บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สยามประเทศและ ร.5 รอดจาก ฝรั่งเศส เพราะอะไร ท่านทราบรึไม่

  by น.นันท์นภัส ,

ที่มาและอานิสงค์แห่งพระคาถามงกุฎพระพุทธเจ้า

 ข้าพเจ้านึกอยาก จะบันทึกเรื่องนี้ก็สืบเนื่องมาจากการถูกรบกวนจากวิญญาณเวลานอน น้องชายคนนึงจึงแนะนำพระคาถานี้ให้ข้าพเจ้านำไปสวด ข้าพเจ้าจึงต้องค้นคว้าหาข้อมูลเองทางอินเตอร์เน็ต ต้องขอบพระคุณน้องเพชร และ ครูอินเตอร์เน็ตด้วยนะคะ
 พระคาถาดังกล่าวคือ "คาถามงกุฎพระพุทธเจ้า" นั่นเอง ได้ยินมาว่าศักศิทธิ์นักแล มาดูรายละเอียดและเกร็ดประวัติกันเจ้าค่ะ


ที่มาของพระคาถามาจากหลายแห่ง เช่น
คาถามงกุฎพระพุทธเจ้า
จาก หนังสือ พ่อรักลูก (พิเศษ)
เป็น อันว่าวันนี้ขอย้อนต้นนิดหนึ่ง ท่านบอกว่าในสมัยหนึ่ง มีคนเขามาหาท่านแล้วเขาส่งหนังสือมาให้ เวลานั้นเป็นเวลาค่ำ ท่านบอกว่าค่ำๆอย่างนี้อ่านหนังสือไม่ออก จะต้องจุดไฟ แล้วก็ใช้กระแสไฟอ่าน พอตกเวลากลางคืนก็ปรากฏว่าเวลาที่เจริญพระกรรมฐาน ก็ใช้กำลังของอภิญญายกจิตโดยใช้ มโนมยิทธิไม่ ใช่ใช้อภิญญาใหญ่ ขึ้นไปนมัสการองค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาที่จุฬามณีเจดียสถาน พอไปถึงก็กราบองค์สมเด็จพระพิชิตมาร พอเงยหน้าขึ้นท่านก็บอกว่า
"ตามธรรมดาพระนี่ ถึงแม้ว่าไม่มีแสงไฟก็ควรจะอ่านหนังสือออก"
ตามบันทึกของท่านก็ถามว่า "ทำอย่างไรจึงจะอ่านออกพระพุทธเจ้าข้า"
ท่านบอก ว่า "ทิพจักขุญาณของเธอมีแล้ว แต่อาศัยที่เป็นผู้ปรารถนาพุทธภูมิมาเดิม ทิพจักขุญาณจึงไม่แจ่มใสเหมือนพระอริยเจ้า ฉะนั้น เพื่อจะให้ความแจ่มใสเกิดขึ้นเห็นภาพชัด ควรปฏิบัติแบบนี้ ควรใช้คาถานี้ไปภาวนาจนเป็นฌานสมาบัติ"
เรื่องฌานนี่มันเรื่องเล็ก ท่านบอกว่า จะคว้าอะไรขึ้นมา มันก็เป็นฌานทันทีเพราะมีการคล่องอยู่แล้ว คาถาก็เห็นจะเป็นมงกุฎพระพุทธเจ้า ท่านบอกว่าอย่างนี้
"อิติปิ โส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทธะตัง โสอิ อิโสตัง พุทธะ ปิติอิ"
ท่านกล่าว ว่า "คาถานี้ถ้าไปเรียนและภาวนาทำให้เป็นฌาน นิมิตต่างๆจะมีอาการแจ่มใส คนที่ตาไม่ดีก็อ่านหนังสือออกได้ หรือว่าเวลามืดๆ ก็สามารถจะมองเห็นหนังสือได้ และมองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างได้ตามความประสงค์ ถ้าใช้คาถานี้เป็นฌาน" ท่านว่าอย่างนั้น
เป็น อันว่าท่านย้ำมาว่าไอ้มืดๆ มันก็อ่านหนังสือออก และท่านบอกว่าท่านก็มาทำ มาทำมันก็ไม่นานใช้เวลาเพียงครู่เดียว จิตก็เข้าถึงฌาน ๔ ทรงฌาน ๔ สยาบๆ ก็เลยว่ากันถึงฌาน ๘ ถึงฌาน ๘ ก็หลบลงมาฌาน ๔ ในรูปฌาน ทำไปทำมาก็เลยลองหลับตาอ่านหนังสือ ก็เห็นอ่านออก แต่ว่าวิธีนี้ท่านบอกว่าจะใช้ทั่วๆไปไม่ได้ เอาไว้แต่เมื่อมันจำเป็น ถ้าจำเป็นจริงๆ ไม่ต้องหยิบหนังสือมา เป็นแต่เพียงนึกว่าจะอ่านหนังสือ มันก็มีความเข้าใจว่าหนังสือฉบับนั้นเขาว่าอย่างไร
วงเล็บของท่านมีไว้บอกว่า ( ใครอ่านแล้วถ้าทำได้ จงอย่าทำตนเป็นผู้วิเศษ เมื่อเวลาอ่านหนังสือต่อหน้าคน ถ้ามันอ่านไม่ออกจริงๆ ก็ใช้ไฟใช้แว่นส่อง ถ้ามันจำเป็นจริงๆ ก็เอาจิตจับจากภาพหนังสือนั้นเสีย ใช้ใจอย่างเดียวก็อ่านหนังสือออก) นี่เป็นวิธีปฏิบัติของท่าน

  • แหล่งที่สองมาจากหลวงปู่เอี่ยม สุวัณณสโรหรือพระภาวนาโกศลเถระ เกิดเมื่อวันที่ 2ตุลาคม พ.ศ. 2375 ตรงกับรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สืบเนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5)ได้โปรดเกล้าฯ ให้ท่านได้เข้ามาดูแลวัดหนังและเป็นเจ้าอาวาสในปี 2442 ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ อาราธนาให้หลวงปู่เอี่ยมเข้าสู่พระบรมมหาราชวังก่อนที่จะเสด็จประพาสยุโรป หลวง ปู่เอี่ยมล่วงรู้ด้วยทิพยญาณว่า พระองค์ท่านจะเผชิญกับม้าพยศจากฝรั่งเศส จึงได้ทูลเกล้าฯ ถวาย"พระคาถามงกุฎพระพุทธเจ้า"ไว้สำหรับทรงเสกหญ้าให้ม้าพยศกิน ปรากฏว่า เหตุการณ์ที่ท่านบอกนั้นเป็นความจริง ด้วยราชสำนักฝรั่งเศสได้นำม้าพยศมาถวาย แต่ด้วยพระพุทธานุภาพแห่งพระคาถา และเดชะพระมหาบารมีของพระองค์ ทำให้องค์รัชกาลที่ 5 ทรงปลอดภัย และทรงแสดงพระปรีชาสามารถปราบม้าพยศตัวนั้นได้อย่างง่ายดาย


เนื้อหาที่คัดลอกจาก http://www.lekpluto.com/index01/special03.html
มีดังต่อไปนี้
หลวงปู่เอี่ยมนั้นเป็น "ศิษย์มีครู " ดังนั้น จึงถอดแบบอย่างมาจากองค์หลวงปู่รอดแทบจะเป็นพิมพ์เดียวกัน หลวงปู่รอดเก่งอย่างไร หลวงปู่อี่ยมก็เก่งอย่างนั้น จึง ไม่เป็นที่น่าแปลกใจที่ท่านจะมีศิษย์และผู้ที่เคารพนับถือมากมาย ทั้งที่วัดอยู่ในถิ่นห่างไกลความเจริญ การเดินทางไปมาหาสู่ไม่สะดวก แม้แต่พระเจ้าน้องยาเธอ "กรมหลวงนเรศวรฤทธิ์" เจ้ากรมพระนครบาล (มหาดไทยในปัจจุบัน) ยังน้อมตัวเป็นศิษย์ และท่านผู้นี้แหละ ที่ถวายคำแนะนำและทูลเชิญเสด็จล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ ๕ให้เสด็จมาขอรับคำพยากรณ์จากหลวงปู่เอี่ยม ก่อนที่จะเสด็จประพาสยุโรป
ในการเสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่หนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ นั้น ไม่ได้เป็นการเสด็จเพื่อแสวงหาความสำราญแต่อย่างใด แต่เป็นการเสด็จเพื่อดำเนินพระราชวิเทโศบายด้านการต่างประเทศอย่างชาญฉลาดเป็นการเสด็จเพื่อเจริญพระราชไมตรีกับราชวงศ์ต่าง ๆ ของยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัสเซียและเยอรมันซึ่งเป็นศัตรูคู่แค้นของอังกฤษ และฝรั่งเศส ด้วยหลักการที่ว่า "ศัตรูของเพื่อนก็คือศัตรูของเรา" เมื่อ ผูกสัมพันธ์กับรัสเซีย เยอรมัน และกลุ่มประเทศต่าง ๆ ในยุโรป ได้แล้ว อังกฤษ และฝรั่งเศสก็จะไม่กล้ารุกราน หรือยึดเอาประเทศไทยเป็น "อาณานิคม" อีกต่อไป ซึ่งส่งผลทำให้ไทยเราดำรงความเป็นเอกราชมาจนทุกวันนี้
การเสด็จประพาสยุโรปในสมัยนั้น ทำ ได้ทางเดียว คือ "ทางเรือ" ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการเดินทางแรมเดือน การออกทะเลหรือมหาสมุทรนั้น แม้ในปัจจุบันที่มีการพัฒนาการเดินเรือ มีเรือที่มั่นคงแข็งแรง ประสิทธิภาพสูง มีการติดต่อสื่อสารที่ทันท่วงที ก็ยังไม่วายจะ "อับปาง" เลยล่ะ หากออกเดินทางในช่วงมรสุม หรือ "สุ่มสี่สุ่มห้า" ล่ะก็ เป็นเสร็จทุกราย คนโบราณจึงสอนเอาไว้ว่า "อย่าไว้ใจทะเลคืบก็ทะเล ศอกก็ทะเล มีภยันตรายรอบด้าน ทุกเวลานาที" ท่านผู้อ่านลองหลับตาวาดภาพการเดินเรือในสมัยเมื่อร้อยกว่าปีล่วงมาแล้วซิครับ ว่ายากลำบาก และมีอันตรายเพียงใด แต่ล้นเกล้า ฯ รัชกาล ที่ ๕ท่านก็ทรงเสด็จ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาวไทย เป็นการเสียสละพระองค์อย่างสูงสุด ที่ไม่มีพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในโลกจะทำได้ ตอนหน้าจะได้กล่าวถึงคำพยากรณ์และการแก้ไขเหตุร้ายแรงที่ประสบตามคำพยากรณ์ เป็นเรื่องของความเชื่อถือในคุณพระ และคาถาอาคม หากท่านเห็นว่า "ไม่ไร้สาระ" จนเกินไป

เมื่อล้นเกล้า ฯ รัชกาลที่ ๕ ได้ รับคำแนะนำจากพระเจ้าน้องยาเธอ "กรมหลวงนเรศวรฤทธิ์"ให้เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ เข้านมัสการ "หลวงปู่เอี่ยม" วัดโคนอน เพื่อขอรับคำพยากรณ์ก่อนที่จะเสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่ ๑ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ นั้น ภายหลังที่กำหนดการเสด็จวัดโคนอนได้ถูกกำหนดขึ้นเป็นการส่วนพระองค์เรียบ ร้อยแล้ว ก็ได้ส่งหมายกำหนดการไปถวายแด่หลวงปู่เอี่ยม เป็นการภายใน เพื่อที่จะได้เตรียมตัวรับเสด็จ
ขบวนเสด็จประกอบด้วย เรือพายสี่แจวที่ทรงประทับ และขบวนเรือคุ้มกัน ควบคุมโดยพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงนเรศวรฤทธิ์ ได้ เคลื่อนที่เข้าคลองลัดสู่วัดโคนอน ชาวบ้านละแวกนั้นไม่ได้ไหวตัวหรือเอะใจแต่อย่างใด เพราะเห็นเป็นขบวนเรือธรรมดา มิได้ประดับประดาธงทิวให้แปลกไปกว่าเรือลำอื่นดูเหมือนกับเรือที่ขุนนางหรือ เศรษฐีผู้มีทรัพย์ใช้กันทั่วไป และผู้ที่ขึ้นมาจากเรือสี่แจวต่างก็แต่งกายแบบธรรมดา มี หมวกสวมไว้บนศีรษะ ใบหน้าบ่งบอกถึงเป็นผู้มีบุญ หนวดบอกถึงผู้มีอำนาจดวงตาฉายแววแห่งความเมตตาปราณีตลอดเวลา เวลาเดินมีคนล้อมหน้าล้อมหลัง ทุกคนไม่ได้เฉลียวใจเลยว่า "บุรุษผู้ขึ้นมาจากเรือสี่แจวนั้น คือ เจ้าชีวิตแห่งกรุงสยาม พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า ผู้ทรงประกาศเลิกทาสโดยสิ้นเชิง"
พระปลัดเอี่ยมนั่งรออยู่บนอาสนะอันสมควรแก่ฐานานุรูป ภาย ในพระอุโบสถอันแคบ แบบวัดราษฏร์ในเขตอันไกลจากพระบรมมหาราชวัง กรมหลวงนเรศวรฤทธิ์ก้าวนำเสด็จเข้ามาภายในพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้าทรง จุดธูปเทียนบูชาสักการะพระประธาน กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วจึงเสด็จกลับมาถวายนมัสการพระปลัดเอี่ยม ซึ่งกราบทูลให้ทรงประทับนั่งธรรมดาตามสบายพระองค์
"ที่ รูปมาในวันนี้ ("รูป" เป็นคำที่พระมหากษัตริย์สมัยก่อนใช้แทนพระนามเมื่อมีพระราชดำรัสกับพระสงฆ์) เพื่อขอให้ท่านปลัดได้ช่วยตรวจดูเหตุการณ์ว่า การที่รูปจะเสด็จไปยุโรปเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักในยุโรปนั้น จักเป็นอย่างไรบ้าง ด้วยหนทางไกลและอันตรายมีอยู่รอบด้าน"
"มหาบพิตร อาตมาจักตรวจสอบให้ อย่าได้ทรงมีพระหทัยกังวล ทั้งนี้ด้วยพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นสมมติเทพแบบพระองค์นั้น มีบุญญาธิการ สามารถผ่านพ้นความทุกข์ได้อย่างมั่นคง"
พระ ปลัดเอี่ยมลุกจากที่นั่งไปคุกเข่าลงหน้าพระประธาน ก้มลงกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ระลึกถึงองค์พระรัตนตรัย และหลวงปู่รอดผู้มรณภาพไปแล้ว ขอบารมีในการจะเข้า "ฌาน" เพื่อดูอนาคตด้วย "อนาคตังสญาณ" จาก นั้นก็กลับเข้ามาสู่ท่านั่งสมาธิตัวตรง เจริญอานาปานสติ แล้วเข้าสู่ฌานที่ ๔ ตามลำดับ จากนั้นเข้าสู่อนาคตังสญาณ โดยกำหนดจิตไว้มั่นเพื่อให้นิมิตเกิด
ใน ท่ามกลางความคะนองของท้องทะเล และคลื่นลมตลอดจนวังวนของทะเล เรือพระที่นั่งกำลังอยู่ในปากแห่งวังวนนั้น น้ำในวังวนเชี่ยวกราก และส่งแรงดูดมหาศาล ภายใต้วังวนนั้น ซากเรือใหญ่น้อยจมอยู่เป็นอันมาก พ้นจากทะเลมาสู่บก พลันภาพของกลุ่มคนที่นั่งกันอยู่เป็นชั้น ๆ ส่งเสียงจ้อกแจัก ด้านล่างเป็นผืนหญ้า และมีผู้จูงม้าเข้ามาในที่นั้น ม้าตัวนั้นมีคนถือเชือกที่ล่ามขาทั้งสี่คอยดึงไว้ไม่ให้พยศ ดวงตาของมันเหลือกโปน น้ำลายฟูมปาก
ภาพ ของฝรั่งแต่งตัวด้วยเครื่องแบบประหลาด ผายมือให้พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้าทรงเสด็จไปรับม้าเพื่อประทับ แล้วทุกอย่างก็ดับวูบหายไป ถึงวาระที่ออกจากญาณพอดีลุกขึ้นเดินมานั่งบนอาสนะที่เดิม ก่อนจะกราบทูลความถวายว่า
"มหาบพิตร การเสด็จพระราชดำเนินสู่ยุโรปครั้งนี้ จะต้องประสบภัยสองครั้ง ครั้งแรกในทะเลที่วังวน อาตมา จะถวายผ้ายันต์พิเศษและคาถากำกับ เมื่อเข้าที่คับขันขอให้ทรงเสด็จไปยืนที่หัวเรือ แล้วภาวนาคาถากำกับผ้ายันต์แล้วโบกผ้านั้น จะเกิดลมมหาวาตะพัดให้เรือหลุดจากการเข้าสู่วังวนได้
ภัยครั้งที่สองเกิดจากสัตว์จตุบท (สี่เท้า) คืออัศดรชาติอันดุร้ายที่ฝ่ายตรงข้ามจะทดลองพระองค์อาตมาจะถวายคาถาพิเศษสำหรับภาวนาเวลาถอนหญ้าให้อัศดรอันดุร้ายนั้นกิน จะคลายพยศและสามารถประทับบังคับให้ทำตามพระราชหฤทัยได้เหมือนม้าเชื่อง" ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่เล่าลือกันมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้าหลวง(ร.5) ปู่ย่าตายายได้เล่าสืบทอดกันมาอันมีส่วนหนึ่งเกี่ยวพันกับพระบรมรูปทรงม้าที่ลานพระราชวังดุสิต
คาถาเสกหญ้าให้ม้ากินที่หลวงปู่เอี่ยมถวายนั้น คือ "คาถาอิติปิโสเรือนเตี้ย" หรือ "มงกุฎพระพุทธเจ้า" มีตัวคาถาว่า"อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตังพุทธะปิติอิ "
หลัง จากได้ทรงมีพระราชดำรัสกับพระปลัดเอี่ยมพอสมควรแก่เวลาแล้ว ก็ทรงถวายจตุปัจจัยไทยทานแด่พระปลัดเอี่ยม จากนั้นได้เสด็จทอดพระเนตรโดยรอบวัดโคนอน ซึ่งตอนนี้มีผู้จดจำพระพักตร์ของพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชเจ้าได้แม่นยำ ได้บอกกันออกไป ทำให้มีผู้มาหมอบเฝ้ารับเสด็จกันเป็นจำนวนพอสมควร ครั้นทรงสำราญพระอิริยาบถพอสมควรแล้ว ก็เสด็จกลับสู่พระบรมมหาราชวัง เพื่อเตรียมพระองค์ไปทวีปยุโรปต่อไป
การเสด็จประพาสยุโรปในครั้งแรก เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๔๐ (ร.ศ. ๑๑๖) ได้ทรงเตรียมการทุกอย่างไว้เป็นอย่างดียิ่ง ในส่วนที่เป็นกิจการภายในประเทศ ได้ทรงแต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต่อหน้ามหาสมาคม จากนั้นได้ทรงถวายสัตย์ปฏิญาณต่อหน้ามหาสมาคมซึ่งประกอบไปด้วยพระบรมวงศานุ วงศ์ เหล่าเสนามหาอำมาตย์ ข้าราชบริพาร และพระราชาคณะอันมีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน ในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร บางลำภู กรุงเทพฯ มีใจความสำคัญ ดังนี้
๑. จักไม่เปลี่ยนแปลงจากพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาอื่น
๒. จักเสวยน้ำจัณฑ์ (เหล้า) ต่อเมื่อไม่เป็นการผิดพระราชประเพณีต่อฝ่ายที่จะกระชับสัมพันธไมตรี และจะเสวยเพียงเพื่อไมตรีไม่ให้เสียพระเกียรติยศ
๓. จะไม่ล่วงประเวณีต่อสตรีไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติใด ตลอดเวลาที่พ้นออกไปจากพระราชอาณาเขตสยาม
ซึ่งท่านผู้อ่านจะเห็นได้ว่า การเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้ ไม่ได้เป็นไปเพื่อความสำราญส่วนพระองค์ แต่ทรงเสียสละความสุขส่วนพระองค์เพื่อประเทศชาติโดยแท้ จากจดหมายเหตุและพระราชหัตถเลขา ที่ทรงมีมายังพระพันปีหลวงผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ทรงบอกชัดเจนว่า
ทรง ต้องผจญภัยในท้องทะเล กับคลื่นลมที่แปรปรวน ทรงพบกับความลำบากนานาประการอาทิ ต้องทรงงดเสวยพระโอสถหมากและพระโอสถมวน (หมาก พลู บุหรี่) และต้องให้ช่างมาขูดคราบพระทนต์ (ฟัน) ที่เกิดจากคราบหมากคราบปูนออกเพื่อให้พระทนต์ขาว ห้องพระบรรทมในเรือพระที่นั่งก็ไม่สะดวกสบาย อากาศร้อนเป็นที่สุด การเสวยก็ไม่เป็นไปตามที่ทรงพระประสงค์ ฯลฯ ซึ่งความยากลำบากเหล่านี้เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาแรมเดือน ในช่วงที่ต้องใช้ทะเล มหาสมุทร เป็นเส้นทางเสด็จและในช่วงที่เสด็จรอนแรมในท้องทะเลนั่นเอง คำพยากรณ์ข้อที่ ๑ ของหลวงปู่เอี่ยม วัดโคนอนก็เป็นจริง
เมื่อเรือพระที่นั่งแล่นอยู่ในบริเวณใกล้กับ สะดือทะเล หรือ "ซากัสโซ ซี" อันบริเวณนั้นมักจะเกิดน้ำวนเป็นประจำ และเรือลำใดบังเอิญหลงเข้าไปในวังน้ำวนนั้น ก็มีหวังจมลงอับปางเป็นแน่แท้ และแล้วเรือพระที่นั่งมหาจักรี ก็พลัดเข้าไปในวังวนนั้นจนได้
กัปต้นคัมมิง (Commander Cumming) แห่ง ราชนาวีอังกฤษซึ่งไทยได้ขอยืมตัวมาเป็นผู้บังคับการเรือพระที่นั่งเป็นการ ชั่วคราว ได้ใช้ความพยายามอย่างเต็มสติกำลังความสามารถ บังคับเรือให้สู้กับแรงหมุนและดูดอย่างเต็มที่ ด้วยหากเรือพระที่นั่งเข้าปากวังวนแล้วการรอดออกมานั้นหมดหนทาง
ใน ขณะที่วิกฤตินั้น ได้มีผู้เข้าไปกราบทูลให้ทรงทราบ เมื่อระลึกถึงคำพยากรณ์ของพระปลัดเอี่ยมข้อแรกขึ้นมาได้ ก็ทรงจัดฉลองพระองค์ให้รัดกุม อาราธนาผ้ายันต์ของพระปลัดเอี่ยมติดมาด้วย เมื่อเสด็จมาถึงตอนหัวเรือ กัปตันกำลังแก้ไขสถานการณ์สุดกำลัง ทรงไม่รบกวนสมาธิของกัปตัน แต่ เสด็จไปยืนอธิษฐานจิตถึงพระรัตนตรัย พระสยามเทวาธิราช และบารมีทศพิธราชธรรม และการเลิกทาสที่ทรงพระวิริยะอุตสาหะในการช่วยเหลือพสกนิกรให้พ้นจากการเป็น ทาส จบลงด้วยพระปลัดเอี่ยมและผ้ายันต์ ทรงโบกผ้ายันต์นั้นไปมาด้วยความมั่นพระราชหฤทัย แล้วปาฎิหาริย์ก็ปรากฎ เหตุการณ์ก็แปรเปลี่ยน จู่ ๆ ก็เกิดลมมหาวาตะพัดมาในทิศทางที่อยู่ในแนวเดียวกับวังวน แรงลมทำให้เกิดกระแสคลื่นสะกัดกระแสวนของวังน้ำ ดันเรือพระที่นั่งให้พ้นจากแรงดูดสามารถตั้งเข็มเข้าสู่เส้นทางได้ ท่ามกลางเสียงร้องตะโกนว่า "ฮูเรย์" ของกัปตันและลูกเรือ
ส่วน ผู้ติดตามเสด็จนั้นอ้าปากค้างทำอะไรไม่ถูก จนทรงพับผ้ายันต์เก็บแล้วนั่นแหละ จึงค่อย ๆร้องว่า สาธุ สาธุ คำพยากรณ์ข้อแรกเป็นที่ประจักษ์แก่พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงว่า "แม่นยำยิ่งนัก" คงเหลือแต่คำพยากรณ์ข้อที่สองซึ่งยังมาไม่ถึง แต่ก็ทรงเตรียมพระองค์รับสถานการณ์หากจะเกิดขึ้น
เส้นทางเสด็จพระราชดำเนินนั้น มีช่วงที่รอนแรมในมหาสมุทรอินเดียยาวนานถึง ๑๕ วัน ๑๕คืน คือเส้นทางระหว่างเมืองกอล (Galle) ประเทศศรีลังกา ไปยังเมืองเอเดน (Aden) เมือง ท่าปากทางเข้าสู่ทะเลแดงของประเทศเยเมน ช่วงนี้แหละที่น่าจะเป็นช่วงอันตรายที่สุดและลำบากที่สุด เหตุการณ์ตามคำพยากรณ์ข้อที่ ๑ ข้างต้น คงเกิดในช่วงเส้นทางนี้ คือระหว่างวันที่ ๒๓ เมษายน ถึง ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๐ (ขอย้ำอีกครั้ง เ%B style="color: black; "> เมื่อเสด็จมาถึงตอนหัวเรือ กัปตันกำลังแก้ไขสถานการณ์สุดกำลัง ทรงไม่รบกวนสมาธิของกัปตัน แต่ เสด็จไปยืนอธิษฐานจิตถึงพระรัตนตรัย พระสยามเทวาธิราช และบารมีทศพิธราชธรรม และการเลิกทาสที่ทรงพระวิริยะอุตสาหะในการช่วยเหลือพสกนิกรให้พE0อียด ณ ที่นี้ เมื่อพระองค์เสด็จถึงประเทศฝรั่งเศสประธานาธิบดี เฟลิกซ์ ฟอร์ ได้ถวายการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ แม้จะไม่เต็มใจนัก แต่แรกไม่คิดจะต้อนรับขับสู้อย่างดีหรอกครับแต่ สืบข่าวดูแล้ว ทุกประเทศที่พระองค์เสด็จผ่านมาก่อนหน้าที่จะเข้าฝรั่งเศส ไม่ว่าจะเป็นสวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี ออสเตรีย ฮังการี รัสเซีย เดนมาร์ก อังกฤษเบลเยี่ยม เยอรมัน ต่างก็ถวายการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติ โดยเฉพาะรัสเซีย พระเจ้าซาร์ นิโคลัสทรงยกย่องนับถือเสมือนหนึ่งพระอนุชาร่วมอุทรของพระองค์เอง มีการฉายภาพพระบรมฉายาลักษณ์คู่กัน เผยแพร่ไปทั่วยุโรป แล้วอย่างนี้ "เจ้าเศษฝรั่ง" จะทำเป็นทองไม่รู้ร้อนได้อย่างไร



 ในช่วงที่ทรงพำนักในกรุงปารีส ฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ ๑๑ กันยายน ถึง ๑๗ กันยายน ๒๔๔๐นี่เอง ที่ พระองค์ได้ประสบกับความแม่นยำในอนาคตังสญาณของพระปลัดเอี่ยม ข้อที่ ๒ หากไม่ได้เตรียมการ หรือเตรียมพระองค์ล่วงหน้าแล้ว มีหวังที่จะต้องเอาพระชนม์ชีพไปทิ้งเสียที่นี่กระมัง

โบราณว่าไว้ "หากไม่เข้าถ้ำเสือ แล้วจะได้ลูกเสืออย่างไร ? " เป็นบทท้าทายคำพิสูจน์ให้เห็นเด่นชัดตอนที่ล้นเกล้า ร.๕ พระปิยมหาราชเสด็จพระราชดำเนินเหยียบดินแดนของผู้ที่ขึ้นชื่อได้ว่าเป็นศัตรูที่ร้ายกาจหวังจะครอบครองแผ่นดินไทยให้ได้ทั้งหมด แม้จะได้เป็นบางส่วนแล้วก็ตามก็หาเป็นที่พอใจไม่
ในช่วงที่เสด็จพระราชดำเนินเยือนทวีปยุโรปครั้งแรก เมื่อ ร.ศ. ๑๑๖ (พ.ศ. ๒๔๔๐) นั้น สยามประเทศของเรายังคงมีกรณีพิพาทต่อกันในเรื่อง "สิทธิสภาพนอกอาณาเขต" กล่าวคือเราต้องยอมให้อังกฤษและฝรั่งเศสตั้งศาลกงสุลของตนในดินแดนไทย สำหรับตัดสินคดีความต่าง ๆ เมื่อคนของเขา หรือคนใดก็ตามแม้แต่คนไทยหัวใสบางคนที่ยอมตนจดทะเบียนเป็นคนในบังคับ (คล้าย ๆ กับการโอนสัญชาติ แต่ไม่ใช่ เพราะยังไม่มีสิทธิที่จะพำนักในประเทศของเขา ) ซึ่งก็มีจำนวนไม่น้อย เพราะ เวลาทำผิดแล้วไม่ต้องขึ้นศาลไทย ไม่ใช้กฎหมายไทยตัดสิน คนไทยเองก็เถอะ หากทำความผิดต่อคนของเขาแล้ว ต้องขึ้นศาลเขาและต้องยอมเขาทุกอย่าง (คุ้นๆไหมเอ่ย) แม้ศาลไทยจะตัดสินว่า "ถูก" หากเขาเห็นว่า "ผิด"คน ผู้นั้นก็ต้องถูกลงอาญา ซึ่งเป็นหนามยอกอกของคนไทยในสมัยนั้นมาก ต้องยอมให้คนต่างชาติต่างแดนมากดหัวเรา มาเอาเปรียบเรา เป็นการยั่วยุให้เราหมดความอดทน หากก่อสงคราม ก็มีหวังสูญเสียเอกราชของชาติแน่นอน
กรณี "พระยอดเมืองขวาง" แขวง เมืองคำเกิดคำมวน วีรบุรุษไทยที่รักผืนแผ่นดินไทย รักในองค์พระมหากษัตริย์ไทย ได้ดับความอหังการ์ของทหารฝรั่งเศสที่บุกรุกอธิปไตยของไทยที่เมืองขวาง จนต้องถูกจำคุกเสียหลายปี แม้ศาลไทยจะให้ปล่อยตัวเพราะเป็นการทำตามหน้าที่ แต่ศาลกงสุลของฝรั่งเศสในไทยตัดสินให้จำคุก ท่านก็ต้องติดคุกเพื่อชาติ เรื่องนี้คนไทยทั้งแผ่นดินในขณะนั้น แค้นแทบจะกระอักเลือดเลยครับ เกือบจะทำสงครามกันรอมร่ออยู่แล้ว ดีแต่องค์พระปิยม หาราชเจ้า ท่านทรงดำเนินวิเทโศบายด้านต่างประเทศด้วยการเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศ ต่าง ๆ ในยุโรปเสียก่อน แล้วพระองค์ก็ทรงทำสำเร็จเสียด้วย ผู้ที่แค้นแทบจะกระอักเลือดแทน ก็คงจะเป็น "เจ้าเศษฝรั่ง" น่ะเองซึ่งมันก็รอจังหวะและโอกาสที่จะล้างแค้นเหมือนกัน มันคิดว่า
"หากไม่มีล้นเกล้า ฯ ร.๕ เสียพระองค์หนึ่ง สยามประเทศเราก็เปรียบเสมือนมังกรที่ไร้หัว"ที่ นี้คงมีโอกาสมากขึ้นหากจะฮุบประเทศชาติของเราไว้ในกำมือ และแล้วแผนการอันแยบยลก็อุบัติขึ้นเมื่อพระองค์เสด็จเยือนประเทศฝรั่งเศส แม้เขาจะต้อนรับพระองค์อย่างสมพระเกียรติก็ตาม แต่นั่นเป็นเพียงหน้าฉากเท่านั้น หลังฉากน่ะหรือ ? ได้ กำหนดขึ้นเพื่อต้อนรับพระองค์ไว้เรียบร้อยแล้ว ในสนามแข่งม้าชานกรุงปารีสนั่นเอง เมื่อพระองค์ได้รับคำทูลเชิญให้เสด็จทอดพระเนตรการแข่งม้านัดสำคัญนัดหนึ่ง ซึ่งมีขุนนาง ข้าราชการ พระบรมวงศานุวงศ์ฝรั่งเศสมาชมกันมาก พวกมันได้นำเอาม้าดุร้ายและพยศอย่างร้ายกาจมาถวายให้ทรงประทับ โดย ถือโอกาสขณะที่อยู่ท่ามกลางมหาสมาคม แม้รู้ว่าม้านั้นดุร้าย พระปิยมหราชเจ้าก็จะไม่ทรงหลีกหนี ด้วยขัตติยะมานะที่ทรงมีอยู่ในฐานะผู้นำประเทศ หากทรงพลาดพลั้งนั่นคือ "อุบัติเหตุ" ใครก็จะเอาผิดหรือต่อว่าเจ้าเศษฝรั่งไม่ได้
ม้าตัวนั้นเล่าลือกันว่า เคยโขกกัดผู้เลี้ยงดูและผู้หาญขึ้นไปขี่ตายมาแล้วหลายคน จะเอาไปไหนต้องมีคนจูงด้วยเชือกล่ามเท้าทั้งสี่ไว้ เพื่อป้องกันการพยศและขบกัดผู้คน นัยว่าเป็นม้าของเจ้าชายแห่งฝรั่งเศสพระองค์หนึ่ง เมื่อถูกนำเข้ามาในสนาม ทุกคนก็ส่งเสียงร้องด้วยความตกใจและหวาดกลัว ตัวแทนรัฐบาลฝรั่งเศสเริ่มวางหลุมพราง โดยกราบบังคมทูลว่า
"ไม่ทราบเกล้าว่าเมื่ออยู่ในสยามประเทศเคยทรงม้าหรือไม่ พระเจ้าข้า"
"แน่นอน ข้าพเจ้าเคยทรงอยู่เป็นประจำ เพราะในสยามประเทศก็มีม้าพันธุ์ดีอยู่มาก"
"โอ วิเศษ ขออัญเชิญพระองค์ทรงเสด็จขึ้นทรงม้า ตัวที่กำลังถูกจูงเข้ามานี้ให้ประจักษ์ชัดแก่สายตาของผู้คนในสนามม้านี้ด้วย เถิดพระเจ้าข้า"
ตัวแทนรัฐบาลฝรั่งเศสกราบทูลด้วยความกระหยิ่มใจ
"แน่นอน ข้าพเจ้า จะแสดงให้ท่านทั้งหลายได้ดูว่า กษัตริย์แห่งสยามประเทศนั้นไม่เคยหวาดหวั่นกลัวแม้แต่อัสดรที่พยศดุร้าย หรือผู้คุกคามที่มีอาวุธพร้อมสรรพ "
จบ พระราชดำรัสก็ทรงลุกขึ้นเปิดพระมาลาขึ้นรับการปรบมืออันกึกก้องสนามม้าแห่ง นั้น แล้วเสด็จพระราชดำเนินลงจากอัฒจันทร์ สู่ลู่ด้านล่างซึ่งขณะนั้นม้ายืนส่งเสียงร้องและเอากีบเท้าตะกุยจนหญ้า ขาดกระจุยกระจาย
คำ พยากรณ์ของพระปลัดเอี่ยมยังกึกก้องอยู่ในพระกรรณ ทรงก้มพระวรกายลงใช้พระหัตถ์ขวารวบยอดหญ้าแล้วดึงขึ้นมากำมือหนึ่ง ทรงตั้งจิตอธิษฐานถึงพระรัตนตรัย พระสยามเทวาธิราชและพระปลัดเอี่ยม เจริญภาวนาพระคาถาอิติปิโสเรือนเตี้ยที่พระปลัดเอี่ยมถวายสามจบ ทรงเป่าลมจากพระโอษฐ์ลงไปบนกำหญ้านั้น แล้วแผ่เมตตาซ้ำ ยื่นส่งไปที่ปากม้า เจ้าสัตว์สี่เท้าผู้ดุร้ายสะบัดแผงคอส่งเสียงดังลั่นก่อนจะอ้าปากงับเอาหญ้า ในพระหัตถ์ไปเคี้ยวกินแล้วก็กลืนลงไป
ผู้ แทนรัฐบาลฝรั่งเศสโบกผ้าเช็ดหน้า เป็นสัญญาณให้แก้เชือกที่ตรึงเท้าม้าออกไปพ้นทั้งสี่เท้าบัดนี้เจ้าสัตว์ ร้ายพ้นจากพันธนาการ และบรรดาผู้ที่จูงมันเข้ามาก็ผละหนี เพราะ เกรงกลัวในความดุร้ายของมัน พระปิยะมหาราชเจ้าทรงทอดสายพระเนตรจับจ้องอยู่ที่นัยน์ตาของม้านั้น ก็เห็นว่ามันมีแววตาอันเป็นปกติ มิได้เหลือกโปนดุร้าย ทรงเอื้อมพระหัตถ์ไปตบที่ขาหน้าของมันสามครั้ง เจ้าม้านั้นก็ก้มหัวลงมาดมที่พระกรไม่แสดงอาการตื่น หญ้าเสกสำริดผลตามประสงค์
อาชา ที่ดุร้ายกลับเชื่องลงเหมือนม้าลากรถ เจ้าชีวิตแห่งสยามประเทศยกพระบาทขึ้นเหยียบโกลนข้างหนึ่งแล้วหยัดพระวรกาย ขึ้นประทับบนอานม้าอย่างสง่างามไร้อาการต่อต้านของม้าที่เคยดุร้ายเสียงคนบน อัฒจันทร์ส่งเสียงตะโกนขึ้นเป็นเสียงเดียวกันว่า "บราโวส บราโวส" อันหมายถึงว่า "วิเศษที่สุด เก่งที่สุด ยอดที่สุด" (อ่านถึงตรงนี้แล้วก็น้ำตาซึม) ทรงกระตุ้นม้าให้ออกเดินเหยาะย่างไปโดยรอบสนาม ผ่านอัฒจันทร์ที่มีผู้คนคอยชม เปิด พระมาลารับเสียงตะโกนเฉลิมพระเกียรติบางคนก็โยนหมวก โดยมีดอกกุหลาบลงมาเกลื่อนสนามตลอดระยะทางที่ทรงเหยาะย่างม้าผ่านไปจนครบรอบ จึงเสด็จลงจากหลังม้ากลับขึ้นไปประทับบนพระที่นั่งตามเดิม
บรรดา พี่เลี้ยงม้าก็เข้ามาจูงม้านั้นออกไปจากสนาม คำพยากรณ์ข้อที่สองและคาถาที่พระปลัดเอี่ยมแห่งวัดโคนอนถวาย ได้สำริดผลประจักษ์แก่พระราชหฤทัย ทรงระลึกถึงพระปลัดเอี่ยมว่า เป็นผู้ที่จงรักภักดีโดยแท้จริง และได้ช่วยให้ทรงผ่านสถานการณ์อันเลวร้ายมาถึงสองครั้งสองครา และทั้งหมดนี้คือจุดเล็ก ๆในเกร็ดพระราชประวัติ เป็นปฐมเหตุแห่งพระบรมรูปทรงม้า หน้าพระราชวังดุสิตที่เล่าขานกันต่อมาช้านาน และยังคงกึกก้องในโสตประสาทของปวงชนชาวไทยต่อไปชั่วกาลปาวสาน
http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-iam-wat-nung/lp-iam-wat-nung-hist-02.htm

คาถามงกุฏพระพุทธเจ้า
ความหมายมาจาก....พุทธภูมิธรรมประการคือ
  • อิติปิโส วิเสเสอิ (ความกล้าหาญบำเพ็ยความดี) อุสาหะ
  • อิเสเสพุทธะนาเมอิ (มีปัญญา รู้เหตุ รู้ผล ดี-ชั่ว)อุมมัคคะ
  • อิเมนาพุทธะตังโสอิ (มีใจไม่ท้อถอยมุ่งมั่นกระทำความดี)อวัฏฐานะ
  • อิโสตังพุทธะปิติอิ (เสียสละกระทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์)หัตถจริยา
วิเคราะห์....พิจารณา แล้ว นอกจากสวดให้ทิพยจักษุแจ่มใส ดังสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทานหลวงพ่อฤษี อานุภาพพรรณาไว้ว่า ภาวนาทุกวันกันนรก เสกน้ำล้างหน้ากันโรค แผ่เมตตาสรรพสัตว์ศตรูแพ้ภัยไปเอง ภาวนา 18 คาบสมปรารถนา นะจังงัง คาบ คาบมหาละรวย เสกสีผึ้งเสียงเพราะจับใจ เสกใบลานกันอาวุธเสก มงกุฏสวมเกล้าเป็นมงคล เนื่องจากเป็นบทสวดที่ยาว จึงไม่นิยมนำมาบริกรรมเป็นกรรมฐาน หากถอดเป็นหัวใจ4-5คำจึงจะนำมาบริกรรมเช่นสัมปจิตฉามิได้


เคล็ดในการใช้คาถา " มงกุฎพระพุทธเจ้า "

คาถามีอยู่ว่า . . .
" อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิอิโสตัง พุทธปิติอิ "

ว่า 3 จบ (หรือ9 จบ)
สำหรับอานิสงค์ของคาถานี้เป็น คาถาครอบจักรวาล เรานำไปใช้ในทางกุศลได้
ทุก ๆ เรื่อง โดยมีประวัติ ของการใช้คาถานี้มายาวนาน ส่วนใหญ่ในราชสำนัก แม้ พระบาทสมเด็จ
พระจุลจอมเกล้า รัชกาลที่ 5 ท่านก็ทรงพระคาถานี้ดังกล่าวข้างต้น
คราวนี้เรามาดูว่าเคล็ดในการว่าคาถาบทนี้กัน
หลักในการว่าคาถาให้มีความศักดิ์สิทธิ์นั้น มีพื้นฐานจาก จิต " เป็นสำคัญ หากจิตมีสมาธิสูง ตั้งมั่นคาถาก็ยิ่งทรงความศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นระหว่างที่ว่าคาถาให้ จับลมหายใจสบายพร้อม ๆ กับ
การภาวนาคาถาบทนี้ เป็นขั้นที่ 1 ระดับสูงกว่านี้ ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ท่านใช้คาถาบทนี้
โดยมีนิมิต กำกับคาถา โดยทรงพุทธนิมิต ไว้ดังนี้ โดยตั้งกำลังใจว่าเรา ขอกราบอาธารณาบารมี
พระพุทธเจ้าเสด็จประทับเหนือเศียรเกล้าของข้าพเจ้า เพื่อปกปักรักษาคุ้มครองข้าพเจ้าด้วยเทอญ

หรือ
ขึ้นต้นด้วย พระคาถา ควรตั้ง นะโม3 ก่อนทุกครั้งไปแล้วสวดว่าดังนี้
"อิ ติ ปิ โส วิ เส เส อิ 
อิ เส เส พุท ธะ นา เม อิ 
อิ เม นา พุท ธะ ตัง โส อิ
อิ โส ตัง พุท ธะ ปิ ติ อิ
 " 3 หรือ 9 จบ แล้วอธิฐานตามต้องการ


คาถามงกุฏพระพุทธเจ้าคาถามงกุฏพระพุทธเจ้า เป็นพ่อแม่แห่งคาถา เป็นคาถาสำคัญอันผู้ศึกษาสรรพวิชาต้องเรียนรู้สำหรับครอบคาถาทั้งปวง คาถามงกุฏพระพุทธเจ้า ใช้ภาวนาเสกล้างหน้าทุกวันตอนเช้า จะเสริมสง่าราศี เสริมอำนาจบารมี ป้องกันผองภัยแคล้วคลาดศาสตราอาวุธ ป้องกันภูติพราย ภยันตรายทั้งปวงทั้งหลายไม่มาแผ้วพานใช้ได้สารพัดตามแต่จะอธิฐาน


จากเกร็ดความรู้ข้างต้น ทำให้ข้าพเจ้า รู้สึกซาบซึ้งในพระคุณอันใหญ่หลวงดังนี้

1.พระ บารมีแห่งพระพุทธ พระธรรม และ พระสงฆ์ และหลวงปู่เอี่ยม ที่มีมหาอำนาจและบารมี คอยปกปักรักษาพระพุทธเจ้าหลวงแห่งดินแดนสยามประเทศ
2. พระมหากรุณาธิคุณ และพระปัญญาของพระพุทธเจ้าหลวงแห่งปวงชนชาวสยาม(ร.5)
ที่ทรงเสียสละเพื่อปกป้องสยามประเทศสุดพระกำลัง ด้วยพระบารมีแห่งพระธรรมราชา
3. พระคาถาอันศักดิ์สิทธิ์ดังกล่าวข้างต้น

ท่านผู้อ่าน เห็นด้วยไหมเจ้าคะ ?

บทสัมภาษณ์: ลุ้นศาลโลกไม่ตีความ

โดยวีรพัฒน์ ปริยวงศ์เมื่อ 26 กรกฎาคม 2011 เวลา 10:20 น.
บทสัมภาษณ์ วีรพัฒน์ ปริยวงศ์: ลุ้นศาลโลกไม่ตีความ (ตอนที่ 1)

ที่มา หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ (แทบลอยด์ วันอาทิตย์ที่ 24-30 ก.ค. 2554) หน้า 2-5

เผยแพร่ซ้ำทาง http://www.facebook.com/verapat.pariyawong


---

คำสั่งศาลโลกเมื่อ 18 ก.ค. ในทางกฎหมายใช้คำว่าข้อสันนิษฐานเบื้องต้น หรือ prima facie หมายความว่าสันนิษฐานเบื้องต้นไว้ก่อนว่าน่าจะเข้าไปตีความคำพิพากษาได้ แต่สุดท้ายแล้วอาจจะไม่ตีความเลยก็ได้ แต่การที่ศาลไม่จำหน่ายคดีออกไปแปลว่าผู้พิพากษาเห็นว่ามันมีมูลเบื้องต้น ส่วนจะตีความเรื่องอะไรนี่สำคัญ เพราะถ้าตีความเรื่องแผนที่ภาคผนวก 1 ว่ามีความผูกพันทางกฎหมายหรือเปล่า ไทยอาจจะชนะในประเด็นนี้ และมีผู้พิพากษาชื่อ Joan Donoghue พูดไว้ชัดเจนเลยว่า การจะกลับมาตีความเรื่องอะไรนั้นใช้หลัก Long but Narrow ก็คือตีความย้อนกลับไปได้นาน แต่ต้องตีความอย่างแคบๆ ฉะนั้นคุณจะมาตีความสะเปะสะปะตะแบงไปในทางที่กัมพูชาต้องการมันทำไม่ได้

---

ผ่าน ไปครบสัปดาห์หลังจากศาลโลกมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้พื้นที่พิพาทรอบ ปราสาทพระวิหารเป็นเขตปลอดทหาร จนถึงวันนี้ทั้งไทยและกัมพูชาก็ยังไม่มีการดำเนินการใดๆ ที่ชัดเจน และมีอีกไม่น้อยที่ยังตะแบงว่าไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตาม หนำซ้ำอาจตีความกฎหมายถึงขนาดส่ง ตชด.เข้าไปแทนทหาร มีข้อเท็จหลายอย่างที่คนไทยควรรู้ก่อนลุ้นว่าปีหน้าศาลโลกจะรับตีความในคดี หลักที่กัมพูชายื่นหรือไม่ โดยเฉพาะความเป็นห่วงว่าไทยจะเสียเปรียบ แต่ วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ อดีตนักกฎหมายในคดีศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ นิติศาสตรมหาบัณฑิต (รางวัลทุนฟุลไบรท์และวิทยานิพนธ์เกียรตินิยม) มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ยังบอกว่า  50:50 และแม้ศาลจะรับก็ไม่อาจตีความในประเด็นแผนที่ได้ 
 ตีความแค่รอบปราสาท 


ให้เคลียร์เลยว่าคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวไม่มีพันธกรณีทางกฎหมายอย่างที่กลุ่มชาตินิยมอ้างหรือเปล่า  


 “ถาม ว่ามีพันธกรณีทางกฎหมายหรือไม่มันต้องถามว่าเราไปตกลงอะไรกับเขาไว้หรือ เปล่า คำตอบคือเราตกลงไว้ เราตกลงที่จะเข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ และในข้อกำหนดขององค์การสหประชาชาติบอกว่าเรารับที่จะเป็นภาคีของศาล ยุติธรรมระหว่างประเทศ ธรรมนูญศาล เพราะฉะนั้นเมื่อเข้าเป็นภาคีแล้วมันก็จะมีเงื่อนไขของมันว่าทำอย่างไรที่จะ ต้องมีพันธกรณี ที่บอกว่าเราไม่เคยรับอำนาจศาลมาตั้ง 50 กว่า ปีแล้ว นั่นจริงอยู่ แต่หมายความว่าไม่สามารถไปขึ้นคดีใหม่ที่ศาลได้ แต่คดีนี้เป็นการตีความคดีเก่า ซึ่งข้อกฎหมายเปิดช่องว่าหากคุณเคยรับอำนาจศาลในคดีเก่าไปแล้ว เวลาจะผ่านมาเท่าไหร่กฎหมายไม่ได้พูดไว้ คุณสามารถกลับมาตีความใหม่ได้ ต้องเข้าใจตรงนี้ว่าการที่จะบอกว่าศาลสามารถมีเขตอำนาจเข้ามาตีความได้ ไม่ได้แปลว่าศาลจะต้องตีความเสมอไป ศาลอาจจะไม่รับตีความก็ได้ เหมือนกับเวลาเราฟังข่าวว่าศาลพิจารณาคำร้องแล้วไม่รับคำร้อง คำร้องฟังไม่ขึ้นหลักฐานพยานไม่พอ ก็เหมือนกันครับคดีศาลโลกก็หลักการคล้ายๆ กัน สมมติว่าพิจารณาไปแล้วศาลเอาคดีเข้ามาดูในเขตอำนาจของตัวเอง แต่ปรากฏว่าดูไปดูมาไม่มีอำนาจที่จะวินิจฉัยคดี ศาลก็อาจจะบอกว่าไม่วินิจฉัยคดี ซึ่งผมคิดว่าเป็นไปได้พอสมควร เพราะว่าสิ่งที่กัมพูชาขอมันมีทั้งสิ่งที่อาจจะต้องตีความและสิ่งที่ตีความ ไม่ได้”

เหตุผลหลักที่ศาลออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวเพราะไม่ต้องการให้เกิดการสู้รบ 


“ใช่ ครับ คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวมีขึ้นในระหว่างที่คดีหลักยังไม่เสร็จ มันอาจจะทำให้สิ่งที่เขาทะเลาะกันอยู่ในคดีหลักเสียหายไปได้ ซึ่งคำว่าสิ่งที่ทะเลาะกันอยู่ในทางกฎหมายก็คือสิทธิของกัมพูชาในการที่จะ รักษาทรัพย์สิน ผู้คนของเขาในพื้นที่ที่เขาถือว่าเป็นของเขา แต่เราก็บอกว่าพื้นที่ตรงนั้นจะบอกว่าเป็นของเขาไม่ได้ พื้นที่นั้นคือ 4.6 ตร.กม. ถ้าก็พิจารณาว่าขืนปล่อยให้คุณยังดำเนินการสู้รบต่อไปโดยไม่มีคนเข้ามาห้าม ปราม ก็จะเกิดความเสียหายต่อสิ่งที่กัมพูชาเขาอ้าง ตลาด วัด หมู่บ้านก็อาจจะถูกกระสุน ถูกระเบิด ประชาชนก็อาจจะเสียชีวิตหรือบาดเจ็บ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ในทางกฎหมายถ้าเกิดขึ้นแล้วมันยากที่จะเยียวยา ฉะนั้นศาลก็เลยมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว แต่คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวไม่ได้หมายความศาลจะต้องเห็นด้วยกับสิ่งที่ กัมพูชาบอกในคดีหลัก ฉะนั้นเมื่อคดีเดินไปจนถึงปีหน้าศาลอาจจะรับตีความบางข้อไม่ตีความบางข้อก็ ได้”



ต่ก็เคยมีกรณีตัวอย่างที่ศาลโลกมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวไปแล้วกลับไม่พิจารณาตีความในคดีหลัก 


“เป็น คดี Avena เป็นคดีระหว่างประเทศ สหรัฐอเมริกากับเม็กซิโก ซึ่งทะเลาะกันว่าสหรัฐมีสิทธิที่จะประหารคนเม็กซิโกไหม บังเอิญมีข้อกฎหมายบางประเทศว่าถ้าจะประหารชาวต่างชาติจะต้องแจ้งกงสุลของ ชาตินั้นให้เขาเข้าไปมีส่วนช่วยเหลือในการสู้คดี แต่บังเอิญศาลเทกซัสของสหรัฐไม่ได้แจ้งกงสุลเม็กซิโก อยู่ดีๆ ก็ไปจับเขามาเอามาดำเนินคดี และจะประหารตามกฎหมายของเขา เม็กซิโกบอกคุณทำอย่างนี้ไม่ได้เป็นการข้ามขั้นตอนทางกฎหมาย เม็กซิโกก็เลยเอาคดีไปฟ้องศาลโลก แต่ระหว่างศาลยังตัดสินไม่เสร็จว่าสหรัฐผิดหรือไม่ผิด แต่ศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนเพราะถ้าขืนปล่อยให้ประหารชีวิตไปแล้วมันก็ ไม่มีอะไรมาให้ว่ากันต่อแล้ว ศาลก็สั่งคุ้มครองชั่วคราวไป สหรัฐก็พยายามทำตาม ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ออกคำสั่งในฝ่ายบริหารออกมาไปยังอัยการสูงสุด รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมบอกว่าจะต้องหยุดการประหารชีวิตไว้ก่อน เพราะเรามีหน้าที่ต้องทำตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ฉะนั้นนี่เราเห็นแล้วว่าที่มีบางคนบอกว่าคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวประเทศอื่น เขาไม่ปฏิบัติตาม มันไม่จริง”

“สหรัฐก็พยายามจะปฏิบัติตาม แต่บังเอิญประธานาธิบดีบุชสั่งลงไป แต่ศาลเทกซัสไม่ทำตาม เพราะว่าในประเทศของเขารัฐธรรมนูญเขาแบ่งแยกอำนาจฝ่ายตุลาการกับฝ่ายบริหาร ออกอย่างชัดเจน ตุลาการก็บอกว่าคนที่จะสั่งฉันได้คือสภา สภาต้องออกกฎหมายมา แต่สภาคองเกรสออกกฎหมายมาไม่ทันว่าจะรับรองคำสั่งของศาล พอไม่มีกฎหมายก็เลยไปสู้ถึงศาลฎีกาสหรัฐ ศาลฎีกาบอกว่าถึงแม้คำสั่งศาลจะมีผลทางกฎหมายต่อฝ่ายรัฐบาลที่เป็นฝ่าย บริหาร แต่มันไม่สามารถผูกพันศาลได้ ถ้าปราศจากข้อกฎหมายของสภาคองเกรส สุดท้ายก็เลยต้องประหารชีวิตไป แต่ท้ายที่สุดถึงประหารชีวิตไปแล้วศาลก็ยังดำเนินคดีต่อไป และก็วินิจฉัยว่ามันไม่มีเรื่องที่ต้องมาตีความ เพราะฉะนั้นก็เป็นตัวอย่างที่ทำให้เห็นว่าถึงแม้ศาลคุ้มครองไปก่อนก็ไม่ได้ แปลว่าสุดท้ายจะต้องตีความ”

กรณีปราสาทพระวิหารมีแนวโน้มที่ศาลจะรับตีความตามคำร้องของกัมพูชาหรือไม่นั้น วีรพัฒน์ ให้ดูความเห็นส่วนตนของผู้พิพากษา 

 “มัน ก็มีแนวโน้มที่เราสังเกตได้จากความเห็นส่วนตนของผู้พิพากษาในการออกคำสั่ง เพราะเวลาศาลโลกออกคำสั่งศาลท่านจะให้คำสั่งมา 1 ฉบับ แต่ผู้พิพากษาแต่ละท่านถ้าอยากจะเขียนความเห็นอธิบายออกมาท่านก็จะเขียนแยก ออกมา ซึ่งวันนี้เราเห็นแล้วว่าแต่ละท่านเริ่มแบไต๋ออกมาแล้ว บางท่านตีความในลักษณะที่ว่า ถ้าคดีเดินต่อไปก็อาจจะต้องรับคดีมาพิจารณา เพราะท่านมองว่ามันมีเหตุให้ตีความ แต่ว่าเหตุที่จะต้องตีความในที่นี้หมายความว่าอะไร ก็คือหนึ่งมันมีข้อพิพาทความเห็นทางกฎหมายที่ต่างกัน ฝ่ายหนึ่งบอกอย่างหนึ่ง ฝ่ายหนึ่งบอกอีกอย่าง เรื่องนี้มันชัดว่ากัมพูชากับไทยก็อ้างกันว่าพื้นที่รอบปราสาทเป็นของใคร”

“แต่พอมาถึงขั้นที่สองบอกว่าถึงแม้คุณจะเห็นไม่ตรงกันแต่สิ่งที่คุณเห็นไม่ตรงกันต้องเป็นสิ่งที่อยู่ในขอบเขตของคำพิพากษาเมื่อปี 2505 ยกตัวอย่างนะครับ คำพิพากษาปี 2505 พูดว่าปราสาทเป็นของใคร แต่ไม่ได้บอกว่าเส้นเขตแดนหรือเส้นตามแผนที่ภาคผนวก 1 หรือแผนที่ 1:200000 มัน ถือว่าเป็นกฎหมายผูกพันอะไรยังไง ศาลไม่ได้พูดตรงนั้น กัมพูชาพยายามจะบอกว่าการที่ศาลบอกว่าปราสาทเป็นของเขามันก็มีอยู่เหตุผล เดียวที่เป็นไปได้คือเส้นตามแผนที่ภาคผนวก 1 มันมีผลทางกฎหมาย แต่ไทยกำลังจะบอกว่าศาลไม่ได้พูดอย่างนั้น ฉะนั้นตรงนี้มันก็มีความเห็นไม่ตรงกันแล้ว  ถามว่าไม่ตรงกันแล้วศาลจะไปตีความได้ไหม ศาลต้องดูก่อนว่าเรื่องแผนที่ 1:200000 หรือแผนที่ภาคผนวก 1 มันตกอยู่ในขอบเขตของคำพิพากษาเดิมหรือเปล่า”

“ซึ่งในความเห็นส่วนตัวผมถ้าเรากลับไปอ่านคำพิพากษาเมื่อปี 2505 ศาลเขียนไว้ชัดเจนว่าศาลนำเรื่องแผนที่และเส้นตามแผนที่มาพิจารณาในฐานะข้อ เท็จจริงประกอบเท่านั้น ข้อกฎหมายที่ศาลวินิจฉัยคือเรื่องว่าปราสาทเป็นของใครตามอนุสัญญา สยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ.1904 ผมย้ำนะครับว่าคนส่วนใหญ่นึกว่าแผนที่ผูกพันเรา ความจริงไม่ใช่ สิ่งที่ผูกพันไทยทุกวันนี้ก็คืออนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส 1904 ที่เราไปทำเอาไว้ แต่บังเอิญวิธีการตีความของศาล ศาลดันเอาแผนที่มาตีความประกอบ แต่ถามว่าตัวที่ผูกพันคืออะไร ก็คืออนุสัญญา เพราะอนุสัญญาคือกฎหมายระหว่างประเทศ แผนที่ไม่ใช่กฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้นถ้าเดินคดีต่อไปศาลก็อาจจะรับพิจารณาว่าที่กัมพูชาขอให้ตีความว่า แผนที่ภาคผนวก 1 เส้นตามเขตแดนมีความผูกพันทางกฎหมายหรือไม่ ศาลไม่รับตีความ ผมคิดว่าศาลไม่รับตีความ”

“แต่มันจะ มีบางประเด็นที่ศาลรับตีความ คือประเด็นที่ว่าถึงแม้แผนที่ภาคผนวก 1 ศาลจะไม่บอกว่ามันมีอะไร แต่มันอยู่ในอำนาจขอบเขต แต่คำว่าบริเวณใกล้เคียงตัวปราสาท มันกว้างแคบแค่ไหน กัมพูชาไม่ได้ถามศาลว่ากว้างแคบแค่ไหน แค่บอกว่าไทยมีหน้าที่ต้องถอนทหารออกไป ที่เราอ้างว่าเป็นดินแดนของเรา และเราไม่ถอนทหารออกไปมันก็เหมือนกับไปกินบริเวณรอบตัวปราสาทเขา ฉะนั้นท้ายที่สุดศาลก็ต้องเอาเข้ามาวินิจฉัยว่าบริเวณใกล้เคียงตัวปราสาท เป็นแค่ไหน ซึ่งประเด็นนี้ผมวิเคราะห์ว่าถ้าเราไปดูความเห็นส่วนตัวของผู้พิพากษาแต่ละ ท่านเวลาออกสั่งชั่วคราวเมื่อวันที่ 18 ก.ค. เราจะเห็นเลยว่าผู้พิพากษาทุกคนให้ความสำคัญกับประเด็นตรงนี้มากว่าบริเวณ รอบปราสาทมากน้อยแค่ไหน”

นี่เป็นความเห็นของส่วนผู้พิพากษาในฝ่าย 11 เสียง หรือ 5 เสียง

“ทั้ง ใน 11 และ 5 เลยครับ แม้แต่ผู้พิพากษาที่ชื่อ Jean-Pierre Cot ซึ่งเป็นผู้พิพากษาชาวฝรั่งเศสที่ไทยแต่งตั้งเข้าไปเป็นผู้พิพากษาเฉพาะกิจ หมายความประเทศที่ไม่ได้มีผู้พิพากษาที่เป็นคนชาติตน คือไทยไม่มีผู้พิพากษาไทยอยู่บนบัลลังก์ กัมพูชาไม่มีผู้พิพากษาชาวกัมพูชาอยู่บนบัลลังก์ ก็แต่งตั้งผู้พิพากษาเฉพาะกิจเข้าไปได้ โดยสถิติผู้พิพากษาเฉพาะกิจจะวินิจฉัยคดีไปในแนวทางที่ต้องตรงกับประเทศที่ แต่งตั้งเข้าไป เพราะเวลารัฐบาลเขาแต่งตั้งใครเขาไม่ได้ไปบอกว่าคุณต้องตัดสินให้เราชนะ แต่เขาจะเลือกว่าผลงานทางวิชาการหรือแนวคิดสอดคล้องกับแนวต่อสู้ของใคร ผู้พิพากษา Cot ก็ตีความค่อนข้างจะสอดคล้องกับเมืองไทย แต่ท่านก็บอกชัดเจนว่าท่านเห็นว่ามันมีข้อพิพาทอยู่ว่าพื้นที่รอบๆ ตัวปราสาทเป็นของใคร”

“ถ้าเราดูคะแนนเสียงโดยรวมที่ออก มา 16 เสียงวันนั้น มันมีความเป็นไปได้สูงว่าอาจจะรับตีความในประเด็นว่าพื้นที่รอบตัวปราสาทมัน กว้างแคบแค่ไหนที่ไทยต้องถอนทหารออกไป ทีนี้มันก็มีประเด็นอีกว่าแล้วถ้าเดินคดีต่อไปเราจะถูกตีความแล้วเสียเปรียบ หรือเปล่า ซึ่งก็มีคนไปตีความว่าหวยออกมาเรียบร้อยแล้ว แต่ความจริงไม่ใช่ เพราะการตีความก็อย่างที่บอกแล้วว่ามันต้องตีความอย่างแคบในสิ่งที่คำ พิพากษาเมื่อปี 2505 ได้บอกเอาไว้ เพราะฉะนั้นเราจะมาดูว่าพื้นที่รอบปราสาทเป็นของใคร ถ้าสมมติเราชัดเจนว่าแผนที่ภาคผนวก 1 ไม่ได้มีผลทางกฎหมายอย่างชัดเจนในตัวของมันเองมันก็เป็นไปได้ที่จะตีความว่า ตัวบริเวณรอบตัวปราสาทก็น่าจะเป็นสิ่งที่เรียกว่าส่วนประกอบของตัวปราสาท อย่างแท้จริง หมายความว่าเวลาเราไปวัด ไม่ได้มีแค่เจดีย์มีอุโบสถ มันมีลานวัดมีศาลาวัด ไปจนสุดกำแพงวัด แต่ปราสาทพระวิหารปัจจุบันไม่มีแนวกำแพงให้เราเห็นแล้ว แต่ถ้าไปฟังความเห็นของนักโบราณคดีก็อาจจะตีความว่าบริเวณตัวปราสาทก็คือ บริเวณที่เป็นของตัวปราสาท จะมีกินความรวมถึงพื้นที่รอบๆ ไม่ได้ อันนี้คือเรื่องที่ต้องไปต่อสู้ในอนาคตแล้ว”

“แต่ก็จะ มีผู้พิพากษาบางท่านที่ตีความกว้างไปกว่านี้อีก ที่ท่านบอกว่ากฎหมายระหว่างประเทศเวลาตีความต้องตีความไปเพื่อปกป้องความ เป็นอยู่ที่ดีของมวลมนุษยชาติ จะไปเน้นเรื่องเขตแดนจะไปเน้นเรื่องระหว่างรัฐบาลอาจจะไม่สำคัญเท่ากับความ เป็นจริงในพื้นที่ว่าชาวบ้านเขาอยู่ด้วยกัน พอตีความอย่างนี้มันก็ทำให้เกิดความน่าสงสัยว่าผู้พิพากษาท่านนี้ซึ่งก็คือ ผู้พิพากษาชาวบราซิล ท่าน Antônio A. Cançado Trindade ท่านก็บอกไปในทางนั้น ถ้าเรามองว่ามันมีความเป็นได้ว่าท่านอาจจะเป็นห่วงประชาชนมากกว่าเป็นห่วง เขตแดน ก็อาจจะตีความลักษณะว่าขีดเส้นออกมาเลยให้ชัดเจนจะได้ไม่ต้องมีเรื่องมา ทะเลาะกัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังเร็วเกินไปที่เราจะบอกว่าผู้พิพากษาท่านไหนจะตัดสิน มาอย่างไร เพราะต้องไม่ลืมว่าคำสั่งศาลโลกเมื่อ 18 ก.ค. ในทางกฎหมายใช้คำว่าข้อสันนิษฐานเบื้องต้น หรือ prima facie หมายความว่าสันนิษฐานเบื้องต้นไว้ก่อนว่าน่าจะเข้าไปตีความคำพิพากษาได้ แต่สุดท้ายแล้วอาจจะไม่ตีความเลยก็ได้ เหมือนกับเราสันนิษฐานว่าผู้ต้องหายังเป็นผู้บริสุทธิ์ นั่นคือข้อสันนิษฐานว่าเรื่องที่ไทย-กัมพูชา ทะเลาะกันอยู่ ศาลมีอำนาจจะเข้าไปตีความในเบื้องต้น แต่หากคดีเดินต่อไปจนถึงปีหน้าแล้วศาลอาจจะไม่รับตีความก็ได้”

หากศาลโลกไม่รับตีความคดีหลัก  คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวจะยังมีผลเพียงใด

“ศาล พูดไว้ชัดเจนว่าตราบใดที่ศาลยังไม่ได้มีคำพิพากษาในการตีความมาตรการชั่ว คราวก็ยังดำเนินต่อไป เพราะฉะนั้นถ้าศาลพิพากษามาแล้วไม่รับตีความมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก็จะ สิ้นผลไปโดยอัตโนมัติ หรือศาลอาจจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงมาตรการคุ้มครองชั่วคราวก่อนที่จะมีคำ พิพากษาในปีหน้าก็เป็นไปได้ เพราะกฎหมายเปิดช่องไว้ว่าหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไทยหรือกัมพูชา เห็นว่าสถานการณ์เปลี่ยนไปหรือมีข้อเท็จจริงใหม่เกิดขึ้น เราสามารถไปยื่นคำร้องต่อศาลโลก ศาลที่เคารพครับ บัดนี้ผู้สังเกตการณ์อาเซียนเข้ามาแล้ว เรามีการทำการเจรจาข้อตกลงร่วมกันระหว่างไทย-กัมพูชา และอาเซียน สถานการณ์ดูดีมากขึ้น รัฐบาลไทยชุดใหม่เข้ามามีการเจรจาตกลงร่วมมือกันอย่างชัดเจน จึงไม่มีความจำเป็นจะต้องมาออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราวเรื่องเขตปลอดทหาร สมมติกัมพูชาก็เห็นด้วยกับไทย และทั้งสองฝ่ายก็ไปยื่นต่อศาล ศาลก็อาจจะยกเลิกก็ได้โดยที่ไม่ต้องถึงปีหน้าก็ได้”

กรณีนี้จะต่างจากกัมพูชาไปถอนคดีจากศาลโลก 

“มัน ไม่เหมือนกัน การไปขอให้ศาลแก้ไขคำสั่งคดียังเดินต่อ เพราะฉะนั้นคดีที่กัมพูชาขอให้ตีความก็เดินต่อไปจนถึงปีหน้า แต่คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวมันจะหายไปแล้ว แต่ในประวัติศาสตร์ของศาลศาลไม่เคยใช้อำนาจเข้าไปแก้ไขคำสั่งในลักษณะนั้น นอกจากจะมีกรณีที่จำเป็นจริงๆ หรือชัดเจนจริงๆ เพราะฉะนั้นเราก็อาจจะต้องลุ้นต่อไปว่าถ้าเราจะเอาคำร้องไปยื่นต่อศาลมัน ต้องมีความจำเป็นเร่งด่วนจริงๆ ผมยกตัวอย่างมีคนถามเยอะเหลือเกินว่าบริเวณตลาด วัด ชุมชน ที่เราเป็นห่วงกัน ศาลไม่ได้สั่งให้หยุดสร้าง แปลว่ากัมพูชาสามารถสร้างต่อได้โดยสบายๆ เลยหรือ ก็ต้องตอบว่าพอเราไปอ่านคำสั่งศาลก็อาจจะไม่ได้พูดไว้ชัดเจน แต่ว่าศาลเปิดช่องไว้ว่าห้ามทั้งไทยและกัมพูชาไปดำเนินการใดๆ ที่จะทำให้สถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรงขึ้นอีก หรือทำให้สถานการณ์มันแก้ไขได้ยากเย็นขึ้น”

“เพราะฉะนั้นถ้า ทะเลาะกันอยู่ แต่ว่ามีการไปสร้างสิ่งปลูกสร้าง สร้างชุมชน ตัดถนน สุดท้ายศาลตีความออกมาแล้วกัมพูชาต้องถอยออกมันก็ทำให้มีความยุ่งยากเกิด ขึ้น ทำให้การเจรจาของทั้งสองฝ่ายยากขึ้น ผู้สังเกตการณ์อาเซียนก็ทำงานไม่สะดวก เราก็เอาเรื่องเหล่านี้แหละไปยื่นต่อศาลได้ว่า ได้โปรดแก้ไขคำสั่ง สั่งลงไปเลยว่าให้หยุดการก่อสร้างหรือขยายชุมชนของกัมพูชา เพราะต้องอย่าลืมว่าคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ภาษาอังกฤษใช้คำ preserve คือรักษาสิ่งที่มีอยู่ไม่ให้ถูกทำลายไป แต่ไม่ได้หมายความว่าให้เพิ่มพูนสิ่งที่มีอยู่ให้มากขึ้น ฉะนั้นกัมพูชาจะเอาคำสั่งศาลโลกมาตีความว่าต้องขยายพื้นที่ ขยายชุมชน ผมว่าไม่ถูกต้อง เพราะศาลสั่งว่าคุณต้องร่วมมือกัน”

“ส่วนอีก ข้อหนึ่งที่คนไทยเป็นห่วงคือศาลบอกว่าห้ามไปขัดขวางกัมพูชาในการเข้าไปถึง ตัวปราสาทอย่างอิสระ เรื่องนี้เราก็ต้องแสดงจุดยืนให้ชัดเจน คำสั่งศาลบอกไว้ว่าห้ามไปขัดขวางหากกัมพูชาจะเข้าไปที่ตัวปราสาท ไม่ใช่ว่าจะเข้าไปในบริเวณ 17 ตร.กม. ศาลบอกว่าห้ามไปขัดขวางในกรณีที่กัมพูชาจะเข้าไปที่ตัวปราสาทเท่านั้น”

ก็เพราะตัวปราสาทเป็นของเขา 


“ถูก ต้องครับ และคำว่าห้ามขัดขวางก็ต้องอยู่ภายใต้คำสั่งข้ออื่นๆ เช่น ห้ามเอาทหารเข้าไป ห้ามไปซ่องสุมกำลังอาวุธข้างใน และถ้าหากเขาจะผ่านในบริเวณที่เป็นของเราก็ต้องคุยกันก่อน คำว่าห้ามขัดขวางมันไม่เหมือนกับคำว่าต้องอนุญาต ห้ามขัดขวางหมายความว่าห้ามไปขัดขวางอย่างไร้เหตุผล คือถ้าจู่ๆ เขาจะยกกำลังเข้ามาเราก็ต้องไม่อนุญาต เพราะถือว่าคุณทำผิดคำสั่งศาลแล้ว แต่ถ้ากัมพูชาจะเอารถขนอิฐขนปูนเข้าไปซ่อมแซมปราสาทเราก็ถือว่าไม่ได้ขัดคำ สั่งศาล ส่วนเขตปลอดทหารผมก็มีข้อสังเกตเพิ่มอีกอย่างหนึ่ง ก็คือหากเราไปดูคำสั่งส่วนตนของผู้พิพากษา ซึ่งกัมพูชาแต่งตั้งเข้าไปผมฟังดูแล้วค่อนข้างเป็นห่วง เพราะท่านตีความไปทางกัมพูชาพอสมควร คือท่านบอกว่าที่ศาลสั่งให้มีเขตปลอดทหาร 17 ตร.กม. ท่านไม่เห็นด้วยในแง่ที่ว่าบริเวณตัวปราสาทที่อยู่ตรงกลางของเขตนั้นควรจะ ถูกแยกออกไปว่าไม่ต้องปลอดทหารก็ได้ ในเมื่อเป็นของกัมพูชา กัมพูชาก็ควรต้องมีทหารประจำอยู่ มันก็ทำให้เราเห็นอะไรบางอย่างว่าถ้าเขตทหารออกแบบมาเพื่อเลี่ยงการปะทะแล้ว คุณมาบอกว่าไม่ให้มีทหารอยู่เลยยกเว้นตรงกลางพื้นที่มีทหารมีปืนใหญ่ตั้ง อยู่ มันก็ไม่เกิดประโยชน์ถูกไหมครับ แต่บังเอิญศาลส่วนใหญ่ไม่เอาด้วย ก็ทำให้เราเห็นแล้วผู้พิพากษาที่กัมพูชาแต่งตั้งเข้ามามีแนวโน้มที่จะตีความ ไปในทางที่เห็นอกเห็นใจกัมพูชาพอสมควร”



แถลงการณ์ฝ่ายเดียวโชว์ภาวะผู้นำ 


“รัฐบาล ไทยในวันนี้ต้องมีความชัดเจนในแง่ของจุดยืนว่าเราได้รับคำสั่งศาลมาแล้วเรา ถือว่าคำสั่งศาลมีความชัดเจน แปลว่าอะไร สมมติมีคนบอกว่า ตชด.เข้าไปได้ไหม ถ้าผมเป็นท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ผมต้องชัดเจนว่าเข้าไปได้หรือเข้าไม่ได้ เราอย่าไปบอกว่าต้องรอดูก่อนว่าเป็นอย่างไร ต้องฟังกัมพูชาก่อนว่าอย่างไร ไม่ใช่นะครับ เพราะว่าคำสั่งศาลค่อนข้างจะชัดเจนว่าต้องเอาทหารออกไป และก็จะต้องไม่มีกองกำลังติดอาวุธหรือกิจกรรมทางทหารในบริเวณนั้น เพราะฉะนั้นสมมติเราส่ง ตชด.เข้าไปแต่เราส่งไป 1 กองร้อยเลย แต่แต่ละคนก็ถืออาวุธหนัก มีระเบิดมีเครื่องมือพร้อมที่จะรบกันแล้ว มันก็เสมือนกับว่าเป็นกองกำลังติดอาวุธที่พร้อมจะรบ แต่สมมติเราส่งเข้าไปเป็นอาวุธขนาดเบา ส่งเข้าไปประจำเป็นแต่ละจุดๆ เพื่อดูแลความสงบเรียบร้อย”

“ศาลก็บอกว่าเจ้าหน้าที่ฝ่าย ปกครองเข้าไปได้ แต่คำว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองเวลาตีความเราต้องตีความให้ตรงกับข้อเท็จจริง ปกติ เวลาเราอยู่ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ เราไม่ได้มี ตชด.มาเดินดูแลทรัพย์สินของชาวบ้าน อย่างมากก็ตำรวจจราจรที่พกปืน ตำรวจนครบาลคอยดูแลความเรียบร้อย ก็ต้องเป็นลักษณะนั้น กำลังตำรวจเจ้าหน้าที่ของเราก็ไม่ได้ถูกห้าม สามารถส่งเข้าไปได้ และเรื่องนี้เราต้องคุยกับผู้สังเกตการณ์อาเซียนให้ชัดเจนว่าเราจะให้เขา เข้ามาในหน้าที่อย่างไร เพราะที่ศาลบอกว่าจะต้องให้ผู้สังเกตการณ์อาเซียนเข้ามาศาลไม่ได้บอกว่าให้ เข้ามาโดยอิสระ แค่บอกว่าต้องร่วมมือกัน คำว่าร่วมมือกับอาเซียนหมายความว่าเราต้องร่วมมือกับอาเซียน แต่อาเซียนก็ต้องร่วมมือกับเรา ไม่ใช่อาเซียนจะเข้ามาได้ตามสบาย แต่ส่วนจะอนุญาตในลักษณะไหนนั้น เป็นเรื่องที่ไทย กัมพูชา และอาเซียน ต้องพูดคุยกัน”

ทั้งไทย-กัมพูชา ยังตีความกฎหมายแบบศรีธนญชัย ฝ่ายเราก็จะส่งตชด.เข้าไป กัมพูชาก็รอผู้สังเกตการณ์อาเซียนเข้ามาก่อน

“คือ คำสั่งเนื่องจากทั้งสองฝ่ายต้องปฏิบัติพร้อมกันก็เป็นเรื่องปกติว่าคุณทำ ก่อนสิ กัมพูชาบอกว่าเอาอาเซียนเข้ามาก่อน ไม่อย่างนั้นไม่ถอนทหาร มันก็กลับไปสู่เรื่องเก่า วิธีแก้ปัญหาคือบัดนี้ทั้งสองฝ่ายรู้แล้วว่าศาลสั่งมาแล้วว่าต้องทำทั้ง 2 อย่าง วิธีที่ง่ายที่สุดคือมาเจรจากันว่าเราจะทำทุกอย่างในเวลาเดียวกันเลย นัดกันมาเลย สมมติพรุ่งนี้ผู้สังเกตการณ์อาเซียนเข้ามาปุ๊บ ทั้งสองฝ่ายถอนทหารพร้อมกัน และต้องมีบริเวณเขตปลอดทหารชั่วคราวที่ชัดเจน ตรงนี้ผมขอย้ำนิดหนึ่งว่าภาพที่สื่อมวลชนเสนอไป ที่เป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมคางหมู ความจริงนั่นเป็นเพียงแค่ร่างแผนที่ ศาลใช้คำว่า sketch map ซึ่งศาลอธิบายไว้ในคำสั่งหน้า 17 ว่าร่างแผนที่นี้เป็นเพียงตัวอย่างให้ไทย-กัมพูชา นำไปพอให้เห็นรูปเห็นร่างเท่านั้น ฉะนั้นเขตปลอดทหารสุดท้ายแล้วจะเป็นอย่างไร เป็นหน้าที่ของไทยและกัมพูชาที่ต้องเอาพิกัดแผนที่ เส้นรุ้งเส้นแวงไปคุยกับกรมแผนที่ทหาร ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการทำแผนที่ในพื้นที่นั้น ศาลท่านอยู่ที่กรุงเฮกท่านไม่เคยมาเห็นหรอกว่าบริเวณนี้เป็นอย่างไร”

“ซึ่ง จุดนี้แหละที่ผมบอกว่าเวลาศาลบอกว่าต้องดำเนินการตามคำสั่งทันที มันไม่ใช่ว่าเราเหมือนหุ่นยนต์ที่กดปุ่มปุ๊บถอนปุ๊บ การดำเนินการมันมีขั้นมีตอนของมัน ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ก็ดำเนินการนะครับ วันรุ่งขึ้นท่านนัดประชุมทันทีเลย กระทรวงกลาโหม กฤษฎีกา อัยการสูงสุด กรมแผนที่ทหาร และท่านก็สั่งการไปว่าไปจัดทำแผนการให้เรียบร้อย แต่ข้อสำคัญมันอยู่ที่ว่ากัมพูชาก็ต้องทำขั้นตอนเดียวกัน และสุดท้ายพอได้แผนที่ที่ตัวเองจะเอาไปใช้ในการถอนทหารก็ต้องเอามาเทียบกัน ว่ามันตรงกันหรือเปล่า สมมติว่าตรงกันทั้งสองฝ่ายก็นัดกันเลยว่าเราจะคุยกับอาเซียนเพื่อให้เข้ามา บนเงื่อนไขที่เราเห็นด้วยตรงกัน เช่น เวลาคุณจะเดินลาดตระเวนก็ขอให้แจ้งมาก่อนว่าจะเดินตรงไหน และให้มีฝ่ายไทยและกัมพูชาเดินพร้อมๆ กัน และตกลงถอนทหารพร้อมกัน คราวนี้ก็ติดปัญหาอีกว่าถ้ารัฐบาลคุณอภิสิทธิ์เป็นรัฐบาลรักษาการ คุณยิ่งลักษณ์จะเปิดสภาเมื่อไหร่ นายกรัฐมนตรี ครม. จะทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อไหร่ ขอยังไม่แน่ใจ ถ้าจะไปเซ็นตกลงอะไรกันรัฐบาลชั่วคราวทำได้หรือเปล่า อันนี้มันไม่ใช่กฎหมายระหว่างประเทศแล้ว เป็นกฎหมายรัฐธรรมนูญของบ้านเราแล้ว”

เพราะหากไปทำหนังสือสัญญาโดยไม่ผ่านสภา ก็จะเข้ามาตรา 190 แบบสมัยคุณนพดล

“มาตรา 190 ไม่ได้ห้ามให้รัฐบาลไปทำหนังสือสัญญากับประเทศอื่น แค่บอกว่า..." [อ่านต่อ ตอนที่สอง]

---
เพราะหากไปทำหนังสือสัญญาโดยไม่ผ่านสภา ก็จะเข้ามาตรา 190 แบบสมัยคุณนพดล

“มาตรา 190 ไม่ได้ห้ามให้รัฐบาลไปทำหนังสือสัญญากับประเทศอื่น แค่บอกว่าหากคุณไปทำหนังสือสัญญาแค่บางประเภทเท่านั้นที่ต้องผ่านสภา หนึ่งก็คือไปเปลี่ยนแปลงเขตแดน หรือเขตอธิปไตย สองคือต้องมีกฎหมายออกตามมา สามไปมีผลผูกพันทางการค้า เศรษฐกิจ และสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะฉะนั้นข้อเหล่านี้ถ้าเราทำไปแล้วมันไม่เข้าข้อเหล่านี้มันก็ย่อมไม่ใช่ กรณีที่ต้องไปผ่านสภา เพราะว่าในรัฐธรรมนูญ การทำสัญญามันเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารโดยเฉพาะอยู่แล้ว มันมีแค่ข้อยกเว้นที่ต้องไปเข้าสภาบางเรื่องเท่านั้นเอง ฉะนั้นถ้าเราบอกว่าจะถอนทหารพร้อมๆ กัน ถามว่าเรื่องการถอนทหารมันอยู่ในอำนาจของฝ่ายไหน อยู่ในอำนาจฝ่ายบริหาร เวลาเราจะส่งกองทัพไปปกป้องประเทศชาติต้องถามสภาก่อนหรือเปล่า ต้องถามศาลก่อนหรือเปล่า มันไม่ใช่เรื่องนิติบัญญัติหรือตุลาการ ฉะนั้นเรื่องนี้เป็นอำนาจฝ่ายบริหาร จึงไม่เข้ามาตรา 190”

“คราว นี้มาถึง step ที่สอง ถามว่าไม่เข้ามาตรา 190 แล้วมันติดขัดมาตรา 181 หรือเปล่า มาตรา 181 บอกว่ารัฐบาลชั่วคราวต้องดำเนินการต่างๆ เฉพาะเท่าที่จำเป็น และต้องไม่ดำเนินการที่กฎหมายห้ามไว้ กฎหมายห้ามเรื่องอะไรบ้าง หนึ่งห้ามโยกย้ายข้าราชการ ห้ามไปใช้งบประมาณฉุกเฉิน ห้ามไปให้คุณให้โทษเกี่ยวกับการเลือกตั้ง มันมีข้อสุดท้ายที่บอกว่าห้ามอนุมัติหรือโครงการที่มันมีผลผูกพันไปถึง รัฐบาลชุดหน้า เพราะฉะนั้นการที่บอกว่าเราจะมาถอนทหารกันมันเป็นโครงการหรือเปล่าเป็นงาน หรือเปล่า อันนี้ต้องตีความให้ชัดนะครับว่าการเคลื่อนย้ายทหารภายในเขตแดนของประเทศไทย มันไม่ใช่เรื่องโครงการ มันเป็นเรื่องปกติของการใช้อำนาจฝ่ายบริหาร ฉะนั้นผมก็มองว่ามาตรา 181 ก็ไม่ได้ห้ามรัฐบาล ไม่เช่นนั้นอยู่ดีๆ รัฐบาลชั่วคราวมีความจำเป็นที่ต้องย้ายกำลังพล ปกป้องอธิปไตยของชาติ จะบอกว่าไปติดขัดมาตรา 181 จะเป็นการตีความกฎหมายที่แย่มากนะครับ”

“ดัง นั้นโดยสรุปแล้วมาตรา 181 มาตรา 190 ไม่เข้าทั้งคู่ รัฐบาลรักษาการก็ยังเป็นรัฐบาลที่มีหน้าที่ที่ต้องเป็นรัฐบาลของคนไทย คุณจะมาใส่เกียร์ว่างบอกว่าโอ้ยรอรัฐบาลชุดหน้าเข้ามาเพราะผมไม่อยากจะโดนคน นั้นคนนี้ว่า นั่นคือคุณไม่รับผิดชอบต่อประชาชนแล้ว ซึ่งไม่ได้นะ คุณยังมีหน้าที่ต้องทำ แต่ก็ถามอีกว่ากลัวศาลปกครองศาลรัฐธรรมนูญเดี๋ยวบอกว่าทำไปแล้วผิด ผมก็เสนอย่างนี้ว่าคุณก็ต้องใช้นักกฎหมายเก่งๆ กำหนดเอกสารให้ชัดเจน สมมติว่ากลัวเข้ามาตรา 190 ซึ่งบอกว่าห้ามไปทำหนังสือสัญญาที่เข้ากรณีมาตรา 190 ก็ไม่เห็นต้องทำหนังสือสัญญาเซ็นด้วยกันนี่ ต่างฝ่ายต่างก็ทำแถลงการณ์ฝ่ายเดียวก็ได้ แต่ว่าเป็นแถลงการณ์ฝ่ายเดียวที่มีผลมาจากการเจรจากันมาก่อนแล้ว เช่นสมมติเราบอกจะถอนทหารออกจากเขตปลอดทหารชั่วคราวเราจะให้ผู้สังเกตการณ์ อาเซียนเข้ามา ไทย-กัมพูชา ต่างฝ่ายต่างแถลงพร้อมกันเลย บัดนี้เรามีคำสั่งศาลโลกมาแล้วประเทศไทยพร้อมที่จะทำตามโดยตีความคำสั่งว่า เราจะถอนทหารจากบริเวณนี้ เราจะให้ผู้สังเกตการณ์อาเซียนเข้ามาแบบนี้ และก็ต้องคุยกับกัมพูชาให้ชัดเจนว่ากัมพูชาก็ต้องแถลงในลักษณะเดียวกัน แต่ถามว่าทั้งสองฝ่ายมาตกลงกันไหม ไม่ได้ตกลงกัน ถ้าเกิดฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะถอนคำพูดของตัวเองก็ถอนได้ ไม่ผูกพันอะไร แต่อย่างน้อยมันเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับทั้งสองฝ่ายว่าเรามีอะไรที่ มันชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษรอยู่”

“มันก็เป็นการสร้างความ เชื่อมั่นให้กับประชาชนและก็ชาวโลกว่าบัดนี้ไทยและกัมพูชาพร้อมที่จะปฏิบัติ ตามที่ศาลบอก โดยที่ไม่ต้องไปเป็นห่วงว่ามันจะเข้ามาตรา 190 หรือเปล่า เพราะไม่ได้เซ็นหนังสืออะไรกัน มันเป็นการแถลงการณ์ฝ่ายเดียวของแต่ละรัฐบาล และถ้าทำให้ชัดก็ต้องแถลงการณ์ในงานเดียวกันด้วย อาจจะมีท่านสุรินทร์ พิศสุวรณ ซึ่งเป็นเลขาธิการอาเซียน เป็นเจ้าภาพจับมือถ่ายรูปต่างคนต่างแถลง ส่วนจะไปเข้ามาตรา 181 ที่ห้ามไปผูกพันรัฐบาลชุดหน้าไหม ก็ต้องชัดเจนในแถลงการณ์ว่านี่คือแถลงการณ์ที่รัฐบาลชุดคุณอภิสิทธิ์ต้องการ จะทำ และก็เป็นไปตามคำสั่งศาลโลก แต่ทั้งนี้ย่อมเป็นดุลยพินิจของรัฐบาลต่อไปว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร”

นี่ คือขั้นตามกฎหมายที่ควรจะดำเนินต่อไป และเป็นการทูตในอุดมคติ แต่สำหรับการเมืองเป็นอีกเรื่องหนึ่ง เพราะความขัดแย้งกับกัมพูชาก็เป็นประโยชน์กับฝ่ายการเมืองของทั้งสองประเทศ และเมื่อรัฐบาลเพื่อไทยเข้ามาทุกอย่างก็จะเปลี่ยนชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ 

“ผม คิดว่าเราต้องอย่าลืมว่าการที่เราหวังว่ารัฐบาลชุดใหม่จะแก้สถานการณ์ได้ มันยังเป็นเพียงแค่ความหวัง และเราก็ไม่รู้ว่าสถานการณ์ตึงเครียดบริเวณชายแดนที่เอารถถังเอาเครื่องยิง ระเบิดมาประจันหน้ากันมันมีความเสี่ยงที่การปะทะกันมันจะเกิดขึ้นตลอดเวลา ถามว่ามันคุ้มไหมถ้ามันเกิดขึ้น มันคุ้มไหมที่ชาวบ้านต้องมาวิ่งหนีอุตลุด ผมมองว่ามันเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของรัฐบาลปัจจุบันนี่แหละที่ต้อง ดำเนินการทุกอย่าง ถามว่าจะดำเนินการอย่างไรให้มันสมกับความเป็นจริงหน่อย ผมก็จะบอกว่าคุณอภิสิทธิ์ก็ต้องคุยกับคุณยิ่งลักษณ์ตั้งแต่เนิ่นๆ เลยว่าทีมที่จะมาเป็นทีมที่คุมกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงกลาโหม ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคง ในพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลจะมีใครบ้าง และคุณอภิสิทธิ์วางแผนจะคุยอะไรก็ต้องให้ชัดเจนกับกัมพูชาว่าวันนี้ไม่ได้ คุยเฉพาะกับคุณอภิสิทธิ์นะ คุยพร้อมกับรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ที่กำลังจะเข้ามา กัมพูชาเขาจะได้สบายใจว่าแถลงการณ์ฝ่ายเดียวที่เราจะทำออกไปมันมีความต่อ เนื่องแน่นอน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็กลับเข้าไปสู่กระบวนการทางการทูต เราไม่สามารถประกันอะไรทุกอย่างได้หรอกว่ามันจะต้องเป็นไปตามที่เราต้องการ แต่ถ้ามีความไว้เนื้อเชื่อใจกันในระดับผู้ปฏิบัติงาน เช่น ท่านทูตกับท่านทูตคุยกัน ยิ่งถ้าคุณยิ่งลักษณ์ส่งสัญญาณบอกฮุน เซน ว่าจริงนะที่คุณอภิสิทธิ์บอกว่าเวลาที่คุยเรื่องนี้ได้มีการหารือร่วมกันมา ก่อน ขอให้ท่านสบายใจได้ว่าเมื่อแถลงออกไปแล้วแต่ละฝ่ายจะดำเนินการต่อไปดังที่ คุณอภิสิทธิ์ได้แถลงไว้ ”

“เราอย่าลืมนะครับว่าสิ่งที่ กัมพูชาเขาต้องการอะไร ก็คือเม็ดเงินทางเศรษฐกิจ การเอาพื้นที่รอบตัวปราสาทมาทำให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ  และเขาพยายามจะไปศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งออกมาก่อนที่ยูเนสโกจะมีมติที่กรุง ปารีส แต่บังเอิญศาลใช้เวลานานกว่าที่ทุกฝ่ายคาดไว้ พอมันเป็นอย่างนี้ อนุมัติว่ามีความพยายามจะซ่อมแซมตัวปราสาทอะไรก็แล้วแต่ บัดนี้มันก็เป็นโอกาสที่ทั้งสองฝ่ายจะมาคุยกันว่า ในเมื่อศาลสั่งและมันทำให้เราอึดอัดว่ามีบริเวณเขตปลอดทหาร เรามาร่วมมือกันดีไหม ในเมื่อตอนนี้เงื่อนงำที่มันไปงัดกันไว้ ที่ไทยบอกว่าคุณต้องถอนทหารออกไปถึงจะเอาผู้สังเกตการณ์อาเซียนออกมาได้ กัมพูชาบอกว่าเราจะไม่ถอนทหารคุณต้องเอาผู้สังเกตการณ์มาก่อน บัดนี้เมื่อมีคำสั่งศาลออกมาพร้อมๆ กันแล้วมันก็คลี่คลายไปพร้อมๆ กันถูกไหม ครับ สิ่งที่เคยงัดกันมาสุดท้ายมันก็ต้องทำ เพราะว่าศาลได้สั่งมาแล้ว ฉะนั้นมันง่ายกว่าไหมถ้าเราจะบอกว่าแทนที่จะปล่อยให้ศาลค้ำหัวเรา ถอนคดีออกมา แล้วมาคุยกันเลยว่าเราจะมาบริหารพื้นที่รอบๆ กันอย่างไร วงเล็บว่าเขตแดนจะเป็นของใครเก็บไว้คุยกันทีหลัง เราเอานักท่องเที่ยวเข้ามาก่อน  เราเอาประชาชนให้อยู่ดีกินดีก่อน แล้วถึงเวลานั้นมันก็ยังคุยกันได้”



วีรพัฒน์ ย้ำว่าคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวไม่ได้มีนัยเรื่องเขตแดน 

“ศาล ย้ำอย่างชัดเจนในคำสั่งว่าคำสั่งชั่วคราวเป็นไปเพื่อทำให้ไม่เกิดการปะทะทาง การทหารเท่านั้น และการที่ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวศาลย้ำหลายจุดเลย อย่างน้อยก็ 3-4 จุด ในคำสั่งบอกว่าศาลจะไม่ก้าวล่วงเข้าไปวินิจฉัยสิ่งที่กัมพูชาขอให้ศาลตีความ ว่าเขตแดนต้องเป็นไปตามแผนที่หรือไม่ เขตแดนบริเวณรอบๆ ตัวปราสาทกว้างแคบแค่ไหน ศาลจะไม่ได้เข้าไปแตะในเวลานี้ เพราะเป็นเรื่องที่ต้องตีความในปีหน้า เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็ขอให้ชัดเจนว่าสิ่งที่ศาลสั่งเป็นเรื่องชั่วคราว และอย่างที่บอกว่า เมื่อเป็นคำสั่งชั่วคราวย่อมถูกเปลี่ยน แปลงแก้ไขได้ตลอดเวลาหากมีความจำเป็น สมมติกัมพูชาและเอาผู้เชี่ยวชาญแต่ละฝ่ายมาคุยกันแล้วว่าถ้าขืนเราถอนอย่าง นี้วุ่นวายแน่ เพราะพื้นที่มันกว้างมาก ก็อาจจะทำข้อตกลงหรือข้อสรุปร่วมกันไปขอศาลว่าศาลครับลดลงมาหน่อยได้ไหม ถ้าจะเป็นและเหมาะสมศาลอาจจะลดก็ได้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล”

หากทั้งสองประเทศยังยึกยักไม่ทำตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว 

“มัน ก็จะเกิดความตึงเครียดอยู่ในบริเวณที่ทหารก็ต้องเห็นหน้ากัน  แต่หลังจากศาลมีคำสั่งมาแล้วข่าววันนี้เสนอว่าในบริเวณชายแดนอื่นมีการชักธง ชาติทั้งสองประเทศขึ้นพร้อมกัน ผมก็ไม่แน่ใจว่าเพราะเขาถือฤกษ์ว่าศาลมีคำสั่งออกมาแล้วหรือเปล่า แต่พอนักท่องเที่ยว ชาวบ้านเห็นว่ามีการชักธงชาติทั้งไทย-กัมพูชาขึ้นพร้อมกัน มันก็เป็นนิมิตหมายอันดีว่าถึงแม้ไม่ถอนทหาร แต่เราก็รู้ว่าบัดนี้ศาลมีคำสั่งมาแล้วมันก็น่าจะเป็นไปได้ทันทีที่รัฐบาล ใหม่เข้าก็น่าจะทำให้ความตึงเครียดมันดีขึ้น รัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์คุณยังเป็นรัฐบาลของคนไทยอยู่นะครับ คุณไม่ได้เป็นรัฐบาลเกียร์ว่าง คุณยังมีหน้าที่ต่อประชาชนชาวไทยที่ต้องรับผิดชอบว่าทำอย่างไรให้การสูญเสีย ให้การปะทะกันมันเกิดขึ้นได้น้อยที่สุด ซึ่งก็ต้องทำตามที่ศาลบอก ก็คือเอาทหารออกไป อยู่ใกล้กันเดี๋ยวก็ได้ฮึ่มๆ ใส่กันอีก เอาผู้สังเกตการณ์อาเซียนเข้ามาให้เร็วที่สุด เวลาที่เถียงกันว่าคุณเตรียมจะยิงเรา ก็ถามอาเซียนว่าตกลงอาเซียนอยู่ในพื้นที่คุณเห็นว่าใครทำอะไร ใครกำลังพูดปด ใครกำลังพูดจริง และหากคุณยิ่งลักษณ์ฉลาดต้องออกมาพูดวันนี้เลยว่าท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ท่านยังเป็นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยอยู่ ดิฉันยังไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีดิฉันเคารพ แต่หากมีเรื่องอันใดที่ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์อยากให้ดิฉันหรือสมาชิกพรรคเพื่อไทยช่วยเหลือในเรื่องความร่วมมือ กับกัมพูชา พร้อมที่จะช่วยเหลือเต็มที่ ไม่มีกฎหมายห้ามไว้ว่าใครอยากจะช่วยงานรัฐบาลก็เข้าไปช่วยได้ และในวันเลือกตั้งกัมพูชาเขาก็แสดงความดีใจทั้งฮุน เซน, ฮอร์ นัมฮง ก็บอกว่าเขาเตรียมพร้อมจะเจรจาแล้ว ฉะนั้นคุณยิ่งลักษณ์กับคุณอภิสิทธิ์ก็ควรจะต้องทำงานพร้อมกันตั้งแต่วันนี้ ไปเลย โดยที่ต้องชัดเจนว่าคุณอภิสิทธิ์ยังเป็นนายกฯ ของเราอยู่ แต่ว่าอะไรที่ทำไปขอให้เอาคุณยิ่งลักษณ์กับทีมความมั่นคง เข้ามาคุยกันในห้องประชุม เวลาสื่อสารไปหาฮุน เซน คุณยิ่งลักษณ์จะได้โทรศัพท์ไปบอกได้ว่าดิฉันเห็นด้วยกับท่านนายกฯ อภิสิทธิ์พูดทุกอย่าง เพราะฉะนั้นถ้าอยากจะถอนทหารตอนนี้ถอนได้เลย เมื่อสภาเปิดเมื่อไหร่ โปรดเกล้าฯ ครม.เมื่อไหร่ จะดำเนินการตามสิ่งที่มีการแถลงการณ์ไปแล้ว อันนี้เป็นโอกาสที่ดีมากที่คุณยิ่งลักษณ์จะพิสูจน์ฝีมือนับตั้งแต่ยังไม่ได้ เป็นนายกฯ เลย แต่ต้องพิสูจน์ในแง่ที่ว่าดิฉันยังเคารพนายกฯ อภิสิทธิ์ แต่พร้อมจะช่วยสนับสนุน”

“ผมเชียร์เรื่องแถลงการณ์ฝ่ายเดียว เต็มที่เลย เพราะมันแสดงให้เห็นถึงวุฒิภาวะความเป็นผู้นำของไทย และยิ่งถ้าไทย-กัมพูชาทำออกมาในงานเดียวกัน โดยมีประธานอาเซียนอยู่ด้วย มันคือความภูมิใจของอาเซียนนะครับ ประชาคมอาเซียนที่เราบอกว่าจะตั้งในปี 2015 ได้พิสูจน์ฝีมือ เพราะศาลก็มั่นใจว่าอาเซียนจะทำได้ ดังนั้นอาเซียนดำเนินเกมเต็มที่ และไทยก็ต้องเดินเกมรุกเจรจาไปล็อบบี้กับสมาชิกอาเซียนว่าหากคุณจะเข้ามา เจรจาส่งผู้สังเกตการณ์เข้ามาคุณต้องไม่เข้ามาในลักษณะยุ่มย่ามหรือละเมิด ดินแดนไทยจนเกินไป ต้องเข้ามาในลักษณะแขกของบ้านเราซึ่งเราต้อนรับอย่างดี และกัมพูชาก็ควรจะทำในลักษณะเดียวกัน เป็นการแสดงภาวะผู้นำของแต่ละประเทศที่จะร่วมมือกันและเอาสันติภาพกลับคืน มา”

“เมื่อผู้สังเกตการณ์อาเซียนเข้ามา ทหารออกไป ผมเชื่อว่าสถานการณ์ก็จะคลี่คลายดีขึ้น สุดท้ายถ้าทำอย่างนั้นได้ถามว่าใครชนะ คุณอภิสิทธิ์ก็จะมีผลงานฝากทิ้งไว้ คุณยิ่งลักษณ์ก็ได้เครดิต ยังไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรีก็สามารถทำประโยชน์ให้ประเทศชาติได้ อาเซียนก็ได้พิสูจน์ฝีมือ ภาพที่ผู้นำทั้งสองประเทศ คุณอภิสิทธิ์ คุณฮุน เซน ยืนบนโพเดียมจับมือกันและมีท่านเลขาธิการอาเซียนซึ่งเป็นคนไทยยืนอยู่ด้วย ถ่ายรูปและแถลงการณ์พร้อมกัน มันจะเป็นภาพประวัติศาสตร์ อย่างน้อยคุณอภิสิทธิ์มีผลงานฝากเอาไว้ให้ประธิปัตย์ได้บอกได้ว่าวันนี้ที่ กัมพูชายอมถอนออกไปเพราะเรามีนโยบายการเจรจาที่สุขุมนุ่มลึก เอาคุณยิ่งลักษณ์เข้ามาช่วย ผมเชื่อว่าคุณยิ่งลักษณ์พร้อมที่จะช่วย”

ควรจะเป็นผลงานของนายกฯ อภิสิทธิ์ฝากไว้ก่อนลงจากตำแหน่ง 

“ถ้า หากกลัวว่าจะเข้า 190 ก็ไม่ต้องทำเป็นหนังสือสัญญา ทำเป็นแถลงการณ์ฝ่ายเดียวจะถอนเมื่อไหร่ก็ได้ ทำได้เลยประกาศว่าผมเป็นนายกรัฐมนตรีของทุกคนอย่างที่คุณอภิสิทธิ์เคยพูด อยู่ตลอดเงลา ผมทำเพื่อพี่น้องประชาชนทุกคน และเมื่อตอนนี้สันติภาพเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งคุณอภิสิทธิ์มีโอกาสที่จะทำก็ทำไปเลย อย่าไปมองว่าตัวเองกำลังจะเป็นฝ่ายค้าน คุณอภิสิทธิ์ยังเป็นนายกฯ ของเราอยู่ เรายังมีสิทธิ์ขอให้คุณทำงานให้พวกเราอยู่”

ในแง่กฎหมายรัฐบาลคุณอภิสิทธิ์น่าจะรู้ว่าไม่เข้ามาตรา 181, 190 แต่เป็นห่วงเรื่องทางการเมืองมากกว่า เดี๋ยวพันธมิตรโจมตีว่าขายชาติ  

“มัน ก็ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ทางการเมือง ถ้าผมเป็นคุณอภิสิทธิ์ ผมต้องคุยกับคุณยิ่งลักษณ์ให้ชัดเจน ว่าคุณต้องช่วยผมด้วยนะเวลาผมไปแถลงการณ์ฝ่ายเดียวมาขณะที่เป็นรัฐบาล รักษาการ จุดยืนของพรรคเพื่อไทยและคุณยิ่งลักษณ์ต้องชัดเจนว่าพร้อมที่สานต่อกระบวน การสันติภาพเหล่านี้ คุณยิ่งลักษณ์ต้องรับไม้ต่อสิ่งที่คุณอภิสิทธิ์ทำไว้ เพื่อความสงบของชาวบ้านชายแดน ซึ่งเราเห็นชัดว่าฐานเสียงเพื่อไทยซึ่งเป็นคนเสื้อแดงและเขาบอกว่าเอาความ เป็นอยู่ที่ดีของชาวบ้านตาดำๆ กลับมาดีกว่า ทำไมจะต้องให้คนที่เคยไปมาหาสู่กันไปต้องลำบาก ไปดูผลเลือกตั้งศรีสะเกษจะรู้ว่าพี่น้องประชาชนตรงนั้นเขาต้องการอะไร ส.ส.ที่ได้รับเลือกตั้งมาแม้วันนี้สภายังไม่เปิดแต่คุณมีหน้าที่แล้ว ถ้ามันมีการดำเนินการอย่างนี้ทุกคนก็จะแฮปปี้ ทุกคนจะรู้สึกว่ารัฐบาลคุณอภิสิทธิ์ รัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ ถึงแม้ตอนเลือกตั้งก็แข่งกัน แต่เวลาเขาทำเพื่อชาติเขาก็ทำร่วมกันได้ ถ้าทำไม่ได้ทำไม่ทันจริงๆ ก็ต้องคุยกับคุณยิ่งลักษณ์ให้ชัดเจนว่าวันนี้เราจะส่งสัญญาณไปทางกัมพูชา อย่างไร”

ถามถึงบทบาทกองทัพ เพราะแม้จะต้องรับนโยบายจากรัฐบาล แต่มุมมองด้านมั่นคงของกองทัพอาจจะต้องปรับให้สอดคล้องกับกระบวนการสันติภาพ 

“ผม ก็ต้องบอกตรงๆ ว่าเวลาพูดถึงกองทัพเราจะบอกว่ามีกองทัพที่อ่อนเอียงตามรัฐบาลทั้งหมด และไม่เคยแสดงความฮึกเหิมเข้มแข็ง ผมก็คงไม่ค่อยดีใจเท่าไหร่ ฉะนั้นผมก็ภูมิใจที่เรามี ผบ.ทบ.อย่างคุณประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่ท่านก็มีความเข้มแข็ง พูดไว้ชัดเจนว่าถ้าคุณรุกเข้ามาคุณบุกเข้ามาเราต้องโต้ตอบ อันนี้ก็เป็นบทบาทของกองทัพ แต่ผมฟังท่านสัมภาษณ์วันก่อนก็บอกว่า บัดนี้ศาลสั่งเขตปลอดทหารชั่วคราวออกมาแล้ว กองทัพก็ยังฟังอยู่ว่ากระทรงกลาโหม นายกรัฐมนตรีจะสั่งการอย่างไร ซึ่งอันนี้เป็นสัญญาณที่ถูกต้อง แล้ว และถ้าเราไปฟังคำสั่งท่านประยุทธ์ชัดๆ ท่านไม่ได้โต้แย้งต่อศาลนะ ท่านบอกว่าคำสั่งของศาลเป็นเรื่องของเขตปลอดทหารชั่วคราว จึงไม่ใช่เขตแดนที่จะมาเปลี่ยนแปลงอะไร เราก็ยังยึดอธิปไตยตามที่เรายึดเพียงแต่ว่าเราถอนทหารออกไปก่อนเพื่อเลี่ยง การปะทะกัน  ผมดีใจที่ท่านประยุทธ์พูดในลักษณะนั้น และยิ่งดีใจเมื่อท่านส่งสัญญาณว่าท่านเป็นทหารที่ตอบสนองประชาชน โดยที่ท่านตอบสนองผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง ฉะนั้นถ้าคุณอภิสิทธิ์คุณยิ่งลักษณ์จะร่วมมือกันทำอะไรผมก็หวังว่ากองทัพ ต้องรู้บทบาทของตัวเอง คือพร้อมที่จะปกป้องประเทศไทยแต่ถ้ามีโอกาสที่สันติภาพเกิดขึ้นโดยการตกลง ผ่านการแถลงการณ์แต่ละฝ่ายให้ถอนออกไปพร้อมกัน เอาอาเซียนเข้ามาพร้อมกัน กองทัพก็ต้องมีความชัดเจนว่าต้องมีบทบาทในการสร้างสันติภาพไม่น้อยไปกว่า บทบาทในการปกป้องความมั่นคงของประเทศชาติ”

จากนี้จนถึงปีหน้ามองว่าเปอร์เซ็นต์ที่ศาลโลกจะรับตีความในคดีหลักมากน้อยแค่ไหน 


“ผม 50:50 เลยเพราะว่าแนวโน้มในวันนี้เราก็เห็นมาแล้ว ศาลบอกว่ามีความเป็นไปได้ในเบื้องต้นที่จะตีความได้ และเอกฉันท์ด้วยนะครับ เพราะว่าข้อแรกที่บอกว่าไม่จำหน่ายคดีออกไปแปลว่าผู้พิพากษาทุกท่านเห็นว่า มันมีมูลเบื้องต้นเห็นว่าตีความได้ แต่ว่าตีความเรื่องอะไรนี่สำคัญ เพราะถ้าบอกว่าตีความเรื่องแผนที่ภาคผนวก 1 มันมีความผูกพันมีผลทางกฎหมายหรือเปล่า ผมค่อนข้างจะมองไปในแง่ที่ว่าไทยอาจจะชนะในประเด็นนี้ คือศาลไม่น่าจะตีความเรื่องเส้นแผนที่ แต่เราก็อย่าลืมว่ามีผู้พิพากษาบางท่าน ชื่อ Joan Donoghue ผู้พิพากษาชาวสหรัฐ ท่านพูดไว้ชัดเจนเลยว่าการจะกลับมาตีความเรื่องอะไรท่านใช้คำว่า Long but Narrow ก็คือตีความย้อนกลับไปได้นาน แต่เวลาเข้าไปตีความ ต้องตีความอย่างแคบๆ"

"ฉะนั้นคุณจะมาตีความสะเปะสะปะตะแบงไป ในทางที่กัมพูชาต้องการมันทำไม่ได้ แต่มันต้องตีกรอบให้ชัด คำว่าตีกรอบให้ชัดก็คือศาลบอกชัดเจนในคำพิพากษาเมื่อ 2505 ว่าศาลไม่ได้เข้าไปวินิจฉัยผลทางกฎหมายของเส้นแผนที่ เส้นแผนที่ผูกพันหรือไม่ศาลไม่ได้ยกขึ้นมาพูด ฉะนั้นถ้าพูดไปตามแนวของท่าน Donoghue หรือตามแนวของท่าน Cot ก็ย่อมต้องไม่พูดเรื่องนี้ ซึ่งเป็นเรื่องดี เพราะถ้าเกิดพูดแล้วมันมีผลขึ้นมามันทั้งยวงเลยนะ เพราะเส้นแผนที่มันยาวตลอดแนว”

“ส่วนเรื่องเขตรอบๆ ตัวปราสาทว่ากว้างไกลแค่ไหน ผมก็อยากจะตั้งข้อสังเกตว่า คำว่าเขตรอบๆ ตัวปราสาทภาษาอังกฤษใช้คำว่า vicinity แต่ขณะเดียวกันก็มีการใช้คำว่า area of the temple แต่ถ้าเราไปอ่านคำสั่งย่อหน้าที่ 61 ศาลใช้คำว่าศาลจะกำหนดเขตปลอดทหารซึ่งเรียกว่า the zone around the area of the temple แปลว่ากำหนดเขตปลอดทหารที่อยู่รอบๆ ตัวปราสาท มันแปลว่าอะไร แปลว่าบริเวณ 17-18 ตร.กม.มันกว้างกว่าเขตของตัวปราสาท ดังนั้นเขตตัวปราสาทก็ต้องเล็กว่าแผนที่สี่เหลี่ยมคางหมูที่เราเห็น ดังนั้นเราก็สบายใจอย่างหนึ่งแล้วว่าสิ่งที่ศาลกำลังพูดในวันนี้ มันต้องไม่ไกลไปถึงภูมะเขือ อันนี้ก็เป็นจุดหนึ่งเราสบายใจได้เปลาะหนึ่งแล้วว่าหากศาลเข้าไปตีความว่า โดยรอบๆ แล้วคืออะไรบ้าง ก็ไม่ควรจะกว้างขนาดที่เราเห็นในสี่เหลี่ยมคางหมูนี้ ฉะนั้นอย่าไปตกใจ เพราะศาลพูดไว้ชัดเจนว่ามันเป็น zone ที่อยู่รอบ area ของตัวปราสาทอีกทีหนึ่ง ก็ชัดเจนว่า area ปราสาทต้องเล็กกว่าสิ่งที่เราเห็นเป็นกรอบสี่เหลี่ยมคางหมูในวันนี้ หากศาลรับตีความเฉพาะเรื่องรอบตัวปราสาทก็น่าจะเข้าข้างไปในทางเรา ก็คือไม่น่าจะกินอาณาบริเวณไปกว้าง”



ทางออกที่ดีที่สุดคือมีความหวังว่าทั้งสองประเทศจะมีข้อตกลงก่อนที่ศาลจะพิจารณาว่ารับหรือไม่รับตีความคดีหลัก

“เพราะ ถ้ากัมพูชาเขาอ่านเกมว่าสุดท้ายศาลไม่รับตีความมันก็ไม่ดีสำหรับเขา เพราะเขาอ้างมาตลอดว่าคำพิพากษาทำให้เส้นแผนที่ภาคผนวก 1 แผนที่ 1:200000 มีผลผูกพัน แต่ถ้าศาลบอกว่าศาลไม่รับตีความกัมพูชาก็เสียเปรียบ ฉะนั้นเขาก็มองเกมว่ามันอาจจะเป็นอย่างนั้นได้ ก็สู้ถอนคดีออกมาก่อนแล้วมาเจรจากันดีกว่า เพราะเจรจามันยังกำหนดกติกาเองได้ เช่นบอกว่าวันนี้เขตแดนเป็นอย่างไรเก็บไว้ก่อนนะ แต่ขอให้พ่อค้าแม่ค้ามาทำมาหากิน เอานักท่องเที่ยวฝรั่งเข้ามา มันก็ดีกับทั้งสองฝ่าย รัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์เข้ามาและสามารถพิสูจน์ฝีมือให้คนไทยเห็นได้ก็จะถูกจด จำเลยว่าคุณทำได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผมขอเน้นว่าภาคประชาชนก็ดี กลุ่มเคลื่อนไหวทั้งพันธมิตรหรือเสื้อแดงก็ดี ต้องอย่าไปเชื่อเขาหมดนะว่าเวลาเขาไปเซ็นเอ็มโอยูอะไร ต้องตามนะครับว่าคุณไปแลกเปลี่ยนผลประโยชน์อะไรหรือเปล่า แน่นอนเราคงไม่สามารถไปบอกได้ว่าคุณสร้างสันติภาพได้ เพราะคุณเอาน้ำมันในอ่าวไทยไปแลก เราพูดอย่างนั้นมันคงน่าเกลียดไปเขาอาจจะเจรจากันดีๆ ก็ได้ แต่อย่างน้อยเราก็ต้องไปติดตาม ทั้งสื่อมวลชน ภาคประชาชน”

หลังจากไทยถอนตัวจากภาคีมรดกโลกความร่วมมือน่าจะยิ่งยากขึ้น 

“เรื่องมรดก โลกนี่นะครับต้องให้ชัดเจนว่า ณ วันนี้ยังไม่ได้ถอนตัวนะครับ การประกาศก็ยังไม่ได้เริ่มนับ 12 เดือนนะครับ เรายังไม่ได้ส่งเอกสารอย่างเป็นทางการ หรือส่งไปแล้วรัฐบาลก็ไม่ได้บอกประชาชน ผมมองว่ามันเป็นความพยายามช่วงก่อนเลือกตั้ง ถ้าท่านบอกว่าการถอนตัวมันเป็นสิ่งที่ดีสำหรับประเทศแล้วทำไมท่านไม่ส่ง เอกสารไปล่ะ ทำไมท่านพูดลอยๆ แล้วปล่อยให้นายกรัฐมนตรีคนต่อไปเป็นคนตัดสิน ถ้าเขาบอกไม่ถอนฉะนั้นสิ่งที่ท่านพร่ำพูดกับประชาชนว่ามันดีอย่างนั้นอย่าง นี้ก็ไม่เกิดขึ้นใช่ไหมครับ”

กระนั้นก็ตาม นักกฎหมายฮาร์วาร์ดผู้นี้เชื่อมั่นว่าปัญหาไทย-กัมพูชา มีโอกาสเดินหน้าไปสู่สันติภาพ 


“ผม เชื่อว่าปัญหามันจบลงได้ เพราะหนึ่งกัมพูชาไม่ได้มีโยบายแข็งกร้าวที่จะเข้ามายึดแผ่นดินไทย เขาต้องการความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ต้องการเม็ดเงินจากนักท่องเที่ยว ซึ่งเขาย่อมต้องการเพื่อนบ้านที่พร้อมจะช่วยเหลือเขา ที่ผ่านมาไทยเป็นผู้สนับสนุนเม็ดเงินเข้าไปทำโครงการนั่นโครงการนี่ให้เขา กัมพูชาก็ต้องพึ่งไทย ไทยเองก็ต้องพึ่งกัมพูชา เพราะว่าจะให้สถานการณ์การเมืองถูกเอา มาบี้รัฐบาลตลอดเวลา กรุงเทพฯ ก็ทำอะไรไม่ได้ ฉะนั้นต่างฝ่ายต่างมีความจำเป็นที่ต้องร่วมมือกัน เพียงแต่ว่าช่วงที่ผ่านมาเป็นช่วงที่มีเงื่อนไขมางัดกัน แต่วันนี้ศาลสั่งมาแล้ว และทั้งสองฝ่ายรู้ตัวว่าคนใดคนหนึ่งก็ต้องทำ ดังนั้นเพื่อไม่ให้เสียหน้าก็ทำไปพร้อมๆ กัน แถลงการณ์ฝ่ายเดียวไปพร้อมๆ กัน มันก็ได้ทั้งสองฝ่าย”

“ประเทศที่เขาอยากจะ มาลงทุนเขาก็มองดูอยู่ เพราะอย่าลืมว่าตอนนี้เกิดอะไรขึ้นกับโลกใบนี้ เศรษฐกิจขาลงที่ยุโรป กรีซ อิตาลี จะล่มแหล่ไม่ล่มแหล่ อเมริกาก็หนี้สินทะลุ เงินทุกอย่างย้ายมาที่จีนย้ายมาที่เวียดนาม ถ้าไทยและกัมพูชาทำให้สถานการณ์สงบได้ ศัยกภาพโครงสร้างขั้นพื้นฐานของไทยแข็งอยู่แล้ว เราเคยเป็นอดีตว่าที่เสือในเอเชียมา เม็ดเงินที่จะหนีจากวิกฤติยูโรโซน ที่อเมริกาก็จะไหลมา   ผมเชื่อว่าปัญหาจะจบลงได้ และสัญญาณที่ฮุน เซน, ฮอร์ นัมฮง ส่งออกมาวันแรกที่รู้ว่าคุณยิ่งลักษณ์จะเข้ามามันเป็นสัญญาณที่ดี ฉะนั้นก็ต้องฝากไว้ว่าคุณยิ่งลักษณ์ ก็อย่าทำให้ประชาชนไทยผิดหวัง ถ้าคุณเอาสัญญาณที่ดีเหล่านี้ไปเพื่อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์และเขาจับคุณได้ คุณก็จะจบตั้งแต่ปีแรกๆ เลย แต่ถ้าเกิดออกมาชัดเจนว่าดิฉันโปร่งใส ทำเพื่อประชาชนคนไทย และรับไม้ต่อจากนายกฯ อภิสิทธิ์ ก็จะพิสูจน์ตัวเองได้ว่าใครจะมาหาว่าคุณเป็นหุ่นเชิดของพี่ชาย ผมเชื่อว่าคุณยิ่งลักษณ์จะเป็นผู้นำที่โดดเด่นและถูกจด จำได้อีกนาน แต่ถ้าไปทำตัวเหมือนนักการเมืองอดีต ไปหวังเอาน้ำบ่อน้อยมันก็จะจบอยู่ตรงนั้น เอาละ ป.ป.ช., ส.ส., ส.ว. ก็ต้องตรวจสอบกันไปตามกระบวนการทางการเมือง แต่ผมคิดว่าคุณ ยิ่งลักษณ์คงไม่อยากให้ลูกตัวเองโตขึ้นมาแล้วอ่านข่าวว่าแม่ตัวเองโกงหรอก ถ้าผมเป็นพ่อเป็นแม่ผมอยากให้ลูกภูมิใจในตัวผม ดังนั้นก็ขอให้คุณยิ่งลักษณ์มองไปให้ไกลๆ

---
ขอ เชิญร่วมฟังการอภิปราย “กรณีปราสาทพระวิหารจะลงเอยอย่างไร?” วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม 2554 เวลา 13.30-17.00 น. ณ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
http://www.lawchulaalumni.com/

บทวิเคราะห์คำสั่งศาลโลกทางรายการโทรทัศน์ ชม คลิป vdo ย้อนหลังได้ที่
https://sites.google.com/site/verapat/temple/video

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง