สัมพันธ์ไทย-เขมรดิ่งเหวเพราะนักการเมือง
โดย ทรงฤทธิ์ โพนเงิน |
|
|
|
แม้ ว่าจะยังคงไม่มีความชัดเจนว่าคณะตุลาการศาลระหว่างประเทศหรือศาลโลกจะมีคำ วินิจฉัยออกมาอย่างไรในข้อพิพาทว่าด้วยปราสาทพระวิหารระหว่างไทยกับกัมพูชา ก็ตาม แต่สิ่งที่ได้ปรากฏขึ้นอย่างชัดเจนแล้วในเวลานี้ก็คือกระแสของความเกลียดชัง และโกรธแค้นระหว่างประชาชนในระดับรากหญ้าของทั้งสองประเทศ โดยที่มีนักการเมืองที่รักชาติแต่ปากทั้งหลายในทั้งสองประเทศนี้เป็นผู้ที่ คอยฉวยใช้โอกาสในการเสริมสร้างฐานเสียงเพื่อทำให้พวกตนได้อยู่ในอำนาจการ เมืองต่อไป
กล่าวสำหรับในกัมพูชานั้นคงจะไม่มีใครอื่นที่ได้ประโยชน์จากข้อพิพาทว่า ด้วยปราสาทพระวิหารดังกล่าวนี้เกินหน้าเกินตาของ ฮุน เซน และพรรคประชาชนกัมพูชา ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะว่าการที่ปราสาทพระวิหารได้ถูกรับรองจาก UNESCO ให้เป็นมรดกโลกเมื่อกลางปี 2008 นั้นมันได้กลายเป็นปัจจัยที่ช่วยทำให้พรรคประชาชนกัมพูชาของ ฮุน เซน ได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งทั่วไปในกลางปี 2008 ดังกล่าว ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้นคะแนนนิยมของ ฮุน เซน และพรรคประชาชนกัมพูชานั้นตามหลังพรรคสัม รังสี แทบจะไม่เห็นฝุ่นก็ว่าได้ มิหนำซ้ำผลการสำรวจของหลายสำนักยังได้ตอกย้ำด้วยว่าผู้ที่ชาวเขมรส่วนใหญ่ อยากให้เป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุนั้นก็คือ สัม รังสี อีกต่างหาก
ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะว่าการบริหารประเทศของรัฐบาลฮุน เซน ในช่วงปี 2003-2008 นั้นไม่เพียงจะอุดมไปด้วยการฉ้อราษฎร์บังหลวง จนร่ำรวยถึงขนาดที่นักการเมืองและขุนศึกทั้งหลายในรัฐบาลฮุน เซน ได้ไถ่บาปด้วยการบริจาคเงินคนละนับเป็นสิบๆล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อสร้าง โรงเรียนในถิ่นฐานบ้าน เกิดของพวกตน ในขณะที่ป่าไม้ของกัมพูชาก็ถูกตัดโค่นลงมากที่สุดในโลก ส่วนชาวเขมรหลายแสนคนก็ถูกไล่ที่เพื่อนำเอาที่ดินไปให้นายทุนต่างชาติลงทุน สร้างคอนโดมิเนียม ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน บ้านจัดสรร โรงแรม รีสอร์ท และสนามกอล์ฟสำหรับคนรวย เป็นต้น
ครั้นเมื่อปราสาทพระวิหารได้รับสถานะเป็นมรดกโลกที่ทำให้พรรคประชาชน กัมพูชาของ ฮุน เซน มีชัยในการเลือกตั้งเหนือพรรคการเมืองอื่นๆ จนสามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้อีกครั้งนั้น แต่กลับทำให้ ฮุน เซน มีความหลงระเริงในอำนาจมากยิ่งขึ้นไปอีกและที่เลวร้ายไปกว่านั้นก็คือการที่ ฮุน เซน ได้วางตัวอย่างไม่เหมาะสม ด้วยการพยายามเข้ามาแทรกแซงความขัดแย้งทางการเมืองในไทยโดยการประกาศตัวเป็น ศัตรูกับนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในระหว่างการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ซึ่งรัฐบาลไทยเป็นเจ้าภาพที่หัวหิน
ยิ่งไปกว่านั้น ฮุน เซน ยังได้พยายามตอกย้ำถึงท่าทีดังกล่าวของตนให้ดูหนักแน่นยิ่งขึ้นด้วยการแต่ง ตั้งให้อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษานโยบายทางเศรษฐกิจของตนและรัฐบาลกัมพูชา ซึ่งก็ถูกตอบโต้จาก อภิสิทธิ์ ด้วยการเรียกตัวเอกอัครราชทูตไทยที่กรุงพนมเปญกลับกรุงเทพฯในช่วงเวลาที่ต่อ เนื่องกัน
ครั้นแล้วการตอบโต้กันไปมาในทางการเมืองข้ามประเทศด้วยการหยิบยกกรณี พิพาทว่าด้วยปราสาทพระวิหารขึ้นมาเป็นข้ออ้าง (ทั้งๆที่เป็นความขัดแย้งระหว่างนักการเมืองโดยแท้) นั้นก็นำไปสู่การศึกสงคราม (แต่ไทยถือเป็นเพียงการปะทะด้วยกำลังเท่านั้น) จนทำให้รัฐบาลฮุน เซน ไม่สามารถบริหารและจัดการมรดกโลกแห่งนี้ร่วมกับ UNESCO ได้ตามแผนการ ซึ่งตรงจุดนี้นี่เองที่ทำให้ ฮุน เซน ถูกโจมตีจากฝ่ายค้านและถูกตั้งข้อสงสัยจากชาวเขมรอย่างกว้างขวางว่าเป็น เพราะการวางตัวที่ไม่เหมาะสมของ ฮุน เซน ที่ได้นำพาตัวเองเข้าไปก้าวก่ายการเมืองภายในไทยนั้นเอง จึงทำให้กัมพูชาไม่ได้รับผลประโยชน์อย่างใดเลยจากมรดกโลกแห่งนี้ ตรงกันข้ามกลับต้องเผชิญกับความขัดแย้งกับไทยมากขึ้นเรื่อยๆในตลอดระยะเวลา เกือบ 3 ปีมานี้
เพราะฉะนั้น ในเมื่อว่ามรดกโลกได้กลับกลายเป็นสิ่งที่คอยบั่นทอนคะแนนนิยมจากประชาชนที่ มีต่อ ฮุน เซน และย่อมจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงพรรคประชาชนกัมพูชาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยเช่นกัน จึงทำให้ ฮุน เซน ต้องดิ้นรนหาทางออกที่จะต้องไม่แสดงถึงความผิดพลาดของตนเองเป็นสำคัญด้วย ซึ่งนั่นก็เป็นที่มาของการโยนความผิดทั้งหลายทั้งปวงให้กับรัฐบาล อภิสิทธิ์ ทั้งในฐานะที่เป็นผู้ขัดขวางมรดกโลกและผู้รุกรานเขตอธิปไตยของกัมพูชานั่น เอง
แต่ถึงกระนั้น ก็ใช่ว่าการที่ ฮุน เซน ได้ประกาศตัวเป็นศัตรูข้ามชาติกับ อภิสิทธิ์ เช่นว่านี้จะเป็นเรื่องที่อยู่ๆก็เกิดขึ้น หากเป็นเพราะกรรมที่ อภิสิทธิ์ ได้กระทำไว้เมื่อครั้งที่ยังเป็นผู้นำฝ่ายค้านทั้งในช่วงของ รัฐบาลสมัคร สุนทรเวช และรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ โดยกรรมของ อภิสิทธิ์ ที่ว่านี้ ก็คือการหยิบยกเอาการเป็นมรดกโลกของปราสาทพระวิหาร (ที่ได้รับการสนับสนุนจากทั้งรัฐบาลสมัคร และสมชาย) ขึ้นมาเป็นประเด็นทางการเมืองภายในไทยที่ว่าด้วย การขายชาติ นัยว่าทั้งรัฐบาลสมัคร และสมชาย (ที่มี ทักษิณ ชักใยอยู่เบื้องหลัง) นั้นยินยอมพร้อมใจยกที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรให้กับรัฐบาลฮุน เซน
ครั้นแล้ว ฮุน เซน ก็มองว่าการแสดงท่าทีเช่นนี้ของ อภิสิทธิ์ ก็คือการขัดขวางมรดกโลกของกัมพูชาไปพร้อมๆกัน และเมื่อถึงคราวที่ อภิสิทธิ์ ได้ก้าวขึ้นสู่อำนาจในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจริงๆ โดยที่กรณีของ การขายชาติ ก็มีส่วนอย่างสำคัญยิ่งนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ ฮุน เซน ต้องออกมาแสดงท่าทีในการเป็นศัตรูทางการเมืองข้ามชาติต่อ อภิสิทธิ์ เช่นนั้น
เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำรัฐบาลตกอยู่ภายใต้สภาวะที่ไม่เป็นมิตร เช่นนี้ ก็ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองที่จะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปถึงความร่วมมือระหว่าง สองประเทศในทุกๆด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผล กระทบต่อการแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารนั้นดูเหมือนว่า ยิ่ง อภิสิทธิ์ ได้พยายามที่จะแก้ไขด้วยการเปิดเจรจากับ ฮุน เซน กี่ครั้งก็ตามแต่ผลที่ได้รับนั้นก็คือการเผชิญหน้าและการสร้างเงื่อนไขเพิ่ม ขึ้น (ซึ่งในที่นี้รวมถึงการที่ฝ่ายไทยต้องการให้เรียกชื่อปราสาทเจ้าปัญหาว่าพระ วิหารด้วย แต่ฝ่ายกัมพูชาไม่เห็นด้วยและต้องการให้เรียกว่าเพรี๊ยะวิเหียร์เพียงชื่อ เดียวต่อไป) ทั้งๆที่ว่าเงื่อนไขที่มีอยู่เดิมนั้นยังไม่ได้รับการแก้ไขแต่อย่างใด
สภาวะดังกล่าวนี้ได้ปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น หลังจากที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชา ชาติไม่รับพิจารณาตามการร้องขอจากรัฐบาลกัมพูชาจนทำให้ปัญหานี้ตกมาอยู่กับ อาเซียน แต่แล้วการเจรจาระหว่างผู้นำรัฐบาลไทยกับกัมพูชาที่มีผู้นำอินโดนีเซียเป็น ตัวกลางในการไกล่เกลี่ยนั้นก็ตกอยู่ในสภาพเดิม ซึ่งก็คือการที่ต่างฝ่ายต่างก็ได้สร้างเงื่อนไขเพิ่มขึ้นและต่างก็โทษกันไป มาจนในที่สุดรัฐบาลฮุน เซน ก็หาทางออกของตนเจอ นั่นก็คือการร้องขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาปี 1962 ด้วยหวังว่าศาลโลกจะตีความว่า ...อธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารของกัมพูชานั้นหมายถึงพื้นที่ 4.6 ตารางกิโล เมตรด้วย... นั่นเอง
จนถึงเวลานี้ ก็ยังคงไม่มีความแน่นอนว่าศาลโลกนั้นจะพิจารณากรณีดังกล่าวนี้ไปในทิศทางใด และถึงแม้ฝ่ายไทยจะได้แสดงความมั่นใจว่าสามารถรับมือกับฝ่ายกัมพูชาได้ในทุก ประเด็นทางกฎหมายก็ตาม แต่การที่ปัญหานี้ได้ถูกยกระดับไปถึงศาลโลกแล้วเช่นนี้ ก็คือภาพสะท้อนถึงความสัมพันธ์ที่ไม่ดีอย่างยิ่งระหว่างไทยกับกัมพูชา โดยที่มีต้นเหตุมาจากบรรดานักการเมืองของทั้งสองประเทศเป็นสำคัญ
แต่ที่น่ากังวลไปมากกว่านั้น ก็คือความขัดแย้งของบรรดานักการเมืองเหล่านี้ยังสามารถที่จะขยายไปสู่ความ ขัดแย้งระหว่างมหาชนชาวไทย-เขมรได้ด้วย ทั้งนี้โดยไม่สำคัญว่าศาลโลกจะตีความให้เป็นประ โยชน์ต่อฝ่ายใด เพราะความสำคัญนั้นอยู่ที่ว่าฝ่ายที่ต้องสูญเสียนั้นย่อมสามารถที่จะสร้าง กระแสของชาตินิยมขึ้นมาเผชิญหน้ากับอีกฝ่ายหนึ่งได้โดยง่าย
อย่างในเวลานี้ ฝ่ายค้านของกัมพูชาภายใต้การนำของ สัม รังสี นั้นก็ได้เริ่มสร้างกระแสดังกล่าวนี้ขึ้นมาเพื่อประท้วงฝ่ายไทยในระดับนานา ชาติแล้ว ซึ่งถ้าหากมองในแง่นี้ก็จะเห็นได้ว่าทั้งฝ่ายค้านและก็ฝ่ายรัฐบาลในกัมพูชา นั้นมีความเป็นเอกภาพกันในประเด็นที่ว่าพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรนั้นเป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตอธิปไตยของกัมพูชา (ในขณะที่นักการเมืองแต่ละฝ่ายในไทยนั้นยังเถียงกันไม่เลิกว่า 4.6 ตารางกิโลเมตรดังกล่าวนี้เป็นของไทยหรือไม่) แต่ถ้าหากศาลโลกตีความว่าพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรที่ว่านี้เป็นของไทย แล้วผู้ที่จะต้องถูก สัม รังสี เล่นงานในทางการเมืองก็คือ ฮุน เซน ผู้ขายชาติ นั่นเอง
เพราะฉะนั้น ไม่ว่าศาลโลกจะตีความออกมาในทิศทางใดก็ตามแต่ ต่างก็ล้วนแล้วแต่เป็นช่องทางที่นัก การเมืองทั้งในไทยและกัมพูชาสามารถที่จะนำมารับใช้เพื่ออำนาจทางการเมืองของ พวกตนได้ทั้งสิ้น ซึ่งนั่นก็หมายความว่าถ้าหากปัญหาปราสาทพระวิหารนี้ ไม่ปลอดจากการแทรกแซงของนักการเมืองทั้งหลายอย่างแท้จริงแล้วก็ย่อมจะทำให้ ปัญหานี้ไม่มีวันลบเลือนไปจากความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาได้เลย!!! |
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น