บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เปิดข้อโต้แย้งเขมรวันสุดท้ายที่ศาลโลก-อัดไทยขวางตีความ


ฟิฟทีนมูฟ – สื่อเขมรเปิดข้อโต้แย้งฝ่ายเขมร ระบุไทยพยายามขัดขวางอย่างหนักมิให้มีการตีความคำตัดสิน พ.ศ. ๒๕๐๕ เพราะอันตรายกับไทย ระบุตีโต้ได้ในทุกประเด็น ไทยบอกเขมรเริ่มโจมตีก่อนแล้วทำไมไทยไม่ยอมรับกลไกลแก้ปัญหาโดยสันติวิธี เรื่อง MOU43 เขมรซัดใส่ไม่ใช่เรื่องปักปันเขตแดนซึ่งเสร็จแล้วตามแผนที่ เขมรเห็นด้วยเพราะแค่จะปักหลักเขตร่วมกัน ย้ำศาลมีอำนาจเพราะไทยกับเขมรตีความคำตัดสินไม่เหมือนกัน และมาตรการชั่วคราวจำเป็นสำหรับพระวิหาร เพราะขณะที่ปะทะที่ตาเมือนและตาควาย ไทยยังบินล่วงล้ำพระวิหารซ้ำยังยิงปืนใหญ่ใส่ปราสาทด้วย
คณะผู้แทนกัมพูชาในการเปิดรับฟังคำร้องขอมาตรการชั่วคราว ที่ศาลโลก ระหว่างวันที่ ๓๐-๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔
คณะผู้แทนกัมพูชาในการเปิดรับฟังคำร้องขอมาตรการชั่วคราว ที่ศาลโลก ระหว่างวันที่ ๓๐-๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔

สำนักข่าวซีอีเอ็นของกัมพูชา (๑ มิถุนายน ๒๕๕๔) รายงานประเด็นโต้แย้งระหว่างไทยและกัมพูชาที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรุงเฮก โดยระบุว่าไทยพยายามอย่างเต็มที่ที่จะขัดขวางไม่ให้ศาลฯ รับคำร้องของกัมพูชา ขอให้ตีความคำตัดสินเดิมเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕ อีกครั้งเกี่ยวกับปัญหาพระวิหาร โดยในการแถลงสรุปในวันที่สอง คือ วันที่ ๓๑ พฤษภาคม นั้น แต่ละฝ่ายมีเวลา ๑ ชั่วโมง ในการแถลงตอบโต้
สำนักข่าวดังกล่าวระบุว่า ในการโต้แย้ง ไทยได้ยกประเด็นขึ้นว่า กัมพูชาเป็นฝ่ายเริ่มเปิดการโจมตีก่อน ไทยเป็นผู้รักในสันติไม่ต้องการหาเรื่องกัมพูชา ในประเด็นนี้ กัมพูชาตอบโต้ว่า ถ้าไทยเป็นประเทศรักสันติ เป็นประเทศรับเคราะห์จากการรุกรานของกัมพูชา เหตุอะไรที่ไทยเอาแต่ปฏิเสธไม่รับกลไกการสลายความขัดแย้งโดยสันติวิธี  ไม่ว่าจะเป็นที่คณะมนตรีความมั่นคง ที่อาเซียน หรือที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศก็ตาม ไทยปฏิเสธมาโดยตลอด แม้แต่ผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียที่จะเข้ามาตรวจสอบการหยุดยิง ไทยก็ขัดขวาง นี่หรือผู้รักในสันติและเป็นผู้รับเคราะห์ ขณะที่กัมพูชากลับแสวงหาทุกกลไกเพื่อแก้ปัญหาโดยสันติวิธี โดยมีฝ่ายที่ ๓ เข้าร่วม แต่ไทยไม่เห็นชอบ
ประเด็นที่ ๒ บันทึกความเข้าใจฯ พ.ศ. ๒๕๔๓ (MOU) เป็นหลักฐานยืนยันว่า กัมพูชาก็ได้รับทราบเช่นเดียวกับไทยแล้วว่าคำตัดสิน พ.ศ.๒๕๐๕ กล่าวถึงแต่เพียงตัวปราสาทพระวิหารเท่านั้น ไม่ได้กำหนดเกี่ยวกับพรมแดน เนื่องจากศาลฯ ไม่ได้กำหนดพรมแดนดังกล่าว ไทยและกัมพูชาจึงได้ร่วมทำบันทึกความเข้าใจฯ พ.ศ.๒๕๔๓ เพื่อกำหนดพรมแดน ดังนั้น ไทยและกัมพูชาไม่ได้วิวาทกันในคำตัดสิน พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งหมายความว่า ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศไม่มีอำนาจพิจารณาคำร้องขอตีความคำตัดสินของ กัมพูชาแต่อย่างใด
ประเด็นนี้ กัมพูชาได้โต้แย้งว่า บันทึกความเข้าใจฯ พ.ศ.๒๕๔๓ ไม่ใช่การร่วมกันเพื่อกำหนดเขตแดน แต่เพื่อจัดทำหลักเขตแดน หมายความว่าเรื่องพรมแดนเสร็จสิ้นแล้วในทางแผนที่ ขาดแต่การปักหลักเขต ด้วยเหตุนี้ กัมพูชาจึงได้เห็นชอบร่วมกับไทยเพื่อจัดทำหลักเขต กัมพูชาก็ได้มอบหนังสือบันทึกความเข้าใจฯ พ.ศ.๒๕๔๓ จำนวน ๑ ฉบับ ให้กับองค์คณะผู้พิพากษา เพื่อพิจารณาเอกสารความตกลงด้วยตนเอง
ประเด็นต่อมา ไทยได้ยกขึ้นว่า กัมพูชาได้สร้างเรื่องขึ้นเกี่ยวกับการโต้แย้งในความหมายและขอบเขตของคำ ตัดสิน พ.ศ.๒๕๐๕ ในความเป็นจริง ไม่มีการโต้แย้งอะไรที่ต้องให้ศาลฯ มาตีความ ไทยยังเสนออีกว่า ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศที่ได้ให้ไทยถอนทหารและกองกำลังติดอาวุธทั้งหมดออก จากปราสาทพระวิหาร และจากบริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหารนั้น  ครอบคลุมเฉพาะขณะเวลาที่ศาลตัดสินเท่านั้น ไม่ใช่ข้อผูกพันของไทยที่ต้องปฏิบัติตามไปตลอด
ในประเด็นนี้ เป็นเรื่องง่ายสำหรับกัมพูชาที่จะโต้แย้ง เนื่องจากการยกประเด็นนี้ขึ้นของไทย มีนัยยะครบถ้วนที่จะบอกว่า ไทยและกัมพูชาเห็นต่างกันเกี่ยวกับความหมายของคำตัดสิน พ.ศ. ๒๕๐๕ กล่าวคือ กัมพูชาเห็นว่าคำตัดสินดังกล่าวมีผลบังคับไปตลอดทุกวัน แต่ไทยเห็นว่ามีผลเฉพาะในเวลาที่ศาลฯ ตัดสินเท่านั้น นี่จึงเป็นเหตุผลครบถ้วนที่ศาลฯ ควรตีความคำตัดสินดังกล่าวอีกครั้ง
เกี่ยวกับประเด็นมาตรการชั่วคราวเร่งด่วนนั้น ไทยได้พยายามอ้างว่าไม่มีสถานการณ์อะไรที่ต้องให้ศาลฯ ออกมาตรการเร่งด่วน เนื่องจากไม่มีความขัดแย้งที่พระวิหารอีก มีเฉพาะที่ปราสาทตาควายและตาเมือน ซึ่งอยู่ห่างจากพระวิหาร ดังนั้น คำร้องขอมาตรการชั่วคราวเร่งด่วนของกัมพูชาไม่มีมูลฐานแต่อย่างใด
ต่อประเด็นนี้ กัมพูชาตอบโต้ว่า เมื่อเดือนเมษายนและพฤษภาคม ที่ผ่านมานั้น ในเวลาที่กัมพูชายื่นคำร้องถึงศาลกรุงเฮก การปะทะด้วยอาวุธก็ได้เกิดขึ้นเช่นกันที่พื้นที่ปราสาทพระวิหาร ไทยได้บินล่วงล้ำน่านฟ้าของกัมพูชา และได้ยิงปืนใหญ่มาในพื้นที่ปราสาทพระวิหาร ดังนั้น มาตรการเร่งด่วนที่กัมพูชาเสนอขอสำหรับพื้นที่พระวิหาร เป็นเขตอำนาจอย่างเต็มเปี่ยมของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศที่ควรออกมาตรการ
สำนักข่าวของกัมพูชาสรุปในตอนท้ายว่า ต่อประเด็นคำขอมาตรการชั่วคราว ฝ่ายไทยมีข้อโต้แย้งเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่ฝ่ายไทยกลับใช้เวลาอย่างมากในการกล่าวเกี่ยวกับคำร้องขอตีความคำตัดสิน ดังนั้น เป้าหมายของไทยคือทำอย่างไรก็ตามเพื่อขัดขวางไม่ให้มีการตีความคำตัดสิน เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕  อีกครั้ง เนื่องจากเป็นทั้งความยุ่งยากและอันตรายอย่างยิ่งต่อไทย
ตามเอกสารข่าวแจก (Press Release) อย่างไม่เป็นทางการของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ระบุว่า การกล่าวสรุปในตอนท้าย ผู้แทนของกัมพูชา นายฮอ นำฮง ได้ย้ำขอมาตรการชั่วคราว ใน ๓ ประเด็น คือ ๑.ให้ไทยถอนกำลังทหารทั้งหมดออกจากแผ่นดินกัมพูชาในบริเวณปราสาทพระวิหาร ในทันทีและไม่มีเงื่อนไข ๒.สั่งห้ามทุกกิจกรรมทางทหารของไทยในบริเวณปราสาทพระวิหาร และ ๓. ให้ไทยงดเว้นทุกการกระทำที่จะกระทบสิทธิ์ของกัมพูชาหรือซ้ำเติมความขัดแย้ง ในระหว่างพิจารณาคดี ขณะที่ผู้แทนไทย นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก อาศัยข้อ ๖๐ ของธรรมนูญศาลฯ  ขอให้ศาลฯ ถอนคำร้องของกัมพูชาออกจากทะเบียนคดี ทั้งนี้ ศาลยังไม่กำหนดวันแถลงผลการพิจารณา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง