บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประชุม GBC ไทย-เขมรเห็นชอบถอนทหาร ออกแถลงการณ์ร่วม ๑๒ ข้อ


พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา และ พล.อ.เตีย บัญ ก่อนการประชุม GBC ที่พนมเปญ ๒๑ ธ.ค. ๕๔ 

ฟิฟทีนมูฟ — สื่อเขมรรายงาน การประชุม GBC เมื่อช่วงเช้า ระดับรัฐมนตรีที่กรุงพนมเปญ รมต.กลาโหมไทย-เขมร ยืนยันจะปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวศาลโลก ในการถอนทหารและรับผู้สังเกตการณ์ลงพื้นที่ พร้อมออกแถลงการณ์ร่วมกัน ๑๒ ข้อ ระบุการประชุม ระดับ รมต.ล่าช้ากว่ากำหนด ปิดห้องคุยยืดเยื้อ ท้ายที่สุดแถลงข่าวร่วม ระบุเห็นชอบในการปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวศาลโลก ยังไม่กำหนดเวลาแน่ชัด ฝ่ายไทยขอนำเข้าที่ ครม. และ รัฐสภา
ซีอีเอ็นรายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย-กัมพูชา หรือ GBC ครั้งที่ ๘ ระดับรัฐมนตรี ซึ่งฝ่ายกัมพูชา นำโดย พล.อ.เตีย บัญ รัฐมนตรีกลาโหมกัมพูชา และฝ่ายไทย นำโดย พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เมื่อช่วงเช้า (๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๔) ที่โรงแรมโซฟิเทล พนมเปญ สองฝ่ายได้ยืนยันจุดยืนที่จะปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวของศาลยุติธรรม ระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ อย่างเต็มที่และโดยเร็ว ในการถอนทหารออกจากชายแดนด้านปราสาทพระวิหาร และได้เห็นชอบร่วมกันเสนอให้มีการจัดตั้งและส่งผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย เข้าไปยังพื้นที่โดยด่วน นอกจากนี้ สองฝ่ายยังเห็นชอบที่จะปรับกำลังทหารที่ประจำการปัจจุบันในเขตปลอดทหารออก พร้อมกัน

หลังการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย-กัมพูชา ได้ออกแถลงการณ์ร่วม ๑๒ ประเด็น ดังนี้
๑. การประชุมครั้งที่ ๘ ของคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ระหว่างพระราชอาณาจักรกัมพูชา และพระราชอาณาจักรไทย ได้จัดขึ้นในวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ ที่กรุงพนมเปญ พระราชอาณาจักรกัมพูชา การประชุมนี้ นำโดย ประธานร่วม พล.อ.เตีย บัญ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหม ในพระราชอาณาจักรกัมพูชา และ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในพระราชอาณาจักรไทย การประชุมดำเนินด้วยบรรยากาศมิตรภาพและอบอุ่น ที่ส่องสะท้อนให้เห็นจากความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างประเทศใกล้เคียงทั้ง สอง
๒.สองฝ่ายได้แสดงอีกครั้งถึงความเชื่อมั่นต่อกัน เพื่อผลักดันให้มีสันติภาพและความปลอดภัยตามแนวชายแดนระหว่างประเทศทั้งสอง และประสงค์จะแก้ปัญหาพรมแดนโดยสันติวิธีภายใต้มิตรภาพ สองฝ่ายรับทราบว่า ความสัมพันธ์ฉันมิตร เป็นประเทศข้างเคียงที่ดี และความร่วมมืออย่างเต็มที่ มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม
๓ สองฝ่ายได้เห็นชอบสนับสนุนความพยายามของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) ต่อปัญหาเขตแดน สองฝ่ายยืนยันอีกครั้งว่า ปัญหาทั้งหมดนี้ไม่ควรกระทบต่อความสัมพันธ์ที่ดี และความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งสองอีก
๔. สองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันที่จะดำเนินการร่วมกันในกรอบคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (GBC) เพื่อยกระดับความมั่นคงทางทะเล และเพื่อสกัดกั้นกิจกรรมละเมิดกฎหมายต่าง ๆ ตามพื้นที่ชายแดน
๕. การประชุมได้เห็นชอบว่า เพื่อเสริมสร้างความไว้วางใจและเคารพซึ่งกันและกัน เกี่ยวข้องถึงการรายงานข่าว สองฝ่ายจะเสนอข่าวเฉพาะข้อเท็จจริงและเป็นเชิงบวก เพื่อให้มีความเข้าใจและไว้ใจกัน เป็นประเทศข้างเคียงที่ดี
๖. สองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันที่จะเสริมความร่วมมือในการสกัดกั้นและการปราบปราม กิจกรรมผิดกฎหมายตามแนวชายแดน ประกอบด้วย การลักลอบขนยาเสพติด การค้าวัตถุโบราณ โจรกรรมยานยนต์ การตัดไม้ผิดกฎหมาย การตัดทำลายป่าไม้ และการข้ามแดนโดยผิดกฎหมาย
๗. ให้ความสำคัญกับศูนย์ทำลายทุ่นระเบิดและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในประเทศ ทั้งสอง ในการกำหนดพื้นที่สำคัญตามแนวชายแดนสำหรับการดำเนินการเก็บกู้ระเบิด ภายใต้กรอบของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC)
๘. สองฝ่าย ได้ยืนยันความจำเป็นให้มีความร่วมมือในด้านสุขภาพสาธารณะตามแนวชายแดน เพื่อยกระดับความเป็นอยู่และความสุขสบายของประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะจัดมาตรการตรวจสอบและสกัดกั้นโรคต่าง ๆ เช่น ไข้หวัดนกและโรคเอดส์
๙. สองฝ่ายเห็นชอบเสริมความร่วมมือในด้านการอบรม ศาสนา การท่องเที่ยว และวัฒนธรรม โดยความร่วมมือในด้านดังกล่าวทั้งหมดนี้ มีความสำคัญในการยกระดับความสัมพันธ์ เช่นเดียวกับการเพิ่มพูนความเคารพและไว้วางใจกัน
๑๐. ฝ่ายไทยจะเป็นเจ้าภาพในการประชุมครั้งที่ ๙ ของคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ที่พระราชอาณาจักรไทยใน พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยช่วงเวลาในการประชุมจะกำหนดภายหลังผ่านช่องทางการทูต
๑๑. (ข้อเสนอของฝ่ายกัมพูชา) สองฝ่าย ได้ยืนยันอีกครั้งที่จะปฏิบัติอย่างเต็มที่และเร่งด่วน ตามมาตรการของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ออกเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ​(กัมพูชา แย้งต่อไทย​) และได้เห็นชอบร่วมกันเสนอให้มีการจัดตั้งและส่งผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย ให้ได้โดยเร็ว หลังลงนามในบันทึกข้อตกลงของการประชุมครั้งที่ ๘ ของคณะกรรมการชายแดนทั่วไป สองฝ่าย เห็นชอบร่วมกันด้วยที่จะปรับกำลังทั้งหมดออกจากที่ตั้งประจำการปัจจุบันใน พื้นที่ปลอดทหารชั่วคราว พร้อมกันโดยโปร่งใสภายใต้การตรวจสอบของอินโดนีเซีย
๑๒. (ข้อเสนอฝ่ายไทย) สองฝ่ายได้เห็นชอบร่วมกันที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับการ ดำเนินการเก็บกู้ทุ่นระเบิด เช่น ที่ตั้งยุทธภัณฑ์ระเบิดที่ยังไม่ระเบิด (UXO) เพื่อรับประกันความปลอดภัยในพื้นที่ของจุด A B C D
ซีอีเอ็นรายงานเพิ่มเติมล่าสุด เมื่อ ๑๕.๐๖ น. การประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ที่นำโดย พล.อ.เตีย บัญ และ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ที่โรงแรมโซฟิเทล พนมเปญ ล่าช้ากว่ากำหนด ซึ่งตามกำหนดเดิม การประชุม GBC ครั้งที่ ๘ เริ่มเวลา ๙.๓๐ น. – ๑๐.๐๐ น. โดยกองเลขานุการฯ ฝ่ายไทย รายงานผลการประชุมของกองเลขานุการคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย-กัมพูชา ที่ได้ประชุมกันมาเป็นเวลา ๒ วัน ระหว่างวันที่ ๑๙ – ๒๐ ธันวาคม ต่อคณะกรรมการชายแดนทั่วไปฯ เวลา ๑๐.๑๕ น. – ๑๑.๐๐ น. เป็นการหารือระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชาและไทย จากนั้น ตั้งแต่ ๑๑.๑๕ น. – ๑๒.๐๐ น. เป็นพิธีเปิดการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ การประชุม และพิธีปิด จากนั้นจะมีการถ่ายรูปและแถลงข่าวร่วมกัน แต่จนถึงเวลา ๑๕.๐๐ น. การประชุม GBC แบบปิดห้อง​หารือระหว่างรัฐมนตรีกลาโหมสองประเทศยังไม่เสร็จสิ้น
แหล่งข่าวระบุว่า ฝ่ายไทยและกัมพูชากำหนดหารือใน ๕ ข้อหลัก แนวทางการปฏิบัติตามมาตรการชั่วศาลของศาลโลก ประกอบด้วย ๑. การปรับกำลังทหารของสองฝ่าย ที่ประจำการในพื้นที่เขตปลอดทหารกว่า ๑๗  ตร.กม. ๒. รายละเอียดในการเข้าปฏิบัติงานของผู้สังเกตการณ์ประเทศอินโดนีเซีย ในฝั่งไทยและกัมพูชา ฝ่ายละ ๙ คน ๓. จุดตรวจร่วม ๓ จุด ประกอบด้วย ประตูเหล็กข้ามห้วยตานี ช่องบันไดหัก และวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ ๔.การจัดระเบียบวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ ตลาด และชุมชนรอบปราสาทพระวิหาร และ ๕. การออกหลักเกณฑ์ในการเข้า- ออกพื้นที่ปราสาทพระวิหารของเจ้าหน้าที่ยูเนสโก
ซีอีเอ็นรายงานเพิ่มเติมว่า จนถึงเวลา ๑๗.๒๑ น. การประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย-กัมพูชา ยังไม่ได้ข้อยุติ การประชุมเป็นไปอย่างตึงเครียด มีการโต้แย้งกันระหว่างกองเลขานุการของสองฝ่าย ในการผลักดันออกแถลงการณ์ร่วม และแนวทางการปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวของศาลโลก
เมื่อเวลา ๑๘.๕๐ น. ศูนย์ข่าวต้นมะขามรายงานว่า การประชุม GBC ได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่รายละเอียดการถอนทหารยังไม่มีความชัดเจน
ซีอีเอ็นรายงานเมื่อ ๑๘.๕๕ น. ระบุว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทยและกัมพูชา เห็นชอบร่วมกันในการปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ในการถอนทหารออกจากพื้นที่ปราสาทพระวิหาร หากแต่ยังไม่สามารถกำหนดวันชัดเจนได้ เนื่องจากฝ่ายไทยต้องนำเรื่องไปแถลงต่อคณะรัฐมนตรี และรัฐสภาก่อน
หลังจากการประชุมแบบปิดห้องหารือสิ้นสุดลง พล.อ.เตีย บัญ รัฐมนตรีกลาโหมกัมพูชาได้แถลงข่าว เมื่อเวลาประมาณ ๑๘.๐๐ น. ว่า สองฝ่ายเห็นพ้องกันที่จะปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวฯ อย่างเต็มที่และโดยเร็ว ในเรื่องการถอนทหาร และเห็นชอบร่วมกันเสนอให้มีการจัดตั้งและส่งผู้สังเกตการณ์อินโดเซียเข้า ประจำในพื้นที่โดยเร็ว สองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันที่จะปรับกำลังทั้งหมดพร้อมกัน ออกจากที่ประจำการปัจจุบันในพื้นที่ปลอดทหาร ตามมาตรการชั่วคราว
พล.อ.เตีย บัญ กล่าวต่อว่า “เราก็ได้เห็นชอบกัน ให้ตั้งคณะทำงานร่วม เพื่อตรวจสอบการปรับกำลังทหาร และตรวจสอบการหยุดยิง ที่พื้นที่ปลอดทหาร” ส่วนในเรื่องวันที่แน่ชัดในการถอนทหารนั้น  พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา กล่าวระหว่างแถลงข่าวร่วมว่า ต่อความเห็นชอบนี้ กระทรวงกลาโหมไทย จะเอาไปแถลงต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา เพื่อให้ความเห็นชอบ แต่นเดือนนี้ยังไม่สามารถดำเนินการได้ แต่ฝ่ายไทยจะดำเนินการโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้
สื่อกัมพูชารายงานว่า ผลการประชุมฯ คณะกรรมการได้ออกแถลงการณ์ร่วม ซึ่งมี ๑๒ ประเด็นดังที่ได้เสนอข้างต้น

ประชุม GBC ไทย-เขมรเห็นชอบถอนทหาร ออกแถลงการณ์ร่วม ๑๒ ข้อ

การแถลงข่าวร่วมเมื่อช่วงค่ำของ พล.อ.เตีย บัญ และ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ภายหลังการประชุม GBC สิ้นสุดลง 

ฟิฟทีนมูฟ — สื่อเขมรรายงาน การประชุม GBC เมื่อช่วงเช้า ระดับรัฐมนตรีที่กรุงพนมเปญ รมต.กลาโหมไทย-เขมร ยืนยันจะปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวศาลโลก ในการถอนทหารและรับผู้สังเกตการณ์ลงพื้นที่ พร้อมออกแถลงการณ์ร่วมกัน ๑๒ ข้อ ระบุการประชุม ระดับ รมต.ล่าช้ากว่ากำหนด ปิดห้องคุยยืดเยื้อ ท้ายที่สุดแถลงข่าวร่วม ระบุเห็นชอบในการปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวศาลโลก ยังไม่กำหนดเวลาแน่ชัด ฝ่ายไทยขอนำเข้าที่ ครม. และ รัฐสภา
ซีอีเอ็นรายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย-กัมพูชา หรือ GBC ครั้งที่ ๘ ระดับรัฐมนตรี ซึ่งฝ่ายกัมพูชา นำโดย พล.อ.เตีย บัญ รัฐมนตรีกลาโหมกัมพูชา และฝ่ายไทย นำโดย พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เมื่อช่วงเช้า (๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๔) ที่โรงแรมโซฟิเทล พนมเปญ สองฝ่ายได้ยืนยันจุดยืนที่จะปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวของศาลยุติธรรม ระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ อย่างเต็มที่และโดยเร็ว ในการถอนทหารออกจากชายแดนด้านปราสาทพระวิหาร และได้เห็นชอบร่วมกันเสนอให้มีการจัดตั้งและส่งผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย เข้าไปยังพื้นที่โดยด่วน นอกจากนี้ สองฝ่ายยังเห็นชอบที่จะปรับกำลังทหารที่ประจำการปัจจุบันในเขตปลอดทหารออก พร้อมกัน

บรรยากาศการพบปะก่อนเริ่มการประชุม GBC ระหว่าง พล.อ.เตีย บัญ และ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ที่โรงแรมโซฟิเทล พนมเปญ ช่วงเช้าวันที่ ๒๑ ธ.ค.๒๕๕๔ บรรยากาศการพบปะก่อนเริ่มการประชุม GBC ระหว่าง พล.อ.เตีย บัญ และ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ที่โรงแรมโซฟิเทล พนมเปญ ช่วงเช้าวันที่ ๒๑ ธ.ค.๒๕๕๔
บรรยากาศ การพบปะก่อนเริ่มการประชุม GBC ระหว่าง พล.อ.เตีย บัญ และ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ที่โรงแรมโซฟิเทล พนมเปญ ช่วงเช้าวันที่ ๒๑ ธ.ค.๒๕๕๔
หลังการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย-กัมพูชา ได้ออกแถลงการณ์ร่วม ๑๒ ประเด็น ดังนี้
๑. การประชุมครั้งที่ ๘ ของคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ระหว่างพระราชอาณาจักรกัมพูชา และพระราชอาณาจักรไทย ได้จัดขึ้นในวันที่ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๕๔ ที่กรุงพนมเปญ พระราชอาณาจักรกัมพูชา การประชุมนี้ นำโดย ประธานร่วม พล.อ.เตีย บัญ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหม ในพระราชอาณาจักรกัมพูชา และ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในพระราชอาณาจักรไทย การประชุมดำเนินด้วยบรรยากาศมิตรภาพและอบอุ่น ที่ส่องสะท้อนให้เห็นจากความสัมพันธ์อันใกล้ชิดระหว่างประเทศใกล้เคียงทั้ง สอง
๒.สองฝ่ายได้แสดงอีกครั้งถึงความเชื่อมั่นต่อกัน เพื่อผลักดันให้มีสันติภาพและความปลอดภัยตามแนวชายแดนระหว่างประเทศทั้งสอง และประสงค์จะแก้ปัญหาพรมแดนโดยสันติวิธีภายใต้มิตรภาพ สองฝ่ายรับทราบว่า ความสัมพันธ์ฉันมิตร เป็นประเทศข้างเคียงที่ดี และความร่วมมืออย่างเต็มที่ มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม
๓ สองฝ่ายได้เห็นชอบสนับสนุนความพยายามของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) ต่อปัญหาเขตแดน สองฝ่ายยืนยันอีกครั้งว่า ปัญหาทั้งหมดนี้ไม่ควรกระทบต่อความสัมพันธ์ที่ดี และความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งสองอีก
๔. สองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันที่จะดำเนินการร่วมกันในกรอบคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (GBC) เพื่อยกระดับความมั่นคงทางทะเล และเพื่อสกัดกั้นกิจกรรมละเมิดกฎหมายต่าง ๆ ตามพื้นที่ชายแดน
๕. การประชุมได้เห็นชอบว่า เพื่อเสริมสร้างความไว้วางใจและเคารพซึ่งกันและกัน เกี่ยวข้องถึงการรายงานข่าว สองฝ่ายจะเสนอข่าวเฉพาะข้อเท็จจริงและเป็นเชิงบวก เพื่อให้มีความเข้าใจและไว้ใจกัน เป็นประเทศข้างเคียงที่ดี
๖. สองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันที่จะเสริมความร่วมมือในการสกัดกั้นและการปราบปราม กิจกรรมผิดกฎหมายตามแนวชายแดน ประกอบด้วย การลักลอบขนยาเสพติด การค้าวัตถุโบราณ โจรกรรมยานยนต์ การตัดไม้ผิดกฎหมาย การตัดทำลายป่าไม้ และการข้ามแดนโดยผิดกฎหมาย
๗. ให้ความสำคัญกับศูนย์ทำลายทุ่นระเบิดและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในประเทศ ทั้งสอง ในการกำหนดพื้นที่สำคัญตามแนวชายแดนสำหรับการดำเนินการเก็บกู้ระเบิด ภายใต้กรอบของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC)
๘. สองฝ่าย ได้ยืนยันความจำเป็นให้มีความร่วมมือในด้านสุขภาพสาธารณะตามแนวชายแดน เพื่อยกระดับความเป็นอยู่และความสุขสบายของประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะจัดมาตรการตรวจสอบและสกัดกั้นโรคต่าง ๆ เช่น ไข้หวัดนกและโรคเอดส์
๙. สองฝ่ายเห็นชอบเสริมความร่วมมือในด้านการอบรม ศาสนา การท่องเที่ยว และวัฒนธรรม โดยความร่วมมือในด้านดังกล่าวทั้งหมดนี้ มีความสำคัญในการยกระดับความสัมพันธ์ เช่นเดียวกับการเพิ่มพูนความเคารพและไว้วางใจกัน
๑๐. ฝ่ายไทยจะเป็นเจ้าภาพในการประชุมครั้งที่ ๙ ของคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ที่พระราชอาณาจักรไทยใน พ.ศ. ๒๕๕๕ โดยช่วงเวลาในการประชุมจะกำหนดภายหลังผ่านช่องทางการทูต
๑๑. (ข้อเสนอของฝ่ายกัมพูชา) สองฝ่าย ได้ยืนยันอีกครั้งที่จะปฏิบัติอย่างเต็มที่และเร่งด่วน ตามมาตรการของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ออกเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ​(กัมพูชา แย้งต่อไทย​) และได้เห็นชอบร่วมกันเสนอให้มีการจัดตั้งและส่งผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย ให้ได้โดยเร็ว หลังลงนามในบันทึกข้อตกลงของการประชุมครั้งที่ ๘ ของคณะกรรมการชายแดนทั่วไป สองฝ่าย เห็นชอบร่วมกันด้วยที่จะปรับกำลังทั้งหมดออกจากที่ตั้งประจำการปัจจุบันใน พื้นที่ปลอดทหารชั่วคราว พร้อมกันโดยโปร่งใสภายใต้การตรวจสอบของอินโดนีเซีย
๑๒. (ข้อเสนอฝ่ายไทย) สองฝ่ายได้เห็นชอบร่วมกันที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับการ ดำเนินการเก็บกู้ทุ่นระเบิด เช่น ที่ตั้งยุทธภัณฑ์ระเบิดที่ยังไม่ระเบิด (UXO) เพื่อรับประกันความปลอดภัยในพื้นที่ของจุด A B C D
ซีอีเอ็นรายงานเพิ่มเติมล่าสุด เมื่อ ๑๕.๐๖ น. การประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ที่นำโดย พล.อ.เตีย บัญ และ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ที่โรงแรมโซฟิเทล พนมเปญ ล่าช้ากว่ากำหนด ซึ่งตามกำหนดเดิม การประชุม GBC ครั้งที่ ๘ เริ่มเวลา ๙.๓๐ น. – ๑๐.๐๐ น. โดยกองเลขานุการฯ ฝ่ายไทย รายงานผลการประชุมของกองเลขานุการคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย-กัมพูชา ที่ได้ประชุมกันมาเป็นเวลา ๒ วัน ระหว่างวันที่ ๑๙ – ๒๐ ธันวาคม ต่อคณะกรรมการชายแดนทั่วไปฯ เวลา ๑๐.๑๕ น. – ๑๑.๐๐ น. เป็นการหารือระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชาและไทย จากนั้น ตั้งแต่ ๑๑.๑๕ น. – ๑๒.๐๐ น. เป็นพิธีเปิดการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ การประชุม และพิธีปิด จากนั้นจะมีการถ่ายรูปและแถลงข่าวร่วมกัน แต่จนถึงเวลา ๑๕.๐๐ น. การประชุม GBC แบบปิดห้อง​หารือระหว่างรัฐมนตรีกลาโหมสองประเทศยังไม่เสร็จสิ้น
แหล่งข่าวระบุว่า ฝ่ายไทยและกัมพูชากำหนดหารือใน ๕ ข้อหลัก แนวทางการปฏิบัติตามมาตรการชั่วศาลของศาลโลก ประกอบด้วย ๑. การปรับกำลังทหารของสองฝ่าย ที่ประจำการในพื้นที่เขตปลอดทหารกว่า ๑๗ ตร.กม. ๒. รายละเอียดในการเข้าปฏิบัติงานของผู้สังเกตการณ์ประเทศอินโดนีเซีย ในฝั่งไทยและกัมพูชา ฝ่ายละ ๙ คน ๓. จุดตรวจร่วม ๓ จุด ประกอบด้วย ประตูเหล็กข้ามห้วยตานี ช่องบันไดหัก และวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ ๔.การจัดระเบียบวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ ตลาด และชุมชนรอบปราสาทพระวิหาร และ ๕. การออกหลักเกณฑ์ในการเข้า- ออกพื้นที่ปราสาทพระวิหารของเจ้าหน้าที่ยูเนสโก
ซีอีเอ็นรายงานเพิ่มเติมว่า จนถึงเวลา ๑๗.๒๑ น. การประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย-กัมพูชา ยังไม่ได้ข้อยุติ การประชุมเป็นไปอย่างตึงเครียด มีการโต้แย้งกันระหว่างกองเลขานุการของสองฝ่าย ในการผลักดันออกแถลงการณ์ร่วม และแนวทางการปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวของศาลโลก
เมื่อเวลา ๑๘.๕๐ น. ศูนย์ข่าวต้นมะขามรายงานว่า การประชุม GBC ได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่รายละเอียดการถอนทหารยังไม่มีความชัดเจน
แผนที่เขตปลอดทหารตามมาตรการชั่วคราว มีเนื้อที่กว่า ๑๗ ตร.กม. กำหนดโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เมื่อ ๑๘ ก.ค. ๒๕๕๔
แผนที่เขตปลอดทหารตามมาตรการชั่วคราว มีเนื้อที่กว่า ๑๗ ตร.กม. กำหนดโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เมื่อ ๑๘ ก.ค. ๒๕๕๔
ซีอีเอ็นรายงานเมื่อ ๑๘.๕๕ น. ระบุว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมไทยและกัมพูชา เห็นชอบร่วมกันในการปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ในการถอนทหารออกจากพื้นที่ปราสาทพระวิหาร หากแต่ยังไม่สามารถกำหนดวันชัดเจนได้ เนื่องจากฝ่ายไทยต้องนำเรื่องไปผ่านคณะรัฐมนตรีและส่งเรื่องเข้ารัฐสภา
หลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป พล.อ.เตีย บัญ และ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ได้แถลงข่าวร่วมกัน โดยรัฐมนตรีกลาโหมกัมพูชา ระบุว่า “ปัญหาสำคัญ ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบปฏิบัติตามมาตรการของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๕๔ เกี่ยวกับมาตรการชั่วคราว ให้มีความโปร่งใส เสมอภาค และแน่นอน พร้อมทั้งให้ตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อหารือปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรการ ของศาลฯ ในพื้นที่ปลอดทหาร ประกอบด้วย ๑. ต้องปรับกำลังทหารทั้งหมดพร้อมกัน ที่อยู่ในที่ตั้งปลอดทหารโดยเร็วที่สุด ด้วยความโปร่งใส ภายใต้การตรวจสอบร่วม ที่มีผู้สังเกตการณ์กัมพูชา ไทย และอินโดนีเซีย ๒. ร่วมกันกำหนดและตรวจสอบที่ตั้งตรวจการณ์ในเขตปลอดทหาร ๓. การประสานงานปลอดการป้องกันในพื้นที่เขตปลอดทหาร และ ๔. ปัญหาเกี่ยวข้องอื่น ๆ”
สำหรับวันที่แน่ชัดในการถอนทหารนั้น พล.อ. ยุทธศักดิ์ ศศิประภา กล่าวระหว่างแถลงร่วมว่า เราได้เห็นชอบว่าจะปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวให้ได้ โดยเร็ว ในการถอนทหารและรับผู้สังเกตการณ์ หากแต่ในการปรับกำลังทหารเราต้องปรับไปตามกฎหมายของประเทศไทย ข้อตกลงนี้ กระทรวงกลาโหมของไทยจะนำไปผ่านคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา เพื่อให้ความเห็นชอบโดยเร็วที่สุด
ผลการประชุม คณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย-กัมพูชา ได้ออกแถลงการณ์ร่วมหนึ่งฉบับ มี ๑๒ ประเด็น รายละเอียดดังเสนอข้างต้น
 

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง