รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รับเจราจา
"พระวิหาร"ยังไม่มีข้อยุติ ยันจะยังคงเสนอเจรจา 2 ฝ่าย
พร้อมเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งที่ 36
นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กล่าวภายหลังการเดินทางกลับจากการประชุมเจรจาปัญหามรดกโลก
ระหว่างคณะผู้แทนไทยและกัมพูชา ที่ประเทศฝรั่งเศส โดยยอมรับว่า
การประชุมทั้ง 3 วันที่ผ่านมา
ยังไม่มีข้อยุติตามที่ไทยต้องการให้เลื่อนการพิจารณาจัดการแผนปราสาทเขาพระ
วิหาร ครั้งที่ 35 ที่ประเทศฝรั่งเศส ระหว่างวันที่ 19 - 29 มิ.ย.นี้
แม้กระบวนการเจรจาของทั้ง 2 ฝ่าย ที่ผ่านมา มีความพยายามกันอย่างมาก
และทางผู้อำนวยการใหญ่องค์การยูเนสโกเอง ก็อยากให้ยุติปัญหา
อย่าง
ไรก็ตาม นายสุวิทย์ กล่าวว่า
ขั้นตอนจากนี้จะต้องมีการประชุมเจรจากันอีกครั้ง ก่อนที่การประชุมครั้งที่
35 จะเกิดขึ้น รวมถึงการพิจารณาเรื่องการปักปันเขตแดน
เพื่อให้ปัญหาชายแดนมีข้อยุติ นอกจากนี้กัมพูชาเอง ก็ยังมี 2 - 3 ประเด็น
ที่ต้องการให้แก้ไข ทำให้กระบวนการในการพิจารณายังไม่จบสิ้น
ทั้ง
นี้ นายสุวิทย์ ยืนยันว่า จะยังคงเสนอให้มีการประชุม 2 ฝ่าย
เพื่อนำไปสู่การเลื่อนการประชุม
และยังเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งที่ 36 ในปี 2012 ซึ่งขณะนี้
มีอีก 2 ประเทศ ที่ร้องขอ คือ รัสเซีย กัมพูชา ด้วย
วันเสาร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
“ไพศาล” แย้งกระทรวงการต่างประเทศ การไปยอมรับอำนาจศาลคือการขายชาติ
นายไพศาล พืชมงคล อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ได้เผยกับสื่อมวลชนเมื่อเช้าวันนี้
แย้งความเห็นของรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศว่าการไปขึ้นศาลโลกคือกระบวนการ
ขายชาติ ที่ตระเตรียมกันมาไว้อย่างดี
นายไพศาล พืชมงคล กล่าวว่ารองปลัดกระทรวงการต่างประเทศท่านหนึ่งได้เขียนบทความเผยแพร่ชี้แจง เหตุผลว่าต้องไปขึ้นศาลโลกว่า เป็นเรื่องที่เขมรขอตีความและบังคับตามคำตัดสินเดิมของศาลโลก หากไม่ไปขึ้นศาลจะเสียเปรียบว่ามีการปกปิดความจริงและบิดเบือนความจริงหลาย ประการ
นายไพศาล พืชมงคล กล่าวว่าก่อนอื่นจะต้องเข้าใจเรื่องประเด็นพิพาทเดิมก่อน ว่าเขมรฟ้องไทยเรื่องอะไร ซึ่งในเรื่องนี้ไม่พูดถึงกันเลย ในฐานะที่ตนทราบเรื่องนี้ดีและมีเอกสารสำคัญอยู่ในมือ ขอบอกว่าในคดีเดิมนั้นเขมรฟ้องไทยเป็น 2 ตอน คือ
ตอนที่หนึ่ง ยื่นฟ้องไทยเรียกเอาตัวปราสาทพระวิหาร อ้างว่าเป็นของเขมร รัฐบาลไทยยอมรับอำนาจศาลเข้าไปต่อสู้คดี ซึ่งถ้าหากไม่ยอมรับ ศาลโลกก็ไม่สามารถตัดสินให้ผูกพันรัฐบาลไทยได้ นี่คือปฐมบทแห่งความโง่ของรัฐบาลไทยและทำให้กระบวนการขายชาติยุคนั้นเดิน หน้าไปได้
ตอนที่สอง หลังจากยื่นฟ้องและรัฐบาลไทยให้การต่อสู้คดีแล้ว เขมรได้ยื่นคำฟ้องเพิ่มเติมเรียกเอาดินแดนรอบปราสาทพระวิหารว่าเป็นของเขมร ด้วย ในขั้นตอนที่สองนี้รัฐบาลไทยในสมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ลงมติตามความเห็นของพระยาอรรถการีนิพนธ์และนายบุศย์ ขันธวิทย์ อดีตประธานกรรมการสำนักงานกฎหมายธรรมนิติ ให้คัดค้านการขอเพิ่มเติมฟ้อง เป็นผลให้ศาลโลกพิจารณาแล้วมีคำสั่งว่าเมื่อรัฐบาลไทยคัดค้านการเพิ่มเติมคำ ฟ้องในส่วนที่เรียกเอาดินแดน ศาลโลกจึงไม่มีอำนาจพิจารณา จึงยกคำร้อง และเขมรก็ยอมรับคำสั่งศาลตลอดมากว่า 50 ปีแล้ว
ดังนั้นคดีที่ต่อสู้กันในศาลโลกจึงคงเหลือแต่เรื่องตัวปราสาท และธรรมนูญของศาลโลกก็เหมือนกับธรรมนูญศาลทั้งหลายในโลก คือศาลมีอำนาจพิจารณาเฉพาะประเด็นที่พิพาทกันตามคำฟ้อง คำให้การเท่านั้น ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษานอกเหนือไปจากประเด็นที่พิพาทกัน นั่นคือศาลโลกไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในเรื่องดินแดนซึ่งรัฐบาลไทยไม่ยอม รับมาตั้งแต่ต้น ประเด็นนี้รัฐบาลไทยและกระทรวงการต่างประเทศทำเป็นโง่งมงายประหนึ่งไม่รู้ ไม่เห็นประหนึ่งว่าไม่มีเรื่องนี้เกิดขึ้น ดังนั้นคำตัดสินของศาลโลกที่เคย ตัดสินมาจึงตัดสินเฉพาะเรื่องของตัวปราสาทว่าอยู่ในอำนาจอธิปไตยของเขมร เพราะศาลโลกไม่มีอำนาจตัดสินเกี่ยวกับดินแดนและมิได้ตัดสินเกี่ยวกับดินแดน หลังจากศาลโลกตัดสินแล้วรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เห็นว่าพฤติกรรมของศาลโลกเป็นแค่ศาลการเมืองที่อาศัยพวกมากลากไป ไม่ประสาธน์ความยุติธรรมให้แก่ประเทศไทย ป่วยการที่จะเป็นภาคีของศาลแบบนี้ จึงถอนตัวออกจากการเป็นภาคีของศาลโลก นับแต่บัดนั้นประเทศไทยจึงไม่มีความเกี่ยวข้องกับศาลโลกและศาลโลกก็ไม่มี อำนาจที่จะพิจารณาตัดสินคดีใด ๆ ให้ผูกพันประเทศไทยได้อีก เว้นแต่ประเทศไทยจะหน้าโง่เสือกเข้าไปยอมรับอำนาจศาลอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งวันนี้ขบวนการขายชาติแกล้งทำเป็นหน้าโง่เข้าไปยอมรับอำนาจศาลอีกแล้ว ไม่สำนึกและตระหนักในสิ่งที่รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ได้ทำไว้ จึงทำให้ประเทศไทยตกอยู่ในความเสี่ยงทำให้เสียดินแดนครั้งมโหฬาร เพราะอย่าคิดว่าเกี่ยวข้องเฉพาะเรื่องเก่า เนื่องจากหากไทยแพ้คดีครั้งนี้ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นให้เขมรฟ้องเรียกดินแดน ตาม MOU 2543 คือ 4.6 ตารางกิโลเมตรรอบพระวิหาร 1.8 ล้านไร่ ตลอดแนวชายแดน 7 จังหวัดและอ่าวไทย 1 ใน 3 จำนวน 27 ล้านตารางกิโลเมตรต่อไปอีก
นายไพศาล พืชมงคล กล่าวว่าเขมรจะไปขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาไม่ได้อีกแล้ว เพราะเวลาล่วงเลยมานานกว่า 50 ปี และได้ยอมรับปฏิบัติกันมาจนเป็นปกติแล้ว จะไปอธิบายขยายความไม่ได้ นอกจากนั้นศาลโลกก็ไม่มีอำนาจพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องดินแดน ซึ่งในคดีเดิมนั้นไม่มีประเด็นพิพาทมาตั้งแต่ต้น จะมาตัดสินเพิ่มเติมหรือตัดสินขยายความเพิ่มเติมจากเดิมไม่ได้ เพราะคำอธิบายคำพิพากษาต้องไม่เกินคำตัดสินเดิม และไปแตะต้องเรื่องดินแดนไม่ได้
นายไพศาล พืชมงคล กล่าวว่ารองปลัดกระทรวงการต่างประเทศท่านหนึ่งได้เขียนบทความเผยแพร่ชี้แจง เหตุผลว่าต้องไปขึ้นศาลโลกว่า เป็นเรื่องที่เขมรขอตีความและบังคับตามคำตัดสินเดิมของศาลโลก หากไม่ไปขึ้นศาลจะเสียเปรียบว่ามีการปกปิดความจริงและบิดเบือนความจริงหลาย ประการ
นายไพศาล พืชมงคล กล่าวว่าก่อนอื่นจะต้องเข้าใจเรื่องประเด็นพิพาทเดิมก่อน ว่าเขมรฟ้องไทยเรื่องอะไร ซึ่งในเรื่องนี้ไม่พูดถึงกันเลย ในฐานะที่ตนทราบเรื่องนี้ดีและมีเอกสารสำคัญอยู่ในมือ ขอบอกว่าในคดีเดิมนั้นเขมรฟ้องไทยเป็น 2 ตอน คือ
ตอนที่หนึ่ง ยื่นฟ้องไทยเรียกเอาตัวปราสาทพระวิหาร อ้างว่าเป็นของเขมร รัฐบาลไทยยอมรับอำนาจศาลเข้าไปต่อสู้คดี ซึ่งถ้าหากไม่ยอมรับ ศาลโลกก็ไม่สามารถตัดสินให้ผูกพันรัฐบาลไทยได้ นี่คือปฐมบทแห่งความโง่ของรัฐบาลไทยและทำให้กระบวนการขายชาติยุคนั้นเดิน หน้าไปได้
ตอนที่สอง หลังจากยื่นฟ้องและรัฐบาลไทยให้การต่อสู้คดีแล้ว เขมรได้ยื่นคำฟ้องเพิ่มเติมเรียกเอาดินแดนรอบปราสาทพระวิหารว่าเป็นของเขมร ด้วย ในขั้นตอนที่สองนี้รัฐบาลไทยในสมัยจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ลงมติตามความเห็นของพระยาอรรถการีนิพนธ์และนายบุศย์ ขันธวิทย์ อดีตประธานกรรมการสำนักงานกฎหมายธรรมนิติ ให้คัดค้านการขอเพิ่มเติมฟ้อง เป็นผลให้ศาลโลกพิจารณาแล้วมีคำสั่งว่าเมื่อรัฐบาลไทยคัดค้านการเพิ่มเติมคำ ฟ้องในส่วนที่เรียกเอาดินแดน ศาลโลกจึงไม่มีอำนาจพิจารณา จึงยกคำร้อง และเขมรก็ยอมรับคำสั่งศาลตลอดมากว่า 50 ปีแล้ว
ดังนั้นคดีที่ต่อสู้กันในศาลโลกจึงคงเหลือแต่เรื่องตัวปราสาท และธรรมนูญของศาลโลกก็เหมือนกับธรรมนูญศาลทั้งหลายในโลก คือศาลมีอำนาจพิจารณาเฉพาะประเด็นที่พิพาทกันตามคำฟ้อง คำให้การเท่านั้น ไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษานอกเหนือไปจากประเด็นที่พิพาทกัน นั่นคือศาลโลกไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในเรื่องดินแดนซึ่งรัฐบาลไทยไม่ยอม รับมาตั้งแต่ต้น ประเด็นนี้รัฐบาลไทยและกระทรวงการต่างประเทศทำเป็นโง่งมงายประหนึ่งไม่รู้ ไม่เห็นประหนึ่งว่าไม่มีเรื่องนี้เกิดขึ้น ดังนั้นคำตัดสินของศาลโลกที่เคย ตัดสินมาจึงตัดสินเฉพาะเรื่องของตัวปราสาทว่าอยู่ในอำนาจอธิปไตยของเขมร เพราะศาลโลกไม่มีอำนาจตัดสินเกี่ยวกับดินแดนและมิได้ตัดสินเกี่ยวกับดินแดน หลังจากศาลโลกตัดสินแล้วรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เห็นว่าพฤติกรรมของศาลโลกเป็นแค่ศาลการเมืองที่อาศัยพวกมากลากไป ไม่ประสาธน์ความยุติธรรมให้แก่ประเทศไทย ป่วยการที่จะเป็นภาคีของศาลแบบนี้ จึงถอนตัวออกจากการเป็นภาคีของศาลโลก นับแต่บัดนั้นประเทศไทยจึงไม่มีความเกี่ยวข้องกับศาลโลกและศาลโลกก็ไม่มี อำนาจที่จะพิจารณาตัดสินคดีใด ๆ ให้ผูกพันประเทศไทยได้อีก เว้นแต่ประเทศไทยจะหน้าโง่เสือกเข้าไปยอมรับอำนาจศาลอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งวันนี้ขบวนการขายชาติแกล้งทำเป็นหน้าโง่เข้าไปยอมรับอำนาจศาลอีกแล้ว ไม่สำนึกและตระหนักในสิ่งที่รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ได้ทำไว้ จึงทำให้ประเทศไทยตกอยู่ในความเสี่ยงทำให้เสียดินแดนครั้งมโหฬาร เพราะอย่าคิดว่าเกี่ยวข้องเฉพาะเรื่องเก่า เนื่องจากหากไทยแพ้คดีครั้งนี้ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นให้เขมรฟ้องเรียกดินแดน ตาม MOU 2543 คือ 4.6 ตารางกิโลเมตรรอบพระวิหาร 1.8 ล้านไร่ ตลอดแนวชายแดน 7 จังหวัดและอ่าวไทย 1 ใน 3 จำนวน 27 ล้านตารางกิโลเมตรต่อไปอีก
นายไพศาล พืชมงคล กล่าวว่าเขมรจะไปขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาไม่ได้อีกแล้ว เพราะเวลาล่วงเลยมานานกว่า 50 ปี และได้ยอมรับปฏิบัติกันมาจนเป็นปกติแล้ว จะไปอธิบายขยายความไม่ได้ นอกจากนั้นศาลโลกก็ไม่มีอำนาจพิจารณาเกี่ยวกับเรื่องดินแดน ซึ่งในคดีเดิมนั้นไม่มีประเด็นพิพาทมาตั้งแต่ต้น จะมาตัดสินเพิ่มเติมหรือตัดสินขยายความเพิ่มเติมจากเดิมไม่ได้ เพราะคำอธิบายคำพิพากษาต้องไม่เกินคำตัดสินเดิม และไปแตะต้องเรื่องดินแดนไม่ได้
พื้นที่ขัดแย้งไทย-เขมร
พื้นที่ขัดแย้งไทย-เขมร
สังเกตุดูวันเดือนปี ที่จัดสรรเขตสัมปทานกันให้ดีนะขอรับ ประเทศไทยนั้นเมื่อปี พ.ศ.2511?(1968) เขมร2540?(1997) และถึงแม้มันจะดูทับซ้อนกันหมด ทั้ง 1.พื้นที่ๆต่างคนต่างอ้าง รวมไปถึง 2. บ.พลังงาน ที่ได้รับสัมปทานไปแล้วทั้ง 2 ฝ่าย ทว่าวันนี้ปริศนาได้ถูกไขแล้ว เมื่อพบว่า บ.พลังงานทั้งหมด มีพ่อคนเดียวกันที่ชื่อ Standard Oil of USA ครับผม ส่วนBP มาขุดถ่านชนิดพิเศษ(ที่ทำได้เจ้าเดียว)ให้กับขาใหญ่เขา โดย: ดร.ไก่ Tanond
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)