บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2554

จดหมายจากคุกเปรซอร์

กราบนมัสการท่านสมณะ

ดิฉัน ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ เขียนจากคุกเปรซอร์ ฝากจดหมายฉบับนี้ ผ่านมาทางเพื่อน ชื่อตุ๊ก เพราะตุ๊กจะไปทานข้าวที่สันติอโศกเป็นประจำ และที่ไม่ระบุว่า ต้องเป็นท่านสมณะรูปใด เพราะไม่อยากให้ต้องลำบากกับคนฝาก

เนื่องจากมีเรื่องจะขอเรียนปรึกษา เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม อยู่ที่นี่มีเวลา อ่านหนังสือ ของพ่อท่าน ได้มาก การปฏิบัติธรรมที่เกี่ยวกับจิตของตัวเองล้วนๆ เพราะผัสสะทางกาย วาจา มีน้อยมาก (เพราะสื่อสารกับคนอื่นไม่ได้ ไม่เข้าใจภาษา) ตอนนี้ ฝึกกิน ๒ มื้อ ระหว่างมื้อ ไม่กินจุกจิก ทำได้ ไม่มีปัญหา และตั้งใจไม่กินขนม (ซึ่งเป็นของชอบมากๆ) ยกเว้นผลไม้และน้ำผลไม้ ยังต้องใช้ชีวิตกดข่มอยู่

ได้อ่านหนังสือ สมาธิพุทธ ๔ รอบ, เจริญชีพด้วยการก้าว ๓ รอบ และหนังสืออื่นๆ อีกประมาณ ๔ เล่ม (หลักการปฏิบัติตนให้บริสุทธิ์, ความรัก ๑๐ มิติ, พุทธคือ อเทวนิยม, คนคืออะไร) อ่านสารอโศก สัปดาห์ละ ๑ เล่ม และดอกหญ้า ประมาณ ๓ สัปดาห์ได้ ๑ เล่ม

อยากเรียนถามท่านสมณะ จะฝึกให้มีสติรู้ตัวทั่วพร้อม ให้สติอยู่กับปัจจุบัน จะทำได้อย่างไร พยายามแล้ว แต่ไม่ก้าวหน้า กิจกรรมที่ทำเวลาอยู่ที่นี่ เป็นกิจกรรม ที่ทำได้โดยอัตโนมัติ เช่นซักผ้า กวาดบ้าน สติเลยหลุดอยู่เสมอ แม้แต่เวลาสวดมนต์ ก็พยายามให้สติอยู่กับบทสวด ก็ยังทำไม่ได้ตลอด แต่ก็พยายามฝึกพิจารณา อารมณ์จิตที่เกิด ว่าผิดศีลข้อไหนบ้าง ตามทันบ้าง ไม่ทันบ้าง และหาเหตุพิจารณา ให้เกิดปัญญาให้ได้ อยากได้คำชี้แนะ และวิธีการฝึกเจโตสมถะ

ก่อนหน้านี้เขียนจดหมายออกมาคุยกับคนอื่นๆหลายคน เขียนมาขอให้ช่วยหาหนังสือ ทางเอก, เปิดโลกเทวดา และถามตอบปัญหาการปฏิบัติธรรม เขียนมาถามถึงเรื่อง เหตุการณ์ ในกลุ่มที่คบคุ้น ว่ามีอะไรบ้าง เพราะอยากเปิดรับผัสสะ เพื่อจะได้ฝึกตัวเอง เพราะอยู่ที่นี่ มีเวลาพิจารณาจิต ของตัวเองได้มาก แต่ทุกครั้งก็เงียบหาย ไม่มีใครหือ... ใครอือ...อะไรกลับมาเลย ไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไร ไม่อยากให้รับรู้เรื่อง ที่จะทำให้ ไม่สบายใจ หรือ ฯลฯ หนังสือที่ให้ช่วยหา ก็ไม่ได้รับคำตอบว่าไม่ได้เพราะอะไร หาไม่ได้ หรือไม่อยากให้งมงาย

มีความมั่นใจว่า ถ้าท่านสมณะเมื่อได้อ่านจดหมายฉบับนี้แล้ว ท่านคงไม่นิ่งดูดาย ไม่ตอบกลับมาแน่ ฉะนั้น ถ้ายังไม่ได้รับคำตอบอีก ก็คงเป็นเพราะเหตุอื่น ถ้าเป็นด้วยเหตุอื่น ซึ่งไม่รู้ว่าอะไร ก็ป่วยการที่จะเขียนอะไรออกมาอีกแล้ว จดหมายฉบับนี้ ก็จะเป็นฉบับสุดท้าย ที่จะสื่อสารกับคนภายนอก

จึงเรียนมาเพื่อขอพึ่งใบบุญจากท่านสมณะ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ขอน้อมกราบพ่อท่าน ท่านสมณะ ท่านสิกขมาตุและญาติธรรมทุกท่าน

ราตรี
๒๑-๑๐-๕๔ ณ เปรซอร์

ปล. ถ้าท่านจะตอบ ขอให้ช่วยเป็นการพิมพ์ เพราะจะผ่านการตรวจได้ง่ายกว่าลายมือเขียน และ ถ้าท่านต้องการติดต่อกับตุ๊ก คนที่นำจดหมายมา ท่านสามารถติดต่อ โดยผ่านพี่ดินนา (FMTV)





 

สำนึกดี คุณราตรี

อาตมาเพิ่งได้รับจดหมายจากคุณวันที่ ๔ พ.ย.๕๔ ซึ่งพ่อท่านก็เพิ่งได้รับมา แล้วมอบหมาย ให้อาตมาตอบ ก่อนหน้านี้ได้เห็นคุณตุ๊ก มารับอาหารแห้ง บอกว่า จะฝากแม่คุณวีระ มาเยี่ยมคุณ แต่ไม่ได้พูดคุย ถามไถ่กันเท่าไรนัก ดีเลย จดหมายคงเป็นโอกาส ให้ได้คุยกันในฉบับนี้เลย

คุณถามว่า จะฝึกให้มีสติรู้ตัวทั่วพร้อม ให้สติอยู่กับปัจจุบันได้อย่างไร ? (พยายามแล้ว แต่ไม่ก้าวหน้า กิจกรรมที่ทำอยู่ เป็นกิจกรรมที่ทำได้โดยอัตโนมัติ เช่น ซักผ้า กวาดบ้าน.... สติเลยหลุดอยู่เสมอ ..แม้แต่เวลาสวดมนต์ ก็พยายามให้สติอยู่กับบทสวด ก็ยังทำไม่ได้ตลอด แต่ก็พยายามฝึก พิจารณาอารมณ์จิตที่เกิดว่า ผิดศีลข้อไหนบ้าง ตามทันบ้าง ไม่ทันบ้าง และหาเหตุ พิจารณาให้เกิดปัญญาให้ได้)... จึงอยากได้คำชี้แนะ และ วิธีการฝึกเจโตสมถะ

ตอบ จะฝึกให้สติอยู่กับปัจจุบันได้อย่างไรนั้น ? ก็ต้องลองตรวจเช็คดูซิว่า มันหลุดเพราะอะไร? ซึ่งต้นเหตุสำคัญมี ๓ ประการด้วยกัน คือ ๑.กามวิตก (รูป-รส-กลิ่น-เสียง-สัมผัส) ๒.พยาบาทวิตก (เจ้าคิดเจ้าแค้น) ๓. วิหิงสาวิตก (หมกมุ่นกับอดีต ที่ควรดีดมันออกไป หรือฟุ้งซ่าน ไปกับอนาคต ที่คด ๆ งอ ๆ เอาเป็นสาระแก่นสารไม่ได้) ความจริงจึงอยู่ที่ปัจจุบัน (ควรตะบันเข้าไป) แม้ปัจจุบันขณะ แต่ละขณะความจริง ก็ตั้งอยู่บนปลายเข็มที่ผ่าน “แว็บไป ๆ” อยู่ตลอดเวลา พระพุทธเจ้า ได้ตรัสสอนไว้ว่า “อดีตคือสิ่งที่ล่วงเลยมาแล้ว (อย่าไปขยำขี้) อนาคต คือสิ่งที่ยังมาไม่ถึง (อย่าไปกังวล เหมือนนั่งเขกหัวตัวเอง) พึงทำแต่ละปัจจุบันขณะ ให้ดีที่สุด (เพราะแต่ละขณะ ก็อยู่ชั่วแว็บเดียว เท่านั้นเอง เกิดขึ้น- ตั้งอยู่- และดับไป ถ้าใครไปคิด ยึดมั่นถือมั่น อะไรขึ้นมา จากชั่วแว็บ ก็จะกลายเป็นชั่ววูบ และชั่วนิจนิรันดร์)

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ปัจจัยที่จะทำให้สติแข็งแรงขึ้นคือ “โยนิโสมนสิการ” เช่น ตอนนี้ เรากำลังฝึกไม่กินขนม ก็ต้องหยั่งเข้าไปอ่าน อารมณ์ ที่ทำให้เราชอบขนม ไม่มีอารมณ์ชอบตัวนี้ เราตายไหม? เราไม่ได้สนองอารมณ์ชอบตัวนี้ มันก็ไม่เห็นตาย แล้วทั้งร่างกาย และจิตใจ ก็ยังสบายกว่าด้วยหรือเปล่า?

พ่อท่านฯ เคยสอนพวกเราว่า “ขนม ๑๐๐ อย่างทำจากข้าวอย่างเดียว เพราะฉะนั้น กินข้าวอย่างเดียว จึงเท่ากับ กินขนม ๑๐๐ อย่าง” แล้วพยายามอ่านอารมณ์ ที่เรากินข้าว โดยไม่มีขนมว่า มันสงบกว่า ปราณีตกว่า มีสติรู้ตัวได้ดีกว่า ก็จะเป็นปัจจัย ที่จะทำให้สติ แข็งแรงขึ้น แม้แต่เรื่อง พยาบาทวิตก หรือ วิหิงสาวิตก เราก็ตาม “โยนิโสมนสิการ” แบบกัดไม่ปล่อย การเจริญสติของเรา ก็จะดีขึ้นไปตามลำดับ

ชีวิตช่วงนี้คุณมีโอกาสใช้เวลาอ่านหนังสือได้มาก ก็ควรเอาประโยชน์ในจุดนี้ให้เต็มที่ อ่านหนังสือ เล่มใดแล้ว ก็อ่านซ้ำอีกได้ ดูซิ เราจะมีอารมณ์เบื่อมั้ย? ผัสสะมันก็เกิด ตลอดเวลาอยู่แล้ว สังเกตดีๆ การอ่านหนังสือ (หรือจะทำอะไร) ก็อย่าลืมอ่านใจด้วย พยายามพิจารณาให้ออก แยกแยะความแตกต่าง มันมีอาการอย่างไร เอาสภาวะ มาเทียบเคียงกับที่เรารับรู้มา (จากหนังสือ หรือฟังธรรม) ถ้ามันเกิดจิตว่าง ก็กำหนด จดจำไว้ ( จะจดบันทึกสภาวะจิต สภาวะธรรมทุกวันก็ยิ่งดี เพราะเรามีเวลา มากอยู่แล้ว ...ต่อไปอาจส่งให้ บริษัท ฟ้าอภัยพิมพ์ กลายเป็น Best seller ก็ได้ )

พุทธะ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้อะไร.. ตื่นจากอะไร แล้วเบิกบานอย่างไร? บางคน ยังไม่ค่อยเข้าใจ พยายามทำความเข้าใจในภาษา คำความ กับสภาวะจิต อาจจะยากบ้าง ถ้าติดตรงไหน ก็ให้พยายามย้อนทวน กลับไปอ่านตอนก่อนๆดู แล้วสรุปความหมาย ของภาษาธรรมะให้ได้

เจโตสมถะ คือทำจิตให้สงบ (เจโต=จิต ; สมถะ=หยุดหรือสงบ) แต่ทั่วๆไป เขามักถือเป็นการ นั่งสมาธิ ซึ่งมีอุบายวิธีมากมาย ให้เลือกใช้ ตามจริตของตน เช่น ลุงจำลอง ก่อนนอนเขาก็จะนับว่า เขาเกิดมาได้กี่ปี กี่เดือน กี่วันแล้ว ถ้าจะตายเป็นไง? พร้อมที่จะตายหรือยัง? การระลึกถึง ความตายไว้เสมอ ๆ เรียกว่า เจริญ “มรณัสสติ” ก็จะทำให้จิตของเราหยุด และสงบขึ้นมาได้ ทำบ่อย ๆ ก็จะมีความชำนาญ ทำให้จิตสงบตั้งมั่นได้เร็วขึ้น

แต่ส่วนใหญ่เขานิยมใช้ ให้มีสติอยู่กับลมหายใจเข้า –ออก ไม่ว่าจะบริกรรม “สัมมาอรหัง” , “พุท-โธ”, หรือ “เย-ซู” จะเพ่งลูกแก้ว หรือ เพ่งเทียน ก็มีวัตถุประสงค์ เดียวกัน คือ การสะกดจิต ให้หยุดอยู่กับเรื่องนั้น สิ่งนั้น ซึ่งจะเป็นอุปการะ ในการปฏิบัติธรรม ทำให้เราได้หัดอ่าน อารมณ์ของจิต ที่สงบชั่วคราว และยังได้เป็นการพักผ่อน

นอกจากนี้ พ่อท่านก็สอนให้ทำเตวิชโชไปด้วย คือ ขณะที่เรานั่งเจโตฯ เมื่อสงบแล้ว เราก็ทำการทบทวน ตรวจสอบพฤติกรรม ที่ผ่านมา ของเราไปด้วย ก็เหมือนเราคิดบัญชี งบดุล แต่ละครั้งคราว แต่ละวัน เมื่อมีโจทย์ มีผัสสะ เกิดกิเลสเพิ่มหรือลดอย่างไร กำไร-ขาดทุน มากน้อย แค่ไหน ... เป็นการศึกษาเรียนรู้ ทำความเข้าใจจิตวิญญาณของเรา ให้กระจ่าง ก็จะทำให้เรา สามารถแก้ไขตัวเรา ให้ดีขึ้นได้ แต่ทางที่ดี ก็ควรกำหนดเวลาด้วย ว่า จะนั่งนานเท่าใด ฝึกๆไป ต่อไปก็จะกำหนดจิตใจ ให้อยู่ในการควบคุมได้

เอาล่ะ สำหรับธรรมะคงพอเท่านี้ก่อนนะ สงสัยอะไรก็ถามได้อีก ยินดีตอบให้เสมอ ส่วนสถานการณ์เมืองไทย ก็เริ่มจะวิกฤตแล้ว ทุกขภัยได้กันถ้วนหน้า การออกไปช่วย ดูเหมือน จะไม่มีวันจบ วันสิ้น อุทกภัยครั้งนี้ สาหัสจริงๆ พ่อท่านก็เตือนว่า ปีหน้า จะหนักกว่านี้ (ตามที่มีคำพยากรณ์กัน ทั้งโหราศาสตร์ และวิทยาศาสตร์) ที่ทุกข์กันมาก ก็เพราะ มีข้าวมีของมาก ถ้าเรามีแต่พออยู่ หรือ อยู่อย่างพอเพียง รู้จักพอ คงจะไม่ทุกข์มากนัก

คุณกับคุณวีระก็สามารถก้าวผ่านความทุกข์ ที่ต้องถูกจองจำนี้ได้ อาตมาเชื่อว่า พวกเราต้องสามารถ ผ่านด่านนี้ ลูกอโศกแทบทุกคน ล้วนแต่ มีโจทย์ประจำตัว จะเรียกว่า เป็นวิบากกรรมก็ได้ ซึ่งจะเป็นประสบการณ์ ให้ชีวิตเราเข้มแข็งขึ้น ดีขึ้นอีกด้วยซ้ำไป

“ลูกอโศก ย่อมสามารถเอาประโยชน์ได้ จากทุกสถานการณ์” นี่ก็เป็นเคล็ดลับ ในการทำบุญ คุณวีระ อาจจะสำเร็จวิชา “สูงสุดคืนสู่สามัญ” จากที่นั่นได้ เพราะคนที่จะเป็น “จอมยุทธ์” ได้นั้น จะต้องมี “สัจจานุโลมญาณ” สามารถยืดหยุ่น ต่อคนอื่นได้สูง โดยที่จิตใจตัวเอง ไม่เสีย ซึ่งพ่อท่านฯ เป็นตัวอย่างให้เราได้เห็นอยู่แล้ว

แม้แต่คุณราตรีเองก็ต้องขอชื่นชม ขนาดอยู่ในคุกอย่างนั้น ก็ยังอุตส่าห์มีแก่ใจ เป็นห่วงคนไทย ฝากสตางค์ มาช่วยซับขวัญ ผู้ประสพภัย น้ำท่วม แถมอยู่ในคุก ที่แสนจะยากลำบากอย่างนั้น ก็ยังสามารถฝึกฝน บำเพ็ญ ”ตบะธรรม” ให้เคร่งครัด ได้อย่าง น่าอัศจรรย์ ธรรมะที่ประพฤติดีแล้ว ย่อมคุ้มครอง ผู้ประพฤติธรรม แม้จะตกน้ำ ก็ไม่ไหล ตกไฟก็ไม่ไหม้ แม้จะอยู่ในคุก ก็ยังทำทุก วินาที ให้เป็นวินาทีแห่งบุญได้ เพราะเราคุ้มครองธรรม ธรรมจึงคุ้มครองเรา

"...ฝึกหยุด.. แต่ไม่หยุดฝึก..."

เจริญธรรม

ส.ดินไท
๖ พ.ย.๕๔

ปล. จม.ของคุณราตรี น่าจะเป็นประโยชน์กับมิตรสหาย และคนไทย ที่ยังติดตาม ข่าวคราว ด้วยความเป็นห่วง เขียนเรื่องราว เล่ามาบ่อย ๆ ได้ก็ดี พร้อมกันนี้ ได้ฝากธรรมะ ของพ่อท่าน เรื่องความสำคัญของ ““โยนิโสมนสิการ” มาให้พิจารณาด้วย





 

จดหมายจากคุกเปรซอร์

กราบนมัสการท่านสมณะ

ดิฉัน ราตรี พิพัฒนาไพบูรณ์ เขียนจากคุกเปรซอร์ ฝากจดหมายฉบับนี้ ผ่านมาทางเพื่อน ชื่อตุ๊ก เพราะตุ๊กจะไปทานข้าวที่สันติอโศกเป็นประจำ และที่ไม่ระบุว่า ต้องเป็นท่านสมณะรูปใด เพราะไม่อยากให้ต้องลำบากกับคนฝาก

เนื่องจากมีเรื่องจะขอเรียนปรึกษา เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม อยู่ที่นี่มีเวลา อ่านหนังสือ ของพ่อท่าน ได้มาก การปฏิบัติธรรมที่เกี่ยวกับจิตของตัวเองล้วนๆ เพราะผัสสะทางกาย วาจา มีน้อยมาก (เพราะสื่อสารกับคนอื่นไม่ได้ ไม่เข้าใจภาษา) ตอนนี้ ฝึกกิน ๒ มื้อ ระหว่างมื้อ ไม่กินจุกจิก ทำได้ ไม่มีปัญหา และตั้งใจไม่กินขนม (ซึ่งเป็นของชอบมากๆ) ยกเว้นผลไม้และน้ำผลไม้ ยังต้องใช้ชีวิตกดข่มอยู่

ได้อ่านหนังสือ สมาธิพุทธ ๔ รอบ, เจริญชีพด้วยการก้าว ๓ รอบ และหนังสืออื่นๆ อีกประมาณ ๔ เล่ม (หลักการปฏิบัติตนให้บริสุทธิ์, ความรัก ๑๐ มิติ, พุทธคือ อเทวนิยม, คนคืออะไร) อ่านสารอโศก สัปดาห์ละ ๑ เล่ม และดอกหญ้า ประมาณ ๓ สัปดาห์ได้ ๑ เล่ม

อยากเรียนถามท่านสมณะ จะฝึกให้มีสติรู้ตัวทั่วพร้อม ให้สติอยู่กับปัจจุบัน จะทำได้อย่างไร พยายามแล้ว แต่ไม่ก้าวหน้า กิจกรรมที่ทำเวลาอยู่ที่นี่ เป็นกิจกรรม ที่ทำได้โดยอัตโนมัติ เช่นซักผ้า กวาดบ้าน สติเลยหลุดอยู่เสมอ แม้แต่เวลาสวดมนต์ ก็พยายามให้สติอยู่กับบทสวด ก็ยังทำไม่ได้ตลอด แต่ก็พยายามฝึกพิจารณา อารมณ์จิตที่เกิด ว่าผิดศีลข้อไหนบ้าง ตามทันบ้าง ไม่ทันบ้าง และหาเหตุพิจารณา ให้เกิดปัญญาให้ได้ อยากได้คำชี้แนะ และวิธีการฝึกเจโตสมถะ

ก่อนหน้านี้เขียนจดหมายออกมาคุยกับคนอื่นๆหลายคน เขียนมาขอให้ช่วยหาหนังสือ ทางเอก, เปิดโลกเทวดา และถามตอบปัญหาการปฏิบัติธรรม เขียนมาถามถึงเรื่อง เหตุการณ์ ในกลุ่มที่คบคุ้น ว่ามีอะไรบ้าง เพราะอยากเปิดรับผัสสะ เพื่อจะได้ฝึกตัวเอง เพราะอยู่ที่นี่ มีเวลาพิจารณาจิต ของตัวเองได้มาก แต่ทุกครั้งก็เงียบหาย ไม่มีใครหือ... ใครอือ...อะไรกลับมาเลย ไม่รู้ว่าเป็นเพราะอะไร ไม่อยากให้รับรู้เรื่อง ที่จะทำให้ ไม่สบายใจ หรือ ฯลฯ หนังสือที่ให้ช่วยหา ก็ไม่ได้รับคำตอบว่าไม่ได้เพราะอะไร หาไม่ได้ หรือไม่อยากให้งมงาย

มีความมั่นใจว่า ถ้าท่านสมณะเมื่อได้อ่านจดหมายฉบับนี้แล้ว ท่านคงไม่นิ่งดูดาย ไม่ตอบกลับมาแน่ ฉะนั้น ถ้ายังไม่ได้รับคำตอบอีก ก็คงเป็นเพราะเหตุอื่น ถ้าเป็นด้วยเหตุอื่น ซึ่งไม่รู้ว่าอะไร ก็ป่วยการที่จะเขียนอะไรออกมาอีกแล้ว จดหมายฉบับนี้ ก็จะเป็นฉบับสุดท้าย ที่จะสื่อสารกับคนภายนอก

จึงเรียนมาเพื่อขอพึ่งใบบุญจากท่านสมณะ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

ขอน้อมกราบพ่อท่าน ท่านสมณะ ท่านสิกขมาตุและญาติธรรมทุกท่าน

ราตรี
๒๑-๑๐-๕๔ ณ เปรซอร์

ปล. ถ้าท่านจะตอบ ขอให้ช่วยเป็นการพิมพ์ เพราะจะผ่านการตรวจได้ง่ายกว่าลายมือเขียน และ ถ้าท่านต้องการติดต่อกับตุ๊ก คนที่นำจดหมายมา ท่านสามารถติดต่อ โดยผ่านพี่ดินนา (FMTV)

 

 

สำนึกดี คุณราตรี

อาตมาเพิ่งได้รับจดหมายจากคุณวันที่ ๔ พ.ย.๕๔ ซึ่งพ่อท่านก็เพิ่งได้รับมา แล้วมอบหมาย ให้อาตมาตอบ ก่อนหน้านี้ได้เห็นคุณตุ๊ก มารับอาหารแห้ง บอกว่า จะฝากแม่คุณวีระ มาเยี่ยมคุณ แต่ไม่ได้พูดคุย ถามไถ่กันเท่าไรนัก ดีเลย จดหมายคงเป็นโอกาส ให้ได้คุยกันในฉบับนี้เลย

คุณถามว่า จะฝึกให้มีสติรู้ตัวทั่วพร้อม ให้สติอยู่กับปัจจุบันได้อย่างไร ? (พยายามแล้ว แต่ไม่ก้าวหน้า กิจกรรมที่ทำอยู่ เป็นกิจกรรมที่ทำได้โดยอัตโนมัติ เช่น ซักผ้า กวาดบ้าน.... สติเลยหลุดอยู่เสมอ ..แม้แต่เวลาสวดมนต์ ก็พยายามให้สติอยู่กับบทสวด ก็ยังทำไม่ได้ตลอด แต่ก็พยายามฝึก พิจารณาอารมณ์จิตที่เกิดว่า ผิดศีลข้อไหนบ้าง ตามทันบ้าง ไม่ทันบ้าง และหาเหตุ พิจารณาให้เกิดปัญญาให้ได้)... จึงอยากได้คำชี้แนะ และ วิธีการฝึกเจโตสมถะ

ตอบ จะฝึกให้สติอยู่กับปัจจุบันได้อย่างไรนั้น ? ก็ต้องลองตรวจเช็คดูซิว่า มันหลุดเพราะอะไร? ซึ่งต้นเหตุสำคัญมี ๓ ประการด้วยกัน คือ ๑.กามวิตก (รูป-รส-กลิ่น-เสียง-สัมผัส) ๒.พยาบาทวิตก (เจ้าคิดเจ้าแค้น) ๓. วิหิงสาวิตก (หมกมุ่นกับอดีต ที่ควรดีดมันออกไป หรือฟุ้งซ่าน ไปกับอนาคต ที่คด ๆ งอ ๆ เอาเป็นสาระแก่นสารไม่ได้) ความจริงจึงอยู่ที่ปัจจุบัน (ควรตะบันเข้าไป) แม้ปัจจุบันขณะ แต่ละขณะความจริง ก็ตั้งอยู่บนปลายเข็มที่ผ่าน “แว็บไป ๆ” อยู่ตลอดเวลา พระพุทธเจ้า ได้ตรัสสอนไว้ว่า “อดีตคือสิ่งที่ล่วงเลยมาแล้ว (อย่าไปขยำขี้) อนาคต คือสิ่งที่ยังมาไม่ถึง (อย่าไปกังวล เหมือนนั่งเขกหัวตัวเอง) พึงทำแต่ละปัจจุบันขณะ ให้ดีที่สุด (เพราะแต่ละขณะ ก็อยู่ชั่วแว็บเดียว เท่านั้นเอง เกิดขึ้น- ตั้งอยู่- และดับไป ถ้าใครไปคิด ยึดมั่นถือมั่น อะไรขึ้นมา จากชั่วแว็บ ก็จะกลายเป็นชั่ววูบ และชั่วนิจนิรันดร์)

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ปัจจัยที่จะทำให้สติแข็งแรงขึ้นคือ “โยนิโสมนสิการ” เช่น ตอนนี้ เรากำลังฝึกไม่กินขนม ก็ต้องหยั่งเข้าไปอ่าน อารมณ์ ที่ทำให้เราชอบขนม ไม่มีอารมณ์ชอบตัวนี้ เราตายไหม? เราไม่ได้สนองอารมณ์ชอบตัวนี้ มันก็ไม่เห็นตาย แล้วทั้งร่างกาย และจิตใจ ก็ยังสบายกว่าด้วยหรือเปล่า?

พ่อท่านฯ เคยสอนพวกเราว่า “ขนม ๑๐๐ อย่างทำจากข้าวอย่างเดียว เพราะฉะนั้น กินข้าวอย่างเดียว จึงเท่ากับ กินขนม ๑๐๐ อย่าง” แล้วพยายามอ่านอารมณ์ ที่เรากินข้าว โดยไม่มีขนมว่า มันสงบกว่า ปราณีตกว่า มีสติรู้ตัวได้ดีกว่า ก็จะเป็นปัจจัย ที่จะทำให้สติ แข็งแรงขึ้น แม้แต่เรื่อง พยาบาทวิตก หรือ วิหิงสาวิตก เราก็ตาม “โยนิโสมนสิการ” แบบกัดไม่ปล่อย การเจริญสติของเรา ก็จะดีขึ้นไปตามลำดับ

ชีวิตช่วงนี้คุณมีโอกาสใช้เวลาอ่านหนังสือได้มาก ก็ควรเอาประโยชน์ในจุดนี้ให้เต็มที่ อ่านหนังสือ เล่มใดแล้ว ก็อ่านซ้ำอีกได้ ดูซิ เราจะมีอารมณ์เบื่อมั้ย? ผัสสะมันก็เกิด ตลอดเวลาอยู่แล้ว สังเกตดีๆ การอ่านหนังสือ (หรือจะทำอะไร) ก็อย่าลืมอ่านใจด้วย พยายามพิจารณาให้ออก แยกแยะความแตกต่าง มันมีอาการอย่างไร เอาสภาวะ มาเทียบเคียงกับที่เรารับรู้มา (จากหนังสือ หรือฟังธรรม) ถ้ามันเกิดจิตว่าง ก็กำหนด จดจำไว้ ( จะจดบันทึกสภาวะจิต สภาวะธรรมทุกวันก็ยิ่งดี เพราะเรามีเวลา มากอยู่แล้ว ...ต่อไปอาจส่งให้ บริษัท ฟ้าอภัยพิมพ์ กลายเป็น Best seller ก็ได้ )

พุทธะ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้อะไร.. ตื่นจากอะไร แล้วเบิกบานอย่างไร? บางคน ยังไม่ค่อยเข้าใจ พยายามทำความเข้าใจในภาษา คำความ กับสภาวะจิต อาจจะยากบ้าง ถ้าติดตรงไหน ก็ให้พยายามย้อนทวน กลับไปอ่านตอนก่อนๆดู แล้วสรุปความหมาย ของภาษาธรรมะให้ได้

เจโตสมถะ คือทำจิตให้สงบ (เจโต=จิต ; สมถะ=หยุดหรือสงบ) แต่ทั่วๆไป เขามักถือเป็นการ นั่งสมาธิ ซึ่งมีอุบายวิธีมากมาย ให้เลือกใช้ ตามจริตของตน เช่น ลุงจำลอง ก่อนนอนเขาก็จะนับว่า เขาเกิดมาได้กี่ปี กี่เดือน กี่วันแล้ว ถ้าจะตายเป็นไง? พร้อมที่จะตายหรือยัง? การระลึกถึง ความตายไว้เสมอ ๆ เรียกว่า เจริญ “มรณัสสติ” ก็จะทำให้จิตของเราหยุด และสงบขึ้นมาได้ ทำบ่อย ๆ ก็จะมีความชำนาญ ทำให้จิตสงบตั้งมั่นได้เร็วขึ้น

แต่ส่วนใหญ่เขานิยมใช้ ให้มีสติอยู่กับลมหายใจเข้า –ออก ไม่ว่าจะบริกรรม “สัมมาอรหัง” , “พุท-โธ”, หรือ “เย-ซู” จะเพ่งลูกแก้ว หรือ เพ่งเทียน ก็มีวัตถุประสงค์ เดียวกัน คือ การสะกดจิต ให้หยุดอยู่กับเรื่องนั้น สิ่งนั้น ซึ่งจะเป็นอุปการะ ในการปฏิบัติธรรม ทำให้เราได้หัดอ่าน อารมณ์ของจิต ที่สงบชั่วคราว และยังได้เป็นการพักผ่อน

นอกจากนี้ พ่อท่านก็สอนให้ทำเตวิชโชไปด้วย คือ ขณะที่เรานั่งเจโตฯ เมื่อสงบแล้ว เราก็ทำการทบทวน ตรวจสอบพฤติกรรม ที่ผ่านมา ของเราไปด้วย ก็เหมือนเราคิดบัญชี งบดุล แต่ละครั้งคราว แต่ละวัน เมื่อมีโจทย์ มีผัสสะ เกิดกิเลสเพิ่มหรือลดอย่างไร กำไร-ขาดทุน มากน้อย แค่ไหน ... เป็นการศึกษาเรียนรู้ ทำความเข้าใจจิตวิญญาณของเรา ให้กระจ่าง ก็จะทำให้เรา สามารถแก้ไขตัวเรา ให้ดีขึ้นได้ แต่ทางที่ดี ก็ควรกำหนดเวลาด้วย ว่า จะนั่งนานเท่าใด ฝึกๆไป ต่อไปก็จะกำหนดจิตใจ ให้อยู่ในการควบคุมได้

เอาล่ะ สำหรับธรรมะคงพอเท่านี้ก่อนนะ สงสัยอะไรก็ถามได้อีก ยินดีตอบให้เสมอ ส่วนสถานการณ์เมืองไทย ก็เริ่มจะวิกฤตแล้ว ทุกขภัยได้กันถ้วนหน้า การออกไปช่วย ดูเหมือน จะไม่มีวันจบ วันสิ้น อุทกภัยครั้งนี้ สาหัสจริงๆ พ่อท่านก็เตือนว่า ปีหน้า จะหนักกว่านี้ (ตามที่มีคำพยากรณ์กัน ทั้งโหราศาสตร์ และวิทยาศาสตร์) ที่ทุกข์กันมาก ก็เพราะ มีข้าวมีของมาก ถ้าเรามีแต่พออยู่ หรือ อยู่อย่างพอเพียง รู้จักพอ คงจะไม่ทุกข์มากนัก

คุณกับคุณวีระก็สามารถก้าวผ่านความทุกข์ ที่ต้องถูกจองจำนี้ได้ อาตมาเชื่อว่า พวกเราต้องสามารถ ผ่านด่านนี้ ลูกอโศกแทบทุกคน ล้วนแต่ มีโจทย์ประจำตัว จะเรียกว่า เป็นวิบากกรรมก็ได้ ซึ่งจะเป็นประสบการณ์ ให้ชีวิตเราเข้มแข็งขึ้น ดีขึ้นอีกด้วยซ้ำไป

“ลูกอโศก ย่อมสามารถเอาประโยชน์ได้ จากทุกสถานการณ์” นี่ก็เป็นเคล็ดลับ ในการทำบุญ คุณวีระ อาจจะสำเร็จวิชา “สูงสุดคืนสู่สามัญ” จากที่นั่นได้ เพราะคนที่จะเป็น “จอมยุทธ์” ได้นั้น จะต้องมี “สัจจานุโลมญาณ” สามารถยืดหยุ่น ต่อคนอื่นได้สูง โดยที่จิตใจตัวเอง ไม่เสีย ซึ่งพ่อท่านฯ เป็นตัวอย่างให้เราได้เห็นอยู่แล้ว

แม้แต่คุณราตรีเองก็ต้องขอชื่นชม ขนาดอยู่ในคุกอย่างนั้น ก็ยังอุตส่าห์มีแก่ใจ เป็นห่วงคนไทย ฝากสตางค์ มาช่วยซับขวัญ ผู้ประสพภัย น้ำท่วม แถมอยู่ในคุก ที่แสนจะยากลำบากอย่างนั้น ก็ยังสามารถฝึกฝน บำเพ็ญ ”ตบะธรรม” ให้เคร่งครัด ได้อย่าง น่าอัศจรรย์ ธรรมะที่ประพฤติดีแล้ว ย่อมคุ้มครอง ผู้ประพฤติธรรม แม้จะตกน้ำ ก็ไม่ไหล ตกไฟก็ไม่ไหม้ แม้จะอยู่ในคุก ก็ยังทำทุก วินาที ให้เป็นวินาทีแห่งบุญได้ เพราะเราคุ้มครองธรรม ธรรมจึงคุ้มครองเรา

"...ฝึกหยุด.. แต่ไม่หยุดฝึก..."

เจริญธรรม

ส.ดินไท
๖ พ.ย.๕๔

ปล. จม.ของคุณราตรี น่าจะเป็นประโยชน์กับมิตรสหาย และคนไทย ที่ยังติดตาม ข่าวคราว ด้วยความเป็นห่วง เขียนเรื่องราว เล่ามาบ่อย ๆ ได้ก็ดี พร้อมกันนี้ ได้ฝากธรรมะ ของพ่อท่าน เรื่องความสำคัญของ ““โยนิโสมนสิการ” มาให้พิจารณาด้วย




โยนิโสมนสิการเป็นเช่นใด ?

ทุกวันนี้ขออภัย อาตมาพูดทีไรว่าที่เขายังเข้าใจผิด เข้าใจไม่ถูก อาตมาก็ต้องพูดตรงๆ จากความเข้าใจตนเอง ไม่ได้มีความโกรธเคือง ไม่ได้มีการข่มไปเบ่ง ไม่ได้มีความอวดดิบ อวดดีอะไรเลย แต่ต้องพูดว่า อันนี้ยังไม่ถูก ที่ถูกต้องมันไม่ใช่อย่างนั้น ก็ต้องพูด

มนสิการ ไปอธิบายรวมกันทั้งคำว่า โยนิโสมนสิการ เขาไปแปลรวมเลยว่า เป็นการพิจารณา การใคร่ครวญ การไตร่ตรอง นึกๆเอา ฟังแล้วก็เป็นแค่ความนึกคิด นั้นไม่ใช่

มนสิการคือ การปฏิบัติ การกระทำ ทำให้เกิดเปลี่ยนแปลง เป็นการกระทำ มนสิกโรติ เป็นคำกริยา ถ้าเป็นคำนาม เป็นมนสิการ คือ การทำใจในใจ

พอท่านแปลเป็นภาษาไทยอย่างนี้ มันตรง แต่ท่านไปเข้าใจผิด เหตุท่านเข้าใจผิดว่า การปฏิบัติ จะทำนี่ คือการไม่ใช่เป็นการทำ ทำจะต้องเกิดปฏิกิริยา การแก้ไข ปรับปรุง จะต้องมีเหตุปัจจัย จะต้องมีการทำงานกันอย่างหนัก ท่านไม่เข้าใจว่าอย่างนั้น ท่านกลับไปให้หยุด ท่านเข้าใจว่า การทำใจในใจ คือการให้ จดจ่อที่กสิณให้นิ่งๆ ทำไว้อย่างนี้

การทำใจในใจ มันกินความหมดทุกอย่าง มีแก้ไขปรับปรุง มีอะไรเยอะแยะเลย แต่กลับไปเข้าใจว่า ให้นิ่งๆ สงบ เข้าใจว่า การปฏิบัติธรรมนี่ คือให้จิตสงบ ทำไว้ในใจ คือทำอย่างนี้ จิตจึงจะสงบ ท่านไปแปลอย่างนั้น ความหมายเลยไม่ชัดเจน

ที่ถูกแล้ว มันจะต้องชำระ จะต้องแก้ไข จะต้องรบราฆ่าฟันกับกิเลส !

การทำใจในใจนี้แหละ เป็นจุดสำคัญ ในมูลสูตร ท่านบอกว่า เป็น “สัมภวะ” ท่านแปล เป็นไทยว่า เป็นแดนเกิด สัมภวะคือเป็นตัวภพ ตรงนี้แหละ เป็นที่ที่จะทำให้จิตเป็น

เป็น “สมะ” เจริญทุกอย่าง
สมะ = สมบูรณ์ทุกอย่าง บูรณ์ก็ปูรณะ คือเต็ม จะเต็มอย่างสมะ ตรงนี้แหละ ครบอยู่ตรงนี้ เพราะฉะนั้น ที่เกิดที่ตาย อยู่ตรงนี้นั่นเอง ตรงนี้ มนสิ ที่ใจในใจ ตรงที่ “ใจ”นี่

จิตวิญญาณเป็นประธาน

คนจะต้องรู้ตัวใจนี่แหละ คือจะต้องเรียนรู้วิญญาณาหาร คุณต้องรู้จิตวิญญาณ มนะ หรือวิญญาณ ก็ใจ ๒ คำนี่เป็นไวพจน์ มนสิ หรือ วิญญาณ เพราะฉะนั้น จะต้องรู้ นี่ตัววิญญาณ เป็นตัวที่จะต้อง ศึกษา เพราะเป็นตัวอาศัยทุกอย่าง แม้แต่อาศัยศึกษา อาศัยปฏิบัติ อาศัยอยู่ อาศัยเป็นทุกอย่าง ในชีวิตของสัตว์ที่มีชีวิต

จิตนิยามนี่ ตัวจิตนี่แหละเป็นตัวหลักหมดเลย

แล้วมันก็ออกมาเป็นกายกรรม วจีกรรม ให้มีบทบาทลีลา นิทานต่างๆ เกิดจาก จิตวิญญาณ เป็นตัวเหตุใหญ่ เพราะฉะนั้น จะต้องเข้าใจตัวนี้ ทำที่ตัวนี้ มนสิ ต้องทำให้ถ้วน ถ่องแท้ ละเอียด แยบคาย โยนิโส หรือที่แปลอีกคำหนึ่ง ท่านแปลไว้ ในพจนานุกรม ของฉบับภูมิพล ท่านแปลชัดว่า “ ลงไปถึงที่เกิด ”

“โยนิ ” แปลว่าที่เกิด “ โยนิโส ” ลงไปถึงที่เกิด ให้ปฏิบัติ ให้หยั่งรู้ ให้กระทำ จนไปถึงที่เกิด นั่นแหละคือ มนสิการ โยนิโสสอดคล้องกับมนสิการ

ท่านแปลสัมภวะว่า แดนเกิด เพราะฉะนั้น โยนิโส ก็คือ สัมภวะ ตรงนี้แหละที่เกิด ลงไปถึงที่เกิดตรงนี้

 

 






คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง