Written by Administrator |
โดย ในการสัมมนานั้นมีวิทยากรคือ อาจารย์วีรพันธุ์ มาไลยพันธุ์ อดีตคณบดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งบรรยายเรื่อง "หลักฐานสำคัญทางโบราณคดี กรณีปราสาทพระวิหารและชายแดนบริเวณเทือกเขาพนมดงรัก" พลเรือเอกถนอม เจริญลาภ อดีตเจ้ากรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ บรรยายเรื่อง "ประเด็นปัญหาพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา" และในช่วงบ่ายมีงานเสวนาเรื่อง "จากศาลโลกถึงมรดกโลก ปราสาทพระวิหารกับปัญหาพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา" โดยมีศาสตราจารย์ ดร.ชุมพร ปัจจุสานนท์ รองคณบดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นายวีรพัฒน์ ปริยวงศ์ นักวิชาการอิสระ ด้านคดีระหว่างประเทศ และนายเสริมสุข กษิติประดิษฐ์ บรรณาธิการอาวุโส ฝ่ายความมั่นคง สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสเข่าร่วมในการเสวนา TAF จึงขอนำข้อมูลบางส่วนที่น่าสนใจมานำเสนอ ณ ที่นี้ การสัมมนาเริ่มเต้นด้วยการบรรยายเรื่อง "หลักฐานสำคัญทางโบราณคดี กรณีปราสาทพระวิหารและชายแดนบริเวณเทือกเขาพนมดงรัก" ของอาจารย์วีรพันธุ์ มาไลยพันธุ์ อาจารย์วีรพันธุ์ได้แสดงความเห็นว่า ในการต่อสู้ในศาลโลกในปี 2505 นั้น ประเทศไทยยังไม่ได้ใช้หลักฐานทางโบราณคดีและธรณีวิทยาในการต่อสู้อย่างเต็ม ศักยภาพ ทั้ง ๆ ที่มีหลักฐานอยู่มากมาย เช่น หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ขวานหินของคนโบราณ ไหที่ปั้นขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 15 - 18 โดยเฉพาะหลักฐานทางภาษาศาสตร์ซึ่งมีหลักศิลาจารึกหรือการจารึกตัวอักษรมาก มาย เช่นการอ่านอักษรขอมโบราณซึ่งมีสลักเอาไว้ในภาษาสันสกฤตได้ความว่า ปราสาทพระวิหารน่าจะมีความสัมพันธ์กับปราสาทโดนตวลที่อยู่ใกล้ โดยในปีพ.ศ. 1581 มีพราหมณ์ชื่อศรีสุกรรมากำสเตง ซึ่งได้รับมอบหมายจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 ให้มาดูแลปราสาทพระวิหาร ปราสาทโดนตวล และปราสาทวัดสระกำแพงใหญ่ในเขตอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ และจารึกที่ปราสาทวัดสระกำแพงใหญ่ก็บอกอายุปราสาทว่าอยู่ในปี พ.ศ. 1585 แสดงว่ามีการใช้สอยพื้นที่ร่วมกันมาอย่างน้อย 4 ปีหรือมากกว่านั้น ซึ่งข้อความในจารึกยังบอกด้วยว่า ผู้ดูแลปราสาทพระวิหารในตอนนั้นอาศัยอยู่ในหมู่บ้านที่มีเทวสถานอยู่ในหมู่ บ้านบริเวณพื้นที่ราบหน้าเขาด้านล่างลงไป ซึ่งอธิบายได้ว่า ปราสาทพระวิหารในสมัยก่อนถูกใช้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาพราหมณ์ และเป็นเขตที่ไม่มีนักบวชอยู่ในลักษณะเดียวกับการใช้วัดพระแก้วของไทย ซึ่งพระสงฆ์ต้องไปจำพรรษาที่วัดโพธิ์ เช่นเดียวกับปราสาทพระวิหารที่นักบวชน่าจะไปพำนักอยู่บริเวณโดยรอบที่เป็น เทวสถานขนาดเล็กที่สร้างร่วมสมัยกับปราสาทพระวิหาร แสดงให้เห็นว่าปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตเทวสถานเดียวกับเทวสถานที่ตั้งอยู่ใน ประเทศไทย นอกจากนั้น อาจารย์วีรพันธุ์ยังได้ลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่เหตุการณ์ ร.ศ.112 การเสียดินแดนเพื่อแลกกับจังหวัดจันทบุรีและตราด การทำสนธิสัญญาระหว่างสยามและฝรั่งเศสเพื่อปักปันเขตแดน จนถึงการสู้คดีในศาลโลกและการดำเนินการหลังคำตัดสินของศาลโลกที่ให้ปราสาท พระวิหารเป็นของกัมพูชา โดยกล่าวว่าแผนที่ 1:200,000 ที่กัมพูชายึดถือนั้นมีความหยาบ และเป็นการจัดทำแต่เพียงฝ่ายเดียวของฝรั่งเศสโดยสยามยังไมได้ร่วมลงนามด้วย และยังลากเส้นเขตแดนออกนอกเส้นแนวสันปันน้ำตามเจตนารมณ์ของสนธิสัญญาระหว่าง สยามและฝรั่งเศส แต่ไทยไม่ได้ทักท้วงถึงข้อผิดพลาดนั้นอย่างชัดเจน ซึ่งกัมพูชาได้นำไปประกอบในการยื่นต่อศาลโลกในคดีปราสาทพระวิหาร จึงทำให้ไทยไม่ควรยอมรับในแผนที่ 1:200,000 เพราะอาจจะทำให้ไทยเสียดินแดนรวมแล้วถึง 1.5 ล้านไร่ ทั้งนี้ อาจารย์วีรพันธุ์ยังตั้งข้อสังเกตุว่า กัมพูชาได้ให้ความสำคัญกับการตั้งคณะกรรมมาธิการชายแดนร่วมไทย-กัมพูชา โดยได้จัดผู้เชี่ยวชาญเข้าร่วมเป็นกรรมาธิการถึคง 24 คน แต่สำหรับฝ่ายไทยกลับลดจำนวนลงเหลือ 16 คน และทั้งหมดนั้นไม่มีนักโบราณคดี นักธรณีวิทยา นักประวัติศาสตร์ และนักทำแผนที่ของฝ่ายพลเรือนเข้าร่วมเลย จึงทำให้ขาดมิติในการเจรจาไปเป็นอย่างมาก ต่อมา พลเรือเอกถนอม เจริญลาภ ได้บรรยายในหัวข้อ "ประเด็นปัญหาพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา" โดยเน้นไปที่พื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทยและกัมพูชาในอ่าวไทย ซึ่งพลเรือเอกถนอมได้กล่าวว่า ในสมัยนั้นกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ได้พบกับเจ้าสีหนุในระหว่างที่กรม หมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์เป็นประธานในการร่าง United Nation Convention on The Law of The Sea ของสหประชาชาติ โดยในตอนนั้นได้มีการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการว่า ในระหว่างที่ยังไม่ทราบว่าปราสาทพระวิหารเป็นของใคร ก็ควรที่จะมีการใช้ประโยชน์บนตัวปราสาทร่วมกันก่อน โดยละเรื่องอธิปไตยเอาไว้เจรจากันทีหลัง ซึ่งเจ้าสีหนุเห็นด้วย และได้สั่งการให้รัฐบาลกัมพูชาประสานไปยังสถานฑูตไทยในกัมพูชาเพื่อดำเนิน การ แต่เกิดการรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนรัตน์ในไทยขึ้นเสียก่อน ทำให้กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ไม่ได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง ประเทศและทำให้เรื่องขาดการสานต่อ โดยรัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ซึ่งทำรัฐประหารสำเร็จนั้นเห็นว่าปราสาทพระวิหาร เป็นของไทย 100% จึงไม่จำเป็นต้องมีการจัดการร่วม ซึ่งทำลายบรรยากาศในการเจรจาไป ประกอบกับเมื่อสถานการณ์เริ่มตึงเครียดขึ้น ไทยได้มีการส่งกำลังทหารขึ้นไปประจำยังปราสาทพระวิหาร จึงทำให้การจัดการร่วมล้มเหลวไป และเรื่องก็ขึ้นสู่ศาลโลกในที่สุด ทั้ง นี้ พลเรือเอกถนอมได้กล่าวว่า เรื่องการเจรจาเขตแดนนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก ไม่มีประเทศใดสามารถยอมกันได้ ยิ่งถ้าไม่มีการสร้างบรรยากาศในการเจรจาที่ดี ก็ยิ่งไม่สามารถตกลงกันได้ ทั้งนี้ มีคำพูดอยู่ว่า ถ้ายังเจรจากันได้ก็ควรเจรจากัน เพราะถ้าเราเจรจา ชัยชนะก็ยังอยู่ในมือของเรา แต่ถ้าตราบใดให้ประเทศหรือองค์กรที่สามมาเป็นผู้ตัดสินแล้ว การชนะหรือแพ้ก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคู่เจรจาอีกต่อไป ซึ่งถือเป็นความเสี่ยง ดังนั้นในพื้นที่ทับซ้อนในทะเลระหว่างสองประเทศนั้น ไทยและกัมพูชาควรสร้างบรรยากาศในการเจรจาที่ดีระหว่างกัน โดยอาจจะใช้แนวทางของการจัดทำพื้นที่พัฒนาร่วมหรือ JDA ระหว่างไทยและมาเลเซียที่ตนก็มีส่วนร่วมในการเจรจา ซึ่ง JDA นั้นเน้นการนำทรัพยากรมาใช้ประโยชน์ โดยละเรื่องเขตแดนไว้เจรจากันในภายหลัง สำหรับ เส้นเขตเศรษฐกิจจำเพาะในทะเลซึ่งมีพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทยและกัมพูชานั้น พลเรือเอกถนอมได้กล่าวว่า เส้นเขตเศรษฐกิจจำเพาะนั้นเป็นสิทธิที่รัฐชายฝั่งจะสามารถประกาศได้ โดยสามารถประกาศได้เต็มที่ตามหลักที่กฏหมายใระหว่างประเทศให้มา ไม่สามารถพูดได้ว่าเส้นของประเทศใดถูกต้องตามหลักกฏหมายมากกว่ากัน เพราะทุกคนลากอย่างถูกต้องทั้งสิ้น แต่การประกาศนั้นจะมีผลผูกพันเฉพาะประเทศของตนเท่านั้น ไม่มีผลพูกพันกับประเทศอื่นถ้ายังไม่ได้ตกลงกัน ซึ่งเมื่อมีพื้นที่ทับซ้อน รัฐชายฝั่งที่เกี่ยวข้องจะต้องทำการเจรจากับเพื่อตกลงกำหนดเขตแดนกัน ซึ่งเรื่องนี้กฏหมายระหว่างประเทศกำหนดว่าเป็นเรื่องระหว่างสองประเทศต้องหา ข้อสรุปร่วมกันเอง สุดท้าย พลเรือเอกถนอมยังได้ยืนยันว่า อธิปไตยของเกาะกูดนั้นเป็นของไทย และกัมพูชาก็ยอมรับในเรื่องนี้เสมอมา สังเกตุจากแผนที่ที่กัมพูชาใช้ก็จะวงเล็บว่าเกาะกูดเป็นของสยาม และเส้นเขตแดนที่กัมพูชาลากนั้น แม้ว่าจะดูเหมือนทับเกาะกูดไปครึ่งเกาะ แต่ความจริงแล้วกัมพูชาลากอ้อมเกาะไปตามชายฝั่งของเกาะ ซึ่งสุดท้ายแล้วเส้นนี้ก็ยังไม่ใช่เส้นเขตแดนที่แท้จริง ไทยและกัมพูชาต้องทำการเจรจากันเพื่อกำหนดเส้นเขตแดนก่อน สำหรับใน ช่วงบ่ายในการเสวนาเรื่อง "จากศาลโลกถึงมรดกโลก ปราสาทพระวิหารกับปัญหาพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา" นั้น ศาสตราจารย์ ดร.ชุมพรได้กล่าวว่า ตอนนี้ต้องยอมรับแล้วว่าปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชาตามคำตัดสินของศาลโลก และเป็นของกัมพูชาทั้งใต้ดิน บนดิน และในอากาศ ตามคำนิยามของคำว่าอธิปไตย ซึ่งไทยก็ยอมรับมาโดยตลอด ทั้งนี้ ตนไม่เห็นด้วยที่ไทยถอนตัวออกจากภาคีอนุสัญญามรดกโลก เนื่องจากการอยู่ในภาคีมรดกโลกนั้นทำให้ไทยสามารถต่อสู้และชี้แจงได้ในเวที ระหว่างประเทศ แต่ถ้าไทยถอนตัวแล้วมาต่อสู้กันเองก็จะไม่มีประโยชน์กับไทย กัมพูชาก็จะสามารถดำเนินการได้เองโดยไม่มีใครคัดค้าน นอกจากนั้น ศาสตราจารย์ ดร.ชุมพรยังวิเคราะห์ถึงการออกมาตราการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลกว่า มาตราการนี้เป็นมาตราการชั่วคราวเท่านั้น โดยเฉพาะเรื่องการถอนทหาร ไม่ได้มีผลกับการตัดสิน และเขตถอนทหารที่ศาลร่างมาให้ก็เป็นเพียงเขตคร่าว ๆ เท่านั้น ไมได้ต้องการให้ไทยและกัมพูชาดำเนินการตามนั้นทั้งหมด แต่ต้องการให้ไทยและกัมพูชาทำการเจรจากันเพื่อถอนทหารออกจากพื้นที่ภายในเขต นั้น และจะถอนทหารอย่างไรก็เป็นเรื่องของทั้งสองฝ่ายต้องทำการเจรจา แต่สำหรับมาตราการคุ้มครองชั่วคราวนั้น ส่วนตัวติดใจกับมาตราการในข้อสองมากที่สุดที่ให้ไทยไม่ขัดขวางการขนส่งสิ่ง ของให้เจ้าหน้าที่ที่ไม่ใช้ทหารของกัมพูชาในปราสาทพระวิหาร ซึ่งกัมพูชาจะต้องใช้ถนนที่ตัดใหม่ผ่านพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม. ในการส่งสิ่งของแน่นอน ทั้งนี้ ตามหลักแล้ว การปฏิบัติใด ๆ นั้นไทยสามารถอ้างได้ว่าไทยยอมปฏิบัติตามถ้าการกระทำเหล่านั้นไม่ส่งผลกระทบ ต่อไทย ซึ่งทางการไทยควรจะมีการดำเนินการที่ทำให้แน่ใจว่า การส่งสิ่งของจะไม่ใช่เป็นการส่งกำลังบำรุงทางทหาร เช่น ควรจะมีการตรวจสอบว่าสิ่งที่ขนเข้าไปในปราสาทนั้นมีอัตรายต่อไทยหรือไม่ ถ้ามีไทยก็มีสิทธิที่จะไม่อนุญาตได้ และถือเป็นการยืนยันอธิปไตของไทยอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งที่ผ่านมาไทยดำเนินการอ่อนเกินไปในการยืนยันอธิปไตยของไทยในพื้นที่ทับ ซ้อน นอกจากนั้น คณะทำงานฝ่ายไทยยังใช้ MoU 2543 ในการต่อสู้ เพราะมันแสดงให้เห็นว่ากัมพูชากับไทยมีความต้องการที่จะเจรจาปักปันเขตแดน กัน และหมายความว่ากัมพูชายอมรับว่าแผนที่ 1:200000 นั้นยังมีข้อผิดพลาดและไม่ถูกต้องจึงต้องการปักปันเขตแดนใหม่ เพราะถ้าแผนที่ถูกต้องก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมาทำ MoU ร่วมกับไทย ศาสตราจารย์ ดร.ชุมพรยังกล่าวอีกว่า ในการออกมาตราการคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลกนั้น คณะทำงานฝ่ายไทยต่อสู้ได้ดีมาก ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้ว แต่แม้ว่าจะดีขนาดไหนก็ยังไม่ได้หมายความว่าไทยจะชนะแน่นอน เพราะที่ผ่านมาชัดเจนว่าการตัดสินของศาลโลกนั้นคาดการณ์ไม่ได้เลย ทั้งนี้ในการออกมาตราการคุ้มครองชั่วคราวนั้น ค่อนข้างชัดเจนว่า ศาลโลกปฏิเสธทุกคำร้องของไทย แต่ก็ไม่ได้ออกมาตราการตามคำร้องของกัมพูชาเช่นกัน โดยศาลโลกเลือกที่จะออกมาตราการด้วยตนเองตามที่ศาลโลกเห็นสมควร ซึ่งมาตราการคุ้มครองชั่วคราวนี้เป็นเพียงมาตราการชั่วคราวเท่านั้น การตัดสินว่าจะตีความหรือไม่นั้นต้องรอการดำเนินการต่อไป โดยกัมพูชานั้นดูเหมือนจะถือไพ่เหนือกว่าเพราะศาลโลกยอมรับแผนที่ 1:200000 ในการตัดสินครั้งแรกไปแล้ว แม้ว่าจะเป็นการยอมรับเพียงแค่การประกอบคำตัดสินเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่าศาลโลกจะรับรองว่าเขตแดนจะต้องเป็นไปตามในแผนที่ 1:200000 เนื่องจากศาลโลกไม่มีอำนาจ แต่ไทยก็ยังถือไผ่เหนือกว่าในอีกด้านหนึ่งเพราะกัมพูชาไม่เคยท้วงติงเส้นเขต แดนที่คณะรัฐมนตรีกำหนดขึ้นหลังการตัดสินของศาลโลกในปี 2505 และเวลาก็ล่วงเลยมานานแล้ว ซึ่งทำให้กัมพูชาอาจโดนกรณีกฏหมายปิดปากได้เช่นกัน จากนั้นนายเสริม สุขบรรยายว่า เชื่อว่าสถานการณ์การสู้รบทั้งหมดนี้เป็นเจตนาที่กัมพูชาจะต้องการสร้างความ วุ่นวายเพื่อยื่นฟ้องต่อศาลโลก และเล่าเหตุการณ์ในช่วงที่มีการประชมภาคีอนุสัญญามรดกโลก ซึ่งจุดยืนของไทยคือไม่ต้องการให้นำแผนจัดการเข้าหารือ แต่ทางที่ประชุมของ UNSCO นั้นเห็นว่าควรทำการบูรณะปราสาท จึงทำการเสนอญัตติเข้าไป ซึ่งผู้แทนไทยก็พอยอมรับได้ แต่ในความเป็นจริงกลับมีการเพิ่มข้อความให้มีการรับรองแผนจัดการปราสาทพระ วิหารด้วย โดยภาคีสมาชิกทั้ง 21 ประเทศต่างสนับสนุน ทำให้ไทยไม่มีทางเลือกนอกจากต้องแสดงเจตนาที่จะถอนตัวออกจากภาคีอนุสัญญา มรดกโลกและทำการ Walk Out ออกจากที่ประชุม ทาง UNSCO เลยดึงแผนจัดการออกและเดินหน้าแผนบูรณะต่อไป แต่ส่งหลังสือมาชี้แจงกับไทยว่าไม่มีการพิจารณาแผนการจัดการซึ่งไม่เป็นความ จริง เพราะถ้าไทยไม่ Walk Out ก็คงมีการอนุมัติแผนการจัดการไปแล้ว แต่ในท้ายที่สุดก็ยังไม่มีการอนุมัติแผนการจัดการนั้น ทั้งนี้ นายเสริมสุขให้ข้อคิดว่า การทำงาของฝ่ายไทยนั้นไม่มีเอกภาพเท่าที่ควร ยังมีความเห็นที่ต่างกันอยู่ในคณะทำงาน ซึ่งควรจะต้องมีการปรับปรุงการทำงานตรงนี้ และเห็นด้วยว่าฝ่ายความมั่นคงของไทยอ่อนเกินไป โดยไม่พยายามมากพอในการแสดงอธิปไตยของไทยให้ชัดเจน สุดท้าย นายวีรพัฒน์ นักวิชาการอิสระได้วิเคราะห์ว่า แม้ว่านายสุวิทย์ คุณกิตติจะแสดงเจตนาในการถอนตัวจากภาคีมรดกโลกแล้ว แต่จากเอกสารต่าง ๆ ยังเชื่อว่า ไทยยังมีสถานะเป็นภาคีมรดกโลกอยู่เช่นเดิม ซึ่งไทยควรจะต้องดำเนินการคัดค้านแผนการของกัมพูชาต่อไป พร้อมกันนั้นยังได้วิเคราะห์ถึงอนาคตของการตีความคำตัดสินของศาลโลก โดยชี้ว่ามีหลายสัญญาณที่ทำให้เชื่อว่าไทยน่าจะยังได้เปรียบอยู่ในต่อสู้คดี ในการตีความนี้ เช่นกัมพูชาพยายามจะตั้งให้ศาลพิจารณาแผนที่ 1:200000 เป็นหลัก แต่ศาลกลับเลือกพิจารณาพื้นที่ข้างเคียงหรือ Vinicity ของปราสาทมากกว่า ซึ่งถือเป็นการกลับคำร้องของกัมพูชา โดยผู้สนใจสามารถ Download เอกสารการบรรยายได้จาก https://sites.google.com/site/verapat/temple ทั้ง นี้ ทั้งหมดนี้เป็นเพียงบางส่วนจากการสัมมนาเท่านั้น ผู้สนใจเนื้อหาเกี่ยวกับการสัมมนาฉบับเต็ม สามารถติดต่อไปได้ที่คณะกรรมาธิการของวุฒิสภาทั้ง 7 คณะครับ | เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2554 ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา, คณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา, คณะกรรมาธิการทหาร วุฒิสภา, คณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา, คณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว วุฒิสภา, คณะกรรมาธิการการปกครอง วุฒิสภา, และคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา ซึ่งเป็นคณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทย และกัมพูชาได้ร่วมจัดงานสัมมนาเรื่อง "มรดกโลกกับความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา" เพื่อเป็นเวทีนำเสนอข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องใน ประเด็นที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทยกัมพูชา และยังเป็นการเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นนี้ด้วย
วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ข้อมูลจากการสัมมนา "มรดกโลกกับความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา" ของวุฒิสภา เพื่อความเข้าใจสถานการณ์ไทย-กัมพูชา
ปิโตรเลียมเขมรเอาใจปู-เหลี่ยม เผยจรกาสวมตอดอดเจรจาลับ
ฟิฟทีนมูฟ — ปิโตรเลียมเขมรเอาใจยิ่งลักษณ์-ทักษิณ เร่งเจรจาปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลที่ตนลากมั่ว หวังเปิดทางสำรวจน้ำมันแบ่งผลประโยชน์ ออกแถลงการณ์คายเรื่องลับ สุเทพดอดเจรจาลับ ซก อาน หลายครั้งทั้งที่ฮ่องกงและคุนหมิง ต้องการเจรจาเรื่องให้จบภายในรัฐบาลมาร์ค เขมรอ้างคายเรื่องลับเพื่อปกป้องตนเองและทักษิณจากพวก ปชป.
องค์การปิโตรเลียมแห่งชาติกัมพูชา ภายใต้การกำกับของนายซก อาน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ออกแถลงการณ์ลงวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๔ โดยกล่าวว่า องค์การปิโตรเลียมแห่งชาติกัมพูชา ภายใต้การแนะนำของรัฐบาลกัมพูชามีความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะแสวงหาหนทางสลาย ความขัดแย้งให้มีความเท่าเทียมและโปร่งใส บนพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนทางทะเล รัฐบาลกัมพูชาและรัฐบาลของพระราชอาณาจักรไทยได้ลงนามบันทึกความเข้าใจฯ (MOU) เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๔ เกี่ยวกับพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนทางทะเล ซึ่งบันทึกความเข้าใจฯ นี้ ได้แจกแจงเกี่ยวกับพื้นที่ที่ต้องกำหนดเขตแดน (Area to be Delimited) และพื้นที่ที่ต้องพัฒนาร่วมกัน (Joint Development Area)
แถลงการณ์กล่าวต่อว่า บันทึกความเข้าใจฯ ๒๕๔๔ ไม่ใช่เป็นเพียงความเห็นชอบบนกระดาษเท่านั้น หากแต่ประเทศทั้งสองได้ใช้ทรัพยากรและความเอาใจใส่อย่างสูงในการปฏิบัติตาม บันทึกความเข้าใจฯ นี้ โดยตั้งคณะกรรมการเทคนิคร่วม อนุกรรมการเทคนิคร่วม และคณะทำงาน ๒ คณะ เกี่ยวข้องกับการกำหนดเขตแดนและการพัฒนาร่วม
การหารือและเจรจาระหว่างประเทศทั้งสองมีความก้าวหน้าอย่างมากในระหว่าง พ.ศ.๒๕๔๔ – ๒๕๕๐ ประเทศทั้งสองได้มีข้อเสนอที่แตกต่างกันสองแบบสำหรับพื้นที่พัฒนาร่วม (JDA) กล่าวคือ ข้อเสนอสลายข้อติดขัด (Break-through Proposal) (แบ่งเท่ากันตลอดทั้งพื้นที่) เสนอโดยฝ่ายกัมพูชา และข้อเสนอแบ่งพื้นที่พัฒนาร่วมออกเป็น ๓ เขต (Three-zone Proposal) ที่เสนอโดยฝ่ายไทย
แถลงการณ์ขององค์การปิโตรเลียมแห่งชาติกัมพูชา ลงวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๔
ในระยะสามปีที่ผ่านมานี้ แม้ไม่ใช่การประชุมคณะกรรมการเทคนิคร่วม (JTC) อย่างเป็นทางการก็ตาม รัฐบาลอภิสิทธิ์ได้ต่อสัมพันธ์กับรัฐบาลกัมพูชา เพื่อเจรจาปัญหาพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนทางทะเลหลายครั้ง รวมทั้งมีการประชุมระหว่างสมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน นายกรัฐมนตรี ในพระราชอาณาจักรกัมพูชา และอดีตรองนายกรัฐมนตรี สุเทพ เทือกสุบรรณ และอดีตรัฐมนตรีกลาโหม ประวิตร วงษ์สุวรรณ เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๒ ที่ จ.กณดาล ประเทศกัมพูชา และการพบกันอย่างลับ ๆ ระหว่างนายสุเทพ และรองนายกรัฐมนตรี ซก อาน ที่ฮ่องกง เมื่อ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๒ และที่คุนหมิง วันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ในระหว่างการพบกันนั้น นายสุเทพได้แจ้งความต้องการอย่างสูงที่จะแก้ปัญหานี้ให้จบในสมัยของรัฐบาล อภิสิทธิ์ การเจรจาลับเกิดขึ้นตามการร้องขอของอดีตรองนายกรัฐมนตรี สุเทพ เทือกสุบรรณ ที่ยืนยันว่าได้รับการแต่งตั้งจากอดีตนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ ซึ่งกัมพูชาไม่เห็นว่าเหตุใดต้องมีการเจรจาเป็นการลับ? ในช่วงของรัฐบาลก่อน ๆ ทุกการเจรจาทำขึ้นอย่างเปิดเผย แต่ถูกกล่าวหาจากพรรคประชาธิปัตย์ว่ามีผลประโยชน์ซ่อนเร้น กัมพูชามีความเคลือบแคลงอย่างมากว่า เหตุอะไรรัฐบาลอภิสิทธิ์มีความจำเป็นต้องทำการเจรจาลับ? ประชาชนไทยหรือสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ได้ทราบเกี่ยวกับการเจรจานี้ด้วยหรือ ไม่? ในขณะที่อดีตนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคฝ่ายค้านปัจจุบัน อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ชี้แจงไปจนถึงกล่าวหา ฯพณฯ ทักษิณ ชินวัตร ที่เจรจาแบบเปิดเผยกับกัมพูชา ว่ามีผลประโยชน์ทับซ้อนแอบแฝงกับกัมพูชา และขัดขวางการดำเนินการเจรจาระหว่างรัฐบาลใหม่ของไทย ในการเจรจากับกัมพูชา กัมพูชามีความจำเป็นต้องแสดงเรื่องปกปิดอำพรางนี้ เพื่อการปกป้องตนเองของกัมพูชา และ ฯพณฯ ทักษิณ ชินวัตร ต่อต้านการบิดเบือนจากพวกประชาธิปัตย์ในประเทศไทย
รัฐบาลใหม่ นำโดยนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ยังไม่ได้มีการพบหารือหรือยกข้อเสนอใดกับรัฐบาลกัมพูชา ในการแก้ปัญหาพื้นที่อ้างสิทธิ์ทับซ้อนแต่อย่างใด อย่าว่าแต่จะมีข้อเสนอใดเพื่อแก้ปัญหาขัดแย้งที่เป็นการแลกเปลี่ยนผล ประโยชน์ส่วนตัว ดังที่ได้มีการกล่าวหาโดยนางอานิก อัมระนันทน์ สมาชิกสภาฯ ไทย ของพรรคประชาธิปัตย์ ในการประชุมรัฐสภา เมื่อวันที่ ๒๓-๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๔
แถลงการณ์กล่าวในตอนท้ายว่า รัฐบาลกัมพูชายินดีต้อนรับการเริ่มต้นเจรจากันอีกครั้งอย่างเปิดเผยและเป็น ทางการในปัญหานี้ และต่อเนื่องการแก้ปัญหาการงานนี้ให้ได้โดยเร็วเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อเป็นผลประโยชน์ซึ่งกันและกันระหว่างประชาชนและประเทศทั้งสอง
ไทยเตรียมขายไฟฟ้าให้เขมร เดินสายผ่านช่องสะงำ
เรื่องขายไฟฟ้าให้เขมร เช้า บิ๊กน้ำมันเยิ้มบินด่วนประชุมผู ้ว่าฯ ศรีสะเกษ อนุมัติขายไฟ
ตกบ่ายเจ้าหน้าที่สองประเทศประช ุมทำความตกลง
ฟิฟทีนมูฟ — สัมพันธ์ดี ไทย-เขมร หารือเชื่อมระบบไฟฟ้าจาก จ.ศรีสะเกษ เข้าไปยังเขมร พื้นที่ จ.อุดรมีชัย ผ่านด่านช่องสะงำ ผู้ว่า จ.อุดรมีชัย และ ออกญา ลี ยงพัต ราชาแห่งเกาะกงเจ้าของ บ.ลียงพัต ผู้ดำเนินการเชื่อมสายฝั่งเขมรเข้าร่วมหารือ กับนายอำเภอภูสิงห์และตัวแทนเจ้าหน้าที่ของไทยศูนย์ข่าวนครวัต (๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๔) รายงานว่า เมื่อบ่ายวันที่ ๒๙ สิงหาคม เจ้าหน้าที่จังหวัดอุดรมีชัยของกัมพูชา และจังหวัดศรีสะเกษของไทย ได้พบหารือเกี่ยวกับการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าเข้าไปยังประเทศกัมพูชา ผ่านทางจุดผ่านแดนถาวรช่องสะงำ ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ
การหารือเพื่อเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าจากจังหวัดศรีสะเกษเข้าไปยังประเทศ กัมพูชา ระหว่างเจ้าหน้าทีของทั้งสองประเทศ ดังกล่าว ฝ่ายกัมพูชานำโดย นายเบ็จ โซะเค็น1 ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรมีชัย และออกญา ลี ยงพัต23 เจ้าของบริษัทลียงพัต ซึ่งเป็นผู้ช่วยเหลือในการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า พร้อมด้วย พล.ท.เจีย มอน และเจ้าหน้าที่จังหวัดที่เชี่ยวชาญระบบไฟฟ้า ส่วนฝ่ายไทย มีนายอำเภอภูสิงห์ รองผู้ว่าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคซึ่งรับผิดชอบ ๑๙ จังหวัด พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ทหาร หลังการหารือสองฝ่ายจะนำเอกสารความตกลงไปตรวจสอบอีกครั้ง
ทำงานกันรวดเร็วจนเหลือเชื่อ แถมลี ยงพัต มีเอี่ยวอีก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)