"กษิต" รายงานแนวทางศาลโลก ชี้ขาดคำร้องเขมร ในการประชุม
ครม.อภิสิทธิ์นัดส่งท้าย คาดองค์คณะศาลโลกจำนวน 15 คน
จะตัดสินไปตามเนื้อผ้า...
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุม ครม.
เมื่อวันที่ 12 ก.ค. ซึ่งมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน
ซึ่งถือเป็นนัดสุดท้ายของ ครม.รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคักชื่นมื่น โดยนายอำพน กิตติอำพน
เลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้แจ้งต่อ ครม.ว่า ทาง กกต.ได้แจ้งมาแล้วว่า
ในการประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ส.ส.ในวันที่ 12 ก.ค.จะยังรับรองได้ไม่ครบ
475 คน หรือ 95% ทั้งนี้นายกฯ ได้แจ้งต่อ ครม.ว่า ครั้งนี้จะเป็นการประชุม
ครม.ครั้งสุดท้าย แม้ว่าในวันที่ 18 ก.ค.นี้ ศาลโลกจะมีคำวินิจฉัย
กรณีทางการกัมพูชาร้องขอให้พิจารณาออก "มาตรการชั่วคราว"
เพื่อกดดันให้ฝ่ายไทยถอนทหารออกจากพื้นที่พิพาท ใกล้บริเวณปราสาทพระวิหาร
แต่ก็ไม่น่าจะมีเหตุผลที่จะต้องเรียกประชุม ครม.อีก จากนั้น นายกฯ
จึงมอบให้นายกษิต ภิรมย์ รมว.การต่างประเทศ
ชี้แจงประเมินแนวทางคำตัดสินของศาลโลกให้ ครม.ทราบ
ผู้สื่อข่าว
รายงานว่า นายกษิต รายงานว่า แนวทางที่ศาลโลก
น่าจะมีคำตัดสินออกมาแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ
1.ศาลโลกปฏิเสธคำร้องของกัมพูชา 2.ศาลรับคำร้อง โดย 2.1
ให้มีการบังคับใช้โดยให้ถอนกำลังทหารของทั้งสองฝ่าย
ออกจากพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร 2.2 บังคับใช้กับไทยฝ่ายเดียว
โดยเห็นด้วยกับมูลฟ้องของฝ่ายกัมพูชา
อย่างไรก็ตาม
เท่าที่ประเมินผลจากการให้ถ้อยแถลงของคณะทำงานฝ่ายกฎหมายเพื่อต่อสู้คดีของ
ฝ่ายไทยบอกว่า การให้ถ้อยแถลงของฝ่ายไทยถือว่าสมบูรณ์แบบมาก
จะถือเป็นบรรทัดฐานที่ดี สำหรับการตัดสินวินิจฉัย เพราะองค์คณะศาลโลก
ถ้าวินิจฉัยไปตามเนื้อผ้าน่า ผลออกมาน่าจะเป็นคุณกับประเทศไทย
แต่ถ้ามีเรื่องการเมืองเข้าไปเกี่ยวข้อง ก็จะไม่เป็นคุณกับฝ่ายไทย
อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงการต่างประเทศคาดการณ์ว่า องค์คณะศาลโลกจำนวน 15 คน
ล้วนแล้วแต่เป็นนักกฎหมายระดับโลกทั้งนั้น จึงน่าจะตัดสินไปตามเนื้อผ้า
ขณะที่สุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ
ในฐานะหัวหน้าคณะทำงานต่อสู้คดีประสาทพระวิหาร
"กษิต"ลัดฟ้าฟังคำสั่งศาลโลกกรณีกัมพูชาร้องคุ้มครองชั่วคราว"พระวิหาร"
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ |
15 กรกฎาคม 2554 12:31 น. |
|
|
|
|
นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
กล่าวก่อนเดินทางไปกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์
ว่าเตรียมตัวหารือกับคณะที่ปรึกษา และนักกฎหมาย
เพื่อซักซ้อมกรณีอาจจะต้องปฏิเสธคำร้องขอของกัมพูชา หรือการให้การ
หรือการโต้แย้งใดๆ ที่จะเกิดขึ้นบนเวทีศาลโลก
ซึ่งเชื่อว่าคณะผู้พิพากษาศาลโลก ทั้ง 15 ชาติ
จะรับไปพิจารณาด้วยหลักการแห่งเหตุผลและกฎหมาย
ส่วนเอกสารเพิ่มเติมที่เตรียมไปในครั้งนี้
เป็นเอกสารเกี่ยวกับเหตุการณ์การปะทะกันบริเวณปราสาทตาเมือนธม
และปราสาทตาควาย อ.พนมดงรัก จ.สุรินทร์
ซึ่งยังคงยืนยันข้อเท็จจริงมาตลอดว่า ไทยถูกรุกรานก่อน
เพราะกัมพูชาต้องการใช้เหตุปะทะครั้งนี้นำเสนอสหประชาชาติ
เพื่อขอความเห็นใจจากคณะกรรมการมรดกโลก
ในที่สุดส่งเรื่องเหตุปะทะนี้ไปที่ศาลโลก
ไทยพยายามติดต่อรัฐมนตรีต่างประเทศของกัมพูชา และอินโดนีเซียมาโดยตลอด
เพื่อให้เกิดการเจรจาตามกรอบข้อตกลงปี 2543 และกรอบการเจรจาเจบีซี จีบีซี
จนกระทั่งถึงวันนี้ที่รัฐบาลกัมพูชายังคงยืนกรานปฏิเสธจะเจรจากับไทยตามกรอบ
การเจรจาต่างๆ ที่มีอยู่ แต่จากคำแถลงของผู้นำกัมพูชา
หลังประกาศผลการเลือกตั้ง ที่ระบุว่า จะเป็นมิตร
และมีความสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาลใหม่ นายกษิตเห็นว่า เป็นเรื่องดี
แต่รัฐบาลไทยคงต้องดำเนินนโยบายระหว่างประเทศอย่างอดทน
และไม่นำกรณีพิพาทปราสาทพระวิหารมาเชื่อมโยงกับความสัมพันธ์ด้านอื่น เช่น
การปิดชายแดน หรือการทำให้ประชาชนตามแนวชายแดนต้องเดือดร้อน