บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554

สื่อเขมรลือไทนบินล้ำน่านฟ้า-ตชด.ตรวจพื้นที่สร้างด่านตม.ตาพระยา

ฟิฟทีนมูฟ — สื่อเขมรลือเครื่องบินทหารไทยบินตรวจการณ์เหนือตะเข็บชายแดนสองวันต่อเนื่อง ทั้งล่วงน้ำน่านฟ้าเขมรกว่า ๗๐๐ ม. ขณะที่ ตชด. ๒๒ นาย พร้อมอาวุธครบมือรุดตรวจพื้นที่ก่อสร้างด่าน ตม. ตาพระยา ใกล้หลักเขต ๓๖ ที่เขมรเคยสั่งห้าม
พื้นที่สำหรับก่อสร้างด่านศุลกากรและตรวจคนเข้าเมือง ตาพระยา ใกล้หลักเขตที่ ๓๖ ที่ถูกเขมรขัดขวางการก่อสร้าง
แฟ้มภาพ: พื้นที่สำหรับก่อสร้างด่านศุลกากรและตรวจคนเข้าเมือง ตาพระยา ใกล้หลักเขตที่ ๓๖ ที่ถูกเขมรขัดขวางการก่อสร้าง
สำนักข่าวซีอีเอ็นของกัมพูชา (๑ มิถุนายน ๒๕๕๔) รายงานว่าระหว่างวันที่ ๓๑ พฤษภาคม และ ๑ มิถุนายน ที่ผ่านมา มีเครื่องบินของทหารไทย ๒ ลำ บินตรวจการณ์เหนือตะเข็บชายแดน และล่วงล้ำลึกเข้าไปในเขตกัมพูชา ๗๐๐ เมตร ขณะที่อีกด้านทหารไทยได้เข้าไปตรวจพื้นที่จุดที่กำหนดก่อสร้างด่านศุลกากร และตรวจคนเข้าเมืองซึ่งถูกสั่งห้าม ที่ด่านตาพระยาของไทยซึ่งตั้งอยู่ตรงข้ามด่านบึงตรอกวน1

สำนักข่าวของกัมพูชาอ้างแหล่งข่าวกองกำลังป้องกันพรมแดนกัมพูชา เปิดเผยเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ว่า เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม เครื่องบินของทหารไทย ๑ ลำ ได้บินเหนือแนวพรมแดนไทย-กัมพูชา แถบเขาดงรักต่อพรมแดนอำเภอทมาปวก2 และซวาย3 ในจังหวัดบันเตียเมียนเจ็ย และอำเภอบันเตียอัมปึล4 จังหวัดอุดรมีชัย  ถัดมาในช่วงเช้าวันที่ ๑ มิถุนายน เครื่องบินประเภทเดิมอีก ๑ ลำ ได้บินล่วงล้ำบูรภาพดินแดกัมพูชา โดยครั้งแรกบินล่วงล้ำน่านฟ้ากัมพูชาประมาณ ๗๐๐ เมตร และครั้งที่ ๒ ล่วงล้ำน่านฟ้ากัมพูชาประมาณ ๒๐๐ เมตร เหนือพื้นที่อำเภอทมาปวกของกัมพูชา
​ในเรื่องเกี่ยวเนื่องกันนี้ ตำรวจตระเวนชายแดนของไทย ๒๒ นาย พร้อมอาวุธครบมือ เดินทางโดยรถยนต์ ๒ คัน เข้ามาตรวจสอบจุดพรมแดนด่านตาพระยา อยู่ตรงข้ามด่านบึงตรอกวน (ไทยเรียก บึงตากวน) ของกัมพูชา ที่ ตำรวจตระเวนชายแดนของไทยยืนห่างจากหลักเขตที่ ๓๖ ประมาณ ๒๒๐ เมตร

​ซีเอ็นกล่าวในตอนท้ายว่า สถานการณ์ในพื้นที่สระแก้ว-บันเตียเมียนเจ็ย ความไม่ลงรอยกันยังดำเนินอยู่

เปิดข้อโต้แย้งเขมรวันสุดท้ายที่ศาลโลก-อัดไทยขวางตีความ


ฟิฟทีนมูฟ – สื่อเขมรเปิดข้อโต้แย้งฝ่ายเขมร ระบุไทยพยายามขัดขวางอย่างหนักมิให้มีการตีความคำตัดสิน พ.ศ. ๒๕๐๕ เพราะอันตรายกับไทย ระบุตีโต้ได้ในทุกประเด็น ไทยบอกเขมรเริ่มโจมตีก่อนแล้วทำไมไทยไม่ยอมรับกลไกลแก้ปัญหาโดยสันติวิธี เรื่อง MOU43 เขมรซัดใส่ไม่ใช่เรื่องปักปันเขตแดนซึ่งเสร็จแล้วตามแผนที่ เขมรเห็นด้วยเพราะแค่จะปักหลักเขตร่วมกัน ย้ำศาลมีอำนาจเพราะไทยกับเขมรตีความคำตัดสินไม่เหมือนกัน และมาตรการชั่วคราวจำเป็นสำหรับพระวิหาร เพราะขณะที่ปะทะที่ตาเมือนและตาควาย ไทยยังบินล่วงล้ำพระวิหารซ้ำยังยิงปืนใหญ่ใส่ปราสาทด้วย
คณะผู้แทนกัมพูชาในการเปิดรับฟังคำร้องขอมาตรการชั่วคราว ที่ศาลโลก ระหว่างวันที่ ๓๐-๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔
คณะผู้แทนกัมพูชาในการเปิดรับฟังคำร้องขอมาตรการชั่วคราว ที่ศาลโลก ระหว่างวันที่ ๓๐-๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔

สำนักข่าวซีอีเอ็นของกัมพูชา (๑ มิถุนายน ๒๕๕๔) รายงานประเด็นโต้แย้งระหว่างไทยและกัมพูชาที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรุงเฮก โดยระบุว่าไทยพยายามอย่างเต็มที่ที่จะขัดขวางไม่ให้ศาลฯ รับคำร้องของกัมพูชา ขอให้ตีความคำตัดสินเดิมเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕ อีกครั้งเกี่ยวกับปัญหาพระวิหาร โดยในการแถลงสรุปในวันที่สอง คือ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม นั้น แต่ละฝ่ายมีเวลา ๑ ชั่วโมง ในการแถลงตอบโต้
สำนักข่าวดังกล่าวระบุว่า ในการโต้แย้ง ไทยได้ยกประเด็นขึ้นว่า กัมพูชาเป็นฝ่ายเริ่มเปิดการโจมตีก่อน ไทยเป็นผู้รักในสันติไม่ต้องการหาเรื่องกัมพูชา ในประเด็นนี้ กัมพูชาตอบโต้ว่า ถ้าไทยเป็นประเทศรักสันติ เป็นประเทศรับเคราะห์จากการรุกรานของกัมพูชา เหตุอะไรที่ไทยเอาแต่ปฏิเสธไม่รับกลไกการสลายความขัดแย้งโดยสันติวิธี  ไม่ว่าจะเป็นที่คณะมนตรีความมั่นคง ที่อาเซียน หรือที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศก็ตาม ไทยปฏิเสธมาโดยตลอด แม้แต่ผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียที่จะเข้ามาตรวจสอบการหยุดยิง ไทยก็ขัดขวาง นี่หรือผู้รักในสันติและเป็นผู้รับเคราะห์ ขณะที่กัมพูชากลับแสวงหาทุกกลไกเพื่อแก้ปัญหาโดยสันติวิธี โดยมีฝ่ายที่ ๓ เข้าร่วม แต่ไทยไม่เห็นชอบ
ประเด็นที่ ๒ บันทึกความเข้าใจฯ พ.ศ. ๒๕๔๓ (MOU) เป็นหลักฐานยืนยันว่า กัมพูชาก็ได้รับทราบเช่นเดียวกับไทยแล้วว่าคำตัดสิน พ.ศ.๒๕๐๕ กล่าวถึงแต่เพียงตัวปราสาทพระวิหารเท่านั้น ไม่ได้กำหนดเกี่ยวกับพรมแดน เนื่องจากศาลฯ ไม่ได้กำหนดพรมแดนดังกล่าว ไทยและกัมพูชาจึงได้ร่วมทำบันทึกความเข้าใจฯ พ.ศ.๒๕๔๓ เพื่อกำหนดพรมแดน ดังนั้น ไทยและกัมพูชาไม่ได้วิวาทกันในคำตัดสิน พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งหมายความว่า ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไม่มีอำนาจพิจารณาคำร้องขอตีความคำตัดสินของ กัมพูชาแต่อย่างใด
ประเด็นนี้ กัมพูชาได้โต้แย้งว่า บันทึกความเข้าใจฯ พ.ศ.๒๕๔๓ ไม่ใช่การร่วมกันเพื่อกำหนดเขตแดน แต่เพื่อจัดทำหลักเขตแดน หมายความว่าเรื่องพรมแดนเสร็จสิ้นแล้วในทางแผนที่ ขาดแต่การปักหลักเขต ด้วยเหตุนี้ กัมพูชาจึงได้เห็นชอบร่วมกับไทยเพื่อจัดทำหลักเขต กัมพูชาก็ได้มอบหนังสือบันทึกความเข้าใจฯ พ.ศ.๒๕๔๓ จำนวน ๑ ฉบับ ให้กับองค์คณะผู้พิพากษา เพื่อพิจารณาเอกสารความตกลงด้วยตนเอง
ประเด็นต่อมา ไทยได้ยกขึ้นว่า กัมพูชาได้สร้างเรื่องขึ้นเกี่ยวกับการโต้แย้งในความหมายและขอบเขตของคำ ตัดสิน พ.ศ.๒๕๐๕ ในความเป็นจริง ไม่มีการโต้แย้งอะไรที่ต้องให้ศาลฯ มาตีความ ไทยยังเสนออีกว่า ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศที่ได้ให้ไทยถอนทหารและกองกำลังติดอาวุธทั้งหมดออก จากปราสาทพระวิหาร และจากบริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหารนั้น  ครอบคลุมเฉพาะขณะเวลาที่ศาลตัดสินเท่านั้น ไม่ใช่ข้อผูกพันของไทยที่ต้องปฏิบัติตามไปตลอด
ในประเด็นนี้ เป็นเรื่องง่ายสำหรับกัมพูชาที่จะโต้แย้ง เนื่องจากการยกประเด็นนี้ขึ้นของไทย มีนัยยะครบถ้วนที่จะบอกว่า ไทยและกัมพูชาเห็นต่างกันเกี่ยวกับความหมายของคำตัดสิน พ.ศ. ๒๕๐๕ กล่าวคือ กัมพูชาเห็นว่าคำตัดสินดังกล่าวมีผลบังคับไปตลอดทุกวัน แต่ไทยเห็นว่ามีผลเฉพาะในเวลาที่ศาลฯ ตัดสินเท่านั้น นี่จึงเป็นเหตุผลครบถ้วนที่ศาลฯ ควรตีความคำตัดสินดังกล่าวอีกครั้ง
เกี่ยวกับประเด็นมาตรการชั่วคราวเร่งด่วนนั้น ไทยได้พยายามอ้างว่าไม่มีสถานการณ์อะไรที่ต้องให้ศาลฯ ออกมาตรการเร่งด่วน เนื่องจากไม่มีความขัดแย้งที่พระวิหารอีก มีเฉพาะที่ปราสาทตาควายและตาเมือน ซึ่งอยู่ห่างจากพระวิหาร ดังนั้น คำร้องขอมาตรการชั่วคราวเร่งด่วนของกัมพูชาไม่มีมูลฐานแต่อย่างใด
ต่อประเด็นนี้ กัมพูชาตอบโต้ว่า เมื่อเดือนเมษายนและพฤษภาคม ที่ผ่านมานั้น ในเวลาที่กัมพูชายื่นคำร้องถึงศาลกรุงเฮก การปะทะด้วยอาวุธก็ได้เกิดขึ้นเช่นกันที่พื้นที่ปราสาทพระวิหาร ไทยได้บินล่วงล้ำน่านฟ้าของกัมพูชา และได้ยิงปืนใหญ่มาในพื้นที่ปราสาทพระวิหาร ดังนั้น มาตรการเร่งด่วนที่กัมพูชาเสนอขอสำหรับพื้นที่พระวิหาร เป็นเขตอำนาจอย่างเต็มเปี่ยมของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศที่ควรออกมาตรการ
สำนักข่าวของกัมพูชาสรุปในตอนท้ายว่า ต่อประเด็นคำขอมาตรการชั่วคราว ฝ่ายไทยมีข้อโต้แย้งเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ฝ่ายไทยกลับใช้เวลาอย่างมากในการกล่าวเกี่ยวกับคำร้องขอตีความคำตัดสิน ดังนั้น เป้าหมายของไทยคือทำอย่างไรก็ตามเพื่อขัดขวางไม่ให้มีการตีความคำตัดสิน เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕  อีกครั้ง เนื่องจากเป็นทั้งความยุ่งยากและอันตรายอย่างยิ่งต่อไทย
ตามเอกสารข่าวแจก (Press Release) อย่างไม่เป็นทางการของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ระบุว่า การกล่าวสรุปในตอนท้าย ผู้แทนของกัมพูชา นายฮอ นำฮง ได้ย้ำขอมาตรการชั่วคราว ใน ๓ ประเด็น คือ ๑.ให้ไทยถอนกำลังทหารทั้งหมดออกจากแผ่นดินกัมพูชาในบริเวณปราสาทพระวิหาร ในทันทีและไม่มีเงื่อนไข ๒.สั่งห้ามทุกกิจกรรมทางทหารของไทยในบริเวณปราสาทพระวิหาร และ ๓. ให้ไทยงดเว้นทุกการกระทำที่จะกระทบสิทธิ์ของกัมพูชาหรือซ้ำเติมความขัดแย้ง ในระหว่างพิจารณาคดี ขณะที่ผู้แทนไทย นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก อาศัยข้อ ๖๐ ของธรรมนูญศาลฯ  ขอให้ศาลฯ ถอนคำร้องของกัมพูชาออกจากทะเบียนคดี ทั้งนี้ ศาลยังไม่กำหนดวันแถลงผลการพิจารณา

กลาโหมเขมรส่งหน่วยช่วยเหลือลงตาเมือน-ตาควาย


ฟิฟทีนมูฟ — กลาโหมเขมรส่งคณะทำงานจากสำนักงานสนับสนุนความช่วยเหลือของกระทรวงฯ ตรวจเยี่ยมสภาพความเป็นอยู่ของทหารในพื้นที่ชายแดนตาเมือนและตาควาย เผยกระเช้าชักรอกขึ้นปราสาทตาควายได้รับความเสียหายจากการปะทะกับทหารไทย
พลตรี ตาน ตาณา หัวหน้าสำนักงานสนับสนุนความช่วยเหลือ ตรวจเยี่ยมทหารในพื้นที่พรมแดนตาเมือน-ตาควาย เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๓
แฟ้มภาพ: พลตรี ตาน ตาณา ตรวจเยี่ยมทหารเขมรในพื้นที่พรมแดนตาเมือน-ตาควาย เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๓
กระทรวงกลาโหมกัมพูชาส่งคณะทำงานจากสำนักพัสดุและการคลัง ลงพื้นที่ตรวจสอบการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ของกองทัพกัมพูชาในบริเวณตะเข็บพรมแดนไทย-กัมพูชา จังหวัดอุดรมีชัย ตามรายงานของบายนทีวีของกัมพูชา เมื่อช่วงสายที่ผ่านมา (๑ มิถุนายน ๒๕๕๔)

คณะทำงานของสำนักงานสนับสนุนความช่วยเหลือในสังกัดสำนักพัสดุ-การคลัง กระทรวงกลาโหมกัมพูชา นำโดย พลตรี ตาน ตาณา1 ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฮุน เซน และเป็นหัวหน้าสำนักงานสนับสนุนความช่วยเหลือ ได้ร่วมตรวจเยี่ยมสภาพความเป็นอยู่ของทหารในกองทัพกัมพูชา ที่ประจำการตามแนวตะเข็บพรมแดนไทย-กัมพูชา ในทิศที่ ๓ ภาคอุดรมีชัย ด้านปราสาทตาเมือนและตาควาย
จากนั้น พลตรี ตาน ตาณา ได้รับเชิญให้เดินทางต่อไปยังปราสาทตาเมือนและปราสาทตาควาย เพื่อตรวจเยี่ยมความเป็นอยู่ และตรวจสอบความเสียหายของหน่วยพยาบาล รวมถึงระบบกระเช้าชักรอกที่นำคนขึ้นไปยังปราสาทตาควายซึ่งได้รับเสียหายจาก การปะทะกับทหารไทย เมื่อไม่นานมานี้ ระหว่างการตรวจเยี่ยม พลตรี ตาน ได้มอบข้าวของและเงินจำนวนหนึ่งให้กับกองกำลัง พร้อมกำชับให้ดูแลรักษาสุขภาพ เนื่องจากกำลังเข้าสู่ฤดูฝน

เขมรรุกสร้างโรงแรมรับนักท่องเที่ยวปราสาทพระวิหาร กำหนดเสร็จปีหน้า

Posted on by n/e - 23:27 น.

ฟิฟทีนมูฟ — ทุนเขมรรุกสร้างโรงแรมรองรับนักท่องเที่ยวเข้าชมปราสาทพระวิหาร ทำพิธีบวงสรวงก่อสร้าง ๓๐ พ.ค.ที่ผ่านมา เซียง จันเฮง เจ้าของกลุ่มทุนเฮงพัฒนา พร้อม พล.อ.กุน กีม รอง ผบ.สส. เขมร และภริยา ร่วมเป็นประธานในพิธี โรงแรมซรอแอเปรียะวิเหียร์คีซกำหนดแล้วเสร็จปีหน้า ไม่วายแฉลบว่าไทยทำสงครามรุกราน
พิธีบวงสรวงเปิดการก่อสร้างโรงแรมซรอแอเปรียะวิเหียร์คีซ ในพื้นที่ใกล้ปราสาทพระวิหาร เมื่อ ๓๐ พ.ค. ๒๕๕๔ พร้อมรูปจำลองโรงแรม พิธีบวงสรวงเปิดการก่อสร้างโรงแรมซรอแอเปรียะวิเหียร์คีซ ในพื้นที่ใกล้ปราสาทพระวิหาร เมื่อ ๓๐ พ.ค. ๒๕๕๔ พร้อมรูปจำลองโรงแรม
พิธีบวงสรวงเปิดการก่อสร้างโรงแรมซรอแอเปรียะวิเหียร์คีซ ในพื้นที่ใกล้ปราสาทพระวิหาร เมื่อ ๓๐ พ.ค. ๒๕๕๔ พร้อมรูปจำลองโรงแรม พิธีบวงสรวงเปิดการก่อสร้างโรงแรมซรอแอเปรียะวิเหียร์คีซ ในพื้นที่ใกล้ปราสาทพระวิหาร เมื่อ ๓๐ พ.ค. ๒๕๕๔ พร้อมรูปจำลองโรงแรม
พิธีบวงสรวงเปิดการก่อสร้างโรงแรมซรอแอเปรียะวิเหียร์คีซ เมื่อ ๓๐ พ.ค. ๒๕๕๔ พร้อมรูปจำลองโรงแรม

กัมพูชาเริ่มการก่อสร้างโรงแรมระดับนานาชาติสำหรับรองรับนักท่อง เที่ยว ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ที่เดินทางเยี่ยมชมปราสาทพระวิหาร โดยที่ตั้งของโรงแรมอยู่ใกล้พื้นที่ตามแผนบริหารจัดการปราสาทพระวิหาร แม้อยู่ลึกในเขตกัมพูชา แต่มีความสะดวกในการเดินทาง และอยู่ใกล้กับพื้นที่หมู่บ้านธรรมชาติสมเด็จเดโช ซึ่งครึ่งหนึ่งอยู่ในพื้นที่แผนบริหารจัดการ
ตามรายงานของศูนย์ข่าวนครวัต (๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔) เมื่อช่วงเช้าวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ที่ผ่านมา ได้มีพิธีบวงสรวงเพื่อเปิดการก่อสร้างโรงแรมแห่งใหม่และเป็นแห่งแรกใน พื้นที่ใกล้ปราสาทพระวิหาร ที่หมู่บ้านซรอแอม1 ตำบลกันตวต2 อำเภอจวมกะสาน3 จังหวัดพระวิหาร โดยมี พล.อ.กุน กีม รองผู้บัญชาการ และเป็นเสนาธิการร่วมในกองทัพแห่งชาติกัมพูชา เป็นประธานในพิธี และท่านผู้หญิง กึง จันดี กุนกีม4 พร้อมด้วย ท่านผู้หญิง ออกญา เซียง จันเฮง5 ประธานกลุ่มทุนเฮงพัฒนา6 โดยมีเจ้าหน้าที่ นายทหาร พลทหารและประชาชนจำนวนมากเข้าร่วม
ตามการเปิดเผยของ เซียง จันเฮง ซึ่งเป็นผู้ลงทุน โรงแรมแห่งนี้มีชื่อว่าโรงแรมซรอแอเปรียะวิเหียร์คีซ ในพื้นที่ขนาด ๓๐ เฮกเตอร์ ที่หมู่บ้านซรอแอม เป็นอาควาร ๓ ชั้น จำนวน ๔ อาคาร รวมห้องพักกว่า ๒๐๐ ห้อง ในบรรยากาศธรรมชาติสีเขียวร่มรื่น  นางเซียง จันเฮง กล่าวว่าแม้ปัจจุบันสถานการณ์พรมแดนเขมร-สยาม โดยเฉพาะพื้นที่ปราสาทพระวิหารจะเผชิญกับสงครามรุกรานของทหารสยามก็ตาม ตนก็ไม่รั้งรอที่จะหาผู้มาร่วมมือพัฒนาพื้นที่ปราสาทพระวิหาร ด้วยเหตุนี้ ตนและพล.อ.กุน กีม  จึงแสวงหาผู้ร่วมงานในการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวนี้ ให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสมบูรณ์แบบ
โรงแรมซรอแอเปรียะวิเหียร์คีซ ใช้เงินลงทุนร่วมร้อยล้านดอลลาร์ และมีกำหนดแล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๕๕๕
—————————————-
หมายเหตุ: หมู่บ้านซรอแอ เป็นที่ตั้งของกองพลน้อยสนับสนุนที่ ๘ ภายใต้การดูแลของ พล.อ.เจีย ดารา และเมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ หลังเหตุปะทะที่ปราสาทพระวิหาร นางบุน รานี ภรรยานายกรัฐมนตรีกัมพูชาและในฐานะประธานกาชาดกัมพูชา เดินทางเยี่ยมและมอบเครื่องใช้ให้ชาวบ้านและทหารในที่ตั้งหน่วยของกองพลน้อย สนับสนุนที่ ๘ บ้านซรอแอเป็นหมู่บ้านในรัศมี ๒๐ กิโลเมตรของปราสาทพระวิหาร

ข้อมูลจากทวิตเตอร์กระทรวงต่างประเทศ กรณีศาลโลกรอบ2

วานนี้ 31 พ.ค. 17.00-18.00 น. เวลากรุงเฮก คณะดำเนินคดีฝ่ายไทยชี้แจงศาลโลกตอบโต้คำขอกัมพูชาให้มีมาตรการชั่วคราว บริเวณปราสาทฯ เป็นวันที่สอง

ออท. วีรชัย ย้ำท่าทีของไทยมีความสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ไทยยอมรับและได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาคดีปราสาทฯ 2505 อย่างครบถ้วนแล้วซึ่งกัมพูชาก็ยอมรับ

ไทยย้ำศาลโลกไม่ได้ตัดสินเกี่ยวกับเส้นเขตแดนและต้องเจรจาต่อไป โดยมีกลไกในกรอบทวิภาคีดำเนินการ
การขึ้นทะเบียนปราสาทเป็นมรดกโลกต้องมีพื้นที่บริหารจัดการอยู่ในไทย การที่ กพช ปฏิเสธขึ้นทะเบียนร่วมเป็นที่มาของการยื่นคำร้องต่อศาลของ กพช
ออท. ณ กรุงเฮกยืนยันไทยจริงใจในการดำเนินคสพ.กับกัมพูชาบนพื้นฐานของความเท่าเทียม ไม่ได้เป็นการรังแกโดยประเทศใหญ่ตามที่กัมพูชาพยายามสร้างภาพ
.ไทยไม่ประสงค์ให้ปราสาทพระวิหารเสียหาย แต่การใช้กำลังเป็นไปเพื่อป้องกันตนเอง ย้ำกพช.ใช้ปราสาทเป็นฐานโจมตีไทย ละเมิดอนุสัญญากรุงเฮกปี 1954
ออท. ณ กรุงเฮกตอบโต้กัมพูชาว่าไทยเป็นประชาธิปไตย การเมืองภายในของไทยไม่มีความเกี่ยวข้องแต่อย่างใดกับประเด็นที่ศาลกำลังพิจารณา
ไทยชี้ประชาชนชาวกัมพูชาเพิ่งอพยพย้ายเข้าไปอยู่ในบริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหารเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง
ไทยย้ำความขัดแย้งเสี่ยงจะทวีความรุนแรงหรือไม่ขึ้นอยู่กับกัมพูชาที่เป็น ฝ่ายเริ่มโจมตีและขยายความขัดแย้งจากบริเวณปราสาทฯ ไปยังพื้นที่อื่น
ออท. ณ กรุงเฮก เน้นการที่มีเหตุการณ์ปะทะเกิดขึ้นในบริเวณอื่นไม่เป็นเหตุให้ศาลต้อง พิจารณามีคำสั่งมาตรการชั่วคราวบริเวณปราสาทพระวิหาร
ไทยไม่ได้ปิดประตูต่อบทบาทสนับสนุนของฝ่ายที่สามในการแก้ไขปัญหา โดยได้ให้ข้อมูลแก่คณะมนตรีความมั่นคงฯ และร่วมประชุมแข็งขันในกรอบอาเซียน

ออท. ณ กรุงเฮก ชี้ไทยกับกัมพูชาไม่ขัดแย้งกันเกี่ยวกับคำพิพากษา2505 คำขอตีความของกัมพูชาเป็นการขอให้ศาลตัดสินประเด็นที่ไม่ได้ตัดสินไว้เดิม
ออท. ณ กรุงเฮก กล่าวสรุปคำขอของไทยต่อศาลโลก คือ ขอให้ศาลจำหน่ายคดีออกจากสารบบ (จบ)



ศาลขอไทยเขมรส่งหลักฐานคนเจ็บตายเหตุปะทะภายใน7มิ.ย.

Pic_175609

ศาลโลกขอให้ไทยและกัมพูชา ส่งข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต รวมถึงผู้โยกย้ายถิ่นฐาน จากเหตุปะทะ ภายในวันที่ 7 มิ.ย. ขณะสองฝ่ายมีเวลาพิจารณาข้อมูลของแต่ละฝ่ายและให้ยืนยันกลับไปภายในวันที่ 14 มิ.ย. ก่อนนัดฟังคำพิพากษา...
เมื่อเวลาประมาณ​23.30 น. วันที่ 31 พ.ค.​ 2554 นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการ รมว.ต่างประเทศกล่าวกับ สถานีโทรทัศน์ทีเอ็นเอ็น ถึงการกล่าวสรุป ในวันนี้ของทั้งไทยและกัมพูชา ว่า โดยหลักเมื่อเช้า ทางกัมพูชามีโอกาสได้ชี้แจงเพิ่มเติม จากสิ่งที่เราได้ชี้แจงเมื่อวาน  เป็นการขยายความ ไม่มีเรื่องอะไรใหม่มาก เป็นความพยายามพูดว่าคำตัดสินของศาลโลกเมื่อ 50 ปีที่แล้ว ผูกพันกับไทยในเรื่องใดบ้าง และ ไทยมีพันธกรณีที่จะต้องถอนทหารอะไร ซึ่งทราบดีอยู่แล้ว แต่เมื่อช่วงเย็น เราได้แจงไปชัดเจนว่า เรื่องทั้งหมดประเด็นที่หนึ่งคือว่าทางศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ ศาลโลกไม่มีขอบเขตอำนาจ ในการพิจารณาคดี ที่กัมพูชาได้ร้องขอมาในครั้งนี้ เพราะว่าเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับในอดีต เรื่องที่มีคำตัดสินใน 3 ประเด็น ประเทศไทยได้ปฏิบัติตามไปแล้วครบถ้วน ตั้งแต่เมื่อ 40-50 ปีที่แล้ว เพราะฉะนั้น ตรงนี้เป็นการทำความเข้าใจกับศาลให้ชัดเจน
นอกจากนี้ เป็นสาระต่างๆ ที่กัมพูชาได้ร้องมา ไม่ว่าเป็นเรื่อง การปะทะตามแนวชายแดน เราได้ชี้แจงไปชัดเจน ว่าเรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้นใครเป็นผู้เริ่มก่อน และ กัมพูชามีเจตนาอย่างไร ในการที่จะต้องการให้เกิดการปะทะ เพื่อนำเรื่องนี้มาสู่เวทีระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติหรือแม้แต่ศาลโลกในวันนี้ นอกจากนั้น ก็เป็นเรื่องเจตนาแฝงของกัมพูชา ในการที่เขาต้องการที่จะขึ้นทะเบียนตัวปราสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลกและต้องการพื้นที่โดยรอบซึ่งเป็นพื้นที่ของประเทศไทย ตรงนี้ได้มีการทำความเข้าใจกับศาลซึ่งได้ชี้แจงไปครบถ้วน สุดท้ายท่านทูตวีระชัย  พลาศัย ได้พูดชัดเจนว่า สิ่งที่เราร้องขอคือขอให้ศาลยกคำร้องทั้งหมดของกัมพูชา เนื่องจากคำร้องไม่สอดคล้องกับขอบเขตอำนาจของศาล และเป็นคำร้องที่ไม่มีมูลความจริง โดยเตรียมจะสรุปประเด็นรายละเอียดและนำเสนอนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง

เมื่อ ถามว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ที่กัมพูชาจะยื่นเรื่องให้ศาลโลกพิจารณาใหม่อีกครั้ง หากศาลไม่พิจารณาคุ้มครองชั่วคราวในครั้งนี้ นายชวนนท์ กล่าวว่า เข้าใจว่าการพิจารณาของศาลในแต่ละกรณีเมื่อมีการพิจารณาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ไปแล้ว คำตัดสินเป็นที่สิ้นสุด ไม่ว่าจะพิจารณาในลักษณะใด สิ่งที่ได้ดำเนินการในครั้งนี้ คิดว่าครบถ้วนพอสมควร ในเรื่องขอบเขตอำนาจศาลเรื่องของสาระ ต่างๆ เมื่อศาลมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งมาแล้ว กัมพูชาคงไม่กลับไปเรียกร้องอย่างใดได้อีก
นายชวนนท์ กล่าวอีกว่า ในครั้งนี้ก่อนจะปิดการนำเสนอข้อมูล ต่างๆ ศาลได้แจ้งกับเราว่า ข้อที่หนึ่ง  ศาลมีคำถามกลับมาที่สองฝ่ายหนึ่งข้อ คือขอให้เราส่งรายงานตัวเลข ผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตและโยกย้ายถิ่นฐาน จากเหตุการณ์ปะทะที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าทั้งสองฝ่ายได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงใด ซึ่งหลักฐานเอกสารตรงนี้ ต้องส่งไปยังศาลภายในวันที่ 7 มิ.ย. ก่อนเวลา 18.00 น. และหลังจากนั้น ทั้งสองฝ่าย จะมีเวลา 7 วันในการพิจารณา ข้อมูลของแต่ละฝ่ายว่ามีความจริงเท็จอย่างไรและต้องมีการยืนยันกลับไปที่ศาล อีกครั้งหนึ่ง ภายใน 7วัน คือวันที่ 14 มิ.ย. ก่อนเวลา 18.00 น. เช่นเดียวกัน จากนั้น  เมื่อพิจารณาเสร็จแล้ว ศาลจะแจ้งมาที่ผู้แทนของเราคือท่านทูต ประจำกรุงเฮกอีกครั้งว่า จะมีการนัดฟังคำพิพากษากันในวันไหน
นายชวนนท์ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้กัมพูชาไปมาเกือบทุกที่แล้ว เพราะฉะนั้นตนเชื่อว่าท่าทีของเราสอดคล้องกันมาโดยตลอดและมีความเป็นเอกภาพ หวังว่าเราจะได้รับคำตอบที่ดีและพิจารณาคดีที่ยุติธรรมแต่คงต้องรอดูอีก ครั้งหนึ่ง แต่เรามีมาตรการในการคุ้มครองและปกป้องผืนแผ่นดินไทยโดยตลอดอยู่แล้ว
ส่วน ความสัมพันธ์สองประเทศ​คิดว่าไม่น่าเกี่ยวข้องกัน เพราะเรื่องขึ้นสู่ศาลแล้ว ไม่ควรจะเอาเรื่องนี้เป็นการเมืองอีก หวังว่ากัมพูชาจะคิดได้เช่นนั้น เพราะว่าประเทศไทยยึดหลักกฎหมายที่ถูกต้องและยุติธรรม เท่านั้น ตนเรียนได้ว่า เราได้ชี้แจงอย่างเต็มที่ ทุกประเด็นที่เราต้องการสื่อสารได้รับการถ่ายทอดไปทั้งหมด และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ที่ทำให้ศาลเห็นความเป็นจริงที่เกิดขึ้น  เรื่องราวที่เกิดขึ้นประวัติศาสตร์ไทยกัมพูชาที่ผ่านมาทั้งหมด ขอบเขตอำนาจศาลและการกล่าวหาของกัมพูชาทุกอย่างได้ถ่ายทอดไปยังศาลอย่างเป็น ระบบ และละเอียด

ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง