็พยายามบอกผู้ใต้บังคับบัญชาว่า ขอให้มีความอดทนถ้าอยู่ใกล้กันมาก หรือมีอะไรต่างๆ ก็ต้องสวนกลับไปตามความเหมาะสม เขาใช้อาวุธเล็กเราก็ใช้อาวุธเล็กโต้กลับไป

คำร้องเขมรยื่นศาลโลกยังไม่มาถึงไทย
นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงสถานการณ์ชายแดนไทย-กัมพูชา ที่ทางกัมพูชาประกาศขอพูดคุยกับนายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียว ว่า ขณะนี้ในพื้นที่จริงเวลาเกิดปัญหาขึ้นก็จะมีการประสานงานกันอยู่ และเรายังคิดว่าถ้าแนวโน้มเป็นอย่างที่เป็นมา 1-2 วันการที่จะอพยพคนกลับไปอยู่ที่ชุมชนน่าจะเริ่มทำได้ ขณะนี้กำลังติดตามสถานการณ์อยู่ ตนให้มีการรายงานเข้ามาอยู่ตลอดเวลา ส่วนการพูดคุยนั้นในสัปดาห์หน้าระหว่างการประชุมอาเซียน ที่ประเทศอินโดนีเซีย ก็ต้องเจอกันอยู่แล้ว และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ 2 ประเทศก็ต้องเจอกันก่อน
ผู้ สื่อข่าวถามว่าจะพูดคุยเจาะลึกไปจนถึงเรื่องของการตีความของศาลโลกหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ขณะนี้ทางกัมพูชาไปยื่นตีความต่อศาลโลกแล้ว แต่ตัวคำร้องที่เป็นทางการยังส่งมาไม่ถึงประเทศไทย แต่เราก็จะเตรียมทีมเอาไว้ เมื่อถามว่าหากเหตุการณ์ยืดเยื้อจนยุบสภา จะส่งผลกระทบต่อการแก้ปัญหาดังกล่าวหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่มีปัญหา กองทัพสามารถปฏิบัติงานได้เต็มที่อยู่แล้ว เมื่อถามย้ำว่าปัญหาดังกล่าวจะกระทบต่อการเลือกตั้งหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า คิดว่าไม่ และคิดว่าสถานการณ์ต่างๆ จะควบคุมได้ ส่วนการเดินทางไปร่วมประชุมสุดยอดอาเซียนระหว่างวันที่ 6-8 พ.ค.นั้น ตนจะพูดคุยกับใครอย่างไรบ้างนั้นคงต้องรอดูสถานการณ์ก่อนว่าจะเป็นอย่างไร ต้องดูว่าสถานการณ์จากนี้ไปในระดับพื้นที่หยุดได้แค่ไหน และในระยะยาวจะดำเนินการกันอย่างไร

“มาร์ค” ขอดู กม.ก่อนคุย “ฮุน เซน”
ส่วน จะมีการนัดหารือกับสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขอให้ฝ่ายกฎหมายของเราได้พิจารณาก่อน ส่วนเหตุการณ์ปะทะที่ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ทหารไทยได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิตนั้น นายกฯ กล่าวว่า ขณะนี้ที่เจ้าหน้าที่รายงานเข้ามาก็ไม่มีการใช้อาวุธหนัก และเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นก็จะมีการพยายามติดต่อเพื่อไม่ให้เหตุการณ์บาน ปลาย ซึ่งเราต้องพยายามควบคุมให้ได้ ทั้งนี้ยืนยันว่าว่าเราก็ไม่เคยประมาท และทางกองทัพก็ทราบดีว่าเราต้องไม่ประมาท

เมื่อถามว่าทาง พล.ท.ธวัชชัย สมุทรสาคร แม่ทัพภาคที่ 2 ร้องขอและห่วงอะไรเป็นพิเศษหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เท่าที่ได้พูดคุยกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. และแม่ทัพภาค 2 ก็ไม่ได้มีความกังวลอะไร และรายงานว่าเราควบคุมสถานการณ์ได้ ส่วนที่ดูเหมือนกัมพูชาจะทำแบบแหย่ๆ หยุดๆ นายกฯ กล่าวว่า มีหลายสาเหตุที่วิเคราะห์กันไปว่ามันเป็นในแง่ของตัวกำลังพลของ กัมพูชา เพราะเมื่อประสานงานไปก็ดูจะเรียบร้อย แต่เราจะปล่อยให้เป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ไม่ได้ ซึ่งเราไม่ประมาทและให้มีการติดตามการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา

ทหารเขมรสุดทนหยุดยิงถาวร
เย็น วันเดียวกัน เมื่อเวลา 16.00 น. พ.อ.เนี๊ย วงศ์ รอง ผบ.พลน้อยที่ 402 กัมพูชาได้ติดต่อเข้ามา เจรจากับ พ.อ.อดุยล์ บุญธรรมเจริญ ผู้บังคับการกรมทหารพรานที่ 26 เพื่อเจรจาหยุดยิงในระดับพื้นที่ปราสาทตาเมือนธม ต.ตาเมียง อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์ รวมทั้งเพื่อทำการเก็บศพและเคลียศพทหารกัมพูชาที่เสียชีวิตจำนวนมากออกจาก พื้นที่ป่าตรงข้ามปราสาทตาเมือนธม เนื่องจากมีกลิ่นเหม็นคละคลุ้งทั่วบริเวณ โดยทหารทั้ง 2 ฝ่าย ได้ตกลงกันในระดับพื้นที่ว่าจะหยุดยิง ขณะที่ทหารพรานไทยได้มีการนำธงประจำกองร้อยทหารพรานจู่โจมที่ 960 สิงห์ขาว ซึ่งเป็นธงประจำกองร้อยมีสีส้มเขียวมาปักที่บริเวณหน้าตัวปราสาท เพื่อแสดงอธิปไตยให้เห็นว่าทหารกัมพูชาห้ามเข้ามาในพื้นที่บริเวณปราสาทตา เมือนธม และห้ามมาเดินหรือป้วนเปี้ยนบริเวณรั้วและห้ามทำลายรั้วลวดหนามที่ทหารไทย ได้ทำขึ้นมาใหม่ด้วยไม้กั้นทางขึ้นปราสาท และยังมีรั้วลวดหนามล้อมรอบอีกชั้น อย่างไรก็ตาม กรณีดังกล่าวเป็นสัญญาณที่ดีที่กัมพูชาพยายามติดต่อเจรจาเพื่อหยุดยิงใน พื้นที่ปราสาทตาเมือนธม คาดว่าสถานการณ์จะคลี่คลายลงโดยเร็ว ขณะที่บริเวณจุดปะทะ ช่องกร่าง และปราสาทตาควาย ต.บักได อ.พนมดงรัก ก็กำลังมีการเจรจากัน ระหว่างผู้บังคับหน่วยทหารของไทยและกัมพูชา เพื่อยุตจิการสู้รบ จาการกดดันอย่างหนักของทหารไทย ประกอบกับทหารกัมพูชาขาดขวัญกำลังใจอย่างหนัก และทนรับสภาพกลิ่นเน่าเหม็นของศพทหารที่ตายไปแล้วไม่ได้ คาดว่าจะมีการแนวทางการยุติการปะทะกันในเร็วนี้

งงประเทศไทยวีระพันธุ์ มาไลยพันธุ์+วีระพล โสภา

ศาลโลกกับคดีปราสาทพระวิหาร - ศาสตราจารย์ ดร. สมปอง สุจริตกุล

ศาลโลกกับคดีปราสาทพระวิหาร - ศาสตราจารย์ ดร. สมปอง สุจริตกุล ศาลโลกกับคดีปราสาทพระวิหาร ศาสตราจารย์ ดร. สมปอง สุจริตกุล ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่าศาลโลก เป็นหน่วยงานหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ ตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ศาลโลกประกอบด้วยผู้พิพากษาจากประเทศต่างๆจำนวน ๑๕ ท่านที่ได้รับการเสนอนามโดยกลุ่มประจำชาติในศาลอนุญาโตตุลาการถาวร ณ กรุงเฮก และได้รับเลือกตั้งโดยการลงคะแนนเสียงทั้งจากคณะมนตรีความมั่นคงและสมัชชาสหประชาชาติ นครนิวยอร์ค อายุการทำงานของผู้พิพากษาศาลโลกแบ่งเป็นวาระ วาระละ ๙ ปี ซึ่งสามารถต่อได้หากได้รับเลือกตั้งซ้ำ วิธีการและอำนาจพิจารณาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ๑. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาหากมิได้รับความยินยอมจากรัฐคู่กรณี ทั้งนี้ การให้ความยินยอมอาจเป็นได้เฉพาะกรณีด้วยความตกลงของสองฝ่าย หรืออาจกระทำได้ในรูปปฏิญญาฝ่ายเดียว ยอมรับอำนาจศาลไว้ล่วงหน้าตามข้อ ๓๖ วรรค ๒ (Optional Clause) แห่งธรรมนูญศาล ๒. ศาลโลกจะพิจารณาและตัดสินเฉพาะข้อพิพาทที่เป็นประเด็นฟ้องเท่านั้น ทั้งนี้ โดยใช้กฏหมายระหว่างประเทศชำระคดีตามข้อ ๓๘ วรรค ๒ แห่งธรรมนูญศาลยุติธรรมระหว่างประเทศอันประกอบด้วยกฏระเบียบและข้อบัญญัติในสนธิสัญญานานารูปแบบ จารีตประเพณีระหว่างประเทศ หลักกฎหมายทั่วไป และแนวคำพิพากษาของศาลตลอดจนคำสอนของผู้ชำนาญการกฏหมายระหว่างประเทศ ๓. ข้อ ๕๙ แห่งธรรมนูญศาลกำหนดไว้ว่า คำพิพากษาของศาลฯ ไม่มีผลผูกมัดผู้หนึ่งผู้ใดยกเว้นคู่กรณี ได้แก่ไทยและกัมพูชา และเฉพาะส่วนที่เป็นประเด็นในข้อพิพาทเท่านั้น ฉะนั้น คำพิพากษาในกรณีพิพาทเรื่องปราสาทพระวิหาร จึงไม่อาจขยายไปถึงคำขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และไม่ผูกพันองค์การยูเนสโกหรือทบวงการชำนัญพิเศษอื่นๆ รวมทั้งศาลซึ่งเป็นองค์กรของสหประชาชาติและศาลระหว่างประเทศอื่นๆ อาทิ ศาลกฎหมายทะเล ๔. ข้อ ๖๐ ของธรรมนูญศาลฯ กำหนดว่า “คำพิพากษาของศาลนั้นถึงที่สุดและไม่มีการอุทธรณ์ ในกรณีที่มีการโต้แย้งเกี่ยวกับความหมายหรือขอบเขตของคำพิพากษา ศาลฯจะเป็นผู้ตีความเมื่อคู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอ” อย่างไรก็ตาม ถึงแม้คำพิพากษาของศาลฯ จะถึงที่สุด แต่ก็มิได้หมายความว่าจะมีผลในการระงับกรณีพิพาท หากคู่กรณีโต้แย้งคัดค้านและไม่ยอมรับคำพิพากษาเพราะเห็นว่าไม่เป็นธรรม กรณีพิพาทนั้นๆ ก็ยังคงมีอยู่ต่อไปจนกว่าจะได้รับการพิจารณาใหม่หรือจนกว่าจะระงับไปโดยสันติวิธีอื่นๆ อาทิ โดยการเจรจา การประชุมปรึกษาหารือ หรือตั้งคณะกรรมการสอบสวน ไกล่เกลี่ย กรรมการประนอม หรืออนุญาโตตุลาการ ฯลฯ ตามข้อ ๓๓ แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ ๕. ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไม่มีมาตรการในการดำเนินการบังคับคดี เช่นศาลยุติธรรมในระบบกฏหมายภายในของไทยหรือของประเทศอื่นๆ ซึ่งมีองค์กรที่จะดำเนินการตามกระบวนยุติธรรม อาทิ กองหมาย กองรักษาทรัพย์ และกองบังคับคดี ฯลฯ ฉะนั้น เมื่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ตัดสินคดีหนึ่งคดีใด จึงไม่มีการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษา และอาจไม่มีการปฏิบัติตามคำพิพากษาเลยก็ได้ ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกาซึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งศาลโลกในกรณีละเมิดอนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยสัมพันธภาพทางการกงสุล ค.ศ. ๑๙๖๓ ถึง ๓ คดีติดๆ กัน คดีแรก ศาลโลกมีคำสั่งระงับการประหารชีวิตคนชาติปารากวัยเนื่องจากคดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลโลกแต่สหรัฐฯ กลับประหารชีวิตโดยทันทีทันควัน ในคดีที่ ๒ ก็มีการประหารชีวิตคนชาติเยอรมันเช่นกัน และในคดีที่ ๓ คนชาติเม็กซิกันกว่า ๕๐ คนยังรอการพิจารณาโทษในศาลอเมริกัน และหลายคนกำลังรอการประหารชีวิต ปราสาทพระวิหาร เนื่องจากปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนเขาพระวิหารซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาดงรัก หรือเขาบรรทัดในเขตแดนไทยซึ่งต่อกับเขตแดนกัมพูชา ระหว่างปี ค.ศ.๑๙๐๕-๐๗ คณะกรรมการปักปันเขตแดนผสมสยาม-ฝรั่งเศส ได้ไปตรวจสอบแล้วเห็นว่าการกำหนดเขตแดนในบริเวณทิวเขาดงรัก โดยใช้สันปันน้ำเป็นหลักตามสนธิสัญญา ค.ศ. ๑๙๐๔ นั้นชัดแจ้งอยู่แล้ว เส้นสันปันน้ำจึงเป็นเส้นกำหนดเขตไทย-กัมพูชา ซึ่งเป็นที่ยอมรับมาโดยตลอดและไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๐๔ จนถึงปัจจุบันโดยไม่เคยมีผู้ใดโต้แย้งหรือให้ความเห็นเป็นอย่างอื่น และไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นอื่นไปได้นอกจากได้รับความยินยอมเห็นชอบจากภาคีคู่สัญญา สันปันน้ำหมายถึงอะไร สันปันน้ำคือแนวสูงสุดของเทือกเขา เวลาฝนตก น้ำฝนจะแยกตัวไหลลงสู่พื้นที่ที่ต่ำกว่าทั้งสองด้าน เป็นการแบ่งเขตแดนโดยธรรมชาติว่าด้านไหนเป็นเขตแดนไทย ด้านไหนเป็นของกัมพูชา อนึ่ง สันปันน้ำเป็นส่วนหนึ่งของภูเขา เป็นหินที่แกร่งและสามารถยืนยงอยู่ได้ตลอดไป การกำหนดเขตแดนโดยสันปันน้ำ ในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชาในคดีปราสาทพระวิหาร แม้เสียงผู้พิพากษาข้างมากจะตัดสินให้ปราสาทพระวิหารอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา แต่ศาลฯ ไม่ได้วินิจฉัยเกี่ยวกับสถานภาพของแผนที่ผนวก ๑ มาตราส่วน ๑/๒๐๐,๐๐๐ หรือความถูกต้องของเส้นเขตแดนที่ปรากฏบนแผนที่ดังกล่าวตามที่กัมพูชาขอให้ศาลฯ พิจารณา นอกจากนั้นยังมีผู้พิพากษาอีกหลายท่านที่เขียนคำพิพากษาแย้งไว้ว่า ปราสาทพระวิหารนั้นอยู่ในดินแดนภายใต้เขตอำนาจอธิปไตยของไทย ตามหลักสันปันน้ำที่กำหนดไว้ในสนธิสัญญา ค.ศ. ๑๙๐๔ และยืนยันต่อ มาใน ค.ศ. ๑๙๐๗ พื้นที่ทับซ้อนในปัจจุบันของไทยกับกัมพูชาจึงได้แก่ตัวปราสาทพระวิหารเท่านั้น แม้แผนที่อีกหลายฉบับจะลากเส้นเขตแดนไม่ตรงกัน ไทยยังคงถือว่าพื้นที่ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่เป็นเขตในอำนาจอธิปไตยของไทย กัมพูชาก็ถือว่าอยู่ในเขตของกัมพูชาโดยมิได้กำหนดเส้นเขตแดนที่เชื่อถือได้ ไทยยึดสันปันน้ำเป็นเส้นแบ่งเขตแดนตามสนธิสัญญาทวิภาคีกับฝรั่งเศสลงวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ร.ศ. ๑๒๒ (ค.ศ. ๑๙๐๔) ดังนี้ ข้อ ๑ กำหนดเขตแดนบริเวณที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ให้เป็นไปตามยอดภูเขาปันน้ำระหว่างดินแดนน้ำตกน้ำแสนแลดินแดนน้ำตกแม่โขงฝ่ายหนึ่ง กับดินแดนน้ำตกน้ำมูลอีกฝ่ายหนึ่งจนบรรจบถึงภูเขาผาด่าง แล้วต่อเนื่องไปข้างทิศตะวันออกตามแนวยอดภูเขานี้จนบรรจบถึงแม่โขง ตั้งแต่ที่บรรจบนี้ขึ้นไป แม่โขงเป็นเขตแดนของกรุงสยาม ตามความข้อ ๑ ในหนังสือสัญญาใหญ่ ณ วันที่ ๓ ตุลาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๒ [ค.ศ. ๑๘๙๖] แผนที่และความผิดพลาด แผนที่ทั้งหมดที่กัมพูชานำมาอ้างประกอบคำฟ้องหรือใช้เป็นเอกสารประกอบนั้น เป็นสิ่งที่ทำขึ้นโดยฝรั่งเศสและ/หรือกัมพูชา โดยไทยไม่มีส่วนร่วมด้วยเลยแม้แต่ฉบับเดียว แผนที่ทุกฉบับที่คัดลอกมาจากแผนที่ผนวก ๑ จึงมีความผิดพลาดโดยอำนวยประโยชน์ให้ผู้จัดทำคือฝรั่งเศส และนำความเสียหายมาสู่ประเทศไทย ไทยมิได้เคยยอมรับในอดีตและไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะยอมรับแผนที่ที่กัมพูชาซึ่งเป็นฝ่ายตรงข้ามนำมาอ้างอิงในปัจจุบันไม่ว่าในกรณีใด เว้นเสียแต่ว่าไทยจะเปลี่ยนแปลงท่าทีและมีความประสงค์ที่จะหยิบยื่นประโยชน์เป็นบรรณาการให้กัมพูชาแต่ฝ่ายเดียว คดีปราสาทพระวิหาร ไทย – กัมพูชา พ.ศ. ๒๕๐๒ – ๒๕๐๕ วันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ กัมพูชาเป็นโจทก์ยื่นคำร้องฝ่ายเดียวเพื่อฟ้องไทยเป็นจำเลย ขอให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า พื้นที่ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่นั้นอยู่ในอำนาจอธิปไตยของกัมพูชา คำฟ้องของกัมพูชา คำฟ้องของกัมพูชาระบุเฉพาะอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ มิอาจขยายให้กว้างออกไปนอกพื้นที่จนครอบคลุมเขาพระวิหารซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทิวเขาดงรักด้านไทยหรือฝั่งไทยของสันปันน้ำ ดังนั้น การกล่าวถึงข้อพิพาทว่าเป็น ‘คดีเขาพระวิหาร’ หรือ ‘คดีปราสาทเขาพระวิหาร’ จึงคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ที่ถูกต้องคือ "คดีปราสาทพระวิหาร" โดยจำกัดเฉพาะตัวปราสาทและพื้นที่บริเวณที่ตั้งของปราสาท ประเด็นคำฟ้องตามคำแถลงสรุปของกัมพูชาที่กัมพูชาขอให้ศาลวินิจฉัยมีทั้งหมด ๕ ข้อดังนี้ ๑. สถานะภาพของแผนที่ผนวก ๑ แนบท้ายคำฟ้อง ๒. ความถูกต้องของเขตแดนที่ปรากฏบนแผนที่ผนวก ๑ ๓. ชี้ขาดว่าพื้นที่ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่นั้นอยู่ภายใต้อธิปไตยกัมพูชา ๔. ให้ไทยถอนกองกำลังจากตัวปราสาทและบริเวณที่ตั้งปราสาท ๕. ให้ไทยคืนวัตถุโบราณที่หายไปจากปราสาทพระวิหารเมื่อปี ค.ศ. ๑๓๕๐ ถึง ๑๙๖๒ *ในคำขอข้อ (๕) กัมพูชาไม่ได้ระบุว่าวัตถุโบราณที่ต้องการเรียกคืนนั้นมีอะไรบ้าง คำพิพากษาของศาลโลก คำพิพากษาของศาลโลก ในคดีพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชาเรื่องปราสาทพระวิหาร มีความยาวรวมทั้งสิ้น ๑๔๖ หน้า เพื่อความเข้าใจที่แจ่มแจ้ง จำเป็นต้องศึกษาโดยอ่านอย่างละเอียดเริ่มแต่หน้าแรกถึงหน้าสุดท้าย ในกรณีพิพาทคดีปราสาทพระวิหาร ตั้งแต่หน้า ๑ ถึงหน้า ๑๔๖ เป็นคำพิพากษาโดยรวม ประกอบด้วยคำพิพากษาของศาล คำพิพากษาแย้งและคำพิพากษาเอกเทศ จึงจำเป็นต้องอ่านโดยตลอดจึงจะเห็นภาพรวมที่สมบูรณ์ อนึ่งการแถลงหรืออ้างอิงเอกสารอย่างไม่ครบถ้วนหรือยกเว้นไม่กล่าวถึงข้อ ความบางตอนอาจเป็นการส่อเจตนาว่าจงใจปกปิด บิดเบือน กล่าวเท็จ หรือหลอกลวงให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้พิจารณาพิพากษาเฉพาะประเด็นคำฟ้องตามคำแถลงสรุปของกัมพูชาข้อ ๓, ๔ และ ๕ ดังนี้ (๓) ด้วยคะแนนเสียง ๙ ต่อ ๓ ศาลฯ วินิจฉัยว่า ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนพื้นที่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา (๔) สืบเนื่องมาจาก (๑) วินิจฉัยด้วยคะแนนเสียง ๙ ต่อ ๓ ว่าไทยมีพันธกรณีจะต้องถอนทหารและตำรวจหรือยามผู้รักษาการณ์ออกจากปราสาทพระวิหารหรือบริเวณใกล้เคียงที่อยู่บนดินแดนกัมพูชา (๕) ด้วยคะแนนเสียง ๗ ต่อ ๕ วินิจฉัยว่าไทยมีพันธะจะต้องคืนให้กัมพูชาบรรดาวัตถุที่กัมพูชาอ้างถึงในคำแถลงสรุปข้อ ๕ ซึ่งอันตรธานไปจากปราสาทหลังจากวันที่ไทยเข้าครอบครองเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๗ ที่กัมพูชายื่นฟ้อง ประเด็นในแถลงสรุปคำขอของกัมพูชาที่ศาลฯ ไม่พิจารณา เนื่องจากศาลฯ ไม่เห็นความจำเป็นตามแถลงสรุปคำขอของกัมพูชาที่ขอให้ศาลวินิจฉัยสถานภาพของแผนที่ผนวก ๑ ต่อท้ายคำฟ้องของกัมพูชา หรือเส้นเขตแดนที่กำหนดในแผนที่ฉบับนั้นตามคำแถลงสุรปคำขอข้อ ๑ และ ๒ ของกัมพูชา จึงงดเว้นการวินิจฉัยความถูกต้องของเส้นเขตแดนตามที่ปรากฏในแผนที่ผนวก ๑ ต่อ ท้ายคำฟ้องของกัมพูชารวมทั้งสถานภาพของแผนที่ผนวก ๑ หรืออีกนัยหนึ่ง ศาลฯ มิได้ทำหน้าที่กรรมการปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา จุดยืนของไทย ประเทศไทยพิจารณาเห็นว่า ศาลฯ มิได้วินิจฉัยคดีปราสาทพระวิหารตามกระบวนการที่ชอบ และได้ตัดสินคดีโดยขัดต่อสนธิสัญญากำหนดเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา ทั้งขัดต่อหลักความยุติธรรมและหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ด้วยเหตุนี้คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ให้ประกาศจุดยืนของประเทศไทยให้ทราบทั่วกันว่า ไทยไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของศาลฯ แต่ในฐานะที่ไทยเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ จึงได้ปฏิบัติตามพันธะข้อ ๙๔ แห่งกฎบัตรสหประชาชาติ ทั้งนี้ โดยยื่นคำประท้วงคัดค้านไปยังสหประชาชาติและตั้งข้อสงวนไว้อย่างชัดเจนว่าไทยสงวนสิทธิที่มีอยู่หรือพึงมีในอนาคตที่จะดำเนินการเรียกคืนซึ่งการครอบครองปราสาทพระวิหารโดยสันติวิธี แถลงการณ์ยืนยันจุดยืน รัฐบาลไทยได้ออกแถลงการณ์ยืนยันจุดยืนดังกล่าวเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ และในวันรุ่งขึ้น จอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ นายกรัฐมนตรีได้กล่าวปราศรัยทางวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์แจ้งให้ประชาชนทราบทั่วกันดังนี้ คำปราศรัยของ ฯพณฯ จอมพล สฤษฎิ์ ธนรัชต์ นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับคดีปราสาทพระวิหาร ทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ๔ กรกฎาคม ๒๕๐๕ พี่น้องร่วมชาติ และมิตรร่วมชีวิตของข้าพเจ้าทั้งหลาย ตามที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า "ศาลโลก" ได้วินิจฉัยชี้ขาดเมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๕ ให้ปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา และทางรัฐบาลได้ออกแถลงการณ์ให้พี่น้องทั้งหลายได้ทราบมาตามลำดับแล้วนั้น โดยที่รัฐบาลของพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและโดยเฉพาะตัวข้าพเจ้า ถือว่าเรื่องนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะเกี่ยวกับผลได้ผลเสียอย่างสำคัญของชาติ เป็นเรื่องของแผ่นดินไทย ซึ่งเป็นมรดกที่บรรพบุรุษของเราสู้อุตส่าห์ฝ่าคมอาวุธรักษาไว้ และตกทอดมาถึงคนรุ่นเรา จึงสมควรที่เราทุกคนจะได้เอาใจใส่ และสนใจร่วมรู้ร่วมเห็นก่อนที่จะมีการดำเนินการใดๆ ลงไปเกี่ยวกับผืนแผ่นดินนี้ ด้วยเหตุนี้ ข้าพเจ้าจึงถือว่าเป็นความรับผิดชอบของรัฐบาลและของตัวข้าพเจ้าเองที่ต้องชี้แจงให้พี่น้องร่วมชาติทั้งหลาย ได้ทราบถึงการที่รัฐบาลนี้ต้องตัดสินใจในกรณีปราสาทพระวิหารต่อไป แต่เนื่องในการกล่าวคำปราศรับนี้เป็นเรื่องที่สะเทือนใจพี่น้องทั้งหลายอยู่มาก ข้าพเจ้าจึงจำต้องขออภัยไว้ล่วงหน้า ข้าพเจ้าทราบดีว่า ในส่วนลึกที่สุดของหัวใจแล้ว คนไทยผู้รักชาติทุกคนมีความเศร้าสลดและขมขื่นใจเพียงใด การแสดงออกของประชาชนในการเดินขบวนทั่วประเทศเพื่อคัดค้านคำพิพากษาของศาลโลกในสัปดาห์ที่แล้วมา เป็นสิ่งที่เห็นกันอย่างแน่ชัดอยู่แล้ว แต่ก็จะทำอย่างไรได้ เราต้องถือเป็นคราวเคราะห์ร้ายของเราที่ต้องมาประสบกับชะตากรรมเช่นนี้ เราจะไม่โทษใครเป็นอันขาด เพราะการที่ไปโทษคนที่พ้นหน้าที่ไปนั้นย่อมเป็นการไม่สมควร แต่ทั้งนี้ก็มิใช่เราจะพากันนิ่งเฉยท้อแท้ใจ ชาติไทยจะยอมท้อแท้ทอดอาลัยไม่ได้ เราเคยสูญเสียดินแดนแก่ประเทศมหาอำนาจที่ล่าอาณานิคมมาแล้วหลายครั้ง ถ้าบรรพบุรุษของเราของเรายอมท้อแท้ เราจะเอาแผ่นดินที่ไหนมาอยู่กันจนถึงทุกวันนี้ เราจะต้องหาวิธีต่อสู้ต่อไปส่วนเราจะต่อสู้อย่างไรนั้น นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะในการต่อสู้กรณีเช่นนี้ เราอาจทำได้หลายวิธี และแต่ละวิธีก็มีผลดีผลเสียแตกต่างกัน เราจะต้องได้พิจารณาให้สุขุมรอบคอบ ต้องใช้เหตุผลเหนืออารมณ์ และด้วยสายตามองการณ์ไกล แล้วเลือกใช้วิธีที่ดีที่สุด ละเมียดละไมและให้คุณประโยชน์มากที่สุดทั้งในเวลานี้และในอนาคต ชาติเราจึงจะสามารถธำรงเอกราชและอธิปไตยอยู่ได้ และอยู่ในฐานะที่กล่าวได้ว่า "เต็มไปด้วยศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิ" ขอให้พี่น้องผู้รักชาติทั้งหลายโปรดอย่าได้ใช้อารมณ์หุนหันพลันแล่นหรือคิดมุทะลุจะหักหาญด้วยกำลังแต่เพียงอย่างเดียว สำหรับตัวข้าพเจ้าเอง ในฐานะที่มีชีวิตเป็นทหารมาแต่เล็กแต่น้อย และได้เคยผ่านสงครามทำการสู้รบมาแล้วหลายครั้ง ข้าพเจ้าจึงมิได้มีความเกรงกลัวการสู้รบแต่ประการใด แต่ตามพันธกรณีที่มีอยู่ตามกฎบัตรสหประชาชาติ ยังไม่เป็นเรื่องที่ควรรบกัน สำหรับกรณีปราสาทพระวิหารซึ่งศาลโลกได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้วนั้น ข้าพเจ้าขอทบทวนความเข้าใจกับเพื่อนร่วมชาติทั้งหลายว่า รัฐบาลและประชาชนชาวไทยไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของศาลโลกทั้งในข้อเท็จ จริงในทางกฎหมายระหว่างประเทศและในหลักความยุติธรรม ตามเหตุผลที่รัฐบาลได้แถลงไปแล้ว แต่เราก็ตระหนักดีว่าคำพิพากษาของศาลเป็นอันเสร็จเด็ดขาด ไม่มีทางจะอุทธรณ์ได้ ยิ่งกว่านั้นมาตรา ๔๔ บ่งไว้ว่า "ข้อ ๑ สมาชิกแต่ละประเทศของสหประชาชาติรับที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีใดๆ ที่ตนตกเป็นผู้แพ้ ข้อ ๒ ถ้าผู้แพ้ในคดีใดไม่ปฏิบัติ ข้อผูกพันซึ่งตกอยู่แก่ตนตามคำวินิจฉัยของศาล อีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องเรียนไปยังคณะมนตรีความมั่นคง ซึ่งถ้าเป็นเป็นความจำเป็น ก็อาจทำตามคำแนะนำ หรือวินิจฉัยมาตรการที่จะดำเนินเพื่อยังผลให้เกิดแก่คำพิพากษานั้นได้" เมื่อเป็นดังนี้ แม้ว่ารัฐบาลและประชาชนชาวไทยจะได้มีความ รู้สึกสลดใจและขมขื่นเพียงใด ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็จะต้องปฏิบัติตามพันธกรณีในกฏบัตรสหประชาชาติ กล่าวคือ จำต้องยอมให้กัมพูชามีอำนาจอธิปไตยเหนือพระวิหารนั้นตามพันธกรณีแห่งสหประชาชาติ แต่รัฐบาลขอตั้งข้อประท้วงและขอสงวนสิทธิ์อันชอบธรรมของประเทศไทยในเรื่องนี้ไว้ เพื่อสงวนสิทธิ์ที่จะดำเนิน การทางกฎหมายที่จำเป็นซึ่งอาจมีขึ้นในภายหน้าให้ได้สิทธิ์นี้กลับคืนมาในโอกาสอันควร พี่น้องชาวไทยที่รัก ข้าพเจ้าก็เป็นคนไทยคนหนึ่งที่มีความรู้สึกนึกคิดเช่นเดียว กับพี่น้องทั้งหลาย และถ้าพูดถึงความรักชาติบ้านเมือง ข้าพเจ้าก็เชื่อเหลือเกินว่าข้าพเจ้ามีความรักชาติไม่น้อยกว่าพี่น้องคนไทยทั้งหลาย แต่ที่รัฐบาลจำต้องโอนอ่อนปฏิบัติตามพันธกรณีในกฏบัตรสหประชาชาติก็โดยคำนึงถึงเกียรติภูมิของประเทศไทยที่เราสร้างสมไว้เป็นเวลานับเป็นร้อยๆ ปี ยิ่งกว่าปราสาทพระวิหาร ทั้งนี้ มิใช่เกิดเพราะความกลัวหรือความขี้ขลาดแต่ประการใดเลย แต่พี่น้องชาวไทยทั้งหลายต้องมองการณ์ไกล เวลานี้เราอยู่ในสังคมของโลก สมัยนี้ไม่มีชาติใดที่จะอยู่โดยโดดเดี่ยวได้ ประเทศไทยของเราได้รับความนิยมนับถือจากสังคมนานาชาติเพียงใด พี่น้องทั้งหลายคงจะทราบดีอยู่แล้ว ถ้าชาติของเราต้องเสียศักดิ์ศรีและเกียรติภูมิไปเนื่องจากปราสาทพระวิหารคราวนี้แล้ว อีกกี่สิบกี่ร้อยปีเราจึงจะสามารถสร้างเกียรติภูมิที่สูญเสียไปคราวนี้กลับคืนมาได้ ข้าพเจ้าทราบดีว่าการสูญเสียปราสาทพระวิหารคราวนี้เป็นการสูญเสียที่สะเทือนใจคนไทยทั้งชาติ ฉะนั้น แม้ว่ากัมพูชาจะได้ปราสาทพระวิหารนี้ไป ก็คงได้แต่ซากสลักหักพังและแผ่นดินที่รองรับพระวิหารนี้เท่านั้น แต่วิญญาณของปราสาทพระวิหารยังอยู่กับไทยตลอดไป ประชาชนชาวไทยจะรำลึกอยู่เสมอว่า ปราสาทพระวิหารของไทยถูกปล้นเอาไปด้วยอุปเท่ห์เล่ห์กลของคนที่ไม่รักเกียรติและไม่รักความชอบธรรม เมื่อประเทศไทยประพฤติปฏิบัติตนดีในสังคมโลก เป็นประเทศที่มีศีลมีสัตย์ ในวันหนึ่งข้างหน้าไม่ช้าก็เร็ว ปราสาทพระวิหารจะต้องกลับคืนมาอยู่ในดินแดนไทยอีกครั้งหนึ่ง ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่าการปฏิบัติของประเทศไทยตามพันธกรณีในกฏบัตรสหประชาชาติครั้งนี้ คงจะทำให้ประเทศต่างๆทั่วโลกเห็นอกเห็นใจเรายิ่งขึ้น เหตุการณ์เกี่ยวกับปราสาทพระวิหารครั้งนี้จะสลักแน่นอยู่ในความทรงจำของคนไทยสืบไปชั่วลูกชั่วหลาน และจะเป็นรอยจารึกอยู่ในประว้ติศาสตร์ของชาติไทยตลอดไปเสมือนหนึ่งเป็นแผลในหัวใจของคนไทยทั้งชาติ แต่ข้าพเจ้าก็ยังหวังอยู่เสมอว่า ในที่สุดธรรมะย่อมชนะอธรรม การหัวเราะทีหลังย่อมหัวเราะดังและนานกว่า อนึ่ง ในเรื่องนี้รํฐบาลรู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้น ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระประมุขที่เคารพยิ่งของปวงชนชาวไทย ที่ได้พระราชทานคติและพระบรมราโชวาทแก่รัฐบาลด้วยความที่ทรงห่วงใยในสวัสดิภาพของชาติบ้านเมืองเป็นอย่างยิ่ง ขอให้พี่น้องร่วมชาติจงได้วางใจเถิดว่า รัฐบาลที่ข้าพเจ้าเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่นี้จะสามารถนำชาติและพี่น้องชาวไทยที่รักก้าวไปสู่อนาคตอันสุกใสได้ ในที่สุด ข้าพเจ้าขอรับรองต่อท่านทั้งหลายว่า เมื่อคราวที่ชาติเข้าที่คับขันแล้ว ข้าพเจ้าจะกอดคอร่วมเป็นร่วมตายกับพี่น้องชาวไทย เอาเลือดทาแผ่นดินโดยไม่เสียดายชีวิตเลยแม้แต่นิดเดียว แต่เราจะทำอย่างไรได้ ข้าพเจ้าเองก็มีความเจ็บช้ำน้ำใจมิได้น้อยกว่าเพื่อร่วมชาติทั้งหลาย การที่ข้าพเจ้าต้องมากล่าวถึงเรื่องนี้ในวันนี้ ข้าพเจ้าอยากจะกล่าวว่า ข้าพเจ้ามาพูดกับท่านด้วยน้ำตา แต่น้ำตาของข้าพเจ้าเป็นน้ำตาของลูกผู้ชาย ของเลือด ของความคั่งแค้นและการผูกใจเจ็บไปชั่วชีวิตทั้งชาตินี้และชาติหน้า ต่อดวงวิญญาณของบรรพบุรุษผู้กล้าหาญของชาวไทย ข้าพเจ้าขอกล่าวคำปฏิญานด้วยสัจวาจานี้ไว้ พี่น้องที่รัก น้ำตามิได้ช่วยให้คนฉลาดขึ้นและได้อะไรคืนมา นอกจากความพยายาม ความสามัคคี ความสุขุมรอบคอบ ความอดกลั้นที่จะกล้าเผชิญกับความสูญเสีย พร้อมทั้งรวมกำลังกาย กำลังใจ กำลังความคิด เพื่อให้ชาติที่รักของเราแข็งแกร่งมั่นคงถาวรยิ่งขึ้น ในขั้นสุดท้ายชาติไทยต้องประสบกับชัยชนะเสมอ เราต้องกล้าสู้ ต้องยิ้มรับต่อภัยที่มาถึงตัวเรา ชาติไทยเป็นชาติที่เชื่อมั่นในบวรพุทธศาสนา ตั้งตนอยู่ในความเป็นธรรมเสมอมา ข้าพเจ้าเชื่อมั่นเสมอว่าชาติเราจะไม่อับจนเป็นอันขาด เรื่องนี้เป็นแต่เพียงเรื่องหนึ่งในเรื่องใหญ่ทั้งหลายซึ่งมีความสำคัญกว่านี้มากนัก ชาติที่รักของเรากำลังพัฒนาตามวิถีทางที่ดีอยู่แล้วทุกทาง เหตุนี้มิใช่เหตุแห่งความอับจน เราจงระวังและทำในเรื่องของชาติที่สำคัญกว่านี้ ข้าพเจ้ามั่นใจเหลือเกินว่าชาติไทยของเราจะมีอนาคตอันแจ่มใสและรุ่งโรจน์ประเทศหนึ่งอย่างแม่นมั่นในอนาคตอันใกล้นี้ เราจงมาช่วยกันสร้างชาติที่รักยิ่งของเรา พี่น้องชาวไทยที่รัก ในวันหนึ่งข้างหน้าเราจะต้องเอาปราสาทพระวิหารกลับคืนมาเป็นของชาติไทยให้จงได้... สวัสดี... หนังสือ ฯพณฯ ถนัด คอมันตร์ ถึงเลขาธิการสหประชาชาติ ไทยได้มีหนังสือคัดค้านไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาข้างมาก แต่เห็นพ้องกับคำพิพากษาแย้ง และได้ตั้งข้อสงวนว่าไทยอาจกลับเข้าไปครอบครองปราสาทพระวิหารในวันข้างหน้า ทั้งนี้ เนื่องจากไทยยังคงถือว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในอำนาจอธิปไตยของไทย หนังสือฉบับนี้ส่งไปจากกรมสนธิสัญญาและกฏหมายของกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่ง ม.จ. เพลิงนพดล รพีพัฒน์ โอรสในกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระบิดาแห่งกฏหมายไทย เป็นอธิบดี นายจาพิกรณ์ เศรษฐบุตร รักษาการที่ปรึกษากฏหมายเป็นหัวหน้ากองกฏหมาย และนายสมปอง สุจริตกุล เป็นผู้ยกร่าง หนังสือว่าด้วยข้อสงวนยังมีผลบังคับจนถึงปัจจุบันโดยมิได้มีการขาดอายุความตามความเข้าใจของบางท่าน ทั้งนี้เพราะมิได้จำกัดอยู่เพียงการทบทวนคำพิพากษาตามนัยข้อ ๖๑ แห่งธรรมนูญศาล หากใช้กับการตีความและขอบเขตของคำพิพากษานัยข้อ ๖๐ โดยตรงและข้อ ๓๓ แห่งกฏบัตรสหประชาชาติซึ่งล้วนปลอดอายุความ หนังสือดังกล่าวลงวันที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ ลงนามโดย ฯพณฯ ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ถึง ฯพณฯ อู ถั่น รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ค อ้างถึงคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ประกาศจุดยืนและท่าทีของไทยอย่างชัดแจ้งว่าไม่เห็นด้วยและขอคัดค้านคำพิพากษา ซึ่งขัดต่อสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๙๐๔ และ ๑๙๐๗ และขัดโดยตรงต่อหลักความยุติธรรมและหลักกฎหมายระหว่างประเทศ นอกจากนั้นไทยยังได้ตั้งข้อสงวนซึ่งมีผลตลอดไปโดยไม่จำกัดเวลาเกี่ยวกับสิทธิที่มีอยู่และจะพึงมีในการครอบครองปราสาทพระวิหารในอนาคตตามกระบวนการที่ชอบด้วยกฎหมาย อย่างไรก็ตาม ไทยจะปฏิบัติตามพันธกรณีในฐานะที่ไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ หนังสือ ฯพณฯ ถนัด คอมันตร์* (แปลโดย ศาสตราจารย์ ดร. สมปอง สุจริตกุล) เลขที่ (๐๖๐๑)๒๒๒๓๙/๒๕๐๕ กระทรวงการต่างประเทศ กรุงเทพฯ ๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๕ (ค.ศ. ๑๙๖๒) เรียน ฯพณฯ อู ถั่น รักษาการเลขาธิการสหประชาชาติ นิวยอร์ค ข้าพเจ้าขออ้างถึงคดีปราสาทพระวิหารซึ่งกัมพูชาแต่ฝ่ายเดียวได้ยื่นฟ้องต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๕๙ [พ.ศ. ๒๕๐๒] และศาลฯ ได้พิพากษาเมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๖๒ [พ.ศ. ๒๕๐๕] ยอมรับอำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเหนือปราสาทพระวิหาร ในคำแถลงเป็นทางการเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๖๒ [พ.ศ. ๒๕๐๕] รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ประกาศให้ทราบทั่วกันว่าไทยไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลฯ โดยให้เหตุผลว่า รัฐบาลไทยพิจารณาแล้วเห็นว่าคำพิพากษาดังกล่าวขัดอย่างชัดแจ้งต่อบทบัญญัติแห่งสนธิสัญญา ค.ศ. ๑๙๐๔ และ ค.ศ.๑๙๐๗ ในข้อที่เกี่ยวข้องโดยตรง ตลอดจนขัดต่อหลักกฏหมายและหลักความยุติธรรม ถึงกระนั้นก็ตาม ในฐานะที่ไทยเป็นสมาชิกสหประชาชาติ รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะปฏิบัติตามพันธกรณีแห่งคำพิพากษาตามที่ได้ให้คำมั่นไว้ภายใต้ข้อ ๙๔ ของกฏบัตรสหประชาชาติ ข้าพเจ้าขอแจ้งให้ท่านทราบด้วยว่าการตัดสินใจปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดีปราสาทพระวิหารนั้น รัฐบาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรารถนาจะตั้งข้อสงวนอย่างชัดเจนเพื่อสงวนไว้ซึ่งสิทธิที่ประเทศไทยมีหรือพึงมีในอนาคตในการเรียกคืนปราสาทพระวิหาร โดยใช้วิถีทางที่ชอบด้วยกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันหรือในอนาคต และขอยืนยันการคัดค้านคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศซึ่งวินิจฉัยให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา ข้าพเจ้าจึงขอเรียนมาเพื่อทราบพร้อมทั้งขอให้ท่านส่งเวียนหนังสือฉบับนี้ไปยังประเทศที่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติทุกประเทศ ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง (ลงนาม) ถนัด คอมันตร์ (ถนัด คอมันตร์) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งประเทศไทย * หมายเหตุ โปรดตั้งข้อสังเกตุว่าหนังสือของ ฯพณฯ ถนัด คอมันตร์ ไม่มีเอกสารอื่นหรือแผนที่แนบไปด้วยตามที่เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศปัจจุบันกล่าวอ้าง นอกจากนั้น ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญที่ ๑๗ พ.ศ. ๒๕๐๕ นายสมปอง สุจริตกุล ผู้แทนไทยในคณะกรรมการที่ ๖ (กฎหมาย) ยังได้รับมอบหมายจาก ฯพณฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย ให้เป็นผู้แถลงย้ำให้ผู้แทนประเทศสมาชิกสหประชาชาติในคณะกรรมการกฎหมายได้ทราบถึงจุดยืนของประเทศไทย ตลอดจนเหตุผลทางกฎหมายในการคัดค้านคำพิพากษาโดยละเอียด ทั้งนี้ ไม่ปรากฏว่าผู้แทนประเทศอื่นรวมทั้งกัมพูชาได้แสดงความคิดเห็นหรือโต้แย้งแต่ประการใด ปฏิบัติการของไทย ในฐานะที่เป็นสมาชิกสหประชาชาติ หลังจากศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตัดสินข้อพิพาทระหว่างไทยกับกัมพูชาในคดีปราสาทพระวิหารเสร็จสิ้น ไทยได้ดำเนินการถอนทหารและยามออกจากบริเวณปราสาทพระวิหารและได้ล้อมรั้วรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารอบตัวปราสาทตามคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย และได้ย้ายเสาธงไทยออกจากบริเวณปราสาทโดยไม่มีการลดธง ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้กัมพูชาส่งบุคลากรเข้าไปในบริเวณปราสาทโดยไทยมิได้สละอำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ซึ่งปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ หรือยอมรับนับถืออธิปไตยของกัมพูชาแต่อย่างใด บริเวณนี้จึงเป็นพื้นที่เดียวซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็น “พื้นที่ทับซ้อน” โปรดสังเกตด้วยว่าปฏิบัติการของไทยทั้งหมดนี้ กัมพูชายอมรับด้วยความเต็มใจและมิได้โต้แย้งหรือขัดขืนแต่ประการใดเป็นเวลากว่า ๕๐ ปี ความสำคัญผิดเกี่ยวกับสาระของคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กัมพูชาและคนไทยบางคนได้พยายามสร้างความเข้าใจสับสนเกี่ยวกับคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ในคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. ๒๕๐๕ เกินเลยไปกว่าที่ศาลฯ ได้วินิจฉัยชี้ขาดเป็นอันมาก คำพิพากษาหน้า ๓๔/๓๖ ยืนยันว่า กัมพูชายื่นขอให้ศาลฯ พิจารณา ๕ ประการ ศาลฯ ได้ตัดสินเฉพาะข้อ ๓-๔-๕ โดยไม่รวมข้อ ๑ และ ข้อ ๒ ดังนี้ ๑. ศาลฯ มิได้ชี้ขาดว่า ข้อ (๑) แผนที่ผนวก ๑ ต่อท้ายคำฟ้องของกัมพูชาในอัตราส่วน ๑/๒๐๐,๐๐๐ ที่กรรมการปักปันฝรั่งเศสได้ทำขึ้นเมื่อ ค.ศ. ๑๙๐๗ เป็นแผนที่ที่ทำขึ้นโดยได้รับความเห็นชอบของทั้งสองฝ่าย หรือมีสถานภาพตามกฎหมายที่ถูกต้องและข้อ (๒) เส้นเขตแดนที่ปรากฏในแผนที่ผนวก ๑ ต่อท้ายคำฟ้องของกัมพูชาเป็นเส้นเขตแดนที่ถูกต้องระหว่างไทยกับกัมพูชา ๒. ศาลฯ เพียงแต่ตัดสิน ข้อ ๓-๔-๕ ว่า (๓) กัมพูชามีอธิปไตยเหนือพื้นที่ที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ (๔) ขอให้ไทยถอนกองกำลังออกจากปราสาทพระวิหารและบริเวณใกล้เคียง และ (๕) ขอให้ไทยคืนวัตถุโบราณที่หายไปจากปราสาทหลัง ค.ศ. ๑๙๕๔ โดยมิได้ระบุรายการว่ามีอะไรบ้าง (คำพิพากษาหน้า ๓๕/๓๗) ๓. ในส่วนที่เกี่ยวกับคำขอของกัมพูชาข้อ (๑) และ ข้อ (๒) นั้นจะเห็นได้ว่าผู้พิพากษาทั้ง ๓ ท่านที่ให้ความเห็นแย้งได้แสดงความ เห็นอย่างชัดเจนว่า (ก.) ผู้พิพากษาออสเตรเลียพิจารณาแล้วเห็นว่าแผนที่ผนวก ๑ นั้นผิดพลาดหลายแห่ง มิได้เป็นไปตามที่คณะกรรมการผสมสยาม-ฝรั่งเศสสำรวจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนที่ฉบับนั้นไม่ถูกต้องในบริเวณปราสาทพระวิหาร ทั้งนี้ โดยพิจารณาพบว่ารายงานของคณะผู้เชี่ยวชาญทั้งของไทยและกัมพูชาไม่แตกต่างกันในประเด็นความผิดพลาดในแผนที่ผนวก ๑ เส้นสันปันน้ำที่ถูกต้องอยู่ที่ขอบหน้าผาและปันปราสาทพระวิหารให้อยู่ในเขตไทย (ข.) ผู้พิพากษาจีนพิจารณาแล้วเห็นว่าเส้นเขตแดนที่ปรากฏในแผนที่ผนวก ๑ นั้นคลาดเคลื่อนมาก นอกจากนั้นยังมิใช่เส้นเขตแดนที่คณะกรรมการปักปันผสมให้ความเห็นชอบ (ค.) ผู้พิพากษาอาร์เจนตินาพิจารณาเห็นว่า ศาลฯ ควรให้ความสำคัญกับรายงานทางเทคนิคของคณะผู้เชี่ยวชาญ ดังเช่นในคดีช่องแคบคอร์ฟู อนึ่ง ในกรณีที่แผนที่ขัดต่อตัวบทแห่งสนธิสัญญา ให้ยึดถือตัวบทของสนธิ-สัญญาเป็นหลัก ฉะนั้น ในกรณีปัจจุบันจึงต้องยึดถือเส้นสันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดนตามสนธิ สัญญา ค.ศ. ๑๙๐๔ (ง.) นอกจากนั้นผู้พิพากษาอังกฤษได้ให้ความเห็นเอกเทศโดยสรุปเป็นความเห็นส่วนตัวว่า ตามที่ปรากฏในรายงานคณะผู้เชี่ยวชาญ ในบริเวณที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่นั้น เส้นสันปันน้ำอยู่ที่ขอบหน้าผา ด้วยเหตุผลข้างต้น จึงสรุปได้ว่า แม้ศาลมิได้วินิจฉัยความถูกต้องของแผนที่ผนวก ๑ รวมทั้งเส้นเขตแดนที่ปรากฎในแผนที่นั้นก็ตาม ยังมีผู้พิพากษาถึง ๓ ท่านและผู้พิพากษาเอกเทศอีก ๑ ท่านที่ได้ให้ความเห็นพ้องต้องกันว่า แผนที่ผนวก ๑ ผิดพลาด และไม่อาจใช้เป็นเส้นเขตแดนได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ ทั้งนี้เพราะเส้นเขตแดนตามแผนที่ดังกล่าวผิดเพี้ยนจากสันปันน้ำอย่างห่างไกล เส้นเขตแดนที่ถูกต้อง คือ เส้นสันปันน้ำที่ขอบหน้าผาและปันปราสาทพระวิหารรวมทั้งเขตแดนด้านทิศเหนือทั้งหมดให้อยู่ในผืนแผ่นดินไทย การแปรเปลี่ยนจุดยืน ในช่วงเดือนพฤษภาคมและมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑ ไทยได้เปลี่ยนแปรจุดยืนอย่างชัดเจนและกระทันหันโดยกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ และกรมแผนที่ทหารได้พร้อมใจกันยอมรับนับถืออำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเหนือปราสาทพระวิหาร ไทยได้ออกแถลงการณ์ร่วมกับกัมพูชา ลงนามโดยรัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศไทย และรองนายกรัฐมนตรีกัมพูชาเมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยลงนามย่อตั้งแต่วันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๑ เป็นเอกสารประกอบการเสนอขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกโดยกัมพูชาฝ่ายเดียวโดยไทยให้ความสนับสนุนอย่างเต็มที่ สมปอง สุจริตกุล

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง