บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554

เขาพระวิหาร”(อีกครั้ง) เป็นมรดกใคร? ก่อนไปเป็นมรดกโลก

เหมือนข้อพิพาท เรื่องการยืนขอให้เขาพระวิหารเป็นมรดกโลกจะปะทุขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งนี่ถือเป็นประเด็นทางการเมืองระหว่างประเทศที่อ่อนไหวเป็นอย่างยิ่ง
      
       ทั้งนี้แผนผลักดันเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ได้เริ่มขึ้นในปี 2547 ที่คณะรัฐมนตรีไทย-กัมพูชา มีมติเห็นชอบให้ร่วมกันพัฒนาพื้นที่เขาพระวิหารเพื่อประโยชน์ด้านการท่องเที่ยว ศึกษาประวัติศาสตร์ และกำหนดให้ดำเนินการเสนอเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก
      
       กระทั่งในเดือนมิถุนายน ปี 2550 ในการประชุมยูเนสโกที่เมืองไครซ์เชิร์ท นิวซีแลนด์ รัฐบาลกัมพูชาได้ยื่นเสนอให้เขาพระวิหารเป็นมรดกโลกเฉพาะพื้นที่ในเขตของกัมพูชาเท่านั้น ในขณะที่ฝ่ายไทยได้ยื่นทักท้วงรัฐบาลกัมพูชา เพราะเห็นว่าควรจะเสนอให้เขาพระวิหารเป็นมรดกโลกร่วมกัน เนื่องจากองค์ประกอบทางประวัติศาสตร์ต่างๆ อาทิ ปราสาทโดนตวล,บรรณาลัย,สถุปคู่,สระตราว รวมถึงโบราณสถานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องนั้นอยู่ฝั่งไทย อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ ซึ่งตามหลักประวัติศาสตร์ของเทวาลัยระดับโลก ต้องรวมองค์ประกอบทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน
      
       จากผลการประท้วงดังกล่าว ยูเนสโกจึงเลื่อนการพิจารณาออกไป โดยให้ 2 ประเทศ(ไทย-กัมพูชา)ไปตกลงหาข้อยุติ แล้วค่อยนำเสนอที่ประชุมในเดือนมิถุนายน 2551
      
       แต่การหารือของ 2 ประเทศนอกจากไม่มีอะไรคืบหน้าแล้ว ทางกัมพูชายังมีโครงการสร้างถนนจาก จ.พระวิหาร และ จ.กัมปงธม ขึ้นสู่ปราสาทเขาพระวิหาร เพื่อจะได้ไม่ต้องพึ่งพาทางขึ้นจากฝั่งไทย
      
       จากเหตุการณ์นี้ได้ส่งผลให้เขาพระวิหารกลับมาเป็นที่สนใจของผู้คนอีกครั้ง ด้วยเหตุนี้ทางหน้าท่องเที่ยวจึงขอหยิบยกเรื่องราวเกี่ยวกับเขาพระวิหารที่เคยนำเสนอไปในวันที่ 13 สิงหาคม 2550 เพื่อฉายภาพบางด้านของเขาพระวิหารให้สาธารณะชนได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ซึ่งคงต้องติดตามดูว่าประเทศไทยและกัมพูชาจะหารือ และมีทางออกต่อเรื่องนี้อย่างไร...
      
       หลังคณะกรรมการยูเนสโกได้ประกาศเลื่อนการประกาศให้ "เขาพระวิหาร" เป็นมรดกโลก ในการประชุมใหญ่ที่ประเทศนิวซีแลนด์ในปี 50 เพราะเห็นว่ายังเป็นประเด็นที่ทางการไทยและกัมพูชาต้องหารือกันให้ชัดเจน โดยยูเนสโกขอให้สองประเทศตกลงกันให้เรียบร้อยก่อน แล้วค่อยให้รัฐบาลกัมพูชาเสนอเรื่องเข้าไปใหม่ในปีหน้า(51)
      
       ซึ่งในอนาคตเขาพระวิหารจะได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกเมื่อใดนั้น คงต้องติดตามกันต่อไป แต่ว่าหลังจากเกิดข่าวนี้ขึ้นมา เรื่องราวของเขาพระวิหารก็ได้กลายมาเป็นที่สนใจของผู้คนอีกครั้งหนึ่ง
      
       
มองเขาพระวิหาร ผ่านนักวิชาการไทย
      
       เมื่อวันที่ 19 ก.ค.2550 ที่ผ่านมา ณ ท้องพระโรง มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ ได้มีการจัดงานเสวนาที่หยิบยกเรื่องราวของเขาพระวิหารมาพูดคุยกันอีกครั้งหนึ่ง ในหัวข้อเรื่อง “เขาพระวิหาร มรดกโลกของเขมร” โดยภายในงานได้มีเหล่านักวิชาการผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี หลายท่านได้ออกมาแสดงทัศนะในหัวข้อเรื่องดังกล่าว

       ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักวิชาการแห่งมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์และประธานที่ปรึกษา โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นบุคคลหนึ่งที่ได้แสดงทัศนคติเรื่องเขาพระวิหารในประเด็นที่ว่า เขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาว่า เรื่องนี้มีความสำคัญมากเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ ไทย-กัมพูชา ซึ่งจัดได้ว่ามีปัญหามากที่สุดระหว่างอาเซียน ละเอียดอ่อนที่สุด ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศมีรูปแบบ ทั้งรัก ทั้งชัง เรียกว่า love-hate relationship เป็นประวัติศาสตร์ที่เต็มไปด้วยบาดแผล
      
       “เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมามีข่าวจากโฆษกกระทรวงการต่างประเทศของไทยออกมาแถลงว่า ประเทศไทยให้การสนับสนุนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่ในความเห็นชอบก็ได้แย้งว่าทั้งสองประเทศยังไม่ได้มีการปักปันเขตแดนที่สมบูรณ์ จากข่าวดังกล่าวเป็นเหตุให้สถานทูตไทยในกัมพูชา ต้องเรียกประชุมคนไทยทั้งหมดในกัมพูชา เพราะคงไม่แปลก ถ้ากรณีข่าวนี้จะทำให้บริษัทห้างร้านไทยในกัมพูชา อาจจะต้องเจอกับเหตุการณ์วิกฤต ดังเช่นการเผาสถานทูตเหมือนเมื่อปีพ.ศ.2546” ดร.ชาญวิทย์กล่าว
      
       หากจะมีใครถามว่าเรื่องความขัดแย้งนี้มาจากไหน ดร.ชาญวิทย์อธิบายว่า เกิดขึ้นจาก “ลัทธิอำมาตย์นิยม” ที่ไม่ยอมรับระบอบราชาธิปไตยในปี พ.ศ.2482 ผู้นำในสมัยนั้นคือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้เริ่มต้นเรียกร้องให้มีการปรับปรุงพรมแดนระหว่างไทยกับอินโดจีนของฝรั่งเศสสมัยสงครามโลก ไทยได้ดินแดนเพิ่มขึ้น 4 จังหวัด คือ ไชยะบุลี นครจำปาศักดิ์ เสียมราฐ ที่ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดพิบูลสงคราม และพระตะบอง ซึ่งไทยจะคิดว่าเขาพระวิหารเป็นของเราตอนไหน ก็คงอาจจะเป็นช่วงนี้
      
       และเพื่อให้ประเทศไทยมีความชอบธรรม สมัยนั้นมีการเสนอแนวคิดที่ว่า “ขอมไม่ใช่เขมร” ดังนั้น เมื่อขอมไม่ได้เป็นบรรพบุรุษของเขมร เขมรปัจจุบันก็ไม่มีสิทธิจะครอบครองเขาพระวิหาร หรือการเสนอแนวคิดเรื่อง "คนไทยอยู่ที่นี่" มาตั้งแต่สมัยทวารวดีแล้ว

       ดังนั้น คนไทยก็น่าจะเป็นแรงงานกรรมกรในการสร้างเขาพระวิหาร ตลอดจนบรรดาปราสาทขอมทั้งหลายในอีสาน เหตุนี้ผู้นำจึงสร้างแนวคิดว่าควรเป็นสิทธิอันชอบธรรมของไทยที่จะได้เขาพระวิหาร อีกทั้งยังมีการใส่ความคิดลงไปในงานวรรณกรรม สร้างจิตสำนึกว่าเขาพระวิหารเป็นของไทย อาทิงานของ น. ณ ปากน้ำ พลูหลวง นายหนหวย งานเหล่านี้จะถูกใส่ในกรอบวิธีรับรู้ เมื่อเกิดกรณีสมเด็จนโรดมสีหนุ ยื่นฟ้องต่อศาลโลกในปีพ.ศ.2502 และต่อมาในปีพ.ศ.2505 ไทยแพ้ ผู้คนในประเทศจึงช็อคกันมาก
      
       กฏหมายปิดปาก
      
       ความคิดเห็นดังกล่าวสอดคล้องกับความคิดของ ธีรภาพ โลหิตกุล นักเขียนและนักวิชาการอิสระ ซึ่งเขากล่าวในงานเดียวกันว่า ไม่แปลกใจเลยกับความสงสัยของคนไทย แต่เข้าใจว่าทำไมคนไทยชอบตั้งคำถามว่า เขาพระวิหารควรเป็นของไทย ในเมื่อทางขึ้นอยู่ฝั่งไทย ซึ่งถ้าหากยึดตามหลักภูมิศาสตร์เขาพระวิหารก็น่าจะเป็นของไทย
      
       แต่เราจะมองเฉพาะส่วนไม่ได้ อย่าลืมมองว่าประเด็นนี้มีเรื่องสนธิสัญญาเข้ามาเกี่ยวข้อง ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ด้วยเหตุผลที่ว่า ในสมัยนั้นเมื่อฝรั่งเศสได้ขีดพรมแดนให้เขาพระวิหารอยู่ในอินโดจีน รัฐบาลสยามก็ไม่ได้ประท้วงแผนที่ ซึ่งฝรั่งเศสทำขึ้นตามสนธิสัญญา พ.ศ.2447 และ พ.ศ. 2450 ทั้งๆ ที่อยู่ภายในเขตสันปันน้ำฝั่งไทยซึ่งถือว่าเป็นหลักการแบ่งเขตแดนสากล การนิ่งเฉยโดยมิได้มีการท้วงติงก็เท่ากับเป็นการยอมรับโดยปริยายหรือเป็น “กฎหมายปิดปาก” นั่นเอง
      
       สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ สมัยที่ดำรงตำแหน่งอภิรัฐมนตรีในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้เสด็จตรวจเยือนโบราณวัตถุสถานมณฑลนครราชสีมา ได้เสด็จไปยังเขาพระวิหารก็ได้ทรงแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ข้าราชการอาณานิคมของฝรั่งเศส ซึ่งได้มาถวายการต้อนรับอย่างเป็นทางการ มีการประดับธงทิวฝรั่งเศสเหนือปราสาท เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของพื้นที่ ซึ่งต่อมาก็เป็นหลักฐานอย่างหนึ่งที่ทางกัมพูชานำเสนอต่อศาลโลกในปี พ.ศ.2505 ว่าสยามยอมรับว่าปราสาทเขาพระวิหารขึ้นอยู่กับอธิปไตยอีกฟากหนึ่งของพรมแดน

       “ผมมองว่าลุ่มน้ำนี้เดิม คือเขตอาณานิคมของเขมร แทนที่เราจะคิดว่าเสียเขาพระวิหารไป ทำไมเราไม่คิดบ้างว่าเราได้ปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินพนมรุ้ง เมืองละโว้ หากไทยเป็นห่วงว่าการที่กัมพูชาเสนอให้เขาพระวิหารเป็นมรดกโลกเพียงอย่างเดียว โดยไม่รวมเอาโบราณสถานที่เป็นส่วนหนึ่งของเขาพระวิหารซึ่งอยู่ในฝั่งไทย อาทิ สระตราว บรรณาลัย ปราสาทอื่น ๆ และภาพสลักนูนต่ำที่ผามออีแดง ผนวกเข้าร่วมเป็นมรดกโลกด้วยนั้น ผมว่าไม่ใช่เรื่องน่าเป็นห่วง เพราะเป็นหลักการอยู่แล้วที่มรดกโลกเขาจะไม่ให้แบ่งส่วน ถ้าจะได้เส้นทางวรมันทั้งเส้นที่เป็นองค์ประกอบเดียวกันต้องได้หมด เหมือนที่ให้นครวัดก็ต้องให้นครธมด้วย ประเด็นหนึ่งที่เราไม่พูดถึงคือ การประกาศผลมรดกโลกปีพ.ศ.2550 ที่ผ่านมา ทวีปเอเชียมีสถานที่ที่ได้เป็นมรดกโลกทั้งหมด 7 แห่ง แต่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่มีประเทศใดได้เลย ตรงนี้คือสิ่งที่เราต้องคิด” ธีรภาพกล่าวพร้อมตั้งข้อสังเกต
      
       ดร.ชาญวิทย์ยังได้แสดงทัศนคติต่อไปอีกว่า เมื่อ 45 ปีก่อน คือ พ.ศ.2505 ตนคิดว่าเขาพระวิหารเป็นของไทยเนื่องจากได้รับเอากรอบวิธีการรับรู้ดังที่กล่าวในข้างต้น แต่เมื่อพ.ศ.2550 ตนกลับคิดว่าเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา เป็นมรดกโลกของกัมพูชา เพราะหากพิจารณาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โดยไม่มีอคติในเรื่องชาตินิยมแล้ว ปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกทางอารยธรรมล้ำค่า และเป็นสิทธิอันชอบธรรมของชาวกัมพูชาและประเทศกัมพูชา
      
       ทั้งนี้ยังกล่าวอย่างติดตลกว่า 45 ปีก่อน ที่เขาพระวิหารเป็นประเด็นขึ้นศาลโลก นายกรัฐมนตรีสมัยนั้น คือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม 45 ปี ให้หลังเขาพระวิหารจะถูกเสนอเป็นมรดกโลก ก็เป็นช่วงเดียวกับที่ประเทศไทยมีรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศนามสกุลพิบูลสงครามเช่นกัน
      
       ในขณะที่ธีรภาพได้กล่าวทิ้งท้ายไว้อย่างน่าสนใจว่า หลังการสละบัลลังก์ของพระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหนุและกัมพูชาได้กษัตริย์พระองค์ใหม่ การเมืองเขาค่อนข้างนิ่ง ถ้าคนที่เคยไปเขาพระวิหารจะเห็นป้ายข้อความเตือนที่ทางเขมรเขียนเตือนสติชาวไทยว่า “เขาพระวิหารเป็นขวัญใจของชาวเขมร” ฉะนั้นจะเห็นว่าเขาพระวิหารเป็นตะกอนอย่างหนึ่งที่พร้อมจะคุกกรุ่นขึ้นมาท่ามกลางความราบเรียบ อาจจะนำมาซึ่งความร้าวฉานระหว่างไทย – กัมพูชาได้เสมอ

       เที่ยวเขาพระวิหารไร้ปัญหา
      
       ด้านความเห็นของ นพรัตน์ กอกหวาน ผอ.ททท.สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 2 กล่าวถึงกรณีของเขาพระวิหาร ว่า เรื่องของปัญหาเขตแดนที่เกิดขึ้นในกรณีของเขาพระวิหาร ส่งผลกระทบอยู่บ้างในส่วนของตลาดท่องเที่ยวต่างประเทศ เนื่องจากบริษัททัวร์ไม่กล้าที่จะนำเสนอขายเพราะไม่แน่นอน ถ้ามาแล้วนักท่องเที่ยวไม่ได้ขึ้นจะเสียเวลาเปล่า แต่สำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยมีความเข้าใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้น ยังคงให้ความนิยมมาเที่ยวกันตามปกติ
      
       “การที่ทางประเทศกัมพูชาเสนอให้เขาพระวิหารเป็นมรดกโลกนั้น ผมมองว่าถ้าได้เป็นมรดกโลกจริงๆจะเป็นผลดีต่อการอนุรักษ์เขาพระวิหารมาก เพราะทุกวันนี้เขาพระวิหารทรุดโทรมเป็นอย่างมาก และที่สำคัญเขาพระวิหารเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่อาเซียนร่วมกันขายได้ ในฐานะที่เป็นวัฒนธรรมร่วม โดยเฉพาะไทยที่เป็นประตูขึ้นสู่เขาพระวิหารเราย่อมได้รับผลประโยชน์แน่นอน สำหรับททท.เขต2 เอง ตอนนี้ก็ประชาสัมพันธ์เขาพระวิหารพร้อมกับผามออีแดงที่อยู่ฝั่งไทย เนื่องจากในฤดูฝนทัศนียภาพบนเขาพระวิหารสวยงามมาก สามารถมองเห็นทะเลเมฆที่ลอยผ่านเขาพระวิหาร เราเรียกว่าการอาบเมฆ ด้านการประสานงานระหว่างสองประเทศตอนนี้อยู่ในเกณฑ์ดีไม่มีปัญหาใดๆ พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือนเสมอ” นพรัตน์กล่าว
      
       ส่วนความเคลื่อนไหวทางฝ่ายกัมพูชา เมื่อเร็วๆ นี้ มีกระแสข่าวออกมาว่าสหรัฐอเมริกายินดีสนับสนุนการเป็นมรดกโลกของเขาพระวิหารอย่างเต็มที่ อีกทั้งทางนายกรัฐมนตรีฮุนเซนแห่งกัมพูชายังได้สั่งตัดถนน 2 สาย ซึ่งหนึ่งในนั้นสายหนึ่งตัดจาก จ.กัมปงธม (Kampong Thom) ตรงไปยังพระวิหาร เชื่อว่าเป็นความพยายามที่จะลดการพึ่งพาทางขึ้นไปเที่ยวชมเขาพระวิหารที่อยู่ในดินแดนไทย
      
       อนึ่ง ทางผู้สื่อข่าวได้สอบถามข้อมูลล่าสุดถึงความชัดเจนเรื่องการเสนอเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาไปยังหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักโบราณคดี อุทยานประวัติศาสตร์เขาพระวิหาร และทางจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งก็ได้รับการยืนยันว่าเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลได้ ต้องรอให้ทางกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้แถลงข่าวความคืบหน้าเท่านั้น

"เขาพระวิหาร" บนเส้นทางความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา


      กระแสของ "ปราสาทเขาพระวิหาร"โบราณสถานของประเทศกัมพูชา ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ติดกับชายแดนไทย-กัมพูชา ด้าน อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ กับกรณีการยื่นเสนอเป็นมรดกโลกต่อยูเนสโก ยังคงประเด็นที่หาข้อยุติไม่ได้
      
       ทั้งนี้แผนผลักดันเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ได้เริ่มขึ้นในปี 2547 ที่คณะรัฐมนตรีไทย-กัมพูชา มีมติเห็นชอบให้ร่วมกันพัฒนาพื้นที่เขาพระวิหารเพื่อประโยชน์ด้านการท่องเที่ยว ศึกษาประวัติศาสตร์ และกำหนดให้ดำเนินการเสนอเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก
      
       ทางรัฐบาลกัมพูชาจะเสนอให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเฉพาะตัวปราสาทเขาพระวิหารที่ตั้งอยู่ในฝั่งกัมพูชาแต่โดยลำพัง หากแต่ฝ่ายไทยเล็งเห็นว่าข้อเท็จจริงแล้วยังมีองค์ประกอบอื่นๆอีกที่ต้องเสนอประกอบพร้อมไปด้วย อาทิ ปราสาทโดนตวล,บรรณาลัย,สถูปคู่,สระตราว และทางขึ้นปราสาท ซึ่งอยู่ในประเทศไทย จึงควรที่จะเสนอพร้อมกันทั้งสองประเทศ
      
       ไทยจึงยื่นประท้วงให้เป็นมรดกโลกร่วมกัน จากผลการประท้วงดังกล่าว ยูเนสโกจึงเลื่อนการพิจารณาออกไป โดยให้ 2 ประเทศ(ไทย-กัมพูชา)ไปตกลงหาข้อยุติ แล้วค่อยนำเสนอที่ประชุมในเดือนมิถุนายน 2551 แต่การหารือของ 2 ประเทศนอกจากไม่มีอะไรคืบหน้าแล้ว ทางกัมพูชายังมีโครงการสร้างถนนจาก จ.พระวิหาร และ จ.กัมปงธม ขึ้นสู่ปราสาทเขาพระวิหาร และยังมีโครงการสร้างกระเช้า เพื่อจะได้ไม่ต้องพึ่งพาทางขึ้นจากฝั่งไทย

       
แผนที่เจ้าปัญหา
      
       เมื่อวันที่12 กุมภาพันธ์ 2551 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์ ชั้น4 อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการจัดงานเสวนาหยิบยกเอาประเด็นเรื่องปราสาทเขาพระวิหารขึ้นมาพูดคุยกันอีกครั้ง ในหัวข้อเรื่อง "เขาพระวิหาร กับอนาคตความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา" โดยมีนักวิชาการ นักประวัติศาสตร์ ตลอดจนผู้ที่สนใจเข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นดังกล่าวหลายท่าน
      
       พ.อ.นพดล โชติศิริ นายทหารจากกรมแผนที่ทหาร หนึ่งในผู้อภิปรายได้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาเขตแดนที่เกิดขึ้นจากแนวชายแดนของทั้งสองประเทศว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นมาจากสิ่งหนึ่ง คือ การยึดถือแผนที่คนละฉบับระหว่างสองประเทศ จะเห็นได้ว่าตลอดแนวเขตแดน ที่เป็นที่ตั้งของเขาพระวิหารยังไม่เคยมีการปักปันเขตแดน เนื่องจากยังหาบทสรุประหว่างสองประเทศไม่ได้ แม้ว่าศาลโลกได้ตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหารตกเป็นของกัมพูชาแล้วก็ตาม แต่ไม่ได้ตัดสินให้เส้นเขตแดนเป็นไปตามแผนที่คณะกรรมการปักปันเขตแดนอินโดจีน -สยาม(แผนที่ซึ่งทำขึ้นโดยฝรั่งเศส)
      
       ประกอบกับแผนที่ดังกล่าวเขียนสันปันน้ำผิด ฉะนั้นสันปันน้ำตามแผนที่คณะกรรมการปักปันเขตแดน จึงไม่มีปรากฏบนภูมิประเทศจริง รัฐบาลไทยจึงตัดให้กัมพูชาเฉพาะตัวปราสาท แล้วจัดทำรั้วลวดหนามกันพื้นที่ดังกล่าวไว้ ซึ่งทหารกัมพูชาก็ยอบรับไม่เคยละเมิดดินแดนนอกรั้วลวดหนามที่ไทยกันไว้ตั้งแต่ปี2505
      
       "ไทยยึดถือแผนที่ ที่เป็นฉบับอัตราส่วน 1:50,000 ตามมติคณะรัฐมนตรี ปี พ.ศ.2505 ภายหลังที่ศาลโลกได้ตัดสินให้ไทยแพ้คดี ก็ได้เฉือนเฉพาะส่วนปราสาทเขาพระวิหารให้กัมพูชาไปเท่านั้น แต่กัมพูชายึดถือแผนที่อัตราส่วน 1:200,000 ที่ฝรั่งเศสทำขึ้นเมื่อครั้งได้ พระตะบอง ศรีโสภณ เสียมราฐ ไป ซึ่งกินอาณาบริเวณล้ำเข้ามาในฝ่ายไทย"
      
       "หากมองตามแผนที่ของไทยที่ถืออยู่ จึงถือเป็นการรุกล้ำอธิปไตยของฝ่ายไทย ล้ำเข้ามา 2.5 กิโลเมตร หรือ1,500 ไร่ หากกัมพูชาสามารถเสนอเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกเพียงลำพัง โดยไม่รวมเอาโบราณสถานทางฝั่งไทยรวมเข้าไปด้วย เท่ากับว่าแผนที่ของฝ่ายกัมพูชาจะกลายเป็นที่ยอมรับในหลักสากลทันที ตามกฎของการคุ้มครองมรดกโลกเท่ากับว่าไทยต้องเสียดินแดนเพิ่ม 2.5 กิโลเมตร"พ.อ.นพดลกล่าว ซึ่งปัญหานี้ยังคงเป็นเรื่องมีหาข้อยุติไม่ได้ แต่ยังคงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนเปราะบางเป็นอย่างมาก อาจะกระเทือนถึงความสัมพันธ์ของสองประเทศได้

       ความสัมพันธ์ไทย-กัมพูชา
      
       เชื่อแน่ว่าในฐานะมิตรประเทศ คงไม่มีใครต้องการเห็นความบาดหมางระหว่างกัน รศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในงานเดียวกันถึงความคิดเห็นต่อเรื่องนี้ว่า
      
       "ภูมิรัฐศาสตร์ เป็นสิ่งสำคัญที่คนลืม แต่เดิมพื้นที่แถบอาเซียนไม่มีเส้นเขตแดน เราเพิ่งรับวัฒนธรรมมาจากยุโรป ยุโรปเป็นรัฐสมัยใหม่ได้นำระบบอาณานิคมเข้ามา เอาเรื่องของรัฐและเส้นเขตแดนเข้ามาด้วย สนธิสัญญาในยุคอาณานิคมไม่มีประเทศเล็กใดได้เปรียบ สิ่งที่ไทยต้องการรู้ในขณะนี้ คือ ความชัดเจนว่าเส้นเขตแดนเราอยู่ตรงไหน จะได้รู้ว่าอำนาจประชาธิปไตยของไทยสิ้นสุดตรงไหนเท่านั้น"
      
       รศ.ดร.สุรชาติ กล่าวต่อว่า วันนี้เราต้องยอมรับอดีตคืออดีต ปัญหาเส้นเขตแดนเป็นเรื่องของผลประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมที่สุด ปัญหาเรื่องเส้นเขตแดนเป็นปัญหาที่ตกค้างแล้วแก้ไม่ได้ ในกรณีนี้กัมพูชา คือ ผู้สืบสิทธิ์ของอาณานิคม คือ ผู้ได้รับผลประโยชน์ย่อมไม่ยอมเสียสิทธิ์ที่ได้
      
       หลังคำตัดสินของศาลโลกปราสาทเขาพระวิหารกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมาตลอด ภูมิศาสตร์ตอบได้อย่างหนึ่งชอบไม่ชอบก็ต้องอยู่ร่วมกัน ต้องคิดว่าตอบอะไรได้มากกว่าเรื่องปัญหาการทำสงคราม คำตัดสินของยูเนสโกที่กำลังจะออกมาแน่นอนว่าไทยทำใจลำบาก แต่คงต้องมองด้วยความสัมพันธ์เชิงเสมอภาค ที่ควรจะถูกส่งผ่านในหลายๆส่วน
      
       "ในศาลโลกมีอยู่ประเด็นหนึ่งที่สำคัญซึ่งทางกัมพูชายกมาอ้างคือ การที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จไปเขาพระวิหารท่านได้ทำหนังสือขอแก่ทางฝรั่งเศสเท่ากับเป็นการยอมรับ หลังคำตัดสินของศาลโลกในเวทีระหว่างประเทศไทยก็ยอมรับไม่เคยโต้แย้ง วันนี้เรื่องนี้กลับมาอีกครั้ง ทั้งที่หลังปีพ.ศ.2505ปราสาทเขาพระวิหารลางเลือนไปจากความทรงจำของคนไทย ผมจึงมองว่าเรื่องของปราสาทเขาพระวิหารเป็นเรื่องของความรู้สึก เราต้องคิดว่าเรากับเพื่อนบ้านมีอะไรเป็นตะกอนใจ ผมเดินขบวนครั้งแรกก็เรื่องเขาพระวิหารที่จอมพลสฤษดิ์สั่งให้นักเรียนทั่วประเทศเดินขบวน เรื่องนี้ผมจึงรู้สึกผูกพันอยู่ไม่น้อย เรื่องนี้เป็นปัญหาของคนร่วมสมัย แต่ละเอียดอ่อนต่อความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศเป็นอย่างมาก" รศ.ดร.สุรชาติกล่าว

       ทางออก
      
       ด้านความเห็นของ อ.ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้กล่าวถึงเรื่องนี้เช่นกันว่า ตนมองว่าปัญหา ณ ขณะนี้ เป็นความขัดแย้งของกลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มบ้าอำนาจบางกลุ่มเท่านั้นเอง ไม่เชื่อว่าเป็นความขัดแย้งที่มาจากความรู้สึกของประชาชนทั้งหมด เพราะประชาชนส่วนใหญ่ที่เขามีปัญญาเขามองเห็นถึงอนาคตการอยู่ร่วมกันของอาเซียนว่าควรอยู่ด้วยกันอย่างสงบ
      
       "เรื่องการเสียดินแดนเพิ่มเราต้องมาทบทวน ขณะนี้ตัวสิทธิมันอยู่ที่ปราสาทเขาพระวิหารต้องเอาอดีตที่ผิดพลาดมาทบทวน ถึงแม้โดยความเป็นจริงตามแนวธรรมชาติแนวสันปันน้ำ แล้วสายน้ำมันตกเขตเรา แต่เมื่อเราแพ้เขาในกรณีของสนธิสัญญาต่างๆเหล่านั้นก็ต้องยอมมัน หันมาร่วมมือ และคุยกันเป็นประเทศเพื่อนบ้านอยู่กันมาตลอด ย้ายหนีก็ไม่ได้ เรื้อรังไปก็ไม่มีประโยชน์ ข้อยุติหนึ่งขึ้นอยู่กับในประเทศเราเอง กลุ่มผลประโยชน์ยอมไหม นักการเมืองยอมไหม ทหารต่างๆยอมไหม ประชาชนไม่รู้เรื่องแต่ได้รับผลเดือดร้อนก็คือคนที่อยู่ในเขาพระวิหารเป็นคนต่างถิ่นทั้งนั้น"อ.ศรีศักดิ์กล่าว
      
       อ.ยังได้กล่าวแนะถึงทางออกของปัญหาดังกล่าวว่า ตนอยากให้มองในเรื่องของการอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมที่เป็นของโลก เมื่อเขาจะเป็นมรดกโลกย่อมหมายความว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยว ถ้าอยู่ร่วมกันอย่างสันติเราจะได้ผลประโยชน์ร่วมกัน เรื่องการดูแลบูรณะเป็นปล่อยเป็นเรื่องของเขา แต่การเป็นมรดกโลกต้องร่วมกันทั้งสองประเทศจึงจะเป็นประโยชน์ แต่ถ้ามัวทะเลาะมันจะมีแต่เสีย ตอนนี้ต่างชาติก็กำลังจ้องตาเป็นมันอยู่
      
       "การเป็นมรดกโลกจะช่วยประสานความสัมพันธ์ของเรา ไทย-กัมพูชาให้อยู่ร่วมกันและได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ผมเชื่อว่า 80 % ผลได้อยู่กับเรา 20 %อยู่กับกัมพูชา แต่ถ้ายังทะเลาะไม่เลิกเราจะชิบหาย เพราะเราเสียเปรียบมาก ต้องถอดรหัสปัญหาความรู้ต่างๆที่ฝรั่งมาครอบงำให้ดี ที่เรามาทะเลาะกันเป็นปัญหาเรื่องเทคนิค เรื่องแผนที่ฝรั่งหลอกใช้เทคนิคเรื่องแผนที่ แต่ไม่เคยอบรมเรื่องความรู้ เราไม่พยายามจะทบทวนหน้าที่ของเราแล้วเอามาเป็นตัวตั้งทะเลาะกันไปก็ไม่มีประโยชน์ เป็นเหยื่อของนักการเมืองผู้มีอำนาจแล้วคนเคราะห์ร้ายคือประชาชนในท้องถิ่น"
      
       "กัมพูชามีสิทธิ์ในเขาพระวิหารในฐานะเป็นโบราณสถานและศิลปวัฒนธรรมของประเทศเขา ควรเลิกทะเลาะกันและหันมาร่วมมือกันดีกว่า อย่างป่าไม้ในแถบนั้นก็น่าห่วง เพราะขณะนี้มีการลักลอบตัดมากค้าข้ามชาติมากกัมพูชาต้องให้ความสนใจ เราก็ต้องให้ความสนใจ ทำไมเราไม่ร่วมมือกับเขาให้เป็นมรดกโลกอนุรักษ์ไม่ให้เสื่อมสลาย ขณะเดียวกันก็อนุรักษ์มรดกโลกให้นานาชาติเขาไปท่องเที่ยว ถ้าเราไม่ยอมเขาสร้างกระเช้าเราก็เสียไม่มีได้ การสร้างกระเช้าทำให้ความเป็นมรดกโลกไม่สมบูรณ์ เพราะความสำคัญของการเป็นมรดกโลกนั้น คือ การรักษาบรรยากาศเก่าๆในอดีต ไม่ใช่ขึ้นกระเช้ามา แต่ถ้าไทยร่วมมือด้วยมันจะได้ทั้งสองฝ่ายเราก็ได้ เขาก็ได้" อ.ศรีศักดิ์กล่าวทิ้งท้าย ซึ่งแสดงในเห็นอย่างหนึ่งว่ายังคงมีอีกหลายๆฝ่าย ที่ปรารถนาเห็นสันติเกิดขึ้นจากกรณีนี้
      
       * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
      
       
ปราสาทเขาพระวิหาร หรือ ศรีศิขเรศวร เป็นศาสนสถานขนาดใหญ่ตั้งอยู่บนเทือกเขาพนมดงรักกั้นระหว่างแผ่นดินเขมรต่ำกลุ่มเมืองพระนคร และเขมรสูงในภาคอีสานของไทย สร้างขึ้นก่อนนครวัดถึง100 ปีอยู่ในจังหวัดพระวิหาร ของกัมพูชา ติดชายแดนไทย ที่อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
      
       กล่าวกันว่าสร้างเพื่อการแสดงอำนาจของกษัตริย์แห่งเมืองพระนคร ที่มีความเชื่อถือในเรื่องเทวราชา อันหมายถึงกษัตริย์คืออวตารหนึ่งของเทพเจ้าในศาสนาฮินดู เป็นศูนย์รวมแห่งคติความเชื่อ คือการสร้างมหาปราสาทประดิษฐานศิวลึงค์ อันเป็นสัญลักษณ์แทนพระศิวะและพระมหากษัตริย์
      
       เมื่อปี พ.ศ.2483 เกิดสงครามอินโดจีนฝรั่งเศสอ่อนแอ รัฐบาลไทยภายใต้การนำของจอมพล ป.พิบูลสงครามได้เรียกร้องให้มีการปรับปรุงพรมแดนไทย-อินโดจีน เป็นให้ไทยได้ 4 จังหวัดฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงครอบครอง พ.ศ.2487เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติ ไทยต้องปรับตัวเองมิให้เป็นประเทศแพ้สงคราม จึงต้องคืนดินแดนที่ได้มาแก่ฝรั่งเศสไปรวมทั้งเขาพระวิหาร
      
       พ.ศ.2502 รัฐบาลกัมพูชานำด้วยสมเด็จพระนโรดมสีหนุยื่นฟ้องต่อศาลโลกที่กรุงเฮกประเทศเนเธอร์แลนด์ว่าปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา พ.ศ.2505 ศาลโลกมีมติ 9 ต่อ 3 ให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา และพ.ศ.2550กัมพูชาได้ยื่นเรื่องต่อองค์การยูเนสโกเสนอให้เขาพระวิหารเป็นมรดกโลกซึ่งอาจกลายเป็นที่มาของความขัดแย้งครั้งใหม่ก็เป็นได้
      

กลุ่มการเมืองใช้เขาพระวิหารบังหน้าแลกประโยชน์-เปลี่ยนเส้นแดนบก/ทะเลไทย

ข้อเท็จจริงจากพื้นที่กรณีขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกของมนุษย์” โดย ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์ นักวิจัย 9 สถาบันไทยคดีศึกษา นายประกาสิทธิ์ แก้วมงคล ผู้ช่วยนักวิจัย และทีมงาน
       โดย ม.ล.วัลย์วิภา กล่าวว่า การศึกษาของทีมงานครั้งนี้ไม่ใช่งานวิจัย แต่เป็นการลงไปเก็บข้อมูลในพื้นที่โดยเป็นการชี้เบาะแสเชิงวิชาการ และมีการศึกษาอย่างเป็นระบบ หลังจากที่ได้ฟัง นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีการขอขึ้นทะเบียนประสาทเขาพระวิหาร ว่า เป็นเพียงการบริหารจัดการพื้นที่ทับซ้อน และเป็นเรื่อง win-win เมื่อวันที่ 7 มิ.ย.ที่ผ่านมา จึงเกิดความรู้สึกว่า ปัญหาเรื่องประสาทเขาพระวิหารเป็นเรื่องอึมครึม และน่าอึดอัดในความรู้สึกของคนไทย แต่เหตุใดรัฐบาลไทยจึงไม่พูดเรื่องดังกล่าวให้ชัดเจน จึงได้ลงพื้นที่ไปศึกษาเรื่องดังกล่าว
     


สีแดงคือเกาะกูดของไทย เส้นปะเข้มคือแนวเส้นเขตแดนของไทย ส่วนแนวเส้นประไข่ปลาเป็นแนวขีดเส้นเขตแดนของกัมพูชา ที่กินเกาะกูดไปครึ่งหนึ่งและกินพื้นที่ JDA ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติแหล่งใหญ่


       ม.ล.วัลย์วิภา กล่าวต่อไปว่า ปัญหาเรื่องเส้นเขตแดนไทย-กัมพูชา นั้น ทางฝ่ายกัมพูชาพยายามรักษาอธิปไตยของตนเอง โดยมีการสร้างชุมชน ตลาด และวัด เข้ามาในดินแดนฝั่งไทย ซึ่งแสดงให้เห็นว่ากัมพูชาไม่ได้ยึดถือหลักเขตแดนของไทยตามมติ ครม.เมื่อปี 2505 ของไทย โดยที่รัฐบาลของไทยไม่ได้มีความพยายามดำเนินการใดๆ และเมื่อพิจารณาถึงสิ่งที่กัมพูชากับไทยได้เจรจาร่วมกันมา ทางกัมพูชาได้ยื่นข้อเสนอขอเปิดจุดผ่านแดนช่องตาเฒ่า ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ทางกัมพูชาเตรียมไว้สำหรับเปิดศูนย์การค้า แหล่งบันเทิง และ กาสิโน และเมื่อตนย้อนกลับไปดูการจัดทำหลักเขตแดนไทย-กัมพูชา ทางทะเลที่ลากจากหลักกิโลเมตรที่ 73 จ.ตราด ได้พบแผนที่ของกัมพูชา ที่มีการเขียนหลักเขตแดนทางทะเลผ่านเกาะกรูด ของไทย และกินพื้นที่พัฒนาร่วม หรือ JDA ซึ่งเป็นจุดที่มีทรัพยากรธรรมชาติขนาดใหญ่ และเป็นเส้นเขตแดนทางทะเลที่แตกต่างจากเส้นเขตแดนของไทย โดยกินพื้นที่ของไทยเข้ามาด้วย ทั้งนี้ แผนที่ดังกล่าวสอดคล้องกับข้อมูลที่ นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ทำหนังสือถึงผู้บัญชาการทหารสูงสุด เรื่อง เรียกร้องขอให้ทหารหาญของชาติแสดงจุดยืนปกป้องผลประโยชน์ชาติ กรณีเร่งรัดแบ่งเขตแดนทางทะเลไทย-กัมพูชา เมื่อวันที่ 14 ก.ย.2549
      
       
“เส้นเขตแดนทางทะเลมีเส้นเขตแดนเดิมตามสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส ที่เกาะกูด จะต้องเป็นของไทย และในปี 2544 รัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้บรรลุข้อตกลงกับทางกัมพูชา ด้วยการทำบันทึกความเข้าใจร่วมกัน ซึ่งน่าสงสัยว่า ทำไมการปักปันเขตแดนซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นอธิปไตยของชาติ เหตุใดจึงไม่มีการเปิดเผยข้อมูลในวงกว้าง หรือผ่านกระบวนการรับรองการเปลี่ยนเส้นเขตแดนที่ไม่ใช่ฝ่ายบริหารรับรู้แต่เพียงฝ่ายเดียว ดังนั้น จึงเชื่อว่า เขาพระวิหารเกี่ยวข้องกับการแบ่งเขตแดน และเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของพื้นที่ JDA ด้วย”
      

สีแดงคือเกาะกูดของไทย เส้นปะเข้มคือแนวเส้นเขตแดนของไทย ส่วนแนวเส้นประไข่ปลาเป็นแนวขีดเส้นเขตแดนของกัมพูชา ที่กินเกาะกูดไปครึ่งหนึ่งและกินพื้นที่ JDA ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติแหล่งใหญ่
       ม.ล.วัลย์วิภา กล่าวอีกว่า ในนามของคณะวิจัย สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอแถลงการณ์ว่า 1.ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องนี้ที่แท้จริงมิใช่ราชอาณาจักรไทยหรือราชอาณาจักรกัมพูชา แต่เป็นรัฐบาลไทยกับประชาชนไทย ดังนั้น ข้าราชการประจำทั้งทหารและพลเรือน ทุกคนจะต้องตัดสินใจแล้วว่า ตนกำลังปกป้องและรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติหรือไม่ หรือของใคร 2.สิ่งที่รัฐบาลทำวันนี้ คือ รัฐบาลไปยอมให้ราชอาณาจักรกัมพูชาขึ้นทะเบียนแต่ฝ่ายเดียว และยอมรับแผนที่ของกัมพูชาที่ไม่ยอมรับอธิปไตยตามมติคณะรัฐมนตรี 2505 และยังยอมไปทำแถลงการณ์ร่วมในการพัฒนาพื้นที่ร่วมกันโดยยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องเขตแดนแม้แต่น้อย ผลเสียตามกฎหมายปิดปากก็จะเกิดขึ้น
      
       “เมื่อรัฐบาลไทยไม่ยับยั้งหรือคัดค้าน ประชาชนคนไทยควรร่วมกันยับยั้ง หรือคัดค้านโดยใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญในเรื่องสิทธิชุมชน และส่งเรื่องไปตามขั้นตอนและเวลาอย่างเร่งด่วนผ่านองค์การยูเนสโกในประเทศไทย ไปยังคณะกรรมการมรดกโลก จึงขอความร่วมมือของนักวิชาการ ข้าราชการประจำองค์กรภาคประชาชน สื่อและประชาชนทุกคนมาร่วมกัน ศึกษาพิจารณาดูข้ออ้างที่จะมาใช้ เพื่อให้มีการเลื่อนการพิจารณาประสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ที่สำคัญ คณะวิจัยมองเรื่องนี้ว่าเป็นเรื่องความต้องการเปลี่ยนเส้นเขตแดน ทั้งทางบกและทางทะเลของไทย เพื่อหวังผลประโยชน์ทับซ้อนของกลุ่มการเมือง โดยมีเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นสื่อบังหน้า”
      
       ม.ล.วัลย์วิภา กล่าวเพิ่มเติมว่า หากไม่ยืนยันเขตอธิปไตยหรือเส้นเขตแดนตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ.2505 ไทยจะเสียดินแดนให้กัมพูชา ซึ่งแผนที่ใหม่ของกัมพูชามีนัยเป็นการยืนยันท่าทีของกัมพูชาที่ไม่ยึดถือเขตอธิปไตย หรือเส้นเขตแดนตามมติคณะรัฐมนตรี พ.ศ.2505 เมื่อไม่มีการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนให้ชัดเจนเสียก่อน แต่เลือกแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ร่วมและออกแถลงการณ์ร่วม ไทยจะเป็นฝ่ายเสียเปรียบและเสียดินแดนให้กัมพูชาในที่สุด
      
       “รัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชาไม่มีความไม่โปร่งใสในเรื่องดังกล่าว ซึ่งการขึ้นทะเบียนประสาทเขาพระวิหาร เป็นมรดกของโลกเป็นเรื่องดี ดังนั้น รัฐบาลทั้ง 2 ประเทศควรจะทำเรื่องนี้ให้โปร่งใส ไม่ควรทำเพื่อประโยชน์ของคนใดคนหนึ่ง หรือเพื่อกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง สำหรับนักวิชาการที่ต้องการร่วมกันระดมความเห็นเพื่อยื่นข้อเสนอส่งให้ยูเนสโกชะลอการประกาศเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกให้ทันวันที่ 2 กรกฎาคม ที่จะถึง ซึ่งจะมีการประชุมเรื่องดังกล่าว สามารถติดต่อได้ทาง walwipha2000@yahoo.com และขอให้นักวิชาการออกมาช่วยกัน เพราะขณะนี้เหลือเวลาอีกไม่มากแล้ว และการที่ดิฉันไม่ยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลไทย เพราะรัฐบาลไทยเพิกเฉย จึงจำเป็นต้องยื่นข้อเสนอไปถึงยูเนสโกแทน” ม.ล.วัลย์วิภา กล่าว
      
       ทั้งนี้ รายละเอียดหนังสือที่นายสนธิทำถึงผู้บัญชาการทหารสูงสุดเมื่อปี 2549 ตอนหนึ่งได้ระบุว่า
      
       
“พื้นที่ไหล่ทวีปทับซ้อนระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชาอันเป็นปมปัญหาที่ต้องเจรจากันดังกล่าวนี้มีพื้นที่ประมาณ 25,789 ตารางกิโลเมตร เป็นที่รับรู้กันทั่วว่าเป็นแหล่งที่คาดว่าจะมีทรัพยากรก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแหล่งหนึ่งในเอเชียอาคเนย์
      
       พ.ต.ท.ทักษิณชินวัตร รักษาการณ์นายกรัฐมนตรี(ขณะนั้น)มีความพยายามจะเจรจาเรื่องเขตแดนทางทะเลดังกล่าวมาแล้วอย่างต่อเนื่อง พร้อมๆ กับการเตรียมการจะหาประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรดังกล่าวพร้อมกันไป ดังจะเห็นได้จากข่าวที่นายโมฮัมเหม็ด อันฟาเยด มหาเศรษฐีชาวอียิปต์เจ้าของห้างสรรพสินค้าแฮร์รอดส์และสโมสรฟุตบอลฟุตบอลฟูแลมในประเทศอังกฤษ เดินทางมาประเทศไทยในฐานะแขกส่วนตัวเมื่อเดือนมีนาคม 2543 ในชั้นแรกก็อ้างว่าเพื่อสังเกตการณ์พัฒนาการฟุตบอลไทยโดยได้ร่วมมือกับโครงการของพรรคไทยรักไทย ส่งนักฟุตบอลเยาวชนไปฝึกที่ประเทศอังกฤษ แต่ในชั้นต่อมาก็มีข่าวว่า นายโมฮัมเหม็ดมีความสนใจที่จะร่วมลงทุนในกิจการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติและน้ำมันในอ่าวไทย และเขตทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชาด้วย
      
       รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ สามารถบรรลุข้อตกลงในการเจรจาปัญหาเขตทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชาด้วยการมีบันทึกความเข้าใจระหว่างไทยกับกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ไทยกับกัมพูชา อ้างสิทธิ์ในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.44 ยังผลให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมด้านเทคนิคไทย-กัมพูชา ประชุมกันครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคม 2544 นับจากนั้นมา การเจรจาด้านเขตแดนทางทะเลไทย-กัมพูชาได้รับการจับตาอย่างใกล้ชิด จากผู้ที่รักชาติรักแผ่นดิน เนื่องจากทั้ง 2 ฝ่ายได้มีข้อเสนอที่ชัดเจนของตนเองโดยเฉพาะฝ่ายไทยยืนยันที่จะดำรงสิทธิ์และอำนาจอธิปไตยเหนือเกาะกูดซึ่งมีหลักฐานที่พิสูจน์ชัด ทั้งทางประวัติศาสตร์และหลักฐานทางวัฒนธรรมว่า ดินแดนตรงนั้นเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทยโดยสมบูรณ์ จนทำให้ต้องมีการกันพื้นที่ในการเจรจา”

โอกาสไทยทวงคืน “ประสาทพระวิหาร” ย้อนดูคำประท้วงคำตัดสินของศาลโลก

รัฐบาลไทยประท้วง คำตัดสินของศาลโลก
      
       

      
       ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๐๕ หลังจากศาลโลกตัดสินแล้ว ๒๐ กว่าวัน รัฐบาลไทยโดย ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือไปยัง นายอูถั่น เลขาธิการสหประชาชาติ เพื่อประท้วงคำพิพากษาของศาลโลก โดยอ้างว่าคำพิพากษานั้นขัดต่อกฎหมายและความยุติธรรม
      
       นอกจากนี้ ยังสงวนสิทธิที่ประเทศไทยจะเอาปราสาทพระวิหารกลับคนมาในอนาคตด้วย
      
       ต่อไปนี้เป็นคำประท้วง
      
       “ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติที่จะอ้างถึงคดีเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร ซึ่งได้นำขึ้นสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ โดยคำร้องเริ่มคดีฝ่ายเดียวของกัมพูชา เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ค.ศ.๑๙๕๙ (พ.ศ.๒๕๐๒) และซึ่งศาลได้พิพากษา เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ค.ศ.๑๙๖๒ (พ.ศ.๒๕๐๕) ยอมรับนับถืออธิปไตยของกัมพูชาเหนือซากของปราสาทพระวิหาร
      
       “ในแถลงการณ์เป็นทางการลงวันที่ ๓ กรกฎาคม ค.ศ.๑๙๖๒ (พ.ศ.๒๕๐๕) รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ประกาศต่อประชาชนแสดงความไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาของศาลที่กล่าวข้างต้น โดยมีเหตุผลว่า ตามความเห็นของรัฐบาล คำพิพากษาขัดต่อข้อกำหนดอันชัดแจ้งของบทที่เกี่ยวเนื่องของสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) และ ค.ศ. ๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) และขัดต่อหลักกฎหมาย และความยุติธรรม แต่อย่างไรก็ดีรัฐบาลก็ยังแถลงว่าในฐานะที่เป็นสมาชิกสหประชาชาติ รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะปฏิบัติตามพันธกรณีที่ตนมีอยู่ตามคำพิพากษาดังกล่าว เพื่อปฏิบัติหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ตามข้อ ๙๔ ของกฎบัตร
      
       “ข้าพเจ้าใคร่จะแจ้งให้ท่านทราบว่า ในการตัดสินใจที่จะปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ในคดีเกี่ยวกับปราสาทพระวิหารนั้น รัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปรารถนาที่จะตั้งข้อสงวนอันชัดแจ้งเกี่ยวกับสิทธิใดๆ ที่ประเทศไทยมีหรืออาจมีในอนาคต เพื่อเอาปราสาทพระวิหารกลับคืนมา โดยอาศัยกระบวนการกฎหมายที่มีอยู่หรือที่จะพึงนำมาใช้ได้ในภายหลัง และตั้งข้อประท้วงต่อคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ที่ตัดสินให้ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา”
      
       “ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงรู้สึกเป็นเกียรติที่จะแจ้งข้อความข้างต้นให้ท่านทราบ พร้อมกับขอให้ท่านแจ้งข้อความในหนังสือฉบับนี้ ให้สมาชิกทั้งปวงขององค์การนี้ทราบทั่วกันด้วย”
      
      
บันทึกกระทรวงการต่างประเทศ
       เกี่ยวกับคำพิพากษาคดีเขาพระวิหาร

      
       วันที่ ๔ กรกฎาคม ๒๕๐๕ กระทรวงการต่างประเทศ (ดร.ถนัด คอมันตร์ รมต.กระทรวงการต่างประเทศ) ได้ทำบันทึกข้อสังเกตเกี่ยวกับคำพิพากษาคดีเขาพระวิหาร ชี้ให้เห็นถึงความผิดพลาดของคำพิพากษาของศาลโลก รวม ๑๒ ประเด็น เสนอการประชุมคณะรัฐมนตรี รัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี นับว่าเป็นประโยชน์แก่นักกฎหมายและประชาชนโดยทั่วไป
       

      
       

       บันทึก
       ข้อสังเกตเกี่ยวกับคำพิพากษา
       คดีปราสาทพระวิหาร

       

       ๑.เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๐๕ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้พิพากษาว่า ซากปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนดินแดนภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา โดยอาศัยเหตุผลแต่เพียงว่า ประเทศไทยได้นิ่งเฉยมิได้ประท้วงแผนที่ฝรั่งเศสฉบับหนึ่ง ซึ่งส่งมาให้รัฐบาลไทยใน ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) และ ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) แล้ว แผนที่ฉบับนี้ เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสเป็นผู้ทำขึ้นแต่ฝ่ายเดียว แต่บังเอิญมีเครื่องหมายแสดงซากปราสาทพระวิหารไว้ในเขตกัมพูชา
      
       ๒.คดีปราสาทพระวิหารนี้ เป็นข้อพิพาทเกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยเหนือซากปราสาทพระวิหาร ประเด็นสำคัญซึ่งที่พึงพิจารณา คือ การปักปันเขตแดน ถ้าได้มีการปักปันเขตแดนที่ถูกต้องแล้ว กรรมสิทธิ์ในปราสาทพระวิหารก็จะตกเป็นของไทยอย่างไม่มีปัญหา แต่เหตุผลที่ศาลนำมาเป็นหลักในการวินิจฉัยคดี มิใช่หลักกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยกรรมสิทธิ์ หรือการได้มาซึ่งอธิปไตยแห่งดินแดน หรือจารีตประเพณีในการปักปันเขตแดน ซึ่งย่อมคำนึงถึงบทนิยมเขตแดนในสนธิสัญญากำหนดเขตแดนและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการปักปันเป็นสำคัญแต่กลับไปใช้หลักกฎหมายทั่วไปมาหักล้าง เจตนาของคู่สัญญาว่าในบริเวณที่พิพาทให้ถือสันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดน ศาลจึงไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องชี้ขาดว่า เส้นสันปันน้ำที่แท้จริงอยู่ที่ไหน ถ้าศาลได้ยกข้อนี้ขึ้นพิจารณาแล้วก็จะต้องตัดสินว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ในเขตไทยอย่างไม่มีข้อสงสัย แม้แต่ความเห็นเอกเทศของผู้พิพากษา เซอร์ เจรัลด์ ฟิตซ์ มอริส ก็ยังได้ยอมรับในทัศนะนี้
      
       ๓.ความเคารพพันธกรณีตามสนธิสัญญา เป็นรากฐานสำหรับความแน่นอนในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ว่าคำพิพากษาของศาลในคดีนี้ ในขณะเดียวกับที่แสวงหาความแน่นอนและความสิ้นสุดยุติของข้อพิพาท คำพิพากษานี้เองกลับก่อให้เกิดความไม่แน่นอนขึ้น และหาได้พัฒนาไปในแนวนั้นไม่
      
       ๔.กัมพูชาได้บรรยายฟ้องว่า แผนที่ภาคผนวก ๑ ซึ่งมีเส้นเขตแดนแสดงปราสาทพระวิหารไว้ในกัมพูชานั้น มีผลผูกพันไทย เพราะเป็นแผนที่ซึ่งคณะกรรมการผสมปักปันเขตแดนตามสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) ได้ทำขึ้นทั้งๆ ที่ศาลยอมรับฟังข้อโต้เถียงของไทยว่า แผนที่ภาคผนวก ๑ นั้น ไม่มีผลผูกพันประเทศไทย เพราะเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสและกัมพูชาเป็นผู้ทำขึ้น เมื่อพ้นจากหน้าที่ในคณะกรรมการปักปันแล้ว (คำพิพากษาหน้า ๒๑) โดยฝ่ายไทยมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องและมิได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการผสม แต่ศาลกลับวินิจฉัยต่อไปว่า สำหรับปราสาทพระวิหารที่พิพาทนั้น มีเครื่องหมายแสดงไว้ชัดเจนในแผนที่นั้นว่าอยู่ในเขตกัมพูชา และฝ่ายไทยก็มิได้ประท้วงหรือคดค้านแต่ประการใด แต่ได้นิ่งเฉยเป็นเวลานาน ซ้ำยังได้พิมพ์แผนที่ขึ้นอีก แสดงเส้นเขตแดนเช่นเดียวกะภาคผนวก
      
       ๕.ศาลได้พิพากษาว่าประเทศไทยเสียสิทธิในการที่จะต่อสู้ว่าปราสาทพระวิหารมิใช่ของกัมพูชา โดยที่ศาลเองก็ยังลังเลใจไม่กล้าระบุชัดลงไปว่าเป็นหลักใดแน่ จะเรียกว่า estoppel หรือ preclusion prescription หรือ acquiescence ก็ไม่ใคร่ถนัดนัก เพราะแต่ละหลักนั้น ไม่อาจนำมาใช้กับข้อเท็จจริงในคดีได้
      
       ก.ถ้าศาลจะแสดงออกมาว่าเป็นหลัก estoppel หรือ preciusion ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นหลักกฎหมายปิดปาก ก็เป็นการยอมรับว่าทั้งๆที่ข้อเท็จจริงทางภูมิประเทศปรากฏอยู่ตำตาแล้วว่า แผนที่ภาคผนวก ๑ มิได้เป็นไปตามเส้นปันน้ำประเทศไทยก็ยังถูกปิดปากมิให้โต้แย้งหลักนี้นอกจากจะเป็นการไม่เป็นธรรม ในกรณีที่เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยแห่งดินแดนของรัฐอันเป็นเรื่องสำคัญเช่นนี้แล้ว ยังจะต้องอาศัยข้อพิสูจน์ว่า ประเทศไทยได้กล่าวหรือกระทำการใดมาก่อน ซึ่งเป็นการแสดงอย่างชัดแจ้งว่าไทยเชื่อและยินยอมว่าพระวิหารเป็นของกัมพูชา แต่กัมพูชาก็มิอาจพิสูจน์ได้ นอกจากนี้ ตามหลักกฎหมายปิดปาก กัมพูชาจะต้องแสดงว่าการกระทำต่างๆ ของไทยทำให้กัมพูชาหรือฝรั่งเศสหลงเชื่อ จึงไดทำกิจสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นโดยเข้าใจผิด และไทยโต้แย้งไม่ได้ ซึ่งหาตรงกับข้อเท็จจริงในคดีความนี้ไม่ เพราะแผนที่ซึ่งไทยโต้แย้งว่าผิดจากสันปันน้ำ ได้ทำขึ้นก่อนการกระทำใดๆ ของไทย
      
       ข.ถ้าศาลจะแสดงออกมาว่าเป็นหลัก Prescription หรืออายุความได้สิทธิสำหรับกัมพูชาและเสียสิทธิสำหรับไทยศาลก็จะต้องอาศัยข้อพิสูจน์ว่ากัมพูชาได้ใช้อธิปไตยในการครอบครองที่เป็นผลโดยสงบเปิดเผยและโดยปรปักษ์ เป็นเวลาต่อเนื่องกันพอสมควร (คำพิพากษาหน้า ๓๒)พูดถึงระยะเวลา ๕๐ ปี แต่ศาลก็มิได้ลงเอยว่ากัมพูชาได้สิทธิตามหลักอายุความ เพราะนอกจากจะไม่มีหลักฐานสนับสนุนแต่ประการใดแล้ว ยังเป็นการฝืนต่อเหตุผลแห่งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายด้วย เพราะไทยก็ได้พิสูจน์ให้ศาลเห็นเป็นอย่างชัดแจ้ง ซึ่งศาลเองก็ได้ยอมรับ(คำพิพากษา หน้า ๓o) แล้วว่า ฝ่ายไทยก็ไดใช้อำนาจการปกครองในบริเวณปราสาทพระวิหารเสมอมา
      
       ค.ถ้าศาลจะแสดงออกมาว่า เป็นหลัก Acquiescence หรือการสันนิษฐานว่ายอมรับโดยนิ่งเฉย ก็มีความหมายว่าไทยกับฝรั่งเศสได้ทำความตกลงขึ้นใหม่ เพื่อใช้แทนบทบัญญัติในสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) และ ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๕๕๐) ซึ่งก็จะเป็นการขัดต่อเหตุผลและข้อเท็จจริงเช่นเดียวกัน เพราะในสนธิสัญญาต่อๆ มา คือ ใน ค.ศ.๑๙๒๕ (พ.ศ.๒๔๖๕) และ ค.ศ.๑๙๓๗ (พ.ศ.๒๔๘๐) ทั้งไทยและฝรั่งเศสกลับยืนยันข้อบทแห่งสนธิสัญญา ค.ศ. ๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) และ ค.ศ. ๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) ในเรื่องเขตแดนว่าเป็นไปตามสันปันน้ำ
      
       ผู้พิพากษาอาลฟาโร ได้ให้ความเห็นเอกเทศไว้ว่าคำพิพากษาไม่อธิบายถึงหลักเหล่านี้เพียงพอจึงได้อ้างอิงหลักอื่นๆ ทำนองนี้อีก คือ หลักปิดปากและหลักสันนิษฐานว่ามีการยินยอม เพราะมิได้มีการประท้วง หรือคัดค้าน หรือตั้งข้อสงวน หรือมีการสละสิทธิ์ นิ่งเฉย นอนหลับทับสิทธิ์ หรือสมยอมแต่ผู้พิพากษาอาลฟาโรเอง ก็มิได้ปักใจลงไปแน่นอนว่าจะยึดถือหลักใดเป็นเกณฑ์
      
       สรุปได้ว่า ศาลยังไม่แน่ใจทีเดียวว่าจะนำหลักใดในบรรดาหลักที่กล่าวถึงข้างต้นมาปรบกับคดีปราสาทพระวิหารนี้ และหลัก acquiescence ที่นำมาใช้นั้นก็เป็นหลักใหม่สำหรับเรื่องแผนที่ เหตุไฉนจึงนำหลักใหม่นี้ไปใช้กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในกาลเวลาที่ล่วงเลยมาแล้วกว่า ๕๐ ปี เป็นที่เสียหายแก่ฝ่ายไทยเล่า เพราะหลักนี้เอง ถ้าจะนำมาใช้กับแผนที่ในกาลปัจจุบันก็ยังเป็นหลักที่นักนิติศาสตร์กำลังถกเถียงกันอยู่
      
       ๖. ศาลได้ยึดถือเอาภาษิตลาตินที่ว่า “ผู้ที่นิ่งเฉยเสียเมื่อควรจะพูดและสามารถพูดได้นั้น ให้ถือเสมือนยินยอม” (Qui tacet consentire videtur si loqui debuiset sc potuisset) ในหน้า ๒๓ ของคำพิพากษา ซึ่งเป็นหลักกฎหมายทั่วไปมาใช้กับคดีปราสาทพระวิหาร ย่อมขัดต่อเหตุผลทั้งในแง่กฎหมายและในแง่ความยุติธรรม
      
       ก.ในแง่กฎหมาย ศาลหาได้คำนึงไม่ว่า หลักที่ศาลยืมมาใช้จากหลักกฎหมายทั่วไปนี้ เป็นที่ยอมรับนับถือกันในภูมิภาคเอเชียนี้หรือไม่ เพราะหลักนี้มิใช่หลักกฎหมายระหว่างประเทศสากล ศาลควรจะคำนึงถึงจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นด้วยอนึ่ง หลักกฎหมายทั่วไปไม่พึงนำมาใช้กับกรณีที่มีสนธิสัญญากำหนดเส้นเขตแดนที่แน่นอนแล้ว เพราะเป็นเพียงหลักย่อยหลักหนึ่ง ต่อเมื่อไม่ใช่เรื่องที่สนธิสัญญาระบุไว้อย่างชัดแจ้ง จึงอาจพิจารณาปฏิบัติกรรมของไทยได้
      
       ข.ในแง่ความยุติธรรม ศาลได้เพ่งพิจารณาแต่เพียงปฏิบัติกรรมของไทย และสันนิษฐานเอาเองว่า การที่ไทยนิ่งเฉยไม่ประท้วง แปลว่า ไทยยินยอม แต่ศาลหาได้พิจารณาถึงปฏิบัติกรรมของฝรั่งเศสและกัมพูชาไม่ ซึ่งถ้าได้พิจารณาแล้วก็จะพบว่า ฝรั่งเศสเองก็มิได้ถือว่าแผนที่ภาคผนวก ๑ นั้นผูกพันแต่ประการใด จึงมิได้ประท้วงการครอบครองพระวิหารของไทยจนกระทั่ง ค.ศ.๑๙๔๙ (พ.ศ.๒๔๙๒) และเมื่อทำการประท้วงก็มิได้อ้างแผนที่ภาคผนวก ๑ ว่ามีผลผูกพัน แต่คงอ้างหลักสันปันน้ำซึ่งกำหนดไว้ในสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) และ ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) ศาลได้พิจารณาข้อเท็จจริงในสายตาหาได้เข้าใจถึงความเป็นอยู่ และปฏิบัติการของรัฐสมัยนั้นในภูมิภาคเอเชียไม่ โดยเฉพาะศาลไม่พยายามเข้าใจถึงสถานะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทย ในเอเชียในขณะนั้น ซึ่งมีประเทศเอกราชอยู่ไม่กี่ประเทศ และต้องเผชิญกับนโยบายจักรวรรดินิยมของประเทศมหาอำนาจตะวันตก ตรงกันข้าม ผู้พิพากษาส่วนมากกลับพยายามหาเหตุผลมาสนับสนุนการแผ่ขยายอาณานิคมของประเทศตะวันตก (หน้า ๓๔-๓๕) ซึ่งโดยแท้จริงแล้วผู้พิพากษาเหล่านั้นไม่มีหน้าที่ที่จะต้องกระทำเช่นนั้นเลย
      
       จึงสรุปได้ว่า คำพิพากษาของศาล นอกจากมิได้ใช้หลักกฎหมายที่ถูกต้องดังจะแจ้งรายละเอียดในข้อต่อไปแล้ว ยังไม่ตรงต่อหลักความยุติธรรมอันเป็นหลักหนึ่ง ซึ่งบัญญัติไว้ในหลักกฎบัตรสหประชาชาติควบคู่กับกฎหมายระหว่างประเทศและมีคุณค่าไม่ด้อยไปกว่ากัน นักนิติศาสตร์ย่อมทราบดีว่าการให้ความยุติธรรมอย่างเดียวนั้น ยังไม่พอจะต้องทำให้ปรากฏชัดด้วยว่าเป็นความยุติธรรม
      
       ๗.ศาลมิได้พิจารณาข้อเท็จจริงที่คู่คดีเสนอโดยละเอียดเท่าที่จะพึงกระทำได้ แต่ได้ใช้การอนุมานสันนิษฐานเองแล้วก็ลงข้อยุติทางกฎหมายจากข้อสันนิษฐานนั้น ซึ่งบางครั้งก็เป็นอนุมานซ้อน หรือเป็นการสันนิษฐานที่ขัดกันเอง และขัดต่อข้อเท็จจริง ดังจะยกตัวอย่างพอสังเขปดังต่อไปนี้
      
       (๑) ทั้งๆ ที่ศาลยอมรับ (ในคำพิพากษาหน้า ๑๘ วรรคแรก) ว่าไม่ปรากฏหลักฐานแสดงว่าคณะกรรมการปักปันได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร แต่ก็ยังสันนิษฐานเอาได้(ในคำพิพากษาหน้า ๑๙ วรรคสุดท้าย) ว่าคณะกรรมการปักปันชุดแรกจะได้ปักปันเขตแดนเรียบร้อยแล้ว ตามสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) คือถือเอาตามเส้นที่ลากไว้ในแผนที่ภาคผนวก ๑ แสดงว่าพระวิหารอยู่ในกัมพูชา มิฉะนั้นคณะกรรมการปักปันชุดที่สอง ตามสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) ก็คงจะต้องทำการปักปันเขตแดนตอนนี้ เพราะพิธีสาร ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) คลุมถึงปราสาทพระวิหาร ซึงตั้งอยู่บนเขาคงรักด้านตะวันออกด้วย ศาลได้ตั้งข้อสันนิษฐานนี้ขึ้นโดยมิได้พิจารณาโครงวาดต่อท้ายพิธีสาร ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) ซึงแสดงอาณาเขตที่คณะกรรมการปักปันชุดที่สองจะต้องทำการปักปัน คือ เพียงแค่ช่องเกนทางด้านตะวันตกของทิวเขาดงรักเท่านั้น ข้อสันนิษฐานนี้จึงขัดกับโครงวาด แต่ศาลก็กลับลงข้อยุติโดยอาศัยข้อสันนิษฐานที่ผิดพลาดนี้ได้ว่า ในบริเวณปราสาทพระวิหารนั้น คณะกรรมการปักปันชุดแรกได้ปักปันแล้ว และสันนิษฐานต่อไปว่าปักปันตามที่ปรากฏในแผนที่
      
       (๒) ศาลใช้ข้อสันนิษฐานอธิบายสาเหตุแห่งการที่ประธานคณะกรรมการปักปันของฝรั่งเศสชุดแรกคาดว่า จะมีการประชุมกันอีก แต่ในที่สุดก็ไม่มีการประชุมไปในทางที่เสียประโยชน์แก่ฝ่ายไทย โดยเดาเอาว่าถ้าได้มีการประชุมก็คงจะได้รับรองเส้นเขตแดนตามที่ปรากฏในแผนที่ (คำพิพากษา ๒๐ วรรคแรก)
      
       (๓) ศาลกล่าวขึ้นมาลอยๆ (ในคำพิพากษา หน้า ๒๐ วรรค ๒) ว่าพิมพ์แผนที่เป็นงานสุดท้ายของคณะกรรมการปักปัน ทั้งๆ ที่ศาลก็ทราบดีอยู่แล้วว่าคณะกรรมการปักปันได้มีมติไว้แล้วว่า การปักปันนั้นแบ่งออกเป็นสามชั้น คือ ๑.การตระเวนสำรวจ ๒.การสำรวจภูมิประเทศ และ ๓.การอภิปรายและกำหนดเขตแดน โดยมิได้กล่าวถึงการพิมพ์แผนที่ว่าเป็นส่วนหนึ่งของงานปักปัน ตามข้อเท็จจริงก็ปรากฏว่า การพิมพ์แผนที่เป็นเรื่องนอกเหนือจากการปักปันเขตแดนงานชิ้นสุดท้ายในการปักปันดังจะมีต่อไปอีกก็เห็นจะเป็นการปักหลักเขตแดน มิใช่การพิมพ์แผนที่
      
       (๔) ศาลสันนิษฐานเอง (ในคำพิพากษา หน้า ๔๒) ว่าในการที่ฝรั่งเศสส่งแผนที่นั้นไม่ถูกต้องตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการปักปัน และสันนิษฐานต่อไปว่าฝ่ายไทยมิได้คัดค้านนั้น อาจจะเป็นเพราะว่ามีคำวินิจฉัยของคณะกรรมการให้ถือว่าปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา ทั้งที่ในตอนต้น(คำพิพากษาหน้า ๑๘ วรรคแรก) ศาลก็ได้ยอมรับแล้วว่า ไม่มีหลักฐาน แสดงว่าคณะกรรมการปักปันได้มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร กระนั้นก็ยังสันนิษฐานเอาจนได้ เป็นการสันนิษฐานที่ไทยเสียประโยชน์ทั้งขึ้นทั้งล่อง
      
       (๕) ศาลได้ใช้ข้อสันนิษฐานต่อไปอีก (ในคำพิพากษา หน้า ๒๖ ) โดยถือเอาว่ากรรมการปักปันของไทยคงจะทราบดีแล้วว่าแผนที่ภาคผนวก ๑ ไม่ได้รับความเห็นชอบระหว่างการประชุมคณะกรรมการปักปัน แต่ถ้าได้รับไว้โดยมิได้ตรวจดูให้แน่นอนเสียก่อนว่า ถูกต้องตามหลักสันปันน้ำตามสนธิสัญญาหรือไม่แล้ว จะมาอ้างภายหลังว่าแผนที่ผิดไม่ได้ ข้อสันนิษฐานข้อนั้นตรงกันข้ามกับข้อสันนิษฐานในวรรคก่อน แต่ก็ยังลงข้อยุติได้เหมือนกันโดยอาศัยหลักซึ่งผู้พิพากษาฟิตช์มอริสในความเห็นเอกเทศ เรียกว่า Caveat emptor กล่าวคือ ผู้ซื้อย่อมต้องใช้ความระมัดระวัง
      
       (๖) ศาลได้ใช้ข้อสันนิษฐานต่อไปอีก (ในคำพิพากษาหน้า ๒๘ วรรคแรก) ว่าไทยได้ยอมรับแผนที่ภาคผนวก ๑ แล้วโดยการไม่ประท้วง ทั้งๆ ที่ทราบว่า แผนที่นั้นไม่ตรงกับตัวบทสนธิสัญญา อย่างไรถ้าไม่เป็นเช่นนั้น ศาลก็สันนิษฐานซ้อน (ในคำพิพากษา หน้า ๒๙ วรรคแรก) ว่าไทยได้ยอมรับแผนที่นั้นโดยการนิ่งเฉย มิได้คำนึงว่าแผนที่จะผิดหรือถูกประการใด
      
       (๘) ศาลอ้างเป็นข้อสันนิษฐานที่ชี้ขาดการยอมรับแผนที่ภาคผนวก ๑ ของไทย โดยยกเหตุผล (ในคำพิพากษา หน้า ๒๗ และ ๒๘) ว่าประเทศไทยมีโอกาสหลายครั้งที่จะขอแก้ไขแผนที่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการเจรจาทำสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๒๕ (พ.ศ.๒๔๖๘) และ ๑๙๓๗ (พ.ศ.๒๔๘๐) ศาลให้เหตุผลตรงกันข้ามกับข้อยุติของศาลเองว่า แผนที่ภาคผนวก ๑ มิได้เป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ. ๒๔๔๗) หรือ ๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) ซ้ำยังตีความข้อบัญญัติในสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๒๕ (พ.ศ.๒๔๖๘) และ ๑๙๓๗ (พ.ศ.๒๔๘๐) ที่คลาดเคลื่อนจากถ้อยคำของข้อบทสนธิสัญญาอีกด้วย (คำพิพากษาหน้า ๑๗) เมื่อพิจารณาดูถ้อยคำของ ข้อ ๒๗ แห่งสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๒๕ (พ.ศ.๒๔๖๘) และข้อ ๒๒ แห่งสนธิสัญญา ค.ศ. ๑๙๓๗ (พ.ศ.๒๔๘๐) แล้ว จะพบสนธิสัญญาทั้งสองฉบับนี้มิได้ยืนยันเขตแดนตามแผนที่แต่ประการใดไม่ กลับไปยืนยันบทนิยามเขตแดนตามสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๑๔ (พ.ศ.๒๔๕๗) และ ๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) กล่าวคือให้ถือตามหลักสันปันน้ำ
      
       จึงสรุปได้ว่า ศาลได้มีความสนธิสัญญา โดยขัดกับถ้อยคำของสนธิสัญญานั้นเอง และสันนิษฐานเป็นที่เสียประโยชน์แก่ฝ่ายไทยว่าไทยได้ยินยอมยกพระวิหารให้ฝรั่งเศส เพราะมิได้ฉวยโอกาสขอแก้ไขสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ. ๒๔๔๗) หรือ ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) แต่เมื่อพิจารณาดูให้ถ่องแท้แล้วจะเห็นได้ชัดว่าฝรั่งเศสต่างหากที่เป็นฝ่ายยินยอม และมิได้ฉวยโอกาสผนวกแผนที่เข้าไว้กับสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๒๕ (พ.ศ.๒๔๖๘) หรือ ค.ศ.๑๙๓๗ (พ.ศ.๒๔๘๐) และ ความจริงสนธิสัญญาทั้งสองฉบับนี้ยืนยันสันปันน้ำต่างหาก ซึ่งก็เป็นการประกาศอย่างชัดแจ้งว่าหลักสันปันน้ำจะต้องสำคัญกว่าแผนที่ใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้จะเห็นได้ว่า ถ้ามีการแคลงใจเรื่องแผนที่ว่าจะไม่ถูกต้องตามหลักสันปันน้ำตาที่ไทยได้ค้นพบในการสำรวจ ค.ศ.๑๙๓๔-๑๙๓๕ (พ.ศ.๒๔๗๗-๒๔๗๘) ยืนยันหลักสันปันน้ำแล้ว อันเป็นการปฏิเสธแผนที่ที่ขัดกับสันปันน้ำโดยตรง
      
       ๙. ฝ่ายไทยได้ยืนยันต่อศาลโลกตลอดมาว่า เส้นเขตแดนในบริเวณที่พิพาทนั้น เป็นไปตามสันปันน้ำ และว่ารัฐบาลไทยก็ถือตามนี้ เพราะสนธิสัญญาทุกฉบับได้ยืนยันสันปันน้ำเป็นเขตแดน
      
       ข้อสำคัญที่ศาลอาจจะมองข้ามไปคือ หนังสือประท้วง ปี ค.ศ.๑๙๔๙ (พ.ศ.๒๔๙๒) ที่ฝ่ายฝรั่งเศสส่งมายังรัฐบาลไทย โดยอ้างพิธีสาร ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) เป็นหลัก พิธีสารฉบับนี้กล่าวไว้อย่างชัดแจ้งว่า เขตแดนระหว่างประเทศทั้งสองในบริเวณนั้น ถือตามเส้นสันปันน้ำ ซึ่งข้อนี้แสดงชัดแจ้งว่าฝ่ายฝรั่งเศสและกัมพูชาเองก็เชื่ออยู่ตลอดเวลาว่า เขตแดนนั้นเป็นไปตามสันปันน้ำ ฝ่ายฝรั่งเศสจึงได้อ้างพิธีสารมาในหนังสือประท้วง ค.ศ.๑๙๔๙ (พ.ศ.๒๔๙๒) ในลักษณะเช่นนี้
      
       ในการพิจารณาคดีนี้ ในเมื่อศาลเองถือเอาเจตนาของคู่กรณีเป็นหลักสำคัญในการวินิจฉัยคดีแล้ว เหตุไฉนเล่าศาลจึงไม่ให้ความสำคัญแก่เจตนาอันชัดแจ้งของทั้งสองฝ่าย ในเรื่องให้ยึดถือสันปันน้ำเป็นเขตแดนในบริเวณที่พิพาท แสดงว่าข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นขัดกับข้อยุติธรรมของศาลที่ว่าภาคีทั้งสองได้มีเจตนาทำความตกลงขึ้นใหม่ในการกำหนดเขตแดนในบริเวณนั้น (พึงสังเกตด้วยว่าพิธีสาร ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐) ได้เอ่ยถึง “เส้นซึ่งคณะกรรมการปักปันเขตแดนขุดก่อนได้ตกลงไว้เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ค.ศ.๑๙๐๗ (พ.ศ.๒๔๕๐)” นั้น เกี่ยวกับปลายเขตแดนด้านตะวันออก ซึ่งกำหนดให้บรรจบแม่น้ำโขงที่ห้วยดอนมิได้เกี่ยวกับบริเวณพระวิหาร)
      
       ๑๐.ศาลรับฟังข้อเท็จจริงที่ผิดพลาด แห่งความเชื่อถือตามข้อเท็จจริงที่ผิดพลาดนั้น อันเป็นผลเสียหายแก่รูปคดีของไทย
      
       (๑) ศาลถือ (ในคำพิพากษา หน้า ๑๕ วรรคแรก) ว่า ปราสาทพระวิหารเป็นสถานที่สักการบูชา ซึ่งตามข้อเท็จจริงเป็นเทวสถานตามลัทธิพราหมณ์ที่ปรักหักพัง และแทบจะไม่มีผู้ใดไปสักการบูชา เพราะประชาชนทั้งในไทยและกัมพูชาก็นับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนใหญ่ การที่ศาลเชื่อเช่นนี้พ้องกับข้อเสนอของกัมพูชาว่าคนกัมพูชาใช้ปราสาทเป็นที่สักการบูชา
      
       (๒) ศาลกล่าวไว้หลายแห่ง (ในคำพิพากษา หน้า ๑๖ และ ๑๗) ว่าคณะกรรมการปักปันตามสนธิสัญญา ค.ศ.๑๙๐๔ (พ.ศ.๒๔๔๗) มีสองแผนก (Sections) คือแผนกฝรั่งเศส และแผนกไทย แต่เป็นกรรมการเดียวทั้งๆ ที่ตามตัวบทสนธิสัญญาข้อ ๓ หมายถึงกรรมการ ๒ คณะ (Commissions) เป็นพหูพจน์และไม่มีการกล่าวถึงคำว่าแผนกในสนธิสัญญา หรือในรายงานการประชุมของคณะกรรมการปักปัน และ ฝ่ายไทยก็แย้งไว้แล้วว่า แผนที่ภาคผนวกซึ่งทำขึ้นโดยเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส ถึงแม้จะอาศัยชื่อของคณะกรรมการปักปันฝรั่งเศส (Commissionde Delimitation) ก็ไม่มีผลผูกพันฝ่ายไทยได้ เพราะไม่ใช่แผนที่ของคณะกรรมการผสม (Mixed Commissions) การที่ศาลถือเอาว่าเป็นคณะกรรมการเดียวแต่มีสองแผนก จึงทำให้เข้าใจผิดได้ว่า แผนที่ที่ฝรั่งเศสทำเป็นแผนที่ของคณะกรรมการปักปันทั้งคณะ คือคณะกรรมการร่วมกันของฝ่ายไทยและฝ่ายฝรั่งเศส
      
       ๑๑.ศาลได้นำเหตุผลที่ขัดกันมาใช้ในการพิจารณาข้อโต้เถียงของไทยแล้ววินิจฉัยว่าข้อโต้เถียงของไทยฟังไม่ขึ้น คือ
      
       ก.ศาลให้ความสำคัญแก่การที่กรมแผนที่ไทยยังพิมพ์แผนที่แสดงว่าพระวิหารเป็นของฝรั่งเศสเรื่อยไป และกว่าจะพิมพ์แผนที่แสดงพระวิหารไว้ในเขตไทยก็ต่อเมื่อถึง ค.ศ.๑๙๔๕ (พ.ศ.๒๔๙๗) แล้ว ศาลน่าจะเข้าใจว่า เพราะเหตุนี้การพิมพ์แผนที่จึงไม่มีความสำคัญ เพราะก่อนหน้า ค.ศ.๑๙๕๔ (พ.ศ.๒๔๙๗) นี้เอง ทั้งๆ ที่ยังพิมพ์แผนที่ผิดอยู่ กัมพูชาและฝรั่งเศสก็ได้ประท้วงมาว่า พระวิหารเป็นของกัมพูชา เมื่อ ค.ศ.๑๙๔๙ (พ.ศ.๒๔๙๒) และ ค.ศ.๑๙๕๐ (พ.ศ.๒๔๙๓) แต่ในทางตรงข้าม ศาลกลับไม่ถือว่ากิจกรรมเกี่ยวกับการปกครอง ตลอดจนการที่บุคคลสำคัญของรัฐบาลกลางไปเยือนพระวิหารในปีต่างๆ ระหว่าง ค.ศ.๑๙๐๗-๑๙๓๙ (พ.ศ.๒๔๕๐-๒๔๘๒) เป็นของสำคัญ กลับถือว่าเป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองท้องที่ ซึ่งขัดกับท่าทีอันแน่นอนของรัฐบาลกลาง จึงต้องมองข้ามไป แสดงว่าศาลใช้มาตรฐานและเครื่องทดสอบที่ไม่สม่ำเสมอกัน
      
       ข. ทั้งๆ ที่ศาลถืออยู่ตลอดเวลา (โดยเฉพาะในคำพิพากษา หน้า ๓๐) ว่าการปกครองบริเวณปราสาทพระวิหารของไทยนั้นไม่มีความสำคัญ เพราะเป็นเพียงขั้นเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเท่านั้น แต่พอถึงที่ที่จะตีความให้ไทยเสียประโยชน์ เพราะการปกครองพระวิหาร (ในคำพิพากษา หน้า ๓๓ วรรค๒) ศาลกลับเห็นเป็นของสำคัญ โดยกลับถือว่า เพราะไทยได้ปกครองพระวิหารเรื่อยมา จะมาอ้างว่าไม่รู้ว่าแผนที่ผิดไม่ได้ เพราะถ้าคิดว่าถูกแล้วยังใช้อำนาจปกครองก็จะเป็นการรุกรานไป แสดงว่าข้อเท็จจริงอันเดียวกัน ศาลถือว่าไม่มีความสำคัญ ถ้าเป็นประโยชน์แก่ไทย แต่ถือว่าสำคัญมากในตอนที่ไทยจะต้องเสียประโยชน์ คล้ายๆ กับว่าศาลจงใจจะตีความให้ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบเสมอ พอจะมาพิจารณา (ในคำพิพากษา หน้า ๒๘ วรรค ๓) ถึงเรื่องการกลับสู่สภาพเดิมก่อนอนุสัญญากรุงโตเกียว ค.ศ.๑๙๕๑ (พ.ศ.๒๔๙๔) ศาลกลับปัดไม่ยอมพิจารณาเรื่องการครอบครองพระวิหารเสียเฉยๆ
      
       ค.(ในคำพิพากษาหน้า ๓๑ วรรคแรก) ศาลตั้งข้อสังเกตว่า ทั้งไทยและฝรั่งเศสก็มิได้มั่นใจว่าพระวิหารเป็นของตนในขั้นแรก ทั้งๆที่ศาลยอมรับ (ในคำพิพากษา หน้า ๓๐) ว่าไทยได้ใช้อำนาจปกครอง แต่ก็ยังกล่าวได้เต็มปากว่า ความเชื่อของไทยว่าพระวิหารเป็นของฝรั่งเศสนั้น สอดคล้องกับท่าทีของไทยโดยตลอดมา
      
       ๑๒.ศาลถือว่าไทยมีหน้าที่คัดค้าน เมื่อรับแผนที่จากฝรั่งเศสใน ค.ศ.๑๙๐๘ – ๑๙๐๙ (พ.ศ.๒๔๕๑ – ๒๔๕๒) แต่เมื่อมาพิจารณาดูข้อเท็จจริงและพฤติการณ์โดยตลอดแล้ว จะเห็นได้ว่าไทยไม่มีหน้าที่คัดค้านแต่ประการใดเลย ฝรั่งเศสและกัมพูชาต่างหากที่มีหน้าที่คัดค้านการครอบครองปราสาทพระวิหารของไทยในสมัยนั้น แต่ก็มิได้คัดค้าน เช่น เมื่อส่งแผนที่มาให้ ก็มิใช่เป็นการแสดงว่าขัดกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการปักปัน และจะไปคัดค้านได้อย่างไร ถ้าสันปันน้ำที่แท้จริงตรงกับแผนที่ และปันพระวิหารไปอยู่ในเขตไทยหรือกัมพูชา ฝ่ายตรงข้ามก็มิอาจคัดค้านได้ และถ้าคัดค้านก็ไม่มีประโยชน์อะไร
      
       กระทรวงการต่างประเทศ
       ๔ กรกฎาคม ๒๕๐๕

ชี้เหตุ พิพาท ไทย-เขมร มีไส้ศึกไม่ต่างกับกรุงแตกครั้งที่สอง



    อาทิตย์ อุไรรัตน์ ชี้พิพาทไทย-เขมร ครั้งนี้ ไม่ต่างกับกรุงศรีแตกครั้งที่ 2 เหตุคนในขายผลประโยชน์ไทยให้ชาติอื่น สมปอง สุจริตกุล ย้ำชัดไทยไม่เคยยอมรับแผนที่กัมพูชา-ฝรั่งเศส เหตุคำพิพากษาแย้งบอกชัดเจนว่าแผนที่ผิด ด้านบก.ข่าวความมั่นคง ทีวีไทย แนะทางรอดของประเทศ คือ ภาคประชาชนต้องกดดันเพื่อให้รัฐชัดเจนกว่านี้
    เมื่อวันที่  4 กุมภาพันธ์ 2554 คณะนิติศาสตร์และคณะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยรังสิต จัดเสวนากรณีพิพาทปราสาทพระวิหาร ณ ห้องออดิทอเรียม อาคารรัตนคุณากร (อาคาร 11) มหาวิทยาลัยรังสิต
    ภายในงาน ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นเป็นอธิปไตยของชาติไทยมีผลประโยชน์มหาศาลต่อการท่องเที่ยว เพราะเป็นชัยภูมิที่ดี ขณะนี้สถานการณ์ประเทศไทยเป็นการสูญเสียแบบน้ำตื้น ซึ่งไม่ใช่เป็นเรื่องความสามารถ หรือชาญฉลาดของคนไทย แต่มันส่อให้เห็นถึงการมีผลประโยชน์ทับซ้อนของคนไทยที่ใช้พื้นที่นี้ ทำมาหากิน เวลานี้ประเทศไทยไม่ต่างอะไรกับกรุงศรีอยุธยากำลังจะเสียกรุงครั้งที่ 2  เราเสียกรุงเพราะคนในเป็นไส้ศึก คนในชาติมีผลประโยชน์เพื่อตนเอง ขายผลประโยชน์ของชาติเราให้แก่ชาติอื่นๆ ไม่เฉพาะแต่ประเทศกัมพูชาเท่านั้น ยังหมายรวมถึงชาติมหาอำนาจอื่นด้วย ทั้งอังกฤษ อเมริกา หรือมหาอำนาจอื่นใด ในกรณีนี้ก็เป็นผลประโยชน์จากทรัพยากรน้ำมัน  ก๊าชธรรมชาติที่อยู่ในอ่าวไทย
    ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ทนายความผู้ร่วมทำคดีปราสาทพระวิหารเมื่อปี 2502-2505  กล่าวว่า ที่ผ่านมากัมพูชาฟ้องให้ศาลโลกตัดสินว่า 1.ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนพื้นที่ที่อยู่ในอำนาจอธิปไตยของกัมพูชา 2.ขอให้ประเทศไทยถอนทหารออกจากปราสาทและบริเวณโดยรอบ 3.ขอให้คนไทยคืนวัตถุโบราณและสิ่งของอะไรต่างๆ ที่เอาไปจากปราสาทพระวิหาร ซึ่งถือเป็นคำขอที่เลื่อนลอย แต่ทหารไทยก็ปฏิบัติตาม ทั้งนี้การปฏิบัติตามก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะสละอำนาจอธิปไตย แต่เป็นเพราะเราเป็นสมาชิกที่ดีของสหประชาติ  ต่อมากัมพูชาได้ขยายคำฟ้องว่า แผนที่มาตรา 1 ต่อ 200,000 เป็นเส้นเขตแดนที่ถูกต้อง แต่การขยายคำฟ้องครั้งนี้ศาลไม่รับพิจารณา แต่ทั้งนี้ประเทศไทยไม่เคยยอมรับแผนที่ฉบับที่กัมพูชาทำร่วมกับฝรั่งเศส ที่เขียนขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1907 เพราะว่าผิดจากข้อเท็จจริง เนื่องจากคำพิพากษาศาลโลกไม่ได้ชี้ขาดว่าแผนที่นี้ผิดหรือถูก แต่คำพิพากษาแย้งที่มีผลผูกมัดคู่กรณีของผู้พิพากษาชาวออสเตรีย อาร์เจนตินา และจีน ลงความเห็นเหมือนกันว่าแผนที่ดังกล่าวผิด ผิดตรงที่จุดหนึ่งที่ปราสาทพระวิหาร คือ แม่น้ำโอทาเซน ในแผนที่แสดงว่าน้ำไหลจากตีนเขาขึ้นไปสู่ยอดเขา ซึ่งโดยธรรมชาติต้องไหลจากยอดเขามาสู่ตีนเขา เส้นที่เขาลากจึงผิด เพราะฉะนั้นจึงตัดเอาปราสาทพระวิหารไปเป็นของกัมพูชา ทั้งนี้เคยมีคนคำนวณไว้ว่าการลากผิดครั้งนี้ทำให้ประเทศไทยเสียพื้นที่ 1,800,000 ไร่
    “ พื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา มีการปักปันเขตแดนนานกว่าร้อยปีแล้ว ซึ่งการปักปันเขตแดนมีอยู่ 3 ขั้นตอน คือ 1.สร้างบทนิยามที่อยู่ในตัวบทของสนธิสัญญาที่ตกลงกันสองฝ่าย 2.นำบทนิยามมาปรับกับพื้นที่โดยการส่งคณะผู้แทนทั้งสองฝ่ายลงสำรวจพื้นที่จริงว่า พื้นที่ที่ตกลงกันอยู่จุดไหนเพื่อนำกลับมาลากเส้น 3.ลงมือปักหลักเขตในพื้นที่ที่เขตแดนธรรมชาติไม่ชัดเจน เช่น ไม่มีสันเขา หรือสันปันน้ำ เป็นเขตแดน แต่พื้นที่พิพาทดังกล่าวมีสันเขา มีสันปันน้ำ และหลักเขตเป็นเขตแดนชัดเจน โดยหลักที่ 1 ตั้งอยู่ที่ช่องสะงำ อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ หลักเขตที่ 73 อยู่ที่ บ้านหาดเล็ก อ.คลองใหญ่ จังหวัดตราด สาเหตุที่ในอดีตเราไม่โต้แย้งเรื่องแผนที่เป็นเพราะเรากลัวว่าฝรั่งเศสจะเอาดินแดนไปมากกว่าเดิม เนื่องจากตอนนั้นทหารฝรั่งเศสตั้งฐานที่มั่นอยู่ที่จังหวัดตราดและจันทบุรี เขาเพิ่งถอนกำลังไปเมื่อเราทำสัญญายอมยกเสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ ให้เขา เมื่อปี ค.ศ. 1907 แต่เวลานี้ประเทศที่ยัดเยียดแผนที่ให้เราเป็นกัมพูชาที่เคยเป็นอดีตประเทศราชของไทยซึ่งเรายกให้ฝรั่งเศสไป ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีหน้าที่บอกกัมพูชาว่าแผนที่มันผิด และมาถึงตอนนี้จะเห็นได้ว่า MOU 43 ก็ไม่ได้มีประโยชน์อีกต่อไป ”
    ด้าน นายเสริมสุข กษิติประดิษฐ์ บรรณาธิการข่าวความมั่นคง สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย กล่าวว่า หากใครไม่เคยขึ้นไปเขาพระวิหารก็จะมองไม่ออกว่าพื้นที่เป็นเช่นไร ครั้งแรกที่ตนขึ้นไปปราสาทพระวิหารตอนนั้นกัมพูชามีสงครามการเมือง ตนพยายามที่จะเข้าไปปราสาทพระวิหาร โดยขึ้นไปทางผามออีแดงซึ่งอยู่ในเขตไทย ช่วงนั้นทหารไม่ให้เข้าไป เพราะบริเวณตัวปราสาทเป็นพื้นที่ที่ไทยให้เขมรแดงเข้าไปอยู่ ตนเข้าไปครั้งแรกก่อนที่จะมีการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 และจากวันนั้นก็มีการเผชิญหน้ากันทางการทหารมาตลอด  และหลังจากวันที่ 15  กรกฎาคม 2551 เมื่อมี 3 คนไทย จากกลุ่มธรรมยาตราเข้าไปสำรวจในตัวปราสาท จากวันนั้นมาทหารก็ส่งกำลังเข้าไปตลอด
    “ตั้งแต่ ปี2543- 2553 กัมพูชามีการสร้างถนนความยาวประมาณ 35 กิโลเมตร ไต่มาตามความสูงและความชันของหน้าผา และวานนี้โฆษกทำเนียบรัฐบาลของกัมพูชาออกมาแถลงว่าแผนที่ที่กัมพูชาถืออยู่เป็นร่างที่ทำร่วมกัน ประเด็นเหล่านี้บางครั้งรัฐบาลไทยก็ยังไม่มีข้อมูล ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการข่าวของเราบกพร่อง และก็ไม่มีการตอบโต้ทันที พื้นที่ 4.6 ที่บอกว่าเป็นของไทย แต่ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2551 ก็ไม่มีคนไทยอยู่ ไม่มีทหารอยู่ จนฝ่ายกัมพูชาเชื่อว่าพื้นที่ทั้งหมดเป็นของเขา บริเวณพื้นที่ยังมีการขยายสำนักสงฆ์ มีการปักธงชาติเพื่อแสดงสิทธิ์ในพื้นที่ทั้งที่เป็นการละเมิด MOU 43 ข้อ 5 พูดชัดเจนว่าห้ามมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่หรือภูมิประเทศ แต่รัฐเราก็ไม่มีการดำเนินการอะไรเลย รัฐมนตรีกลาโหมก็ไม่ได้ปฏิบัติตามที่นายกรัฐมนตรีสั่ง ทหารมีการละเลยในหน้าที่ไม่ร่วมมือในการปกป้องอธิปไตยอย่างที่ควรเป็น การต่อสู้ที่ผ่านมาก็เป็นการต่อสู้ของภาคประชาชน ซึ่งต่อไปทางรอดของประเทศคงมีทางเดียวคือ ภาคประชาชนจะต้องทำการกดดันความเคลื่อนไหวในเรื่องนี้เพื่อให้รัฐชัดเจนกว่านี้”

ลักษณะของทักษิณ ตั้งแต่ ก.ไก่ ถึง ฮ.นกฮูก


โกงกิน

ขายชาติ

คบคนพาล

ฆ่าตัดตอน ยาเสพติด

งก ไม่จ่ายภาษี

จาบจ้วงเบื้องสูง

ฉ้อฉล แปลงกฏหมายเพื่อประโยชน์ตน

ชั่วหาที่เปรียบมิได้

ซับซ้อน ซ่อนกลเพียงเพื่อผลประโยชน์

ญาติตูต้องมาก่อน
ฐานะดี แค่ไหน ก็โกงได้ไม่อายฟ้าดิน

เฒ่าหัวงู มักมากในกาม

แด๊ก ไม่รู้อิ่ม

ตบตาคนจน

ถ่อย + เถื่อนทางจริยธรรม

ทำลายเศรษฐกิจชาติ

ธรรมชาติลงโทษ

นำหางแดงเผาบ้าน เผาเมือง

บ้าอำนาจ หลงตัวเอง

ประจาน ประนามประเทศตัวเองออกสื่อนอก

ผูกขาดตัดตอน ยอกย้อนผลประโยชน์ชาติเข้าตน

ฝากความเลวร้ายไว้บนแผ่นดิน

พูดปด มดเท็จ

ฟันข้าราชการดี ๆ ออกนอกเส้นทางโกง

ภูมิใจในความเลวของตัว

ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง

ยักยอกทรัพย์สมบัติชาติ

รกโลก จนต้องร่อนเร่

ลักลอบขนเงินออกนอก

วิดีโอลิ้งค์ ปลุกระดมให้เผาบ้าน เผาเมือง

เศษคน กากเดนมนุษย์

สนับสนุน คอร์รัปชั่น

หน้า (หมา) ตัวเมีย

อธรรม ตัวพ่อ

เฮี่ยไม่มีที่สิ้นสุด

มาดามฟรังซัวส์ทำให้เกิดข้อได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างกัมพูชากับไทย

ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเลขานุการของที่ประชุมมรดกโลก มาดามฟรังซัวส์ทำให้เกิดข้อได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างกัมพูชากับไทย ดังนี้

1. บิดเบือนมติการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 31 ที่ประเทศนิวซีแลนด์ระหว่างวันที่ 23-30 มิถุนายน 2550 Decision: 31 COM 8B.24 http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=39429

ข้อเท็จจริงที่ 1  ฝ่ายไทยใช้สิทธิ์ตามกฎของยูเนสโกไม่ให้การสนับสนุนข้อเสนอขอขึ้นทะเบียนแหล่งโบราณคดีประสาทพระวิหาร (“The Sacred Site of the Temple of Preah Vihear” ลงวันที่ 30 มกราคม 2549)  ของกัมพูชาแต่ฝ่ายเดียว แต่กลับรายงานความจริงครึ่งเดียวว่าไทยให้การสนับสนุน (“active support”)  กัมพูชาให้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกได้ ส่วนอีกครึ่งหนึ่งตัดออก (ดูข้อเท็จจริงที่ 2)

ข้อเท็จจริงที่ 2 ฝ่ายไทยประนีประนอมขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกพร้อมกันตามข้อเสนอเดิมของกัมพูชา ซึ่งหากฝ่ายกัมพูชายินยอม  คณะกรรมการมรดกโลกสามารถตัดสินในการประชุมครั้งที่ 31 ให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกได้ทันที (ทุกฝ่ายอยู่พร้อมหน้า เอกสาร  ICOMOS รับรองมาตรฐานความเป็นมรดกโลกพร้อม  เพียงกัมพูชาเอ่ยว่าคำยินดี) แต่สาระสำคัญที่ไทยเสนอขึ้นทะเบียนมรดกโลกพร้อมกันกลับปกปิด ไม่มีบันทึกในรายงานประชุม 

ข้อเท็จจริงที่ 3 เมื่อกัมพูชาไม่อาจขึ้นทะเบียนมรดกโลกได้ เพราะฝ่ายไทยที่ไม่สนับสนุน แต่กลับใช้ช่องที่ฝ่ายไทยยินยอมขึ้นทะเบียนร่วม ไปอ้างในรายงานการประชุมว่าเป็น “จะมีการปรับปรุงข้อเสนอเดิม”  (”in-progress”) ซึ่งเป็นการอำพรางในฐานะที่ดูเหมือนมิใช่สาระสำคัญ แทนที่จะระบุให้ชัดว่า ข้อเสนอเดิมตกไป แต่สามารถเสนอขอขึ้นทะเบียนใหม่ได้ หากกัมพูชามีแหล่งโบราณคดีอื่น

ในกรณีที่เป็นการขอขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท (The Temple of Preah Vihear) ก็อาจทำได้ตามสิทธิ์ และขั้นตอนปกติที่ต้องมีการประเมินคุณค่าทางศิลปะ (หรือไม่ก็ยินยอมให้มีการขึ้นทะเบียนมรดกโลกร่วมกัน ตามนัยยะข้อเท็จจริงที่ 2) แต่หากทำเช่นนั้น ก็ต้องดูความเป็นไปได้ตามหลักการ เหตุผลและข้อเท็จจริง เกิดเป็นประเด็นว่า เฉพาะตัวปราสาทไม่สามารถเป็นมรดกโลกอยู่แล้วตามรายงานของ ICOMOS การฝืนเสนอขึ้นทะเบียนให้สำเร็จย่อมมีความเป็นไปได้สูงที่จะต้องมีมีวาระซ่อนเร้นและไม่โปร่งใส
2. การแทรกแซงการตัดสินจากพฤติการณ์ “สองมาตรฐาน"
2.1   ระหว่างเดือนกันยายน 2550 - มกราคม 2551 นายซกอาน รองนายกฯกัมพูชาว่าจ้างบริษัทรับเหมาเอกชนในยุโรปแห่งหนึ่งชื่อ ANPV [Autorite Nationale pour la Protection et le Developpement du site culturel et naturel de Preah Vihear ประกอบด้วย เบลเยียม สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส อินเดีย  + (3) จีน ญี่ปุ่น และที่น่าแปลกคือมีไทยด้วย รวม 7 ชาติ] มาทำการสำรวจและประเมินแหล่งโบราณคดีปราสาทพระวิหารซ้ำ โดยการแนะนำและร่วมรับรู้ของมาดามฟรังซัวส์ ริเวียเร่ว่า  เฉพาะตัวปราสาทพระวิหาร”(ไม่ต้องควบรวมสิ่งปรักพังอื่นในบริเวณใกล้ตัวปราสาท)  ก็มีคุณค่าทางศิลปะตามเกณฑ์ (Criterion) I เป็นมรดกโลกได้  อ้างว่าไทยและกัมพูชาเห็นชอบร่วมกัน หักล้างมาตรฐานเชิงศิลปะและจิตวิญญาณ ในความพยายามตัดสินคุณค่ามรดกโลกโดยอาศัยเหตุผลทางการเมืองที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

2.2    วันที่ 22 พฤษภาคม 2551 ที่สำนักงานมรดกโลก กรุงปารีส มาดามฟรังซัวส์จัดทำบันทึกช่วยจำ ระบุว่าฝ่ายไทย นายนพดล ปัทมะ  รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศขณะนั้นยินยอมให้กัมพูชาฝ่ายเดียวจัดทำ “แผนที่ใหม่” แนบท้ายแถลงการณ์ร่วมที่ระบุว่าเป็นการขึ้นทะเบียนที่เปลี่ยนมาเป็นเฉพาะตัวปราสาทพระวิหาร (The Temple of Preah Vihear) กำหนดแผนและขั้นตอนในการจัดสรรพื้นที่อนุรักษ์และบริหารจัดการมรดกโลกทางทิศตะวันตกและทิศเหนือของตัวปราสาท

2.3   จากนั้นมาดามฟรังซัวส์ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเลขานุการที่ประชุมมรดกโลกนำแถลงการณ์ “ปิดปาก” เข้าสู่วาระการประชุมของคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 32 วันที่ 2 กรกฎาคม 2551 คณะกรรมการมรดกโลกจำนนต่อแถลงการณ์ร่วมจำยอมให้กัมพูชาได้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกเมื่อวันที่ 7 กรกฏาคม 2551

2.3.1   นายนพดล ปัทมะ ให้สัมภาษณ์สื่อไทยทันทีที่กลับมาถึงกรุงเทพฯปลายเดือนพฤษภาคมนั้นว่า กัมพูชา “ยอม” ขึ้นทะเบียนมรดกโลกเฉพาะตัวปราสาท ไม่แตะต้อง “พื้นที่ทับซ้อน" และไทยจะไม่เสียดินแดนแม้แต่ตารางนิ้วเดียว ซึ่งไม่เป็นความจริง’

2.3.2   เมื่อตัวแถลงการณ์ร่วมฉบับที่ใช้ลงนามมาถึงกรุงเทพฯพร้อม “แผนที่ใหม่” (วันที่ 8 มิถุนายน 2551) ที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตประเทศ ระบุว่าไม่ต้องผ่านข้อตกลงร่วมกันของคณะกรรมาธิการร่วมปักปันเขตแดน “เจบีซี” (JBC: Joint Boundary Commission) ไทย-กัมพูชา   นายนภดลไม่นำพาที่จะขอคำปรึกษาจากรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 กลายเป็นว่าฝ่ายไทยได้สนับสนุนกัมพูชาให้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกฝ่ายเดียวเมื่อ ครม.รับทราบ (17 มิถุนายน 2551) ส่งผลให้ไทยเสียพื้นที่  27.972 ตารางกิโลเมตร (ประมาณ 17,000 ไร่)  เป็น "เขตกันชน" 2,642.5 เฮกตาร์  “เขตอนุรักษ์”  154.7 เฮกดาร์ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 และที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 33 ที่สเปน (22-30 มิถุนายน 2552) รับรองรายงานตามแผนอนุรักษ์และบริหารจัดการมรดกโลกของ "ไอซีซี” ICC=International Coordinating Committee) ไปแล้ว
พื้นที่เหล่านี้คงไม่มีใครปฏิเสธว่ามิได้อยู่ในดินแดนไทย แต่มีคำถามที่ยูเนสโกต้องตอบ คือ

1.   ยูเนสโก และกัมพูชารับรองเอกชน ANPV (non-accredited institution) ให้มีสถานะเป็น “Public Institution”  (ICC) ได้อย่างไร?

2.   แถลงการณ์ร่วม (Joint Communique) 2551 มีสถานะเป็นข้อเสนอ (Nomination File) ใหม่ที่ขอขึ้นทะเบียน  The Temple of Preah Vihear  แทนข้อเสนอเดิม  The Sacred Site of the Temple of Preah Vihear  ปี 2549 ได้หรือ?

3.   มาตรฐานเดิมที่ ICOMOS ระบุไว้ ในข้อเสนอเดิม ย่อมไม่อาจทำให้ The Temple of Preah Vihear เป็นมรดกโลก ใช่หรือไม่ ?  และที่สำคัญ...

4.    “เหตุผลทางการเมือง” (“political decision”) ที่มาดามฟรังซัวส์โยนให้คณะกรรมการมรดกโลก และ 2 ประเทศคู่กรณี (ไทย-กัมพูชา) รับผิดชอบ ทั้งๆที่ตนเองอยู่เบื้องหลังนั้น ยูเนสโกเองยอมรับหรือไม่ว่า นี่คือมรดกโลกที่ทำลายมาตรฐานของยูเนสโกเอง?

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง