บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ขมรเผยสรุปข้อตกลงรมต.สามฝ่าย ๙ พ.ค. พร้อม ๖ มาตรการ

ขมรเผยสรุปข้อตกลงรมต.สามฝ่าย ๙ พ.ค. พร้อม ๖ มาตรการ
ฟิฟทีนมูฟ – กระทรวงต่างประเทศเขมรเผยแพร่เอกสารสรุปข้อตกลงจากการประชุม รมต. ต่างประเทศอาเซียน ๓ ฝ่าย ที่จาการ์ตา อินโดนีเซีย เมื่อวันที่ ๙ พ.ค. ที่ผ่านมา แจงชุดทางออก ๖ มาตรการ ที่ผูกโยง TOR การส่งผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียเข้ากับการประชุม GBC/JBC ไทย-เขมร พร้อมกรอบเวลา สอดคล้องกับคำให้สัมภาษณ์จากกรุงจาการ์ตา ของนายฮอ นำฮง รัฐมนตรีต่างประเทศ เมื่อวันที่ ๙ พ.ค.  ที่ผ่านมา
หห9mayAgreedKH-thumb
หนังสือสรุปข้อตกลงจากการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศสามผ่าย ที่กระทรวงการต่างประเทศฯ กัมพูชาเผยแพร่เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔
ฟิฟทีนมูฟแปลเรียบเรียงเอกสาร “สรุปข้อตกลง” ของกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา ดังต่อไปนี้

——————————————————-
สรุปข้อตกลง
การประชุมของรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศ ราชอาณาจักรกัมพูชา ฯพณฯ ฮอ นำฮง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ราชอาณาจักรไทย ฯพณฯ กษิต ภิรมย์ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ฯพณฯ อาร์.เอ็ม. มาร์ตี เอ็ม. นาตาเลกาวา ที่จาการ์ตา เมื่อ ๙ พฤษภาคม ค.ศ.๒๐๑๑
============================
๑. ภายหลังการประชุมของนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ฯพณฯ สมเด็จ ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย ฯพณฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ฯพณฯ ซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน นั้น รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศ ราชอาณาจักรกัมพูชา ฯพณฯ ฮอ นำฮง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ราชอาณาจักรไทย ฯพณฯ กษิต ภิรมย์ และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ฯพณฯ อาร์.เอ็ม. มาร์ตี เอ็ม. นาตาเลกาวา ประชุม ที่จาการ์ตา เมื่อ ๙ พฤษภาคม ค.ศ.๒๐๑๑
๒. ในการหารือ รัฐมนตรีได้ย้ำยืนยันถึงแถลงการณ์ของประธานอาเซียน จากการประชุมอย่างไม่เป็นทางการของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ค.ศ.๒๐๑๑ และแถลงการณ์ประธานอาเซียนในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ ๑๘ เมื่อวันที่  ๘ พฤษภาคม ค.ศ.๒๐๑๑ ดังต่อไปนี้
“เราเน้นย้ำบรรทัดฐานและหลักการของอาเซียนที่ว่าความแตกต่างระหว่างรัฐสมาชิกอาเซียน ควรแก้ด้วยดีในจิตวิญญาณความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของอาเซียน  ตามหลักการซึ่งบรรจุอยู่ในสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (TAC) และกฎบัตรอาเซียน
เรายินดีในความมุ่งมั่นของประเทศกัมพูชาและประเทศไทย ที่จะแก้ปัญหาความแตกต่างโดยสันติผ่านการสนทนาและเจรจา ด้วยมุมมองเพื่อบรรลุทางออกที่ยอมรับได้ทั้งสองฝ่ายผ่านการนำใช้กลไกทวิภาคีที่มีอยู่อย่างเต็มที่ ด้วยการมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสมของอินโดนีเซีย ประธานอาเซียนปัจจุบัน เกี่ยวกับเรื่องนี้ เราประทับใจว่าประเทศกัมพูชาและประเทศไทย ได้เห็นชอบในเนื้อหาของข้อกำหนด (TOR)  ของคณะผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซีย (IOT) ในพื้นที่ซึ่งได้รับผลกระทบในเหตุการณ์เดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ.๒๐๑๑  และสนับสนุนการบรรลุสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมอบหมายของทั้งสองประเทศ เราแสดงความประทับใจและสนับสนุนความพยายามอย่างต่อเนื่องของอินโดนีเซีย ประธานอาเซียนปัจจุบันด้วยเช่นกัน เพื่ออำนวยความสะดวกต่อกระบวนการผ่านการมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสม (ของอินโดนีเซีย) ซึ่งจะช่วยยกระดับความพยายามร่วมกันให้บรรลุถึงการเป็นประชาคมอาเซียน”
๓. การแสวงหาความข้างต้น และตามภารกิจซึ่งกำหนดโดยผู้นำในการประชุมที่อ้างถึงข้างต้น เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม ค.ศ.๒๐๑๑  รัฐมนตรีต่างประเทศ (ทั้งสาม) เห็นพ้องในชุดทางออก (Package of solutions) พร้อมกรอบเวลา ดังนี้
          • แลกเปลี่ยนหนังสือ IOT TOR
          • ประกาศการประชุม GBC/JBC
                     กรอบเวลา: “D”
          • ส่งทีมสำรวจ IOT
          • ประชุม GBC/JBC
                   กรอบเวลา: “D+5”
         • ส่งทีมผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียเต็มคณะ
         • ติดตามผลการประชุม GBC/JBC
                   กรอบเวลา: “D+10”
๔. รัฐมนตรีต่างประเทศเห็นชอบที่จะเสนอชุดทางออกข้างต้นไปยังรัฐบาลของตนเพื่ออนุมัติโดยเร็ว
——————————————————-
9mayAgreedKH9mayAgreedEN
หนังสือสรุปข้อตกลงจากการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศสามผ่าย ที่กระทรวงการต่างประเทศฯ กัมพูชาเผยแพร่เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔

การเมืองกับมรดกโลกกดดันให้ ฮุน เซน ต้องดิ้น

 












          ภาพ ของตำรวจกัมพูชาถือไม้พองไล่ตีประชาชนชาวเขมรและการใช้รถแทร็คเตอร์เข้ารื้อ ถอนบ้านและที่อยู่อาศัยเพื่อขับไล่ประชาชนชาวเขมรนับแสนคนให้ออกไปจากที่ดิน แปลงใหญ่หลายแห่งที่อยู่รอบกรุงพนมเปญที่รัฐบาลกัมพูชาภายใต้การนำของ ฮุน เซน ได้ให้สัมปทานระยะยาวถึง 99 ปี แก่กลุ่มนักลงทุนจากจีน เกาหลีใต้ และมาเลเซียนั้น ได้กลายเป็นภาพที่ชินตาของชาวเขมรไปแล้วเนื่องจากว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้นบ่อยที่สุดในกัมพูชานับเป็นเวลาเกือบ 10 ปีมาแล้ว

ยิ่ง ไปกว่านั้น การที่รัฐสภากัมพูชาที่ถูกควบคุมอย่างเบ็ดเสร็จโดยพรรคประชาชนกัมพูชาของ ฮุน เซน ได้ผ่านร่างกฎหมายที่ว่าด้วยการอนุญาตให้ชาวต่างชาติมีสิทธิ์เป็นเจ้าของ อาคารชุดได้ในสัดส่วน 49% ของ แต่ละโครงการด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้ประชาชนชาวเขมรต้องถูกไล่ที่มากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยน้ำมือของนัก การเมืองและกลุ่มธุรกิจการเมืองในสังกัดพรรคประชาชนกัมพูชาของ ฮุน เซน นั่นเอง

โดย สำหรับการไล่ที่ในกัมพูชานั้นถือเป็นอำนาจโดยชอบธรรมตามกฎหมายของรัฐบาล ฮุน เซน เนื่อง จากว่าในความเป็นจริงแล้วชาวเขมรส่วนใหญ่ในกรุงพนมเปญนั้นจะไม่มีเอกสาร สิทธิ์อย่างใดๆเลยในที่ดินและที่อยู่อาศัยที่พวกตนครอบครองนับตั้งแต่ปี 1979 เป็นต้นมาแล้ว เพราะในช่วงที่ฝ่ายเขมรแดงครองอำนาจทางการเมืองในกัมพูชาจากปี 1975 ถึงต้นปี 1979 นั้น เขมรแดงไม่เพียงจะกวาดต้อนผู้คนทั้งหมดให้ออกไปจากกรุงพนมเปญเท่านั้น หากแต่ด้วยการบีบบังคับให้ผู้ที่ถูกกวาดต้อนเหล่านั้นต้องทำงานหนักจนล้มตาย ไปเป็นจำนวนมากนั้น ก็ยังหมายถึงการทำให้ตึกรามบ้านช่องต่างๆ ที่อยู่ในกรุงพนมเปญนั้นกลายเป็นทรัพย์สินที่ปราศจากเจ้าของกรรมสิทธิ์ไปโดย ปริยายอีกด้วย

ครั้น เมื่อเวียดนามได้กรีฑาทัพเข้ายึดกรุงพนมเปญและไล่บดขยี้เขมรแดงจนต้องถอยล่น มาประชิดชาย แดนที่ติดต่อกับไทย แล้วก็ติดตามด้วยการสนับสนุนให้เขมรฝ่ายเฮง สัมริน – เจีย ซิม และ ฮุน เซน ขึ้นมามีอำนาจทางการเมืองในกัมพูชาในต้นปี 1979 นั้น จึงทำให้ประชาชนชาวเขมรจำนวนมากต่างก็เข้าจับจองเอาตึกรามบ้านช่องที่ไร้ เจ้าของนั้นมาเป็นของตนเองด้วยเช่นกัน แต่ก็ด้วยการครอบครองโดยที่ไม่มีสิทธิ์อย่างใดๆเลย และเมื่อประกอบกับธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ในกรุงพนมเปญได้ขยายตัวมากขึ้น อย่างต่อเนื่องในตลอดช่วง 1 ทศวรรษ มานี้ จึงทำให้ชาวเขมรที่ไม่มีสิทธิ์เหล่านี้ต้องถูกอำนาจที่ล้นเหลือของ ฮุน เซน นั้นขับไล่ให้ออกไปจากบ้านที่พวกเขาได้อยู่อาศัย มากว่า 30 ปีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เครือข่ายองค์การคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนในกัมพูชา รายงานว่าเฉพาะในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานี้ รัฐ บาลของ ฮุน เซน ได้ไล่ที่ซึ่งเป็นเหตุทำให้ประชาชนชาวเขมรต้องกลายเป็นผู้ไร้ที่อยู่อาศัยแล้วมากกว่า 2 แสนคน แต่ถ้าหากจะนับจากปี 1998 ที่ ฮุน เซน ได้เป็นนายกรัฐมนตรีเพียงหนึ่งเดียว (หลังจากที่ต้องทนเป็นนายกรัฐมนตรีอันดับที่ 2 รองจาก เจ้านโรดม รณฤทธิ์ หัวหน้าพรรคฟุนซินเปกในขณะนั้น นับเป็นเวลากว่า 4 ปี) นั้น ก็ปรากฏว่า ฮุน เซน ได้ทำให้ประชาชนชาวเขมรเกือบ 4 แสนคนต้องกลายเป็นคนไร้ที่อยู่อาศัยไปแล้วอย่างสิ้นเชิง

อย่าง ไรก็ตาม การที่เครือข่ายองค์การคุ้มครองทางด้านสิทธิมนุษยชนได้ออกมาเคลื่อนไหวและ เปิดเผยข้อมูลในลักษณะเช่นว่านี้ต่อสาธารณชนและนานาชาติดังกล่าวนี้ แทนที่ว่าจะเป็นสิ่งกระตุ้นเตือนเพื่อที่ว่าจะทำให้ ฮุน เซน ต้องคิดหาทางแก้ไขและให้การช่วยเหลือแก่ประชาชนชาวเขมรเหล่านี้ แต่กลับกลายเป็นว่าสิ่งที่ ฮุน เซน กำลังทำเป็นอย่างแรกอยู่ในเวลานี้ ก็คือการผลักดันร่างกฎหมายเพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวขององค์กรอิสระเหล่านี้ ในกัมพูชาออกมาบังคับใช้ให้เร็วที่สุด ซึ่งนับเป็นกรณีที่ทำให้ ฮุน เซน ต้องถูกวิพากษ์วิจารณ์ทั้งภายในและต่างประเทศอย่างกว้างขวางในเวลานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐอเมริกานั้นถึงกับขู่ว่าจะตัดความช่วยเหลือที่ให้แก่รัฐบาล ฮุน เซน เลยทีเดียว

เพราะ ฉะนั้น การที่ ฮุน เซน ได้พยายามกระทำในทุกวิถีทางเพื่อผลักดันให้ความขัดแย้งกับไทยอันเกี่ยว เนื่องกับเขตแดนและกรณีปราสาทพระวิหาร (มรดกโลกของ ฮุน เซน) ไปสู่เวทีสากลนั้น จึงไม่ได้หวังเพียงการเข้ามาของมหาอำนาจว่าจะทำให้กัมพูชาเป็นฝ่ายที่ได้เปรียบไทยเหมือนกับในอดีตเมื่อ 49 ปี ก่อน ซึ่งศาลระหว่างประเทศได้ตัดสินให้กัมพูชาได้ครอบครองปราสาทพระวิหารแต่เพียง ฝ่ายเดียวเท่า นั้น หากแต่ ฮุน เซน ยังต้องการที่จะสกัดกั้นการเคลื่อนไหวของฝ่ายค้าน และกลบกระแสเสียงกร่นด่า ของชาวเขมรที่มีต่อการนำของ ฮุน เซน อีกด้วย

แน่ นอนว่าความผิดพลาดของ ฮุน เซน ย่อมมิใช่เพียงเรื่องปัญหาการไล่ที่ประชาชนชาวเขมรเท่านั้นแต่ยังมีอยู่ อย่างมากมายที่ฝ่ายค้านสามารถที่จะหยิบยกขึ้นมาใช้เป็นประเด็นสำคัญเพื่อ บ่อนทำลาย ฮุน เซน ในทางการเมืองได้ อย่างเช่นการที่ให้สถานีโทรทัศน์ “บายน” ของ ฮุน มานา บุตรสาวแสนสวยสุดที่รักของ ฮุน เซน นั้นได้ระดมเงินบริจาคได้มากกว่า 2 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยเหลือเยียวยาครอบครัวชาวเขมรที่เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บจากเหตุ โศกนาฏกรรมในช่วงเทศกาลลอยกระทงปีที่แล้ว แต่ก็ดูเหมือนว่าจะไม่เป็นผลทำให้ภาพลักษณ์ในการเป็นผู้นำของ ฮุน เซน ดีขึ้นแต่อย่างใดเลย

ซึ่ง นั่นก็เป็นเพราะว่า ฮุน เซน ไม่เพียงจะออกมาประกาศปัดความรับผิดชอบในฐานะผู้นำรัฐบาลและยังได้แสดงท่าที ปกป้องพลพรรคของตนที่จะต้องร่วมรับผิดชอบในฐานะคณะผู้ปกครองกรุงพนมเปญเท่า นั้น หากแต่ล่าสุดการปัดความรับผิดชอบเช่นว่านี้ก็ยังได้ลุกลามไปถึงสภาแห่งชาติ กัมพูชาอีกด้วย เมื่อปรากฏว่า เฮง สัมริน ประธานสภาแห่งชาติ ผู้ซึ่งอยู่ใต้ชายคาพรรคประชาชนกัมพูชาของ ฮุน เซน ที่ครองเสียงข้างมากจนสามารถผูกขาดอำนาจในสภาแห่งชาติได้อย่างเบ็ดเสร็จนั้น ได้ปฏิเสธคำร้องของฝ่ายค้าน ที่ขอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อสืบสวน-สอบสวนหาสาเหตุที่ก่อให้เกิดเหตุ โศกนาฏกรรมดังกล่าวขึ้น

อย่าง ไรก็ตาม การปฏิเสธความรับผิดชอบของ ฮุน เซน และพรรคประชาชนกัมพูชาดังกล่าวก็หาได้ทำ ให้เรื่องราวมีอันต้องจบลงไปง่ายๆ แต่อย่างใดไม่ เพราะฝ่ายค้านกล่าวก็คือ พรรคสัม รังสี และพรรคสิทธิมนุษยชนนั้นได้ใช้เป็นโอกาสในการขยายผลไปสู่การบ่อนทำลายทางการ เมืองต่อ ฮุน เซน และพรรคประชาชนกัมพูชา ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ด้วยการประสานความร่วมมือกับองค์กรสิทธิมนุษยชนในกัมพูชาและต่าง ประเทศในการจัดตั้งคณะกรรมการที่เป็นอิสระจากรัฐบาลของ ฮุน เซน ขึ้นมารับผิดชอบในการค้นหาความจริงที่ก่อให้เกิดเหตุโศกนาฏกรรมดังกล่าวแล้ว

การ เดินเกมรุกของฝ่ายค้านทางการเมืองในกัมพูชาดังกล่าวนี้นับได้ว่าเป็นการ เคลื่อนไหวที่ฉลาดมากครั้งหนึ่ง เนื่องจากรู้ว่าการจัดตั้งคณะกรรมการที่เป็นอิสระจากรัฐบาลขึ้นมาเพื่อสืบ ค้นหาความจริงที่ก่อให้เกิดเหตุโศกนาฏกรรมครั้งล่าสุดนี้ ย่อมจะไม่ถูกขัดขวางจากทางฝ่ายรัฐบาลของ ฮุน เซน อย่างแน่นอน เพราะถ้าหากฝ่ายรัฐบาลของ ฮุน เซน จะกระทำเช่นนั้นย่อมจะถูกมองว่ารัฐบาลของ ฮุน เซน นั้นได้พยายามกระทำในทุกวิถีทางเพื่อปกปิดความบกพร่องของฝ่ายตน โดยไม่คำนึงถึงความสูญเสียของครอบครัวผู้ที่เสียชีวิตไปกว่า 350 ศพนั่นเอง

ส่วน กรณีที่เกี่ยวกับปราสาทพระวิหารนั้น ผลที่เกิดจากความผิดพลาดโดยตรงของ ฮุน เซน ก็คือการที่เขาได้ใช้ความสำเร็จจากการเจรจาต่อรองจนทำให้ UNESCO รับรอง ให้ปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกนั้นมารับใช้ผลประโยชน์ทางการเมืองของเขาและ พรรคประชาชนกัมพูชาโดยแท้ ซึ่งนั่นก็คือการที่ได้รับชัยชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่า สุดเมื่อกลางปี 2008 ที่ ผ่านมา ทั้งๆที่ในช่วงก่อนหน้านั้นผลจากการหยั่งเสียงของทุกสำนักต่างได้ผลลัพธ์ เป็นอย่างเดียวกัน นั่นก็คือผู้ที่ชาวเขมรอยากให้เป็นนายกรัฐมนตรีของกัมพูชามากที่สุดในเวลา นั้นคือ สัม รังสี

เพราะว่าการบริหารของรัฐบาล ฮุน เซน ในช่วงปี 2003-2008 นั้น นอกจากจะสร้างปัญหาด้วยการไล่ที่ของประชาชนชาวเขมรตาดำๆหลายแสนคนเพื่อนำเอา ที่ดินไปให้นายทุนสร้างตึกและอาคารชุดแล้ว ยังมีปัญหาที่เกี่ยวกับการกดค่าจ้างและลดค่าล่วงเวลาของแรงงานเพื่อเอาใจนาย ทุนในช่วงที่มีปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจโลก การถูกครหาและสงสัยว่ายินยอมเสียผืนแผ่นดินให้กับฝ่ายเวียดนาม และความล้มเหลวในการปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในวงการรัฐบาลอีกด้วย

แต่ ครั้นเมื่อการเป็นมรดกโลกของปราสาทพระวิหารได้เข้ามาช่วยชีวิต ฮุน เซน และพรรคประชาชนฯไว้เช่นนี้กลับยิ่งทำให้เกิดการเผชิญหน้ากับรัฐบาลไทยมาก ขึ้นถึงขนาดทำให้ไม่ได้ผลประโยชน์อันใดเลยจากการเป็นมรดกโลกของปราสาทพระ วิหารในตลอดช่วงเกือบ 3 ปี มานี้ ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะความผิดพลาดของ ฮุน เซน อีกเช่นเคยเนื่องจาก ฮุน เซน ได้แสดงความอหังการ์ประกาศกร้าวเป็นปฏิปักษ์ทางการเมืองกับ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีของไทย มิหนำซ้ำยังได้แสดงการสนับสนุนฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามกับฝ่ายของ อภิสิทธิ์ อย่างชัดเจนด้วยการแต่งตั้งให้ ทักษิณ ชินวัตร เป็นที่ปรึกษานโยบายด้านเศรษฐกิจของตนเองและรัฐบาลกัมพูชาอีกต่างหาก

ยิ่ง เมื่อต้องตกเป็นเป้าหมายของการที่จะถูกเล่นงานจากทางฝ่ายของ สัม รังสี ที่กำลังจะหวนกลับไปจับมือกับเจ้านโรดม รณฤทธิ์ ที่เพิ่งจะประกาศหวนคืนสู่การเมืองอีกครั้งเมื่อปลายปีที่ผ่านมาด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้ ฮุน เซน ต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบากมากขึ้นไปอีก

ทั้ง นี้ก็เนื่องจากว่าปมเขื่องที่ฝ่ายของ สัม รังสี ได้นำเสนออย่างสดๆร้อนๆในเวลานี้ ก็คือการเสนอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาเขตแดนของกัมพูชากับประเทศ เพื่อนบ้าน (ไม่เฉพาะกับไทยเท่า นั้นแต่ยังรวมถึงเวียดนามและลาวด้วย) ที่ เป็นอิสระจากรัฐบาลของ ฮุน เซน แต่กลับปรากฏว่า ฮุน เซน ได้ปฏิเสธข้อเสนอที่ว่านี้ไปแล้ว โดยให้เหตุผลว่าเรื่องเกี่ยวกับเขตแดนเป็นเรื่องทางเทคนิคที่จะต้องใช้ผู้ ที่มีความรู้ความชำนาญการเป็นพิเศษเท่านั้น

ครั้น แล้วการปฏิเสธเช่นนี้ของ ฮุน เซน กลับยิ่งทำให้ประชาชนชาวเขมรในวงกว้างได้ตั้งคำถามและข้อสงสัยว่าสาเหตุที่ ฮุน เซน ได้ปฏิเสธข้อเสนอของฝ่ายค้านเช่นนี้เป็นเพราะต้องการปกปิดสิ่งที่ได้ตกลง ร่วมกับฝ่ายเวียดนามเกี่ยวกับการปักปันเขตแดนระหว่างกันไปแล้วหรือไม่
แน่ นอนว่า ฮุน เซน ย่อมที่จะต้องปฏิเสธข้อสงสัยดังกล่าวอยู่แล้วแต่ว่าการปฏิเสธก็ย่อมจะไม่ สามารถทำให้ข้อสงสัยเหล่านี้หายไปจากความคิดของชาวเขมรได้แต่อย่างใด จึงมีแต่การขยายความขัดแย้งที่มีอยู่กับไทยให้เป็นเรื่องใหญ่เท่านั้น จึงจะสามารถกลบเกลื่อนเรื่องทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิผล ทั้งนี้ด้วยการสร้างภาพให้ไทยมีสถานะเป็นทั้งผู้รุกรานอธิปไตยและขัด ขวางมรดกโลกของกัมพูชานั่นเอง

ส่วน การจัดการกับ สัม รังสี นั้น ฮุน เซน ก็ได้เลือกใช้บริการจากอำนาจฝ่ายตุลาการที่เขาใช้เพื่อบ่อนทำลายคู่ต่อสู้ ทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดก็ปรากฏว่าศาลอาญาที่กรุงพนมเปญได้ตัดสินจำคุก สัม รังสี เป็นเวลา 2 ปี ในข้อหาหมิ่นประมาท ฮอร์ นัมฮง ว่าเป็นอดีตผู้คุมสถานกักกันเชลยของเขมรแดง ซึ่งถ้าหากรวมกับคดีอื่นๆที่ศาลของ ฮุน เซน ได้ตัดสินโทษต่อ สัม รังสี ไปแล้วนั้นก็รวมกันได้เกินกว่า 10 ปีแล้วนั่นก็หมายความว่า สัม รังสี จะไม่สามารถกลับไปลงเลือกตั้งได้ถึง 2 สมัยเป็นอย่างน้อยเลยทีเดียว และเมื่อถึงตอนนั้น สัม รังสี ก็มีอายุเลย 70 ปีไปแล้ว ซึ่งก็เช่นเดียวกันกับ ฮุน เซน ถ้าหากว่าไม่เป็นอะไรไปเสียก่อน!!!
ทรงฤทธิ์ โพนเงิน

ตรวจชายแดนจรวดตก คนไทยฉุน 'ระบอบฮุน เซน'



     
         วัน ที่ 26 เมษายน 2554 สำหรับหลายคนอาจไม่มีความหมาย แต่กับคนไทยตามแนวชายแดนกัมพูชา บ้านโคกกระชาย ต.สายตะกู อ.บ้านกรวด จ.บุรีรัมย์ บ้านหนองคันนา ต.ตาเมียง, บ้านหัวอ่าง บ้านรุน บ้านอำปึล ต.บักได อ.พนมดงรัก, ต.กาบเชิง อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ ต้องจดจำ
จำจรวดชุด บีเอ็ม 21 หลายลูกของเขมรหลายร้อยลูกพุ่งตกกลางหมู่บ้าน หลังคาบ้าน กลางสวนยาง นา ไร่ เสียหายยับ ถ้าไม่มีแจ้งเตือนและอพยพคนออกมาก่อนสองสามระลอก คงจะล้มตาย บาดเจ็บมากกว่าที่เห็น

เฉพาะบ้านโคกกระชาย ม.13 ต.สายตะกู นับได้ 6 ลูก ชาวบ้านบาดเจ็บ 4 คน คือ 1) นายสนั่น เติมประโคนชัย แขนขวาหัก แผลฉีกขาดถึงกระดูกข้อศอก 2) นายธนาศิลป์ เสาเปรีย สะเก็ดเข้าข้อเท้าขวา 3) นางบานเย็น หาญเชี่ยว และ 4) นายสนม เติมประโคน สะเก็ดระเบิดเข้าแผ่นหลัง บ้านเสียหาย 2 หลัง และวัวตาย 1 ตัว
ที่บ้านหัวอ่าง ต.บักได พ่อบ้านคนหนึ่งเล่าว่า จรวดตกสวนยางพาราไหม้เกือบวายวอด อีกลูกตกศาลากลางหมู่บ้าน อีกลูกตกในวัดแต่ไม่แตก ต้องพากันวิ่งลงหลุมหลบที่ขุดเอง เสียงวี้ด ด ข้ามหัว เสี้ยววินาทีก็ดังตึ้ม ดินสะเทือน ผ่านไปหลายวัน กลับจกอพยพตามครอบครัวไปอยู่ศูนย์ไทยอพยพอย่างน่าอนาถใจ เมื่อกลับมาดู เล่าสู่กันฟังก็รู้ว่า เจ้าของบ้านพ้นบ้านไปแค่ 5 นาทีเท่านั้น ไม่งั้น...
อีกจุด จรวดพุ่งตัดต้นขนุนกระจุย แล้วพุ่งเฉียดต้นมะพร้าวเป็นแผลเหวอะ ราวกับขวานยักษ์จาม แล้วพุ่งตกสะเก็ดระเบิดถูกโอ่งขนาดใหญ่ ห้องสุขาพังสองหลัง
ข้ามไป อ.กาบเชิง จุดนี้จรวดก็ลงแบบเกาะกลุ่มคล้ายปูพรมลง นิคมสร้างตนเองเลี้ยงไหมจังหวัดสุรินทร์ ในพระบรมราชานุเคราะห์ และข้างเคียง คือ บ้านนาน้อยร่มเย็น  
นายพรชัย จงกุฎ ผู้ใหญ่บ้านนาน้อยร่มเย็น ม.8 ต.กาบเชิง เล่าว่าจรวดตก 3 ลูก แตกเพียงลูกเดียว ถึงกระนั้น บ้านก็พังทั้งหลัง อีกสองหลังข้างเคียงหลังคาเปิดเปิง วัวถูกสะเก็ดตาย 3 ตัว บาดเจ็บอีก 7 ตัว ที่สำคัญลูกสาวคือ น.ส.จีรนันท์ วัย 15 ปี กระดูกข้อศอกซ้ายแตก แผลฉีกขาดที่หัวเข่า ถูกนำส่งโรงพยาบาล หวุดหวิดจบชีวิต
"บ้านนาน้อยร่มเย็น ห่างจากจุดช่องจอมไม่เกิน 2 กิโลเมตร ตอนระเบิดลงผมทำอะไรไม่ถูกเลย คนแตกตื่นออกมาดูคนบาดเจ็บ ลูกสาวผมถูกเอาตัวไปส่งโรงพยาบาลตอนไหนผมก็ยังไม่รู้”
ผู้ใหญ่บ้านนาน้อยร่มเย็น เปรยด้วยว่า "อย่าทำอะไรโหดเหี้ยมกันขนาดนี้อีกเลย เราก็เป็นบ้านพี่เมืองน้องกันมาแต่โบราณ" 
ห่างออกไปเล็กน้อย นายวีรยุทธ คำบาน ชาวศรีสะเกษ มารับจ้างเกี่ยวข้าวนาปรังกับน้า อยู่หลังนิคมสร้างตนเองเลี้ยงไหมฯ โดนจรวดอย่างจังเสียชีวิตคาที่ ยิ่งกว่านั้นอาคารโรงเรือนของนิคมฯ ถูกถล่มเสียหาย บาดความรู้สึกคนมีส่วนร่วมในโครงการนี่อย่างยิ่ง
เสียดายสัมพันธภาพ สะบั้นเพราะฤทธิ์ "ฮุนเซน"นายอาทร แสงโสมวงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสุรินทร์ มีกิจการค้าเกี่ยวกับผ้าไหม บอกว่า เราสูญเสียครั้งนี้พอซ่อมแซมได้ แต่วันข้างหน้าจะเจอแบบนี้อีกไหม สมมุติถ้าเกิดอีก อยากจะไม่ใช่เป็นเป้าหมายโจมตี เพราะนี่คือพลเรือน ตอนแรกก็ไม่คิดว่าจงใจยิงใส่จุดนี้หรอก แต่เมื่อไปสำรวจแล้ว มันเหมือนตั้งใจยิงเข้าจุดนี้ สถานที่นี้เป็นพื้นที่เปิดเผย เขมรไม่รู้เลยหรือตรงนี้คืออะไร เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ พื้นที่ทางทหารหรือเปล่า
ถามถึงความเสียหายหรือ เรื่องคนเสียชีวิต คนบาดเจ็บ อาจจะไม่มาก เพราะทหารให้อพยพออกไปก่อน แต่ก็มีคนบางกลุ่มยังอยู่ วันนั้นหลบเข้าบังเกอร์ประมาณ 30 คน เพราะไม่น่าใช่เป้าหมายการยิง เขาก็อยู่ มีทั้งหญิง ทั้งชาย ในบ้านพักสมาชิกนิคม 17 ครอบครัว ตอนประมาณ 6 โมงเย็น กำลังกินข้าวระเบิดก็ลง
นอกจากโรงสาวไหม จรวจยังตกใกล้ห้องเย็นเก็บไข่ไหม อาคารเลี้ยงไหม บ้านสมาชิกนิคม โดยเฉพาะร้านอาหารหน้านิคม ถ้าเลื่อนไปตกอีกราว 30 เมตร เจอบ้านสมาชิกนิคม ความเสียหายจะอีกหลายเท่า วันนั้นจรวดลงหนัก ชาวนิคมไม่กล้าจะโงหัว ต้องค่อย ๆ คลานเข้าบังเกอร์
ความเสียหายเป็นมูลค่าเงินยังไม่ได้ประเมิน แต่ความเสียหายทางจิตใจ หลายคนยังหวาดระแวง  ตอนนี้กลับมาทำงานไม่ถึงครึ่ง 

"สัปดาห์ถัดมา เราขอแรงผู้ชายเข้าไปดูอะไรเสียหายบ้าง และอันไหนขนย้ายหรือเก็บออกมาได้ เขาไม่อยากกลับเข้าไป เพราะกลัวจรวดมันตกเป็นชุด ตรงนั้นตูม ตรงนี้ก็ตูม ไม่รู้จะวิ่งไปทางไหน บางคนคิดจะไปทำงานที่อื่น อาจจะอยู่ในเมืองใหญ่ อยู่ในนิคมต่อไม่มั่นคงในชีวิตและทรัพย์สิน"
รองประธานสภาอุตสาหกรรมสุรินทร์ บอกอีกว่า ความเสียหายส่วนใหญ่เป็นตัวอาคาร เป็นทรัพย์สินราชการ แต่ก็ยังคิดในแง่ดี โชคดีจรวดไม่ตกใส่เครื่องจักร ไม่ตกใส่แท็งก์น้ำมัน ไม่งั้นจะเกิดทะเลเพลิงย่อม ๆ
ถ้าตกกลางโรงสาวไหม เครื่องจักรมูลค่า 7 ล้านบาทต้องพัง ถึงกระนั้นผนังปูนกั้นก็พังไปทั้งแถบ คิดในแง่ดีอีกอย่าง เพิ่มเริ่มสร้างโรงฟอกย้อม เครื่องฟอกย้อมตั้งไว้ ก็คลาดแคล้ว 
แต่ความเสียใจอย่างสุดซึ้ง คือ นิคมแห่งนี้เคยรองรับการอบรมเกษตรกรชาวกัมพูชาจาก จ.อุดรมีชัย 2 รุ่นแล้ว ให้ความรู้วิทยาการด้านเกษตรกร โดยเฉพาะปลูกหม่อนเลี้ยงไหม แน่นอนรายได้เกษตรกรชาวเขมรย่อมจะน้อยกว่าฝั่งไทย สิ่งที่ได้อบรมไปจะสร้างอาชีพในประเทศเขา เราคาดหวังทางโน้นจะปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแล้วขายรังไหมให้กับโรงสาวไหมฝั่งไทย ทำอย่างนี้แล้วก็น่าจะเป็นการสร้างสัมพันธภาพได้อย่างดีและยั่งยืน 
อีกอย่างรากฐานวัฒนธรรมสองฝั่งไม่แตก ต่างกันนัก เราคิดว่าอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเป็นรากฐานของสองประเทศ ซึ่งก็จะช่วยกันดำรงรักษาวัฒนธรรมในประเทศกัมพูชาด้วย  
"เรื่องคนทำงานวิตกกังวล ตอนนี้เรายังไม่รู้จะเยียวยาได้แค่ไหน คนทำงานกับเราจะเหลืออยู่สักกี่คนยังไม่รู้คำตอบชัดเจน" นายอาทร บอกพรางครุ่นคิด
นายอาทร ย้อนเล่าการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานราชการหม่อนไหมว่า ได้เริ่มรับซื้อรังไหมจากนิคมฯ เพราะอยากฟื้นฟูอาชีพนี้ของชาวสุรินทร์ จากจุดนี้นำไปสู่ใน พ.ศ.2547 ได้ลงทุนเครื่องจักรสาวไหมรวมกับอาคารเป็น 10 ล้านบาท แม้วัตถุดิบป้อนยังไม่เพียงพอ แต่เราก็เลี้ยงคนงานไว้ 
และความจริงพ.ศ.2549 จะยังไม่มีโรงสาวไหม เพียงแต่เห็นนิคมสร้างตนเองเลี้ยงไหมฯ มีศักยภาพ เป็นสถานที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทาน มีวัตถุประสงค์จะให้นิคมสร้างตนเอง จัดสรรที่ทำกินให้เกษตรกร ให้สมาชิกนิคมประกอบอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม แล้วรับซื้อ 
"ก่อนนั้น ซื้อรังไหมแล้วก็ไปจ้างเครื่องจักรที่เขาว่าง ต้องส่งไปถึงจังหวัดลำปาง แถว ๆ บ้านเรา ไม่มี เพราะเจ๊งไปแล้ว ท่านผู้ว่าฯ สมพงษ์ อนุยุทธพงศ์ เคยแนะนำ ทำไมไม่เอาเครื่องจักรมาตั้งในสุรินทร์เลยล่ะ เราก็ยังไม่มั่นใจวัตถุดิบจะเพียงพอหรือเปล่า คิดว่าจะใช้งบผู้ว่าซีอีโอ 2550 ซื้อเครื่องสาวไหม แต่เกิดรัฐประหาร 19 กันยายน 49 เสียก่อน งบก็เลยหายไป"
ประชาคมอาเซียน หมองเพราะผู้นำกัมพูชา
นาย อาทร เล่าต่อว่า เราไปบอกไปส่งเสริมเขาแล้ว ไม่อยากให้เกษตรกรรู้สึกโดนหลอก ผมเลยตัดสินใจไปหาเครื่องจักรมือสองมาติดตั้ง พอติดตั้งแล้ว ขณะนั้นเราก็รู้สถานการณ์วัตถุดิบคงไม่เพียงพอ เราคาดหวังมันคงจะขยายตัวไปทั้งจังหวัดสุรินทร์ ขณะเดียวกันก็มองเรื่องการเชื่อมสัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้านด้วยอาชีพ ตรงนี้ห่างชายแดนแค่ 10 กิโลเมตร ถ้ารัศมีการขนส่งใกล้เท่าไหร่ก็ยิ่งดี

"เรามองไปอีก 2- 3 ปีข้างหน้า หวังประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจะเป็นจริง การเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นไปเสรีแล้ว เราจะเป็นประชาคมทางเศรษฐกิจของอาเซียน การค้าก็คงไม่มีพรมแดนมาขวางกั้นแล้ว น่าจะเกิดผลดีกับทั้งสองประเทศ แต่เกิดเหตุการณ์อย่างนี้ขึ้น รอยแผลเกิดขึ้นแล้ว ยังไม่รู้จะเยียวยาได้แค่ไหน” รองประธานสภาอุตสาหกรรมสุรินทร์ กล่าวในที่สุด
การยิงจรวดชุดบีเอ็ม 21 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ที่กัมพูชากระทำต่อไทยประเทศเพื่อนบ้าน ใกล้ชิด เฉพาะด้านช่องจอม-โอร์เสม็ด มีฐานยิงห่างออกไปประมาณ 30 กิโลเมตรเศษ เขต อ.สำโรง จ.อุดรมีชัย
วอนนักการเมือง นักเลือกตั้งทั้งสองชาติ อย่าก่อกรรมทำเข็ญเอาประชาชนเป็นเหยื่อเพื่อเป้าหมายทางการเมืองของตัวเอง อีกเลย ชีวิตคนมีค่า มีความหมาย ให้คิดยาวๆ ถึงมิตรภาพในสายเลือด และสายธารวัฒนธรรมร่วมกันด้วย
----------------------------------------------------------------------------
ประวัติความเป็นมา
นิคมสร้างตนเองเลี้ยงไหมจังหวัดสุรินทร์ ในพระบรมราชานุเคราะห์ บนทางหลวง 214 ถนนสุรินทร์ - ช่องจอม  กิโลเมตรที่ 58–59 ต.กาบเชิง อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์ เดิมเป็นที่ดินบริษัท พรหมสุวรรณไหมไทย ต่อมา นายเล็ก สิงห์สมบุญ นางสุวรรณี พัวไพโรจน์ สามีภรรยา กราบบังคมทูลน้อมเกล้าฯ ถวายกิจการ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อพระราชทานให้กับประชาชนผู้ยากไร้

วันที่ 12  พฤษภาคม 2520 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้กรมประชาสงเคราะห์ ดำเนินโครงการเลี้ยงไหมจังหวัดสุรินทร์ จัดที่ดินให้ผู้ยากไร้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และตั้งเป็นนิคมฯ
พ.ศ.2549 หน่วยงานราชการกับภาคเอกชน มี นางพนิดา กำภู ณ อยุธยา อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ นายวิทยา รอดบุญพา ผอ.สำนักพัฒนาสังคม นายสมพงษ์ อนุยุทธพงศ์ ผวจ.สุรินทร์ และนายอาทร แสงโสมวงศ์ ผู้จัดการ หจก.เรือนไหม-ใบหม่อน ลงนามความร่วมมือเพื่อส่งเสริมอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอย่างครบวง

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง