บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

นายกฯ กล่าวว่า ไม่มี คุณสุวิทย์ ไม่เคยไปเซ็นตกลงอะไร โดย Annie Handicraft ·

   
 
เอกสารที่คุณสุวิทย์ ไปลงรายชื่อรับรอง

โดย Annie Handicraft ·
 
เมื่อถามว่า ทางกัมพูชาบอกว่าเขาได้เปรียบ เนื่องจาก นายสุวิทย์ ไปเซ็นร่างสัญญาข้อตกลงต่างๆ ไว้ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร

นายกฯ กล่าวว่า ไม่มี คุณสุวิทย์ ไม่เคยไปเซ็นตกลงอะไร เพราะเป็นมติของกรรมการ และวันนั้น เขาพยายามที่จะให้พิจารณาตั้งแต่ปีที่แล้ว แล้วเขาก็ไม่ประสบความสำเร็จ จึงพยายามที่จะพูดเพื่อผลักดันอีกทีหนึ่งในปีนี้ แต่มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งทำให้ชี้ชัดมากขึ้นว่าการเดินหน้าต่อจะทำให้มีปัญหามากขึ้น ทางกัมพูขาก็จะเล่นแบบนี้เหมือนโยกโย้// แล้วกระดาษข้างบนน่ะ อะไรเหรอพี่มาร์คขา


********************************
เพิ่มเติม

ในทางความเป็นจริงกัมพูชาได้รับชัยชนะในการประชุมสมัยที่ 34 เพราะคณะกรรมการได้มีมติ “พิจารณา” เอกสารที่กัมพูชาได้เสนออย่างเป็นทางการแล้ว คือเอกสาร WHC-10/34.COM/7B.Add.3และผลของมันคือ คณะกรรมการได้ออกมติ 5 ข้อ ดังปรากฏในข้อมติที่ 34.COM.7B.66 ซึ่งนายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมได้ยอมรับและ ได้ลงนามรับรอง พร้อมกับ นายซก อัน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา โดยมี นาย โฮโอ ลูอิซ ซิลว่า เฟอริลล่า รัฐมนตรีวัฒนธรรมบราซิล ซึ่งเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการมรดกสมัยที่ 34 เป็นสักขีพยาน

ในข้อมติ 34.COM.7B.66 มีข้อความดังนี้
1. ได้รับเอกสาร WHC-10/34.COM/7B.Add.3 เรียบร้อยแล้ว

2. อ้างอิงถึง ข้อมติที่ 31COM.8B.24, 32COM.8.B.102, และ 33COM.7B.65 ซึ่งได้มีผ่านการอนุมัติในการประชุมสมัยที่ 31 (ไครเชิส ปี 2007) สมัยที่ 32 (ควิเบก ปี 2008) สมัยที่ 33 (เซวิญา ปี 2009) ตามลำดับ

3. ให้บันทึกว่า คณะกรรมการมรดกโลก ได้รับเอกสารที่เสนอโดยรัฐภาคีแล้ว

4. คณะกรรมการได้ให้การต้อนรับมาตราการที่รัฐภาคีได้จัดทำเพื่อการจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศ (ICC) เพื่อการฟื้นฟูปราสาทพระวิหารอย่างยั่งยืน

5. มีมติให้มีการพิจารณาเอกสารที่เสนอโดยรัฐภาคีในสมัยประชุมที่ 35 ในปี 2010


สาระสำคัญของมติที่ได้ออกมานั้นมีดังต่อไปนี้

ประการแรก คณะกรรมการมรดกโลกได้รับแผนบริหารจัดการและรายงานจากรัฐภาคีแล้ว รายงานทั้งสองฉบับได้ยื่นเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลกตั้งแต่เดือนมกราคม 2010

ประการที่สอง คณะกรรมการมรดกโลกได้อ้างอิงถึงข้อมติที่ได้ออกมาในสมัยประชุมที่ 31, 32 และ 33

ประการที่สาม มติคณะกรรมการฯ ในสมัยประชุมที่ 34 ได้ให้การยอมรับรายงานซึ่งจัดทำโดยศูนย์มรดกโลก ซึ่งทำหน้าที่เป็นกองเลขาให้กับคณะกรรมการมรดกโลก โดยคณะกรรมการได้ให้การต้อนรับการดำเนินการตามแผนบริหารจัดการมรดกโลกของรัฐบาลกัมพูชา ซึ่งแผนการดังกล่าว ได้รับการประเมินโดยศูนย์มรดกโลก ผู้เชี่ยวชาญจาก ICOMOS และองค์กรที่ปรึกษาอื่นๆซึ่งได้แนะนำให้ดำเนินงานตามแผนการนั้นได้ สิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญระหว่างประเทศได้ใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสิน คือ พวกเขาพิจารณาเห็นว่าแผนการดังกล่าวได้ให้วิสัยทัศน์ที่ดีในการอนุรักษ์มรดกโลก และองค์การคุ้มครองพระวิหารแห่งชาติก็ได้ออกนโยบายที่ดีในการดำเนินงาน

ประการที่สี่ รัฐบาลกัมพูชาได้รับการชื่นชมยินดีจากหน่วยงานต่างๆ ต่อมาตรการที่ได้ดำเนินมาแล้วในปีที่แล้ว เช่นการขยายพื้นที่และปรับปรุงพื้นที่กันชน การย้ายหมู่บ้าน และการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ระดับโลก

ประการที่ห้า คณะกรรมการมรดกโลกได้ยินดีและสนับสนุนมาตรการต่างๆของรัฐบาลกัมพูชาในการจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศเพื่ออนุรักษ์ปราสาทพระวิหาร

ประการที่หก คณะกรรมการมรดกโลกได้พิจารณาขยายเวลาเพิ่มเติมเพื่อให้มีการพิจารณา วิพากษ์วิจารณ์เอกสารในการประชุมสมัยหน้า แต่การตัดสินใจเช่นว่านั้นไม่ได้ทำให้การดำเนินงานตามแผนมีความล่าช้าแต่อย่างใด

สำหรับแผนการบริหารจัดการปราสาทพระวิหารมรดกโลกดังกล่าวนั้น คณะกรรมการมรดกโลกไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ในการให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ แต่คณะกรรมการมีหน้าที่ในการพิจารณาทบทวนแผนการดังกล่าวเพื่อให้ความเห็นเท่านั้น

ยิ่งไปกว่านั้นกัมพูชามีอำนาจเต็มที่ในการดำเนินงานตามแผน และยินดีรับฟังความเห็นจากทั้งระดับชาติและนานาชาติในอันที่จะอนุรักษ์ และการพัฒนาอย่างยั่งยืนในพื้นที่ขอบเขตของมรดกโลกพระวิหาร
ความสำเร็จอย่างใหญ่หลวงในการประชุมสมัยที่ 34 นั้นเป็นการทดสอบต่อการนำอันชาญฉลาดของสมเด็จอัครมหาเสนาบดีเดโชฮุนเซน นายกรัฐมนตรีแห่งกัมพูชาและ ท่าน ซก อัน รองนายกรัฐมนตรีพร้อมด้วยคณะผู้แทน ที่ได้นำเกียรติภูมิแห่งชาติไปสู่เวทีสากลอีกครั้งหนึ่

เพื่อตอกย้ำถึงความล้มเหลวของรัฐบาลไทย จะต้องเน้นย้ำเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องของสาธารณชนและสากลว่า มันไม่ใช่อย่างที่รัฐบาลไทยประกาศว่าประสบความสำเร็จในการเลื่อนแผนบริหารจัดการไปเป็นปีหน้า แต่คณะกรรมการมรดกโลกนั้น ไม่เคย ได้ใช้คำว่า เลื่อน ล่าช้า ระงับ แผนการนั้นแต่อย่างใด แต่คณะกรรมการมรดกโลกเลือกใช้คำว่า “พิจารณา” ซึ่งหมายถึงเอกสารที่ทางการกัมพูชาเป็นผู้เสนอไป ซึ่งหมายถึงรายงานความคืบหน้าในการอนุรักษ์และพัฒนามรดกโลกและแผนในการบริหารจัดการ ที่ได้มีการส่งไปแล้ว แต่จะพิจารณากันในปีหน้า



จาก
นายกฯและนายสุวิทย์จะแก้ตัวแบบไหน
by Thepmontri Limpaphayom on Thursday, December 16, 2010 at 8:27pm
http://www.facebook.com/note.php?note_id=168317846536964

กลาโหมเขมรโต้วิดศรี ยันไม่ประชุม GBC ถ้าไม่ลงนามชุดทางออก

กลาโหมเขมรโต้วิดศรี ยันไม่ประชุม GBC ถ้าไม่ลงนามชุดทางออก

ฟิฟทีนมูฟ –  โฆษกกลาโหมเขมรออกแถลงการณ์โต้คำกล่าว พล.อ.ประวิตร ระบุเป็นการสร้างข่าว เขมรย้ำไทยต้องลงนามในชุดทางออกก่อนถึงจะประชุม GBC ได้ การทำอะไรอย่างอื่นเขมรยันเสียงแข็งรับไม่ได้
แถลงการณ์ของโฆษกกระทรวงกลาโหมกัมพูชา ฉบับวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ปฏิเสธการให้ข่าวของ พล.อ.ประวิตร เรื่องการประชุม GBC และย้ำไทยต้องลงนามชุดทางออก
แถลงการณ์ ของโฆษกกระทรวงกลาโหมกัมพูชา ฉบับวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ปฏิเสธการให้ข่าวของ พล.อ.ประวิตร เรื่องการประชุม GBC และย้ำไทยต้องลงนามชุดทางออก

โฆษกกระทรวงกลาโหมกัมพูชา ออกแถลงการณ์ปฏิเสธการให้ข่าวของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ที่ระบุว่ากัมพูชาเห็นชอบที่จะจัดประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป หรือ GBC ที่กัมพูชา โดยแถลงการณ์ฉบับดังกล่าวออกมาเมื่อเวลา ๑๗.๐๐ น. วันนี้ (๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔)
ในแถลงการณ์กล่าวว่า โฆษกกระทรวงกลาโหม ขอปฏิเสธโดยสิ้นเชิงต่อการสร้างข่าวของรัฐมนตรีกลาโหมไทย ประวิตร วงษ์สุวรรณ ตามที่ได้ปรากฏในสื่อไทย เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ที่ยืนยันว่า กัมพูชาเห็นชอบเป็นเจ้าบ้านในการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (GBC) ข่าวประดิษฐ์ชิ้นนี้ ขาดความตั้งใจในจุดยืนที่เห็นพ้องต่อชุดทางออกที่เป็นผลจากการประชุม รัฐมนตรีต่างประเทศทั้งสาม คือ กัมพูชา อินโดนีเซีย และไทย เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย ชุดทางออกนี้ ก็ได้ชี้แจงเสร็จเรียบร้อยแล้วในเรื่องขั้นตอน อะไรเป็นสิ่งแรกที่ต้องทำ ซึ่งก็คือ ไทยต้องลงนามยอมรับในชุดทางออก ก่อนจะดำเนินการในขั้นตอนอื่น
โฆษกกระทรวงกลาโหมกัมพูชา เน้นย้ำในตอนท้ายของแถลงการณ์ว่า การทำอะไรอย่างอื่นนอกเหนือจากชุดทางออกนี้ กระทรวงกลาโหมกัมพูชาขอปฏิเสธอย่างเด็ดขาดและไม่อาจยอมรับได้
ตามรายงานของ เมื่อช่วงสาย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ กล่าวยืนยันว่า การประชุมคณะจีบีซีจะดำเนินการตามกรอบที่วางไว้ และตนได้หารือกับ พล.อ.เตีย บัญ ซึ่งกัมพูชายืนยันพร้อมจัดการประชุม และการประชุมจีบีซี จะเกิดขึ้นได้จะต้องส่งชุดผู้สำรวจลงพื้นที่ จากนั้นจึงจะจัดการประชุมจีบีซีและส่งชุดผู้สังเกตการณ์ลงพื้นที่ได้
ก่อนหน้านี้  เมื่อวันที่ ๒๒ พฤษภาคม หลังเสร็จสิ้นการหารือนอกรอบระหว่างรัฐมนตรีกลาโหมไทยและกัมพูชา ที่กรุงจาการ์ตา จนได้ข้อสรุปในการส่งทีมล่วงหน้าลงพื้นที่นั้น โฆษกกระทรวงกลาโหมกัมพูชา ได้ พร้อมเปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร รับปากจะผลักดันให้รัฐมนตรีต่างประเทศของไทยเร่งลงนาม เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนต่อไปคือการประชุม GBC อันเป็นผลจากความเห็นชอบร่วมกันในชุดทางออก ระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศสามฝ่าย เมื่อ ๙ พฤษภาคม ที่กรุงจาการ์ตา

กต.เขมรโต้มาร์คจอมปลิ้น ปิดบังโลกไม่ได้

กต.เขมรโต้มาร์คจอมปลิ้น ปิดบังโลกไม่ได้

ฟิฟทีนมูฟ —  โฆษก กต.เขมร โต้มาร์คที่ระบุไม่ได้ยิงใส่พระวิหารว่าเป็นการโกหกที่ปิดบังโลกไม่ได้อีก เป็นเล่ห์กลที่ไร้ยางอาย ระบุเรื่องผู้สังเกตการณ์ที่มาร์คยกขึ้น เพื่อแก้เก้อหลังฮอ นำฮง ส่งจดหมายถึงอินโดฯ ยันให้ไทยต้องรับชุดทางออก
นายโกย กวง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา
แฟ้มภาพ: นายโกย กวง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา
เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา (๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔) โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา แถลงตอบโต้การให้สัมภาษณ์ของนายกอภิสิทธิ์ที่ระบุว่าทหารไทยยิงใส่ปราสาทพระ วิหาร โดยกล่าวว่าเป็นการพูดโกหกที่ไม่อาจปิดบังทั้งโลกได้อีก ตามรายงานข่าวจากบายนทีวีของกัมพูชา

โดยนายโกย กวง โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา กล่าวว่า ประเด็นของนายกรัฐมนตรีไทยนี้ คือแสดงเล่ห์กล ไม่จริงใจ ไร้ยางอายที่สุด และอดกลั้นความอยากที่จะรุกรานกัมพูชาไม่ได้
ต่อกรณีที่ นายกรัฐมนตรีไทยได้ยกประเด็นขึ้นว่า การยึดครองปราสาทพระวิหารและพื้นที่ใกล้เคียงโดยกัมพูชาแต่ฝ่ายเดียว รังแต่จะขยายความขัดแย้ง ควรช่วยกันสลายความขัดแย้ง ไม่ควรสร้างปัญหาใหม่ขึ้นมาอีกนั้น ในเรื่องนี้นายโกย กวง ได้กล่าวตอบโต้และขยายความว่า ผู้นำไทยคนนี้ได้พูดว่าผู้สังเกตการณ์อินโดนีเซียจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้า ไปในพื้นที่ขัดแย้ง ตราบที่คณะกรรมการชายแดนทั่วไป (GBC)  ยังไม่ได้เปิดประชุมนั้น นายกรัฐมนตรีไทยได้พูดเช่นนี้หลังจากที่รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศกัมพูชา ฯพณฯ ฮอ นำ ฮง เมื่อวันอังคารที่ ๒๔ พฤษภาคม ได้ทำจดหมายถึงอินโดนีเซีย โดยเรียกร้องให้มีการตอบรับจากไทยในการปฏิบัติตาม “ชุดทางออก” ที่ได้เห็นชอบในการประชุมร่วมของรัฐมนตรีต่างประเทศไทย กัมพูชา และอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ที่จาการ์ตา

ข้อสังเกตจากการประชุมที่ยูเนสโกครั้งล่าสุด โดย. ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล

ข้อสังเกตจากการประชุมที่ยูเนสโกครั้งล่าสุด โดย. ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล

ฟิฟทีนมูฟ — ศ.ดร.สมปอง สุจริตกุล ในฐานะอดีตหัวหน้าคณะผู้แทนไทยประจำ UNESCO และเป็นอดีตที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของยูเนสโกเรื่องมรดกโลก ตั้งข้อสังเกตต่อการเข้าร่วมโดยไม่ได้รับเชิญในการหารือไทย-เขมร ที่ศูนย์มรดกโลกของนางโบโกวา ผู้อำนวยการยูเนสโก เมื่อ ๒๕ พ.ค. โดยมองว่าเป็นไปเพื่อรักษาผลประโยชน์ของยูเนสโกให้การขึ้นทะเบียนลุล่วง และอำพรางการกระทำการอันผิดธรรมนูญของยูเนสโก เป็นกุศโลบายที่แนบเนียนและละมุนละม่อมเพื่อให้ฝ่ายไทยตายใจ
ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง สุจริตกุล ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศ อดีตหัวหน้าคณะผู้แทนไทยประจำ UNESCO และ FAO และเป็นอดีตที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของยูเนสโกเรื่องมรดกโลก
แฟ้มภาพ: ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง สุจริตกุล ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายระหว่างประเทศ อดีตหัวหน้าคณะผู้แทนไทยประจำ UNESCO และ FAO และเป็นอดีตที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของยูเนสโกเรื่องมรดกโลก

ข้อสังเกตจากการประชุมที่ยูเนสโกครั้งล่าสุด
     จากรายงานข่าวการประชุมนอกรอบเรื่องมรดกโลกระหว่างไทยกับกัมพูชาที่กรุง ปารีส ข้าพเจ้าขอตั้งข้อสังเกตซึ่งอาจแตกต่างจากความเห็นของบางท่าน ดังนี้
     ท่าที นางนางอิรินา โบโกวา ผู้อำนวยการยูเนสโก ซึ่งดูเหมือนเอนเอียงมาทางฝ่ายไทยนั้น หากพิจารณาให้ลึกซึ้งแล้ว จะเห็นได้ว่าแท้ที่จริงนั้น นางโบโกวามีวัตถุประสงค์เพียงรักษาผลประโยชน์ของฝ่ายตนเพื่อให้การขึ้น ทะเบียนเป็นมรดกโลกสำเร็จลุล่วงไปในที่สุด ทั้งนี้ เนื่องจากไทยเป็นฝ่ายถอยโดยขอให้เลื่อนการพิจารณาเรื่องพื้นที่บริหารจัดการ ออกไป แทนที่จะโต้แย้งขั้นเด็ดขาดมิให้มีการขึ้นทะเบียนตั้งแต่แรก นางโบโกวารู้ดีว่า หากยอมให้มีการโต้เถียงยืดเยื้อถึงขั้นรุนแรงกว่านี้ ก็จะเป็นที่ประจักษ์อย่างชัดเจนว่าพื้นที่ดังกล่าวยังมีปัญหาขัดแย้งซึ่งผิด ธรรมนูญของยูเนสโกว่าด้วยการรักษาสัมพันธภาพและความเข้าใจอันดีระหว่าง ประเทศภาคี และไม่ส่งเสริมให้มีการขัดแย้งอันอาจนำมาซึ่งการใช้กำลัง
     สรุปได้ว่า นางโบโกวาพยายามช่วยกัมพูชาให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระ วิหารเป็นมรดกโลก โดยใช้กุศโลบายที่แนบเนียนและละมุนละม่อมเพื่อให้อีกฝ่ายตายใจ ท่าทีที่แสดงว่าเข้าข้างไทยน่าเป็นละครฉากหนึ่ง เพราะในส่วนลึก สิ่งที่น่าหวั่นเกรงมากที่สุดของยูเนสโกคือไทยถอนตัวจากอนุสัญญามรดกโลก เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเคยถอนตัวจากยูเนสโกแล้วถึงสองครั้ง
     อนึ่ง การที่กัมพูชากล่าวหาว่าไทยทำความเสียหายโดยยิงปืนใส่ซากปราสาทพระวิหารนั้น ไทยควรโต้แย้งว่ากัมพูชาต่างหากเป็นฝ่ายใช้ปราสาทเป็นที่มั่นซ่องสุมกำลัง ทหารและสรรพาวุธรุกรานฝ่ายไทยโดยใช้อาวุธสงครามยิงบ้านเรือนและราษฎรไทยจาก จุดดังกล่าว ไทยจึงไม่มีทางเลือกนอกจากใช้กำลังตอบโต้เพียงเพื่อป้องกันตัวเอง
ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง สุจริตกุล
๒๖ พฤษภาคม ๒๕๕๔

แผนที่แปลงสัมปทานปิโตรเลียม‏

แผนที่แปลงสัมปทานปิโตรเลียม‏


จะเห็นว่า เชฟรอนได้ในพื้นที่ทับซ้อนหมดทุกแปลงผิดสังเกตุมั้ย
เริ่มจาก สแตนดาดออย แล้วแปลงร่างมาเป็น ยูโนแคล แล้วเป็นเชพรอน
เจ้าของคือ จอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช ผู้พ่อ ซึ่งก็คือ อเมริกานั้นเอง

ชื่อบริษัท เชฟรอน บล๊อค บี8 32 (ประเทศไทย) จำกัด‏


รายละเอียดนิติบุคคล

ทะเบียนเลขที่ : 0105538104132  (เลขทะเบียนเดิมคือ 2142/2538)
ประเภท : บริษัทจำกัด วันที่จดทะเบียน : 01/09/2538
สถานะ : คงอยู่

1 ชื่อบริษัท เชฟรอน บล๊อค บี8 32 (ประเทศไทย) จำกัด
2 กรรมการบริษัทมี 7 คน ตามรายชื่อดังต่อไปนี้

1. นาย โจเซฟ ชาฟิค จาจา
2. นาย เอ็ดเวิร์ด จอห์น เมเซอร์
3. นาย ไพโรจน์ กวียานันท์
4. นางสาว ศิริพร ไชยสุต
5. นาย ไบรอัน เจมส์ เบิร์ค
6. นาย แอนโทนี จอห์น เคนริค
7. นาย เดวิด ชาร์ป เบรดี้ /

3 กรรมการซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัทได้คือ
นางประภาวดี โสภณพนิช
นายชาญ โสภณพนิช
นายเชิดชู โสภณพนิช
นายวินัย วามวาณิชย์
นายอรุณ จิรชวาลา กรรมการสองในห้าคนนี้ ลงลายมือชื่อร่วมกันและ   ประทับตราสำคัญของบริษัท/

4 ทุนจดทะเบียน 1,500,000,000.00 บาท


5 ที่ตั้ง 19 อาคารไทยพาณิชย์ ปาร์ค พลาซ่า อีสท์ อาคาร 3 ชั้น 5 ถนนรัชดาภิเษก แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

6 บริษัทนี้จดทะเบียนครั้งแรกชื่อ บริษัท เอชเจเอชเค (ประเทศไทย) จำกัด   ได้จดทะเบียนเปลี่ยนชื่อดังนี้ ครั้งที่ 2 เปลี่ยนเป็น บริษัท โสภณอ่าวไทย จำกัด   เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2539 ครั้งที่ 3 เปลี่ยนเป็น บริษัท พลังโสภณ จำกัด   เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2539 และครั้งสุดท้ายเปลี่ยนเป็น บริษัท เชฟรอน บล๊อค บี8 32   (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2549/


7 นิติบุคคลนี้ได้ส่งงบการเงินปี 2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552


8 วัตถุประสงค์ (74213) การสำรวจและผลิตปิโตรเลียม


                                                      กดที่รูปดูกันใกล้ๆ


เขมรเต้นเร่า ใบปลิวต้านฮุนเซนว่อนอีกในพนมเปญ



ใบ ปลิวล่าสุด รูปลักษณ์ไม่ต่างกับที่ยึดได้หลายครั้งก่อนหน้านี้ แต่เนื้อหาต่างกันไปตามสถานการณ์ ในกัมพูชาการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลหรือผู้นำรัฐบาล ต่อสาธารณะเป็นสิ่งที่ไม่อาจทำได้ เสี่ยงต่อการถูกตั้งข้อกล่าวหาหมิ่นประมาท หรือ แพร่ข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จ หรือ กระทั่งข้อกล่าวหา "ดูหมิ่นประชาชนชาวเขมร การแพร่ข้อมูลผ่านใบปลิวแบบลับๆ จึงเป็นทางออกของฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาลที่อยู่นอกสภา.
      
วิทยุเอเชียเสรี -- คดีเกี่ยวกับการแจกจ่ายใบปลิวต่อต้านรัฐบาลในปี 2550 ยังไม่สิ้นสุด เกิดคดีใหม่เกี่ยวกับการแจกใบปลิวในลักษณะเดิมปรากฏขึ้นอีกครั้ง เจ้าหน้าที่กัมพูชาอ้างว่า ใบปลิวต่อต้านรัฐบาลฮุนเซนนี้ มาจากกลุ่มเดียวกับที่ปรากฏในหลายปีก่อน
      
       เจ้าหน้าที่ในกรุงพนมเปญกำลังดำเนินการสืบสวน เพื่อจับกุมผู้ต้องสงสัยที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแจกจ่ายใบปลิวมากกว่า 10 แผ่น ที่มีเนื้อหาเรียกร้องให้ต่อต้านรัฐบาลที่นำโดยนายกรัฐมนตรีฮุนเซน
      
       เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่า ผู้ต้องสงสัยมาจากกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “เขมรชาตินิยม” (Nationalist Khmer) ที่แจกจ่ายใบปลิวมาแล้ว 3 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2550
      
       Touch Naroth หัวหน้ากรมตำรวจกรุงพนมเปญ ระบุเมื่อวันที่ 23 พ.ค.ว่า กลุ่มดังกล่าวไม่มีความสามารถที่จะโค่นล้มรัฐบาลได้ เป็นเพียงแค่เสียงจากฝ่ายตรงข้ามเท่านั้น
      
       “คนพวกนี้ปลุกระดมให้เกิดความไม่สงบ ประเทศกำลังพัฒนาไปข้างหน้าแต่ยังคงมีคนที่หลงเชื่อกลุ่มคนเหล่านี้อยู่และ พูดเรื่องเดิมซ้ำไปซ้ำมา”
      
       ในสัปดาห์ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่กรุงพนมเปญได้รวบรวมใบปลิวได้มากกว่า 10 แผ่น ที่บริเวณด้านหน้ารัฐสภา ที่เรียกร้องให้ประชาชนชาวกัมพูชารวมตัว และชุมนุมประท้วงต่อต้านรัฐบาลกัมพูชาในประเด็นเกี่ยวกับราคาน้ำมัน และอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น
      
       นายยิม สุวรรณ (Yim Sovann) โฆษกพรรคสมรังสี หรือ SRP กล่าวว่า ชาวกัมพูชามีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นของตัวเอง แต่พรรคไม่ได้มีส่วนกับใบปลิวพวกนี้
      
       “พรรคฝ่ายค้านไม่จำเป็นต้องทำใบปลิว เพราะเราสามารถพูดเรื่องดังกล่าวได้ในสภา ในรายการวิทยุ Candle Light Radio หรือ VOA และ RFA เราสามารถแสดงความคิดเห็นของเราผ่านสื่อเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องแจกใบปลิว”
      
       ในเดือน ก.พ.2554 ตำรวจแห่งชาติกัมพูชา ประกาศว่า ได้จับกุมผู้ต้องสงสัย 7 คน ที่ถูกกล่าวหาว่า แจกจ่ายใบปลิวต่อต้านรัฐบาล และว่าร้ายนายกรัฐมนตรีฮุนเซน โดยผู้ต้องสงสัย 4 คน ถูกส่งไปยังศาลแขวงพนมเปญ เพื่อรับฟังข้อกล่าวหา และอีก 3 คนที่เหลือถูกส่งไปศาลแขวงจังหวัดตะแกว เพื่อรับข้อกล่าวหาเช่นกัน
      
       ต่อมาในวันที่ 18 พ.ค.ที่ผ่านมา สำนักข่าวเอเคพีของรัฐบาลกัมพูชา รายงานว่า กลุ่มสนับสนุนประชาธิปไตยในลองบีช สหรัฐฯ ของ นายเมียด สุวรรณรา ได้เรียกร้องผ่านทางหนังสือพิมพ์ขแมร์โพสต์ให้ประชาชนรวมตัวต่อต้านรัฐบาล กัมพูชาเช่นเดียวกับที่เกิดในอียิปต์

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง