บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ฮุน เซน เร่งกฎหมายสูบน้ำมันอ่าวไทย



 
กระแส ข่าวจากวงในการปิโตรเลียมแห่งชาติของกัมพูชา รายงานว่าการร่างกฎหมายน้ำมันฉบับแรกที่รัฐบาลกัมพูชาภายใต้การนำของนายก รัฐมนตรี ฮุน เซน ได้มอบหมายให้เป็นความรับผิดชอบของการ ปิโตรเลียมแห่งชาติของกัมพูชานั้นจะดำเนินการร่างแล้วเสร็จสมบูรณ์ในเร็วๆ นี้ โดยต่อจากนั้นก็จะนำเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับรอง ก่อนที่จะบรรจุเข้าสู่วาระการประชุมของรัฐสภากัมพูชาเพื่อให้มีมติรับรองและ ผ่านร่างกฎหมายดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯต่อกษัตริย์ นโรดม สีหมุนี เพื่อลงพระปรมาภิไธยประกาศบังคับใช้อย่างเป็นทางการต่อไป
โดยถึงแม้ว่ากระแสข่าวดังกล่าวนี้ จะไม่ได้ให้รายละเอียดว่าการดำเนินกระบวนการทั้งหมดดังกล่าวข้างต้นนั้นจะ ต้องใช้ระยะเวลาสั้นหรือยาวเพียงใดก็ตาม แต่ก็หาได้เป็นปัญหาสำหรับรัฐบาลกัมพูชาภายใต้การนำของ ฮุน เซน อย่างใดไม่ เนื่องเพราะพรรคประชาชนกัมพูชาของ ฮุน เซน นั้นมีคะแนนเสียงสนับสนุนอย่างท่วมท้นทั้งในสภาล่างและสภาสูงจนแทบจะกล่าว ได้ว่าเป็นเผด็จการทางรัฐสภาเกือบจะเบ็ดเสร็จแล้วนั่นเอง
เพราะฉะนั้น จึงเชื่อได้เลยว่ากฎหมายน้ำมันฉบับแรกของกัมพูชาดังกล่าวจะผ่านการเห็นชอบใน ทุกวาระของทุกการประชุมได้อย่างชนิดที่เรียกว่าแบบม้วนเดียวจบเลยทีเดียว ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะว่าด้วยอำนาจอันท่วมล้นของรัฐบาล ฮุน เซน นั้นได้กำหนดวันเวลาไว้แล้วว่าแก๊สธรรมชาติและก็น้ำมันหยดแรกในอ่าวไทยนั้น จะต้องถูกสูบขึ้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของกัมพูชาให้ ได้ในวันที่ 12 ธันวาคม 2012 หรือ 12-12-12 (ซึ่งว่ากันว่าเป็นเคล็ดวิชาที่จะทำให้ ฮุน เซน สามารถที่จะครองอำนาจในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของกัมพูชาได้ยาวนานถึง 36 ปีติดต่อกันหรือก่อนที่จะถ่ายโอนอำนาจให้กับบุตรชายคนโตเมื่อ ฮุน เซน มีอายุครบ 70 ปีพอดี)
โดยไม่ว่าเคล็ดวิชาดังกล่าวจะเกิดขึ้นจริงตามความมุ่งหวังของ ฮุน เซน หรือไม่ก็ตาม แต่ที่แน่ๆ ก็คือว่ากำหนดการ 12-12-12 ดังกล่าวนั้น แท้ที่จริงแล้วก็คือสินค้าตัวใหม่ที่ ฮุน เซน ได้เลือกแล้วว่ามันจะช่วยทำให้เขาและพรรคประชาชนกัมพูชานั้นได้รับความไว้ วางใจจากประชาชนชาวเขมรส่วนใหญ่ต่อไป ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะว่าในปี 2012 นั้นจะมีการเลือกตั้งสภาระดับท้องถิ่น (Commune Council) อันจะเป็นฐานคะแนนเสียงที่แข็งแกร่งให้กับการเลือกตั้งทั่วไปในกลางปี 2013 ด้วยนั่นเอง
แน่นอนว่าถ้าหากพิจารณาจากฐานอำนาจของ ฮุน เซน ในเวลานี้ก็อาจจะทำให้มีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่มองว่าจริงๆแล้ว ฮุน เซน ไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวไว้แต่เนิ่นๆก็ได้ แต่ถ้าหากจะมองจากประเด็นของการเจรจาต่อรองจนทำให้ UNESCO รับรองให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกเมื่อกว่า 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งก็เป็นผลทำให้พรรคประชาชนกัมพูชาของ ฮุน เซน ได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งทั่ว ไปในเดือนกรกฎาคม 2008 นั้น แต่สำหรับประชาชนชาวเขมรแล้วกลับยังไม่ได้รับผลประโยชน์อันใดเลยจากการเป็น มรดกโลกของปราสาทพระวิหารดังกล่าว
โดยสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดสภาพการณ์ดังกล่าวขึ้นนั้น ก็เป็นเพราะว่า ฮุน เซน นั้นได้นำเอาตัวเองเข้ามาเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศ ไทย จนลืมไปว่าตนเองนั้นมีสถานภาพเป็นถึงนายกรัฐมนตรีของกัมพูชา ซึ่งการกระทำ(อันไม่เหมาะสม)อย่างใดๆนั้นมันก็ย่อมจะต้องส่งผล กระทบถึงประชาชนชาวเขมรด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงทำให้ ฮุน เซน เริ่มรู้สึกตัวและคิดได้ว่าการที่จะนำเอาตัวเองเข้ามาเกี่ยวข้องกับความขัด แย้งทางการเมืองภายในประเทศไทยต่อไปนั้นมันมีแต่จะส่งผลร้ายต่อตัวเขาและ พรรคประชาชนกัมพูชามากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งก็ย่อมจะตรงข้ามกับการแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรที่จับต้องได้อย่าง แก๊สฯและน้ำมันในอ่าวไทยอย่างแน่นอน เพราะไม่เพียงจะสามารถกล่าวอ้างว่าเป็นผลประโยชน์ของชาวเขมรทั้งประเทศเท่า นั้น หากยังรวมถึงโอกาสที่จะแสวง หาผลประโยชน์เพื่อส่วนตัวและพรรคพวกได้อีกด้วย
ครั้นแล้ว ฮุน เซน (ที่ครองตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของกัมพูชามาแล้ว 25 ปีติดต่อกันนั้น) ก็ได้เผยไต๋ให้เห็นถึงความต้องการในอันที่จะกอบโกยเอาผลประโยชน์จากแหล่ง น้ำมันและแก๊สธรรมชาติในเขตอ่าวไทยอย่างโล่งโจ้ง เมื่อรัฐบาลกัมพูชาภายใต้การนำของเขาเองได้รับเงินงวดแรกมูลค่าถึง 28 ล้านดอล ลาร์สหรัฐจากกลุ่มบริษัท TOTAL จากประเทศฝรั่งเศส สำหรับเป็นค่าสัมปทานสิทธิ์เพื่อการสำรวจหาน้ำมันและแก๊สธรรมชาติที่ Block 3 ในเขตอ่าวไทยที่อยู่ห่างจากชายฝั่งด้านจังหวัดสีหนุวิลล์ ทางภาค ใต้ของกัมพูชาประมาณ 150 กิโลเมตร เมื่อไม่นานมานี้
โดยถึงแม้ว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวนี้จะเป็นสิ่งที่คาดหมายได้ล่วงหน้า ก็ตาม เพราะ ฮุน เซน นั้นได้ตกลงให้สิทธิ์สัมปทานแก่กลุ่มบริษัท  TOTAL ตั้งแต่เมื่อครั้งที่เขาได้เดินทางไปเยือนกรุงปารีสในช่วงเดือนกรกฎาคม 2009 แล้วก็ตาม แต่การที่กลุ่มบริษัท TOTAL มีความกล้าหาญถึงขนาดยอมจ่ายเงินก้อนดังกล่าวให้กับรัฐบาลของ ฮุน เซน ก็ย่อมจะหมายถึงความมั่นใจว่าการดำเนินการอย่างใดๆ ของกลุ่มบริษัท TOTAL ในระยะต่อไปนี้จะไม่ประสบปัญหาอันมีสาเหตุมาจากความสัมพันธ์ที่ไม่ราบรื่น ที่รัฐบาลกัมพูชามีต่อรัฐบาลไทยแต่อย่างใด
แน่นอนบุคคลที่สามารถให้ความมั่นใจดังกล่าวกับกลุ่มบริษัท TOTAL ได้ก็ย่อมจะมีแต่ ฮุน เซน เพียงคนเดียวเท่านั้น โดยกรณีที่น่าจะถือว่าเป็นหลักประกันจาก ฮุน เซน ก็คือการที่เขาได้ปรับเปลี่ยนท่าที ด้วยหวังจะปรับความสัมพันธ์กับรัฐบาลไทยภาย ใต้การนำของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้ดีขึ้น ด้วยการกล่าวยืนยันอย่างชัดเจนระหว่างเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำรัฐบาล จากประเทศสมาชิกของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission--MRC) ที่หัวหินแล้วว่ารัฐบาลกัมพูชาจะไม่ยอมให้ ทักษิณ ชินวัตร ใช้กัมพูชาเพื่อเคลื่อนไหวล้มล้างรัฐบาลไทยชุดปัจจุบันนี้อย่างเด็ดขาด
ซึ่งก็นับเป็นสิ่งที่เรียกได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงจากหน้ามือเป็นหลัง มือเลยก็ว่าได้ เพราะก่อนหน้านี้ ฮุน เซน ไม่เพียงจะได้แสดงท่าทีให้เห็นอย่างชัดเจนว่าตัวเขาได้ให้การสนับสนุน ทักษิณ อย่างสุดตัวเท่านั้น หากยังได้แต่งตั้งให้ ทักษิณ เป็นที่ปรึกษาส่วนตัวของตน ทั้งยังได้ประกาศอย่างชัดเจนว่าไม่สามารถที่จะร่วมงานกับนายกรัฐมนตรีของไทย ที่ชื่อว่า อภิสิทธิ์ ได้เลยอีกด้วย
ยิ่งไปกว่านั้น การแสดงท่าทีของ ฮุน เซน ในช่วงเวลาที่ผ่านมายังเต็มไปด้วยความพยายามที่จะบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือ ของรัฐบาลไทยทั้งในเวทีการประชุมระดับภูมิภาคและระดับสากลมาในตลอดระยะเวลา กว่า 2 ปีมานี้
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปีที่แล้ว ซึ่งรัฐบาลไทยเป็นประธานเวียนของกลุ่มอาเซียนอยู่นั้น ฮุน เซน ถึงกับได้เสนอให้ประเทศสมาชิกอื่นๆเป็นผู้จัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน แทนรัฐบาลไทยเมื่อปรากฏว่ามีเหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึ้นในประเทศไทย
แต่ครั้นเมื่อการนำเสนอดังกล่าวไม่เป็นผล ฮุน เซน ก็ได้ใช้ทุกๆ เวทีที่เขาได้ไปร่วมประชุมด้วยนั้นเพื่อแถลงโจมตี อภิสิทธิ์ และรัฐบาลไทยมาโดยตลอด ทั้งยังได้พยายามเคลื่อนไหวเพื่อตอกย้ำถึงความไม่พอใจที่มีต่อ อภิสิทธิ์ และรัฐบาลไทยเรื่อยมา
เพราะฉะนั้น การที่ ฮุน เซน ได้มาเปลี่ยนท่าทีเช่นนี้ จึงนับเป็นสิ่งที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนเพื่อผลประโยชน์จาก แหล่งน้ำมันและแก๊สฯในเขตอ่าวไทยได้อย่างชัดเจน
นอกจากนี้ อีกความเคลื่อนไหวหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการดังกล่าวนี้ของ ฮุน เซน ได้อย่างชัดเจนเช่นกัน ก็คือการที่เขาได้หลุดปากออกมาในระหว่างเป็นประธานในพิธีมอบปริญญาบัตรให้ กับผู้จบการศึกษาจากสถาบันการศึกษาแห่งหนึ่งในกรุงพนมเปญว่าเขาได้กำหนดเวลา ให้กลุ่ม Chevron บริษัทยักษ์ใหญ่ผู้ค้าน้ำมันจากสหรัฐอเมริกานั้นให้เร่งทำการขุดค้นเพื่อนำ เอาน้ำมันและแก๊สฯในน่านน้ำของกัมพูชาในเขตอ่าวไทยขึ้นมาใช้ประโยชน์ให้ได้ ภายในปี 2012 หากไม่เช่นนั้นก็จะถูกพิจารณาถอนสัมปทานในทันที
พร้อมกันนั้น  ฮุน เซน ยังได้สั่งการให้การปิโตรเลียมแห่งชาติ ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลกัมพูชานั้นให้เร่งดำเนินการจัดตั้งบริษัทลูก ขึ้นมาเพื่อให้ร่วมทุนกับ Chevron Corp ในการขุดค้นน้ำมันและแก๊สฯเป็นการเฉพาะอีกด้วย
พร้อมๆกันนั้น  ฮุน เซน ก็ยังได้สั่งการให้รัฐวิสาหกิจปิโตรเลียมแห่งชาติเร่งเซ็นสัญญากับกลุ่ม TOYO Engineering จากญี่ปุ่น เพื่อดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ของการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันแห่งแรกใน กัมพูชาด้วยหวังว่าจะเป็นเงื่อนไขที่ทำให้กลุ่ม TOYO ตัดสินใจลงทุนในด้านดังกล่าวในระยะต่อไป โดยเขาได้ให้คำมั่นว่ารัฐบาลของเขาจะเร่งจัดทำร่างกฎหมายน้ำมันเพื่อประกาศ บังคับใช้ในเร็วๆนี้
ส่วนทางด้าน Chevron Corp ก็ได้ร่วมทุนกับกลุ่ม Mitsui จากญี่ปุ่น และกลุ่ม GS Caltex จากเกาหลี ใต้เพื่อดำเนินการสำรวจหาแหล่งน้ำมันและแก๊สฯในเขตน่านน้ำของกัมพูชา นับตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นมาแล้ว และถึงแม้ว่าจะยังคงไม่มีสรุปผลการสำรวจอย่างชัดเจนก็ตาม แต่ Chevron Corp ก็ได้ให้การยืนยันกับ ฮุน เซน อย่างชัดเจนแล้วว่ารายงานสรุปผลการสำรวจทั้งหมดจะถูกนำเสนอต่อรัฐบาลเขมรภาย ในปี 2010 นี้อย่างแน่นอน
โดยกลุ่ม Chevron Corp กับกลุ่ม Mitsui และ กลุ่ม GS Caltex ร่วมทุนกันในสัดส่วน 55% ต่อ 30% และ 15% ตามลำดับ และได้ทำการขุดเจาะและสำรวจหาน้ำมันในเขตสัมปทาน A ซึ่งอยู่ห่างจากฝั่งทะเลของเขตจังหวัดสีหนุวิลล์นั้น ก็พบว่า 4 ใน 15 หลุมที่ได้ดำเนินการสำรวจนั้นเป็นแหล่งที่คุ้มค่าที่จะลงทุนอย่างยิ่ง
ซึ่งด้วยผลจากการสำรวจฯดังกล่าว  ก็ปรากฏว่ามีบริษัทต่างชาติอีกกว่า  10 รายที่ได้หลั่งไหลเข้าไปขออนุญาตสำรวจหาน้ำมันและแก๊สฯ ในเขตอ่าวไทย ในส่วนที่รัฐบาลกัมพูชาถือเป็นเขตน่านน้ำของฝ่ายตนแล้ว ซึ่งรวมถึงการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยและยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานจากจีนด้วย
ส่วนธนาคารโลก ก็ได้แสดงการเชื่อมั่นว่าหากมีการขุดค้นน้ำมันและแก๊สฯขึ้นมาใช้ประโยชน์จะ ทำให้รัฐบาลกัมพูชามีรายรับมากกว่า 175 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2011 แล้วก็เพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 1,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง