|
|
|
|
กระแส ข่าวจากวงในการปิโตรเลียมแห่งชาติของกัมพูชา รายงานว่าการร่างกฎหมายน้ำมันฉบับแรกที่รัฐบาลกัมพูชาภายใต้การนำของนายก รัฐมนตรี ฮุน เซน ได้มอบหมายให้เป็นความรับผิดชอบของการ ปิโตรเลียมแห่งชาติของกัมพูชานั้นจะดำเนินการร่างแล้วเสร็จสมบูรณ์ในเร็วๆ นี้ โดยต่อจากนั้นก็จะนำเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับรอง ก่อนที่จะบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมของรัฐสภากัมพูชาเพื่อให้มีมติรับรองและ ผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯต่อกษัตริย์ นโรดม สีหมุนี เพื่อลงพระปรมาภิไธยประกาศบังคับใช้อย่างเป็นทางการต่อไป
โดยถึงแม้ว่ากระแสข่าวดังกล่าวนี้ จะไม่ได้ให้รายละเอียดว่าการดำเนินกระบวนการทั้งหมดดังกล่าวข้างต้นนั้นจะ ต้องใช้ระยะเวลาสั้นหรือยาวเพียงใดก็ตาม แต่ก็หาได้เป็นปัญหาสำหรับรัฐบาลกัมพูชาภายใต้การนำของ ฮุน เซน อย่างใดไม่ เนื่องเพราะพรรคประชาชนกัมพูชาของ ฮุน เซน นั้นมีคะแนนเสียงสนับสนุนอย่างท่วมท้นทั้งในสภาล่างและสภาสูงจนแทบจะกล่าว ได้ว่าเป็นเผด็จการทางรัฐสภาเกือบจะเบ็ดเสร็จแล้วนั่นเอง
เพราะฉะนั้น จึงเชื่อได้เลยว่ากฎหมายน้ำมันฉบับแรกของกัมพูชาดังกล่าวจะผ่านการเห็นชอบใน ทุกวาระของทุกการประชุมได้อย่างชนิดที่เรียกว่าแบบม้วนเดียวจบเลยทีเดียว ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะว่าด้วยอำนาจอันท่วมล้นของรัฐบาล ฮุน เซน นั้นได้กำหนดวันเวลาไว้แล้วว่าแก๊สธรรมชาติและก็น้ำมันหยดแรกในอ่าวไทยนั้น จะต้องถูกสูบขึ้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของกัมพูชาให้ ได้ในวันที่ 12 ธันวาคม 2012 หรือ 12-12-12 (ซึ่งว่ากันว่าเป็นเคล็ดวิชาที่จะทำให้ ฮุน เซน สามารถที่จะครองอำนาจในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของกัมพูชาได้ยาวนานถึง 36 ปีติดต่อกันหรือก่อนที่จะถ่ายโอนอำนาจให้กับบุตรชายคนโตเมื่อ ฮุน เซน มีอายุครบ 70 ปีพอดี)
โดยไม่ว่าเคล็ดวิชาดังกล่าวจะเกิดขึ้นจริงตามความมุ่งหวังของ ฮุน เซน หรือไม่ก็ตาม แต่ที่แน่ๆ ก็คือว่ากำหนดการ 12-12-12 ดังกล่าวนั้น แท้ที่จริงแล้วก็คือสินค้าตัวใหม่ที่ ฮุน เซน ได้เลือกแล้วว่ามันจะช่วยทำให้เขาและพรรคประชาชนกัมพูชานั้นได้รับความไว้ วางใจจากประชาชนชาวเขมรส่วนใหญ่ต่อไป ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะว่าในปี 2012 นั้นจะมีการเลือกตั้งสภาระดับท้องถิ่น (Commune Council) อันจะเป็นฐานคะแนนเสียงที่แข็งแกร่งให้กับการเลือกตั้งทั่วไปในกลางปี 2013 ด้วยนั่นเอง
แน่นอนว่าถ้าหากพิจารณาจากฐานอำนาจของ ฮุน เซน ในเวลานี้ก็อาจจะทำให้มีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่มองว่าจริงๆแล้ว ฮุน เซน ไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวไว้แต่เนิ่นๆก็ได้ แต่ถ้าหากจะมองจากประเด็นของการเจรจาต่อรองจนทำให้ UNESCO รับรองให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกเมื่อกว่า 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งก็เป็นผลทำให้พรรคประชาชนกัมพูชาของ ฮุน เซน ได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งทั่ว ไปในเดือนกรกฎาคม 2008 นั้น แต่สำหรับประชาชนชาวเขมรแล้วกลับยังไม่ได้รับผลประโยชน์อันใดเลยจากการเป็น มรดกโลกของปราสาทพระวิหารดังกล่าว
โดยสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดสภาพการณ์ดังกล่าวขึ้นนั้น ก็เป็นเพราะว่า ฮุน เซน นั้นได้นำเอาตัวเองเข้ามาเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศ ไทย จนลืมไปว่าตนเองนั้นมีสถานภาพเป็นถึงนายกรัฐมนตรีของกัมพูชา ซึ่งการกระทำ(อันไม่เหมาะสม)อย่างใดๆนั้นมันก็ย่อมจะต้องส่งผล กระทบถึงประชาชนชาวเขมรด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงทำให้ ฮุน เซน เริ่มรู้สึกตัวและคิดได้ว่าการที่จะนำเอาตัวเองเข้ามาเกี่ยวข้องกับความขัด แย้งทางการเมืองภายในประเทศไทยต่อไปนั้นมันมีแต่จะส่งผลร้ายต่อตัวเขาและ พรรคประชาชนกัมพูชามากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก็ย่อมจะตรงข้ามกับการแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรที่จับต้องได้อย่าง แก๊สฯและน้ำมันในอ่าวไทยอย่างแน่นอน เพราะไม่เพียงจะสามารถกล่าวอ้างว่าเป็นผลประโยชน์ของชาวเขมรทั้งประเทศเท่า นั้น หากยังรวมถึงโอกาสที่จะแสวง หาผลประโยชน์เพื่อส่วนตัวและพรรคพวกได้อีกด้วย
ครั้นแล้ว ฮุน เซน (ที่ครองตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของกัมพูชามาแล้ว 25 ปีติดต่อกันนั้น) ก็ได้เผยไต๋ให้เห็นถึงความต้องการในอันที่จะกอบโกยเอาผลประโยชน์จากแหล่ง น้ำมันและแก๊สธรรมชาติในเขตอ่าวไทยอย่างโล่งโจ้ง เมื่อรัฐบาลกัมพูชาภายใต้การนำของเขาเองได้รับเงินงวดแรกมูลค่าถึง 28 ล้านดอล ลาร์สหรัฐจากกลุ่มบริษัท TOTAL จากประเทศฝรั่งเศส สำหรับเป็นค่าสัมปทานสิทธิ์เพื่อการสำรวจหาน้ำมันและแก๊สธรรมชาติที่ Block 3 ในเขตอ่าวไทยที่อยู่ห่างจากชายฝั่งด้านจังหวัดสีหนุวิลล์ ทางภาค ใต้ของกัมพูชาประมาณ 150 กิโลเมตร เมื่อไม่นานมานี้
โดยถึงแม้ว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวนี้จะเป็นสิ่งที่คาดหมายได้ล่วงหน้า ก็ตาม เพราะ ฮุน เซน นั้นได้ตกลงให้สิทธิ์สัมปทานแก่กลุ่มบริษัท TOTAL ตั้งแต่เมื่อครั้งที่เขาได้เดินทางไปเยือนกรุงปารีสในช่วงเดือนกรกฎาคม 2009 แล้วก็ตาม แต่การที่กลุ่มบริษัท TOTAL มีความกล้าหาญถึงขนาดยอมจ่ายเงินก้อนดังกล่าวให้กับรัฐบาลของ ฮุน เซน ก็ย่อมจะหมายถึงความมั่นใจว่าการดำเนินการอย่างใดๆ ของกลุ่มบริษัท TOTAL ในระยะต่อไปนี้จะไม่ประสบปัญหาอันมีสาเหตุมาจากความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่น ที่รัฐบาลกัมพูชามีต่อรัฐบาลไทยแต่อย่างใด
แน่นอนบุคคลที่สามารถให้ความมั่นใจดังกล่าวกับกลุ่มบริษัท TOTAL ได้ก็ย่อมจะมีแต่ ฮุน เซน เพียงคนเดียวเท่านั้น โดยกรณีที่น่าจะถือว่าเป็นหลักประกันจาก ฮุน เซน ก็คือการที่เขาได้ปรับเปลี่ยนท่าที ด้วยหวังจะปรับความสัมพันธ์กับรัฐบาลไทยภาย ใต้การนำของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้ดีขึ้น ด้วยการกล่าวยืนยันอย่างชัดเจนระหว่างเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำรัฐบาล จากประเทศสมาชิกของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission--MRC) ที่หัวหินแล้วว่ารัฐบาลกัมพูชาจะไม่ยอมให้ ทักษิณ ชินวัตร ใช้กัมพูชาเพื่อเคลื่อนไหวล้มล้างรัฐบาลไทยชุดปัจจุบันนี้อย่างเด็ดขาด
ซึ่งก็นับเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลัง มือเลยก็ว่าได้ เพราะก่อนหน้านี้ ฮุน เซน ไม่เพียงจะได้แสดงท่าทีให้เห็นอย่างชัดเจนว่าตัวเขาได้ให้การสนับสนุน ทักษิณ อย่างสุดตัวเท่านั้น หากยังได้แต่งตั้งให้ ทักษิณ เป็นที่ปรึกษาส่วนตัวของตน ทั้งยังได้ประกาศอย่างชัดเจนว่าไม่สามารถที่จะร่วมงานกับนายกรัฐมนตรีของไทย ที่ชื่อว่า อภิสิทธิ์ ได้เลยอีกด้วย
ยิ่งไปกว่านั้น การแสดงท่าทีของ ฮุน เซน ในช่วงเวลาที่ผ่านมายังเต็มไปด้วยความพยายามที่จะบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือ ของรัฐบาลไทยทั้งในเวทีการประชุมระดับภูมิภาคและระดับสากลมาในตลอดระยะเวลา กว่า 2 ปีมานี้
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปีที่แล้ว ซึ่งรัฐบาลไทยเป็นประธานเวียนของกลุ่มอาเซียนอยู่นั้น ฮุน เซน ถึงกับได้เสนอให้ประเทศสมาชิกอื่นๆเป็นผู้จัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน แทนรัฐบาลไทยเมื่อปรากฏว่ามีเหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึ้นในประเทศไทย
แต่ครั้นเมื่อการนำเสนอดังกล่าวไม่เป็นผล ฮุน เซน ก็ได้ใช้ทุกๆ เวทีที่เขาได้ไปร่วมประชุมด้วยนั้นเพื่อแถลงโจมตี อภิสิทธิ์ และรัฐบาลไทยมาโดยตลอด ทั้งยังได้พยายามเคลื่อนไหวเพื่อตอกย้ำถึงความไม่พอใจที่มีต่อ อภิสิทธิ์ และรัฐบาลไทยเรื่อยมา
เพราะฉะนั้น การที่ ฮุน เซน ได้มาเปลี่ยนท่าทีเช่นนี้ จึงนับเป็นสิ่งที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนเพื่อผลประโยชน์จาก แหล่งน้ำมันและแก๊สฯในเขตอ่าวไทยได้อย่างชัดเจน
นอกจากนี้ อีกความเคลื่อนไหวหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการดังกล่าวนี้ของ ฮุน เซน ได้อย่างชัดเจนเช่นกัน ก็คือการที่เขาได้หลุดปากออกมาในระหว่างเป็นประธานในพิธีมอบปริญญาบัตรให้ กับผู้จบการศึกษาจากสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งในกรุงพนมเปญว่าเขาได้กำหนดเวลา ให้กลุ่ม Chevron บริษัทยักษ์ใหญ่ผู้ค้าน้ำมันจากสหรัฐอเมริกานั้นให้เร่งทำการขุดค้นเพื่อนำ เอาน้ำมันและแก๊สฯในน่านน้ำของกัมพูชาในเขตอ่าวไทยขึ้นมาใช้ประโยชน์ให้ได้ ภายในปี 2012 หากไม่เช่นนั้นก็จะถูกพิจารณาถอนสัมปทานในทันที
พร้อมกันนั้น ฮุน เซน ยังได้สั่งการให้การปิโตรเลียมแห่งชาติ ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลกัมพูชานั้นให้เร่งดำเนินการจัดตั้งบริษัทลูก ขึ้นมาเพื่อให้ร่วมทุนกับ Chevron Corp ในการขุดค้นน้ำมันและแก๊สฯเป็นการเฉพาะอีกด้วย
พร้อมๆกันนั้น ฮุน เซน ก็ยังได้สั่งการให้รัฐวิสาหกิจปิโตรเลียมแห่งชาติเร่งเซ็นสัญญากับกลุ่ม TOYO Engineering จากญี่ปุ่น เพื่อดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ของการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันแห่งแรกใน กัมพูชาด้วยหวังว่าจะเป็นเงื่อนไขที่ทำให้กลุ่ม TOYO ตัดสินใจลงทุนในด้านดังกล่าวในระยะต่อไป โดยเขาได้ให้คำมั่นว่ารัฐบาลของเขาจะเร่งจัดทำร่างกฎหมายน้ำมันเพื่อประกาศ บังคับใช้ในเร็วๆนี้
ส่วนทางด้าน Chevron Corp ก็ได้ร่วมทุนกับกลุ่ม Mitsui จากญี่ปุ่น และกลุ่ม GS Caltex จากเกาหลี ใต้เพื่อดำเนินการสำรวจหาแหล่งน้ำมันและแก๊สฯในเขตน่านน้ำของกัมพูชา นับตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นมาแล้ว และถึงแม้ว่าจะยังคงไม่มีสรุปผลการสำรวจอย่างชัดเจนก็ตาม แต่ Chevron Corp ก็ได้ให้การยืนยันกับ ฮุน เซน อย่างชัดเจนแล้วว่ารายงานสรุปผลการสำรวจทั้งหมดจะถูกนำเสนอต่อรัฐบาลเขมรภาย ในปี 2010 นี้อย่างแน่นอน
โดยกลุ่ม Chevron Corp กับกลุ่ม Mitsui และ กลุ่ม GS Caltex ร่วมทุนกันในสัดส่วน 55% ต่อ 30% และ 15% ตามลำดับ และได้ทำการขุดเจาะและสำรวจหาน้ำมันในเขตสัมปทาน A ซึ่งอยู่ห่างจากฝั่งทะเลของเขตจังหวัดสีหนุวิลล์นั้น ก็พบว่า 4 ใน 15 หลุมที่ได้ดำเนินการสำรวจนั้นเป็นแหล่งที่คุ้มค่าที่จะลงทุนอย่างยิ่ง
ซึ่งด้วยผลจากการสำรวจฯดังกล่าว ก็ปรากฏว่ามีบริษัทต่างชาติอีกกว่า 10 รายที่ได้หลั่งไหลเข้าไปขออนุญาตสำรวจหาน้ำมันและแก๊สฯ ในเขตอ่าวไทย ในส่วนที่รัฐบาลกัมพูชาถือเป็นเขตน่านน้ำของฝ่ายตนแล้ว ซึ่งรวมถึงการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยและยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานจากจีนด้วย
ส่วนธนาคารโลก ก็ได้แสดงการเชื่อมั่นว่าหากมีการขุดค้นน้ำมันและแก๊สฯขึ้นมาใช้ประโยชน์จะ ทำให้รัฐบาลกัมพูชามีรายรับมากกว่า 175 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2011 แล้วก็เพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 1,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020
|
|
|
|
ทรงฤทธิ์ โพนเงิน |
|
|
การ ที่ ฮุน เซน ได้พยายามกระทำในทุกวิถีทางเพื่อผลักดันให้ความขัดแย้งกับไทยอันเกี่ยว เนื่องกับกรณีปราสาทพระวิหาร (มรดกโลกของ ฮุน เซน) ไปสู่เวทีสากลนั้น นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มักจะมองว่าเป็นความพยายามที่จะดึงเอาประเทศมหาอำนาจ เข้ามาข่มไทย (ที่เป็นประเทศใหญ่กว่ากัมพูชา) ด้วยมีความหวังว่าการเข้ามาของประเทศมหาอำนาจนั้นจะทำให้กัมพูชาเป็นฝ่ายที่ ได้เปรียบไทยเหมือนกับในอดีตเมื่อ 49 ปีก่อนที่ศาลระหว่างประเทศ หรือศาลโลก ได้ตัดสินให้กัมพูชาเป็นฝ่ายได้ครอบครองปราสาทพระวิหารแต่เพียงฝ่ายเดียว นั่นเอง
แต่ถ้าหากจะมองลึกเข้าไปในส่วนที่เกี่ยวกับการเมืองภายในของกัมพูชาใน เวลานี้ ก็จะทำให้รู้ว่าที่จริงแล้วการช่วงชิงการนำระหว่างนักการเมืองเขมร และกระแสเสียง (กร่นด่า) ของชาวเขมรที่มีต่อการนำของ ฮุน เซน นั้นก็คือเงื่อนไขที่สำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้ ฮุน เซน ต้องพยายามดิ้นรนในทุกวิถีทางเพื่อทำ ให้ตนเองมีความได้เปรียบในทางการเมืองต่อไป ซึ่งในที่นี้คือการกระทำในทุกวิถีทางเพื่อกลบเกลื่อนความผิดพลาดของตนใน หลายๆเหตุการณ์
อย่างเช่นการที่ให้สถานีโทรทัศน์ “บายน” ของ ฮุน มานา บุตรสาวแสนสวยและสุดรักของ ฮุน เซน นั้นทำการระดมเงินบริจาคได้มากกว่า 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยเหลือเยียวยาครอบครัวชาวเขมรที่เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจากเหตุ โศกนาฏกรรมในช่วงเทศกาลลอยกระทงปีที่แล้ว แต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่เป็นผลทำให้ภาพลักษณ์ในการเป็นผู้นำของ ฮุน เซน ดีขึ้นแต่อย่างใดเลยในเวลานี้
ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะว่า ฮุน เซน ไม่เพียงจะออกมาประกาศปัดความรับผิดชอบในฐานะผู้นำรัฐบาลและยังได้แสดงท่าที ปกป้องพลพรรคของตนที่จะต้องร่วมรับผิดชอบในฐานะคณะผู้ปกครองกรุงพนมเปญเท่า นั้น หากแต่ล่าสุดการปัดความรับผิดชอบเช่นว่านี้ก็ยังได้ลุกลามไปถึงสภาแห่งชาติ กัมพูชาอีกด้วย เมื่อปรากฏว่า เฮง สัมริน ประธานสภาแห่งชาติ ผู้ซึ่งอยู่ใต้ชายคาพรรคประชาชนกัมพูชาของ ฮุน เซน ที่ครองเสียงข้างมากจนสามารถผูกขาดอำนาจในสภาแห่งชาติได้อย่างเบ็ดเสร็จนั้น ได้ปฏิเสธคำร้องของฝ่ายค้าน ที่ขอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อสืบสวน-สอบสวนหาสาเหตุที่ก่อให้ เกิดเหตุ โศกนาฏกรรมดังกล่าวขึ้น
ทั้งนี้โดยพลพรรคของ ฮุน เซน ได้ให้เหตุผลประกอบการปฏิเสธคำร้องของฝ่ายค้านว่าสภาแห่งชาติไม่ มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการสืบสวน-สอบสวนหาสาเหตุที่ก่อให้เกิด เหตุโศกนาฏกรรมดัง กล่าวเป็นการเฉพาะ จึงไม่ควรจะเข้าไปก้าวก่ายการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายบ้านเมืองและควรปล่อยให้ เป็นหน้าที่ของฝ่ายบ้านเมืองเท่านั้น ซึ่งในที่นี้ ก็คือคณะผู้ปกครองกรุงพนมเปญในสังกัดพรรคประชา ชนกัมพูชาของ ฮุน เซน ที่ได้ปฏิเสธความรับผิดชอบอย่างใดๆ ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไปแล้วนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม การปฏิเสธความรับผิดชอบของ ฮุน เซน และพรรคประชาชนกัมพูชาดังกล่าวนี้ ก็หาได้ทำให้เรื่องราวมีอันต้องจบลงไปง่ายๆ แต่อย่างใดไม่ เพราะในเมื่อว่าฝ่ายรัฐบาล และรัฐสภาที่อยู่ภายใต้การควบคุมอย่างเบ็ดเสร็จของ ฮุน เซน และพรรคประชาชนกัมพูชาได้ปฏิเสธความรับผิดชอบเช่นนี้ จึงได้กลับกลายเป็นช่องทางให้ฝ่ายค้านกล่าวคือพรรคสัม รังสี และพรรคสิทธิมนุษยชนกัมพูชานั้นใช้เป็นโอกาสในการขยายผลไปสู่การบ่อนทำลาย ทางการเมืองต่อ ฮุน เซน และพรรคประชาชนกัมพูชา ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ด้วยการประสานความร่วมมือกับองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนในกัมพูชาและจาก ต่างประเทศในการจัดตั้งคณะกรรมการที่เป็นอิสระจากรัฐบาลของ ฮุน เซน ขึ้นมารับผิดชอบในการค้นหาความจริงที่ก่อให้เกิดเหตุโศกนาฏกรรมดังกล่าวแล้ว ในเวลานี้
การเดินเกมรุกของฝ่ายค้านทางการเมืองในกัมพูชาดังกล่าวนี้นับได้ว่าเป็น การเคลื่อนไหวที่ฉลาดมากครั้งหนึ่ง เนื่องจากรู้ว่าการจัดตั้งคณะกรรมการที่เป็นอิสระจากรัฐบาลขึ้นมาเพื่อสืบ ค้นหาความจริงที่ก่อให้เกิดเหตุโศกนาฏกรรมครั้งล่าสุดนี้ ย่อมจะไม่ถูกขัดขวางจากทางฝ่ายรัฐบาลของ ฮุน เซน อย่างแน่นอน เพราะถ้าหากฝ่ายรัฐบาลของ ฮุน เซน จะกระทำเช่นนั้นก็ไม่เพียงจะถูกสาธารณชนมองว่าได้พยายามขัดขวางการปฏิบัติ หน้าที่เพื่อส่วนรวมของฝ่ายค้านเท่านั้น หากก็ยังจะถูกมองว่าฝ่ายรัฐบาลของ ฮุน เซน นั้นได้พยายามกระทำในทุกวิถีทางเพื่อปกปิดความบกพร่องของฝ่ายตน โดยไม่คำนึงถึงความสูญเสียของครอบครัวผู้ที่เสียชีวิตไปกว่า 350 ศพอีกด้วย
แน่นอนว่า ฮุน เซน เองก็รู้ดีว่าผลที่จะได้รับจากการสืบค้นหาความจริงของเหตุโศกนาฏกรรมดัง กล่าวย่อมจะไม่เป็นผลดีต่อตัวเขาและพรรคประชาชนกัมพูชาเป็นแน่ แต่การที่จะไปขัดขวางปฏิบัติการของคณะกรรมการดังกล่าวของฝ่ายค้านก็ย่อมจะ ไม่เป็นผลดียิ่งกว่า เพราะฉะนั้น จึงทำให้ ฮุน เซน ได้แต่รอคอยวันเวลาที่จะบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของผลที่จะได้จากการสืบค้น ดังกล่าวนี้เท่านั้น
ส่วนกรณีที่เกี่ยวกับปราสาทพระวิหารนั้น ผลที่เกิดจากความผิดพลาดโดยตรงของ ฮุน เซน ก็คือการที่เขาได้ใช้ความสำเร็จจากการเจรจาต่อรองจนทำให้ UNESCO รับรองให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกนั้นมารับใช้ผลประโยชน์ทางการเมืองของ เขาและพรรคประชาชนกัมพูชาโดยแท้ ซึ่งนั่นก็คือการที่ได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่า สุดเมื่อกลางปี 2008 ที่ผ่านมา ทั้งๆที่ในช่วงก่อนหน้านั้นผลจากการหยั่งเสียงของทุกสำนักต่างได้ผลลัพธ์ เป็นอย่างเดียวกัน นั่นก็คือบุคคลที่ชาว เขมรอยากให้เป็นนายกรัฐมนตรีของกัมพูชามากที่สุดในเวลานั้นคือ สัม รังสี
เนื่องจากว่าการบริหารงานของรัฐบาลกัมพูชาภายใต้ ฮุน เซน ในช่วงปี 2003-2008 นั้นมีแต่ได้สร้างปัญหาให้กับประชาชนชาวเขมรอย่างกว้างขวาง เช่นการไล่ที่ของประชาชนชาวเขมรตาดำๆ นับแสนคนเพื่อนำเอาที่ดินไปให้นายทุนสร้างตึก การกดค่าจ้างและลดค่าล่วงเวลาของแรงงานเพื่อเอาใจนาย ทุนในช่วงที่เกิดปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโลก การถูกครหาและสงสัยว่ายินยอมเสียผืนแผ่นดินให้กับฝ่ายเวียดนาม และการล้มเหลวในการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่น เป็นต้น
แต่ครั้นเมื่อการเป็นมรดกโลกของปราสาทพระวิหารได้เข้ามาช่วยชีวิต ฮุน เซน และพรรคประชาชนฯไว้เช่นนี้กลับยิ่งทำให้เกิดการเผชิญหน้ากับรัฐบาลไทยมาก ขึ้นถึงขนาดทำให้ไม่ได้ผลประโยชน์อันใดเลยจากการเป็นมรดกโลกของปราสาทพระ วิหารในตลอดช่วงเกือบ 3 ปีมานี้ ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะความผิดพลาดของ ฮุน เซน อีกเช่นเคยเนื่องจาก ฮุน เซน ได้แสดงความอหังการ์ประกาศกร้าวเป็นปฏิปักษ์ทางการเมืองกับ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีของไทย มิหนำซ้ำยังได้แสดงการสนับสนุนฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามกับฝ่ายของ อภิสิทธิ์ อย่างชัดเจนด้วยการแต่งตั้งให้ ทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษานโยบายด้านเศรษฐกิจของตนเองและรัฐบาลกัมพูชาอีกต่างหาก
แน่นอนว่า ฮุน เซน ย่อมไม่เคยยอมรับว่าปัญหาที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้นนั้นเป็นความผิดพลาดของตน เอง แต่กลับได้พยายามหาทางกลบเกลื่อนปัญหาเหล่านี้มาโดยตลอดด้วยการพยายามสร้าง เงื่อน ไขเพิ่มให้กับความขัดแย้งที่มีอยู่กับฝ่ายไทยให้มากขึ้น
ยิ่งเมื่อต้องตกเป็นเป้าหมายของการที่จะถูกเล่นงานจากทางฝ่ายของ สัม รังสี ที่กำลังจะหวนกลับไปจับมือกับเจ้านโรดม รณฤทธิ์ ที่เพิ่งจะประกาศหวนคืนสู่การเมืองอีกครั้งเมื่อปลายปีที่ผ่านมาด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้ ฮุน เซน ต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบากมากขึ้นไปอีก
ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่าปมเขื่องที่ฝ่ายของ สัม รังสี ได้นำเสนออย่างสดๆร้อนๆในเวลานี้ ก็คือการเสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาเขตแดนของกัมพูชากับประเทศ เพื่อนบ้าน (ไม่เฉพาะกับไทยเท่า นั้นแต่ยังรวมถึงเวียดนามและลาวด้วย) ที่เป็นอิสระจากรัฐบาลของ ฮุน เซน แต่กลับปรากฏว่า ฮุน เซน ได้ปฏิเสธข้อเสนอที่ว่านี้ไปแล้ว โดยให้เหตุผลว่าเรื่องเกี่ยวกับเขตแดนเป็นเรื่องทางเทคนิคที่จะต้องใช้ผู้ ที่มีความรู้ความชำนาญการเป็นพิเศษเท่านั้น
ครั้นแล้วการปฏิเสธเช่นนี้ของ ฮุน เซน กลับยิ่งทำให้ประชาชนชาวเขมรในวงกว้างได้ตั้งคำถามและข้อสงสัยว่าสาเหตุที่ ฮุน เซน ได้ปฏิเสธข้อเสนอของฝ่ายค้านเช่นนี้เป็นเพราะต้องการปกปิดสิ่งที่ได้ตกลง ร่วมกับฝ่ายเวียดนามเกี่ยวกับการปักปันเขตแดนระหว่างกันไปแล้วหรือไม่ โดยสิ่งที่ ฮุน เซน ต้องการจะปกปิดในที่นี้ก็คือการยอมเสียดินแดนบางส่วนให้กับเวียดนามในฐานะ ผู้ที่ทำให้ ฮุน เซน มีอำนาจวาสนาอย่างที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้หรือไม่
แน่นอนว่า ฮุน เซน ย่อมที่จะต้องปฏิเสธข้อสงสัยดังกล่าวอยู่แล้วแต่ว่าการปฏิเสธก็ย่อมจะไม่ สามารถให้ทำคำถามและข้อสงสัยดังกล่าวหายไปจากความคิดของชาวเขมรแต่อย่างใด ไม่ ด้วยเหตุนี้ จึงมีแต่การขยายความขัดแย้งว่าด้วยปราสาทพระวิหารที่มีอยู่กับไทยให้เป็น เรื่องใหญ่เท่านั้น จึงจะสามารถกลบเกลื่อนความผิดพลาดทั้งหมดข้างต้นของ ฮุน เซน ได้อย่างมีประสิทธิผล โดยปมเขื่องอย่างหนึ่งที่ ฮุน เซน กำลังพยายามโฆษณาชวนเชื่ออยู่ในเวลานี้ ก็คือการสร้างภาพ “มาร” ของไทยในฐานะผู้ขัดขวางมรดกโลกและเป็นผู้รุกรานเขตอธิปไตยของกัมพูชานั่น เอง!!! |
|
|
|
โดย ทรงฤทธิ์ โพนเงิน |
|
|
แม้ การได้รับสถานภาพแห่งการเป็นมรดกโลกของปราสาทพระวิหาร หรือ Preah Vihear ของกัมพูชานั้นจะทำให้รัฐบาลกัมพูชาภายใต้การนำสูงสุดของ ฮุน เซน ต้องเผชิญกับความขัดแย้งที่มีอยู่กับรัฐบาลไทยภายใต้การนำของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในตลอดช่วงเกือบ 3 ปีมานี้ก็ตามแต่ก็หาได้เป็นอุปสรรคต่อความพยายามของ ฮุน เซน ในอันที่จะทำให้วิมานสวรรค์ของพระศิวะแห่งนี้กลายเป็นสวรรค์บนพื้นผิวโลกของ มนุษย์ให้ได้อย่างแท้จริงแต่อย่างใด
ทั้งนี้โดยถ้าหากจะนับจากการที่คณะผู้แทนของ UNESCO ได้เดินทางเข้าไปสำรวจในพื้นที่ปราสาทฯดังกล่าวครั้งแรกในช่วงเดือน มีนาคม-เมษายน 2009 ซึ่งคณะผู้แทนของ UNESCO ก็ได้ให้การแนะนำเพื่อให้รัฐบาลกัมพูชาของ ฮุน เซน ดำเนินการต่างๆเพื่อรองรับแผนการบริหารและจัดการมรดกโลกที่ได้มีการจัดแบ่ง เขตต่างๆ ออกเป็น 5 เขตนั้นก็ปรากฏว่ารัฐบาลของ ฮุน เซน ได้เร่งดำเนินการต่างๆตามการแนะนำของคณะผู้แทน UNESCO ได้อย่างเป็นรูปธรรมด้วยความรวดเร็วยิ่ง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การก่อตั้งหมู่บ้านขึ้นมาใหม่เพื่อให้มีบทบาทในการอนุรักษ์มรดกโลกที่ ฮุน เซน ได้ให้ชื่อว่าหมู่บ้านสมเด็จเดโช ฮุน เซน แห่งพระวิหารหรือ Eco-Village of Samdech Techo Hun Sen of Preah Vihear นั้นถือเป็นเขตที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วที่สุดในเวลานี้
กล่าวสำหรับตามแผนการของ ฮุน เซน แล้วหมู่บ้านแห่งนี้ตั้งอยู่ห่างจากตัวปราสาทพระวิหารเข้าไปในเขตกัมพูชา ประมาณ 20 กิโลเมตร โดยมีอาณาเขตที่กว้างถึง 43,997 เฮกตาร์หรือเกือบ 275,000 ไร่นั้น ฮุน เซน ได้จัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 เขตด้วยกัน
โดยเขตแรกนั้น ก็คือ เขตที่อยู่อาศัยของชาวเขมรอย่างน้อย 800 ครอบครัว พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆอย่างครบครัน เช่นโรงเรียน โรงพยาบาล น้ำประปา ไฟฟ้า โทรศัพท์และถนนในหมู่บ้านที่สามารถเชื่อมต่อกับภายนอกได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เป็นต้น ซึ่งจนถึงปัจจุบันนี้ ก็ปรากฏว่าทางการ กัมพูชาได้ทำการสร้างบ้านให้กับชาวเขมรที่สมัครใจเข้ามาอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน แห่งนี้เสร็จแล้วจำนวน มากกว่า 320 หลัง ส่วนที่เหลือนั้นก็คาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2011 นี้อย่างแน่นอน เพราะ จนถึงเวลานี้มีชาวเขมรมากกว่า 790 ครอบครัวแล้วที่ได้สมัครใจเข้าไปตั้งรกรากอยู่ที่หมู่บ้านแห่งนี้
ส่วนที่ถือว่าได้ดำเนินการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้วนั้น ก็คือโรงเรียน โรงพยาบาลและถนนที่กว้างถึง 9เมตรที่เชื่อมต่อจากหมู่บ้านไปยังหมู่บ้านแสมที่อยู่รอบนอกสุดของเขตมรดก โลก นอกจากนี้ รัฐบาลของ ฮุน เซน ยังได้เร่งมือดำเนินการขุดอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 3 แห่งเพื่อตอบสนองความต้องการให้ได้ อย่างเพียงพอตลอดปีทั้งในครัวเรือน สถานที่ราชการ แหล่งธุรกิจ และการเกษตร ซึ่งถ้าหากการดำเนินงานเป็นไปตามแผนการที่ ฮุน เซน ได้วางไว้จริง ก็หมายความว่าสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆเหล่านี้จะดำเนินการแล้วเสร็จอย่างครบ ถ้วนภายในปี 2011 นี้เช่นเดียวกัน
สำหรับเขตที่สอง ก็คือเขตพิพิธภัณฑ์อนุรักษ์มรดกโลกหรือ Eco-Global Museum นั้นถือเป็นส่วนที่ ฮุน เซน หมายมั่นที่จะพัฒนาให้เป็นแหล่งค้นคว้าอันทันสมัยที่ให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับ ความยิ่งใหญ่ในอดีตของกัมพูชา ด้วยหวังว่าจะเป็นเขตหนึ่งที่จะช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติหลายแสนจน ถึงล้านคนให้เดินทางไปเยือนวิมานสวรรค์ของพระศิวะแห่งนี้ในแต่ละปีเช่นเดียว กับนครวัดที่เสียมเรียบ (เสียมราฐ) ซึ่งทำให้กัมพูชามีรายได้จากการท่องเที่ยวปีละหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้โดย ฮุน เซน ได้วาง แผนการที่จะเชื่อมต่อมรดกโลกทั้งสองแห่งนี้เข้าด้วยกันอีกต่างหาก
ส่วนชาวต่างชาติที่มีทุนทรัพย์จนเหลือล้นนั้น ก็สามารถที่จะลงหลักปักฐานที่หมู่บ้านอนุรักษ์ฯสมเด็จเดโช ฮุน เซน แห่งนี้ได้เช่นกัน ทั้งนี้ด้วยการเข้าไปลงทุนในเขตที่สามที่ ฮุน เซน จัดสรรไว้เพื่อรองรับการลงทุนจากต่างประเทศเป็นการเฉพาะทั้งในธุรกิจบริการ และการท่องเที่ยวอย่างครบครัน เช่นสนามกอล์ฟ โรงแรม รีสอร์ท และศูนย์การค้า เป็นต้นซึ่งเฉพาะในเขตพื้นที่นี้ ฮุน เซน ยังได้มองถึงเงินลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากว่าการได้มาซึ่งมรดกโลกของปราสาทพระวิหารแห่งนี้ยังคงคุกรุ่นไป ด้วยความขัดแย้งที่มีอยู่กับไทย จึงทำให้ ฮุน เซน ต้องเพิ่มเขตที่สี่เข้าไปในหมู่บ้านอนุรักษ์ฯ สมเด็จเดโช ฮุน เซน แห่งนี้เป็นการเฉพาะอีกเขตหนึ่ง ซึ่งในที่นี้ก็คือเขตที่พักของครอบครัวทหาร ตำรวจ และเจ้าหน้าที่เก็บกู้ระเบิดนั่นเอง
โดยที่ผ่านมานั้น ก็ปรากฏว่า ฮุน เซน ได้โยกย้ายอดีตทหารเขมรแดงและครอบครัวให้เข้าไปตั้งรกรากอยู่ในเขตนี้แล้ว หลายร้อยครอบครัว ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะมีการโยกย้ายเข้าไปเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่อง จากว่าผลประโยชน์ที่ครอบครัวของอดีตทหารเขมรแดงเหล่านี้จะได้รับเป็นการตอบ แทนจาก ฮุน เซน นั้นไม่ใช่เพียงการเลื่อนยศและเพิ่มอัตราเงินเดือนเท่านั้น หากยังได้รับการจัดสรรที่ดินทำกินและสร้างบ้านพักให้อยู่อาศัยได้อย่างถาวร อีกด้วย
ความจริงแล้ว ฮุน เซน ได้เริ่มดำเนินการโยกย้ายครอบครัวอดีตทหารเขมรแดงเข้ามาอยู่ในเขตปราสาท พระวิหารนับเป็นเวลากว่า 2 ปีมาแล้วหรือนับจากที่ได้มีการปะทะด้วยกำลังอาวุธกับทหารไทยในครั้งแรกใน ช่วงปลายปี 2008 เพียงแต่ว่าในช่วงเวลานั้นคณะผู้แทนของ UNESCO ยังไม่ได้เดินทางเข้าไปสำรวจพื้นที่ในเขตปราสาทพระวิหาร จึงทำให้ยังไม่มีแนวความคิดเกี่ยวกับการก่อตั้งหมู่บ้านอนุรักษ์ฯ สมเด็จเดโช ฮุน เซน แต่อย่างใด
แต่ถึงกระนั้น ฮุน เซน ก็ได้ใช้แนวนโยบายทหารนิยมด้วยการทั้งให้ ทั้งแจก และทั้งแถมผลประโยชน์ต่างๆนานาให้กับครอบครัวอดีตทหารเขมรแดงที่สมัครใจเข้า ไปตั้งรกรากอยู่ในพื้นที่ที่ต่อเนื่องจากกับ เขตปราสาทพระวิหารดังกล่าว และครั้นเมื่อคณะผู้แทนของ UNESCO ได้เข้าไปสำรวจพื้นที่พร้อมกับการเสนอแนะให้รัฐบาลกัมพูชาของ ฮุน เซน ดำเนินการต่างๆตามการเสนอแนะดังกล่าวที่มีอยู่ทั้งหมด 13 ข้อเสนอแนะ ซึ่งรวมถึงข้อเสนอแนะให้ดำเนินการก่อตั้งหมู่บ้านอนุรักษ์มรดกโลกดังกล่าว ด้วยนั้น จึงทำให้ ฮุน เซน ใช้เป็นโอกาสในการโยกย้ายครอบครัวอดีตทหารเขมรแดงเข้าไปได้อย่างเหมาะเจาะ และยังได้ถือโอกาสใช้ชื่อของตนเป็นชื่อหมู่บ้านอีกด้วย
สำหรับการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของคณะผู้แทนของ UNESCO อีก 12 ข้อที่เหลือนั้น ฮุน เซน ก็ได้สั่งการให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการและปฏิบัติตามอย่างเคร่ง ครัด ซึ่งก็เป็นผลทำให้การดำเนินงานได้คืบหน้าไปแล้วในหลายด้าน เช่น การก่อสร้างบันไดไม้ที่มีความยาวเกือบ 1,500 เมตรสำหรับใช้เป็นทางขึ้นสู่ตัวปราสาทพระวิหารจากด้านตะวันออกหรือจากฝั่ง กัมพูชานั้นก็สร้างเสร็จแล้ว ส่วนถนนราดยางขนาดกว้าง 9 เมตรจากหมู่บ้านแสมเข้ามายังปราสาทพระวิหารนั้นก็เสร็จแล้วเช่นกัน
โดยหมู่บ้านแสมดังกล่าวนี้ถือเป็นประตูสู่มรดกโลกแห่งปราสาทพระวิหาร ซึ่งตามการเสนอแนะของ คณะผู้แทนของ UNESCO นั้นจะพัฒนาให้หมู่บ้านแสมแห่งนี้เป็นศูนย์รวมของธุรกิจภาคบริการต่างๆอย่าง ครบวงจร เช่น ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ศูนย์อาหาร ไนท์คลับ ศูนย์จำหน่ายของที่ระลึก สถานีรถ โดยสาร และธนาคารเป็นต้น ต่างก็ล้วนแล้วแต่จะถูกจัดให้อยู่ที่หมู่บ้านแห่งนี้ทั้งสิ้น (และที่แน่ๆ ที่ดินส่วนใหญ่ในเขตดังกล่าวนี้ได้ตกไปอยู่ในมือพรรคพวกของ ฮุน เซน เป็นที่เรียบร้อยแล้วเช่นกัน)
เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่าการกระทบกระทั่งกับไทยในตลอดช่วงเกือบ 3 ปีมานี้หาได้มีผลกระทบต่อการเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆเพื่อรองรับแผนการ บริหารและจัดการมรดกโลกแห่งนี้ของกัมพูชา แต่อย่างใด ทั้งยังเชื่อด้วยว่าการประกาศถอนตัวของไทยจาก UNESCO ในครั้งนี้ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อ ฮุน เซน อีกต่างหาก โดยถึงแม้ว่าความขัดแย้งที่เป็นอยู่นี้จะทำให้รัฐบาลของ ฮุน เซน ไม่สามารถที่จะเดินหน้าในการปฏิบัติแผนการบริหารและจัดการมรดกโลกแห่งนี้ได้ จนถึงทุกวันนี้ก็ตาม แต่สำหรับฮุน เซน แล้วก็สามารถที่จะเอาตัวรอดได้ด้วยการให้เหตุผลต่อชาวเขมรทั้งในและต่าง ประเทศว่าสาเหตุและอุปสรรคที่สำคัญที่สุดนั้นมาจากการขัดขวางของรัฐบาลไทย นั่นเอง
ซึ่งด้วยเหตุผลที่ว่านี้ก็น่าจะเพียงพอสำหรับการทำให้ ฮุน เซน และพรรคประชาชนกัมพูชาของเขานั้นสามารถที่จะยึดกุมชัยชนะทั้งในการเลือกตั้ง ระดับท้องถิ่นในต้นปี 2012 และการเลือกตั้งทั่วไปครั้งต่อไปในกลางปี 2013 ได้อย่างแน่นอน (โดยไม่ต้องสนใจเลยว่าจะสามารถปฏิบัติแผนการบริหารและจัด การมรดกโลกได้จริงๆเมื่อใด) นี่จึงนับได้ว่าปราสาทพระวิหารแห่งนี้คือมรดกของ ฮุน เซน โดยแท้!!! |
|
|
โดย ทรงฤทธิ์ โพนเงิน |
|
|
|
แม้ ว่าจะยังคงไม่มีความชัดเจนว่าคณะตุลาการศาลระหว่างประเทศหรือศาลโลกจะมีคำ วินิจฉัยออกมาอย่างไรในข้อพิพาทว่าด้วยปราสาทพระวิหารระหว่างไทยกับกัมพูชา ก็ตาม แต่สิ่งที่ได้ปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนแล้วในเวลานี้ก็คือกระแสของความเกลียดชัง และโกรธแค้นระหว่างประชาชนในระดับรากหญ้าของทั้งสองประเทศ โดยที่มีนักการเมืองที่รักชาติแต่ปากทั้งหลายในทั้งสองประเทศนี้เป็นผู้ที่ คอยฉวยใช้โอกาสในการเสริมสร้างฐานเสียงเพื่อทำให้พวกตนได้อยู่ในอำนาจการ เมืองต่อไป
กล่าวสำหรับในกัมพูชานั้นคงจะไม่มีใครอื่นที่ได้ประโยชน์จากข้อพิพาทว่า ด้วยปราสาทพระวิหารดังกล่าวนี้เกินหน้าเกินตาของ ฮุน เซน และพรรคประชาชนกัมพูชา ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะว่าการที่ปราสาทพระวิหารได้ถูกรับรองจาก UNESCO ให้เป็นมรดกโลกเมื่อกลางปี 2008 นั้นมันได้กลายเป็นปัจจัยที่ช่วยทำให้พรรคประชาชนกัมพูชาของ ฮุน เซน ได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งทั่วไปในกลางปี 2008 ดังกล่าว ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้นคะแนนนิยมของ ฮุน เซน และพรรคประชาชนกัมพูชานั้นตามหลังพรรคสัม รังสี แทบจะไม่เห็นฝุ่นก็ว่าได้ มิหนำซ้ำผลการสำรวจของหลายสำนักยังได้ตอกย้ำด้วยว่าผู้ที่ชาวเขมรส่วนใหญ่ อยากให้เป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุนั้นก็คือ สัม รังสี อีกต่างหาก
ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะว่าการบริหารประเทศของรัฐบาลฮุน เซน ในช่วงปี 2003-2008 นั้นไม่เพียงจะอุดมไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง จนร่ำรวยถึงขนาดที่นักการเมืองและขุนศึกทั้งหลายในรัฐบาลฮุน เซน ได้ไถ่บาปด้วยการบริจาคเงินคนละนับเป็นสิบๆล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อสร้าง โรงเรียนในถิ่นฐานบ้าน เกิดของพวกตน ในขณะที่ป่าไม้ของกัมพูชาก็ถูกตัดโค่นลงมากที่สุดในโลก ส่วนชาวเขมรหลายแสนคนก็ถูกไล่ที่เพื่อนำเอาที่ดินไปให้นายทุนต่างชาติลงทุน สร้างคอนโดมิเนียม ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน บ้านจัดสรร โรงแรม รีสอร์ท และสนามกอล์ฟสำหรับคนรวย เป็นต้น
ครั้นเมื่อปราสาทพระวิหารได้รับสถานะเป็นมรดกโลกที่ทำให้พรรคประชาชน กัมพูชาของ ฮุน เซน มีชัยในการเลือกตั้งเหนือพรรคการเมืองอื่นๆ จนสามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้อีกครั้งนั้น แต่กลับทำให้ ฮุน เซน มีความหลงระเริงในอำนาจมากยิ่งขึ้นไปอีกและที่เลวร้ายไปกว่านั้นก็คือการที่ ฮุน เซน ได้วางตัวอย่างไม่เหมาะสม ด้วยการพยายามเข้ามาแทรกแซงความขัดแย้งทางการเมืองในไทยโดยการประกาศตัวเป็น ศัตรูกับนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ซึ่งรัฐบาลไทยเป็นเจ้าภาพที่หัวหิน
ยิ่งไปกว่านั้น ฮุน เซน ยังได้พยายามตอกย้ำถึงท่าทีดังกล่าวของตนให้ดูหนักแน่นยิ่งขึ้นด้วยการแต่ง ตั้งให้อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษานโยบายทางเศรษฐกิจของตนและรัฐบาลกัมพูชา ซึ่งก็ถูกตอบโต้จาก อภิสิทธิ์ ด้วยการเรียกตัวเอกอัครราชทูตไทยที่กรุงพนมเปญกลับกรุงเทพฯในช่วงเวลาที่ต่อ เนื่องกัน
ครั้นแล้วการตอบโต้กันไปมาในทางการเมืองข้ามประเทศด้วยการหยิบยกกรณี พิพาทว่าด้วยปราสาทพระวิหารขึ้นมาเป็นข้ออ้าง (ทั้งๆที่เป็นความขัดแย้งระหว่างนักการเมืองโดยแท้) นั้นก็นำไปสู่การศึกสงคราม (แต่ไทยถือเป็นเพียงการปะทะด้วยกำลังเท่านั้น) จนทำให้รัฐบาลฮุน เซน ไม่สามารถบริหารและจัดการมรดกโลกแห่งนี้ร่วมกับ UNESCO ได้ตามแผนการ ซึ่งตรงจุดนี้นี่เองที่ทำให้ ฮุน เซน ถูกโจมตีจากฝ่ายค้านและถูกตั้งข้อสงสัยจากชาวเขมรอย่างกว้างขวางว่าเป็น เพราะการวางตัวที่ไม่เหมาะสมของ ฮุน เซน ที่ได้นำพาตัวเองเข้าไปก้าวก่ายการเมืองภายในไทยนั้นเอง จึงทำให้กัมพูชาไม่ได้รับผลประโยชน์อย่างใดเลยจากมรดกโลกแห่งนี้ ตรงกันข้ามกลับต้องเผชิญกับความขัดแย้งกับไทยมากขึ้นเรื่อยๆในตลอดระยะเวลา เกือบ 3 ปีมานี้
เพราะฉะนั้น ในเมื่อว่ามรดกโลกได้กลับกลายเป็นสิ่งที่คอยบั่นทอนคะแนนนิยมจากประชาชนที่ มีต่อ ฮุน เซน และย่อมจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงพรรคประชาชนกัมพูชาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยเช่นกัน จึงทำให้ ฮุน เซน ต้องดิ้นรนหาทางออกที่จะต้องไม่แสดงถึงความผิดพลาดของตนเองเป็นสำคัญด้วย ซึ่งนั่นก็เป็นที่มาของการโยนความผิดทั้งหลายทั้งปวงให้กับรัฐบาล อภิสิทธิ์ ทั้งในฐานะที่เป็นผู้ขัดขวางมรดกโลกและผู้รุกรานเขตอธิปไตยของกัมพูชานั่น เอง
แต่ถึงกระนั้น ก็ใช่ว่าการที่ ฮุน เซน ได้ประกาศตัวเป็นศัตรูข้ามชาติกับ อภิสิทธิ์ เช่นว่านี้จะเป็นเรื่องที่อยู่ๆก็เกิดขึ้น หากเป็นเพราะกรรมที่ อภิสิทธิ์ ได้กระทำไว้เมื่อครั้งที่ยังเป็นผู้นำฝ่ายค้านทั้งในช่วงของ รัฐบาลสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ โดยกรรมของ อภิสิทธิ์ ที่ว่านี้ ก็คือการหยิบยกเอาการเป็นมรดกโลกของปราสาทพระวิหาร (ที่ได้รับการสนับสนุนจากทั้งรัฐบาลสมัคร และสมชาย) ขึ้นมาเป็นประเด็นทางการเมืองภายในไทยที่ว่าด้วย การขายชาติ นัยว่าทั้งรัฐบาลสมัคร และสมชาย (ที่มี ทักษิณ ชักใยอยู่เบื้องหลัง) นั้นยินยอมพร้อมใจยกที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรให้กับรัฐบาลฮุน เซน
ครั้นแล้ว ฮุน เซน ก็มองว่าการแสดงท่าทีเช่นนี้ของ อภิสิทธิ์ ก็คือการขัดขวางมรดกโลกของกัมพูชาไปพร้อมๆกัน และเมื่อถึงคราวที่ อภิสิทธิ์ ได้ก้าวขึ้นสู่อำนาจในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจริงๆ โดยที่กรณีของ การขายชาติ ก็มีส่วนอย่างสำคัญยิ่งนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ ฮุน เซน ต้องออกมาแสดงท่าทีในการเป็นศัตรูทางการเมืองข้ามชาติต่อ อภิสิทธิ์ เช่นนั้น
เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำรัฐบาลตกอยู่ภายใต้สภาวะที่ไม่เป็นมิตร เช่นนี้ ก็ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองที่จะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงความร่วมมือระหว่าง สองประเทศในทุกๆด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผล กระทบต่อการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารนั้นดูเหมือนว่า ยิ่ง อภิสิทธิ์ ได้พยายามที่จะแก้ไขด้วยการเปิดเจรจากับ ฮุน เซน กี่ครั้งก็ตามแต่ผลที่ได้รับนั้นก็คือการเผชิญหน้าและการสร้างเงื่อนไขเพิ่ม ขึ้น (ซึ่งในที่นี้รวมถึงการที่ฝ่ายไทยต้องการให้เรียกชื่อปราสาทเจ้าปัญหาว่าพระ วิหารด้วย แต่ฝ่ายกัมพูชาไม่เห็นด้วยและต้องการให้เรียกว่าเพรี๊ยะวิเหียร์เพียงชื่อ เดียวต่อไป) ทั้งๆที่ว่าเงื่อนไขที่มีอยู่เดิมนั้นยังไม่ได้รับการแก้ไขแต่อย่างใด
สภาวะดังกล่าวนี้ได้ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น หลังจากที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชา ชาติไม่รับพิจารณาตามการร้องขอจากรัฐบาลกัมพูชาจนทำให้ปัญหานี้ตกมาอยู่กับ อาเซียน แต่แล้วการเจรจาระหว่างผู้นำรัฐบาลไทยกับกัมพูชาที่มีผู้นำอินโดนีเซียเป็น ตัวกลางในการไกล่เกลี่ยนั้นก็ตกอยู่ในสภาพเดิม ซึ่งก็คือการที่ต่างฝ่ายต่างก็ได้สร้างเงื่อนไขเพิ่มขึ้นและต่างก็โทษกันไป มาจนในที่สุดรัฐบาลฮุน เซน ก็หาทางออกของตนเจอ นั่นก็คือการร้องขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาปี 1962 ด้วยหวังว่าศาลโลกจะตีความว่า ...อธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารของกัมพูชานั้นหมายถึงพื้นที่ 4.6 ตารางกิโล เมตรด้วย... นั่นเอง
จนถึงเวลานี้ ก็ยังคงไม่มีความแน่นอนว่าศาลโลกนั้นจะพิจารณากรณีดังกล่าวนี้ไปในทิศทางใด และถึงแม้ฝ่ายไทยจะได้แสดงความมั่นใจว่าสามารถรับมือกับฝ่ายกัมพูชาได้ในทุก ประเด็นทางกฎหมายก็ตาม แต่การที่ปัญหานี้ได้ถูกยกระดับไปถึงศาลโลกแล้วเช่นนี้ ก็คือภาพสะท้อนถึงความสัมพันธ์ที่ไม่ดีอย่างยิ่งระหว่างไทยกับกัมพูชา โดยที่มีต้นเหตุมาจากบรรดานักการเมืองของทั้งสองประเทศเป็นสำคัญ
แต่ที่น่ากังวลไปมากกว่านั้น ก็คือความขัดแย้งของบรรดานักการเมืองเหล่านี้ยังสามารถที่จะขยายไปสู่ความ ขัดแย้งระหว่างมหาชนชาวไทย-เขมรได้ด้วย ทั้งนี้โดยไม่สำคัญว่าศาลโลกจะตีความให้เป็นประ โยชน์ต่อฝ่ายใด เพราะความสำคัญนั้นอยู่ที่ว่าฝ่ายที่ต้องสูญเสียนั้นย่อมสามารถที่จะสร้าง กระแสของชาตินิยมขึ้นมาเผชิญหน้ากับอีกฝ่ายหนึ่งได้โดยง่าย
อย่างในเวลานี้ ฝ่ายค้านของกัมพูชาภายใต้การนำของ สัม รังสี นั้นก็ได้เริ่มสร้างกระแสดังกล่าวนี้ขึ้นมาเพื่อประท้วงฝ่ายไทยในระดับนานา ชาติแล้ว ซึ่งถ้าหากมองในแง่นี้ก็จะเห็นได้ว่าทั้งฝ่ายค้านและก็ฝ่ายรัฐบาลในกัมพูชา นั้นมีความเป็นเอกภาพกันในประเด็นที่ว่าพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรนั้นเป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตอธิปไตยของกัมพูชา (ในขณะที่นักการเมืองแต่ละฝ่ายในไทยนั้นยังเถียงกันไม่เลิกว่า 4.6 ตารางกิโลเมตรดังกล่าวนี้เป็นของไทยหรือไม่) แต่ถ้าหากศาลโลกตีความว่าพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรที่ว่านี้เป็นของไทย แล้วผู้ที่จะต้องถูก สัม รังสี เล่นงานในทางการเมืองก็คือ ฮุน เซน ผู้ขายชาติ นั่นเอง
เพราะฉะนั้น ไม่ว่าศาลโลกจะตีความออกมาในทิศทางใดก็ตามแต่ ต่างก็ล้วนแล้วแต่เป็นช่องทางที่นัก การเมืองทั้งในไทยและกัมพูชาสามารถที่จะนำมารับใช้เพื่ออำนาจทางการเมืองของ พวกตนได้ทั้งสิ้น ซึ่งนั่นก็หมายความว่าถ้าหากปัญหาปราสาทพระวิหารนี้ ไม่ปลอดจากการแทรกแซงของนักการเมืองทั้งหลายอย่างแท้จริงแล้วก็ย่อมจะทำให้ ปัญหานี้ไม่มีวันลบเลือนไปจากความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาได้เลย!!! |
|
|
|
|
|
ทันที ที่ทราบผลว่าพรรคเพื่อไทย ได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดของไทย ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีของกัมพูชาและเพื่อนรักของ ทักษิณ ชินวัตร นั้นก็แทบจะสะกดความดีใจและความสะใจส่วนตัวไว้ไม่อยู่ แต่ครั้นเมื่อมาคิดได้ว่าการที่ผู้นำรัฐบาลของประเทศใดจะแสดงความดีใจกับผู้ นำคนใหม่ของรัฐบาลประเทศใดนั้น จะต้องรอจนกว่าผู้นำคนใหม่ของรัฐบาลประเทศนั้นๆ ได้รับการแต่งตั้งและได้เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการแล้วเท่านั้น จึงทำให้ ฮุน เซน ต้องหาทางแสดงออกซึ่งความดีใจและความสะใจส่วนตัวดังกล่าว ด้วยการสั่งให้ ฮอร์ นัมฮง รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศที่มีความรับผิดชอบโดยตรงต่อกรณีพิพาทชายแดนกับไทย ว่าด้วยปราสาทพระวิหารนั้น ออกมาแสดงถึงความในใจดังกล่าวแทนตนไปแล้ว
ยิ่งไปกว่านั้น การออกมาแสดงความยินดีกับ พรรคเพื่อไทย และ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (น้องสาวสุดที่รักของ ทักษิณ) ในครั้งนี้ ฮอร์ นัมฮง ก็มิได้ทิ้งลวดลายของนักการทูตผู้มากด้วยประสบการณ์แต่อย่างใด โดยได้แสดงเจตนารมย์ผ่านสื่อเทศจากกรุงพนมเปญมาที่กรุงเทพฯ ว่า การแก้ไขปัญหาขัดแย้งต่างๆที่ชายแดนระหว่างกัมพูชากับไทยนับจากนี้เป็นต้น ไป จะยืนอยู่บนหลักสันติวิธี ซึ่งในทางการทูตแล้วถือเป็นการตบฉาดใหญ่เข้าที่หน้าตาของรัฐบาล อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เลยทีเดียว
นั่นก็เป็นเพราะว่ารัฐบาลของ ฮุน เซน นั้นถือว่า อภิสิทธิ์ เป็นศัตรูของพวกตนตั้งแต่ที่เป็นผู้นำฝ่ายค้านในรัฐสภาไทยแล้ว เนื่องจาก ฮุน เซน มองว่าการก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ อภิสิทธิ์ นั้นเป็นเพราะได้มีการหยิบยกเอากรณีของมรดกโลกที่ปราสาทพระวิหารของกัมพูชา นั้นขึ้นมาเป็นประเด็นในการเคลื่อนไหวเพื่อล้มรัฐบาลของฝ่ายเพื่อนรัก อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้รัฐบาลกัมพูชาไม่สามารถบริหารและจัดการเพื่อ สร้างผลประโยชน์จากมรดกโลกแห่งนี้ได้เลยนับเป็นเวลาถึง 3 ปีมาแล้ว
แต่อย่างไรก็ตาม ในด้านหนึ่งนั้นสาเหตุที่ทำให้ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลฮุน เซน กับรัฐบาลอภิสิทธิ์ เลวร้ายมากยิ่งขึ้นไปอีกนั้นก็เป็นเพราะความผิดพลาดของ ฮุน เซน เองด้วย กล่าวคือการตัดสินใจแต่ง ตั้งให้ ทักษิณ เป็นที่ปรึกษาพิเศษด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลกัมพูชา เพียงแต่ว่าความผิดพลาดในกรณีที่ว่านี้ของ ฮุน เซน ไม่ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาวิพากษ์วิจารณ์ในวงการสื่อมวลชนในกัมพูชา (ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของ ฮุน เซน แทบทั้งสิ้น) แต่กลับได้ไปมุ่งเน้นในประเด็นที่ว่า รัฐบาลอภิสิทธิ์ ได้พยายามดำเนินการในทุกวิถีทางเพื่อขัดขวางมรดกโลกที่ปราสาทพระวิหารของ กัมพูชา นั่นเอง
แน่นอนว่าการที่ ฮุน เซน ได้สั่งการให้ ฮอร์ นัมฮง ออกมาแสดงเจตนารมย์ (แทนตนเอง) ในครั้งล่าสุดนี้ ย่อมมุ่งหมายที่จะทำให้รัฐบาลของตนสามารถที่จะดำเนินแผนการบริหารและจัดการ มรดกโลกที่ปรา สาทพระวิหารได้อย่างสะดวกโยธิน โดยเชื่อว่าด้วยความสัมพันธ์อันแนบแน่นที่ตนมีอยู่กับ ทักษิณ ผู้อยู่เบื้องหลังชัยชนะในการเลือกตั้งทั่วไปของ ยิ่งลักษณ์ และพรรคเพื่อไทยนั้น จะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลไทยกับกัมพูชากลับคืนดีดังเดิมอันจะทำให้ ง่ายต่อการเจรจาตกลงกันในทุกเรื่องด้วย
แต่การมองและความเชื่อเช่นว่านี้ของ ฮุน เซน ก็ต้องถือว่าเป็นความผิดพลาดอีกครั้งได้เช่นกัน ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะ ฮุน เซน อาจจะลืมไปว่าองค์กรและกลุ่มพลังมวลชนทางการเมืองในไทยนั้นแตกต่างกับใน กัมพูชาที่ ฮุน เซน สามารถใช้อำนาจเข้าไปควบคุมและแทรกแซงเพื่อบ่อนทำลายได้ตลอดเวลาอยู่แล้ว แต่สำหรับในประเทศไทยนั้นกลับเป็นเรื่องที่ยากอย่างยิ่งซึ่งในข้อนี้ ทักษิณ เองก็น่าจะเข้าใจดียิ่งกว่า ยิ่งลักษณ์ ด้วยซ้ำ
ฉะนั้น สิ่งสำคัญอย่างแรกที่ ทักษิณ พึงกระทำอย่างยิ่งก็คือการให้คำปรึกษาแก่เพื่อนรักเพื่ออธิบายให้ เพื่อนรักอย่าง ฮุน เซน นั้นได้เข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างการเมืองไทยกับการเมืองกัมพูชา โดยถึงแม้ว่าระบบและโครงสร้างทางการเมืองในทั้งสองประเทศนี้จะเหมือนกัน ทุกอย่างก็ตาม แต่ความแตกต่างก็มีอยู่ไม่ใช่น้อยเช่นกัน หรืออย่างน้อยที่สุด ทักษิณ ก็ควรจะอธิบายให้เพื่อนรักได้เข้าใจว่าการใช้อำนาจอย่างไม่จำกัดดังที่ ฮุน เซน ได้ประพฤติปฏิบัติมาโดยตลอดในกัมพูชานั้นไม่สามารถที่จะใช้ได้ในประเทศไทย
ยิ่งไปกว่านั้น ก็ยังมีปัจจัยที่สุ่มเสี่ยงต่อเสถียรภาพของรัฐบาลใหม่ ภายใต้การนำของน้องสาวสุดที่รักของ ทักษิณ ในสองกรณีเป็นอย่างน้อยกล่าวสำหรับกรณีแรกก็คือการประกาศถอนตัวจาก UNESCO ที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ ได้ทิ้งเป็นมรดกตกทอดเอาไว้นั้น ประเด็นก็คือว่ารัฐบาลของน้องสาว ทักษิณ จะจัด การกับเรื่องนี้อย่างไร? เพราะทางเลือกมีอยู่เพียง 2 ทางเท่านั้น ซึ่งก็คือจะยืนยันตามการประกาศของ รัฐบาลอภิสิทธิ์หรือยกเลิกการประกาศดังกล่าวนั่นเอง
ซึ่งถ้าหากเลือกในแนวทางของรัฐบาลอภิสิทธิ์ ก็ย่อมหมายถึงการยอมรับในแนวทางที่รัฐบาลอภิสิทธิ์ ได้ดำเนินการต่อรัฐบาลฮุน เซน มาโดยตลอด กล่าวคือการขัดขวางมรดกโลกที่ปราสาทพระวิหารของ กัมพูชาต่อไป เนื่องจากเกรงว่ามรดกโลกที่ปราสาทพระวิหารแห่งนี้จะทำให้ไทยต้องเสียดินแดน หรือพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรให้แก่กัมพูชา แต่ถ้าหากเลือกในแนวทางของการยกเลิกการประกาศที่ว่านี้ ก็สุ่มเสี่ยงต่อการที่จะต้องเผชิญกับการประท้วงครั้งใหม่ของขบวนการชาติ นิยมผู้รักชาติทั้งหลาย
เพราะฉะนั้น สิ่งที่อดีตที่ปรึกษาพิเศษของรัฐบาลกัมพูชา พึงจะต้องอธิบายให้เพื่อนรักได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ก็คือปัญหาเร่งด่วนของรัฐบาลไทยชุดใหม่ภายใต้การนำของน้องสาวสุดที่รักผู้ ซึ่งเป็นโคลนนิ่งของตนนั้นหาใช่กรณีปัญหาเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารแต่อย่างใด ไม่ (เช่นเดียวกับการนิรโทษกรรม) หากแต่เป็นปัญหาปากท้องของประชาชนคนไทยทั้งประเทศ ตามที่พรรคเพื่อไทยได้ให้คำมั่นสัญญาไว้ใน ระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งนั่นเอง
ส่วนปัจจัยที่สุ่มเสี่ยงอย่างที่สองนั้น ก็คือการที่รัฐบาลฮุน เซน ได้ยื่นคำร้องต่อศาลระหว่างประเทศเพื่อขอให้ตีความคำพิพากษาของศาลฯที่ว่า ด้วยอธิปไตยของกัมพูชาเหนือปราสาทพระวิหารที่ได้มีการตัด สินอย่างเป็นทางการในปี 1962 นั้น
สำหรับ ฮุน เซน แล้วย่อมจะถือว่าการยื่นคำร้องต่อศาลระหว่างประเทศหรือศาลโลกเพื่อขอให้ตี ความคำตัดสินที่เกี่ยวกับความขัดแย้งว่าด้วยปราสาทพระวิหารระหว่างกัมพูชา กับไทย เมื่อเกือบ 50 ปีก่อนนั้นเป็นความสำเร็จที่ได้แสดงให้ชาวเขมรได้เห็นถึงความชาญฉลาดของตน ที่สามารถต่อสู้และรับมือกับประเทศที่ใหญ่กว่าอย่างไทยได้เป็นอย่างดี เนื่องจากสามารถแจกแจงเหตุผลเพื่อประกอบการร้อง ขอต่อศาลโลกในครั้งนี้ได้อย่างชัดเจนในทุกประเด็น
กล่าวสำหรับประเด็นแรกก็คือการอ้างว่าคำพิพากษาปี 1962 นั้นได้ยืนอยู่บนพื้นฐานของเส้นเขตแดนระหว่างประเทศที่ปรากฏอยู่แล้ว และก็ได้รับการยอมรับจากทั้งสองประเทศ (ไทย-กัมพูชา) แล้ว ส่วนประเด็นที่สอง ก็คือการที่ได้อ้างว่าเส้นเขตแดนที่ปรากฏตามแผนที่ที่ศาลฯได้อ้างถึงในหน้า 21 ของคำพิพากษาปี 1962 นั้นเป็นแผนที่ที่ศาลฯ ได้พบว่าอำนาจอธิปไตยของกัมพูชาเหนือตัวปราสาทนั้นเป็นผลโดยตรงจากการที่ กัมพูชาได้มีอำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนที่ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่นั้น และก็ในประเด็นที่สามนั้น รัฐบาลของ ฮุน เซน ก็ยังได้อ้างถึงผลแห่งคำพิพากษา ซึ่งทำให้ประเทศไทยมีภาระที่จะต้องทำการถอนทหารหรือเจ้าหน้าที่อื่นใดออกไป จากพื้นที่รอบตัวปราสาทที่อยู่ในอาณาเขตของกัมพูชา ซึ่งทางการไทย ไม่เห็นด้วยกับทุกประเด็นดังกล่าว เพราะฉะนั้นตราบเท่าที่ความขัดแย้งยังคงดำเนินต่อไป จึงจำเป็นต้องมีการวินิจฉัยขอบเขตและความหมายของคำพิพากษาดังกล่าว
ส่วนที่ถือว่าเป็นไม้เด็ดของรัฐบาลฮุน เซน ในการยื่นคำร้องในครั้งนี้ด้วยนั้นก็คือการร้องขอให้ศาลโลกออกมาตราการคุ้ม ครองชั่วคราวตามมาตรา 41 ของธรรมนูญศาลฯ และมาตรา 73 ของระเบียบศาล โลกอย่างเร่งด่วนด้วย ซึ่งก็คือการสั่งให้ไทยถอนกำลังออกไปจากพื้นที่ปราสาทพระวิหารที่เป็นอาณา เขตของกัมพูชาโดยไม่มีเงื่อนไข การห้ามกิจกรรมทุกชนิดของทหารไทยในพื้นที่ของปราสาทพระวิหารและการให้ไทย ยุติการแทรกแซงสิทธิ์ของกัมพูชาและสร้างความขัดแย้งให้เกิดขึ้นอีกด้วย
ส่วนที่ ฮุน เซน คาดหวังมากไปกว่านั้น ก็คือการตีความคำพิพากษาปี 1962 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตี ความในประเด็นที่เกี่ยวกับอธิปไตยของกัมพูชาเหนือปราสาทพระวิหาร และพื้นที่โดยรอบปราสาทดัง กล่าว (ในที่นี้ก็คือพื้นที่พิพาท 4.6 ตารางกิโลเมตร) ซึ่ง ฮุน เซน คาดหวังว่ากัมพูชาจะเป็นฝ่ายที่มีชัยเหนือไทยอีกครั้ง
ดังที่คณะตุลาการศาลโลกได้มีคำตัดสินด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 3 เมื่อเกือบ 50 ปีที่แล้ว ซึ่งมีใจความสำคัญตอนหนึ่งว่า ...ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่ในอาณาเขตภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา... จึงทำให้ ...ประเทศไทย (สยาม) นั้นมีพันธะที่จะต้องถอนกำลังทหารหรือตำรวจ ผู้เฝ้ารักษาหรือผู้ดูแลที่ไทยส่งไปประจำที่ปราสาทพระวิหารหรือในบริเวณใกล้ เคียงบนอาณาเขตของกัมพูชา... ด้วย
แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ ฮุน เซน คาดไม่ถึงที่สามารถจะกลับกลายเป็นผลร้ายที่จะเกิดขึ้นทั้งต่อกัมพูชาไทย และกับตัวของ ฮุน เซน เองด้วยนั้น ก็คือการตีความคำพิพากษาของศาลโลกตามการร้องขอของรัฐบาลกัมพูชาของ ฮุน เซน นั่นเอง ทั้งนี้โดยไม่ว่าศาลโลกจะตีความออกมาในทิศทางใดก็ตาม
กล่าวก็คือถ้าหากศาลโลกได้ตีความที่เป็นประโยชน์ต่อกัมพูชา เช่นการตีความว่าอำนาจอธิปไตยของกัมพูชาที่มีอยู่เหนือปราสาทพระวิหารนั้น ให้รวมถึงพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรด้วยนั้น ผลร้ายที่จะเกิดขึ้นติดตามมาก็คือความร้อนแรงทางการเมืองในประเทศไทยที่จะ เริ่มขึ้นจากการปลุกกระแสชาตินิยมที่มีเป้าหมายที่การทำลายล้างระหว่างขั้ว ทางการเมืองในไทยด้วยการชูประเด็นที่ว่าด้วย กู้ชาติ เพื่อทำลายขั้วอำนาจฝ่ายตรงข้ามในฐานะ ผู้ขายชาติ นั่นเอง
เพราะฉะนั้น อีกสิ่งหนึ่งที่ ทักษิณ สามารถที่จะกระทำได้เพื่อช่วยเหลือรัฐนาวาของน้องสาวสุดที่รักนั้นก็คือการ อธิบายให้ ฮุน เซน เพื่อนรักได้มองเห็นผลร้ายเหล่านี้ และจะดียิ่งกว่านั้นก็คือการทำให้เพื่อนรักได้เห็นถึงความจำเป็นในอันที่จะ แก้ไขปัญหาระหว่างกันด้วยการเจรจาแบบทวิภาคี ด้วยการเลิกล้มการขยายปัญหาไปสู่ระดับพหุภาคีอย่างที่เป็นอยู่ในเวลานี้ เพื่อที่ว่าจะได้ร่วมกันพัฒนามรดกโลกแห่งนี้ให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกันอย่าง ยั่งยืนโดยปราศจากความขัดแย้งระหว่างกันจริงๆต่อไป
นอกจากนี้ ก็มีอยู่อีกอย่างหนึ่งที่ ทักษิณ สามารถเกลี้ยกล่อมให้ ฮุน เซน ตอบสนองได้ทันที ก็คือการขออิสรภาพให้กับ วีระ สมความคิด และ ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ นั่นเอง!!! |
|
|
|